ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
ตอนที่ ๒๒๗
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ผู้ฟัง ทั้งผู้สอนผู้ฟังก็สามารถที่จะรับในสิ่งที่กำลังแสดงต่อกันได้ โดยความเป็นจริงก็เพลินไปได้ ขณะที่เข้าใจก็เพลินไปสนุกไป ทีนี้เวลาที่จะเป็นความรู้ที่เราจะต้องไม่ลืมว่า เวลานี้เราอยู่จุดไหนของความรู้จริงๆ ก็ต้องพิจารณาว่า เวลานี้สิ่งที่เราจะต้องรู้เบื้องต้น คือลักษณะของธรรม คำว่า ทุกสิ่งเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แค่ฟังก็รู้แล้ว เป็นแค่ปริยัติ ฟังอย่างไรถึงไม่รู้ว่าเป็นปริยัติ เป็นระดับขั้นของการฟังเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง ทีนี้เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ หมายความว่าทุกอย่างเข้าใจแล้ว ทีนี้ควรจะได้ทราบไปถึงว่า เมื่อเป็นเรื่องของปริยัติ แล้วเรามาเพื่อพิสูจน์ว่า สิ่งที่ปริยัติกล่าวไว้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องมีตัวเราไปทำเลย ฟัง มีความเข้าใจปริยัติก็คือปริยัติ ก็จบ แล้วแต่สภาพธรรมอะไรจะเกิด ไม่อย่างนั้นตัวเราคอยจะเป็นผู้จัดการอีก มาได้อีกหลายรูปแบบ ตัณหา โลภะ เขาจะมาโดยไม่รู้ตัวเลย เมื่อฟังแล้วจะต้องมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่
ผู้ฟัง ไม่ใช่ทำ คือเข้าใจเรื่องธรรม
ท่านอาจารย์ เข้าใจก็คือเข้าใจ เป็นหน้าที่ของปัญญา ไม่ต้องทำอะไรเลยหมด พอเริ่มจะทำ มาแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นไร ฟังแล้วก็เข้าใจแล้ว หมดแล้วก็หมดแล้ว ก็มาทำอย่างอื่น ฟังอีกก็เข้าใจอีก ก็อบรมไป ความเป็นตัวตนเริ่มมาแล้ว รักตัวตนจะให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ จะเข้ามาขัดขวางทันทีเท่าที่เขาทำได้ เขาทำทุกอย่าง “โลภะ”
ผู้ฟัง อันนี้เข้าใจ ทีนี้ในฐานะอย่างผู้สอน ผู้ให้ความรู้
ท่านอาจารย์ ให้คนนั้นฟัง พิจารณาแล้วก็คือแล้ว
ผู้ฟัง ผู้เรียนเขาต้องมาถามอีก ทีนี้ผู้สอนก็ต้องมีคำอธิบาย ตรงนี้เหมือนกับจะให้เกิดประโยชน์ คงจะต้องกลับมาแสดงหนทาง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเราจะเป็นกฎเกณฑ์อะไร แต่ความมั่นคงที่เราจะให้คนอื่นเกิดความเข้าใจ เราก็ต้องรู้ว่าคนที่เขาฟัง เขาเข้าใจอะไรแค่ไหน คือคุณศุกลต้องเข้าใจว่า ธรรมที่ฟังเป็นขั้นปริยัติ
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ คนฟังก็รู้ว่า เป็นความรู้ขั้นปริยัติ มีทางไหนที่ความรู้เขาจะเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะค่อยๆ อธิบาย เพราะเรารู้ว่าอย่างไรๆ ก็เป็นขั้นปริยัติอยู่ จนกว่าเขาเข้าใจขึ้นอย่างไร เป็นความเข้าใจของเขาเอง ต้องให้เป็นความเข้าใจของเขาเองที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ซ้ำไปซ้ำมา ในพระไตรปิฎก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีอยู่เท่านี้แหละ ทุกวัน มีทางไหนที่จะทำให้เขาเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นสิ่งที่เขาเรียน อย่างเรื่องที่รูปรมณ์ พอฟังใหม่ๆ ก็คิดว่า เขาไม่สามารถจะรู้รูปารมณ์ได้ เพราะเขาไม่เข้าใจโดยชื่อ มีรูปารมณ์ปรากฏ ไม่ใช่เขาไม่เคยมีรูปารมณ์เลย แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เท่านั้นเอง ขณะนี้
ผู้ฟัง รู้ว่าเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ กำลังปรากฏ ไม่ต้องไปติดชื่อ ถ้าติดชื่อ หารูปารมณ์ไม่เจอ
ผู้ฟัง ทีนี้ก็มีเรื่องต่อไปว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ก็เป็นข้อสงสัยที่เขาจะต้องกลับเข้ามาขอคำอธิบาย ในฐานะที่
ท่านอาจารย์ เรื่องเขา เรื่องเราไม่เป็นไร ใครจะคิดอย่างไร แต่เรามีหน้าที่ ที่ว่ารู้ว่าเขาไม่เข้าใจตรงไหน อยู่ในขั้นตอนไหน เราก็พยายามให้ความเข้าใจของเขาเพิ่มขึ้น เท่านั้นเอง ให้ตรง ให้ถูก เพื่อที่ว่าสัจจญาณของเขามั่นคง ก็เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานของใครจะเกิดวันไหน เราก็ไม่สนใจอีก มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราก็คือ ช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง เรื่องการเกิดของรูป เกิดแบบไหน ดับแบบไหน มีกี่ขณะ
ท่านอาจารย์ รูปเป็นธรรมแน่นอน แล้วก็วันหนึ่งๆ ก็มีรูปไม่มาก เพียงแค่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ๑ รูป คือ เห็น เราเห็นมามากเลย แต่เราก็ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นเพียงรูป รู้สึกว่ามันจะมีมากกว่าเพียงรูป เป็นดอกไม้ เป็นขวด เป็นต้นไม้ เป็นคน มันไม่ใช่เพียงรูป แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ อันนี้เราฟังไว้ เพราะว่าเราอาจจะเคยฟังมาแล้วบ้าง ชาติก่อน แล้วก็ฟังชาตินี้ชาติหน้า เราก็ไม่พ้นการฟังกันอีกเรื่องรูป เพราะว่ามันยากจริงๆ ที่จะให้เห็นเป็นเพียงรูปเท่านั้น ขณะนี้มีคนมากมายที่เรากำลังเห็น แล้วจะบอกว่าเป็นเพียงรูป ก็ยาก เพราะว่าความจริงแล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเราลองคิดถึงว่า คนตาบอดไม่เห็น อะไรก็ตามที่คนตาบอดไม่เห็น คนตาบอดอาจจะคลำ แล้วก็รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอะไร จะเป็นกลม หรือจะเป็นเป็นเหลี่ยม มีขาออกไป มีแขนยื่นมา เขาก็พอจะจำได้ แต่ไม่เห็น อย่างคนตาบอดคลำพระพุทธรูป ก็อาจจะเริ่มคลำไปเรื่อยๆ แต่อย่างไรๆ ก็ไม่เห็น
เพราะฉะนั้น ที่กำลังถูกเห็น กำลังมองเห็นขณะนี้ มันไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีรูปร่างสัณฐานอย่างที่เราทรงจำไว้ว่าเป็นสิ่งใด เพียงแต่ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏสั้นๆ นิดเดียว เราบอกได้ไหมว่าเป็นอะไร ฟ้าแลบในที่มืดแปล๊บเดียว เราจะเห็นไหมว่าเป็นอะไรที่นั่น ก็เพียงแสงนิดเดียวของฟ้าแลบ ขณะนี้ก็เหมือนอย่างนั้น เพราะว่าขณะนี้ก็เหมือนอย่างนี้ เพราะว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาต้องมีตา ถ้าตาบอดไม่เห็น เพราะฉะนั้น เพียงแต่สิ่งนี้กระทบกับตาแล้วมีการเห็นเกิดขึ้น แต่การเห็นไม่ได้เห็นครั้งเดียวแบบฟ้าแลบสั้นๆ ทีเดียว หลายครั้งๆ จนกระทั่งทำให้เกิดความทรงจำในสีสันของสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร อย่างเห็นคนกับเห็นดอกไม้ มีความเป็นคน มีความเป็นดอกไม้ เพราะรูปร่างต่างกัน ถ้าดอกไม้ รูปร่างอย่างคน เราก็ไม่เรียกว่าดอกไม้แน่ เราเพียงแต่จำรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็ทรงจำว่ามีสิ่งนั้น ในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ความจริงถ้าแยกเอาสิ่งที่เป็นเรื่องเป็นราวออกจากสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นเพียงสีสันวัณณะ ถ้าเราจะมองไปที่ฝาผนัง ทำไมเป็นดอกบัวไปได้ ใครว่าไม่ใช่ดอกบัวบ้าง ใช่หรือไม่ ดอกบัวหรือเปล่า ดอกบัว แค่นี้ แค่สี บอกว่าเป็นดอกบัวได้อย่างไร ใช่ไหม เพียงพูดสี แล้วพอเห็นปุ๊บก็เป็นดอกบัว
เพราะฉะนั้น เพียงแค่เห็นก็เป็นคนนั่งอยู่แถวนี้เหมือนกัน ไม่มีต่างกันเลย ทางตา ไม่ว่าจะเป็นรูปของดอกบัว รูปภาพ ไม๋ใช่ตัวจริงๆ ของดอกบัว เพียงแค่รูปของดอกบัว ก็ทำให้เราแค่สีก็นึกถึงดอกบัว เพราะฉะนั้นเวลาเห็นตัวของดอกบัวก็ไม่ต่างกันเลย ก็เห็นแล้วก็นึกถึงดอกบัว
เราต้องแยกสิ่งที่ปรากฏทางตานี่ ไม่ง่ายที่จะรู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ฟังไปเถอะ ฟังไปอีก ฟังไปอีก จนกระทั่งเราซึมซาบกับความหมายพอที่จะเข้าใจว่า จริง ถูกต้อง เรื่องของการที่จะจดจำว่า สิ่งที่ถูกเห็นเป็นอะไร เรื่องหนึ่ง เพราะคิด แต่ว่าเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากขณะนี้กำลังเป็นอย่างนี้ คือเป็นเพียงสิ่งที่กระทบตาแล้วปรากฏ ยังไม่ต้องไปคิดถึงว่า เป็นดอกบัว ไม่ใช่ดอกบัว เอารวมหมดนี้เลย ทุกอย่างกำลังปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่มีจริง ยังไม่ต้องนึกว่าเป็นคน เป็นสัตว์อะไรเลย เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
นี่คือธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เพราะว่าเราไม่เคยชินกับการที่จะค่อยๆ พิจารณาว่า ขณะเห็น เท่านั้นจริงๆ ไม่ใช่ขณะที่กำลังคิดนึก เราต้องค่อยๆ พิจารณาธรรมจนกว่าจะเป็นความเข้าใจจริงๆ เพียงแค่บอกว่า ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ยังไม่ถามเรื่องคน ยังไม่ถามเรื่องอะไรหมดเลย ค่อยๆ คล้อยตามว่าจริง ไม่ต้องเรียกชื่อด้วย แต่เห็น ถ้าตาบอดก็ไม่เห็นแล้ว อย่างเวลาฝัน ในฝันจะไม่มีสีสันวัณณะอย่างนี้ปรากฏเลย แต่จะเป็นเรื่อง
ขณะนี้เรานั่งอยู่ที่นี้ ลองคิดถึงเพื่อนสักคนหนึ่ง เอาคุณหมอยุพดีก็ได้ ลองคิดถึงคุณหมอยุพดี ไม่มีเสื้อคุณหมอยุพดีเลย แต่มีความจำ ความทรงจำ เพียงแค่ชื่อก็จำ แล้วก็ยังจำรูปร่างบางครั้งได้ในฝัน เราก็จำได้ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องความคิด ไม่ต้องอาศัยการเห็นก็ได้ แต่ความจำจากสิ่งที่เราได้เห็นแล้ว ไปเป็นการนึกคิดถึงเรื่องนั้นจนเหมือนของจริงที่เราใช้คำว่า “ฝัน” แต่ความต่างคือว่า ในฝันไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างนี้ ถ้าปรากฏว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างนี้คือตื่น ไม่ใช่ฝันแล้ว ใช่ไหม แต่ถ้ายังฝันอยู่ตราบใด จะไม่เหมือนเราลืมตาปุ๊บ แล้วมันก็ไม่ใช่ฝันแล้ว มันกำลังเป็นสีสันวัณณะที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น กว่าเราจะรู้จักธรรมจริงๆ ซึ่งก็มีเพียง ๖ ทาง ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้นอีก ๑ ทางกายอีก ๓ รูป เย็นหรือร้อน ๑ รูป อ่อนหรือแข็ง ๑ รูป ตึงหรือไหว ๑ รูป ๗ รูป ท่องคำว่า ๗ หรือจำว่า ๗ ไว้ได้เลย ๗ วัน ๗ รูป มีรูปที่ปรากฏในสังสารวัฏฏ์ ตลอดกี่ชาติๆ ก็แค่ ๗ รูป แล้วเราก็ติดในรูป ๗ รูปนี้ แค่ ๗ แล้วก็เป็นรูปด้วย แต่ว่าเราไม่สามารถจะพ้นจากความติดข้องต้องการรูป เพราะจิตเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม เกิดขึ้นแล้วไม่รู้ได้ไหม จิตนี้ จะให้เหมือนโต๊ะ เก้าอี้ได้ไหม ไม่ได้เลย อย่างไรๆ จิตเกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะอาศัยตา อาศัยหู อาศัยจมูก อาศัยลิ้น อาศัยกาย อาศัยใจ หรือไม่อาศัยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าจิตเกิด จิตต้องสภาพรู้ แล้วทางมโนทวาร ตอนตื่นนี่มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เมื่อไร
ผู้ฟัง หลังจากจิตเห็นแล้ว
ท่านอาจารย์ หมายความว่า ทางตา วิถีจิตทางตา เห็น ทางใจรับต่อทันที ถ้าไม่รับต่อจะไม่รู้เลยว่า ขณะนี้มีอะไรอยู่ที่นี่ แต่เพราะรับต่อทุกครั้ง ไม่ว่าเสียงปรากฏขณะนี้ ทางหูได้ยิน ทางใจรับต่อ เราถึงรู้ว่า กำลังฟังคำอะไร มันไม่ใช่แค่ได้ยิน ใช่ไหม แต่มันมีความหมายของเสียงสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งทางมโนทวารเท่านั้นที่สามารถจะรู้ความหมายของเสียงสูงๆ ต่ำๆ นั้นได้ เพราะว่าทางหูแค่ได้ยิน คือ ทางตานิดหนึ่งแค่เห็น ทางหูแค่ได้ยิน ทางจมูกก็แค่ได้กลิ่น ทางลิ้นก็แค่รสปรากฏลิ้มรส แล้วก็ทางกายก็แค่กระทบสัมผัส แต่ทางใจรู้ต่อทั้งหมดแล้วก็คิดนึกหมดเลย เวลาคิดนึกก็คิดยาว เห็นคน ได้ยินคำต่างๆ พวกนี้ทางใจทั้งนั้น
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็เกิดดับ แล้วก็สลับกันตลอดเวลา แต่ให้ทราบว่า ทางมโนทวารหรือใจล้วนๆ แม้ไม่มีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดก่อน เขาก็สามารถจะคิดนึกได้ เพราะฉะนั้น ขณะคิดนึกก็แสดงว่า เป็นทางใจล้วน
เวลาฝันนี่ทางไหน ทางใจ เพราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่จำ เพราะฉะนั้น เราพิสูจน์ได้เลย ทางใจ ตอนจำโดยที่ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยิน ก็จำรูปร่างก็ได้ จำเสียงที่เคยได้ยิน พูดว่าอะไร เขาว่าอะไรก็ได้ จำกลิ่น จำอะไรได้หมดเลย แต่ว่าขณะนั้นไม่มีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ทางใจจำได้หมด เห็นชัดเจนเวลาที่ฝัน รูปอะไรที่จะรู้ยาก สิ่งที่ปรากฏทางตา มี แต่รู้ยากว่าเป็นเพียงรูป ปรมัตถธรรม รู้ยากว่า มันมีก็จริง แต่ช่างรู้ยากว่าเป็นเพียงรูป ก็เป็นคน จะว่าเป็นเพียงรูปได้อย่างไร แต่เป็นรูปทางตา เพราะฉะนั้น ทางตานี้คือสีสัน สูง ต่ำ ดำ ขาว อะไรก็ต้องทางตา สีสันเท่านั้นเราถึงจะรู้ได้ เพราะฉะนั้น พอตาบอดเมื่อไรก็รู้เลย ไม่มีอีกแล้ว รูปทางตาไม่ปรากฏ แต่ถ้ายังตาไม่บอดก็จะไม่รู้ความต่างว่า แท้ที่จริงเวลาที่ตาบอดสนิท ไม่มีเห็นเลย ไม่มีรูปขณะนี้ปรากฏอีกได้เลย ก็จะรู้ว่า รูปที่กำลังปรากฏ เพียงสีสันวัณณะที่ปรากฏ คือรูปชนิดหนึ่ง ถ้าตาบอด เรายังมีความทรงจำว่า เราเคยเห็น ถูกต้องไหม แต่ว่าสิ่งนั้นไม่ปรากฏอีก แต่เวลาเราตาดี เรานึกไม่ออกว่า เป็นเพียงรูป แต่ว่าถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ถ้าเราเกิดตาบอดหมดเดี๋ยวนี้ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ที่กำลังปรากฏ คือรูปชนิดหนึ่ง แล้วเป็นธรรม เพราะเหตุว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปนี้ได้เลย ถ้ารูปนี้ไปกระทบหู กระทบกาย รูปนี้ก็ไม่ปรากฏ ต้องกระทบกับจักขุปสาทเท่านั้นที่อยู่ตรงกลางตา รูปนี้ถึงจะปรากฏได้ เพราะฉะนั้น ธรรมก็เป็นอนัตตาจริงๆ ใครเปลี่ยนแปลงลักษณะสภาพธรรมแต่ละอย่างไม่ได้ หนทางเดียวคือว่าต้องเข้าใจถูกต้อง จะรู้จักธรรมก็ไม่พ้นจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ขณะนี้เราฟังยังยากเลยที่จะรู้ว่า เป็นเพียงรูป เพราะฉะนั้น เราจะอยู่ที่ไหน ตรงไหนก็ตาม ถ้าเราฟังบ่อยๆ ก็อาจจะเกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ขณะนี้เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ รู้ในลักษณะของความเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แต่ถ้าไม่มีการคิดอย่างนี้เลย ก็ไม่ต้องถามวิธี ถ้าถามวิธี คือยังคงมีความเป็นเราลึกที่โผล่ออกมาให้เห็นว่า ที่ต้องการอย่างนี้ เพราะเป็นเราที่ต้องการ แต่ถ้าเป็นปัญญา คือสิ่งนี้จะปรากฏเมื่อค่อยๆ อบรมขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ถ้ารีบร้อน ทำอย่างไร เมื่อไร หรือวิธีอย่างไร ก็เป็นความรักตัว ยังมีความเป็นตัวอยู่มาก
ผู้ฟัง อยากจะถามคำว่า กัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) แปลว่าอะไร
ท่านอาจารย์ เวลาคุณนาทำกับข้าว มันเป็นกัมมัฏฐานหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ เพราะว่าคำว่า “กัมมัฏฐาน” รู้สึกว่าเขาไปทางเกี่ยวกับสมาธิอะไร ไปเข้ากัมมัฏฐาน นั่งสมาธิ อะไรอย่างนี้ รู้สึกจะได้ยินแบบควบคู่ไปในลักษณะอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่กรรมธรรมดาที่เราทำขั้นทาน ขั้นศีล เพราะว่า กัมมัฏฐาน ฐานะ แปลว่าที่ตั้งของกรรม กรรมอะไร ต้องมีคำถามอีก คือทุกคำต้องแจ่มแจ้ง ฐานเป็นที่ตั้งของกรรม กรรมอะไร กรรมที่ว่านี้มี ๒ อย่าง สมถะ การทำจิตให้สงบระงับจากอกุศล เป็นสมถกัมมัฏฐาน แล้วก็การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจนกระทั่งสามารถจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ไม่ใช่สมถกัมมัฏฐาน เพราะอันนั้นเพียงแค่ระงับอกุศล แต่อันนี้เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ตั้งของการกระทำที่จะทำให้เกิดปัญญา รู้แจ้งความจริงของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น มี ๒ อย่าง อยู่ในครัวคงไม่ต้องเข้ากัมมัฏฐาน ที่เขาใช้ๆ กัน ใช้คำว่า เข้ากัมมัฏฐาน กับ ออกกัมมัฏฐาน แต่การศึกษาธรรมเป็นผู้ที่ตรง คือปัญญาที่ฟังต้องฟังไตร่ตรอง แม้แต่ใครจะกล่าวก็ตามแต่ สิ่งนั้นมีเหตุผลหรือเปล่า ถูกหรือผิด เพราะว่าการศึกษาธรรมต้องเป็นเรื่องที่ตรง แล้วก็ถูก แต่ถ้าไม่ศึกษาตามลำดับ ใครจะไปรู้เท่าพระพุทธเจ้าที่จะไปเรียนเองได้ ถ้าคิดเองก็คือผิด
สมถกัมมัฏฐาน คือไม่ใช่ขั้นทานขั้นศีล แต่เป็นผู้ที่มีปัญญาสามารถที่จะรู้ว่าเวลาที่เห็นแล้ว พอเห็นปั๊บ เปิดตาขึ้นมาลืมขึ้นมาเห็น อาสวะไหลไหม ต้องเป็นคนมีปัญญาถึงจะเห็น และเห็นความต่าง พระขีณาสพคือผู้ที่ดับอาสวะ ท่านเห็นอย่างเรา แต่คนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เห็นแล้วไหลไปเลย กามาสวะ ไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว แค่เอามีดกรีดนิดเดียว ยางก็ไหลออกมาแล้ว เพราะว่าพร้อมที่จะไหล พระอรหันต์เห็นอย่างเรา เห็นอย่างนี้ แต่หลังจากนั้นแล้วไม่มีอาสวะกิเลสด้วย แม้แต่กิเลสระดับนั้นก็ไม่มี
นี่ก็เป็นความต่างที่จะทำให้รู้ว่า การอบรมเจริญปัญญามี ๒ อย่าง อย่างหนึ่ง คือ ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีผู้ที่ฉลาด มีปัญญาถึงขั้นที่รู้ว่าหลังเห็นแล้วเป็นอกุศลเลย เพราะฉะนั้น ท่านก็มีปัญญาที่จะรู้ว่า ระลึกถึงอะไรแล้วกุศลจิตจะเกิดมั่นคงขึ้น จนกระทั่งอกุศลเกิดไม่ได้ เป็นการระงับอกุศลไว้ได้ชั่วคราว ที่เราพูดว่า ระงับนิวรณ์ เพราะเหตุว่านิวรณ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อกุศลทุกชนิด ย่อไปแล้วก็เป็นนิวรณ์ ๕ เพราะฉะนั้น เราถ้าไม่มีปัญญาถึงระดับนั้น เราก็เห็นอาสวะ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า หลังเห็นแล้ว ไม่ทันไกล เห็นก็ไหลไปแล้ว พอได้ยินก็ไหลไปแล้ว ตามกำลังของอกุศลที่สะสมมาในแสนโกฏิกัปป์ ใครจะไปยับยั้งได้ เพราะฉะนั้น ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญามาพอสมควร สมัยนั้นพระอรหันต์ก็มาก พระอนาคามีก็มาก พระสกทาคามี พระโสดาบัน ในประเทศที่เราไปที่อินเดีย ก็เต็มไปด้วยผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลกับผู้ที่ไม่เป็นพระอริยบุคคล เพราะเหตุว่าเหตุไม่เท่านั้น แต่ในครั้งนั้นมีมาก เกิดมาพร้อมที่จะได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ ได้เฝ้าได้ฟังธรรมจนกระทั่งได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ก่อนการตรัสรู้ ก็มีคนที่มีปัญญาระดับหนึ่งที่รู้ว่า ถ้าตรึกระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบ ซึ่งเขาเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน หมายความว่าฐานคืออารมณ์นั้นเป็นที่ให้จิตระลึกแล้วสงบ เป็นที่ตั้งของการกระทำจิตให้สงบ เป็นสมถกัมมัฏฐาน เพราะฉะนั้น ถ้าเราระลึกถึงกล้วย เป็นสมถกัมมัฏฐานหรือเปล่า เป็นโลภะ มันไม่เป็น ใช่ไหม ต้องเป็นอารมณ์ของความสงบ ซึ่งมีทั้งหมด ๔๐ อย่าง แต่เราก็คงจะไม่มีใครที่ตั้งใจจะให้จิตสงบถึงขั้นฌาน เพราะเหตุว่าถ้ารู้หนทางที่จะดับกิเลส ทำไมเราจะไปทำให้จิตสงบ เพราะว่าไม่ใช่มีใครที่จะได้โดยง่ายเลย ถ้าเราถามเขาว่า สมถกัมมัฏฐานคืออะไร แล้วเขาบอกว่า นั่งหลับตา เราจะได้ความรู้ความเข้าใจอะไรไหม ถ้าเขาบอกว่า สมถกัมมัฏฐานคือนั่งหลับตา เพราะไม่ใช่เรื่องนั่งหลับตา หลับตาเราก็นั่งหลับได้ แต่ปัญญาอยู่ที่ไหน เพราะเหตุว่าการที่จะทำให้จิตสงบต้องเป็นปัญญาด้วย ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว หรือขณะนั้นไม่ใช่กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา อบรมเจริญสมถกัมมัฏฐานไม่ได้ แล้วใน ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คนที่จะให้จิตสงบถึงขั้นอุปจารสมาธิก็สัก ๑ แล้วในบรรดาผู้ที่ได้อุปจารสมาธิแล้วที่จะให้ได้ฌานจิตก็สัก ๑ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่ต้องรู้สภาพจิตใจของเรา อย่างในขณะนี้ที่เรานั่งอยู่ เราคิดว่าเราเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเป็นกุศล แต่เวลาที่อกุศลแทรกเข้ามาเราก็ไม่รู้ความต่างจริงๆ ของกุศล และอกุศล เพราะต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะจริงๆ จึงจะรู้ได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เราก็นั่งบอกว่า ตอนนี้จิตเราเป็นกุศล ตอนนั้นจิตเราเป็นอกุศล แต่ไม่ได้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ กุศลก็ดับไปแล้ว อกุศลก็ดับไปแล้ว วิบากคือจิตเห็นก็ดับไปแล้ว แปลว่าเราไม่รู้อะไรสักอย่าง แต่เราพูดได้หมด พูดเรื่องวิบากก็ได้ พูดเรื่องกุศลก็ได้ พูดเรื่องอกุศลก็ได้ แต่ไม่รู้ตัวจริง
ทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญาที่จะต้องอบรมตามลำดับขั้น สำหรับสมถภาวนาก็เห็นโทษของอกุศล แล้วยังไม่เคยได้ยินคำสอนเรื่องการอบรมสภาพธรรม ที่เป็นปัญญาที่สามารถจะรู้แจ้งความไม่ใช่เราได้ ที่เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อยังไม่เคยได้ยินวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านเหล่านั้นก็อบรมเจริญสมถกัมมัฏฐาน ท่านเหล่านั้นอาจจะอบรมสมถกัมมัฏฐานจนกระทั่งบรรลุถึง อรูปฌาน คือฌานที่สูงกว่ารูปฌานอีก ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เลย แต่ไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม อย่างอาฬารดาบสกับอุทกดาบส ท่านสิ้นชีวิตก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้ไปโปรด เพราะฉะนั้น เวลานี้ท่านก็เป็นอรูปพรหม ตาหูไม่มี รูปร่างใดไม่มีเลย ไม่สามารถที่จะได้ยินคำสอนจนกว่าจะจุติจากโลกนั้น เมื่อจุติจากโลกนั้นแล้ว จะได้ยินหรือเปล่าก็ไม่รู้
นี่คือกาลสมบัติที่หาได้ยาก ขณะที่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติ ขณะที่ทรงแสดงธรรม พระธรรมยังอยู่ แล้วขณะที่บุคคลนั้นไม่ได้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรืออะไรหูหนวก ตาบอด ที่ไม่มีโอกาสจะได้ฟัง เมื่อยังมีก็ได้ฟัง เพราะฉะนั้น มีกัมมัฏฐาน ๒ อย่าง สมถกัมมัฏฐาน อบรมเจริญความสงบของจิตที่ระงับอกุศลของจิตที่จะเกิดไม่ให้เกิดได้ชั่วคราว ถึงขั้นอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌานจิต มีรูปฌานถึง ๕ ขั้น จากฌานขั้นที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ แล้วสงบกว่านั้นอีก โดยที่ว่า ถ้ายังมีรูปเป็นอารมณ์อยู่ ก็ใกล้ชิดต่อการที่จะเป็นอกุศล เมื่อเห็นโทษของรูปซึ่งเป็นอารมณ์ ท่านก็อบรมเจริญฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นอรูปฌานกุศล แล้วเวลาที่ตาย ถ้าฌานนั้นไม่เสื่อมก็เกิดเป็นรูปพรหมกับอรูปพรหม ตามกำลังของฌาน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 181
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 183
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 184
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 185
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 186
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 187
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 188
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 189
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 190
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 191
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 192
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 194
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 195
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 196
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 197
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 198
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 199
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 200
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 240