ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217


    ตอนที่ ๒๑๗

    สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ ที่ประสงค์ในที่นี้ พร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ก็คืออินทรียสังวรศีล ยิ่งกว่าศีลใดๆ หมดทั้งสิ้น เพราะว่าศีลอื่น โลภะเกิด ยังไม่กระทำทุจริต วิรัติได้ แต่ไม่รู้ว่า โลภะ ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่ศีลนี้เพื่อที่จะรู้ความไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมทั่วทั้งหมด แม้แต่คำกล่าวที่ว่า สมาธิเป็นบาทของปัญญา ไม่ใช่สมาธิอื่น ไม่ต้องไปนั่งทำสมาธิ แล้วไม่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แล้วจะไปเป็นบาทของการที่จะให้นามรูปปริจเฉทญาณเกิดรู้ก็ไม่ได้ ต้องเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับสัมมาสติ สัมมาทิฏฐิที่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ลักษณะของพละ หรือ ลักษณะของอินทรีย์ ก็บอกอยู่แล้ว อย่างลักษณะของศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เขามีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเขามีกำลังขึ้น จนกระทั่งสามารถจะรู้ได้ทีละอย่าง ขณะนั้นก็แสดงอยู่แล้วว่า สมาธิก็เป็นบาทที่จะให้ปัญญาประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ในขณะนั้นด้วย ทั้งสติ ทั้งสมาธิ เป็นพละ สติเป็นพละ คือ ไม่หวั่นไหว ระลึกลักษณะของสภาพธรรมได้หมด ถ้าหวั่นไหวเลือกเมื่อไรคือ อย่างไรก็ไม่เป็นพละไปได้ ยังมีความเป็นตัวตนอยู่ แล้วจากขณะที่วิปัสสนาญาณเกิด บางกาล จนกระทั่งถึงระลึกทางไหนก็คลายความเป็นเรา เพราะว่าเข้าใจถูกต้อง จากการประจักษ์ว่า เป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละทางในชีวิตประจำวันจริงๆ นี่คือความห่าง และความต่าง ที่ทำไม ๓ ญาณนั้น แม้ว่าสัมมสนญาณ ประจักษ์การเกิดดับจริงๆ แต่ว่าอย่างเร็ว อย่างชนิดซึ่งไม่ใช่ประจักษ์แจ้งอย่างของอุทยัพพยญาณ เพราะว่าอะไรที่เราทำอย่างรวดเร็ว อย่างพลิกดูหนังสือ มันก็เร็วๆ ๆ ๆ ไป มันก็เกิดดับ แต่การที่เราที่ละอันๆ อย่างชัดเจนถูกต้อง ก็ต้องต่างกัน เพราะฉะนั้น สัมมสนญาณก็เป็นตรุณวิปัสสนา ยังไม่สามารถที่จะถึงการระลึกจนทั่ว และคลายเพิ่มขึ้น ถ้ายังไม่คลายเพิ่มขึ้น ที่จะถึงอุทยัพพยญาณ เป็นไปไม่ได้ และการคลาย คนนั้นก็ต้องรู้ด้วยตัวเอง อบรมอย่างไร เจริญอย่างไร ไม่ใช่ไม่รู้หนทางเลย อยู่ดีๆ ก็ถูกสอนมาว่าให้ไปนั่ง แล้วจะประจักษ์การเกิดดับ เป็นไปได้อย่างไร ไม่มีการคลายในชีวิตประจำวันเลย เพราะว่าวิปัสสนาญาณเป็นอนัตตา บังคับได้ไหม จะให้สมบูรณ์เมื่อไร จะให้เกิดในขณะที่มีสภาพธรรมใดเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกันเลย

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าผู้ที่ฟังแล้ว ถ้ามีความเข้าใจ แล้วเวลาที่สติปัฏฐานเกิดจริงๆ ความเข้าใจผิดที่ว่า จะต้องไปทำอย่างนั้นอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ แต่อย่าลืมความหวัง โลภะ เขาจะตามมาตลอดเลย ไม่ว่าญาณไหน เมื่อไรจะถึง อีกญาณหนึ่ง นี่มโนทวาร หรืออะไรอย่างนี้ เขาจะมาตลอด เพราะว่าเป็นเรื่องที่แสนโกฏิกัปป์มาแล้วที่เรามีอวิชชากับความเห็นที่เป็นสักกายทิฏฐิ แล้วอบรมอย่างไร แสนโกฏิกัปป์ รากที่มันลึกที่สุดเลย คือ สักกายทิฏฐิ อนุสัย นี่คือการดับอนุสัย ไม่ใช่ระงับแบบสมถภาวนา วิขัมภนะ แต่อนุสัย เราคิดดูจะดับเมื่อถึงโลกุตตรจิต มรรคจิตเท่านั้นที่จะดับได้ แสดงว่ามันแค่ไหนที่สะสมจนกระทั่งติดอยู่กับจิตตลอดเวลา ไม่ว่าจิตนั้นจะเกิดขึ้นเป็นอะไร เพียงแต่ว่าอนุสัยไม่เกิด เพราะเกิดเป็นปริยุฏฐานะ เจตสิกทั้งหลายทำงาน สามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากเชื้อที่มีอยู่

    เรื่องดับอนุสัยเป็นเรื่องที่ดับได้แน่นอน แต่ต้องละเอียดแค่ไหนถึงจะถึงการดับอนุสัยได้ ก็อบรม เพราะว่าผู้ที่อบรมแล้วมี พระอริยทั้งหลายในพระไตรปิฎก แสดงอดีตชาติของท่านทั้งนั้นเลย ที่ท่านอบรมกันมาไม่ใช่ภายใน ๑ กัปป์ ไม่มีใครภายใน ๑ กัปป์ แล้วกัปป์นานเท่าไร ไม่ต้องคิดเลย หนทางที่ดีที่สุดไม่คิดไม่หวัง นั่นคือคาถาที่ทำให้ละคลายความติดข้อง และให้เกิดวิริยะโดยที่ว่าไม่หวังผล วิริยะอย่างไรเขาก็เกิดอยู่แล้ว ทันที่ที่สติปัฏฐานเกิด วิริยะมีแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรอีกเลย ถ้าทำคือตัวตนเข้ามาอีกแล้ว คือต้องรู้หมด ท่านบอกว่า เหมือนกับคนที่ประคองน้ำมันทูนศีรษะไป แล้วทางที่ไปรอบตัวคือหนามทั้งนั้น จะต้องมีความระแวดระวังขนาดไหนที่จะไม่ถูกหนามตำ คือความเห็นผิดต่างๆ โลภะที่จะทำให้เราเคลื่อนไปจากหนทางนี้ เพราะฉะนั้น สัจจญาณสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีสัจจญาณ กิจจญาณเกิดไม่ได้เลย ท่านกำกับไว้หมดเลย ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้จักสัจจญาณ แล้วก็จะไปอบรมเจริญอะไร แล้วสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ตามไปหมดเลย ในอริยสัจจะ ๔ ที่จะไม่ให้คลาดเคลื่อนไปได้ คุณซีเข้าใจว่า อนัตตาคืออะไร

    ผู้ฟัง คือสภาพความไม่มีตัวตน

    ท่านอาจารย์ แล้วอะไรที่จะเป็นตัวตนได้

    ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริง ก็ไม่มีอะไรเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ มีคำตอบอย่างนั้น แล้วเข้าใจคำว่า ธรรม ว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง ธรรมก็คือสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นให้รู้ได้

    ท่านอาจารย์ ให้รู้ได้

    ผู้ฟัง คือสิ่งที่มีจริงปรากฏขึ้น จิตสามารถรู้สิ่งนั้นได้ตามความเป็นจริง แต่ว่าให้รู้ได้ หมายถึงว่าอาจจะไม่รู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นก็ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจคำว่า ธรรม เข้าใจคำว่า ธาตุ นั่นก็คือไม่ใช่ตัวตนชัดเจน ไม่ต้องไปหาอะไรอีกเลย เพราะว่าธาตุหรือธรรมนั่นแหละเป็นอนัตตา เป็นของใคร ธาตุสักธาตุหนึ่ง ธาตุไฟเป็นของใคร โกรธเป็นของใคร

    ผู้ฟัง ไม่มีของใครเลย

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจคำว่าธรรมกับธาตุ ก็เข้าใจความหมายของอนัตตา ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ลักษณะของธรรมก็มีแต่ละอย่าง แต่ละลักษณะ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือว่า วิเสสลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่าง ซึ่งต่างๆ ๆ ๆ กันออกไป แต่ละประเภทไม่เหมือนกันเลย ลักษณะนั้นๆ ถ้าไม่เกิดขึ้น เราจะรู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าไม่เกิดจะรู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วใครทำให้เกิด

    ผู้ฟัง ไม่มีใคร

    ท่านอาจารย์ นี่คืออนัตตาใช่ไหม แล้วสิ่งนั้นดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ดับ แต่ยังไม่รู้

    ท่านอาจารย์ แล้วเป็นของใคร สิ่งที่เกิดแล้วดับเพราะเหตุปัจจัย แสดงความเป็นอนัตตาอยู่แล้ว บังคับก็ไม่ได้ ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ อย่างเดี๋ยวนี้ที่เห็น ไม่ให้เห็นได้ไหม ไม่ได้ แล้วใครทำให้เห็นเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครทำ นั่นคือลักษณะของธรรม อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ก็ไม่มี นั่นคือความหมายของอนัตตา ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน ก็หมายความว่าทุกอย่างไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น นิพพานก็มี ไม่ได้เกิดขึ้นไม่ได้ดับไป แต่นิพพานก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นธาตุหรือเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ความจริงอย่างเช่นบอกว่า สภาพของแข็งเป็นอนัตตา นี่ก็พอเข้าใจได้ดี เพราะว่าบอกว่าความแข็งคือความแข็ง ไม่มีอย่างอื่นเลย นอกจากความแข็งอันนั้น

    ท่านอาจารย์ ลักษณะแข็งมีจริง

    ผู้ฟัง แต่ว่าอย่างนิพพานก็เช่นเดียวกัน คือ ไม่มีความเป็นตัวตนในลักษณะของความเป็นนิพพานนั้นเลย แต่พอถึงบัญญัติๆ ไม่มีความเป็นตัวตน เพราะว่าแม้แต่ความมี ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ก็บัญญัติมันก็ไม่มี จะเอาตัวตนมาจากที่ไหน

    ผู้ฟัง บัญญติเป็นอนัตตา แต่ไม่มีอนัตตลักษณะ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เพราะความที่เป็นอนัตตลักษณะต้องมีเพราะบัญญัติแม้แต่ลักษณะก็ไม่มี ความเป็นลักษณะนี้ไม่มีแน่นอน

    ผู้ฟัง คืออยากทราบว่าตัวไหนที่จะเป็นตัวบอกว่า จิตนี้จะไปเกิดภูมินี้ จิตเหมือนกับว่าเป็นชนิดเดียว แต่อะไรที่เป็นตัวแตกต่างที่ทำให้จิตดวงนี้ไปเกิดในนรก จิตดวงนี้ไปเกิดเป็นเปรต

    อรรณพ กำลังของกรรม และความวิจิตรของกรรม อย่างในมนุษย์มีมากมายไม่รู้ว่ากี่สิบล้าน ร้อยล้าน ก็มีปฏิสนธิจิตเกิดเพียง ๙ ดวง คือ มหาวิบาก ๘ และอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากที่เป็นมนุษย์ที่บ้าใบ้บอดหนวก แต่ว่าความวิจิตรก็วิจิตรมากมาย ทำให้เป็นคหบดีมหาศาล ทำให้เป็นยาจก ทำให้เป็นอะไร ถึงแม้ว่าปฏิสนธิจิตจะเป็นประเภทเดียวกันก็เป็นได้อยู่ดี แล้วความวิจิตรของกรรมที่จะทำให้ปฏิสนธิได้อัตภาพที่ต่างกัน แต่ที่มีความเหมือนกันทั้งในอบายภูมิเหมือนกันแน่นอน คือเป็นภูมิที่ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ส่วนความลำบากก็แตกต่างกันไป ตามสมควรแก่กรรม คือ อกุศลจิตที่มีกำลังถึงขั้นล่วงกรรมบถที่ต่างๆ กัน อาจารย์ช่วยขยายความเพิ่มเติมให้ชัดเจน เพราะว่าคุณหมอมีปัญหาว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากดวงเดียวทำให้เกิดในอบายภูมิซึ่งมีภพภูมิหลากหลายมาก สัตว์เดรัจฉานก็มากมาย เปรตหลายประเภท อสุรกาย สัตว์นรก มีขุมต่างๆ กัน

    ท่านอาจารย์ คงไม่มีใครสามารถจะบอกได้ รู้แต่ว่าเป็นผลของอกุศลกรรมซึ่งต่างกัน วิจิตรต่างๆ กัน แม้แต่มนุษย์ที่คุณอรรณพว่าเมื่อกี้นี้ เป็นผลของกุศล แต่ทำไมต่างกันมากมาย หน้าตาอะไรๆ ทุกสิ่งทุกอย่าง จะวิจิตรต่างๆ กันไปได้

    ผู้ฟัง คำว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศล แค่เป็นชนิดของจิต แต่ยังมีความแตกต่างในการสะสม หรือว่ากรรมที่สะสมมาในอดีต

    ท่านอาจารย์ ความวิจิตรของแต่ละบุคคล แต่ละกรรมมากมายจนกระทั่งประมวลไม่ได้เท่านี้ คือว่าจะมากกว่านี้คงจะวิจิตรออกไปมาก อย่างโลภะ แต่ละคนแต่ละขณะก็เป็นไปต่างๆ นานา แต่เมื่อประมวลแล้วได้ ๘ อย่าง เพราะฉะนั้น เวลาผลเกิดขึ้นก็คือจิตที่ปฏิสนธิ สำหรับของอบายภูมิ เมื่อเป็นผลของกรรมก็ต้องมีวิบากแน่นอน กรรมที่ทำแล้วทั้งหมดก็ให้ผลตามเหตุ แต่เหตุวิจิตรจนเราบอกไม่ได้

    ผู้ฟัง ทำไมผลของอกุศล จึงมีแต่อเหตุกวิบาก ทำไมไม่มี สเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ กรรมที่ทำแล้ว ไม่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เหตุมี วิบากต้องมี กุศลก็ทำให้เกิดอเหตุกกุศลวิบากด้วย เพราะว่าอเหตุกจิตมี ๑๘ เป็นกิริยา ๓ เป็นอกุศลวิบาก ๗ เป็นกุศลวิบาก ๘ เพราะฉะนั้น กุศลวิบาก ๘ ก็เป็นผลของกุศลกรรม ไม่ว่ากรรมเป็นกุศล อกุศล ต้องทำให้เกิดวิบาก อกุศลจิตก็ทำให้มีอเหตุกวิบาก คือไม่ประกอบด้วยเหตุเลย ไม่ต้องมีเหตุประกอบใดๆ ทั้งสิ้น วิบากก็เกิด แล้ววิบากนั้นก็ทำหน้าที่เพียงแค่ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ สัมปฏิฉันนะ ๒ สันตีรณะ ๓ นอกจากนั้นจะไม่ใช่วิบากของกรรมเดียวกันที่ให้ผลในวาระเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศล อย่างเวลานี้ เราเห็นดีๆ ก็เป็นผลของกุศลกรรม แต่จิตเห็นไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย เราได้ยินเสียงดีๆ ก็ตาม แต่ขณะที่การได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่ดีก็เป็นผลของกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น กุศลให้ผลแค่นี้ เห็นดี ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่เราต้องการเหลือเกิน เราติดแค่เห็น แค่ได้ยิน แค่ได้กลิ่น แค่ลิ้มรส แค่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสดีๆ แค่นี้ที่เราต้องการ แต่หลังจากนั้นแล้ว พอวิบากให้ผลแล้ว อกุศลเกิดต่อ หรือกุศลเกิดต่อ เพราะฉะนั้น อันนี้สำคัญกว่า ทางฝ่ายอกุศล ให้ผลได้เพียงแค่นี้ คืออกุศลวิบาก ๗ อกุศลกรรมใดๆ มากมายสักเท่าไรก็ตาม สังฆาทิเสสหรืออะไรๆ ทั้งหมด ตั้งแต่ใหญ่สุดจนถึงเล็กสุด ก็ให้ผลเป็นอกุศลวิบาก ๗ เท่านั้น ไม่มากกว่านั้น แต่ทางฝ่ายกุศล มีการให้ผลประณีตกว่ามากตามลำดับ เพราะว่ามีมหาวิบาก ซึ่งเป็นผลของมหากุศล ที่ใช้คำว่า กามาวจรวิบากก็ได้ เพิ่มด้วย แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีครบหมด อย่างน้อยที่สุดกุศลกรรมที่ทำก็ทำให้กุศลวิบากอเหตุกเกิดนี้แน่นอน แต่ส่วนมหาวิบากจะเกิดมากน้อยแล้วแต่กรรมนั้นอีก อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีมหาวิบากครบ ๘ เลิศด้วยประการทั้งปวง ผู้ที่มีไม่ครบก็ได้ ลดหลั่นกันไปตามกำลังของกรรมนั้นๆ

    เรามองเห็นสัตว์โลกเป็นที่ดูบาป และบุญ และผลของบาป และบุญ จะบุญมากบุญน้อยก็เป็นที่ดู เห็นความต่างย้อนกลับไปหาเหตุได้เลย แต่ว่าวิบากที่เท่ากันแน่นอน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันนี้แน่ ส่วนมหาวิบากนั้นก็ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ตทาลัมพนะ

    ผู้ฟัง คำว่า สเหตุกะ นี่ก็ยังไม่เข้าใจทำไม มันไม่มีในอกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ากรรมที่ทำแล้ว ไม่ว่ากุศลหรืออกุศล จะให้ผลโดยไม่ต้องมีเหตุเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง อย่างไรก็ต้องให้ผล

    ท่านอาจารย์ ให้ผล เมื่อกรรมที่ทำสำเร็จไปแล้ว เพราะฉะนั้น อกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบากจิต ๗ ดวงเป็นอเหตุกะ แล้วกุศลกรรมก็ทำให้เกิดกุศลวิบาก ๘ ดวงที่เป็นอเหตุกะ อันนี้จบไปแล้วชุดหนึ่ง แต่ว่าพิเศษออกมา คือ สามารถที่จะให้ผลเพิ่มเติมทางฝ่ายกุศล เป็นมหาวิบาก มากน้อยต่างกันตามความวิจิตรของกรรม ถ้าเป็นกรรมที่ประณีตมาก ก็มีมหาวิบากได้ครบ ๘ ประกอบด้วยปัญญา ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่ถ้ากรรมที่ไม่ประณีตก็ลดหลั่นลงไป อย่างพวกที่มีมหาวิบากที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาเลยเขาก็มี เพราะเหตุว่ากุศลของเขาแม้ว่าประณีตสักเท่าไรก็ตาม แต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เขาจะไม่มีฝ่ายมหาวิบากที่เป็นญาณสัมปยุตต์

    ผู้ฟัง อกุศลกรรมที่ทำ ถือว่าหยาบหมด

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่า หมอจะเอาความหยาบเกินทางตา หู จมูก ลิ้น กายได้ไหม ที่ว่าเรามีทางที่จะได้รับผลของกรรม ๕ ทาง ตาสำหรับเห็น หูสำหรับได้ยิน จมูกสำหรับได้กลิ่น ลิ้นสำหรับลิ้มรส กายสำหรับกระทบสัมผัส อย่างความเจ็บปวด จะให้มันแรง สักเท่าไร มันก็ทางกาย ทางฝ่ายอกุศลก็ให้ผลที่ไม่ดี

    ผู้ฟัง ทีนี้ความต่างของกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ากุศลกรรมกว่าจะสำเร็จ คิดดู กุศลจิตที่จะเกิดต้องประกอบด้วยโสภณเจตสิก ๑๙ ดวงอย่างต่ำ อย่างธรรมดา ๑๙ ดวง ๑๙ ดวงนี้ ทั้งศรัทธาต้องมี ทำให้จิตผ่องใส แล้วคิดดูสิว่า ถ้าขณะนั้นจิตเป็นอย่างนั้น แล้วก็มีสติ มีอะไรๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ความวิจิตรของเขาจะมีแค่ไหน

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว คงเป็นเพราะว่าโสภณธรรมที่จะเกิดขึ้น ขณะที่กุศลจิตเกิด มันต้องการ

    ท่านอาจารย์ มันต้องมีส่วนประกอบมากที่จะให้เป็นกุศล

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น กรรมที่จะเป็นวิบากก็ยังแตกต่างกันมาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น วิบากของเขาก็จะประณีตต่างกันไปตามอธิบดี ตามอะไรหลายอย่าง วิริยะ หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่

    ผู้ฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าที่เราพูดกันบ่อยๆ หมายความว่าอย่างไร

    อรรณพ พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามมากมาย ที่เราเรียกท่านว่า พระผู้มีพระภาค ภาคะ แปลว่า ส่วนหรือผู้ที่จำแนกธรรม พระผู้จำแนกธรรม ไม่มีใครที่จะสามารถที่จะตรัสรู้แล้วก็จำแนกธรรม ปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจำแนกโดยความเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ สัจจะ ละเอียดมากมาย นั่นคือพระมหากรุณาคุณของพระองค์

    ผู้ฟัง ก็คงจำแนกญายธรรม เพื่อให้เวไนยสัตว์

    อรรณพ ได้รู้ตาม

    ผู้ฟัง ได้เข้าใจ

    อรรณพ พระผู้มีพระภาค คือผู้ทรงจำแนกธรรม จำแนกธรรมเพื่อให้เห็นในความไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน แล้วเพื่ออบรมเจริญปัญญา บรรลุ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ยังไม่เข้าใจเลยว่าจะทำอย่างไร เรายังจะทำให้มันมีพื้นฐาน ที่จับจุดสำคัญเรื่องปรมัตถ์ แล้วก็รู้ตามเรื่องราวเหมือนเดิมว่า ไม่มีตัวตน แต่ว่าก็ไม่รู้ว่าเป็นความรู้สึกที่ถูกหรือเปล่า หรือควรจะพิจารณาหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถามว่าปรมัตถธรรมควรจะมาพิจารณาอย่างไร ก็ยังเป็นตัวตนที่ต้องพิจารณาอยู่ดี ผมคิดว่าเรื่องการศึกษาธรรม ปรมัตถธรรม เราก็ทราบอยู่แล้วว่ามีเท่าไร ตามที่เราเรียนมา แต่ธรรมนั้นเป็นเพียงแต่คำอธิบายเพื่อให้เรารู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ความไม่มีตัวตน หรือความมีตัวตน ขณะนี้ความมีตัวตนมันมีอยู่แล้ว เราไม่ต้องกังวลว่ามันจะมีตัวตน เพราะว่าตราบใดที่เรายังไม่สามารถละคลายความยึดถือในนามรูปว่าเป็นตัวตน ซึ่งเป็นพระโสดาบันได้ ความเป็นตัวตนนั้นเรามีแน่นอน แต่ให้เราเข้าใจว่า ขณะนั้นธรรมที่เราเรียนมามันมีอยู่ในชีวิตประจำวันคือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเราหมั่นใครครวญสิ่งที่เราเรียนมาว่า อันนั้นชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง เมื่อเรามีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว มีหนทางที่จะปฏิบัติ ความละเอียดของธรรมที่เราศึกษาไปเรื่อยๆ จะทำให้เรามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะว่าหนทางที่เราเริ่มต้น มันถูก มันตรงแล้ว ยิ่งต่อไปข้างหน้า ยิ่งมีความเข้าใจมากขึ้น แต่ถ้าตอนเริ่มต้นมันไม่ตรงแล้ว ตอนปลายๆ ก็จะยิ่งจะมีความสับสน แล้วตอนแรก ถ้าเราตรงแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหา

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความมั่นใจพื้นฐานที่มั่นคงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง ถ้าปัญญาไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ ก็ไม่สามารถที่จะละกิเลส หรือละความเห็นผิดที่ละสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตนได้

    เพราะฉะนั้น พื้นฐานที่มั่นคงจริงๆ ยังไม่ต้องไปนึกถึงมหาสติปัฏฐานสูตร หรือว่าบรรพต่างๆ แต่ต้องมีความมั่นคงว่า สภาพธรรมที่มีจริงที่ปรากฏ แล้วไม่เคยรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นโดยประการใดๆ ก็ตาม การที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เราได้ ก็ต่อเมื่อสติระลึก รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ นี่ขั้นต้น แล้วต่อมาการที่ทรงแสดงสติปัฏฐาน เป็น ๔ บรรพ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าศึกษารวมทั้งหมดแล้วไม่เว้นอะไรเลยทั้งสิ้น ก็ตรงกับที่ว่า สภาพธรรมใดก็ตามที่มีจริงที่ปรากฏ ปัญญาไม่เกิดขึ้น สติปัฏฐานไม่เกิดขึ้นไม่รู้ ก็ไม่ใช่หนทางที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน

    จุดสำคัญ คือ สิ่งที่มีที่ปรากฏเป็นเครื่องเตือนว่า ขณะนี้อะไรกำลังปรากฏ สติระลึกหรือเปล่า ปัญญารู้หรือเปล่า เมื่อเวลาที่มาอ่านสติปัฏฐาน แยกเป็น ๔ บรรพ จะรู้เลยว่า ในหมวดที่แสดงแยกออกมาเพราะตามการยึดถือ เช่นการยึดถือกาย เรายึดแน่ๆ มีใครบ้างที่เป็นแต่เพียงรูปเท่านั้น ที่เกิดตรงนี้แต่ยึดถือว่าเป็นเรา คิดดู เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย จะเป็นตรงไหนก็ได้ ลมหายใจของเราหรือของคนอื่น แต่ในความที่เคยยึดถือ ตั้งต้นตั้งแต่ความที่เคยยึดถือจนกระทั่งกว่าจะดับความยึดถือได้

    สติปัฏฐานจะแสดงส่วนทุกส่วนบรรพต่างๆ ตามการที่เคยยึดถือทั้งหมด เพราะว่าไม่เคยรู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม เคยยึดถือว่าเป็นกาย ตั้งแต่ลมหายใจ หรือว่าอริยาบถ หรือว่าสัมปชัญญบรรพ หรือว่าปฏิกูล ก็แล้วแต่ คือส่วนต่างๆ ของกายทั้งหมดอยู่ในบรรพนั้น ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก อย่างพอเห็นโครงกระดูก เราคิดถึงกายหรือเปล่า โครงกระดูกไม่ใช่มีด ไม่ใช่ดอกไม้ ไม่ใช่อะไร แต่ยึดถือว่าเป็นกาย เพราะฉะนั้น เมื่อมีการยึดถือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ไม่สามารถที่จะละสักกายทิฏฐิได้ เพราะว่ายังเป็นสิ่งนั้นอยู่ในความเป็นคนหรือว่าส่วนของคน กระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนกระทั่งเป็นผง ก็แสดงไว้หมดตลอด ครบถ้วน

    ทรงแสดงธรรมครบถ้วนทุกอย่าง แต่แยกเป็นบรรพต่างๆ ตามการที่เคยยึดถือ กายมีทุกอย่าง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นที่ประชุมอันเดียว เพราะฉะนั้น จึงมีเอกพจน์ว่า เห็นกายในกาย กายอันนี้อันเดียว พอถึงเวทนาที่เป็นความรู้สึก ความรู้สึกก็มีหลากหลายที่เกิดขึ้น ก็ยึดถือความรู้สึกนั้นๆ ว่า เป็นเรา ก็จะต้องระลึกรู้แม้ความรู้สึก ใครก็ตามที่เจริญสติปัฏฐาน ไม่รู้ลักษณะของความรู้สึกว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คนนั้นจะสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ได้ไหม

    เห็นกาย คือรูปขันธ์ พอเป็นเวทนาก็เป็นเวทนาขันธ์ ต้องรู้เพราะว่ามีในขณะนี้ เมื่อกี้นี้คุณแดนถามเรื่องของความรู้สึกว่า ความรู้สึกมีอะไรบ้าง เมื่อเขาตอบว่า มีโสมนัส โทมนัส อุเบกขา ก็เลยถามเขา ว่าขณะนี้เดี๋ยวนี้มีเวทนาอะไร เขาอาจจะตอบเวทนาอื่นได้ แต่อุเบกขาเวทนา ตอบไม่ได้ เช่นกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ใครจะรู้ว่าเป็นอุเบกขา เพราะว่าขณะใดก็ตามที่ความรู้สึกนั้นบอกไม่ได้ คืออุเบกขา มันเหมือนหาไม่เจอ ทั้งๆ ที่มันมี แต่สุขรู้ ทุกข์รู้ โสมนัส โทมนัสรู้ แต่ตัวอุเบกขาไม่รู้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 17
    29 ก.ค. 2567