ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
ตอนที่ ๒๑๕
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ เป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่น้อยมาก คือ ชั่วขณะ เพราะว่าเหมือนเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้เห็นก็ชั่วขณะ แต่เห็นมีปัจจัยที่จะเกิดบ่อย ความไม่รู้ และความต้องการ ก็มีปัจจัยที่จะเกิดบ่อย แต่สติปัฏฐานมีปัจจัยแค่ไหนที่จะเกิด จะบ่อยได้ไหมเมื่อเริ่ม ตอนเริ่มเป็นสติปัฏฐานที่เป็นปกติระลึกลักษณะสภาพธรรม ขณะนั้นปัญญามีน้อย แต่รู้ว่า นี่เป็นหนทางที่ปัญญาสามารถที่จะอบรม จนกระทั่งประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ทรงแสดงทุกอย่าง แต่ต้องอาศัยกาลเวลา เป็นผู้ที่มีความมั่นคงในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม แล้วก็จะรู้ว่าขณะไหนเป็นโลภะที่จะกั้น แม้เพียงนิดเดียว ส่วนใหญ่ที่ไปสำนักปฏิบัติ ก็มีเครื่องจูงใจว่า เขาได้ใช้เวลาแล้วก็มีความเพียร คือมีความเป็นตัวตนที่จะใช้เวลาในช่วงที่เขาเข้าไปสู่สำนักปฏิบัติ ช่วงนั้นเขาจะมีความเพียร ไม่นอนบ้าง อะไรบ้าง เพราะได้ยินมาว่า ผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญาท่านก็จะเป็นผู้ที่นอนน้อย แต่ว่าจริงๆ แล้ว การนอนน้อยด้วยปัญญาหรือด้วยความเป็นเรา เพราะว่าความลึกซึ้งของธรรมทั้งหมดจะมาเลย ถ้าเป็นเราซึ่งยังไม่มีปัจจัยที่จะให้สติปัฏฐานเกิดบ่อยๆ แต่เราจะนอนน้อยวันนี้ ลองคิดดูกับการที่เป็นผู้ที่มีปกติจริงๆ ๖ ทาง จะหลับ หรือจะตื่น เมื่อสติปัฏฐานมีปัจจัยก็ระลึก จะนอนหรือจะนั่งก็ตามแต่ เพราะว่าเขาจะเรื่องละโดยตลอด จะดูเอลวิส หรือไม่ดูเอลวิสก็แล้วแต่ คือเครื่องที่เขาจะมาชวนให้ไม่ทำอย่างนั้น หรือไม่ทำอย่างนี้ เพื่ออย่างนั้นอย่างนี้ จะมาตลอด ต้องเป็นคนที่อาจหาญ ร่าเริง แล้วก็ตรงกับสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะมีเหตุปัจจัยในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ก็จะฝืนกระแสของโลภะหลายอย่าง เพราะเหตุว่าโลภะก่อนที่จะมีหนทางที่ถูก ก็มีความต้องการในทางที่ผิด ก่อนนั้นก็อาจจะเป็นโลภะในรูป ในเสียง ในกลิ่น เป็นปกติ แต่คนนั้นก็คิดว่า การอบรมเจริญปัญญาต้องละทิ้งพวกนี้ นุ่งขาวห่มขาวบ้าง หรือไปสู่ที่ไหนๆ ก็ตามแต่ แต่ไม่รู้ว่าปัญญาของเขาได้มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ แค่ไหน ในความลึกซึ้งของธรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้น ไปโดยความไม่รู้ แต่ผู้ที่เป็นพระภิกษุบวชแล้วฟังพระธรรม เวลาที่พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริก ติดตามไปเพื่อฟังพระธรรม ทั้งๆ ที่เป็นภิกษุ ก็ลองคิดดู แม้อย่างนั้นก็ยังตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เตือนว่า ขณะนี้มีสิ่งซึ่งจะช่วยให้เขาเกิดปัญญา เวลาที่สติปัฏฐานระลึก เพราะว่าสติปัฏฐาน ธรรมดาแล้วก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในชีวิตประจำวัน แต่ปัญญาที่สามารถที่จะถึงระดับขั้นที่ฟังความลึกซึ้งของสภาพธรรม เพื่อที่จะเกื้อกูลว่าเป็นอนัตตาของสติปัฏฐานที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ก็มีการฟัง แล้วมีข้อความอีกมากมาย เป็นผู้ยิงไกล ยิงไว ก็คือปกติอย่างนี้ สติสามารถที่จะแยกรู้ว่าขณะไหน อะไรเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ขณะไหน อะไรไม่ใช่อารมณ์ของสติปัฏฐาน เช่น บัญญัติ หรือว่าเรื่องราว ซึ่งต้องมีเป็นประจำ แทรกสลับอย่างรวดเร็ว อย่างในห้องขณะนี้ก็มีคุณแจ๊ค คุณคม แต่มีเห็นซึ่งก็เป็นสภาพธรรม แม้แต่การรู้ว่าเป็นใคร หรืออะไร ก็เป็นธรรมหมด
ชีวิตประจำวันทั้งหมด ปัญญาจะรู้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าเราไปด้วยความไม่รู้อย่างนั้น โลภะพาไปแล้วมีหนทางไหม ที่พอเราไปแล้วเราก็พอใจที่เราได้ไป ได้พากเพียร ได้ทำอะไรหลายอย่าง แต่ชีวิตประจำวันสติปัฏฐานไม่เกิดเลย นี่เป็นหนทางซึ่งเรียกว่า ลึกซึ้งโดยการที่จะเข้าใจ แล้วต้องอาจหาญ ร่าเริง ที่จะไม่เป็นเราที่จะไปพากเพียรแล้วก็ไม่พัก คือไม่ใช่ท้อถอย แต่เราฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจ แล้วรู้ว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดตามปกติ แม้เล็กน้อยก็ไม่ได้ท้อถอย ทั้งไม่พัก และไม่เพียร เป็นเรื่องที่สติปัฏฐานทั้งนั้นเลย ที่ทรงแสดงว่า การอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งแล้วก็รู้สภาพธรรมตามปกติ แล้วสมุทัยเป็นเรื่องที่ต้องละ เพราะว่าไม่ว่าจะทรงแสดงกับใครก็อวิชชาหุ้มห่อ แล้วโลภะก็ฉาบทา สภาพธรรมแท้ๆ ก็ถูกหุ้มห่อปิดกั้น จนกระทั่งไม่สามารถที่จะหยั่งถึงลักษณะจริงๆ ซึ่งเกิดแล้วก็ดับได้ แต่ถ้าค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมแล้วก็ไม่มีโลภะมาฉุดลาก ชักจูงไปให้ทำอย่างอื่นเลย รู้ว่าเป็นเรื่องละ ก็เบาสบาย ชาตินี้เราจะมีสติปัฏฐานเกิดมากน้อยเท่าไร ชาติก่อนมีสติปัฏฐานเกิดมากน้อยเท่าไร เวลาอบรมแล้วถึงชาติที่เราสามารถรู้ได้เลย สติสามารถที่จะเกิดได้ ประจักษ์แจ้งได้ แต่ต้องส่องไปถึงว่า ต้องมีการอบรม หรือต้องมีความเข้าใจในลักษณะของสภาพนั้นๆ จริงๆ ไม่ใช่ว่าไปทำให้เกิดขึ้น แต่ความเข้าใจต้องมีในขณะนั้นที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ
หนทางยากไหม แต่ต้องเป็นอย่างนี้ ไม่เคยกล่าวที่ไหนเลยว่า อริยสัจจ์ ๔ ไม่ลึกซึ้ง ทั้ง ๔ อริยสัจจ์ ทุกขอริยสัจจ์นี้ลึกซึ้งแน่ เพราะกำลังเกิดดับ สมุทัยถ้าไม่รู้ว่าเป็นเครื่องกั้น แล้วก็เป็นเครื่องที่ทำให้สภาพธรรมไม่ปรากฏ เราก็ไปพยายามที่จะคิดว่านั่นคือหนทาง
ผู้ฟัง แล้วขณะนั้นก็เพียร ที่มีความเป็นตัวตนที่ไปพยายามทำอะไร
ท่านอาจารย์ ในพระไตรปิฎกมีมิจฉามรรค ๘ มีสัมมัตตะ ๑๐ ความเป็น ๑๐ ซึ่งเนื่องมาจากมิจฉามรรค ๘ รวมทั้งวิชชา คือ เขาเข้าใจว่าเป็นโลกุตตระ คิดว่าพ้นด้วย เวลานี้เราอยู่ที่นี่ แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา คำนี้จะได้ยิน ใช่ไหม แล้วเราเข้าถึงความหมายอรรถของ “เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา“ แค่ไหนในขณะที่กำลังเห็น เราไม่ได้รู้เลยว่า แท้ที่จริงความคิดของเรา เอาคน เอาสัตว์มาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา จะไปเอามาจากไหน ถ้าไม่มีตาที่จะเห็น นี่คุณอรรณพ นั่นคุณแจ๊ค คุณศุกล ถ้าเป็นคนตาบอดเขาก็คลำ แต่เขาจะไม่มีความจำรูปร่างหน้าตาสีสันขณะนี้เลย เพียงเท่านี้ เพียงความเข้าใจให้ถูกว่า เราเอาบัญญัติต่างๆ เรื่องราวต่างๆ เป็นโคมไฟ เป็นโต๊ะ ออกมาจากสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น แท้ๆ มันเพียงปรากฏ
นี่คือมีเราในรูปหรือเปล่า หรือมีคนนั้น คนนี้ มีสิ่งต่างๆ ในรูปที่ปรากฏ ถ้าคุณซียังไม่เข้าใจตรงนี้ คืนนี้ฝันเห็น เห็นเลยแหละ ใช้คำว่าเห็น เราจำเรื่องราวจากสิ่งที่ปรากฏ เฉพาะเรื่องราว เราไม่เคยมีความรู้ว่า นี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเลย ในใจของเรามีแต่เรื่องราวจากสิ่งที่ปรากฏ
เราฝันได้ทุกเรื่อง ฝันเรื่องขับรถยนต์ ฝันเรื่องคนนี้มาทานข้าวด้วยกัน จะฝันถึงน้ำตกไนแองการา หรือจะฝันถึงในอะไรๆ ก็ได้ เอาความคิดนึกเรื่องราวต่างๆ มาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่สิ่งที่ปรากฏทางตานี่ดับ การที่จะลอกความเป็นตัวตน ความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกจากสิ่งที่ปรากฏ มันจะยากสักแค่ไหน ในเมื่อเราสะสมอบรมมาที่จะไม่รู้เลยว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่การเจริญอบรมปัญญาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้คลาย สามารถที่พอเห็นก็รู้ได้ว่า นี่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้ว เรื่องราวทั้งหลายคือขณะที่กำลังคิดนึก มีจริงๆ แต่คิดนึกทางมโนทวาร ท่านถึงได้แสดงอย่างละเอียดว่า ทางทวารไหนที่สามารถจะรู้อะไรๆ ได้ ที่สามารถที่จะคิดจะนึก นี่ไม่ใช่ทางปัญจทวารเลย
ธรรมทุกอย่างตรง จริง แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า สิ่งที่เกิดในขณะนี้ ถ้าประจักษ์คือสามารถที่จะรู้ว่า เมื่อเกิด ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครทำ เสียงนี้เกิดแล้วปรากฏแล้ว จะไม่มีการคิดว่า เป็นเราที่ทำ ถ้ามีความรู้จริงๆ ในขณะนั้น จะสามารถรู้ถึงปัจจัย โดยไม่ต้องเอ่ยเป็นคำ เช่นเวลาที่กำลังมีแข็งปรากฏ ธรรมดาๆ กายวิญญาณ แต่ตอนที่สติปัฏฐานเกิดก็รู้ลักษณะที่แข็ง ไม่ผิดจากที่กายวิญญาณรู้เลย แข็ง หรือถ้าจะระลึกลักษณะของนามธรรม ก็มีสภาพรู้แข็ง เฉพาะตรงนั้นไม่มีอื่นเลยทั้งสิ้น จะมีไม่ได้ในขณะนั้น จะรู้ไหมว่า นี่คือมรรคปัจจัย โดยที่เราไม่ใช่ชื่อเลย แต่เรารู้ปัจจัยว่า นี่เป็นหนทาง หนทางเดียว ที่จะทำให้ปัญญาสามารถที่จะไม่มีอะไรอื่น รู้ว่าขณะนั้นก็มีแต่เพียงสภาพธรรมตรงนั้น ตรงอื่นไม่มี แต่ถ้าเป็นอัตตสัญญา จำไว้หมดเลย เรากำลังนั่ง แขนขาเราก็มี แล้วแข็งตรงนี้ แข็งตรงนั้น
ทุกอย่างต้องออกมาตรงตามที่ทรงแสดง แล้วก็มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เกิดแล้วก็ดับ จึงจะสามารถประจักษ์ทุกขลักษณะ แต่สิ่งที่ผ่านไปแล้วจะกลับมาปรากฏการเกิดดับได้ไหม เห็นไหมว่า มันต้องละเอียด แล้วก็ทุกอย่างต้องยันกันหมดได้ อ่านแล้วก็เจอพยัญชนะแล้วก็เข้าใจ ตามความคิดนึกของเรา แต่จะตรงไหม
ผู้ฟัง แม้แต่พยัญชนะตรงนี้ก็ยังไม่เคยเจอ หมายความว่าพยัญชนะที่ผมมีความสับสน แม้แต่ตรงนี้ก็ยังไม่เคยเจอ เพราะฉะนั้น ก็เพียงแต่ได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่น แล้วก็ยังไม่แน่ใจเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าเรามีความมั่นคง คือ การศึกษาธรรม พระธรรมเป็นที่พึง เป็นสรณะ แล้วปัญญาของเราสามารถเข้าใจจริงๆ ในอรรถ อันนั้นจะเป็นที่พึ่ง จะได้ยินได้ฟังอย่างไร รู้ได้เลย คำพูดนั้นถูกหรือผิด ไม่ว่าใครพูด จะอ้างตำรับตำราที่ไหนก็ตาม อ้างมาได้แต่ว่า ความจริงคือย่างไร ความเข้าใจอรรถของสิ่งนั้นคืออย่างไร จะเอาสิ่งที่มันดับไปแล้ว กลับมาย้อนให้มันเกิดแล้วเป็นอารมณ์เพื่อที่จะประจักษ์ทุกขลักษณะได้หรือ ไม่มีทาง ต้องยันกันหมดได้ นั่นคือความถูกต้อง แต่ถ้ายังเป็นตรงนี้ตรงนั้น มันไม่สอดคล้องกัน มันจะถูกได้อย่างไร ถ้าถามอย่างนี้จะตอบอย่างไร เราก็ถึงจะเข้าใจ ความที่เป็นปรมัตถธรรม มีปัจจัยเกิดแล้วดับ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ถึงการที่จะหยั่งลงไปถึงลักษณะของสภาพธรรมได้ เพราะว่าลักษณะของสภาพธรรมความจริงเป็นอย่างนี้ เราต้องคิด อะไรที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ในวิสุทธิมรรค ไม่ว่าจะคัมภีร์ไหน โดยปัจจัยหรือโดยอะไรก็ตาม คิดไตร่ตรองเท่าที่ปัญญาของเราจะสามารถรู้ได้ เราต้องรู้เลย ศึกษาพระไตรปิฎก คือพระปัญญาของพระพุทธเจ้า ใครรู้ พระอรหันต์ทั้งหลาย ทรงจำสืบต่อกันมา แล้วเราเป็นใครยุคนี้ เราสะสมมาเท่าไร สามารถที่จะเข้าถึงความเข้าใจอันนั้นได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งใดที่เกินสติปัญญาสามารถ อย่าไปพยายามทำให้มันเป็นปัญญาของเรา เพราะมันเป็นไม่ได้ ของเราก็มีการไตร่ตรองที่ว่า อะไรที่สามารถจะรู้ได้ อย่างสติปัฏฐาน อะไรเป็นอารมณ์ ถ้าเรามีความมั่นใจจริงๆ ว่าต้องถึงทุกขอริยสัจจะ สภาพเกิดดับอันนี้ต้องเป็นสภาพปรมัตถ์อย่างเดียว
ผู้ฟัง ผมอยากฟังความชัดเจนอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ปริญญา ทำไมต้องเอาเรื่องอย่างนี้มากำกับวิปัสสนาญาณอีก ด้วยเหตุผลอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าการอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือเบื้องต้นของการที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งถ้าไม่มีการประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมเลย จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่เพียงชื่อ อย่างนามธรรม นามธาตุ ไม่ใช่เพียงชื่อ หรือแม้แต่มนินทรีย์ ก็ไม่ใช่เพียงชื่อ หรือแม้แต่มนายตนะ ก็ไม่ใช่เพียงชื่อ เป็นลักษณะของธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปนเลย แล้วก็เป็นธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่ แล้วสามารถที่จะรู้ไหมในขณะนี้ กำลังกระทบสัมผัสว่า ธาตุรู้เป็นใหญ่ ฟังอย่างไรก็ติดก็ติดอยู่ที่คำว่าเป็นใหญ่ แต่อรรถลักษณะที่เป็นใหญ่จะปรากฏเมื่อไม่มีสิ่งอื่นใดปรากฏเลย นอกจากขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏทางมโนทวาร เพราะขณะนี้เราจะพูดถึงเรื่องจิตเห็น มันก็มีคิดนึก แล้วมันก็มีเสียง มโนทวารไม่ได้ปรากฏเลย ทั้งๆ ที่สลับคั่นอยู่ทุกวาระ แล้วลักษณะของความเป็นใหญ่ของธาตุรู้ คือ มนินทรีย์จะปรากฏได้อย่างไร แต่ถ้าในขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย ซึ่งความจริงต้องเป็นอย่างนั้น เพราะว่าจิตในแต่ละวาระ จะเกิดขึ้นจะรู้อารมณ์เฉพาะอย่าง เมื่อไรที่ไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากสิ่งที่มีจริงๆ คือ ธาตุรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ โลกจะไม่เหมือนกับโลกที่เราเห็น เพราะว่าโลกที่เราเห็นมีพื้น มีโลก มีความหนาแน่น มีอะไรทุกอย่าง ที่มันเหมือนกับว่า มันไม่มีอะไรจะเข้าไปแทรก เป็นแต่ละส่วน แต่ละอย่าง แต่ละชนิดได้เลย ทั้งๆ ที่สภาพธรรม ทางตาก็ไม่ใช่ทางหู ไม่ใช่ทางจมูก ไม่ใช่ทางลิ้น มันมีสิ่งที่แยกขาดจากกันเป็นแต่ละทาง แต่ว่าเมื่อยังรวมแล้วก็มีความรู้สึกว่า เป็นเรา ถึงแม้ว่า ถูกถามว่ามีฟันไหม ก็ยังบอกว่ามี แล้วมันจริงหรือเปล่า คุณซี หมายความว่าจริงๆ แล้ว สิ่งใดมีเมื่อเกิดขึ้นเท่านั้น จะไม่ใช่ตอนที่เราไปทรงจำไว้ว่า ยังมีอยู่ ยังมีอยู่ ทั้งตัวของเรายังมีหมด หัวใจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ยังมีหมด ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่คิด สิ่งนี้ก็ไม่มี ลักษณะของผมที่เป็นผมที่เรากำลังเห็น ทุกอย่างมี เมื่อเกิดขึ้น แล้วก็กำลังเป็นอารมณ์ของจิตด้วย ถึงจะมีช่วงนั้นขณะนั้นที่จะประจักษ์ได้ว่าเกิดแล้วก็ดับ มีจริง แต่ว่าต้องขณะที่เกิด
เพราะฉะนั้น จึงมี ๒ คำ สังขารธรรมกับสังขตธรรม สังขารธรรม หมายความว่าต้องมีปัจจัยปรุงแต่งไม่ใช่เกิดขึ้นมาได้เอง แต่สังขตธรรม ปรุงแต่งแล้วเกิด คือ เดี๋ยวนี้ที่ปรากฏเพราะเกิด ปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้น กว่าจะสติปัฏฐานอบรม แล้วก็ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์ว่า โลกมันไม่ใช่โลกอย่างนี้ จะไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากสภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้กับสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ ขณะนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ เป็นการเห็น เป็นการประจักษ์ เป็นปัญญาซึ่งไม่มีความสงสัยในอรรถของธาตุรู้ นามธรรมกับรูปธรรม เพราะว่าญาณนั้น นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นปัญญาที่ประจักษ์ความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ไม่มีความสงสัยเลย อรูปพรหมมีได้แน่นอน เพราะที่นั่นไม่มีรูปเลย มีแต่ลักษณะของธาตุรู้ แล้วสำหรับรูปธรรมมันจะน้อยมาก เพราะว่ามันมีสิ่งอื่นที่ปรากฏสืบต่อ วิปัสสนาญาณจะไม่มีการรู้เพียงอย่างเดียว เหมือนเดี๋ยวนี้ มันสืบต่อตั้งเท่าไร เวลานี้อะไรจะปรากฏบ้าง ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ มันก็ปรากฏ แต่ว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้ เพราะว่ามันต่อกันจนกระทั่งไม่ปรากฏมโนทวารเลย แต่วิปัสสนาญาณ มโนทวารปรากฏถึงสภาพซึ่งสามารถที่จะรู้สิ่งที่เป็นรูปต่อจากทางปัญจทวาร มีรูปปรากฏให้รู้ทางมโนทวาร ไม่มีความสงสัยเลยว่า มันแยกไม่ออก เพราะว่ามันเร็วมาก เราไม่ต้องไปคิดถึงทางปัญจทวารเลย ถ้าไม่ได้มีการศึกษามาก่อน จะไม่มีการรู้เลยว่า ต้องอาศัยจักขุปสาท เพราะเรามาศึกษา มันเรื่องยาว แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏเกิดขึ้น มันต้องสั้นเล็กน้อยซึ่งไปสู่กันได้เลย
ขณะนั้นที่มีการรู้รอบ เรียกว่ารู้รอบในลักษณะของธาตุรู้ เพราะว่ามันไม่มีอื่นอีกแล้วนอกจากนี้ รู้รอบในลักษณะของรูปที่ปรากฏเป็นอารมณ์ว่า รูปนั้นเป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่นลักษณะนี้คือ ญาตปริญญา ความรู้รอบในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งต้องเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ถ้าก่อนที่นามรูปปริจเฉทญาณจะเกิด จะเป็นปริญญาอะไร เพราะกำลังเริ่มอบรมจากความไม่รู้เลย เป็นเกิดนิดหนึ่งสติปัฏฐาน แล้วก็ไม่ทันที่จะรู้ในลักษณะนั้นต้องศึกษา อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ก็คือพร้อมกันในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นก็ต้องมีศีลยิ่งกว่าศีลอื่น เพราะว่าศีลอื่น แค่วิรัติ แต่มีความเป็นเรา แต่ขณะนั้น ศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ จนกว่าจะถึง
ทิฏฐิวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณ มันก็ต้องเกี่ยวพันกันทั้งวิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ แล้วก็ปริญญาด้วย ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ จะไปรู้รอบในความเป็นธาตุนั้นได้อย่างไร เพราะมันปรากฏโดยความเป็นธาตุนั้น อย่างนามธาตุจะไม่มีอะไรปรากฏเลย ไม่มีขอบเขต แต่ขณะนี้ขอบเขตของเขาคือเห็น ขอบเขตของเขาคือได้ยิน แต่ถ้าเป็นธาตุรู้เท่านั้น จะไม่มีอะไรเลย โลกอย่างที่เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ปรากฏ นอกจากลักษณะซึ่งเป็นธาตุรู้
ผู้ฟัง ทีนี้ความสมบูรณ์ของปัญญาที่รู้ลักษณะโดยการระลึกจากสติปัฏฐาน ก็เป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ หมายความว่า เวลาที่สติปัฏฐานเกิดจะไม่มีคำ แต่ทุกคนจะอดคิดไม่ได้ เพราะเคยคิดมาก่อนว่า นี่นาม นี่รูป ต้องคิด เพราะเคยแต่ความคิด มีปัจจัยของคิดที่จะเกิด คิดต้องเกิดแน่ๆ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็มีปัญญารู้ความต่างของขณะที่ตัวสติปัฏฐาน กำลังระลึกมีลักษณะปรากฏกับความคิด ซึ่งติดตามมาว่า ที่คิดเป็นเรื่อง ไม่ใช่ลักษณะที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ต้องหลังจาก
ท่านอาจารย์ พร้อมๆ กัน ติดต่อกันก็ได้ เพราะว่าเป็นปกติ อย่างคุณศุกลเวลานี้ แข็งปรากฏก็ปรากฏตามปกติ แต่เวลาสติปัฏฐานเกิด ก็รู้แข็งนั่นแหละ ไม่มีการแยกว่า กายวิญญาณรู้ แล้วก็มาสติปัฏฐานเกิดทางมโนทวารต่อ แล้วมารู้ ไม่มีการแยกเลย เพราะว่าสติเกิด เมื่อสติเกิดก็รู้ในลักษณะนั้นที่จะใช้ตามปริยัติก็คือกายวิญญาณรู้ก่อน แล้วลักษณะสติระลึก ไม่ได้ระลึกลักษณะของจิตที่รู้ซึ่งเป็นกายวิญญาณ แต่ระลึกลักษณะของรูปที่แข็ง เพราะฉะนั้น ลักษณะของกายวิญญาณ จะไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานในขณะที่ระลึกลักษณะของแข็ง ขณะนั้น ชั่วขณะ แล้วต่อจากนั้นใครจะห้ามความคิดได้ เพราะว่าทุกคนจะคิดว่า นามธรรม เรียกชื่อต่อไปเลย ทั้งๆ ที่กำลังมีธาตุรู้ กับรูปธรรมคือแข็ง ก็ใส่ชื่อเข้ามาเสร็จสรรพ เพราะฉะนั้น คนนั้นก็มีปัญญาที่จะรู้ความต่างว่า ขณะที่เป็นสติปัฏฐาน มีลักษณะปรมัตถ์ แต่ขณะที่คิด ไม่ใช่แล้ว
มันเร็วแค่ไหนที่คนนั้นก็สามารถจะรู้ได้ว่า ลักษณะของสติปัฏฐาน คืออย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมรรคกี่องค์ สัมมาทิฏฐิต้องมี แต่น้อยจนกระทั่งไม่สามารถจะรู้ลักษณะของแข็งซึ่งเกิดดับ และเป็นเพียงแข็ง อย่างอื่นไม่มีตรงนั้น เพราะว่าเพียงแต่เริ่มเท่านั้นเอง เหมือนกับแตะนิดหนึ่ง แล้วต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องเป็นราวเป็นตัวเป็นตนที่ยังมีมากที่คิดเรื่องนั้นต่อไป แต่ผู้นั้นเริ่มรู้ นี่คือหนทางเดียว ถ้าไม่มีการระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ จะไม่รู้เลยว่าลักษณะนั้น เป็นเพียงอย่างนั้น คนนั้นก็ต้องรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันมีลักษณะ แล้วแต่ว่าสติปัฏฐานจะเกิดหรือไม่เกิด จะระลึกหรือไม่ระลึก จะระลึกอะไร ก็แล้วแต่สติปัฏฐาน อันนี้จะค่อยเป็นหนทางที่เขาถามหากันนักว่า หนทางลัดมีไหม หนทางอื่นมีไหม ที่เขาพยายามจะถึงเร็วๆ แต่หนทางอื่นก็ไม่มี แล้วหนทางนี้มันจะลัดยิ่งกว่าหนทางอื่นไหม คือว่าไม่ต้องไปเสียเวลาทำอย่างอื่น ที่มันผิด ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไปนั่งทำปริญญา หรือไปนั่งท่องอะไรต่ออะไร แต่ว่าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งมันต้องกินเวลานานมาก คนนั้นก็รู้ แต่ความเห็นถูกจะละความต้องการ เพราะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องเร็ว แล้วมันเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย แล้วเป็นเรื่องละ พอโลภะเกิดแทรก รู้ทันที จะผิดอีกแล้ว สีลัพพตปรามาส นี่คือตรงนี้ แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปตลอด เพราะว่ายิ่งปัญญาละเอียดขึ้น สีลัพพตก็จะละเอียดตามได้ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีวิปัสสนูปกิเลส ในขั้นของอุทยัพพยญาณ ความละเอียดขึ้นของความเป็นตัวตนต้องปรากฏ เพื่อที่จะดับ เพราะว่าเราเคยได้ยินแต่ชื่อ แล้วตัวตนของเรา เราก็เห็นแบบสักกายทิฏฐิทำให้เกิดอะไรต่ออะไร ที่เป็นมานะบ้าง หรือว่าข้อประพฤติปฏิบัติที่สุดโต่ง ที่อะไรๆ ก็แล้วแต่ ที่มันทำให้ไปด้วยความเป็นตัวตน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 181
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 183
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 184
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 185
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 186
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 187
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 188
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 189
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 190
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 191
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 192
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 194
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 195
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 196
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 197
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 198
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 199
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 200
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 240