พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 491
ตอนที่ ๔๙๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าทรงแสดงธรรมโดยนัยของพระสูตร พระวินัย หรือพระอภิธรรมก็ตาม ก็คือสิ่งที่มีจริง เมื่อวานนี้ศึกษาพระสูตรท่านกล่าวถึงอะไร
อ.กุลวิไล ท่านกล่าวถึง ธรรมที่เป็นเหตุแห่งการชำแรกกิเลส ได้แก่ การทราบชัดกาม เวทนา สัญญา อาสวะ กรรม และทุกข์
ข้อที่ ๒ คือต้องทราบเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้
ข้อที่ ๓ ความต่างแห่งธรรมเหล่านี้ วิบากแห่งธรรม ความดับแห่งธรรม
ข้อสุดท้าย ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้
ท่านอาจารย์ เป็นวิถีจิตหรือไม่ ท่านต้องกล่าวเรื่องวิถีจิตหรือไม่ เห็นหรือไม่ว่า การแสดงธรรมเพื่อให้เข้าใจถูกตามลำดับขั้น ขณะนี้มีกาม มีธรรมที่เป็นกาม ที่ใช้คำว่า “กาม” หรือไม่ เพราะว่ากามคืออะไร
ได้ยินแล้วอย่าเพิ่งผ่านไป เพิ่งผ่านไปเมื่อวานนี้ ก็ทบทวนอีกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจถึงที่คุณอรวรรณถาม แต่ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ ก็ข้ามไปเลย ทั้งๆ ที่ขณะนี้มีกามไหม กามก็คือสภาพที่ใคร่ น่าใคร่ มีความหมาย ๒ อย่าง ขณะนี้เอง มีกาม คือ ความใคร่ ความติดข้อง ความพอใจหรือเปล่า ก็ไม่รู้ ใช่ไหม แล้วก็ไปคิดเรื่องอื่นทั้งหมดเลย แต่ธรรมขณะที่กล่าวถึงสภาพธรรมใด ให้คิดถึงสิ่งที่มี แต่ยังไม่รู้ เพื่อที่จะได้ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ เพื่อที่จะชำแรกดับกิเลสได้ เพราะว่ากิเลสลึกมาก เพียงแค่ได้ยินได้ฟังผิวเผิน ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้เลย แม้ขณะนี้เองที่กำลังฟัง ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องวิถีจิต เพราะว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏที่จะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า เมื่อมีสิ่งที่ผัสสะกระทบ จิตเกิดขึ้นรู้ มีความใคร่ติดข้องในสิ่งที่เห็น ต้องกล่าวถึงวิถีจิตไหม ไม่ต้องกล่าวถึงวิถีจิตเลย แต่ว่าทุกคนกำลังมีสภาพธรรมนี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจ
ขณะหลับเป็นอย่างนี้หรือไม่ ไม่เห็น ไม่ได้ยินเลย ไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้น การฟังธรรม แม้ว่าจะไม่กล่าวถึงวิถีจิต แต่ขณะนี้กำลังพูดเรื่องกาม กำลังปรากฏ แล้วมีความติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น แค่นี้ก็หมายถึงวิถีจิตแล้ว ถ้ามีความเข้าใจทั้งหมด ถ้าไม่เป็นความเข้าใจแล้ว แม้การอ่านพระสูตรหรือพระวินัย ก็ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม เหมือนกับแยกเป็นส่วนๆ แต่ความจริงไม่ใช่เลย ถ้าโดยการศึกษา ในภาษาของเรา เราก็บอกว่า ขณะที่จิตไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ก็ยังมีจิต แต่ว่าจิตขณะนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเห็น หรืออะไรเลยทั้งสิ้น แต่เมื่อมีจิต แล้วจิตทำอะไร จิตเกิดขึ้นมาทำอะไร ขณะนั้นแม้ไม่ใช่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย และคิดนึก ขณะนั้นจิตก็เกิด ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทำกิจภวังค์ เกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ อย่างนี้พิสูจน์ชีวิตของเราได้ไหม ผ่านมาแล้วเมื่อคืนนี้ และขณะนี้กำลังเป็นอย่างนี้ แต่ความละเอียดมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นที่ทรงแสดงความละเอียด เพื่อที่จะให้เห็นความเป็นอนัตตา แต่ถ้าเรามีอัตตาในการศึกษาธรรม แล้วมีอัตตาที่จะอยากรู้ธรรม ก็คือไม่ได้ละคลายอะไร ไม่ได้ละคลายความไม่รู้ เพราะเหตุว่าการรู้แจ้งสภาพธรรม ถ้ามีเหตุสมควรที่จะให้เกิดเดี๋ยวนี้ สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมในขณะนี้
เพราะฉะนั้น ที่แต่ละคนฟังแล้วไม่รู้แจ้ง ก็แสดงว่า อวิชชา ความไม่รู้มาก แล้วไปคิดถึงสติ ไปคิดถึงศรัทธา ไปคิดถึงวิริยะ ลืมการค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ ก็คือความเห็นถูกที่ค่อยๆ เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม นี่คือภาษาไทย แต่ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็มีคำว่า ปัญญา มีคำว่า "ญาณ" ซึ่งต่างระดับขั้นกัน แต่ก็ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องว่า มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่เห็นถูกว่า สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นอะไร จึงยึดถือว่าเป็นเรา
ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม ก็คือว่า ไม่ว่าจะฟังแล้วมีความเข้าใจ สามารถที่จะเข้าใจไปตลอดหรือไม่ว่าในพระสูตรไหนทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าเมื่อมีกามกำลังปรากฏ กาม อีกนัยหนึ่งก็คือ "โลกามิส" รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะอะไร ถ้ามีความใคร่ ความยินดี ความพอใจ เดี๋ยวนี้ รู้ได้เลยว่าเพราะอะไร ในโลกซึ่งมีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีสิ่งที่เย็นร้อน อ่อนแข็งที่ปรากฏ มีอย่างอื่นอีกไหมในโลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น โลกนี้เต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่สามารถจะพ้นไปจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ แล้วขณะใดก็ตามที่มีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีการคิดนึก ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต แต่เป็นวิถีจิต เพราะอาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้น รู้สิ่งที่กำลังปรากฏแต่ละทาง
เพราะฉะนั้น เริ่มก็คือเข้าใจให้ถูกต้อง พระอภิธรรมแสดงโดยนัยที่ละเอียดว่า จากภวังคจิตสู่การเป็นวิถีจิตได้ ต้องมีจิตเกิดดับอะไรบ้าง นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่ปรากฏ ใช่ไหม แม้ว่าจะกล่าวถึงภวังค์ขณะนี้ ก่อนที่วิถีจิตจะเกิดว่า เมื่อภวังค์กำลังดำรงภพชาติทำกิจของภวังค์อยู่เรื่อยๆ แต่ว่าเมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ก็จะต้องเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะทำให้ภวังค์ไม่เกิดต่อเพื่อรู้อารมณ์ที่กระทบ แต่ก่อนที่ภวังค์จะไม่เกิด จะต้องมีภวังคจลนะดับไปก่อน จากภวังค์ แล้วก็เป็นภวังคจลนะ เมื่อภวังคจลนะดับ ภวังค์สุดท้าย ใช้คำว่า ภวังค์สุดท้าย ชื่อว่า ภวังคุปเฉทะ จะไม่จำก็ไม่เป็นไร แต่ให้ทราบว่า การที่จิตแต่ละขณะในขณะนี้กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนี้ ถ้ามีการเข้าใจก็คือไม่ใช่เราเลย ยิ่งเข้าใจละเอียดขึ้นก็จะหาความเป็นเราไม่ได้ ถ้าไม่มีพื้นฐานความเข้าใจอย่างนี้ แม้สภาพธรรมกำลังปรากฏ จะเข้าใจไหมว่า เป็นธรรมแต่ละอย่างจนกระทั่งสามารถที่อวิชชา และโลภะน้อยลง จางลง จนกระทั่งไม่สามารถปิดบังลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ได้
เพราะฉะนั้น ฟังให้เข้าใจ ได้ยินคำไม่ต้องมาก แต่เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เมื่อเข้าใจแล้วไม่ลืม ก็สามารถระลึกได้ว่า ขณะนี้กำลังเป็นอย่างนั้นหรือไม่ คือ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ล้วนเป็นกาม เพราะฉะนั้นในขณะที่สิ่งนี้ปรากฏเพราะความไม่รู้ จะให้ไม่มีความยินดีติดข้องได้ไหม อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เวลาที่พูดถึงสภาพธรรมอะไร เพียงเข้าใจความหมายของชื่อ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ เช่น ในขณะใดก็ตามที่จิตเกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกที่เป็นความรู้สึกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ก็ไม่รู้แล้ว แต่ก็ฟังบ่อยๆ ไม่ใช่ให้จงใจไปรู้ แต่ความเข้าใจที่มากขึ้นเพิ่มขึ้นนั่นเอง จะเป็นปัจจัยให้เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยไม่มีใครไปบังคับบัญชาได้ เพราะฉะนั้น การฟังมากๆ จากการที่ไม่เคยรู้ลักษณะของความรู้สึกเลยในวันหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความรู้สึก "อทุกขมสุข" ไม่สุข ไม่ทุกข์ แล้วใครจะไปรู้ได้ ใช่หรือไม่ พอสุขเกิดขึ้นก็รู้สึกเป็นสุข ต่างจากที่ไม่สุขไม่ทุกข์ เมื่อทุกข์หรือโทมนัสเกิดขึ้น ก็รู้ว่า ขณะนั้นก็ต่างจากที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้น แม้ขณะนี้จะมีเวทนา ความรู้สึก เป็นธรรมที่ต้องเกิดกับจิต อย่าลืม อย่าไปคิดถึงคำว่า "เวทนา" ภาษาไทย นี่คือการฟังธรรมให้เข้าใจว่า เวลาใช้คำว่าเวทนา หมายความถึง สภาพธรรมที่มีจริง เกิดกับจิต แต่ไม่ใช่จิต และเวทนาเป็นลักษณะที่กำลังรู้สึก เห็นหรือไม่ว่า มี แต่เราไม่เคยสนใจ เราข้ามไปเรื่องอื่นมากมาย แต่ว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่ปัญญา ความเห็นถูกว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่เมื่อได้ฟังแล้ว ก็สามารถเห็นความเป็นอนัตตาเพิ่มขึ้น
แต่ละคำที่ได้ผ่านไป ไม่ว่าจะในพระสูตร หรือที่ใดก็ตาม ถ้าพิจารณาแล้วก็ว่า ไม่ว่าขณะใด ถ้าเกิดระลึกได้ ขณะนั้นสามารถเริ่มเข้าถึงลักษณะที่ เป็นธรรม ซึ่งแม้เกิดแล้วดับไปอย่างรวดเร็วสืบต่อ ไม่มีอะไรเป็นของเก่าเลย เกิดแล้วดับไปๆ ไม่กลับมาอีก แต่แม้กระนั้นจากการฟัง ประโยชน์ ผลก็คือทำให้สามารถเริ่มเข้าใจจากขั้นฟัง จนกระทั่งถึงเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แม้ไม่มาก แต่ก็รู้ว่า อริยสัจจะ ไม่ใช่ขณะอื่น แต่ในขณะนี้ที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏนั่นเอง คุณอรวรรณยังสนใจเรื่องของวิถีจิตไหม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวก็ชัดเจนว่า คือขณะนี้นั่นเอง คือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และรู้ได้ ๖ ทาง ในการศึกษา เมื่อทราบรายละเอียดของอะไรก็แล้วแต่ ก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ แม้พระสูตรเมื่อวาน เรื่องกาม เรื่องเวทนา เรื่องสัญญา
ท่านอาจารย์ เห็นหรือไม่ กล่าวได้ว่าทุกอย่างไม่พ้นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้กำลังปรากฏ กว่าจะค่อยๆ รู้สิ่งที่ปรากฏจริงๆ ก็ต้องอาศัยปัญญาจากความเข้าใจโดยละเอียดขึ้นเห็นไหม ไม่ข้ามแล้ว มีสิ่งที่ปรากฏ กว่าจะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ โดยไม่ใช่เรา แต่รู้ว่าขณะนี้มี แค่นี้รู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ก็ยาก แล้วรู้โดยไม่ใช่เพียงคิด กำลังมีธรรมจริงๆ ด้วย ก็เจอตัวธรรม แต่ความเข้าใจธรรมไม่พอที่จะเห็นถูกตามความเป็นจริงของธรรมนั้น จนกว่าการฟังจะเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ก็สอดคล้องกับพระสูตรที่แสดงว่า จะต้องเจาะแทงชำแรกกิเลส ซึ่งหมายความว่า ต้องเริ่มต้นจากการรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่มีหนทางอื่น ถ้าไม่รู้ตรงนี้ เหมือนกับรู้ว่ามีกิเลส ถ้ายังไม่รู้จักกิเลส ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะไปละ หรือไปชำแรกให้กิเลสหมดไป ก็เป็นเหตุเป็นผล อย่างคนบางคนที่บอกว่า สนใจธรรม แสวงหาธรรม ถ้ายังไม่รู้ว่า ธรรมคืออะไร แล้วจะไปหาเจอได้อย่างไร ซึ่งที่นี่จะให้ความชัดเจนตรงนี้มากว่า ต้องรู้จักเห็นก่อน รู้จักได้ยิน มีปรากฏอยู่ ถ้าไม่รู้สิ่งเหล่านี้แล้วจะไปรู้อะไร ซึ่งก็ไม่มีอย่างอื่น นอกจากสิ่งเหล่านี้ ก็ชัดเจน
ท่านอาจารย์ ทุกคนไม่มีข้อข้องใจเรื่องกามแล้วใช่หรือไม่ ความใคร่ในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเป็นโลกามิส พ้นไม่ได้เลย สิ่งที่มีจริงที่เป็นโลกที่ปรากฏทางตา เกิดแล้วดับแล้ว
ขณะที่มีเวทนา ความรู้สึกในสิ่งที่ปรากฏ โดยที่ขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้ ทุกขณะที่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด จะขาดเวทนาไม่ได้เลย ลืม "อาสวะ" ชื่ออาสวะมีเยอะ กล่าวถึงอาสวะ แต่ขณะนี้อาสวะ คืออะไร ใครพ้นความติดข้องในในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะบ้าง ตื่นมาก็ไม่พ้นเลย รูป นอกจากติดข้องยังต้องการมากกว่านั้นอีก ต้องสวย ตั้งแต่เช้า ทุกอย่างก็ต้องดี แม้แต่อาหารในจานก็ต้องสวย มีใครหยิบผัก หรืออะไรมาสุมๆ ใส่แล้วพอใจบ้าง หรือว่าต้องจัดให้ดูดีน่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ เป็นปลา เป็นผัก ก็ต้องทำมากมาย นี่คือ อาสวะ หมายความว่า ทันทีที่มีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้ แล้วติดข้อง สะสมไป ทุกคนมีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เร็วแสนเร็ว มากมายก่ายกอง เป็นอาสวะ อนุสัยไม่เกิด สิ่งใดที่เกิดแล้ว เช่น โลภะ ดับแล้ว จิตนั้นมีโลภะเกิดแล้ว
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดแล้วในจิต จะไม่หายไปไหน แต่ว่าสืบต่อในจิตขณะต่อไป โดยเป็นเชื้อที่สะสมให้เกิด เมื่อมีการเห็น การได้ยินแล้ว ก็จะพอใจ สิ่งที่สะสมในขณะที่แต่ละขณะที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน แม้มีก็ไม่ปรากฏ กำลังนอนหลับสนิท เหมือนกันทุกคน พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชน ขณะนั้นไม่มีธรรมอื่น นอกจากภวังคจิต คือจิตที่ต่างๆ กันไปหลากหลายมากที่ได้สะสมแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสเลย มีกาม ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอนุสัย สะสมอยู่ จึงทำให้เมื่อมีการเห็น การได้ยิน เร็วแสนเร็ว เป็นโอกาสที่จะเกิดได้เมื่อไร เกิดขึ้นทันที เป็นอาสวะ ซึ่งไม่รู้
เพราะฉะนั้น ให้รู้จักธรรมที่กล่าวถึง ที่ฟังให้ละเอียดว่า ขณะนี้เป็นอย่างนี้ หนทางที่จะชำแรกหรือดับกิเลสเป็นสมุจเฉท จะต้องเป็นปัญญาที่รู้จริงๆ ค่อยๆ รู้ในสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏนี้เอง ถ้าคลาดเคลื่อนไปจากนี้ ก็ไม่มีทางที่จะรู้สภาพธรรมได้ ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ ด้วยเหตุนี้การฟังเข้าใจขึ้นตามลำดับ มีใครจะลืมบ้างไหม ในสิ่งที่กำลังเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ ใครไม่เป็นอย่างนี้บ้าง
อ.กุลวิไล ชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม ไม่ต้องใช้คำอะไรก็ได้ แต่ให้เข้าใจ แต่ที่ใช้ก็เพราะเหตุว่า เพื่อที่จะให้เข้าใจสิ่งที่มีที่หลากหลาย อย่างเวลานี้ไม่ต้องพูดอะไรเลยก็มีธรรม แล้วจะรู้ว่าธรรมไหน จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คำเพื่อให้เข้าใจความหลากหลายของสภาพธรรมนั่นเอง แต่ไม่ต้องไปกังวลหรือไปติดในภาษาบาลี ถ้ามีความเข้าใจว่า ขณะที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก ก็ยังมีจิต แล้วจิตเกิดมาทำอะไร ก็คือเกิดดับดำรงภพชาติ ใช้คำว่า "ภวังค์" ต่อไปนี้ เวลาได้ยินคำว่า ภวังค์ ถ้าเข้าใจถูกตามความเป็นจริง หมายเฉพาะ จิตเจตสิกที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก และไม่ได้หมายความถึงจิตขณะแรกซึ่งเกิดสืบต่อจากชาติก่อน เพราะว่ากิจของจิตที่เป็นขณะแรกของชาตินี้ ซึ่งเกิดสืบต่อจากชาติก่อน ไม่ใช่ภวังค์ ยังไม่มีจิตอะไรเลยทั้งสิ้น นอกจากจิตซึ่งเกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เพราะฉะนั้น จิตนั้นเป็นผลของกรรม ทำให้เกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน จึงเป็นปฏิสันธิจิต ทำปฏิสนธิกิจ เพราะเหตุว่า เป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดต่อจากจุติจิต และหลังจากนั้นแล้วเปลี่ยนไม่ได้เลย จะต้องเป็นผลของกรรมนั้นที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ ระหว่างที่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ยังไม่ได้คิดนึก อาจจะมีชื่อ “ภวังค์” ในหนังสือหลายเล่ม ซึ่งนักจิตวิทยาหรือใครก็ตามคิดเอง เขียนเอง แต่ตามความเป็นจริงถ้าเข้าใจความหมายของคำนี้ ภว + องค องค์ของภพ คือ สภาพธรรมที่ดำรงภพชาติจนกว่าจะถึงความสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ ในระหว่างที่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน พวกนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ถ้าได้ยินแล้วเข้าใจแล้ว จะต้องท่องหรือเปล่า มีใครไปท่องว่า ภวังค์ คืออะไรหรือเปล่า ท่องไปแล้วมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่รู้ว่าขณะไหนคือภวังค์ เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต เพราะไม่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด แต่ขณะใดก็ตามที่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ได้ทำกิจของภวังค์ จะไปพบคำนี้ในหนังสือเล่มไหนก็ตาม ก็แล้วแต่ว่าผู้เขียนเข้าใจธรรมระดับไหน แค่ไหน แต่ตามความเป็นจริงศัพท์นี้ คำนี้หมายถึงสภาพของนามธรรม คือ จิต เจตสิก ซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิ แล้วก็ทำภวังคกิจ แล้วจิตประเภทเดียวกันซึ่งเป็นผลของกรรม จะทำกิจครั้งสุดท้าย ขณะสุดท้าย คือ ทำจุติกิจ เคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่มีทางที่ทรัพย์สินเงินทองใดๆ จะไปซื้อได้ ขอผลัด ขอเปลี่ยนให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ นี่แสดงให้เห็นความเป็นธรรม ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้เลย
อ.กุลวิไล ถ้าไม่เข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ สิ่งที่เราศึกษามาทั้งหมดเป็นเพียงชื่อ แม้แต่วิถีจิต ซึ่งวิถีจิตท่านก็แสดงว่า จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๖ ทาง ก็คือชีวิตประจำวันนั่นเอง
ผู้ฟัง ขณะที่มีสิ่งที่เกิดขึ้นทาง ๖ ทวาร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เราศึกษาก็รู้ว่า มีแต่รูปธรรมนามธรรม แต่ปรากฏจริงๆ แล้ว ก็เหมือนกับยังไม่ประจักษ์อะไรเลย ก็ไม่พ้นการคิดนึกอยู่ตลอดว่า สิ่งนั้นเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ถ้าสภาพเป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป
ท่านอาจารย์ ก็นึกแล้ว เพราะคุณชุนห์ถามว่า เมื่อเราศึกษาธรรม ก็ต้องนำไปสู่ แล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร ตั้งแต่เกิดจนตายเป็นธรรมทั้งหมด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของคุณชุนห์ ที่จะไปคิดล่วงหน้าว่า แล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง คือ ศึกษาอย่างไร มันก็ไม่พ้นการคิดนึก
ท่านอาจารย์ คิดนึกเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม จึงคิดอย่างนี้
ผู้ฟัง คืออย่างไรก็ไม่ประจักษ์อยู่ดี ทั้งรูป และนาม
ท่านอาจารย์ ใครประจักษ์
ผู้ฟัง ไม่มีใครประจักษ์
ท่านอาจารย์ แล้วมีคำสอนอะไรอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าไม่มีการประจักษ์แจ้ง แต่สภาพธรรมอะไรประจักษ์ ต้องเป็นปัญญา เห็นก็เป็นสภาพรู้ คิดนึกก็เป็นสภาพรู้ แต่ปัญญาเป็นความเห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่แม้สิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏเฉพาะหน้า แต่ไม่ได้รู้ หรือเข้าใจถูกในความจริงของสิ่งนั้น ไม่ใช่ปัญญา เมื่อไม่มีปัญญาแล้วจะไปรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนสามารถประจักษ์การเกิดดับ ซึ่งเป็นอริยสัจจะได้อย่างไร
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 481
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 482
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 483
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 484
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 485
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 486
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 487
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 488
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 489
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 490
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 491
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 492
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 493
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 494
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 495
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 496
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 497
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 498
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 499
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 500
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 501
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 502
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 503
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 504
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 505
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 506
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 507
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 508
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 509
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 510
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 511
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 512
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 513
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 514
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 515
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 516
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 517
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 518
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 519
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 520
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 521
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 522
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 523
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 524
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 525
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 526
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 527
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 528
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 529
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 530
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 531
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 532
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 533
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 534
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 535
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 536
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 537
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 538
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 539
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 540