พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
ตอนที่ ๕๕๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ พูดถึงการระงับ จะที่ไหน เมื่อไร คัมภีร์นั้นก็ตามแต่ ถ้าพูดถึงระงับ ขณะนั้นรู้อะไรจึงระงับ อยู่ดีๆ ระงับได้อย่างไร ต้องมีเหตุที่ระงับ และเหตุที่ระงับนั้นคืออะไร
ผู้ฟัง ปัญญาเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ ปัญญาขณะนั้นรู้อะไร เห็นโทษของโทสะหรือไม่
ผู้ฟัง มีคำพูดต่อไปว่า ผู้นั้นชื่อว่า ประพฤติประโยชน์แก่คนทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายตน และฝ่ายผู้อื่น ประโยคนี้ที่จะเรียนถาม ของตนได้ประโยชน์ ทีนี้ประโยชน์ผู้อื่น เราไม่สามารถรู้จิตของเขา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นประโยชน์แก่เขา สิ่งนี้อาจารย์ช่วยขยายความด้วย
ท่านอาจารย์ เวลาที่คุณสุรีย์โกรธใคร อยากจะว่าหรือไม่คะ อยากจะทำร้ายหรือไม่ แต่พอคุณสุรีย์ไม่โกรธ ก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนเขา กายวาจาเวลาพบกันก็เป็นวาจาที่ดี กายที่ดี เขาก็ไม่เดือดร้อนเพราะความไม่โกรธของคุณสุรีย์ คุณสุรีย์ก็ไม่โกรธ เขาก็ไม่ถูกประทุษร้ายด้วยกาย ด้วยวาจา
อ.กุลวิไล ขณะนั้นเราก็ไม่ได้เป็นอกุศลด้วย ถ้าอกุศลจิตเราเกิดก็คือต้องโกรธตอบ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำร้ายเขาด้วยจึงเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย
ผู้ฟัง พูดถึงขันติ เป็นอะไรที่ยากมากจริงๆ
ท่านอาจารย์ ยากตรงไหน
ผู้ฟัง สำหรับคนที่สะสมความโกรธ อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า เราโกรธอยู่แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่รู้เรื่องว่าเราโกรธไปทำไม หรือเห็นโทษของการโกรธก็ตาม แต่จริงๆ ในขณะนั้นมีความรู้สึกว่าจะต้องเคลียร์ เวลาที่เขาทำอะไรให้เราโกรธมากๆ แล้วเราไม่สามารถหยุดได้ เราก็ต้องพูดหรือคุย ซึ่งนั่นก็ล่วงไปแล้ว แต่การที่จะไม่ให้ล่วง ท่านอาจารย์กล่าวว่าไม่ให้ล่วงทางกาย
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ไม่ให้ สั่งได้อย่างไร
ผุ้ถาม สั่งไม่ได้ แต่หมายความว่า ถ้าเห็นประโยชน์ในขณะนั้น สิ่งที่ควรอบรม
ท่านอาจารย์ เวลานี้คุณแก้วตาพูดได้ทุกอย่าง คิดได้ทุกอย่างว่าควรจะทำอะไร แต่เมื่อถึงเวลานั้นจะรู้ว่า อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับการสะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกมากพอที่จะเป็นปัจจัยให้ขณะนั้นความไม่โกรธเกิดขึ้น หรือกาย วาจาจะเป็นอย่างไร แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลา ก็ยังไม่สามารถรู้ได้
ผู้ฟัง แต่ทุกครั้งที่โกรธ เกือบจะทุกครั้งเลย
ท่านอาจารย์ ผ่านไปแล้ว
ผู้ฟัง ผ่านไปแล้วค่ะ แต่ในระยะใกล้ๆ นี้ เวลาโกรธก็พยายามที่จะไตร่ตรองที่ฟังมาแล้ว
ท่านอาจารย์ พยายามตอนไหน
ผู้ฟัง หมายความว่าคิดไตร่ตรองจากธรรมที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์ แต่ทุกครั้งก็ทำไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็บอกแล้วอย่างไรว่า คิดได้ทุกอย่าง ถึงเวลาจริงๆ ก็ไม่ได้
ผู้ฟัง ก็อย่างที่แก้วเคยกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า สมัยก่อนใครทำอะไรให้โกรธ ก็ต้องให้เขาได้รับบ้าง แต่เดี๋ยวนี้น้อยลง แต่ในความเข้าใจของแก้ว แม้ตอนที่เราวิรัติว่าจะไม่ทำร้ายตอบ ในขณะนั้นน่าจะเป็นกุศล แต่หลังจากนั้นก็พอกพูน
ท่านอาจารย์ ต้องขออนุโมทนาทุกคนที่ไม่ดีมาแล้วมากๆ แล้วก็ได้มาฟังธรรม มิฉะนั้นก็จะยิ่งแย่กว่านี้หลายเท่า ด้วยเหตุนี้ในอดีตที่ผ่านมาแต่ละเรื่อง ก็รู้สึกว่า เราทุกข์ไม่พอ ต้องให้คนอื่นเขาทุกข์ด้วย ซึ่งมองดูก็แปลก วิจิตรต่างๆ กันจริงๆ ของความคิด ของการสะสมของแต่ละคน แต่ ณ บัดนี้ก็ได้พบหนทางที่จะทำให้ได้เข้าใจธรรม แต่กว่าจะเข้าใจจนสามารถละคลายอกุศลเดิมๆ ที่เคยสะสมมามาก ต้องเป็นการเข้าใจธรรมจริงๆ ด้วยการเห็นประโยชน์ว่า ผู้ที่สามารถดับอกุศลได้ต้องด้วยปัญญาที่เริ่มจากการเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้
เพราะฉะนั้น เราจะไม่คิดหวังถึงอนาคตว่า อะไรจะเกิดขึ้น อะไรก็เกิดได้ทั้งนั้น ทั้งหมดตามเหตุตามปัจจัย แต่ขณะนี้ปัญญาสามารถเริ่มเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรมหรือยัง นี่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุด
อ.กุลวิไล ขอถามคำถามจากผู้ที่ส่งมา คุณอรรณพคะ มีผู้เขียนมาเรียนถามว่า เคยฟังธรรมว่าพุทธบริษัทควรรู้ เข้าใจ และเชื่อมั่นคงในเรื่องของกรรม และถ้าเข้าใจโดยละเอียดว่า เมื่อใด ขณะใดเป็นการรับผลของกรรม และเมื่อใด ขณะใดเป็นการกระทำกรรมเพื่อไปรับผลของกรรม ก็จะเป็นเหตุให้เชื่อมั่นคงหนักแน่นในเรื่องของกรรมมากยิ่งขึ้น แม้เพียงแต่ในขั้นนึกคิดก็จะเป็นประโยชน์ต่อการอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ตามปกติ ช่วยกรุณาอธิบายด้วย
อ.อรรณพ จากคำถามก็ให้ความสำคัญของการศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรม ถ้าไม่เข้าใจพื้นฐานพระอภิธรรม จะเข้าใจผิด และปนเปกัน กรรม กิเลส วิบากจะปนกันไปหมด สำหรับผู้ไม่เข้าใจพื้นฐานความเป็นอภิธรรม ขณะที่ทำกรรม คือขณะที่กุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนาที่เป็นไป ถ้าเป็นอกุศลเจตนาก็เป็นไปในการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ถ้าเป็นกุศลเจตนาก็เป็นการแบ่งปัน ช่วยเหลือกัน มีเมตตาจิต หรือขณะที่เข้าใจพระธรรม ศึกษาพระธรรมก็มีเจตนาเป็นกรรม ขณะที่เป็นกรรมก็คือขณะที่เป็นกุศล หรืออกุศลเจตนา ขณะที่ได้รับผลของกรรม ที่ท่านใช้คำว่า “วิบาก” หรือ “วิปาก” ที่ว่าสุกงอม ก็คือขณะที่เกิด ขณะที่หลับสนิท และขณะจิตขณะสุดท้ายของแต่ละภพชาติ คือ ขณะที่ตาย หรือจุติ นั่นคือผลของกรรมตอนที่ไม่ได้ตื่นขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเป็นผลของกรรม เราไม่รู้ หลับก็ไม่รู้อะไร พอตื่นขึ้นมา ก็เรานี้ที่หลับ ตื่นขึ้นมาแล้วก็ได้รับผลของกรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ในขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส สิ่งนี้โดยคร่าวๆ ซึ่งขณะนี้เป็นผลของกรรมที่ได้ยินเสียงที่ปรากฏ กราบเรียนท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ครับ ทำไมเราอยากให้คนอื่นเขาร่วมเป็นอกุศลกับเราด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วแต่อกุศลที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ถ้าคิดถึงประโยชน์จริงๆ เราจะอดทน ไม่ว่าใครจะสรรเสริญ หรือใครจะติด แต่ถ้าเรารู้ว่า สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ เรามุ่งต่อการให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ โดยใครจะว่า กล่าว ติเตียน นินทา สรรเสริญว่า เราทำไม่ถูก หรือเราทำผิด หรือเราลำเอียง ก็ตามแต่ แต่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราไม่สนใจ อดทนต่อทั้งคำนินทาว่าร้าย หรือความคิดร้ายต่างๆ เพื่อให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ ผู้นั้นก็สามารถอดทนเพื่อให้ประโยชน์นั้นเกิดขึ้น มิฉะนั้นแล้วทุกคนก็กลัวเหลือเกิน คำนินทาว่าร้ายต่างๆ ไม่อยากให้ตัวเองถูกคนอื่นมองในแง่ร้าย แต่ใครจะมองในแง่ไหนก็ตาม ประโยชน์สำคัญกว่า เพราะฉะนั้นถ้าสามารถเป็นผู้อดทนต่อลาภ ยศ สรรเสริญ คำนินทาว่าร้ายต่างๆ เพื่อให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ ก็อดทนได้ สิ่งนั้นก็เป็นผู้มีปัญญา
นี่ทางโลก แต่สำหรับทางธรรมยิ่งต้องอดทนมากที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ถ้าจะเกิดกับคุณแก้วตาในลักษณะนั้น และสะสมความเข้าใจ ความเห็นถูกในธรรมมา จะไม่รู้ว่า สังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เกิดเป็นกุศลในขณะนั้นได้ โดยรู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรม ไม่ต้องไปคิดถึงว่า เป็นความโกรธระดับไหนหรือความพยาบาท ความต้องการให้คนอื่นได้รับโทษขนาดไหน เพราะเป็นเพียงคิด และความคิดไม่มีใครสามารถยับยั้งได้ คิดทุกอย่างได้ตามเหตุตามปัจจัย แม้ในเรื่องที่ไม่น่าจะคิด ไม่ควรจะคิด อย่างที่คุณแก้วตาคิด ก็ไม่ควรจะคิดก็ยังคิดได้
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ธรรมเป็นธรรม เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ในขณะที่คิดก็เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าสะสมความเห็นถูกมากขึ้น ขณะนั้นก็จะไม่หวั่นไหวเพราะเหตุว่าความคิดขณะนั้นเกิดแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง คิดไปก็เมื่อคนนั้นจะต้องได้รับผลของกรรม จะต้องเจ็บ ก็เว้นไม่ได้ ตามเหตุปัจจัยหรือกรรมที่ทำมา
ท่านอาจารย์ แต่ก็ยังหวังดีใช่ไหมคะ กุศลใดๆ ที่เขาทำมาก็ขออย่าให้เขาเจ็บปวดอย่างนี้เลย
ผู้ฟัง ชีวิตประจำวันโดยธรรมชาติของจิต อกุศลมากมาย อย่างเห็นผู้อื่นเขาได้ดี แล้วธรรมชาติของจิตก็มีทั้งอิจฉา มีทุกๆ อย่าง แล้วเกิดความละอายว่า ทำไมสภาพของจิตจึงสะสมมาไม่ดี ที่จะระลึกว่าเป็นธรรม ตรงนี้ยาก
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้จะระลึก เข้าใจธรรมไปเรื่อยๆ จะได้ไม่ลืมความหมายของคำว่า “สังขารขันธ์” ไม่มีใครไปทำอะไรได้ แม้ขณะนี้เจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ก็เกิดแล้ว ดับแล้ว ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ปรุงแต่งจนกว่าปรุงแต่งให้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่เราจะคอย พออะไรเกิดก็เมื่อไรสติสัมปชัญญะจะเกิด สติปัฏฐานจะเกิด จะได้เข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรม นั่นผิด
ผู้ฟัง เมื่อสภาพจิตคิดไม่ดีเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรม
ผู้ฟัง ค่ะ ก็ระลึกทันทีว่าเป็นธรรม รู้ว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ก็เป็นธรรม
ผู้ฟัง การที่รู้ว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรม ขณะนี้เป็นธรรม ตรงนั้นหลงลืมเสมอ
ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ ไม่หลงลืม ขณะที่ไม่รู้ หลงลืม
ผู้ฟัง คือได้ศึกษาธรรมแล้วว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วยังรู้สึกรังเกียจสภาพจิตของตัวเองมาก กว่าจะรู้ว่า ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดตรงนั้น ก็ข้ามไปมากมาย
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจว่าเป็นธรรม แต่ยังไม่วายที่จะเดือดร้อนอยู่บ่อยๆ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรมค่ะ การที่จะฝึกตนให้สภาพจิตรู้ว่า เป็นลักษณะของสภาพธรรม ตรงนั้นก็ยากมาก
ท่านอาจารย์ คุณบุษกรจะฝึกหรือจะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้
ผู้ฟัง เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้
ท่านอาจารย์ นั่นคือฝึก ปัญญาฝึก ปัญญาเข้าใจ
ผู้ฟัง คือการฟังธรรม ศึกษาธรรม ก็เข้าใจขั้นการฟัง แต่ก็ยังมีตัวตนเข้ามาแทรกอยู่บ่อยๆ
ท่านอาจารย์ เป็นพระโสดาบันหรือยัง
ผู้ฟัง ยัง
อ.ธิดารัตน์ เหมือนกับเราเรียน แล้วเราพูด เข้าใจในสิ่งเหล่านี้ แต่ความเป็นไป เราก็ยังเป็นไปด้วยอำนาจของโลภะ และโทสะอยู่
ท่านอาจารย์ ก็มีหนทางเดียว คือสะสมการเข้าใจธรรมจากการฟัง และมีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ถึงแม้จะยังไม่เข้าใจได้ทันที แต่จากการฟังบ่อยๆ จะทำให้ไม่ลืมที่จะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มี
ทุกคนอยากรู้ลักษณะของสภาพธรรม ฟังแล้วอยากมีปัญญาถึงระดับที่เข้าใจธรรมว่าเป็นธรรม แต่ธรรมก็คือบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อมีปัญญาเพียงขั้นฟัง ยังไม่ถึงขั้นที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ก็จะต้องเข้าใจเพิ่มขึ้น และจะรู้ได้ว่า ขณะที่ความเข้าใจเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะถึงวันหนึ่งซึ่งจะเริ่มรู้ลักษณะที่มีจริงๆ ขณะนั้นก็เป็นความต่างของขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่สติกำลังรู้ลักษณะที่ปรากฏ เมื่อขณะใดมีลักษณะที่ปรากฏ แล้วสติระลึกที่นั่น ก็จะรู้ได้ว่า ปัญญาที่รู้สภาพที่แท้จริงของธรรมนั้น จะทำให้สามารถละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้ ไม่ใช่หนทางอื่น แต่ต้องมีลักษณะที่ปรากฏ และปัญญากำลังรู้ในลักษณะนั้น ก็เห็นความต่างของปัญญาขั้นฟังเข้าใจ และขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีลักษณะที่กำลังปรากฏจริงๆ
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์กล่าวถึงลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ แต่คนอีกมากมายก็จะติดในชื่อ และคิดนึกต่อ เพราะฉะนั้น การที่จะมีลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้เป็นอารมณ์ ก็เป็นการฟัง และอบรมเพื่อให้เข้าถึงตัวจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จนกว่าไม่คิดนึกกับชื่อ และเรื่องราวของธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ค่อยๆ เข้าใจ อย่างแข็ง ที่พูดถึงแข็ง เพราะปรากฏอยู่เสมอ แข็งปรากฏ จริงๆ ก็ได้ฟังมา ขณะที่แข็งปรากฏจะมีสิ่งอื่นปรากฏด้วยหรือไม่ เป็นไปได้ไหมคะที่จะมีสิ่งอื่นปรากฏในขณะที่แข็งกำลังปรากฏ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ก็เริ่มรู้ว่า นี่คือหนทางที่จะรู้ว่า ขณะนั้นไม่มีเรา ไม่มีโลก ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น ความเข้าใจที่มั่นคงในขณะที่แข็งกำลังปรากฏว่า มีแต่แข็งกับสภาพที่รู้แข็งเท่านั้น
เพราะฉะนั้น เวลาที่ประจักษ์ความจริงด้วยปัญญาที่สมบูรณ์แล้ว ขณะนั้นจะไม่มีอะไรปรากฏ แต่ขณะนี้เมื่อไม่เป็นอย่างนั้น เพียงแข็งปรากฏ ก็มีเห็นด้วย มีคิดด้วย มีเสียงด้วย มีหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะการที่แข็งปรากฏกับปัญญาให้รู้ว่า แข็งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้น แต่สิ่งอื่นไม่มี ที่เคยเข้าใจว่ามี ปรากฏว่าไม่มี มีแต่แข็ง ซึ่งความจริงสิ่งนี้ก็สามารถเริ่มเข้าใจเป็นเงาๆ ได้ว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ เวลาที่สภาพธรรมปรากฏกับปัญญาก็ต้องเป็นอย่างนี้ คือ ไม่มีโลก ไม่มีเรา ไม่มีศีรษะจรดเท้า ไม่มีแขน ไม่มีขา มีแต่เพียงธาตุที่กำลังรู้แข็ง เฉพาะแข็งที่ปรากฏเท่านั้น นั่นก็เป็นการที่ได้ฟัง และเข้าใจจนกระทั่งสามารถรู้ว่า สิ่งที่มีจริงอย่างนี้ สามารถปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ได้ เมื่ออบรมความเข้าใจเพิ่มขึ้น
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นแข็งเป็นแข็ง ส่วนใหญ่เราก็จะยึดถือแข็งว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ฉันใด ทางอื่นก็เหมือนกัน เสียงก็ปรากฏทางหูเท่านั้นเอง แล้วลักษณะของเสียง เพียงดังเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เราก็แปลความหมาย และยึดถือเสียงนั้นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนี้คือการอบรมที่จะเข้าถึงตัวจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ชั่วขณะที่เสียงปรากฏ มีอะไรหรือไม่ เฉพาะเสียงเท่านั้น ไม่มีอะไร
อ.กุลวิไล ดิฉันยังชอบที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า สว่างแค่ทางตาเท่านั้นเอง แล้วก็ตรงกับที่ทรงแสดง เพราะว่าวัณณธาตุก็คือสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา แต่เวลาที่แข็งปรากฏ ขณะนั้นมืด
ท่านอาจารย์ ก็ตรงกับความเป็นจริงด้วย เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นที่สว่าง
อ.กุลวิไล ธรรมที่รู้ได้ทางใจเป็นอย่างไรคะ
ท่านอาจารย์ ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกคนเข้าใจถูกต้อง ทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดที่ต่างจากขณะที่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต คือต้องมีตาสำหรับทำให้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ และขณะนี้เองก็ต้องมีโสตปสาทที่ทำให้เสียงขณะนี้ปรากฏ นี่คือการศึกษาธรรมให้เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่า ไม่มีเรา เป็นธรรมทั้งหมด แม้แต่ในขณะที่กำลังเห็น หรือขณะที่กำลังได้ยิน ไม่ใช่ฟังเพียงเรื่องชื่อ แต่ขณะนี้ธรรมคือเสียงกำลังปรากฏ ไม่ใช่ขณะที่หลับ เป็นภวังคจิต อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น การรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดก็ต้องรู้ว่า ขณะนี้เพราะมีโสตปสาท ซึ่งทำให้เสียงกระทบกับโสตปสาทนั้นได้ มิฉะนั้นแล้วเสียงจะกระทบกับอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากโสตปสาท แล้วยังต้องมีจิตได้ยินเกิดขึ้นด้วย เห็นหรือไม่ ต้องมีทั้งเสียง ต้องมีทั้งโสตปสาท และต้องมีทั้งจิตได้ยิน แล้วจิตได้ยินจะเกิดโดยไม่มีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันเป็นปัจจัยให้เกิดไม่ได้ คือต้องมีเจตสิกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ขณะนี้ที่เสียงปรากฏมีอายตนะที่ตรงนั้นที่ขาดไม่ได้เลยสักหนึ่ง คือเสียงเป็นอายตนะหนึ่ง คือที่ประชุมต้องอยู่ที่นั่น ปราศจากไปไม่ได้ ต้องมีโสตปสาทที่ยังไม่ดับ ต้องมีจิต และเจตสิกขณะที่เสียงกำลังปรากฏกับจิตได้ยิน นี่คือขณะเดี๋ยวนี้ ๑ ทาง ทางหู ๑ แล้ว ทางตา ๑ จมูก ๑ ลิ้น ๑ กาย ๑ แล้วคิดก็มี คิดไม่ต้องอาศัยตา ไม่ต้องอาศัยหู ไม่ต้องอาศัยจมูก ไม่ต้องอาศัยลิ้น ไม่ต้องอาศัยกาย แต่ถ้าไม่มีจิต คิดได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตนั้นเกิดขึ้นคิด ไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ต้องอาศัยใจ ซึ่งต้องมีใจก่อนคิด ใจก่อนคิดปกติก็เป็นภวังค์ เพราะหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้วก็ต้องมีจิตซึ่งเกิดสืบต่อดำรงภพชาติ โดยอารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏเป็นสีสันวัณณะ หรือเสียงใดๆ ทั้งสิ้น จนกว่าถึงกาละที่สภาพธรรมจะปรากฏกับจิตขณะใด ขณะนั้นก็ต้องอาศัยทางหนึ่งทางใด ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า เมื่อไม่อาศัยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ต้องอาศัยใจ ซึ่งหมายถึงจิตที่เกิดดับสืบต่อเป็นภวังค์ แต่จะดำรงความเป็นภวังค์ไว้ตลอดไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าสะสมเรื่องราวต่างๆ สะสมความรู้สึกต่างๆ ที่จะปรุงแต่งให้นึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยแม้ไม่ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย
ด้วยเหตุนี้เมื่อภวังค์ขณะสุดท้ายดับ ก็เป็นปัจจัยให้วิถีจิตทางใจเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่า การรู้อารมณ์ทางใจ มีโดยภวังคจิตนั่นเองซึ่งเป็นภวังค์ขณะสุดท้ายเป็นมโนทวาร และจิตขณะแรกซึ่งเป็นวิถีจิตทางมโนทวารก็เป็น มโนทวาราวัชชนจิต แล้วดับไปแล้ว ก็คือกุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดสืบต่อทันที นี่คือความเป็นไปของชีวิตในวันหนึ่งๆ ซึ่งใครบังคับบัญชาได้หรือไม่ จะให้คิดเรื่องอะไร ไม่ได้ จะให้เห็นอะไร ทั้งหมดแสดงความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็เพื่อให้เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นอย่างนี้ จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่า ไม่มีเรา
ขอถามนิดหนึ่งว่า ถ้าไม่รู้ภาษาบาลี สามารถเข้าใจธรรมได้ไหม แต่จริงๆ แล้วธรรมเป็นธรรม แล้วแต่ใครใช้ภาษาอะไร ก็ใช้ภาษานั้นเพื่อให้เข้าใจ เพื่อให้เข้าใจอะไร เพื่อให้เข้าใจธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ ไม่ใช่ไปจำเรื่องหรือจำชื่อ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า การฟังธรรม ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แน่นอน ไม่เรียกชื่อก็ปรากฏแล้ว แต่ถ้าจะใช้ชื่อภาษาไทย ไม่มีคำเดียวที่เราสามารถใช้แล้วเข้าใจได้ ใช่ไหม เช่น สี ถ้าใช้คำว่า “สี” ทุกคนก็จะคิดว่า สีอะไร มีตั้งหลายสี เยอะแยะ และถ้าพูดถึง “แสงสว่าง” จะตรงกับความเข้าใจว่า ขณะนี้มีสภาพธรรมอย่างหนึ่ง มีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏให้เห็นด้วย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600