ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
ตอนที่ ๒๑๔
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังสัมผัสทางกายมี เราทราบว่าเป็นรูปต่างกับนามธรรม เพราะเหตุว่ารูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น พ้นจากรูปทั้งหมดเหล่านี้แล้ว ในวันหนึ่งๆ สิ่งที่มี ที่ปรากฏ คือ จิต และเจตสิก เพราะว่าชีวิตประจำวัน รูปที่ปรากฏจะไม่พ้น ๗ รูป นี้เลย ๑ รูปทางตา ๑ รูปทางหู ๑ รูปทางจมูกคือกลิ่น ๑ รูปทางลิ้นคือรส ไม่ว่าจะเป็นรสใดๆ ก็ตาม และรูปทางกายก็มี ๓ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตรึงหรือไหว ซึ่งปรากฏทีละขณะไม่พร้อมกัน ๗ รูปในชีวิตประจำวันของเรา ไม่มีรูปอื่นที่จะมาปรากฏเลย คุณซีมีเรื่องอื่นปรากฏไหม นอกจาก ๗ ถ้ามี ต้องเป็นคนพิเศษเลย ต้องแปลกมากแล้วก็จะรู้ได้ทางไหน เพราะว่าปกติคือ ๗ รูปนี่ เอา ๗ รูปนี้ออกให้หมดเลย ไม่ให้เหลือ นั่นคือสภาพรู้มี ลองคิดถึงขณะซึ่งไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น มืดหรือสว่าง แน่นอน ธาตุรู้ มืดหรือสว่าง ธาตุรู้หอมไหม เป็นไปไม่ได้เลย ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยสักอย่างเดียว แต่เป็นธาตุซึ่งเป็นนามธรรม ลองคิดถึงความเป็นนามธรรม ไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลย แต่รู้ สามารถที่จะรู้ได้ทุกอย่าง และเมื่อในขณะนั้นไม่มีอะไรเลย ความเป็นใหญ่ของสภาพรู้จะปรากฏ แม้ไม่มีสิ่งใดเลย โลกทั้งโลกก็ไม่มี แล้วอะไรมี มนินทรีย์ คือ สภาพรู้มี ลักษณะนั้นเป็นใหญ่ ไม่มีขอบเขต ห้องนี้ยังมีรูปเป็นขอบเขต แต่ว่าเมื่อไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น โลกก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี เจตสิกขณะนั้นก็ไม่ปรากฏ ลักษณะของสภาพของธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่ กำลังปรากฏ ต้องทางมโนทวาร ขณะนั้นก็ไม่มีความสงสัยในมโนทวาร
ถ้าเราฟังอย่างนี้ เราก็จะเข้าใจความต่างของจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ จิตจะไม่ทำหน้าที่อื่นเลย เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ขณะเห็นก็คือจิต ขณะได้ยิน เสียงก็ปรากฏกับจิต ขณะได้กลิ่น กลิ่นก็ปรากฏกับจิต
จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่าผู้ที่ตรัสรู้ก็ได้ทรงแสดงว่า แม้สภาพนามธรรมซึ่งไม่มีรูปร่างเลย แล้วก็เกิดดับเร็วกว่ารูปอีก รูปขณะนี้ทุกรูปที่เป็นสภาวะรูป มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ จิตเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เมื่อจิตดับไปแล้ว ๑๗ ขณะ รูปนั้นจึงดับ แต่ขณะนี้เห็นกับได้ยิน เหมือนกันกับว่าพร้อมกัน ดูเหมือนพร้อมกัน แต่ห่างกันเกิน ๑๗ ขณะ
ความเล็กน้อย ความรวดเร็วของจิต ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม จิตที่เกิดในโลกมนุษย์ ในอรูปพรหม ในรูปพรหม หรือที่ไหนเท่ากันหมด จิตจะมีการเกิดขึ้น แล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ใน ๑ ขณะของจิต ทรงแสดงอนุขณะ ขณะย่อย คือ ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ดับ ขณะที่บ่ายหน้าไปสู่ความดับ ก็ไม่ใช่ขณะที่ดับ เป็นขณะที่ตั้งอยู่ มี ๓ ขณะย่อย คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ ใครรู้ได้ นามธรรม เกิดดับอย่างเร็ว แล้วก็ยังมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไรในจิตแต่ละประเภท จิตแต่ละขณะ เพราะฉะนั้น ก็เป็นการที่ยิ่งศึกษา ยิ่งเห็นความเป็นอนัตตา
นี่คือประโยชน์สูงสุดให้เรามีความเข้าใจอย่างมั่นคง ที่จะทำให้เข้าถึงความเป็นอนัตตาโดยการประจักษ์แจ้ง จากการที่ฟังแล้วก็ไตร่ตรองแล้วก็เห็นความละเอียด เห็นความลึกซึ้งของสภาพธรรม นี่คือจิต
ส่วนเจตสิกก็คือ วันหนึ่งๆ เราอาจจะคิดว่าเป็นเราที่โกรธ เราที่ชอบ เราที่ขยัน ทั้งหมดนั้นเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตแต่ละประเภท ก็เป็นเรื่องของจิต เจตสิก รูป เท่านั้นเอง กว่าจะรู้ แต่ถ้ารู้ก็คือต้องรู้ตรงอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น มีใครอยากรู้บ้างหรือเปล่า อยากก็ไม่รู้ เสียเวลาอยาก แต่ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ อบรมปัญญาไปเรื่อยๆ
ความอยากเป็นอะไร ลองกล่าวสักอย่างหนึ่ง ชื่อโลภะ ไม่เรียกโลภะก็ได้ เรียกได้ตั้งหลายชื่อ เพราะว่าลักษณะของโลภะ มีต่างๆ นี่คือการที่เราจะค่อยๆ คิดถึงให้กว้างขึ้นกว้างขึ้นๆ เป็นปัญญาของเราเอง เอาโลภะตัวเดียวเป็นอะไรบ้าง เท่าที่ทราบหรือว่าเท่าที่ได้ฟังมาแล้ว มีคนบอกว่าเป็นกิเลส แล้วเป็นอะไรอีก เป็นอกุศล เป็นอะไรอีก เป็นตัวก่อให้เกิดกรรม เป็นอะไรอีก เป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นอะไรอีก เป็นสมุทัยในอริยสัจจะ ถ้ายังมีอยู่กั้นทันที เพราะฉะนั้น หนทางนี้ตรงกันข้ามกับการที่จะต้องการ ต้องการเป็นหน้าที่ของโลภะ มองไม่เห็นเลย ทั้งๆ ที่กำลังถามว่า ทำอย่างไรปัญญาจะเกิดมากๆ ไม่รู้เลยว่าขณะนั้นโลภะกำลังทำ ทำให้พูดทำให้คิดว่า ทำอย่างไรปัญญาถึงจะเกิดมากๆ เขาซ่อนเร้นมาก ไม่มีใครรู้จัก ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่เห็น แต่เรียกชื่อถูก รู้กิจการงานได้ รู้ว่าเขาเป็นเหตุ เป็นนายช่างสร้างเรือน เรือนคือสังสารวัฏฏ์มีที่อยู่ ขณะนี้เราอยู่ในโลกนี้ ใครพามาโลกนี้ แล้วก็โลกอื่นๆ ทั้งหมดที่เป็นสังสารวัฏฏ์ก็เพราะโลภะ แล้วแต่ว่าต้องการอะไร ต้องการสวรรค์ โลภะก็ทำให้ไปสวรรค์ได้ ต้องการเป็นพรหม โลภะก็ทำให้เป็นพรหมได้เหมือนกัน ต้องการเป็นอรูปพรหม โลภะก็ทำให้เป็นอรูปพรหม ทำได้ทุกอย่างที่จะไม่ให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น จะเห็นเขาจริงๆ ต่อเมื่อสติปัฏฐานเกิด เมื่อนั้นจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามที่ได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก เพราะว่าก่อนนั้นเรารู้จักชื่อ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นตัวจริงของธรรมทั้งหมด ไม่ว่าสติระลึกอะไรก็มีลักษณะนั้นๆ ปรากฏให้รู้ความเป็นสภาพธรรมนั้นๆ ก็เริ่มรู้จักโลกของปรมัตถธรรม โลกของสัจจธรรม ซึ่งจะค่อยๆ คลายความไม่รู้ ค่อยๆ คลายความเป็นเรา แต่ว่าเหมือนจับด้ามมีดทีละเล็กทีละน้อย ไม่มีความรู้สึกว่า วันนี้ด้ามมีดสึกไปเท่าไร
ผู้ฟัง ผมมีความสนใจ ทำไมไม่มีผู้ใดเอามาสอน พวกที่เอามาพูด เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้ อย่างคำสอนแบบนี้ ปรมัตถธรรมนี้
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นบุญที่ได้สะสมมาแล้ว ถ้าไม่ใช่บุญที่สะสมมาแล้วก็จะไม่ได้ยิน ก็เห็นบุญที่ได้สะสมมาของแต่ละท่าน ที่ต้องสะสมในการที่จะสนใจ ศรัทธาที่จะเห็นประโยชน์คุณค่าของพระธรรม เพราะว่าบางคนผ่านไปผ่านมา มีเสียงก็ไม่ฟัง วิทยุเปิดก็ไม่ฟังเหมือนกันก็มี ก็แล้วแต่การสะสม
ผู้ฟัง มีแนวทางอย่างไร ที่ผมจะเข้าถึงลักษณะของธรรม ที่เป็นกายวิญญัติรูปหรือวจีวิญญัติรูปในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ทำไมจะต้องเจาะจงกายวิญญัติรูปกับวจีวิญญัติรูป
ผู้ฟัง เพราะว่าบางทีกายวิญญัติรูปหรือวจีวิญญัติรูปก็ปรากฏกับความรู้สึกในขณะนั้น ผมไม่รู้เลยว่า อันนี้เป็นธรรมที่จะต้องอบรมศึกษาในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ถ้ายังคงอยากรู้กายวิญญัติหรือวจีวิญญัติ จะไม่รู้รูปอะไรเลย เพราะกำลังอยากรู้กายวิญญัติกับวจีวิญญัติ แต่ใครจะรู้รูปใด ใครจะรู้นามใด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย การสะสมแสดงความต่างของบุคคล แม้แต่ปัญญาของท่านพระสารีบุตรกับปัญญาของท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ไม่เท่ากัน ท่านเป็นพระอรหันต์ด้วยกัน เพราะฉะนั้น การที่เราจะอยากรู้รูปหนึ่งรูปใด นามหนึ่งนามใดโดยเฉพาะต้องเลิก เลิกอยาก ขณะนี้บังคับสติได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าสติจะเกิดระลึกสิ่งที่คุณประทีปไม่อยากรู้ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าสติจะเกิดระลึก จะบังคับได้อย่างไร
นี่คือความเป็นอนัตตา ขณะนี้ทุกสิ่งทุกอย่างมีแล้ว เกิดแล้ว กำลังปรากฏ ไม่มีใครทำเลย ไม่มีใครสักคนทำได้ มีเหตุปัจจัยที่เห็นเกิด เห็นเป็นนามธรรม ใครทำได้ สิ่งที่กำลังปรากฏก็เป็นรูปธรรมที่กระทบกับจักขุปสาท ใครทำได้ ใครทำรูปธรรมนี้ได้ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงในความเป็นอนัตตา แล้วก็เลิกคิดที่จะอยากรู้โน้น รู้นี่ แล้วแต่ว่าสติปัฏฐานจะเกิดระลึกอะไร
ผู้ฟัง ความจริงพอฟังเรื่องที่ท่านอาจารย์บรรยายเรื่องนี้ ผมรู้สึกผมเข้าใจมากเลย แต่ทำไมไม่เกิดกับเราเลย
ท่านอาจารย์ ยังมีผมอยากอยู่ ทำไมไม่เกิดกับเราเลย อันนี้กั้นแน่นอน สมุทัยก็แล้ว เมื่อกี้นี้ก็พูดกันถึงว่าโลภะเป็นอย่างไร มากมายมหาศาลแค่ไหน
ผู้ฟัง ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้เตือนสติ เพราะว่าพอฟังรู้เรื่อง ก็อยากเกิดทันทีลักษณะอย่างนั้น แล้วมันมีอีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์เคยได้เตือนผมไว้ว่า ถึงแม้จะศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรมมา คิดว่าเข้าใจอย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าไม่มีปัญญาอีกขั้นหนึ่งที่จะเริ่มระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรม คือได้แก่สติปัฏฐานแล้ว เราจะไม่รู้จักตัวจริงของสภาพธรรมนั้นๆ เลย เพียงแต่เข้าใจเรื่องราวเท่านั้น ความเห็นที่ถูกต้องไหม เพราะว่าจะได้ยืนยันอีกครั้ง
ท่านอาจารย์ แล้วก็จะไม่รู้จัก พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย เพราะอาจจะคิดว่า ท่านไตร่ตรอง แล้วท่านก็เอามาสอนเรา ซึ่งไม่ใช่ แต่เป็นการประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่การคิดไตร่ตรองโดยเหตุโดยผล
ผู้ฟัง เมื่อเวลาสติปัฏฐานเกิด มีความเข้าใจอย่างไร ในเรื่องรูปธรรม และนามธรรมนั้นๆ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีแข็งไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ใครรู้
ผู้ฟัง ผมรู้
ท่านอาจารย์ แต่ฟังมาแล้วเข้าใจได้ว่า ขณะที่แข็งปรากฏ ต้องมีสภาพรู้แข็ง ขณะที่กำลังแข็งจริงๆ ปรากฏ จะมีอย่างอื่นรวมอยู่ด้วยในที่นั้นด้วยไหม
ผู้ฟัง ถ้าตามความเป็นจิรง จิตรู้อารมณ์ได้ทีละ ๑ ขณะนั้นจะไม่มีอะไรเลยนอกจากแข็ง
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะถึงขณะนั้น
ผู้ฟัง จนกว่าจะถึงขณะนั้น
ท่านอาจารย์ ลองคิดดู เพราะว่านี้เป็นความจริง เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏกับปัญญา ที่ได้อบรมแล้ว เป็นการประจักษ์ ที่ใช้คำว่า ประจักษ์ คือต่างกับขณะที่อย่างอื่นยังรวมกันอยู่ แต่ถ้าเป็นการประจักษ์จริงๆ จะไม่มีอะไรรวมอยู่ในที่นั้นเลย นอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏกับธาตุรู้หรือสภาพรู้ การที่จะรู้ว่าสติปัฏฐานเกิด คือวันหนึ่งๆ เราก็เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น คิดนึก ลิ้มรส รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มี แล้วก็ผ่านไปเป็นเรื่องเป็นราว โดยการศึกษาทราบว่า ถ้ามีการรู้รูปหนึ่งรูปใดทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทวาร ดับไปแล้วก็จริง ภวังคจิตเกิดคั่นแล้วก็จริง มโนทวารวิถีก็ยังรับรู้รูปที่ทางทวารนั้นรู้แล้วก็ดับไป อันนี้โดยการศึกษาทุกคนทราบว่า ต้องเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนไปให้มีแต่ปัญจทวารทวารเดียว วาระเดียว ไม่ให้มีมโนทวารวิถีรับรู้ต่อ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปกติของเรา พอรับรู้ทางกาย ทางใจคิดเรื่องต่อทันที แต่แทนที่จะคิดเรื่อง ก็ระลึกคือรู้ลักษณะ ได้ไหม แทนคิด ไม่ได้คิดแต่กำลังรู้ตรงลักษณะนั้น มีลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏให้เข้าใจ ขณะนั้นคือสติปัฏฐาน ถ้ายังไม่เกิด ก็ยังไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นอย่างไร แต่เมื่อไรเกิด ก็รู้ว่า แม้เพียงนิดเดียว นิดเดียวจริงๆ แต่ขณะนั้นมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ โดยเราไม่ได้คิด หวัง ต้องการ ที่จะให้เป็นอย่างนั้น แต่สภาพนั้นก็เกิด คือ ระลึกลักษณะ ขณะนั้นก็เป็นการเข้าใจเท่าที่สติปัฏฐานที่มีสติสัมปชัญญะเกิดชั่วขณะๆ
ผู้ฟัง คงจะต้องฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ แล้วก็อย่าแอบรอ
ผู้ฟัง บางทีเราไม่ได้ตั้งใจจะแอบรอ มันก็ไปแอบรอเราอยู่ก่อนเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่า เราเป็นอะไรจริต ตรงนี้ ที่จะรู้อัธยาศัยของเราเอง
ผู้ฟัง อันนี้ เขาเรียกว่าโลภจริต
ท่านอาจารย์ ตัณหาจริต โลภจริต ก็แล้วแต่ รู้ว่าเสียเวลารอ รอทำไม ก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ถ้าไม่ระลึกก็ฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถ้าเราได้ยินคำว่าขันธ์ ๕ รู้จักชื่อ แล้วก็ลืม รูปทุกชนิดไม่ว่าเดี๋ยวนี้ หรือในอดีต หรืออนาคตที่จะเกิด เป็นรูปหยาบ รูปละเอียด งาม ประณีต หรือเลว อย่างไรก็แล้วแต่ ก็คือรูปทั้งนั้น เป็นแต่เพียงรูป ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้ เป็นรูปขันธ์ เวทนา ความรู้สึก เราก็รู้สึกทุกขณะจิต เฉยๆ บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง ไม่เคยขาดเวทนาเจตสิกเลย ก็เป็นเวทนาขันธ์ สัญญา จำ ก็จำทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นคืออะไร ก็เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิก ๒ ดวงก็เป็นขันธ์ ๒ อย่าง คือ เป็นเวทนาขันธ์กับสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ขันธ์ แล้วเราก็ลืมอีก เป็นหน้าที่ของสังขารขันธ์ทั้งนั้นเลย ไม่ใช่หน้าที่เรา แม้ความคิดที่คอย ปรุงแต่งมานานแสนนานที่จะรอ จะคอย โดยไม่รู้ ก็รอคอยต่อไป แต่ละขณะที่คอย ก็เพิ่มการคอยเข้าไปอีก เพิ่มความหวังเข้าไปอีกเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น หนทางที่เพียรถามว่าหนทางอะไร หาหนทางที่จะให้รู้สภาพธรรม แต่ในขณะเดียวกัน โลภะเขาก็ทำหน้าที่โลภะของเขาอยู่เรื่อยๆ คุณประทีปเห็นดอกไม้ไหม
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ ต้องคิดไหมว่า ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
ผู้ฟัง ไม่ต้องคิด
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้
ผู้ฟัง เพราะเขาปรุงแต่งเรียบร้อย ธรรมเขาทำหน้าที่ของเขาเรียบร้อยแล้ว
ท่านอาจารย์ วันหนึ่งถ้าธรรมเขาปรุงแต่ง ก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ หรือปรมัตถธรรมสังเขปนี้ สรุปลงแล้วมันไปหยุดอยู่ตรงไหนเป็นยอดของปรมัตถธรรมสังเขป
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้จักพระอภิธรรม ก็ไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ผมไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ บางคนเขาบอกว่าเขารู้จักพระธรรม เขารู้ธรรม แต่เขาไม่รู้พระอภิธรรม พูดถูกหรือพูดผิด
ผู้ฟัง ไม่ถูก
ผู้ฟัง คำถามเขาถามท่านอาจารย์เป็นภาษาลาวว่า สรุปอยู่ที่ไหน
ท่านอาจารย์ สรุปอยู่ที่ขณะนี้ ถ้าไม่มีขณะนี้ก็ไม่มีอะไรปรากฏ แต่เมื่อขณะนี้มี ขณะนี้คืออะไร นี่คือปัญญา แต่ถ้าขณะนี้มี ไม่รู้ว่าคืออะไร ก็คืออวิชชา เพราะว่ามีสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ แน่นอน ธรรมทั้งหมดก็คือเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ แม้ว่าขณะเมื่อกี้นี้ ซึ่งเป็นเดี๋ยวนี้แล้วก็หมดไป ขณะใหม่ก็กำลังเป็นเดี๋ยวนี้ แล้วก็กำลังหมดไปอีก ทุกขณะเป็นอย่างนี้ ตรงกับอนิจจัง ทุกขัง ทนไม่ได้ที่จะยั่งยืน สภาพที่ไม่ยั่งยืน จะเป็นสุขได้อย่างไร แสนสั้นชั่วนิดเดียวเพียงเกิดมาทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ แล้วก็ดับ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไมใช่ของใคร มีอะไรเป็นของเราบ้าง จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง
ผู้ฟัง เรื่องสติปัฏฐาน ให้ความกระจ่างมากขึ้นอีก ผมมีความสนใจสติปัฏฐานมาก เพราะเข้าใจว่าสติปัฏฐานเป็นหัวใจ เป็นแก่นสารของพระธรรมจริงๆ เลย ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เราก็ใช้คำกันหลายคำเหมือนกัน อย่างเช่น มรรคมีองค์ ๘ มัชฌิมาปฏิปทา เป็นเอกายนมรรค แล้วก็ขณะที่สติปัฏฐานเกิด แล้วก็ไม่พัก ไม่เพียร ไม่จม ไม่ลอย ก็เป็นเอกายนมรรค เราก็ใช้ศัพท์มาก เป็นมัชฌิมาปฏิปทา อะไรต่างๆ นานา ก็ขอท่านอาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างเพิ่มเติม
ท่านอาจารย์ ทีนี้ที่เราฟังมาว่า อริยสัจจ์ ๔ ลึกซึ้ง มรรคนี้จะลึกซึ้งอย่างไร ลองคิด คือคิดดูเหมือนธรรมดามากเลย เวลาที่คนอ่านพระไตรปิฎก สติปัฏฐาน แล้วก็กายานุปัสสนสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าไม่ได้เข้าใจจริงๆ บางคนจะคิดไปหลายเรื่อง คือ คิดว่าจะต้องทำ จะต้องเพียร อาตาปี สัมปชาโน สติมา เพียงได้ยินเท่านี้ก็เริ่ม ความเพียรเผากิเลส แล้วก็สัมปชัญญะ ปัญญา สติ มีสติ ก็พยายามที่จะทำ แต่ความยากของสติปัฏฐานหรือความลึกซึ้งอยู่ที่ความเป็นปกติ เพราะว่าสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับเร็วมาก ทุกขณะ มีปัจจัยเกิดพร้อม เวลานี้กำลังเป็นสภาพธรรมที่มีเพราะเกิด เพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง สืบต่อกันอย่างเร็วมาก เป็นปกติ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจผิดนิดเดียว ความเป็นตัวตนหรือความต้องการจะทำ
ความลึกซึ้งของข้อปฏิบัติหรือหนทาง ก็คือว่าเป็นปกติ ทีนี้ความเป็นปกติ บางคนก็บอกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส วันหนึ่งๆ จะพูดทำไมเรื่องธรรมดา เพราะว่าสำหรับคนที่ไม่รู้เป็นธรรมดา จริงๆ เพราะว่ามีอยู่เป็นปกติ แต่สิ่งที่มีปกติ ความลึกซึ้งที่เป็นธรรมที่เป็นอนัตตาที่ไม่ใช่ตัวตน แต่ละขณะของธรรม ไม่ใช่ธรรมดา ต้องเป็นปัญญาที่สามารถจะหยั่งถึงความเป็นสภาพธรรม แต่ละลักษณะตามความเป็นจริง ทีนี้ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปติดตามตัวพยัญชนะ เพราะว่าถ้าติดตามตัวพยัญชนะ เรามีความเข้าใจเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐานหรือเปล่า อันนี้สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีความเข้าใจเลย เราติดตามไปด้วยความไม่เข้าใจตลอด แต่ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ทุกอย่างเป็นปกติเดี๋ยวนี้ทุกบรรพ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งนั้น ถ้าขณะนี้มีสภาพธรรมที่ปรากฏใน ๖ ทาง ก็เป็นปกติอย่างนี้แหละ
การฟังที่จะละ ความต้องการที่เป็นกถา หรือคำพูดที่จะขัดเกลาความไม่รู้ ความต้องการก็คือว่า ต้องฟังอย่างดี แล้วก็ยังไตร่ตรอง แล้วยังรู้ว่า นี่เป็นหน ทางที่มีจริงๆ แต่หนทางบางคนต้องการเร็วมาก แค่นี้นิดเดียว แล้วก็เมื่อไรจะรู้อริยสัจจธรรม แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าเราสะสมความไม่รู้มานานเท่าไร ขั้นฟังก็แทบเป็นแทบตายเหมือนกัน สำหรับบางคนที่จะรู้ว่า ปรมัตถธรรม แล้วก็มีอายตนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฟังเป็นเรื่องเป็นราวทั้งหมด แต่ว่าตามความเป็นจริงสภาพธรรมเป็นอย่างไร ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ อย่างอายตนะ ก็จะไม่พ้นจากสภาพธรรมที่กำลังมี อายตนะ ขันธ์ ธาตุ อริยสัจจะ ก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่กำลังมี ทำไมถึงมีนิวรณ์เข้ามาด้วย ก็เป็นปกติ เพราะว่านิวรณ์รวมอกุศลจิตทุกประเภท ไม่ขาดเลยสักประเภทเดียว ซึ่งมีเป็นปกติ แต่แม้อย่างนั้นเราก็ไม่รู้ความเป็นนิวรณ์ว่า แท้ที่จริงถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด อะไรเกิด กามฉันทนิวรณ์ เป็นปกติ แล้วถ้าไม่ใช่กามฉันทนิวรณ์ กำลังขุ่นเคืองก็เป็นพยาปาทนิวรณ์ คือ เป็นเรื่องที่มีแล้วก็ทรงแสดงใช้คำเพื่อที่จะให้เราเห็นความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ยิ่งขึ้นว่า ไม่ใช่ตัวตน
หนทางไม่ใช่อื่นไกลเลย เพียงแต่ว่าเมื่อมีปัญญาเข้าใจสภาพธรรมตามที่ได้ฟัง ก็จะเป็นปัจจัยให้แม้ขณะนี้หรือขณะไหนก็ตาม สติปัฏฐานจะเกิด ไม่ใช่เราทำ เวลาเกิด เราก็รู้เหมือนอย่างอื่น เพราะเหมือนเห็นเดี๋ยวนี้ เหมือนได้ยินเดี๋ยวนี้ ถ้าเรามีความเข้าใจมั่นคง ว่าเกิดเพราะเหตุปัจจัย แม้สติปัฏฐานที่เกิดขณะไหนก็ตามก็เพราะเหตุปัจจัย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 181
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 183
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 184
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 185
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 186
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 187
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 188
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 189
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 190
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 191
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 192
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 194
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 195
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 196
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 197
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 198
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 199
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 200
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 240