พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 516
ตอนที่ ๕๑๖
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ แม้แต่ขณะที่กำลังฟังขณะนี้ ก็เป็นความประพฤติเป็นไปที่ไม่ใช่เป็นการเบียดเบียนบุคคลอื่นเลย บางคนก็บอกว่า นั่งเฉยๆ จะเป็นกุศลได้อย่างไร มีความเห็นถูกเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิด เป็นกุศลไหม เป็นกุศล บางคนก็ตอบง่ายๆ ฟังธรรมเป็นกุศล แต่ไม่รู้ว่ากุศลจริงๆ อยู่ตรงที่เข้าใจธรรม ถ้าขณะนั้นไม่ได้เข้าใจธรรม กำลังนั่งฟังเป็นกุศลหรือเปล่า ก็ไม่เป็นกุศล
เพราะฉะนั้น เรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ตรง และจะต้องเข้าใจว่า แม้ไม่มีการกระทำทางกาย ทางวาจาก็เป็นกุศลได้ เพราะฉะนั้น ขณะที่เข้าใจสติเกิด ไม่ได้คิดเรื่องอื่น ขณะที่ฟังแล้วคิดเรื่องอื่น ซึ่งไม่ใช่การเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น เพราะสติขณะนั้นเกิดจึงเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เป็นสติขั้นฟังธรรม ทุกอย่างที่เป็นกุศล เพราะสติ แต่ก็ไม่ถึงระดับขั้นที่จะระลึก คือ รู้ตรงลักษณะของธรรมที่ได้ยินได้ฟัง
เพราะฉะนั้น ความต่างกันก็คือว่า ปริยัติ เข้าใจธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ปรากฏในขั้นฟัง จนกว่าเกิดปัจจัยที่ทำให้มีการรู้ตรงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ กำลังรู้ตรงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏด้วยความเข้าใจจากการฟังว่าเป็นธรรม จะต่างกับเวลาที่ไม่มีความรู้อย่างนี้เลย แล้วใครถามก็ตอบว่า แข็ง เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็จะรู้ว่า ขณะที่มีการระลึกตรงลักษณะแข็ง จะต่างกับขณะที่แม้ฟังธรรมหลายครั้ง หลายเดือน หลายปี แต่ก็ไม่ได้รู้ลักษณะที่แข็ง
นี่คือความละเอียดที่ธรรมจะค่อยๆ เจริญ ปัญญาค่อยๆ เจริญ โดยมีความรู้ที่ถูกต้องว่า ขณะที่มีการรู้ตรงแข็ง เมื่อเข้าใจธรรมแล้ว เริ่มที่จะเห็นความต่างของขณะที่ไม่รู้ตรงแข็ง แล้วก็เกิดระลึกรู้ตรงแข็ง เพราะเหตุว่า แข็งมีจริงๆ
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความจริงของแข็ง ก็จะต้องอาศัยสติจากการฟังเข้าใจทำให้รู้ตรงแข็ง หรือตรงเสียง หรือตรงได้ยิน หรือตรงสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดซึ่งเลือกให้สติเกิดระลึกรู้ไม่ได้เลย นี่คือ สัมมาสติ จรดกระดูกหรือยัง ยัง เพราะว่าเป็นเราที่ขณะอื่นที่ไม่ใช่ขณะที่แข็งปรากฏ เพราะว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก จะให้แข็งปรากฏนานๆ ขณะนั้นถูกหรือผิด ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแข็งที่กำลังปรากฏเกิดดับสืบต่อ
เพราะฉะนั้น ปัญญาขณะนั้นยังอ่อนมาก เพราะเหตุว่ายังไม่จรดกระดูกที่จะรู้ว่า เป็นอนัตตา แม้แต่เพียงคำเดียว ธรรมเป็นอนัตตา เพราะว่าหลังจากนั้นอนัตตาหายไปแล้ว "เรา" เมื่อสักครู่นี้กำลังรู้แข็ง แล้วก็เป็นเราที่เห็น ที่คิดว่า เมื่อสักครู่นี้รู้แข็ง เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นแข็ง เป็นธรรมทั้งหมด ทั้งหมดจริงๆ ไม่มีความสงสัยใดๆ ในธรรมใดๆ เลยทั้งสิ้น นั่นคือ จรดกระดูก
ผู้ฟัง เหมือนว่าเดิมอาจจะฟังเป็นเรื่องราว เป็นพยัญชนะ พอคิดเรื่องราวของธรรม ก็ทำให้ไม่รู้ตรงลักษณะของธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรมดา
ท่านอาจารย์ เป็นอนัตตาหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอนัตตา เพราะปัญญาไม่ได้อบรมที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะ จนกระทั่งคลายความเป็นเรา ก่อนหมดต้องคลายด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีการคลายการยึดถือสภาพธรรมได้เลย
ผู้ฟัง นั่นหมายความว่า เป็นธรรมขั้นคิด ก็ลืมว่าเป็นอนัตตา ก็คิดว่าเป็นเราคิด จะทำให้กั้นไม่ให้ถึงความอนัตตาจนจรดเยื่อกระดูก เพราะว่ามีเราที่คิด
ท่านอาจารย์ ก็รู้จักธรรมจริงๆ ว่ากว่าปัญญาเจริญจริงๆ เพราะรู้จริงๆ
ผู้ฟัง ขณะที่มีแข็ง รู้ว่าแข็ง สภาพคิดก็ล่วงไปตั้งมากมายแล้ว
ท่านอาจารย์ ไปคิดทำไมว่า ล่วง เราก็คิดอย่างนี้ กว่าจะหมดความสงสัย กว่าจะรู้ว่า เป็นธรรม ก็นั่งคิดเรื่องล่วงไปๆ ทั้งๆ ที่ล่วงไปแล้ว แต่มีสภาพธรรมอื่นปรากฏ ก็ลืมที่จะเข้าใจลักษณะที่ปรากฏ มัวคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ผู้ฟัง แล้วจริงๆ พอเกิดขึ้นก็คิดทุกครั้ง สภาพคิดก็มาอีก
ท่านอาจารย์ เป็นเราคิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นเราคิด
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะไม่ใช่เราที่คิด ยังไม่จรดกระดูก
ผู้ฟัง ไม่ชินจริงๆ
ท่านอาจารย์ มีวิธีจะทำให้ชิน ใครบันดาลได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ รู้แข็งตรงนั้นผ่านไปแล้ว แล้วโลภะก็เกิดมากมาย
ท่านอาจารย์ ก็คิดเรื่องผ่านไปทั้งวัน เมื่อสักครู่นี้ก็ผ่านไปแล้ว
ผู้ฟัง เป็นอย่างนั้นตลอด
ท่านอาจารย์ ก็ผ่านไปแล้ว
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ทั้ง ๕ ทวารจะเหมือนกัน แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดทางกาย มีแข็งกับรู้แข็ง จะไม่มีการระลึกอย่างอื่นต่อไป แต่ว่าถ้าเป็นทางตา จะมีสิ่งที่ปรากฏ จะมีสติระลึกถึงจิตที่คิดถึงรูปพรรณสัณฐาน หรือมีสภาพที่รู้ ทำไมไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ หมอกำลังจับอะไร
ผู้ฟัง จับไมโครโฟน
ท่านอาจารย์ เห็นหรือไม่ คิดแล้วใช่ไหม เพียงแข็ง แล้วคุณหมอบอกว่าจะไม่คิดต่อไป จริงหรือเปล่า พอแข็งก็เป็นไมโครโฟนแล้ว
ผู้ฟัง แสดงว่า สติเราไม่ระลึกต่อไปเอง
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจ ไม่ใช่เพื่อให้สติของเราเกิดขึ้นรู้ ฟังเพื่อละความไม่รู้ ขณะที่ละความไม่รู้เพราะปัญญาเกิดขึ้น ขณะนั้นก็ต้องเป็นสติขั้นหนึ่งที่สามารถฟังเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ต่อไปนี้เหมือนกันหมดทั้ง ๕ ทวารหรือเปล่า หลังจากที่ปรากฏทางหนึ่งทางใด จิตก็คิดถึงสิ่งนั้นต่อทันที เป็นปกติ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เน้นเรื่องของความเข้าใจ ให้ฟังเพื่อความเข้าใจ แล้วเข้าใจจนถึงวันหนึ่งที่จรดกระดูก ไม่ว่าจะเป็นชาตินี้ อีก ๑๐ชาติ หรืออีก ๑๐๐ ชาติ ๑๐๐๐ ชาติ ๑๐๐๐๐ ชาติ ฟังจนจรดกระดูก ท่านอาจารย์ไม่ได้พูดถึงว่า ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ หรืออบรมปัญญาให้เร็วขึ้น ให้เข้าใจขึ้น เพื่อจะบรรลุธรรมในชาตินี้ ท่านอาจารย์ไม่ได้พูดอะไรอย่างนี้ เท่าที่ผมฟังมาตลอดเวลาหลายปี อยากจะถามเหตุผลว่า เพราะเหตุใดท่านอาจารย์จึงมีจุดประสงค์ให้ผู้ฟังเข้าใจ เพื่อที่จะแค่ฟังธรรม เพื่อจะเข้าใจความจริงจนจรดกระดูก ในธรรมที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนให้เข้าใจความจริง หรือท่านอาจารย์มองว่า เป็นหนทางที่ยาวนานมากในสังสารวัฏฏ์ ถ้าเข้าใจผิด เห็นผิดแล้ว หมายความว่าเราต้องหลุดไปอีกทางหนึ่งเลย ท่านอาจารย์มีจุดประสงค์อย่างไร ขอให้ช่วยให้ความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของท่านอาจารย์ด้วย
ท่านอาจารย์ สมาธิเป็นปัญญาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมเพื่ออะไร
ผู้ฟัง เพื่อเข้าใจความจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เพื่อปัญญาหรือเพื่อสมาธิ
ผู้ฟัง เพื่อปัญญา แล้วที่ต้องเข้าไปสำนักปฏิบัติ เพื่อไม่ให้จิตวอกแวกไปกับสิ่งเร้าต่างๆ
ท่านอาจารย์ ทำอย่างนั้นเพื่ออะไร
ผู้ฟัง เพื่อให้ปัญญาชัดเจนขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่ต้องไป เข้าใจได้หรือไม่
ผู้ฟัง แต่ก็ยากในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไปทำไม
ผู้ฟัง ต้องการปัญญาให้เร็วขึ้น
ท่านอาจารย์ กำลังฟังเดี๋ยวนี้ก็เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น ไปทำไม ที่ไปนั้นไม่ได้ต้องการปัญญาหรือต้องการเข้าใจอะไรเลย ต้องการสงบ หรือต้องการให้จิตมั่นคง ที่ใช้คำว่า สมาธิ แต่ไม่ได้เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง แล้วถ้าเป็นตามนัย ที่ท่านอาจารย์สอนตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง กับเน้นเรื่องของความเข้าใจแค่นั้น คนที่มาฟังหรือคนที่ต้องการที่จะปฏิบัติก็จะรู้สึกว่า ที่นี่สอนแต่เรื่องการฟังให้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ฟังเรื่องอะไร
ผู้ฟัง เรื่องความจริง
ท่านอาจารย์ ความจริงของอะไร ที่กำลังมีในขณะนี้ เพื่อให้ปัญญารู้จริง สามารถที่จะเข้าถึงความจริง ประจักษ์แจ้งความจริงตามที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง แต่ก็เป็นเพียงขั้นการฟังเข้าใจเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่ปัญญาสามารถรู้จริงได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ ก็จะทิ้งขณะนี้ไป ไปทำสิ่งที่ไม่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ได้
ผู้ฟัง แต่ท่านอาจารย์บอกให้ฟังเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ฟังไม่ได้เข้าใจเรื่อง ขณะนี้มีอะไรที่เป็นความจริง สิ่งที่มีจริงขณะนี้คืออะไร
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เห็น สามารถรู้ได้เข้าใจได้ไหมว่า เห็นเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ แล้วจะไปทำอะไร
ผู้ฟัง ก็ไม่ต้องทำอะไร
ท่านอาจารย์ นอกจากเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง กว่าจะเข้าใจจนจรดกระดูกจริงๆ ผมว่าชาตินี้ก็ยังไม่จรดกระดูก เพราะยังไม่ได้พูดถึงการปฏิบัติเลย เพราะยังไม่เข้าใจจริงๆ กว่าจะเป็นอนัตตา จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ยาก
ท่านอาจารย์ คุณนิรันดร์ไม่ได้มาตอนพูดถึงสติหลายขั้น ตามลำดับ คือแม้แต่ขณะที่ฟังขณะนี้ ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นมีสติ จึงไม่ได้ไปหลงลืม ไปคิดเรื่องอื่น ไม่ได้ฟังด้วยการใส่ใจพิจารณา ใคร่ครวญหรือเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น สติมีตั้งแต่ในขั้นทาน ขั้นศีล หรือนั่งเฉยๆ ขณะนี้ก็เป็นกุศลจิต ขณะที่เข้าใจ ต่างกับขณะที่ไม่เข้าใจ หรือขณะที่เข้าใจผิด ซึ่งขณะที่เข้าใจไม่ใช่เรา แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต และเจตสิกที่เป็นฝ่ายดี ที่เกิดแล้วทำกิจหน้าที่นั้นๆ รวมทั้งขณะใดที่เข้าใจ ก็เป็นปัญญาที่มีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย ทั้งสมาธิก็มีด้วย
เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นเป็นธรรมที่กำลังจะเข้าถึงความจริง ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง เพราะว่าเมื่อมีความเข้าใจแล้ว ขณะนี้ถ้าถามว่า แข็งไหม ตอบว่าอย่างไร แข็ง แล้วรู้ไหมว่า แข็งเป็นธรรม
ผู้ฟัง ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ฟังมาแล้ว เข้าใจไหมว่า แข็งมีจริงๆ แล้วเป็นธรรมที่เกิดดับด้วย เพราะฉะนั้น ไม่ได้สอนให้ไม่ประจักษ์ความจริง แต่ให้รู้ว่า จริงๆ แล้วขณะนี้อะไรจริง ไม่ใช่เรื่องแข็ง แต่ตัวแข็งมีจริงๆ ด้วย และเกิดดับจริงๆ ด้วย และเป็นธรรมด้วย
เพราะฉะนั้น พูดถึงสิ่งที่มีให้เข้าใจ และพูดถึงหนทางที่ทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรมที่ได้กล่าวถึงด้วย และพูดถึงปัญญาที่เจริญตามลำดับขั้นด้วย ปัญญาที่เจริญแล้ว จะค่อยๆ จรดกระดูก โดยการที่สามารถเข้าถึงความเป็นอนัตตาของธรรม จนหมดความสงสัย เพราะว่าคนที่สงสัยว่า แข็งพอจะรู้ได้ แต่เห็นนี่ยากที่จะรู้ว่าเป็นธรรม จนบางคนเข้าใจว่า ไม่เห็นอะไร นั่นไม่ถูกต้อง เมื่อมีเห็น ก็ต้องมีสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แต่ไม่เคยเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรม
เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ใช่ไปหาที่อื่นเลย ธรรมมี เพราะมีปัจจัยที่มีการเกิดขึ้นเป็นไป แต่ไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรม จนกว่าจะฟังเข้าใจขึ้นๆ และรู้ตัวธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ นั่นคือ ปฏิปัตติ
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าว ผมพอจะเข้าใจว่า ท่านอาจารย์ไม่ได้พูดถึงปริยัติ แต่กำลังพูดถึงปฏิปัตติ คือ การเข้าใจความจริงในขณะนี้ เช่น เห็นหรือแข็ง ซึ่งมีสภาพลักษณะตามความเป็นจริง ผมเข้าใจตามนี้ว่า เมื่อผู้ฟังอบรมการฟังจนเข้าใจแล้ว เมื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ผู้ฟังบอกว่า บางครั้งอาจจะเป็นการคิดนึก
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมด้วย แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม จนกว่าจะรู้ทั่ว ไม่ใช่ให้ไปนั่งทำอะไรแล้วไม่รู้อะไรเลย รู้บางสิ่ง คิดว่ารู้ แต่ก็ไม่รู้
ผู้ฟัง ถ้าไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการใส่ใจ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ในขณะที่ใส่ใจในลักษณะสภาพอย่างนั้น ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ใส่ใจจนกว่าธรรมนั้นจะจรดกระดูก แต่ว่าในขณะที่ผู้ที่กำลังเริ่มต้น แน่นอน ขณะที่ใส่ใจที่แข็งหรือเห็นในขณะนี้ ไม่จรดกระดูกแน่นอน และไม่รู้สภาพธรรมชัดเจนว่า ขณะนั้นเป็นลักษณะของรู) ธรรม และนามธรรม อย่างประจักษ์ อย่างชัดเจน ท่านอาจารย์บอกว่า เป็นการเข้าใจตามที่จะอบรมรู้ลักษณะของธรรมในขณะนั้น
ท่านอาจารย์บอกว่า ขณะนี้เป็นปัจจัยที่จะทำให้ ในสังสารวัฏฏ์ หรือในอีกแสนโกฏิกัปป์ ค่อยๆ เข้าใจจากการฟัง ค่อยๆ ใส่ใจกับสภาพธรรม ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้วันใดวันหนึ่งถึง เหมือนอย่างที่ท่านพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ หรือพระพุทธเจ้า ท่านได้อบรม และประจักษ์ เมื่อได้ฟังว่าธรรมเป็นอนัตตา ก็สามารถเข้าถึงขณะนั้น ท่านอาจารย์บอกว่า หนทางนี้เอง การฟัง ค่อยๆ เข้าใจความจริง ค่อยๆ อบรมเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แล้วค่อยๆ ไปทีละนิดๆ หนึ่งชาติ สองชาติ แสนชาติ ไม่รู้อีกเท่าไร แต่นี่คือหนทาง ช้า แต่เป็นหนทางที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ แล้วเป็นความจริงไหม ผู้ที่ได้ฟังแล้ว
ผู้ฟัง ผมบอกตรงๆ เลยว่า ผมต้องพิจารณาตลอดในชีวิตเลยว่า สิ่งที่ท่านอาจารย์พูด ต้องขอโทษที่ต้องพูดอย่างนี้ ผมต้องพิจารณาสิ่งที่ท่านอาจารย์พูดจริงไหม ตรงไหม ตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไหม แล้วมีหนทางอื่นอีกไหม ถูกหรือไม่ ที่เขาแสดงแล้วว่า เป็นหนทางที่หมดกิเลสได้ แต่ผมพิจารณาหนทางอื่นๆ แล้ว มันไม่มีหนทางที่จะเข้าใจความจริงในขณะนี้ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สำหรับแต่ละคน มีความเห็นถูกกับมีความเห็นผิด คนที่มีความเห็นถูกก็สามารถเข้าใจความจริงได้ในเหตุผล แต่คนที่มีความเห็นผิดก็ไม่เข้าใจอย่างนี้ จึงทรงแสดงว่า อริยสัจทั้ง ๔ คัมภีร คือ สุขุม ลึกซึ้ง ทั้ง ๔ อริยสัจจะ หนทางก็ลึกซึ้ง ถ้าเพียงแต่จะไปนั่ง ลึกซึ้งหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ลึกซึ้ง
ท่านอาจารย์ แล้วไปเพราะอะไร ลึกซึ้งไหม
ผู้ฟัง เพราะความอยาก
ท่านอาจารย์ แล้วความอยากจะทำให้รู้สภาพธรรมได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ และเดี๋ยวนี้ก็มีธรรม ถ้าไม่เข้าใจเดี๋ยวนี้ หวังว่าเมื่อไรจะเข้าใจ
ผู้ฟัง ไม่มีทาง ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงระยะเวลาเลยว่า จะนานแสนนานเท่าไร ไม่คำนึงถึงเลย เพียงแค่ฟังแล้วเข้าใจ ก็พอแล้ว แต่ละชาติฟังเข้าใจนิดหนึ่ง ฟังแต่ละชั่วโมงในชีวิตประจำวัน หรือมาที่นี่ ฟังเข้าใจนิดหนึ่ง อาทิตย์หน้าฟังอีก จนกว่าจะถึงจุติจิตเกิด ก็ตาย แล้วไม่รู้เมื่อไรจะได้ฟังอีก ก็คือแค่นี้แหละ และเมื่อไรที่ถึง ก็ถึง
ท่านอาจารย์ นี่คือทางเดียวที่จะละโลภะ มิฉะนั้นจะเป็นทาสของโลภะ
ผู้ฟัง เป็นเรื่องของปัญญา
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ออกจากโลภะ ด้วยความมั่นคงที่จะเข้าใจธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ชาติหนึ่งข้างหน้า คุณนิรันดร์จะประจักษ์แจ้งสภาพธรรม เพราะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น รู้ไหมว่าจะรู้แจ้งสภาพธรรมอะไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย เพราะว่าสภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้เกิดแล้ว ตามเหตุตามปัจจัย ดับไป แล้วไม่กลับมาอีก และจะไม่ใช่สภาพธรรมนี้อีกเลย เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมาแล้วทั้งหมดก็เป็นธรรมที่ได้พบ ได้เห็น ได้สนุกสนาน ได้ชอบ ได้โกรธ อะไรก็แล้วแต่ทั้งหมด ไม่มีเหลือเลย เพราะว่าความเป็นจริงของธรรม คือ อนัตตา เป็นเพียงสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิด เหมือนไฟ มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็ไม่กลับมาอีก
เพราะฉะนั้น ความจริงของธรรมเป็นอย่างนี้ และปัญญาเท่านั้นที่สามารถรู้ได้ว่า ปัญญาไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่ความอยาก ไม่ใช่ความไม่รู้ แต่เป็นการเริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีทีละเล็กทีละน้อย จนกว่ารู้จริงๆ ประจักษ์จริงๆ ว่า เป็นอนัตตา แล้วก็เป็นธรรม จรดกระดูก คือ ไม่ใช่ข้ามกระโดดไป ไม่รู้ แล้วก็หวังจะไปรู้อย่างอื่นที่ไม่เริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สำหรับผู้ที่ชินจะไม่สงสัยเลยในสภาพที่เพียงปรากฏ เพราะจริงอย่างนั้น แต่กว่าจะจริงอย่างนั้น ก็คือ มีการฟังเข้าใจแล้วระลึกได้ แม้ขณะที่กำลังฟังเดี๋ยวนี้ ไม่ได้คิดถึงอย่างอื่น ไม่มีแข็ง ไม่มีเสียง แต่มีสิ่งที่กำลังปรากฏ และเริ่มจะเข้าใจขึ้น หนทางเดียวจริงๆ ที่เหมือนการจับด้ามมีด
ผู้ฟัง เริ่มด้วยการฟังในขณะนี้
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ขออนุญาตถามว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า จิตขณะใดเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะว่าผู้ฟังจะถามว่า ทำอย่างนี้เป็นกุศลไหม ทำอย่างนั้นเป็นกุศลไหม ส่วนใหญ่ก็จะสงสัยแล้วจะถามว่า ในชีวิตประจำวันขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ คุณนิรันดร์ก็ทำหลายๆ อย่าง แต่ละวัน แล้วก็มานั่งคิดว่า ขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล คิดไม่จบ แต่แทนที่จะคิดอย่างนั้น พอฟังธรรมแล้ว เริ่มที่จะเข้าใจ จนกระทั่งสามารถรู้ลักษณะที่เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา สิ่งนั้นจะเป็นหนทางให้รู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ไม่ใช่เพียงแต่คิดเรื่องนั้น แล้วก็พยายามจะนึกว่า เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ซึ่งไม่มีวันจบ เพราะว่าไม่รู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรม
ก่อนได้ฟังธรรม ทุกคนมีเรื่องคิดมาก แล้วแต่การสะสม ใครเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร ก็คิดแต่เรื่องของบุคคลที่ผ่านมา สะสมมา แต่พอฟังธรรมแล้ว มีโอกาสไหมที่จะคิดเรื่องธรรม แต่ไม่ใช่คิดด้วยความสงสัยว่า เป็นกุศลหรืออกุศล แต่ที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้เป็นธรรม แม้แต่ประโยคที่ได้ยินซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า เป็นธรรม เห็นเป็นธรรม คิดเป็นธรรม ยังไม่ต้องไกลจนกระทั่งว่า เป็นกุศลหรืออกุศลวันนี้ที่ทำมาแล้วทั้งหมด เป็นเรื่องยาว
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะได้ฟังธรรม เราคิดหลายเรื่องตามการสะสมของแต่ละคน พอฟังธรรมแล้วมีความเข้าใจ ก็ไม่ใช่ไปห้ามคิด ห้ามทำ มีปัจจัยที่สภาพธรรมใดจะเกิดขึ้นทำ คิดอะไรก็เป็นอย่างนั้น แต่การที่จะเข้าถึงตัวธรรมที่เป็นธรรมจริงๆ ที่จะจรดกระดูก สะสมมาพอที่จะเห็นว่า แค่คิด ขณะที่กำลังคิดทุกอย่าง แม้แต่ที่จะถามว่า เป็นกุศลหรืออกุศล ก็เป็นคิด ไม่ใช่เห็น สิ่งนี้จะมีประโยชน์กว่าไหม
เพราะฉะนั้น ชีวิตจะมีประโยชน์เพิ่มขึ้น ก็คือสามารถรู้ว่า สิ่งใดเป็นประโยชน์แท้จริง การที่เรายังคงจำเรื่องราว ติดเรื่องราวด้วยความเป็นเรา ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเปล่า ก็คือเราเป็นกุศลหรือเปล่า หรือตอนนั้นเป็นอกุศลหรือเปล่า ก็คือเป็นเราอีกที่เป็นอกุศล ก็ไม่ถึงวันที่สามารถรู้ความจริงของธรรมว่า ไม่มีเรา แต่เป็นธรรม
เพราะฉะนั้น การสะสมการฟังก็เพื่อที่ว่า ไม่มีตัวเราที่จะไปบังคับเหตุการณ์ใดๆ แม้แต่คิดเป็นกุศลหรืออกุศล แต่เมื่อมีการสะสมกุศลมากขึ้น จะรู้ได้ว่า เกิดคิดที่เป็นกุศล มีการอภัย มีเมตตา มีการช่วยเหลือ มีทุกอย่างที่เป็นไปในทางฝ่ายกุศลเพิ่มขึ้น
นี่แสดงให้เห็นว่า นั่นก็ยังไม่ถึงการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธรรม นั่นเป็นแต่เพียงความดีที่เกิดขึ้นจากการได้ฟังธรรม เป็นบารมี เพราะเหตุว่าทำให้ค่อยๆ คลายจากอกุศลหนาแน่น มาสู่การเป็นผู้มีกุศลเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งจะทำให้สามารถที่การฟังทำให้มีการระลึกได้ อย่างเย็นปรากฏ รู้ตรงเย็น เกิดแล้ว ไม่ได้คิดมาก่อนว่า จะเจตนาให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะที่เย็น แต่ว่าปัญญาไม่พอจะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรม แล้วก็ไม่มีอย่างอื่นเลยทั้งโลกไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีธรรมอื่น มีแต่ธรรมที่กำลังปรากฏแล้วก็ดับไป นี่คือสามารถที่จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจธรรมจรดกระดูกได้
ผู้ฟัง อย่างนี้หนทางในการอบรมเจริญปัญญา ก็ไม่ใช่การไปละกิเลส เพราะเดี๋ยวละ เดี๋ยวไม่ละ ก็ยังเป็นสภาพธรรม ยังไม่ใช่ปัญญาที่เข้าใจความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ใช่หรือไม่ที่เข้าใจว่า แม้ขณะที่ละก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แม้ขณะที่จะไม่ละ ก็คือสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ จากปุถุชนสู่ความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้น คือ พระโสดาบัน ไม่ใช่ถึงความเป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง คือละความเห็นผิด ความเข้าใจผิด
ท่านอาจารย์ ต้องมีความเห็นถูกต้องว่าเป็นธรรม ไม่ลืม ฟังธรรมเพื่อระลึกได้ว่า เป็นธรรม แล้วเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะคลายการยึดถือว่า เป็นสิ่งที่เที่ยง เป็นปกติ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 481
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 482
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 483
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 484
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 485
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 486
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 487
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 488
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 489
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 490
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 491
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 492
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 493
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 494
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 495
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 496
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 497
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 498
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 499
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 500
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 501
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 502
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 503
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 504
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 505
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 506
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 507
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 508
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 509
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 510
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 511
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 512
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 513
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 514
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 515
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 516
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 517
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 518
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 519
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 520
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 521
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 522
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 523
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 524
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 525
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 526
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 527
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 528
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 529
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 530
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 531
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 532
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 533
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 534
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 535
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 536
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 537
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 538
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 539
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 540