พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๖๕

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒


    ท่านอาจารย์ ทรงแสดงโดยความละเอียดยิ่ง และทรงแสดงถึงสภาพธรรมที่เกิดกับจิตซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตนั้นเกิด ซึ่งได้แก่เจตสิก เป็นสภาพนามธรรมซึ่งไม่ใช่จิต แต่ก็เกิดกับจิตทุกขณะที่จิตเกิด ต้องมีสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน เป็นสภาพรู้เหมือนกัน รู้สิ่งเดียวกัน แต่ว่าจิต ๑ ขณะที่เกิดจะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายประเภท

    นี่ก็แสดงความต่างกันของธรรม ทั้งหมดเป็นธรรมซึ่งไม่มีใครสามารถจะคิดเองได้ หรือจะรู้ จะเข้าใจเองได้ แต่เริ่มจากการฟังเข้าใจ พอฟังเข้าใจแล้ว อยากจะประจักษ์ความจริง หรือไม่

    ผู้ฟัง อยาก ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็เริ่มรู้แล้วว่าเพราะเป็นเรา เป็นความเห็นผิดว่า มีตัวตน เมื่อมีความเห็นผิด จะไปรู้ความจริงของสิ่งที่มีได้อย่างไร เพราะว่าเห็นผิด แม้ว่าสิ่งนั้นปรากฏ ก็ไม่รู้ความจริง จึงยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นเรา

    เพราะฉะนั้น ฟังอย่างนี้แล้ว ค่อยๆ เห็นว่า ไม่มีเราโดยขั้นฟัง แต่สะสมความเป็นเรามานานแสนนาน ทีละเล็กทีละน้อยๆ เพราะฉะนั้น การดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเราได้จริงๆ ก็ต้องอาศัยปัญญาเกิดขึ้นรู้ความจริงทีละเล็กทีละน้อย ไม่รู้ความจริงมานานเท่าไร หลายแสนกัปป์ เพราะฉะนั้น ถ้าจะรู้ความจริงทีละเล็กทีละน้อย จะเร็วไหม การไม่รู้ง่ายกว่าการรู้ ใช่ไหม ยิ่งแสดงให้เห็นว่า กว่าจะรู้ความจริงได้ ความจริงจริงๆ ที่ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น เป็นปัญญาที่สามารถเข้าใจถูก เห็นถูกตั้งแต่ขั้นฟัง ถ้าการฟังไม่รู้ว่า ขณะนี้ฟังธรรมก็คือว่า เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงให้ถูกต้องว่า เป็นธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่เรา

    นี่คือการเริ่มต้น ที่จะต้องอดทน มีความเพียร คือวิริยะ ซึ่งก็ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วมีปัจจัยปรุงแต่ง กว่าจะถึง ณ ขณะนี้ที่นั่งอยู่ตรงนี้ สภาพของจิตเมื่อแสนโกฏิกัปป์ที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เพราะแม้แต่จะได้ยินได้ฟัง แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ทำไมถึงต่างกันมากมายหลากหลายอย่างนี้ ในเมื่อเป็นเป็นธรรม ซึ่งกว่าจะสืบต่อจากขณะนั้นจนถึงขณะนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า ทำให้การสืบต่อของแต่ละคนต่างกันไปตามสิ่งที่เห็น ได้ยิน แล้วก็คิดนึก พร้อมทั้งความเข้าใจ และไม่เข้าใจในสิ่งนั้น จนกระทั่งเป็นแต่ละหนึ่ง ถ้าเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ห้องนี้จะมีคนอื่นไหม เป็นนามธาตุซึ่งเกิดขึ้น ๑ ขณะ นามธาตุหนึ่งถ้ายังไม่ดับไป นามธาตุที่เกิดนั้นไม่ดับ นามธาตุอื่นก็เกิดต่อไม่ได้ เป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ

    เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจถึงธาตุที่กำลังเห็นเท่านั้น จะมีคนอื่นได้ หรือไม่ จะมีความคิดเรื่องห้อง เรื่องบ้าน อะไรได้ หรือไม่ นี่คือเข้าใจว่า ขณะหนึ่งที่มีสภาพธรรมใดเกิดขึ้น ซึ่งเป็นจิต ซึ่งเป็นธาตุรู้ สภาพรู้ แล้วแต่ว่าจิตขณะนั้นทำกิจอะไร ถ้าไม่ได้ทำกิจคิด เพียงแค่เห็น จะไม่มีใครในห้องนี้ ถ้าเพียงจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง แล้วเสียงก็ดับไปแล้ว แล้วไม่มีการคิดถึงความหมายของเสียง แล้วเข้าใจ หรือไม่เข้าใจในเสียงนั้น ขณะนั้นก็ไม่สามารถรู้ว่า ขณะนี้มีความหมายอะไร ซึ่งขณะกำลังได้ยินเสียง และคิดเรื่องเสียง มีคนอื่น หรือไม่ คิดเรื่องเสียง จะมีคนอื่น หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ แต่เวลานี้ก็คิดเรื่องเสียง แล้วก็มีคนอื่นด้วย แสดงว่าจิตแต่ละชนิดเกิดดับสลับมากมาย เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องธรรมอย่างเดียว คือ จิต ก็ต้องละเอียดที่รู้ว่า เป็นสภาพที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก แม้มีจริง ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ จนกว่าถึงกาลที่สามารถเข้าใจสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังแต่ละอย่างถูกต้องขึ้น ไม่ใช่หลายๆ อย่างแล้วก็ไม่รู้เลยสักอย่าง อย่างอายตนะ หรือขันธ์ หรือธาตุ มีส่วนสุดเบื้องต้น ส่วนสุดเบื้องปลาย ที่อยู่ท่ามกลาง มีท่อนไม้ เดี๋ยว ๒ ท่อน เดี๋ยว ๓ ท่อน แล้วก็มีเชือกผูกไว้ ทั้งหมดเป็นความคิดซึ่งถ้าไม่เข้าใจธรรมจริงๆ ขณะนั้นไม่รู้ว่า เป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นทำกิจการงาน ไม่ใช่เรา แต่ความสนใจ สนใจที่เรื่องเชือก สนใจที่เรื่องท่อนไม้ แต่ไม่ได้สนใจว่า ขณะนั้นเป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ มากมายในขณะนั้น เห็นก็มี ได้ยินก็มี คิดนึกก็มี เข้าใจก็มี ไม่เข้าใจก็มี

    เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรม มากขึ้น ละเอียดขึ้น จึงสามารถละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้ทีละเล็กทีละน้อย อย่าเป็นปัญญา ปัญญาที่สามารถรู้จริงๆ และเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ แล้วยังไม่เข้าใจว่า ลักษณะที่ไม่เข้าใจเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง และขณะที่เข้าใจไม่ใช่สภาพธรรมที่ไม่เข้าใจ

    เพราะฉะนั้น กำลังอบรมสภาพธรรมที่สามารถเห็นถูก เข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แต่ต้องทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ได้ฟังอาจารย์เกี่ยวกับการที่จิตเกิดขึ้นทำกิจการงาน ทำไมความคิดถึงคิดได้ยาว และได้นาน ในขณะนั้นจิตทำกิจการงานแบบไหน ทำไมถึงคิดได้ยาว ได้นาน การงานของจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ได้ หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ คิด เป็นเรา หรือเป็นธรรม

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมประเภทไหน

    ผู้ฟัง ประเภทนามธรรม

    ท่านอาจารย์ นามธรรมประเภทไหน

    ผู้ฟัง จิต

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับ หรือไม่

    ผู้ฟัง เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นคือขณะที่คิด หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ขณะที่คิดเป็นขณะที่เห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เหมือนเห็นแล้วคิดพร้อมกันใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็คิดยาวด้วย จิต ๑ ขณะคิดยาวได้ หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่อาการที่ปรากฏก็คือคิดได้นาน ได้ยาว แสดงว่าจิตที่เกิดแต่ละขณะมีอารมณ์ต่างกัน แล้วอารมณ์เหล่านั้นก็ชวนให้คิดไป เป็นจิตดวงต่อไป เป็นอารมณ์ต่างกัน เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างนี้ใช่ไหม ถึงได้นาน

    ท่านอาจารย์ เหมือนเดี๋ยวนี้ จิตเกิดดับ จิตเห็นไม่ใช่จิตได้ยิน ไม่ใช่จิตคิดนึก เพราะฉะนั้นจะคิดยาว หรือสั้นแค่ไหนก็คือจิตซึ่งเกิดดับอย่างเร็วมาก กำลังคิด หรือไม่ ขณะนี้

    ผู้ฟัง กำลังฟังอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าถามคนอื่นกำลังคิด หรือไม่ คิดก็ไม่รู้ว่า คิด เพราะเห็นแล้วคิด แล้วเห็นไม่ใช่ชั่ว ๑ ขณะ วิถีจิตซึ่งเกิดสืบต่อเมื่อสิ่งที่เป็นรูปที่สามารถกระทบปรากฏให้เห็นได้ยังไม่ดับทั้งหมด จิตกำลังมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ ยังไม่ได้คิด

    เพราะฉะนั้น ขณะนี้ซึ่งเหมือนไม่มีอะไรดับ ก็แสดงว่าจิตเกิดดับนับไม่ถ้วนแล้ว แต่มีอายุเท่ากัน อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ แยกย่อยก็คือ ขณะเกิดไม่ใช่ขณะดับ ขณะที่เกิดแล้วยังไม่ดับ ภาษาบาลีใช้คำว่า ฐีติขณะ เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างเร็ว ก็ยังแสดงให้เห็นว่า จิตจะมีอายุเท่าไร ถ้าจะกล่าวถึงว่า จิต ๑ ขณะมีอายุเท่าไร ก็คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ และทรงแสดงด้วยว่า ทำไมจำแนกอย่างนี้ เพราะเหตุว่ารูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานเกิดพร้อมจิต คือพร้อมอุปาทขณะ แต่รูปที่เกิดเพราะสมุฏฐานอื่น เกิดในฐีติขณะ เช่น รูปที่เกิดจากอุตุ หรือรูปที่เกิดจากอาหาร และรูปที่เกิดทุกอนุขณะของจิต คือ กัมมชรูป

    นี่คือการกล่าวถึงธรรม เพราะเหตุว่ามีเหตุที่ธรรมเป็นไปอย่างนั้นอย่างละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ใช่เพียงรู้คร่าวๆ บางคนก็บอกว่า ทำไมต้องฟังมากๆ และฟังนานๆ ฟังทำไม ก็เพราะยิ่งฟังยิ่งเห็นความเป็นอนัตตาของธรรม ถ้าไม่ทรงแสดงโดยละเอียด ใครจะละการยึดถือสภาพธรรมด้วยแม้เข้าใจว่า จริงๆ แล้วจะเอาจิตไหนเป็นเรา เกิดแล้วก็ดับไป เจตสิกก็เช่นเดียวกัน เจตสิกไหนเป็นเรา แล้วรูปไหนที่เป็นเรา ก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้น เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมมากขึ้น แม้ในขั้นการฟัง ก็ยังสามารถเห็นว่า ไม่ใช่เรา แต่ยังดับความเป็นเราไม่ได้ จนกว่าประจักษ์จริงๆ ว่า เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ได้ฟังอาจารย์วิชัยกล่าวว่า มีชาติทั้ง ๔ คือ ชาติกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ขอเรียนถามเกี่ยวกับชาติวิบาก อาจารย์บอกว่า รูปธรรมก็เป็นวิบากได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครบอกว่า วิบากเป็นรูป

    ผู้ฟัง ใช่ครับ แต่วิบากกรรม กรรมที่ให้ผลเป็นรูปก็มี เข้าใจอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ นี่คือความละเอียดของธรรม ฟังแล้วไม่สับสน แล้วไม่ปะปนกัน กรรมเมื่อเกิดแล้วดับไป ถึงวาระที่สุกงอมพร้อมให้ผลเกิดขึ้น ก็ทำให้จิตซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นผลของกรรมนั้นเกิดขึ้น เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง แต่ว่ากรรมก็ทำให้รูปเกิดขึ้นเป็นผลของกรรม รูปเห็นไม่ได้ ได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้น รูปจึงไม่ใช่วิบาก วิบากก็เหมือนว่า เมื่อกรรมทำแล้วเป็นธาตุรู้ เป็นนามธาตุ ก็เป็นปัจจัยให้นามธาตุเป็นผลของธาตุรู้นั้น เกิดขึ้นรู้ แต่รู้สิ่งที่ไม่ดี คือ เห็นทางตา ได้ยินเสียงทางหู เป็นต้น เป็นผลของอกุศลกรรม ถ้ารู้สิ่งที่ดีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นผลของกุศลกรรม ใช้คำว่า “วิบาก” เฉพาะจิตซึ่งเป็นผลโดยตรง เพราะเป็นนามธรรม ที่เป็นผลโดยตรงก็คือว่ามีปัจจัยอื่นด้วย แต่ถ้ากล่าวว่า วิบากนั้นเป็นผลของอะไร ก็กล่าวว่า วิบากนั้นเป็นผลของกรรมที่ได้ทำสำเร็จลงไป

    ผู้ฟัง คำถามคือ เหมือนกับว่าเวลาได้รับกรรม หรือความเจ็บปวด หรือทุกข์ทรมาน บางคนก็พูดว่า เป็นกรรม

    ท่านอาจารย์ ถูก หรือผิดคะ

    ผู้ฟัง สิ่งนี้น่าจะผิด แต่ว่ากรรมที่ได้รับเป็นลักษณะของรูป

    ท่านอาจารย์ กรรมที่ได้รับเป็นอย่างไร กรรมเป็นเหตุ วิบากเป็นผล วิบากขณะแรกในชาตินี้คือปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่เพียงเท่านั้นไม่สามารถทำให้กรรมที่ได้กระทำแล้วให้ผล เพียงแค่ปฏิสนธิจิตเกิดอย่างเดียว ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่กระทบสัมผัสอะไรทั้งสิ้น จะเป็นผลของกรรมได้ไหม ไม่เดือดร้อนอะไร หรือไม่ได้รับสิ่งที่ดีๆ ไม่ดี แต่กรรมให้ผลไม่ใช่เพียงปฏิสนธิจิต ๑ ขณะ ซึ่งไม่มีประโยชน์แน่เพียงขณะเดียว แต่กรรมให้ผลมากกว่านั้นอีก คือทำให้วิบากจิตประเภทเดียวกับที่ทำกิจปฏิสนธิขณะแรกนั้นเกิดสืบต่อทำภวังคกิจ ดำรงภพชาติ เป็นบุคคลนั้น จะเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเกิดในนรก เป็นเปรต เป็นเทพ เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเหตุว่ากรรมให้ผลไม่ใช่เพียงชั่วขณะปฏิสนธิ แต่ยังทำให้กรรมนั้นให้ผลสืบต่อเป็นวิบากประเภทเดียวกัน ดำรงภพชาติจนกว่าจะสิ้นกรรม คือขณะจิตสุดท้ายเป็นวิบากเกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนั้น แต่ในระหว่างนั้นกรรมก็ให้ผลทางตาเห็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดี แล้วแต่ผลของกรรม

    เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงผลของกรรม เฉพาะชั่วขณะที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง ไม่ปะปนกับจิตประเภทอื่นๆ เพราะจิตนี้เกิดเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม

    โดยมากจะเอาเรื่องราวมาปะปน ก็บอกว่าผลของกรรม แต่ไม่ชัดเจน แต่ธรรมต้องตรง และชัดเจน

    อ.อรรณพ ถ้ามีปัญญาที่เห็นประโยชน์ที่จะรู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นพระธรรมคำสอนที่มีประโยชน์ ก็เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง แต่ว่าปัญญาที่จะประพฤติปฏิบัติตามธรรมอย่างละเอียดคืออย่างไร ถ้ามีปัญญาที่เห็นประโยชน์ว่า คำสอนนี้ถูก แต่ไม่มีปัญญาที่จะเป็นไปที่จะประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาค

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นความหลากหลายของการสะสม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บางคนสนใจธรรม มีปัญญาที่สามารถฟังแล้วรู้ว่า ธรรมใดถูกต้อง ธรรมใดผิด แต่ไม่ถึงกับจะประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งใครรู้ ตัวเองรู้ใช่ไหม ฟังพระธรรมจึงเข้าใจได้ว่า ธรรมที่ได้ยินได้ฟังตรงนี้ถูก หรือตรงนั้นผิด อย่างไรก็ตาม แต่เพราะไม่ได้สะสมกุศลมาที่จะประพฤติปฏิบัติตามด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นเพียงแค่ฟังเข้าใจ ซึ่งตัวเราเองสามารถรู้ได้ ใช่ไหม ละชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทำไมอกุศลจึงเกิด บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ได้สะสมกุศลธรรมมาที่จะมีกำลังที่จะเข้าใจพระมหากรุณาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วรู้ว่า ถ้าไม่มีคำที่ได้ยินได้ฟัง สามารถเห็นโทษของอกุศลไหม และสามารถเห็นคุณ หรือประโยชน์ของกุศลไหม

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟังไม่พอ หรือไม่มีความมั่นคงที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เป็นธรรมอย่างเดียว ธรรมหลากหลายมาก อกุศลกับกุศลไม่มีตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้องเลย อะไรเป็นธรรมที่ดี อะไรเป็นธรรมที่ไม่ดี นี่คือความเป็นผู้ตรง แต่ถ้าเป็นเรา มีข้อยกเว้นต่างๆ นานา อาจจะไม่ว่าง อาจจะเขาผิด เราไม่ผิด เป็นต้น ความคิดก็ไขว้เขวไปหมดเพราะไม่ตรง

    ด้วยเหตุนี้ผู้จะได้สาระจากพระธรรมจริงๆ ก็ให้เข้าใจว่าเป็นธรรม แล้วเมื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมแล้วยังมีกำลังของกุศลพอที่จะประพฤติปฏิบัติตามด้วย นั่นก็คือได้สะสมอีกระดับหนึ่ง อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ทำไมทุกคนก็รู้ว่า อะไรเป็นอกุศล อะไรเป็นกุศล แต่ก็ยังมีอกุศลเกิดขึ้นมาได้ ก็เพราะเหตุว่าความรู้ และคุณธรรม หรือธรรมฝ่ายโสภณไม่พอ ที่จะทำให้มีความเพียร มีความมั่นคงที่จะรู้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังจริง และสามารถประจักษ์ได้ด้วย และถ้ารู้อย่างนี้ ค่อยๆ อบรมปัญญาเพิ่มขึ้น เพราะไม่ใช่เราที่สามารถเลือกที่จะประจักษ์ด้วยความขวนขวายมากมายแค่นั้นแค่นี้ ความพยายามเต็มที่ นั่นคือความไม่เข้าใจธรรมเพราะว่ามีความเป็นเรา และมีความต้องการด้วยที่เป็นเหมือนอัตตาที่บันดาลให้เกิดขึ้นตามความต้องการได้

    เพราะฉะนั้น ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียด และเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ฟังอย่างนี้แล้ว คิดที่จะเป็นกุศลมากขึ้น หรือไม่ คิดที่จะเว้นสิ่งที่ไม่ดีด้วย หรือไม่ ถ้าฟังแล้ว ใครสามารถเห็นโทษของอกุศล แม้เพียงคิดที่จะเว้น ก็เป็นความเพียรชอบที่เป็นสัมมัปปธาน ไม่ใช่เพียรไปในอกุศล หรือเพียรที่ยังไม่เป็นกุศล หรือยังไม่พร้อมที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งก็เป็นอนัตตา ความตั้งใจอย่างนี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็ดูต่อไป รู้ต่อไปว่า ความเป็นจริงความคิดมีกำลังพอที่จะเป็นปัจจัยให้ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลที่วิรัติ เว้นทุจริต มีเพิ่มขึ้นได้ในโอกาสไหนบ้าง ก็เป็นการรู้ธรรม โดยความเข้าใจต้องลึกซึ้งกว่านั้นอีก คือรู้ว่าธรรมขณะนั้นเกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย เวลานี้ฟังธรรมแล้ว ทุกคนลืมที่จะรู้ธรรมที่กำลังปรากฏเพราะเกิดแล้ว คิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป เห็นไหม เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้รู้ความจริงของธรรมที่เกิดแล้ว แต่ถ้ามีปัญญาละเอียดขึ้นๆ ก็รู้ว่า แม้พูดขณะนี้ แม้คิดขณะนี้ แม้เคลื่อนไหวขณะนี้ ทำอะไรขณะนี้ก็เพราะมีปัจจัยที่ได้สะสมมาแล้ว เกิดขึ้นให้รู้ว่า เกิดแล้วเป็นอย่างนี้ตามการสะสม การนั่ง การพูด การคิด การทำ ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่เป็นเพราะได้สะสมมาที่จะประพฤติทางกาย ทางวาจาอย่างนี้

    เป็นเรื่องตรงที่จะต้องสะสมความเห็นถูก และเป็นผู้ที่รู้ว่าเป็นธรรม และเมื่อเข้าใจขึ้นก็มีกุศลเกิดด้วย ที่จะทำให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะจริงๆ แล้วเมื่อมีปัญญาแล้ว หิริโอตตัปปะจะตามมา ถ้าปัญญามีแล้ว หิริโอตตัปปะก็ยังไม่มีที่จะเหมือนเดิมทั้งความประพฤติทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่ว่าเข้าใจธรรม แต่คิดว่าฟังธรรมแล้วคิดว่า เข้าใจธรรม แต่ว่าเมื่อเป็นปัญญาจริงๆ ก็จะนำมาซึ่งหิริโอตตัปปะเพิ่มขึ้น บ่อยขึ้น

    อ.อรรณพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพียงแต่ฟัง แล้วก็มีปัญญาบ้างที่จะเห็นประโยชน์ว่า คำสอนเหล่านี้ถูกต้อง ตรง และลึกซึ้ง แต่ไม่ได้สะสมมาที่จะมีกุศลธรรมที่จะปรุงแต่งให้ประพฤติปฏิบัติตาม แล้วก็มีหิริโอตตัปปะในอกุศลที่ยังมีโอกาสเกิดได้ แต่ทีนี้ก็เป็นเหมือนจะอ้างว่า เมื่อยังมีอนุสัย ยังมีกิเลสที่ยังไม่ดับ กิเลสก็เกิดได้ เพราะเป็นอนัตตา อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ อ้างแล้วก็ชิน ถูกต้องไหมคะ แม้แต่พูด หรือคิด ก็เป็นเครื่องวัดบุคคลนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่า บุคคลนั้นสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน หิริ หรืออหิริกะ โอตตัปปะ หรือ อโนตตัปปะ ถ้าไม่มีคำพูดที่แสดงอย่างนี้ เราก็ไม่สามารถรู้ถึงการสะสม แม้ฟังธรรมก็เป็นพาล ใช้ธรรมอ้างในทางที่ผิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่ตรง คือผู้ที่รู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นเป็นธรรม แล้วสะสมมา เมื่อสะสมความรู้มาน้อย ไม่สามารถมีหิริโอตตัปปะ ก็สะสมธรรมเพื่อขัดเกลา ไม่ใช่เพื่ออ้าง แต่ว่าต้องเพื่อขัดเกลาจริงๆ

    เพราะฉะนั้น แต่ละคนฟังธรรมแล้วก็มีพฤติกรรมที่ต่างกัน จะมากจะน้อยเหมือนเดิม ต่างจากเดิม หรือมากกว่าเดิม เพราะไม่เข้าใจธรรมจริงๆ เพียงแต่ยกธรรมขึ้นอ้างก็ได้ บางคนก็อาจจะเป็นอย่างนั้น ถ้าสมมติว่าไปทำร้ายคนอื่น แล้วก็บอกว่า กรรมของเขา ที่เขาถูกทำร้ายนั้นเป็นกรรมของเขา เป็นอย่างไร ใช้ธรรมถูกต้องไหม เข้าใจธรรมจริงๆ หรือไม่ ขณะนั้นเป็นอกุศลกรรมของตน หรือไม่ แล้วใครจะเป็นผู้รับผล แต่ก็กลับไปบอกคนที่ถูกทำร้ายว่า กรรมของเขา

    อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่า กว่าธรรมที่เกิดแล้วมีเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยให้หิริโอตตัปปะเกิดด้วย เพราะว่าปัญญาจะไม่เป็นเหตุให้อกุศลเกิด แต่เมื่อมีปัญญาแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยทำให้ธรรมฝ่ายดี คือ ทางฝ่ายกุศลเกิด

    อ.อรรณพ ถ้ามีความเห็นถูกว่า คำสอนถูก แต่ยังไม่มั่นคงที่จะประพฤติปฏิบัติตาม แต่ความเห็นถูกที่เป็นพื้น เป็นฐาน เป็นมูลว่า คำสอนนี้ถูก จะมีโอกาสเป็นปัจจัยให้ผู้ที่ยังมีอกุศล แม้ว่าจะมีความเห็นถูกบ้างในเบื้องต้นเจริญขึ้นได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุให้ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา สิ่งนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง เพื่อเกื้อกูล เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ฟังระลึกถึงพระมหากรุณาตั้งแต่เริ่มทรงบำเพ็ญความเพียรอย่างยิ่งยวด


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 173
    13 ม.ค. 2567