ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
ตอนที่ ๒๓๕
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรมต้องรู้ฐานะของเราด้วย ผู้ที่ละได้คือ พระอนาคามีบุคคล พระโสดาบันก็ยังละไม่ได้ พระสกทาคามีก็ยังละไม่ได้ แล้วเราเป็นใคร แล้วต้องละด้วยปัญญา แล้วเรามีปัญญาระดับนั้นหรือเปล่า ถ้ายังไม่อบรมเจริญปัญญาด้วยการฟังจนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น รู้สภาพธรรมว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็น พระโสดาบันก่อน แล้วต้องเป็นพระสกทาคามีด้วย ถึงจะละได้ แล้วจะไปไหนกัน จะรีบไปไหนกัน จะละอะไรกัน ละไม่ได้ก็อย่าไปคิด แต่ว่าอบรมเจริญปัญญาที่จะละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน ละความไม่รู้ ไม่ใช่ไปละอย่างอื่น แต่ว่าการอบรมเจริญจริงๆ คือ รู้จักตัวเอง มีคำที่ทุกคนอาจจะได้ยินบ่อยๆ คือ สังขารธรรม หมายความถึงธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็เกิดไม่ได้ แต่อีกคำหนึ่ง คือ สังขตธรรม คำนี้มีในพระไตรปิฎก ในพระสูตรด้วย
สังขตธรรม หมายความว่าปรุงแต่งแล้วเกิด ขณะนี้กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ปรุงแต่งแล้วเกิด เพราะฉะนั้น ก็คือเดี๋ยวนี้ทุกขณะปรุงแต่งแล้วเกิด คือแสดงว่าไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้ ทำไมเราไม่รู้ความจริงอันนี้ แต่เราพยายามจะเบี่ยงเบนไปให้เป็นอย่างอื่น เมื่อไรเราถึงจะไม่เป็นอย่างนี้ เมื่อไรเราจะไม่มีโลภะ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่เข้าใจธรรมแม้แต่สังขตธรรมว่า ไม่มีใครทำอะไรได้เลย เมื่อมีเหตุปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย แต่ต้องเมื่อปรุงแต่งแล้วเกิดถึงจะปรากฏในขณะนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดทั้งสิ้นที่เกิด เพราะปรุงแต่งแล้วเกิด จึงได้ปรากฏทั้งนั้น อย่างการฟังในขณะนี้ ใครจะเข้าใจได้มากน้อย เลือกได้ไหม คนที่เข้าใจน้อย ก็อยากจะให้เข้าใจมากๆ แต่เหตุที่จะให้เข้าใจน้อย หรือเข้าใจมาก มีหรือเปล่าที่เราจะต่างกัน ตั้งแต่เกิดมา
ผู้ฟัง อันนี้เกิดจากปัจจัยที่ว่า
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเกิดเพราะปัจจัยทั้งหมด
ผู้ฟัง อาจจะเป็นอดีตชาติที่เราได้อบรมมา ส่วนประกอบหนึ่ง ปัจจัยหนึ่ง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่สะสมทุกอย่าง อาสยานุสยะ ทั้งฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล ทั้งกิเลส ทั้งอะไรทั้งหมด ในขณะหนึ่งที่เกิด แล้วเมื่อจิตนั้นดับเป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดสืบทอดทุกอย่าง เพราะฉะนั้น จึงมีการสะสมจากพระชาติที่เป็นพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะถึงพระชาติที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉันใด แต่ละคนก็เหมือนกัน ถ้าง่วงแล้วก็หิว การเข้าใจธรรมของเราจะเหมือนกับคนที่กำลังมีศรัทธารู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์มาก ถ้าได้ยินแล้วทำให้เข้าใจขึ้น ยิ่งกว่าลาภใดๆ เพราะเหตุว่าถึงแม้เราจะได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ก็ไม่เท่ากับลาภ คือ ศรัทธาในพระธรรม เพราะว่าเมื่อเจริญยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ทุกอย่างเจริญขึ้นด้วยทั้งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พวกนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่เรา แต่ว่าแต่ละคนจะเป็นอย่างไรก็สาวไปหาเหตุได้ว่า ต้องมีเหตุที่สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น ที่ต่างๆ กัน แล้วเราจะไปอยากทำอะไร
ผู้ฟัง กรณีที่คุณประทีปถามว่า พอรับฟัง ระหว่างที่ฟังธรรม พิจารณาคล้อยตามไป พอจะเข้าใจในระดับหนึ่ง สภาพแช่มชื่นในจิตใจ เราอาจแช่มชื่นที่ได้ฟัง แต่บางครั้งมีอารมณ์มากระทบตา ก็ไม่สามารถที่จะ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นจิต เจตสิก ไม่ใช่เรา การอบรมเจริญปัญญา เรายังไม่รู้เจตสิกแต่ละอย่าง เรายังไม่รู้จิตว่าต่างกับเจตสิกอย่างไร เราเพียงแต่เริ่มรู้ความต่างของนามธรรม และรูปธรรมก่อน เพราะฉะนั้น ทุกอย่างจะค่อยๆ เจริญขึ้น จากปัญญาที่อบรม ไม่ใช่เพียงขั้นการฟัง ขั้นการฟังไม่ได้รู้ตัวจริงของธรรมเลย ทั้งๆ ที่ธรรมทุกอย่างทั้งจิต เจตสิก กำลังเกิดดับทำหน้าที่ต่างๆ แต่ว่าปัญญาขั้นการฟัง เป็นเรื่องราวของจิต และเจตสิก จนกว่าจะถึงอีกระดับหนึ่งซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะของจิต และเจตสิกที่กำลังมีในขณะนี้ เมื่อนั้นสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาทั้งหมดจะปรากฏ แม้แต่ความต่างของจิต และเจตสิกก็รู้ได้ว่า จิตไม่ใช่เจตสิก ถ้าจะใส่ชื่อลงไปในสติปัฏฐาน ก็คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ความจริงไม่ต้อง เพราะปัญญาของเรา เวลาที่เราเริ่มศึกษาธรรม เราจะเห็นความต่างอย่างเปรียบเทียบไม่ได้เลย เพราะเรากำลังเริ่มที่จะเข้าใจ ความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากพระธรรมที่ทรงแสดงโดยละเอียด แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญญาของเราจะเทียบเท่าหรือสามารถที่จะเข้าถึงทุกคำที่ทรงแสดงไว้ แต่ว่าเริ่มที่จะเห็น สามารถที่จะเข้าใจตัวเองได้ว่า ปัญญาของเรากำลังอยู่ในระดับไหน ระดับของปริยัติ หรือว่า ระดับของสติปัฏฐานเริ่มเกิด และเมื่อสติปัฏฐานเริ่มเกิด ความรู้ความเข้าใจคือการศึกษาซึ่งเป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะว่าละเอียดกว่าสิกขาอื่น เพราะศึกษาลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับเร็วที่สุด ลองคิดดู การศึกษาสิ่งที่เกิดดับเร็วที่สุด จะยากหรือจะง่าย ต้องใช้เวลานานเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ อบรมไป แต่ให้รู้ความต่างแล้วก็เป็นผู้รู้ด้วยตัวเอง เราจะไม่ถามคนอื่น หรือคนอื่นก็บอกเราไม่ได้ว่า เรามีปัญญาเท่าไรหรือสติปัฏฐานเราเกิดหรือเปล่า คนอื่นบอกไม่ได้เลย ผู้ที่รู้ว่าสามารถที่จะบอกได้ เป็นเรื่องรู้กับละ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นเรื่องเอา อยากได้ พยายามเพื่อที่จะได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่หนทางละ ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะรู้เลย สอนให้ละ ละอะไร ละอกุศลซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดวนเวียนในสังสารวัฏฏ์
ผู้ฟัง ท่านสอนให้ทั้งละอกุศล และเจริญกุศล ใช่ไหม แล้วเจริญกุศล ก็ทำให้กลับมาเกิดอีกอยู่ดี
ท่านอาจารย์ สอนสมบูรณ์มาก ไม่ใช่เพียง ๒ ระดับ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ด้วย ละอกุศล เจริญกุศล ชำระจิตให้บริสุทธิ์ คือ หมายความว่าให้หมดจากกิเลส
ผู้ฟัง ขั้นภาวนา ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ขณะที่เรากำลังทำกุศล ถ้าเราระลึกในขณะนั้นได้ว่า เป็นกุศลที่กำลังทำ แล้วไม่ใช่จิต ไม่ใช่ตัวเรา
ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่เรื่อง ต้องมีลักษณะของสภาพธรรม และสามารถที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
ผู้ฟัง ขณะนั้นเป็นภาวนา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ภาวนา หมายความว่าอบรมให้สิ่งที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ให้สิ่งที่เกิดแล้ว เจริญขึ้น
ผู้ฟัง ศึกษาธรรมแล้ว เรารู้จักตัวเราเองดีได้แค่ไหน อยู่ในฐานะอะไร ที่จะไปหวัง ที่จะเป็นอย่างนั้นๆ โดยตัวเองมีความรู้แค่ไหน หรือว่าผู้นั้นจะต้องรู้จักตัวเอง ถูกไหม เราเข้าใจพระธรรมได้แค่นี้ เราก็สามารถ
ท่านอาจารย์ เราได้ยินคำว่าอวิชชาบ่อยๆ แล้วอยู่ที่ไหน คือ ขณะที่ไม่รู้ วิชชาคือขณะที่รู้ แล้วเราก็ต้องรู้จักตามความเป็นจริง ใช่ไหม ไม่ใช่เรา ไม่รู้ก็ต้องเป็นอวิชชา รู้เมื่อไรก็เป็นวิชชาเมื่อนั้น เป็นธรรมหมดเลยทุกขณะ
ผู้ฟัง ต้องรู้จักฐานะของตัวเองตามความเป็นจริงด้วย ตรงนี้สิ ต้องรู้ฐานะตามความเป็นจริง ก็คิดว่าเรารู้แล้ว หรือรู้มากแล้ว อะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ อันนั้นก็ผิด
ผู้ฟัง ผิด มีอะไรเป็นเครื่องเตือนให้ว่า นี่หวังเกินฐานะ อย่างนี้ไม่ใช่ฐานะ
ท่านอาจารย์ ก็รู้สิว่า เราหวังอะไร ถ้าหวังไม่มีอกุศลก็เกินฐานะแล้ว ถ้าอยากเกิดก็คือเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เกิดจะกลัวโน่นกลัวนี่ ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นก็ไม่ถูกต้อง ต้องเป็นผู้ที่อาจหาญร่าเริง มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎก เพราะว่าธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึก สุขุม เพราะฉะนั้น การที่เราอยู่ฝั่งของกิเลส แล้วจะไปสู่อีกฝั่งหนึ่งที่จะพ้นจากกิเลสก็ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียด
ผู้ฟัง วันนี้ทุกๆ คนก็ทราบว่าเป็นวันสำคัญของทางสหรัฐอเมริกา และของทางโลกด้วย ซึ่งเขามีการระลึกถึงความพินาศอันใหญ่หลวง ซึ่งเกิดขึ้นที่เวิลด์เทรดบิวดิ้ง ที่นิวยอร์ค อยากจะข้อคำแนะนำ และความเห็นของท่านอาจารย์ว่า ความเข้าใจของเราที่ถูกต้อง มันควรจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาของชีวิต ใช่ไหม มีสุข มีทุกข์ ใครจะหลีกเลี่ยงได้ แล้วแต่ว่าวันไหนเป็นสุข วันไหนเป็นทุกข์ ก็แล้วแต่เหตุที่ทำมา เพราะว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นเองลอยๆ โดยไม่มีเหตุไม่ได้เลย เพราะว่าขณะนี้ก็มีทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏ แต่ผู้ที่ไม่รู้ ก็ไม่รู้เลยว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งหมายความว่า ความจริงนั้นต้องจริงในขณะที่ปรากฏ ก็ได้ทรงแสดงพระธรรม ใช้คำว่าพระธรรม หมายความว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร ถ้าใช้คำว่าธรรมหรือธาตุ ความหมายเหมือนกัน เวลาที่เราพูดถึงธาตุหนึ่งธาตุใด เช่น ธาตุไฟที่ร้อน เราก็ไม่เคยจะไปยึดถือธาตุไฟนั้นว่าเป็นเรา หรือของเรา เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นธาตุ คือเป็นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ละอย่าง ซึ่งมีลักษณะปรากฏให้รู้ได้แต่ละทางว่าต่างกัน เป็นธรรมที่เกิดขึ้นด้วยจึงปรากฏ
สำหรับธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะเหตุว่าเป็นพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนจากการไม่รู้ของชาวโลกมาสู่การที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนหรือทรงแสดงธรรมอะไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องทรงศึกษาด้วยความศรัทธามั่นคง จริงๆ ที่เชื่อว่า พระองค์เป็นพระบรมศาสดา ซึ่งไม่มีผู้ใดเทียบเท่าได้เลย ไม่ว่าจะเป็นในพรหมโลก หรือว่าเทวโลก หรือว่ามนุษย์โลก ในจักรวาลทั้งหมด ไม่มีใครที่จะมีปัญญาเท่ากับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็คงจะเข้าใจอย่างนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจริงๆ จากการตรัสรู้ว่า ทรงแสดงเรื่องอะไร แต่ที่แน่ๆ ไม่มีอะไรที่ไม่ได้ทรงแสดง ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ก่อนที่จะได้ศึกษา เราเข้าใจธรรมเอาเอง เราคิดเอง คนหนึ่งก็คิดอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็คิดอีกอย่างหนึ่ง หรือว่าไปเจอข้อความตอนหนึ่งตอนใดในพระไตรปิฎกก็เข้าใจเพียงบางส่วนบางตอน ไม่สามารถที่จะสอดคล้องกันได้ทั้งหมด แต่ว่าการศึกษาทุกอย่างต้องเริ่มต้นตามลำดับ ไม่ใช่เราไปเริ่มต้นอริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท แล้วก็กลับมาหาต้น เพราะว่าอริยสัจ ๔ เป็นยอดของพระธรรม ซึ่งผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจ ๔ จะเป็นพระอริยบุคคล เพราะเหตุว่าใช้คำว่า อริยสัจธรรม หรือว่าอริยสัจธรรม ๔ ถ้าเราค่อยๆ ฟังไปทีละคำ แล้วค่อยๆ พิจารณาให้เป็นปัญญาความเข้าใจถูกของเราเอง จากอริยสัจธรรม เราก็เริ่มต้นจากคำว่าธรรม ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง จริงเพราะว่าทุกคนสามารถจะรู้ สามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง สิ่งใดที่มีจริงในขณะนี้ ทั้งหมดเป็นธรรม ซึ่งมีลักษณะต่างกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจความหมายว่าสิ่งใดก็ตามที่มีจริง เกิดขึ้น ปรากฏให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมทั้งหมด เราก็น่าจะคิดเองได้ ใช่ไหม ทดสอบความเข้าใจธรรมของเราได้ว่า ขณะนี้เสียงเป็นธรรมหรือเปล่า เป็น เห็นขณะนี้ เป็นธรรมหรือเปล่า เป็น คิด เป็นธรรมไหม สุข ทุกข์ ทั้งวันเป็นธรรมทั้งหมด แต่ว่าเราไม่เคยเข้าใจเลย เรายึดถือสภาพนั้นๆ ว่าเป็นเรา แต่ลักษณะที่มีจริงในวันหนึ่งๆ อย่างความขุ่นเคืองใจ มีลักษณะจริงๆ พอเกิดขึ้นทีไรก็ไม่สบายใจ จะเปลี่ยนความขุ่นเคืองใจ ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ความขุ่นเคืองใจเป็นธรรมชนิดหนึ่ง เมื่อมีปัจจัยคือได้เห็นสิ่งซึ่งไม่น่าพอใจ ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์ทางกาย เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ จะให้โลภะ ความติดข้องเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะว่าเมื่อมีเหตุที่จะทำให้ขุ่นเคืองใจ ความขุนเคืองใจจึงโกรธ แล้วเดียวนี้มีความขุ่นเคืองใจหรือเปล่า ตอนนี้ไม่มี ใช่ไหม หายไปไหน ความขุ่นเคืองใจ แสดงว่าทุกอย่างที่เกิด ดับ ไม่เที่ยง ก็ตรงกับความหมายที่ทรงแสดงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สังขารธรรม หมายความถึงธรรมที่มี มีเหตุปัจจัยจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย อย่างเห็นเป็นธรรมหรือเปล่า กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นธรรม คือทุกอย่างที่มีจริง เราเริ่มเข้าใจแล้วว่า เป็นธรรมทั้งหมด และทรงแสดงธรรม คือ ทรงแสดงเรื่องความจริงของสภาพธรรมทั้งหมดที่มีจริงในขณะนี้
ที่ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีจักขุปสาท เห็นได้ไหม คนตาบอด จะให้คนตาบอดบังคับอย่างไร ขอร้องอย่างไรให้คนตาบอดเห็น คนตาบอดก็เห็นไม่ได้ แม้แต่การเห็น ก็เป็นธรรม ซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ในขณะที่ได้ยิน ไม่ใช่เห็น ขณะได้ยิน กำลังมีสิ่งที่เป็นเสียงปรากฏทางหู แต่ขณะที่เห็นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ได้ยิน เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ ที่เห็นจึงรู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอย่างนี้ทางตา สำหรับเสียง เวลาที่เสียงปรากฏก็ต่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น จะให้พร้อมกันไม่ได้ เป็นอย่างเดียวกันไม่ได้ ก็ต้องเป็นธรรมคนละอย่าง
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ธรรมแต่ละอย่างเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัยเฉพาะอย่างๆ เมื่อมีเสียงกระทบหูก็ได้ยิน ถ้ามีสิ่งที่ปรากฏทางตากระทบตาก็เห็น แม้แต่การลิ้มรส รสก็ต้องกระทบกับชิวหาปสาท ซึ่งเป็นลิ้นที่สามารถรู้รส กระทบกับรสได้ แต่ไม่สามารถที่จะลิ้มรสได้ เพียงแต่กระทบกับรสได้เท่านั้น ส่วนสภาพที่รู้รสเป็นอีกอย่างหนึ่ง นี่ก็เป็นความละเอียดของธรรม ซึ่งเริ่มเห็นว่า เป็นธรรม เป็นสัจธรรม เพราะเหตุว่ามีจริง แล้วก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงนั้นไม่ได้เลย มีใครเปลี่ยนรสให้เป็นเสียงได้ไหม ไม่ได้
นี่คือธรรมทั้งวันทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องธรรม และสัจจะ และอริยะ ถ้าผู้ใดที่สามารถประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วดับ สามารถที่จะคลายความเป็นตัวเรา เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วสภาพธรรมที่เพียงเกิดแล้วดับ สิ่งที่เกิดแล้วดับไปแล้วเป็นของใคร ไม่มีเหลือเลย สภาพธรรมใดที่เกิด สภาพธรรมนั้นเกิดเพื่อดับไปตลอดเวลา สังสารวัฏฏ์ คือ เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับ เกิดขึ้นได้ยินแล้วก็ดับ เกิดขึ้นคิดนึกแล้วก็ดับ นี่คือชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดแล้วก็ต้องหมดไป หมดไป หมดไป ไม่เที่ยงแล้วก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของด้วย
อันนี้ก็พอจะเข้าใจหรือรู้จักธรรม ซึ่งมีจริงๆ แล้วก็ค่อยๆ มีความเข้าใจถูกต้องว่าธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่คนหนึ่งคนใดเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป กำลังเป็นธรรมทั้งหมดเลย แล้วถ้าเอาชื่อออก เห็นเหมือนกันหมดเลย ทุกคนที่เห็น เพราะฉะนั้น เห็นก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าได้ยิน ทุกคนที่ได้ยินก็ไม่ใช่เรา สัตว์ได้ยินไหม นกได้ยินไหม สุนัขได้ยินไหม เอารูปร่างออกหมด เอารูปร่างคนออก เอารูปร่างสุนัขออก ได้ยินก็ยังคงได้ยิน เพราะฉะนั้น ได้ยินก็เป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งก็ไม่ใช่ของใครเลย เพียงเกิดขึ้นได้ยินแล้วก็หมดไป
ผู้ฟัง การเรียนธรรม จะมีการเรียนเริ่มจากเบื้องต้นไปถึงขั้นกลาง ขั้นสูง อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่า สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษามาเท่าที่ควร พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็ทำทานเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ทีนี้เพื่อที่จะได้พิจารณาธรรมอย่างที่ท่านอาจารย์อธิบายชี้แจงมา หรือตามหนังสือที่ผมเคยอ่านของท่านอาจารย์ หรือเทปธรรม จะมีหลักเกณฑ์ หลักการอย่างไร ที่เราเป็นผู้เริ่มต้น
ท่านอาจารย์ เมื่อศึกษาธรรม การเริ่มต้นคือ ต้องรู้ว่าธรรมคืออะไร ทุกอย่างที่ได้ยินต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนว่า สิ่งนั้นเป็นอะไรแล้วจึงจะศึกษาเรื่องสิ่งนั้นต่อไปได้ ถ้ามีความเห็นความเข้าใจถูกต้องว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะเหตุว่ามีจริง ปรากฏ แล้วจะได้ศึกษาเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง ที่ปรากฏให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ทุกคำไม่ควรจะผ่านไป โดยการคิดว่าเข้าใจแล้วหรือรู้แล้ว เพราะว่าความจริงเพียงได้ยินเท่านั้นเอง แล้วได้ยินก็ยังไม่แล้ว ก็คงจะต้องได้ยินอีกบ่อยๆ จนกว่าจะมีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น
เริ่มต้นศึกษาธรรม คือเข้าใจให้ถูกต้องว่า ธรรมคืออะไร แล้วก็ศึกษาไปตามลำดับ เช่นเมื่อเข้าใจแล้วว่าทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอย่าง เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของธรรมได้ไหม ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทรงแสดงธรรมว่า เป็นธรรม ไม่ใช่พระองค์เป็นผู้สร้างธรรม แต่ว่าธรรมมีลักษณะเป็นจริงอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และดับไป เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างอย่างไร ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงอย่างนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้เราก็สามารถที่จะตอบตัวเราเองได้ เวลาที่เกิดอะไรขึ้นก็ตาม ก็สามารถจะรู้ได้ว่า ไม่ว่าจะอะไรทั้งนั้นก็เป็นธรรม เสียงเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม คิดนึกเป็นธรรม สุขเป็นธรรม ทุกข์เป็นธรรม ทุกอย่างที่เคยเป็นเราในชีวิตประจำวัน เป็นธรรมทั้งหมด มีลักษณะเฉพาะอย่างๆ
ผู้ฟัง เราจะมีวิธีการใดให้ประชาชนทั่วโลกมีเมตตาธรรมต่อกัน
ท่านอาจารย์ ทั่วโลกคงไม่ได้ แม้แต่ในสมัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็มีผู้ที่มีความเห็นต่างกับพระองค์มากมาย ที่ใช้คำว่า เดียรถีย์ หมายความว่า ผู้ที่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่เห็นตรงตามลักษณะของสภาพธรรม แม้ในครั้งนั้นพระองค์ก็ไม่สามารถที่จะให้ทุกคนมีความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกันได้ อีกอย่างหนึ่ง “โลก” เราเข้าใจว่าอย่างไร ทุกคนในโลก แล้วคำว่าโลกคืออะไร
ผู้ฟัง เป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ นั่นคือโอกาสโลก แต่สัตวโลก คือ แต่ละคนๆ ก็อยู่ในโลกของตนๆ คนละโลกๆ แล้วย่อยลงไปอีก โลกทางตาขณะหนึ่ง โลกทางหูขณะหนึ่ง โลกทางจมูก โลกทางลิ้น โลกทางกาย โลกทางใจที่คิดนึก แท้ที่จริงแล้วโลกก็คือ จิต เรากำลังพูดถึงเรื่องธรรม ซึ่งมีจริง และเป็นสภาพที่ไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ธรรมเหนือหรือเกินกว่าที่ใครจะสั่ง หรือใครจะทำ หรือว่าใครจะสร้าง เพียงแต่ว่าสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นธรรมที่ไม่ใช่เราสักอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ธรรมอย่างนี้ ทรงแสดงว่าเป็น “ปรมัตถธรรม” ใช้คำว่า “ปรมัตถธรรม” มาจากคำว่า ปะ-ระ-มะ คือ บรม ในภาษาไทย แล้วอัตถ แล้ว ธรรม อัตถ บางแห่งหมายความถึงความหมาย แต่ความหมายของอะไร ความหมายของลักษณะของธรรม ธรรมต้องมีลักษณะซึ่งแสดงความหมายหรือส่องความหมายของธรรมนั้นว่า ธรรมนี้เป็นอย่างนี้ ธรรมอีกอย่างหนึ่งก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ปรมัตถธรรม คือธรรมที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างซึ่งไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จากการตรัสรู้สภาพธรรมนี้เอง ก็ได้ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา ซึ่งสืบทอดมาจารึกเป็นพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ พระไตรปิฎก ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก
พระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่ของพระวินัยปิฎก เป็นเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติ การปฏิบัติของพระภิกษุ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับพระสูตรก็ทรงแสดงธรรมในที่ต่างๆ มีพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระเจ้าพิมพิสาร มีบุคคลต่างๆ ในพระสูตร แต่สำหรับปิฎกที่ ๓ คือ พระอภิธรรมปิฎก เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม โดยละเอียดทุกประการ จึงเป็น อภิธรรม เป็นปิฎกที่ ๓ คือ อภิธรรมปิฎก อภิ แปลว่าละเอียดยิ่ง เพราะฉะนั้น เรื่องของสภาพธรรมที่มีแต่ละอย่าง จะเห็นว่าละเอียดมาก ทรงแสดงโดยนัยของความเป็นธาตุ คือ เป็นธรรม นัยของอายตนะ เพราะต้องประชุมรวมกัน จึงจะทำให้มีสภาพรู้ในขณะนี้เกิดขึ้น เช่น ถ้าเสียงไม่กระทบโสตปสาท จิตได้ยินจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 181
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 183
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 184
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 185
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 186
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 187
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 188
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 189
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 190
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 191
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 192
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 194
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 195
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 196
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 197
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 198
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 199
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 200
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 240