พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 531
ตอนที่ ๕๓๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริง ถ้าอ่านข้อความในพระไตรปิฎก โดยที่ไม่ข้าม และมีความเข้าใจพอสมควร ก็จะมีความซาบซึ้งในความจริง เช่นทุกคนในขณะนี้ มีร่างกายที่ทรงอยู่ในลักษณะนี้ เพราะอะไร เพราะกระดูก ถ้าไม่มีกระดูกเลย เป็นอย่างไร นั่งได้ไหม ยืน เดิน ได้ไหม ไม่ได้เลย ท่านจึงได้บอกว่า ร่างกายนี้มีกระดูกที่ยกขึ้น ถ้าไม่มีกระดูกยกไม่ได้เลย นี่ก็คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริงให้เห็นว่า แม้แต่สิ่งธรรมดาๆ เราก็ข้ามไป ไม่รู้ว่า ตามความจริงสภาพธรรม เพราะอะไร แม้จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ก็เพราะมีกระดูกที่ยกร่างกายนี้ขึ้น เท่านี้เอง ใครที่ไหน ทำอะไรหรือเปล่า ที่เขายกมือ ถ้าไม่มีกระดูกยกได้ไหม นั่งได้ไหม
นี่แสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้มีมากมายแค่ไหน ตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติ หลับสนิท ตาบอดด้วย คือไม่สามารถที่จะเห็น จะรู้ จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะทำ จะพูด จะคิด ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร เป็นเราไปหมดเพราะความไม่รู้ แต่ตามความเป็นจริงก็คือ กว่าจะได้ฟังธรรม แล้วเริ่มมีความเข้าใจ เริ่ม คิดหรือว่าจะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง ในขณะที่เริ่มเข้าใจธรรม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าธรรมเป็นเรื่องละความไม่รู้ ทำให้ละความติดข้อง ละความสงสัย ละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งมีมาทุกชาติ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เกิดเห็นถูก มีน้อยแค่ไหน ในขณะที่เพียงฟัง และเดี๋ยวก็ไม่ได้ฟัง ฟังนิดหนึ่ง เดี๋ยวก็คิดถึงเรื่องอื่นอีกแล้ว เพราะฉะนั้น กว่าที่จะเป็นสัญญา ความจำที่มั่นคงจริงๆ ผู้นั้นก็จะรู้ได้ว่า เหมือนคนหลับแล้วก็ตื่น มีแสงสว่างนิดหนึ่งแล้วก็หมดไป หลับต่อไปอีก ตื่นมาหน่อยหนึ่ง แล้วแต่จะมากจะน้อย แล้วก็หลับต่อไปด้วยอวิชชา ยังไม่ใช่พุทธะ ผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบานจริงๆ จนกว่าจะมีความเข้าใจ เพราะฉะนั้น อย่าข้ามความเข้าใจ อย่ามุ่งไปหาสติปัฏฐาน อย่ามุ่งไปที่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อานาปานบรรพ
เมื่อวานที่มีผู้สนทนา ผู้นั้นก็มีความสนใจว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องอานาปานสติ เพียงแคนี้ ไม่ได้มีความเข้าใจอะไรเลย เพียงแต่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องอานาปานสติ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วอย่างอื่นไม่ได้ทรงแสดงหรือ ๔๕ พรรษา ไม่ได้ทรงแสดงเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หรืออย่างไร จะถือเพียงพยัญชนะเดียวว่าทรงแสดงเรื่องอานาปานสติ เป็นกายานุปัสสนา สติปัฏฐานเท่านั้น โดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย เป็นการอบรมเจริญปัญญาหรือ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดประมาทคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดว่าเพียงฟัง หรือเพียงอ่านเองก็จะเข้าใจได้ โดยไม่มีพื้นฐานที่มั่นคง ผู้นั้นจะเข้าใจผิด ถ้าถามเขาต่อไป เขาก็ตอบไม่ได้ ถามว่า แล้วขณะที่กำลังจดจ้องที่ลมหายใจ รู้อะไร ก็ตอบไม่ได้ แล้วลมหายใจ คืออะไร ก็ตอบไม่ได้ ใครตอบได้บ้าง ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจตามลำดับขั้น
ผู้ฟัง ชาตินี้มีโอกาสได้ฟังแล้ว แต่ก็ยังยากอีกต่อไป ไม่ทราบว่าเมื่อไร ตรงนี้ก็ยิ่งหมดกำลังใจ
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ควรสะสมไหม
ผู้ฟัง ไม่ควรสะสม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก็คิดอีก ที่จริงใครจะรู้ชาติหน้า วันไหน ช้าหรือเร็ว แล้วเป็นอะไรก็ไม่ทราบ แต่ที่รู้แน่นอนก็คือว่า ขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติปางก่อน เมื่อถึงชาติหน้า เมื่อถึงชาติหน้าพูดถึงบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติปางก่อนก็คือเดี๋ยวนี้เอง ถึงชาติหน้าขณะนี้ก็เป็นบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติปางก่อน สะสมต่อไปอีกใช่ไหม ยังไม่พอ
อ.คำปั่น การศึกษาธรรมเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ เพราะว่าธรรมนั้น เป็นสิ่งที่มีจริง แสดงถึงความเป็นอนัตตา คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เพราะเราคุ้นเคยกับความเป็นตัวตน คุ้นเคยกับความไม่รู้ จึงยากที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่ถ้าอาศัยการฟังบ่อยๆ เนืองๆ ฟังเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง ในเรื่องของจิต เรื่องของเจตสิก เรื่องของรูป ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ทุกขณะในชีวิตประจำวัน ก็จะค่อยๆ คลายความเห็นผิด ก็จะค่อยๆ คลายความไม่รู้ไปตามลำดับด้วย เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรม มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ก็เป็นโอกาสที่ดี เป็นโอกาสที่หาได้ยาก ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงความเป็นผู้มีบุญที่ได้กระทำแล้วตั้งแต่ชาติปางก่อน ก็เป็นธรรมข้อหนึ่งที่จะหมุนไปหรือเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย หรือที่เรียกว่าเป็น “จักร ๔” เพราะได้กระทำบุญไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้เกิดในถิ่นที่สมควร คือ เกิดในปฏิรูปเทสวาสะ คือ การอยู่ในประเทศอันสมควร เมื่ออยู่ในประเทศอันสมควร เพราะได้สั่งสมบุญมาแต่ชาติปางก่อน ก็ทำให้ได้พบกับสัตบุรุษ ได้อาศัยสัตบุรุษ ภาษาบาลีใช้คำว่า สัปปุริสสูปนิสย เป็นการเข้าไปอาศัยผู้ที่มีคุณธรรม เข้าใจธรรม ก็จะทำให้ได้ฟังธรรมจากผู้ที่มีความเข้าใจนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา และที่ขาดไม่ได้เลยถ้าหากว่า เมื่อเข้าใจถูก เห็นถูกแล้ว การตั้งตนไว้ชอบ ก็ย่อมจะมีขึ้น เป็นไปขึ้น ทำให้มีจุดประสงค์ที่แท้จริงในการศึกษาธรรมว่า ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย ไม่ใช่เพื่อลาภ เพื่อสักการะ สรรเสริญ แต่เป็นไปเพื่อความเข้าใจจริงๆ เพื่อขัดเกลากิเลสจนกว่าจะดับกิเลสได้ในที่สุด เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย สำคัญที่สุดก็คือความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งท่านเรียงมาตั้งแต่การอยู่ในประเทศอันสมควร การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ การตั้งตนไว้ชอบ และความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำแล้วตั้งแต่ชาติปางก่อน แต่เพราะอาศัยความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้วแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้มาเกิดในถิ่นที่ดี ได้คบสัตบุรุษ และได้ตั้งตนไว้ชอบ
ผู้ฟัง ยังเป็นผู้ศึกษาน้อยอยู่ ฟังน้อยอยู่ ที่เรายังคิดอย่างนี้อยู่ว่า เราดำเนินชีวิตเพื่อการฟังอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้สนใจว่าจะเข้าใจมาก เข้าใจน้อย เพียงแต่ขอให้ได้ฟัง เป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องหรือที่ควรหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจ จะเรียกว่า ฟังด้วยดีหรือไม่ เพราะจะมีฟังธรรม คือการฟังด้วยดีก็คือเข้าใจในขณะที่ฟัง ไม่ใช่การฟังมาก คือมีเสียงผ่านหู ไม่ใช่อย่างนั้น การฟังคือการฟังแล้วเข้าใจในสิ่งที่ฟัง ฟังมากไม่ใช่มีเสียงผ่านหูมาก แต่เข้าใจในสิ่งที่ฟังมาก
ผู้ฟัง คือเข้าใจในเรื่องราวมากกว่า แต่ยังไม่ได้เข้าใจตัวจริงเพิ่มขึ้น
อ.ธิดารัตน์ ก็ไม่เป็นไร เพราะต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ เพราะต้องรู้ทั้งเรื่องราว เพราะอยู่ๆ จะเข้าใจสภาพธรรม โดยไม่มีเรื่องนำทางไม่ได้
เพราะฉะนั้น เรื่องราวไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี หรือคำอธิบายเป็นภาษาไทย ก็ยังเป็นเรื่องของสภาพธรรมอยู่ดี ก็ต้องมีการฟังเรื่องเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรม ก็คือฟังแล้ว เรื่องของธรรมเหล่านี้ ฟังแล้วเป็นปัจจัยให้พิจารณา เพราะต้องมีลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ อยู่แล้ว เรื่องราวของธรรมก็ต้องมีตัวธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อฟังเรื่องราวของธรรม ก็อย่าลืมว่า ฟังเพื่อที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เพราะเรื่องราวเหล่านั้นอธิบายลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงฟัง จำชื่อ จำเรื่องว่าเราจำได้
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องกังวลเลย ฟังได้ทั้งนั้นเมื่อมีโอกาสได้ฟัง และถึงแม้ไม่มีโอกาสได้ฟัง แต่สิ่งที่ฟังแล้วเป็นปัจจัยให้มีการระลึก และพิจารณาสภาพธรรมในขณะที่ไม่ได้ฟัง เพราะไม่ได้ฟังก็พิจารณาได้ ไม่ว่าจะทำงาน ทำกิจการต่างๆ ก็มีสภาพธรรมให้พิจารณาทั้งนั้นเลย ขณะที่ฟังปริยัติเกื้อกูลต่อความเข้าใจ เป็นปัจจัยให้เข้าใจสภาพธรรม ก็เป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อปฏิบัติ ปฏิปัตติธรรม ถ้ายังมีตัวตนที่จะเลือกฟังจำนวนนี้ เท่านี้ ฟังอย่างนี้ก็เป็นเราทั้งนั้นเลย แต่ก็เป็นปกติ ถึงเป็นเรา แต่ฟังในขณะนั้นมีความเข้าใจหรือสลับหรือเปล่า ถึงแม้จะมีโลภะที่จะฟัง ต้องการเข้าใจ แต่ขณะที่ฟังก็มีปัจจัยให้มีสภาพธรรมเกิดขึ้น มีการพิจารณา ซึ่งเป็นปกติได้ จะค่อยๆ เป็นปกติในการฟังธรรม แล้วก็เป็นปกติในชีวิตประจำวันที่จะมีการพิจารณาธรรม
ผู้ฟัง เมื่อมีโอกาสได้ฟัง ก็เห็นคุณค่าของการได้ศึกษาธรรม เราก็ไม่อยากประกอบอาชีพต่อไป แต่ก็กำลังถูกบีบให้ทำคลินิก
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณหมอไม่ทำการอาชีพ คุณหมอจะทำอะไร
ผู้ฟัง คิดว่าจะศึกษาธรรมอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ แล้วจะทำอะไร
ผู้ฟัง ก็ไม่ทำอะไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ หรือ คืออยู่เฉยๆ นี่น่าเบื่อไหม
ผู้ฟัง ไม่เบื่อ เพราะฟังธรรมทั้งวันถ้ามีโอกาส
ท่านอาจารย์ คุณหมอเลือกเกิดมาหรือเปล่า
ผู้ฟัง เลือกเกิดไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วเกิดมาแล้ว เลือกจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้อีก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า สิ่งใดที่เกิดแล้วนั่นเองเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น แม้แต่ความคิด คิดอย่างนี้ สะสมมา ความคิดนี้เปลี่ยนได้ไหม
ผู้ฟัง เปลี่ยนยาก
ท่านอาจารย์ ความคิดนี้เปลี่ยนไม่ได้หรือ ตามการสะสม เพราะฉะนั้น จะห่วงกังวลอะไร แต่คุณหมอก็ต้องคิดไตร่ตรอง และรู้ว่าจะทำประโยชน์ได้ทั้งโลก และธรรมหรือเปล่า หรือถึงแม้คุณหมอจะไม่ทำงาน แต่คุณหมอก็ยังมีอกุศลมากมาย แต่ขณะที่กำลังทำงานกุศลจิตก็ยังเกิดได้ ถ้ามีการสะสม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเลือกด้วยตัวเอง แต่เป็นไปตามการสะสมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเลือกอะไร ซึ่งคุณหมอก็บอกแล้วว่า ใครก็บังคับ หรือบอก หรือชักชวนไม่ได้ ต้องเป็นความคิดของคุณหมอเอง ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น อะไรจะเกิดขึ้น คือเกิดแล้วรู้ว่า มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น
ข้อสำคัญที่สุด ทุกคนต้องการสุข ถูกต้องไหม แม้แต่คุณหมอจะไม่ทำงาน ก็คิดว่าคงเป็นสุขกว่า ได้ฟังธรรม เรียนธรรม คิดธรรม สนทนาธรรม แต่จริงๆ แล้วมีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์แน่ๆ หลีกเลี่ยงความทุกข์ไม่ได้ ความทุกข์บางทีเราอาจจะคิดว่า มาจากคนอื่น แต่ลืมว่าคนอื่นไม่สามารถทำให้เราเกิดสุข และทุกข์ได้เลยจริงๆ นอกจากกิเลสของเราเอง และแท้ที่จริงถ้าเป็นคนดีเมื่อไร ขณะไหน จะเป็นทุกข์ไหม คนอื่นเป็นคนไม่ดีได้ ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อเราได้ แต่เราเป็นคนดี ไม่สนใจที่จะทำสิ่งที่ไม่ดีกับใคร แต่เป็นคนดีกับทุกคนได้ เป็นคนไม่มีศัตรู แล้วเราจะเป็นทุกข์ไหม
เพราะฉะนั้น ทุกข์จริงๆ อยู่ที่ใจ จะมั่งมี จะยากจน อยู่ที่ใจว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่าคนเราจะต้องพึ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เกิดทุกข์หรือสุข แต่ความจริงแล้วก็เป็นเพราะการสะสมของจิตที่จะทำให้เกิดสภาพธรรมที่จะต้องเป็นอย่างนั้น โดยที่เลือกไม่ได้เลย มีทุกสิ่งทุกอย่างพรั่งพร้อมก็ยังเป็นทุกข์ได้ ไม่ต้องให้ใครทำไม่ดีกับเราก็ยังเป็นทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเพราะกิเลส
เพราะฉะนั้น ไม่มีใครสามารถดลบันดาลให้ใครเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ได้ นอกจากตัวเองที่สะสมมา ก็เป็นเรื่องของคุณหมอที่จะคิดเอง ใช่ไหม ขณะนี้คิดอย่างนี้ แต่แน่ใจหรือว่าจะมีแต่สุขไม่มีทุกข์ แม้ว่าจะไม่ทำงาน
ผู้ฟัง ก็ต้องมีทุกข์ด้วย
ท่านอาจารย์ ทำดีหรือไม่ทำดี ทำงานก็เป็นคนดีได้ ไม่ใช่ว่าต้องไม่ทำงานถึงจะเป็นคนดีได้
ผู้ฟัง คำถามจากอุฑฑิตสูตรนั้น "เทวดาได้ตั้งคำถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร" ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า "โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์" ตรงนี้สงสัยกันว่า โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เมื่อได้ยินคำอะไรก็สงสัย ตามความเป็นจริงก็คือ รู้ว่าโลกคืออะไรก่อน ก่อนที่จะไปสงสัยข้อความต่อไป เพราะเหตุว่าการศึกษาธรรมมักจะลืมธรรม สนใจสิ่งอื่น คือคำที่ได้ยินเรื่องของธรรม แต่ตัวธรรมจริงๆ เดี๋ยวนี้ไม่ได้สนใจที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เพียงคำเดียวว่า เป็นธรรม ขณะนี้รู้จักธรรมหรือเปล่า เพราะว่าทั้งหมดต้องเป็นธรรม โลกก็เป็นธรรม ทุกข์ก็เป็นธรรม ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม
เพราะฉะนั้น รู้จักธรรมจริงๆ หรือเปล่า ข้อความในพระไตรปิฎกมีมาก ทั้งหมดเป็นคำเรื่องของธรรมที่มีทั้งหมดที่จะให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ความเข้าใจต้องตามลำดับ ขณะนี้ได้ยินคำว่า “ธรรม” แล้วก็มีธรรมกำลังปรากฏ เป็นทุกข์หรือเปล่า เป็นโลกหรือเปล่า ถ้าเข้าใจ แค่นี้ก็ตรงกันทุกคำที่ทรงแสดง ไม่ว่าข้อความนี้หรือข้อความไหนๆ เพราะเหตุว่าขณะนี้มีสิ่งที่เกิดแล้วปรากฏแน่ๆ ถ้าไม่เกิด จะปรากฏไม่ได้ เมื่อเกิดแล้วปรากฏก็ดับไป นี่ความหมายของโลก และการเกิดดับเป็นทุกข์หรือเปล่า จะไปหาทุกข์อื่น นอกจากสิ่งที่เกิดดับในขณะนี้ได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ไปคิดถึงคำที่ได้ยิน แต่จะต้องเข้าใจสภาพธรรม ฟังแล้วเมื่อไรจะเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ คือแม้จะทรงแสดงธรรมถึง ๔๕ พรรษาก็เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรม ธรรมเกิดแล้วก็ดับไปเร็วมาก เพียงจะรู้ว่าเป็นธรรมก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้เรื่องอื่นของธรรม เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อไรที่ค่อยๆ เข้าใจว่า ธรรมทั้งหมดเลย แม้ขณะนี้ก็เป็นธรรมที่ยังไม่รู้ จึงฟังเพื่อที่จะเข้าใจจนรู้ว่าเป็นธรรม เมื่อรู้ว่าเป็นธรรม ข้อความในพระไตรปิฎกก็จะกระจ่างตามความเข้าใจของแต่ละคนว่า มีความเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏมากน้อยขนาดไหน แต่ไม่ใช่ไปหาความเข้าใจในคำหรือในตัวหนังสือที่มี แต่ต้องเป็นความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มี แล้วจึงสามารถเข้าใจคำที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกได้กระจ่างหรือยัง ทวนคำถามอีกครั้ง
ผู้ฟัง เทวดาทูลถามว่า โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์
ท่านอาจารย์ จริงไหมที่พูดเมื่อสักครู่นี้ โลกต้องเป็นสิ่งที่มีเมื่อเกิดขึ้น ถ้าไม่มีการเกิดขึ้น โลกไหนๆ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น เมื่อโลกมี แต่คนไม่รู้จักโลก ลองถามดูว่าโลกคืออะไร จะตอบกันต่างๆ นานา แต่ถ้าไม่กล่าวถึงสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏเมื่อไร ก็เป็นโลกๆ หนึ่ง เพราะว่าปรากฏ ถ้าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ จะกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นโลกได้ไหม ไม่มีอะไรปรากฏเลย แต่เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นปรากฏ สิ่งนั้นแหละไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ก็เป็นโลกซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ทุกข์ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย แต่โลกมีเมื่อไร เกิดเมื่อไร ก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น เพราะเกิดแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง การที่กล่าวว่า การศึกษาพระไตรปิฎกให้เข้าใจ ต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงว่า ขณะนี้ไม่มีสัตว์ ตัวตน บุคคล เป็นธรรมแต่ละลักษณะ และเป็นอนัตตา เกิดดับตามเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีพื้นฐานตรงนี้มั่นคงพอ เมื่อศึกษาพระวินัย หรือพระสูตร ก็จะคิดว่ามีสัตว์ ตัวตน บุคคล ไปทำอย่างที่พระองค์กล่าว ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยขยายความ เพื่อให้มั่นคงในพื้นฐาน หรือเริ่มเข้าใจถูก เข้าใจตรงว่า สภาพธรรมเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ไม่มีสัตว์ ตัวตน บุคคล หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ท่านอาจารย์ ก็มีอยู่แล้วเวลานี้ ธรรมแต่ละลักษณะ ปนกันได้อย่างไร สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีเป็นอย่างหนึ่ง เสียงก็อย่างหนึ่ง แข็งก็อย่างหนึ่ง คิดก็อย่างหนึ่ง ทุกอย่างก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะ เป็นอยู่แล้ว แต่ไม่รู้
ผู้ฟัง จากที่กล่าวว่า เทวดาทูลถามว่า โลกอันอะไรหนอกำจัดแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบว่า โลกอันมฤตยูกำจัดแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วมฤตยู คืออะไร เห็นไหม ถ้าเราข้ามๆ ไป ก็เหมือนเราเข้าใจธรรม แต่ถ้าเราเข้าใจธรรม เราก็จะเข้าใจความหมายได้ มฤตยู คืออะไร
ผู้ฟัง หมายถึงความตาย มีอยู่ ๓ ลักษณะ
ท่านอาจารย์ คุณอรรณพช่วยเพิ่มเติม มฤตยู โลกอันมฤตยูกำจัดแล้ว
อ.อรรณพ โลกไม่ว่าโดยนัยสัตวโลก หรือสังขารโลกก็มีความดับไปเป็นธรรมดา มฤตยู คือ ความตายหรือความดับไปเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสามัญลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เกิดแล้ว ตั้งอยู่ ทนไม่ได้ แล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ ใครรู้ใจเทวดาบ้าง นานแสนนานมาแล้ว และแต่ละคนมีข้อสงสัย และใครจะรู้ว่า จริงๆ แล้ว ขณะนั้นเทวดาสงสัยอะไร แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบอัธยาศัย และเข้าใจความคิดของเทวดาว่า ทูลถามเพราะสงสัยอะไร ความสงสัยมีมากมาย ถ้าจะถามเวลานี้แต่ละคน แม้แต่คำที่ได้ยินก็จะสงสัยกันต่างๆ แต่ผู้ที่รู้ใจของเทวดาก็จะรู้ว่า เทวดาหมายความถึงอะไร ซึ่งก็เป็นความจริง ไม่ใช่เป็นความจริงเฉพาะขณะที่ตรัสตอบเทวดาเท่านั้น แต่ก็เป็นความจริงทุกขณะ กำลังนั่งอยู่อย่างนี้ เป็นเทวดาหรือเปล่า ไม่เป็น แต่มีคำถามของเทวดาว่า โลกอันอะไรกำจัดแล้ว
ทุกคนเหมือนกำลังอยู่ในโลกใช่ไหม ไปอยู่นอกโลกกันหรือเปล่า เปล่าเลย หลับอยู่ในโลกนี้หรือเปล่า ยังไม่ได้ออกจากโลกนี้ ชาตินี้ ชีวิตนี้เลย ตื่น ออกไปจากโลกนี้หรือเปล่า ก็ไม่สามารถที่จะออกไปจากโลกนี้ได้ จนกว่าจะตาย ออกไปไหม กลับมาอยู่ในโลกนี้อีกได้ไหม ไปแล้วไปแล้วสู่โลกอื่น เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนอยู่ในโลกนี้ ใช่ไหม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 481
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 482
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 483
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 484
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 485
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 486
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 487
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 488
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 489
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 490
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 491
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 492
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 493
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 494
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 495
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 496
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 497
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 498
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 499
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 500
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 501
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 502
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 503
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 504
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 505
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 506
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 507
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 508
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 509
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 510
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 511
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 512
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 513
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 514
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 515
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 516
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 517
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 518
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 519
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 520
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 521
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 522
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 523
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 524
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 525
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 526
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 527
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 528
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 529
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 530
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 531
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 532
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 533
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 534
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 535
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 536
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 537
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 538
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 539
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 540