ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
ตอนที่ ๒๒๖
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ผู้ฟัง ก็รู้อยู่ผู้ที่รับผลกรรมจะลงไปสู่อบายภูมิ ๔ อบายภูมิ แต่ว่ากำลังจะรู้จัก คือว่า นรกอย่างนี้ เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน แล้วใน ๓ ประเภท อบายภูมินี้ แม่นมนุษย์อีก เขาจำแนกกรรมอะไรจึงจะไปเกิดต่างกัน ก็รู้จักว่ารับกรรมอยู่ เพราะว่ามันกรรมทั้งนั้นในตัว จะไปเฮ็ดมันดีๆ น้อยนึงนะ
ท่านอาจารย์ กรรมที่ทำแต่ละกรรมเสมอกันหรือเท่ากันไหม
ผู้ฟัง ไม่เสมอกัน
ท่านอาจารย์ อย่างเวลาที่เรามีศรัทธาเกิดขึ้น จะสวดมนต์ไหว้พระ กราบพระ แม้แต่การก้มลงกราบแต่ละครั้งเท่ากันหรือเปล่า ในศรัทธา และปัญญา
ผู้ฟัง ...
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ผลของกรรมจะเป็นอย่างเดียวกันได้ไหม
ผู้ฟัง เรื่องเจ้ากรรมนายเวรนั้น ผมมีความสนใจว่า มันสิได้รับหรือไม่ เจ้ากรรมนายเวรมันสิมีไหม เจ้ากรรมนายเวร ตามที่ได้ฟังธรรม แล้วเข้าใจธรรม หรืออ่านจากหนังสือ ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร อยากจะสอบถามอาจารย์ ขออยากให้อาจารย์อธิบายให้พอเป็นหนทางหรือ พอสังเขป
ท่านอาจารย์ ขอเชิญคุณศุกล
ผู้ฟัง ไม่ใช่แต่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าเป็นชาวพุทธ มีความเข้าใจว่าต้องมีคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ก็เกิดความรู้สึกว่า ถ้าเราทำบุญแล้วไม่กล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ เดี๋ยวจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรมาเบียดเบียนมาทำให้เดือดร้อน เราก็ไม่รู้จริงๆ ว่า ตัวเจ้ากรรมนายเวรมันคืออะไรกันแน่ แต่ว่าท่านอาจารย์สุจินต์ท่านก็ให้เหตุผล แล้วให้ทุกคนพิจารณาเองว่า คำว่า เจ้ากรรม หมายความถึงกรรมที่แต่ละคนทำ ไม่ได้ทำอะไรไว้กับใคร ที่ไหนอย่างไร เวลาที่ผลของกรรมซึ่งเป็นวิบากจะให้ผล ก็ต้องให้ในขณะที่มีทางที่จะรับ ถ้าไม่มีทางที่จะรับ กรรมนั้นก็ให้ไม่ได้ ทางที่รับผลของกรรมที่เรียกว่าวิบาก ก็มีอยู่ ๕ ทาง ทางตา เห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ผมก็มีความเห็นแค่นี้
ท่านอาจารย์ คำกล่าวอุทิศส่วนกุศลมีตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงดับขันธปรินิพพาน ในครั้งที่พระเจ้าพิมพิสารได้ทำบุญอุทิศแก่เปรตซึ่งเคยเป็นญาติในอดีต เพราะฉะนั้น ในคำกล่าวอุทิศส่วนกุศล มีคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” หรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นผมก็ไม่รู้นะ
ท่านอาจารย์ ในคำอุทิศส่วนกุศล สืบต่อภาษาบาลีมากระทั่งขณะนี้ แต่ไม่มีคำว่า อุทิศแก่เจ้ากรรมนายเวร ไม่มีใช่ไหม ไม่มีแน่นอน
ผู้ฟัง มีแต่สัพเพสัตตา
ท่านอาจารย์ อันนั้นแผ่เมตตา ไม่ใช่อุทิศกุศล หลังจากที่ทำกุศลแล้ว มีกุศลสืบต่อจากการกระทำกุศล คืออุทิศส่วนกุศลที่ได้กระทำแล้วให้ผู้อื่นเกิดกุศลจิตอนุโมทนา เมื่อเขาสามารถที่จะรู้ และเกิดกุศลจิต แต่ถ้าเขาไม่เกิดกุศลจิต ใครจะเอากุศลของเราไปให้เขา ไม่ได้เลย กุศลของใครก็ของคนนั้น แต่การอุทิศส่วนกุศลก็เพื่อให้เขาเกิดกุศลจิตว่าเราได้ตั้งใจทำบุญ แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้เขา ไม่มีคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร”
เพราะฉะนั้น ก็น่าคิด เจ้ากรรมนายเวรมีหรือเปล่า ในเมื่อกรรมใครทำ กรรมนั้นแหละที่ทำแล้วจะต้องเป็นเหตุให้เกิดวิบาก และไม่ใช่ไปเกิดกับคนอื่น กุศลจิตของใครที่เกิดแล้วก็ดับไป ก็สะสมสืบต่อเป็นกรรมปัจจัยพร้อมที่จะให้วิบากจิตเกิดเมื่อไร ถึงกาลที่วิบากจิตประเภทไหนจะเกิด วิบากจิตนั้นก็เกิดเพราะกรรม เราไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เราจะบอกไม่ได้เลยว่า ขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมที่ได้ทำมาตั้งแต่ครั้งไหน เมื่อไร ถ้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคทรงแสดงได้เลย เป็นผลของกรรมชาติไหน แต่ในชีวิตของเรา ทั้งวันเราไม่พ้นจากการรับผลของกรรม เพราะมีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส ถ้าเราเห็นดี เป็นเพราะเราทำดี เจ้ากรรมนายเวรเอาอะไรที่ดีๆ มาให้เราหรือเปล่า หรือว่ากรรมของเราต่างหากที่ได้กระทำไว้ ถ้าเป็นกรรมที่ดีก็ให้เห็นสิ่งที่ดี ถ้าเป็นกรรมที่ไม่ดี ก็ให้เห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีคนอื่นสามารถจะเอาอะไรมาให้เราได้ ที่เราเกิดมา ขณะแรกที่เกิด เจ้ากรรมนายเวรพาเรามาเกิดหรือเปล่า หรือกรรมของเราต่างหาก กรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้ว ถ้าเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดในสุคติภูมิ คือแม้บนสวรรค์ ก็เป็นผลของกุศลกรรมที่เราได้กระทำ คนอื่นจะทำอะไรไม่ได้เลย จะมาทำให้เกิดเป็นอกุศล ให้ผลเป็นอกุศลวิบากก็ไม่ได้ ไม่มีส่วนมากเกี่ยวข้องกับกรรมของบุคคลใดที่ได้กระทำแล้ว กรรมนั้นแหละจะเป็นปัจจัยทำให้ผล คือ วิบากจิตเกิด ชาตินี้เคยฆ่าสัตว์ไหม เคยฆ่าอะไรมาบอกสักอย่าง
ผู้ฟัง ฆ่าปลา
ท่านอาจารย์ ฆ่าปลา แล้วอุทิศส่วนกุศลเพราะคิดว่าปลาเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ผมคิดอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ หรือ ปลารู้ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ แล้วอุทิศไปทำไม ปลาจะรู้ได้อย่างไร ตอนเป็นปลาก็ไม่รู้ว่าใครมาฆ่า แล้วเราไปถือว่าปลาเป็นเจ้ากรรมนายเวร แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ แต่ปลาก็ไม่รู้ อุทิศเท่าไร ปลาก็ไม่รู้ ไปเกิดที่ไหนเป็นอะไรแล้ว ก็ไม่รู้ แล้วเราอุทิศอะไรให้ใครที่ไม่รู้ แล้วกรรมนั้นก็ให้ไม่ได้ด้วย
ผู้ฟัง ถ้าว่าเป็นมนุษย์ ตัวอย่างที่ว่าเราก็ไม่รู้ เพราะว่าเราเกิดมาชาตินี้
ท่านอาจารย์ ยังถือว่าปลาเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ผมคิดว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร
ท่านอาจารย์ เขาเป็นอย่างไร เป็นเจ้ากรรมอย่างไร เขาทำให้เราเกิด หรือทำให้เราเห็น
ผู้ฟัง บางครั้งชาติต่อไปผมก็จะไปเกิดเป็นปลา เขาก็มาฆ่าผม
ท่านอาจารย์ ถ้าจะเกิดเป็นปลา ปลาตัวนั้นทำให้เราเกิดเป็นปลา หรือกรรมของเรา ทำให้เกิดเป็นปลา
ผู้ฟัง กรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ปลานั้นไม่เกี่ยวแล้ว ใช่ไหม เจ้ากรรมนายเวรตัวนั้นไม่เกี่ยวแล้ว ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวรเลยสักนิดเดียว เพียงแต่ความคิดของเราเท่านั้นเอง คิดว่าเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวร เพราะว่าไม่เข้าใจว่าแท้ที่จริงกรรมต่างหาก กรรมของเราเองเท่านั้นที่จะทำให้เราเกิด ที่จะทำให้เราเห็น ที่จะทำให้เราสุข หรือทุกข์ ได้ลาภ ได้ยศ นินทา สรรเสริญทั้งหมด เป็นเรื่องของกรรมของเรา คนอื่นไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย ถ้าเขาทำให้เราเกิดได้ เขาเป็นเจ้ากรรมนายเวร แต่เราเกิดไม่ใช่เพราะใครทำ แต่กรรมของเราที่เราทำเอง ยังมีเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ทำไมผมจึงถามอาจารย์ เพราะว่าบางครั้งผมเป็นผู้นำพิธีกร พิธีทางศาสนา ข้าพเจ้าผู้ยังศรัทธา เฉพาะเจาะจงถึงเจ้ากรรมนายเวรโดยเฉพาะอย่างเดียว ไม่ได้หมายถึงคนอื่นด้วย เฉพาะเจ้ากรรมนายเวรเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ก็ถามว่าใครเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขา
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ทำอะไรด้วยความไม่รู้ แล้วผลคืออะไร ถึงอย่างไรก็ยังไม่รู้อยู่ดี อย่างปลาไปอยู่ไหนแล้วก็ไม่รู้ ตัวที่ถูกฆ่า เกิดเป็นคนก็ได้ เขาก็ไม่รู้ว่าเราอุทิศส่วนกุศลให้ เพราะเขาไม่ใช่เจ้ากรรม แล้วก็ไม่ใช่นายเวรอะไรด้วย แล้วคนไทยก็ชอบทำให้คล้องกัน กรรม เวร ก็มีเจ้านาย ก็แยกเสียว่าเป็นเจ้ากรรม แล้วก็นายเวร แต่ทั้งหมดจริงๆ ไม่มี มีแต่กรรมเป็นของๆ ตน พอที่จะมีความมั่นใจหรือยัง ไม่ต้องกลัว
ผู้ฟัง สำหรับผมเข้าใจแล้ว แต่ว่าคนอื่นยังไม่รู้
ท่านอาจารย์ กลัวเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่กลัวแล้ว บัดนี้ สำหรับผม
ท่านอาจารย์ ไม่กลัวเพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่ามันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง เราทำอะไรไว้ เราจะได้รับกรรมอันนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะไม่มีเจ้ากรรมนายเวร แต่มีกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นของๆ เรา ไม่มีการอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรอีกต่อไป ใช่ไหม
ผู้ฟัง จะให้ขยายเรื่องศีล ๕ เพราะว่าประเพณีของเรา เวลาที่ไปวัด เราสมาทานขอศีล ๕ จากพระคุณเจ้า แล้วก็บางคนก็ว่า เราไม่จำเป็น เพราะว่าเรามีอยู่แล้ว ศีล ๕ เราไม่ไปทำอะไรให้ใคร เราก็มีศีล ๕ อยู่แล้ว สำหรับตัวคิดเอง คิดว่าในระหว่างศีล ๕ นั้น องค์เดียวก็ยังไม่ได้เลย อยากให้ช่วยขยาย ให้ทุกท่านได้เข้าใจด้วย
ท่านอาจารย์ คำว่า “สมาทาน” หมายความว่าถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เพราะฉะนั้น พระภิกษุท่านก็คงเตือนให้รู้ว่า สิ่งที่ควรจะประพฤติปฏิบัติมีอะไรบ้างสำหรับคฤหัสถ์ คนที่ฟังแล้ว ฟังแล้วถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติหรือเปล่า หรือว่าพอท่านบอกท่านกล่าว หรือว่าท่านกล่าวเราก็กล่าวตามท่านไป แต่ว่าไม่มีเจตนา ความตั้งใจจริงที่จะประพฤติปฏิบัติตามเลยก็ได้ เพราะว่าบางคนพอรับศีลเสร็จแล้วก็ดื่มเหล้า พอกล่าวจบก็กระทำทุจริตทางวาจาก็ได้ เป็นเรื่องความจริงใจที่ว่า ผู้นั้นเห็นประโยชน์ของศีล จึงได้ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ไม่เกี่ยวกับว่าใครจะต้องมาให้เราหรือเปล่า หรือเวลาที่พระท่านกล่าวแล้วเราว่าตาม ก็คงจะเป็นการเตือนของท่าน ให้ระลึกถึงประโยชน์ของการรักษาศีล แต่ว่าอยู่ที่ผู้ฟัง ผู้ฟังจะถือว่าเป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ และจะประพฤติปฏิบัติหรือไม่ ก็แล้วแต่บุคคลนั้น แล้วความจริงขณะที่กล่าว ก็เป็นเพียงเจตนาศีล มีความตั้งใจในขณะนั้น แต่ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ ศีลหายไปหรือเปล่า หรือว่าด่างพร้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น เป็นชั่วกาลหนึ่งๆ ที่มีความเลื่อมใส มีความศรัทธาเกิดเมื่อไร มีความคิดที่จะสมาทานถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมีการกล่าววาจาใดๆ เลยก็ได้ ถ้าเราเกิดเห็นอะไรซึ่งทำให้เรามีความคิด ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ต่อไปนี้เราจะไม่ทำอย่างนั้น อย่างบางคนก็อาจจะมีญาติ ผู้เป็นที่รักจากไป ก็รู้ว่าเป็นสิ่งซึ่งโศกเศร้า ฉันใด ถ้าเราทำให้คนอื่นเดือดร้อน เขาก็ต้องเป็นทุกข์โศกเศร้าฉันนั้น ถ้าเกิดกุศลจิตไตร่ตรองตรึกตรองคิดเอาว่าทางที่ดีแล้วก็อย่าไปทำให้ใครเดือดร้อนเลย คนที่เคยฆ่ายุง ต่อไปนี้จะไม่ฆ่าสัตว์ก็ได้ ขณะนั้นก็เป็นการสมาทานศีล ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติของตัวเอง คำว่าสมาทาน ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติของเราเอง
ผู้ฟัง คำถามจากหลายๆ คน และความสงสัยจากหลายๆ คนว่า เห็นทีไรก็เป็นตัวตนทุกที อะไรต่างๆ
ท่านอาจารย์ ไม่น่าสงสัย มันต้องเป็นอย่างนี้ เพราะอย่างไรๆ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ อยู่ดีๆ ไม่เคยฟังธรรมเลย พอฟังแล้วก็บอกว่า เห็นทีไรก็เป็นตัวตน ก็แน่นอนก็ต้องเป็น เพราะเหตุว่าเป็นความรู้ขั้นฟัง
ผู้ฟัง แต่ความเข้าใจของเราก็จะต้องถูกต้องว่า ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ ความจริงคืออย่างนั้น แล้วเราก็จะต้องค่อยๆ เข้าใจตาม แต่การที่จะไม่ให้เห็นเป็นสัตว์บุคคลตัวตน ขณะนี้ปัญญาของเรายังไม่ถึงที่จะสามารถรู้ได้ ประจักษ์ได้ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพียงขั้นที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ก็ต้องฟังด้วยดีแล้วใช่ไหม เพราะว่าไม่เคยรู้เลยว่า ธรรมนี้คืออย่างไร แต่ความจริงธรรมคือสิ่งที่มี แล้วมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ ทั้งวันเป็นธรรมหมดเลย มีขณะไหนซึ่งไม่ใช่ธรรม เห็นก็เป็นธรรม ได้ยินก็เป็นธรรม นี่ขั้นฟัง ใช่ไหม แต่ต้องน้อมรู้ว่า กำลังเห็นที่จะรู้ว่า เป็นธรรมจริงๆ เป็นสภาพที่เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ คือ ไม่มีตัวตนแต่สามารถเห็น ต้องมีความเข้าใจ และความระลึกได้ แม้เพียงนิดเดียวว่า ขณะนี้มีจริงๆ เพราะมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วสิ่งที่ปรากฏที่กล่าวไว้แสดงไว้ ก็คือว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลตัวตน เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ พอเข้าใจขึ้นแล้ว เวลาที่กำลังปรากฏก็ค่อยๆ รู้ขึ้นว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ เราก็สามารถที่จะเห็นความต่างของขณะที่เห็นกับขณะที่คิด ผู้ที่ตรัสรู้สามารถรู้จริง คือ หยั่งลงไปถึงการเกิดขึ้น และดับไป โดยประการทั้งปวง โดยการเกิดดับเป็นขันธ์ โดยอายตนะ โดยอะไรทุกอย่างที่ทรงแสดง
สิ่งที่เรามองเห็นว่า เหมือนไม่มีอะไรผู้ตรัสรู้ทรงแสดง ๓ ปิฎก แสดงว่าลักษณะแท้จริงของสภาพธรรมเป็นอย่างนั้น ถ้าลักษณะแท้จริงของสภาพธรรมไม่เป็นอย่างนั้น จะไม่มีคำที่จะทรงแสดงให้รู้ว่า ลักษณะแท้จริง ความเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง เป็นอย่างนั้นอย่างนั้น อย่าง “อาสวะ” ลองคิดดู ลักษณะของเขาเป็นอย่างไร เราก็เพียงแค่รู้ว่า โลภะ แต่ว่าทรงแสดงความเป็นจริงของเขา ทั้งอาสวะ ทั้งโอฆะ ทั้งโยคะ ทั้งคันถะ สัมปฏิรสะ ของเขาเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้จริงๆ สิ่งซึ่งเหมือนไม่มีอะไร แต่ผู้ที่หยั่งถึงความเป็นของสิ่งนั้น สามารถที่จะรู้สิ่งนั้นโดยประการทั้งปวง โดยปัจจัย เราเพียงแค่เกิด จะทันที่จะรู้ไหมว่าปัจจัยอะไร แต่จากปัญญาที่ค่อยๆ อบรม ก็จะรู้ความต่าง ต้องมีอารมณ์ เพราะจิตขณะนั้นไม่มีอื่นเลย มีแต่จิตกับอารมณ์ ถ้าไม่มีอารมณ์ จิตขณะนั้นก็ไม่มีที่จะไปเห็นอารมณ์นั้นได้ หรือจะได้ยินอารมณ์นั้นได้ หรือได้กลิ่นอารมณ์นั้นได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้จิตประเภทนั้น เกิดขึ้นรู้ในขณะนั้น เพราะทุกอย่างที่เป็นธาตุ จะปรากฏโดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนเลย เป็นแต่เพียงลักษณะของเขา ซึ่งมีสภาพอย่างนั้น อย่างนามธรรมก็จะไม่มีสีสันอะไรเจือปนเลย ธาตุรู้เท่านั้นเอง เอาโลกออกหมด เอาอะไรออกหมด ธาตุรู้กับอารมณ์ เพราะฉะนั้น เราถึงจะเข้าใจ การที่ทรงแสดงๆ ตามความเป็นจริง แล้วสำหรับผู้ที่มีปัญญาระดับไหน จะรู้ปัจจัยได้ขนาดไหน ผู้ที่หยั่งรู้ทรงแสดงได้เลยว่าขณะนั้นจะต้องมีปัจจัยเท่าไร อย่างไร
สัจจญาณ คือ ความมั่นคงยิ่งขึ้นในการที่จะรู้ว่าเป็นธรรมที่ปรากฏ แล้วก็การเกิดดับต้องเป็นแน่นอน ซึ่งจะต้องอบรมจนกว่าจะถึงกตญาณ เพราะฉะนั้น เราก็รู้ตามความเป็นจริง การอบรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านอบรมมาแล้ว ทำไมเป็นจิรกาลภาวนา
เพราะเป็นปกติ ยากมากเลย ปกตินี่ เพราะใจคอยคิดว่าจะทำ จะรู้ หรือจะดู หรือจะอะไรก็แล้วแต่ เคลื่อนไปนิดหนึ่ง จนกว่าเมื่อสภาพธรรมปรากฏกับสติสัมปชัญญะ ตามปกติเมื่อไร เมื่อนั้นตัว“จะ”หรือว่าตัว โลภะ จะค่อยๆ จางลง เพราะฉะนั้น การที่สภาพธรรมจะปรากฏยิ่งขึ้น ผู้นั้นก็รู้ว่า อะไรปิดบังไว้ เยื่อใยยังมีอยู่ตราบใด ก็ยังคงปิดบังไว้ตามกำลังของเยื่อใยนั้น เพราะว่าความรู้ขั้นฟัง เราก็รู้ว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา แต่ความยึดถือแค่ไหน เพราะนั่นเรื่องฟัง เรื่องรู้ว่า ความจริงของผู้ที่ท่านละแล้ว ท่านเป็นอย่างนั้น แต่ว่าตัวจริงของเราถึงระดับไหนของอันนั้น ถ้ายังไมถึง ผู้นั้นก็คือตรง ถูกต้อง นั่นคือ สัจจญาณ คือ ทุกอย่างที่จะเป็นสัจจญาณ เพิ่มความมั่นคงขึ้น เพื่อเป็นปัจจัยให้สัมมาสติเกิดระลึกลักษณะ ไม่ใช่ระลึกรู้เรื่อง แต่ระลึกรู้ลักษณะ ค่อยๆ รู้ลักษณะตามความเป็นจริงว่า ลักษณะนี้เป็นรูป ไม่ใช่สภาพรู้ แล้วลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้น โลกอื่นไม่มีรวมอยู่เลยในขณะที่กำลังสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้จางเร็วอย่างนั้น ยังมีความเป็นเรา เพราะสภาพธรรมยังไม่ได้ปรากฏโดยความไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากขณะนั้นเท่านั้น เราเรียนเพื่อเข้าใจว่า ความจริงคืออย่างนั้น แต่อัตตสัญญายังมีมากมายที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่ตรงต่ออริยสัจจ์ ๔ ตามความเป็นจริง สัจจญาณก็จะมั่นคงขึ้น มั่นคงขึ้น พอสัมมาสติเกิด ก็รู้เลยว่าเพราะมีสัจจญาณ ถึงไม่ไปทำอื่น จึงเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิดระลึก ชั่วขณะ แต่เรารู้ความต่างว่า ขณะที่สัมมาสติเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ นี่ต่าง แล้วรู้ว่าปัญญาตรงนั้นแค่ไหน จะเพิ่มขึ้นด้วยการที่สัมมาสติเกิดอีก จนกว่าจะรู้ได้ และในขณะเดียวกันต้องไม่มีความอยากที่จะให้สัมมาสติเกิด คือ ตัณหา และสมุทัยของเขาตามติดตลอด ไม่มีทางที่จะปล่อยไปได้เลย ไม่เช่นนั้นไม่ทรงประทานอุทานว่า เราพบนายช่างเรือน ผู้สร้างเรือน คือ สังสารวัฏฏ์ ที่อยู่ภพชาติแต่ละชาติ เขามาสนิทมาก รวดเร็วมาก เพราะฉะนั้น ทางสายกลางลองคิดดู ไม่มีทั้งอภิชฌา และโทมนัส เราก็คิดว่า ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นไม่มีโทสะ ไม่ต้องการอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ไม่มีอภิชฌาในอารมณ์ที่ยังไม่ปรากฏ แต่แม้ขณะนั้นก็ตาม หนทางนี้ก็คือว่า เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดแล้ว ยังต้องไม่มีความอยาก เพราะว่าความอยากปรากฏให้เห็นความเป็นเรา จะเห็นความหนาแน่นของเรา สักกายทิฏฐิทั้งหมด มีชื่อเวลาเราเรียน แต่ตัวจริงของเขาจะเริ่มปรากฏให้เห็นว่า จะมากแค่ไหน จะค่อยๆ คลายแค่ไหน และถึงจะหมดเยื่อใยได้แค่ไหน ตามกำลังของปัญญา ไม่ใช่ไปเป็นเราที่จะพยายามไปฝืน พยายามจะไปเพียรโดยที่ว่า ไม่รู้ความจริงว่า เป็นเรื่องของการอบรมด้วยการละ
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์แสดงมาทั้งหมดนี้ ก็รวมอริยสัจจ์ ๔ ทั้งหมดเลย ทั้งทุกขอริยสัจจ์ สมุทัยอริยสัจจ์ นิโรธ แล้วก็มรรค มีองค์ ๘ ด้วย
ท่านอาจารย์ ทีนี้ถ้ายกอริยสัจจะที่ ๓ นิโรธสัจจะออก เพราะเป็นนิพพาน ความเข้าใจในทุกขสัจจะ ในสมุทัยสัจจะ ในมรรคสัจจะ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ทรงแสดงไว้เลย ไม่ใช่ลึกซึ้งเฉพาะสัจจะที่ ๓ แต่ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นป้องกันเราจากความเห็นผิดโดยประการทั้งปวง จะคิดว่าง่าย จะคิดว่าทำ จะคิดว่าได้ผล หรืออะไรก็แล้วแต่ โลภะเขาอยู่ตรงไหน เห็นสมุทัยหรือเปล่า
ผู้อบรมเจริญปัญญาที่จะไม่เห็นสมุทัย คือ ผู้ที่ไม่ได้ละสมุทัย เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะถึงไหม ก็เป็นเรื่องปัญญาของคนฟัง ต้องละเอียดแล้วก็ต้องอบรมด้วยตนเอง ต้องรู้เลยว่าโลภะมาแล้ว จะให้ทำอะไรก็คือขณะนั้นผ่านไป ถ้าเราหลงตามก็คือว่าสมุทัยก็ยังคงติดตามไปได้อีกเรื่อยๆ ทุกขั้นตอน เขาเก่งมาก ร้ายมาก ยากมาก แต่ต้องละ
ผู้ฟัง การที่จะให้มีความเข้าใจสภาพของสมุทัย ซึ่งท่านอาจารย์ก็เน้นว่า เขาเก่งมากเหลือเกิน ไวมาก เก่งมาก บางทีเขาเกิด เราก็ไม่รู้ตัวเลย เพราะฉะนั้น การที่จะศึกษาให้รู้จักตัวนี้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์ ท่านอาจารย์มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ คือเมื่อใดที่สติปัฏฐานเกิดเท่านั้น จึงเริ่มจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ความอยากเกิดแทรกคั่นเมื่อไรก็คือตัวเขาเริ่มโผล่หน้ามาให้เห็น เพราะว่าปกติถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด เราตามเขาไปไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย ใช่ไหม แต่พอสติสัมปชัญญะเกิด โผล่มาเมื่อไร ก็พอจะเห็นว่า นี่
ผู้ฟัง เป็นปัญญาถึงจะรู้ ไม่ว่าเขาจะเก่งกาจขนาดไหน เบาบางขนาดไหน ต้องเป็นปัญญาถึงจะรู้ได้ ถ้าเป็นตัวเรา เราก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย เพราะโลภะกลัวอยู่อย่างเดียว นี่พูดแบบภาษาธรรมดา คือปัญญา แต่จะไม่กลัวอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะว่าเขาชนะหมด เว้นปัญญาที่เขาแพ้ ที่ไหนมีปัญญาที่นั่นไม่มีโลภะ ที่ไหนไม่มีโลภะ ที่นั้นถึงจะมีปัญญาได้ เพราะว่าเขาจะตามไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องที่คุณแจ๊คได้พูดว่า เห็น ไม่เป็นสัตว์บุคคลตัวตน ทีนี้คนฟังเขาก็จับเอาประโยคนี้ ปกติเขาเห็นแล้วเป็นคนเป็นสัตว์ทุกที พอมาฟังหนทางหรือแนวทางนี้ เขาว่า เห็นไม่เป็นสัตว์บุคคล จะมีความคิดว่า จะเห็นอย่างไร จะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นตัวตน สักกกายทิฏฐิทุกคำ ที่ออกมาโดยตัวเองไม่รู้ว่าเป็นสักกายทิฏฐิ
ผู้ฟัง การที่จะพูดถึงเรื่องที่มันถึงจุดสำหรับปัญญาที่เขาถึงแล้ว กับสิ่งที่เราจะให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้ที่ศึกษา พร้อมตัวเราเองด้วย ความเข้าใจส่วนตัวของผม ผมคิดว่าเรื่องการศึกษาหนทาง และข้อปฏิบัติ แล้วฟังเรื่องลักษณะ เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างไรหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ หนทางมี ปัญญารู้ แต่ถ้าถามถึงวิธีเมื่อไร คือไม่รู้
ผู้ฟัง ทีนี้ว่าเวลานี้มันก็มี สิ่งที่จะต้องมีการศึกษา
ท่านอาจารย์ ให้เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง เข้าใจได้ เพราะว่าทั้งผู้สอนผู้ฟังก็สามารถที่จะรับในสิ่งที่กำลังแสดงต่อกันได้ โดยความเป็นจริงก็เพลินไปได้ ที่เข้าใจก็เพลินไป สนุกไป ทีนี้เวลาที่จะเป็นความรู้ที่เราจะต้องไม่ลืมว่า เวลานี้เราอยู่จุดไหนของความรู้จริงๆ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 181
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 183
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 184
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 185
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 186
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 187
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 188
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 189
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 190
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 191
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 192
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 194
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 195
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 196
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 197
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 198
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 199
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 200
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 240