พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
ตอนที่ ๕๔๓
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ผู้ฟัง มีผู้ฟังที่มูลนิธิท่านหนึ่งตั้งใจจะไปบวชชี ท่านบอกว่า พอได้ยินอย่างนี้ทำให้ลังเล ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร ถ้าไม่บวชก็ถือว่าผิดสัจจะ ผู้ฟังก็เลยบอกว่า ถ้าผิดสัจจะแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัย กับถือสัจจะแต่ผิดพระธรรมวินัย สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์กว่ากัน เท่าที่อ่านพระไตรปิฎกแล้วมาฟังธรรมที่นี่ การบวชก็มีแค่ ๓ อย่าง คือพระภิกษุสงฆ์ กับพระภิกษุณี กับสามเณร ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การบวชชีไม่รู้มีมาตั้งแต่สมัยไหน และไม่รู้ใครทำขึ้นก่อน นี่เท่ากับว่าทำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติหรือไม่
ท่านอาจารย์ ทุกคนที่นั่งที่นี่เป็นอุบาสก อุบาสิกา ใช่ไหมคะคุณคำปั่น
อ.คำปั่น ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ และแต่ละคนก็ต้องรู้ตัวเองว่า มีศรัทธามั่นคงหรือเข้าใกล้พระศาสนาโดยการฟังจนเข้าใจแล้วประพฤติปฏิบัติตามโดยไม่ต้องไปทำพิธีอะไรทั้งสิ้น และในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ก็มีเพศบรรพชิตกับคฤหัสถ์ คือ มีภิกษุ ภิกษุณี และมีสามเณรกับสามเณรีด้วยในเพศของบรรพชิต
ข้อสำคัญก็คือไม่มีในครั้งพุทธกาล หมายความว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทุกประการ ถ้าเป็นสิ่งที่สมควรก็บัญญัติได้ แต่สมควรหรือไม่สมควร แสดงให้เห็นว่า ไม่มีในครั้งนั้นแสดงว่าสมควรหรือไม่ เพราะว่าพระศาสนาเป็นเรื่องละ จะละได้มากหรือน้อยก็แล้วแต่บุคคล แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องต้องการ บางคนก็อยากให้มีการรับรองฐานะในการเป็นแม่ชี แต่ว่าทั้งหมดเป็นไปเพื่อการละ แม้แต่การบวชในพระธรรมวินัย บรรพชา บรรพชิต คือ ละทั่วทั้งหมดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่มีการสนุกสนานรื่นเริงเหมือนอย่างเพศของคฤหัสถ์ จะเลือกอาหารรับประทานเพื่อความอร่อย เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย หรือเพื่ออะไรทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าเป็นบรรพชิตที่บรรพชาอุปสมบท ก็ต้องเพื่อการละ สำหรับเพศที่เหมาะควรในครั้งพุทธกาล ก่อนที่จะมีภิกษุณีก็มีภิกษุ และมีผู้ต้องการบวช พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็ทูลขออุปสมบท ท่านพระอานนท์ก็เห็นว่า ถึงแม้พระนางจะทูลขอถึง ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ยังไม่ได้ทรงอนุญาต ก็เห็นว่าพระนางสามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ไหม ถ้าได้ ต้องมีเพศเดียว คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นฆราวาสหรือคฤหัสถ์ต่อไปอีกไม่ได้
เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่สะสมบารมี อัธยาศัยใหญ่ที่จะอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ควรแก่การอุปสมบท แต่ถ้าไม่มีอัธยาศัยพอแล้วใคร่จะบวช เพื่ออะไร เพราะอะไร เพราะเหตุว่าทุกคนสามารถรักษาศีลตั้งแต่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ มากกว่านั้นก็ได้ ถ้าอ่านพระวินัย จะเห็นได้ว่า มีอีกหลายประการที่คฤหัสถ์หรือคนทั่วไปทำได้ เป็นมรรยาทของสังคม หรือว่าเป็นมรรยาทสำหรับทุกคนทั่วๆ ไปที่ควรจะทำ เพราะเหตุว่าพระวินัยก็มีทั้งเรื่องของความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่เหมาะควรในชีวิตประจำวันด้วย
เพราะฉะนั้นต้องบอกใครไหมว่า เรามีศีลเท่าไร แค่ ๘ หรือมากกว่าก็ได้ อ่านดูในพระไตรปิฎกแล้วก็ประพฤติ งดงามมากทีเดียว นั่นก็เป็นเรื่องของพระวินัย เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องให้ใครรู้ ไม่ใช่ฐานะให้เป็นที่รับรอง หรือไม่ใช่เป็นที่สรรเสริญ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพื่อให้คนเคารพ ใครจะว่าอย่างไร เรียกอย่างไร ก็เป็นเรื่องขัดเกลากิเลสของตัวเอง เพราะฉะนั้นการประพฤติเพื่อขัดเกลากิเลสจำเป็นไหมที่จะต้องให้ใครรู้ เพื่ออะไร ก็ไม่มีความจำเป็น
เพราะฉะนั้น ในครั้งโน้นก็อนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้เป็นภิกษุณี และเป็นสามเณรี สิกขมานา ก่อนจะถึงการอุปสมบท ก็เป็นเรื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เพราะเรื่องที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยอย่างยิ่ง ซึ่งคฤหัสถ์ที่ไม่ได้สะสมอัธยาสัยมาจะอยู่ลำบากหรือจะอยู่สบาย ลองคิดดู ถ้าสะสมมาที่จะขัดเกลากิเลส ไม่ลำบากที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย แต่ถ้าไม่มีอัธยาศัยที่สะสมมาก็คงจะลำบากมาก ที่อยู่ ที่อาศัย อาหาร ทุกๆ อย่าง นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าจะประพฤติดี ทำดี ต้องให้คนอื่นรู้หรือไม่
ผู้ฟัง แต่ส่วนมากที่บวชกัน ไม่ได้บวชเพื่อขัดเกลากิเลส บวชเพื่อได้บุญมากๆ ประเภทหนึ่ง และบวชแก้บนเสียส่วนใหญ่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นผู้หญิงแต่งตัวอย่างไรก็คืออุบาสิกาทั้งนั้น จะเป็นอื่นไม่ได้ เพราะเหตุว่าในยุคนี้สมัยนี้ไม่มีอุปัชฌาย์ที่สามารถบวชให้ผู้หญิงเป็นเพศบรรพชิตได้
การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจให้ถูกต้อง ก็คงเห็นผู้หญิงหลายคนไม่สนใจในเรื่องการแต่งตัวด้วยสีต่างๆ อาจจะใช้ผ้าซิ่นดำ และเสื้อขาวตลอดชีวิตก็ได้ แต่เขาไม่ได้เข้าใจผิดว่า มีฐานะต่างจากอุบาสิกา เป็นไปได้ใช่ไหม อย่างนั้นก็เป็นคนธรรมดาที่เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ไม่ว่าใครจะแต่งตัวสีอะไร ดำขาวหรือไม่ใช่ดำขาวก็ตามแต่ ก็คืออุบาสิกา สิ่งนั้นก็เป็นที่รู้ คือไม่ผิด หมายความว่าตามอัธยาศัย ใครจะทำอย่างไรก็ได้ แล้วถ้าเห็นคนใส่สีขาว ห่มขาว หรือนุ่งดำ ห่มขาว ก็คืออัธยาศัยของบุคคลนั้น แต่ถ้าเข้าใจตัวเองผิด คิดว่าไม่ใช่อุบาสิกา นั่นคือไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มีอัธยาศัยที่จะทำอะไร อย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่เข้าใจผิด เพราะเหตุว่าสำหรับพระศาสนา พุทธบริษัทก็มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เท่านั้น ไม่มีอื่นอีก เพราะฉะนั้น ใครจะประพฤติอย่างไร จะทำอย่างไร ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลมากกว่า ๘ ก็คือตามอัธยาศัย จะใ ส่เสื้อผ้าอะไร อย่างไรก็ตาม แต่ก็ยังมีความเห็นผิดสำหรับบางคนที่คิดว่า เวลาไปวัดต้องนุ่งขาว ห่มขาว มีใช่ไหม
เพราะฉะนั้น คำอธิบายเมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมที่นั่นจึงต้องใส่สีขาว คือ นุ่งขาวห่มขาว แม้แต่มูลนิธิก็มีคนโทรศัพท์มาถามว่า เวลามามูลนิธิว่า จะต้องแต่งตัวสีอะไร สีขาว นุ่งขาว ห่มขาวหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ธรรมดาปกติ นั่นคือความผิดปกติ ปกติอย่างไรก็มาอย่างนั้น ไม่ใช่พอจะมาที่นี่ก็ต้องเปลี่ยน นั่นคือความผิดปกติ เพราะฉะนั้น คำตอบสำหรับที่ที่บอกว่า เวลาไปที่นั่นแล้ว ไม่ว่าจะฟังธรรมหรืออะไรก็ตาม ให้นุ่งขาวห่มขาว มีหลายแห่ง เพียงแต่เข้าไปสถานที่นั้นก็ต้องเปลี่ยน อย่างเราแต่งตัวธรรมดาไป พอจะเข้าสู่สถานที่นั้นเขามีผ้าให้เปลี่ยนว่า ต้องเปลี่ยนเป็นสีดำขาว ซึ่งเลยไม่ต้องเข้าไป เพราะผิดปกติ ใช่ไหม อยู่ดีๆ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้ามีบุคคลที่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นอีกฐานะหนึ่งซึ่งไม่ใช่อุบาสกอุบาสิกา นั่นไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเข้าใจถูก จะแต่งตัวสีอะไรก็ได้ แต่สำหรับบางแห่งที่บอกว่าต้องใส่สีขาว เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นสีดำขาว หรือสีขาว คำตอบก็คือ ต้องพิจารณาด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ความเคารพสถานที่ และเพื่อให้ทุกคนเสมอกัน หมายความว่า ถ้าสีต่างๆ เหมือนไม่เสมอกัน ต้องเป็นสีเดียวกันถึงจะเสมอกัน ลองคิดว่า คำตอบนี้ถูกไหม ไม่ถูกแน่นอน นี่คือมีความเข้าใจธรรมว่า ความถูกต้องไม่ใช่อยู่ที่เสื้อผ้า ความเคารพ ความศรัทธา สักการะในพระธรรมไม่อยู่ที่เครื่องแต่งตัว จะอ้างว่า เมื่อไปฟังก็ต้องเคารพสถานที่โดยต้องเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีดำ ความเคารพอยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้า แต่อยู่ที่ความเข้าใจธรรม ความมีศรัทธาในพระธรรม และประพฤติปฏิบัติตาม และการกล่าวว่า ทุกคนเสมอกันเพราะสีขาว และสีอื่นเสมอกันได้ไหม ลองเป็นสีเดียวกัน สีอะไรก็เสมอกันทั้งนั้นก็ได้ นี่เป็นเรื่องของการเข้าใจคลาดเคลื่อน ที่เข้าใจว่า สีขาวคงหมายถึงความบริสุทธิ์ แต่คนที่ใส่สีขาวบริสุทธิ์หรือไม่ เป็นอกุศลหรือไม่ มีความเห็นถูกหรือไม่
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่อยู่ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะมาทำให้สภาพธรรมเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาพธรรมเป็นจริงอย่างไร ก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าฟังคำอธิบายเพียงผิวเผิน ดูเหมือนเห็นด้วย แต่ตามความจริงไม่ได้เข้าใจว่า ความเคารพ สีอะไรก็ได้ เวลาที่สุปปพุทธกุฏฐิหรือเจ้าลิจฉวีไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือไม่ ไม่มี แต่ด้วยความศรัทธาในการฟังธรรม ก็เป็นผู้มีปกติ และฟังพระธรรมด้วยความเคารพที่จะประพฤติปฏิบัติตามเมื่อเข้าใจถูกต้อง
อ.กุลวิไล คนส่วนใหญ่จะยึดรูปภายนอก แต่ไม่เข้าใจสภาพของจิตในขณะนั้น
กราบเรียนท่านอาจารย์สำหรับช่วงแรก
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่า “ธรรม” แล้วก็จะได้ยินต่อไป และได้ยินคำว่า “พื้นฐานพระอภิธรรม” ก็แสดงว่า แม้ธรรมที่ได้ยินก็ยังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ที่ใช้คำว่า “จริงๆ ” หมายความว่าโดยชื่อ ไม่มีใครสงสัย และความหมายที่ว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ปรากฏเพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็ไม่มีใครสงสัย แต่ทำไมมีพื้นฐานพระอภิธรรม วันแล้ววันเล่าที่เราจะกล่าวถึงพื้นฐาน ก็เพราะเหตุว่าแม้จะใช้คำว่า “ธรรม” ก็ไม่ได้หมายความว่า รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่ใครสักคนเดียว
นี่คือการฟังจนกว่าจะเห็นถูก เข้าใจถูก เพราะลักษณะของธรรม มีปรากฏทุกภพชาติ แต่จะเข้าใจความจริงของธรรมที่ปรากฏถูกต้องตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา เพราะเกิดมาด้วยความไม่รู้ ด้วยความติดข้องในสิ่งที่มีที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทุกวันจนมืด ไม่รู้ว่า ความจริงของสิ่งที่มีที่ปรากฏ แท้จริงเป็นลักษณะของธรรมแต่ละลักษณะ ไม่ปะปนกัน อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ไม่ได้ปะปนกับเสียงที่ปรากฏ ฟังแล้วก็เข้าใจ เสียงก็เป็นธรรม มีจริง เกิดขึ้นปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ก็กำลังเผชิญหน้าให้เห็นจริงๆ ว่า ลักษณะนี้มีจริง กำลังปรากฏให้เห็น แต่แม้กระนั้นการที่จะรู้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา ยากไหม
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปถึงไหนเลยที่จะถึงนิพพาน เพราะโดยมากเข้าใจว่า นิพพานน่าถึงด้วยความเป็นเรา แต่ถ้ากล่าวว่า จะละความไม่รู้เดี๋ยวนี้หรือไม่ ที่กำลังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีใครคิดจะละความไม่รู้บ้าง ไม่สนใจที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ เพราะความไม่รู้จะค่อยๆ คลายหมดสิ้นไปได้ก็ต่อเมื่อเริ่มเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ จนถึงการดับความไม่รู้ และการดับกิเลส โดยการรู้ลักษณะของนิพพาน ซึ่งขณะนี้ไม่ปรากฏแม้ว่ามี เพราะเหตุว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่ใครจะรู้ได้ด้วยความไม่รู้
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ แทนที่จุดประสงค์จะเป็นการรู้แจ้งนิพพาน ถึงนิพพาน เป็นพระอริยบุคคล ก็ควรเริ่มเห็นถูกว่า เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏบ้างแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ไม่ต้องไปพูดถึงปัญญาที่สามารถดับกิเลสได้ เพราะแม้แต่การที่ทุกคนกำลังมีกิเลสแล้วอยากถึงนิพพาน โดยไม่รู้ว่าควรดับกิเลสอะไร หรือควรเข้าใจถูกในอะไร มีความเข้าใจถูกในธรรมว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าการดับกิเลส กิเลสมาก หนาแน่น เหนียวแน่น ลึก เหมือนอยู่ในความมืด ขณะใดที่เป็นอกุศล มืดสนิท เพราะขณะนั้นไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ แต่แม้กระนั้นขณะนี้ใครรู้บ้างว่า กำลังมีความมืด กำลังเป็นอกุศลขณะใด มืดขณะนั้นก็ยังไม่รู้
เพราะฉะนั้น ก็ต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจเป็นพื้นฐานว่า สิ่งเดียวที่สามารถละเหตุของอกุศลทั้งปวง คือ ละความไม่รู้ ต้องค่อยๆ เข้าใจถูก เห็นถูกตามลำดับขั้นของสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วดับไป ไม่ซ้ำเลย แต่ละภพ แต่ละชาติ แต่ละขณะ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น แทนที่จะคิดถึงอย่างอื่น ก็ให้คิดถึงว่า รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏให้ถูกต้อง เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง ทรงอนุเคราะห์ให้ผู้ฟังมีปัญญาของตัวเอง ที่จะมีความเห็นถูกต้อง แล้วก็รู้ว่าเป็นธรรม มิฉะนั้นก็ไม่มีหนทางที่จะรู้จักสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนตาย
เพราะฉะนั้น พื้นฐานของพระอภิธรรมก็คือ ธรรมที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจนประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า เป็นธรรมทั้งหมด ไม่ใช่เรา
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์พูดถึงมืด สภาพธรรมก็คืออวิชชานั่นเอง เพราะว่าอวิชชาหรือโมหเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท เป็นความไม่รู้ และท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวถึงธรรมที่มีจริง ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ทำให้นึกถึงที่ท่านอาจารย์เคยสนทนากับชาวต่างประเทศ และท่านอาจารย์ก็ถามว่า รู้จักดิฉันหรือเปล่า ท่านผู้นั้นตอบว่า รู้จัก ท่านอาจารย์ก็กล่าวว่า คุณรู้จักดิฉัน แต่ไม่รู้จักสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ถูกต้องใช่ไหมคะ เพราะจริงๆ แล้วถ้าไม่ได้ฟังธรรม จะไม่สามารถรู้ความต่างของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ กับความคิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็จำว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ถามเมื่อไรว่านั่นใคร ก็ตอบได้ แต่ไม่ได้รู้ความจริงว่า ขณะนั้นไม่ใช่เป็นการรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้นกว่าจะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมแต่ละอย่าง แม้ว่าเกิดดับอย่างเร็วมาก แต่ก็สามารถจะเข้าใจได้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาที่กระทบจักขุปสาท และมีจิตเห็นเกิดขึ้น ไม่ใช่ขณะที่ฝัน และจำได้ในเรื่องราวของสิ่งที่เคยเห็น นี่แสดงให้เห็นว่า เคยเห็น และจำได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีเห็น และจำได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร จึงสามารถจำจนกระทั่งฝันถึงเรื่องราว โดยการนึกถึงรูปร่างสัณฐาน แต่ขณะนั้นไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเหมือนขณะนี้ แต่เป็นความจำเหมือนกับเห็นสิ่งนี้ โดยที่สิ่งนี้ก็เกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้น เห็นความลึกซึ้งของธรรม สิ่งที่กำลังปรากฏเกิดแล้วดับแล้ว คำว่า “ทุกข์” ซึ่งเป็นทุกขอริยสัจจะที่พระอริยเจ้าทั้งหลายประจักษ์แจ้งก็คือสามารถเห็นลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เราอาจจะคิดถึงคำว่า “ไม่เที่ยง” ขณะนี้ เห็นไม่เที่ยง ได้ยินไม่เที่ยง คิดได้ แต่ไม่ใช่เห็นการเกิดของเห็น และดับ หรือการเกิดของได้ยินแล้วดับ ซึ่งขณะนั้นคือไม่เที่ยง เมื่อสภาพธรรมเป็นจริงอย่างนี้ วันหนึ่งที่ปัญญาค่อยๆ เข้าใจความจริง คลายความไม่รู้ แล้วสภาพธรรมก็จะปรากฏได้ตามความเป็นจริงกับปัญญาที่เริ่มเข้าใจถูก เห็นถูกว่า ขณะนั้นก็เป็นธรรมที่กำลังเกิดดับ
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ทุกอย่างที่ปรากฏ เกิดแล้วดับแล้ว นี่คือกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแต่ละลักษณะ ซึ่งมากมายเหลือเกิน เห็นเกิดแล้วก็ดับ ได้ยินเกิดแล้วก็ดับ คิดนึกเกิดแล้วก็ดับ สิ่งที่ปรากฏ แข็ง เกิดแล้วก็ดับ แล้วปัญญารู้อะไร ตรงไหน จากขั้นการฟังเข้าใจว่าเป็นธรรม แต่ความเข้าใจก็จะนำไปสู่การที่ไม่ใช่เพียงแต่ฟังเรื่องว่าเห็นเกิดดับ ไม่ใช่ได้ยิน ได้ยินเกิดแล้วดับ ไม่ใช่แข็ง กว่าจะสามารถรู้จริงๆ ก็ต่อเมื่อรู้ว่า ขณะที่กำลังฟังเรื่องราว ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
แข็งไหมคะ ตอบว่าแข็ง แต่ไม่ได้มีสภาพที่กำลังรู้แข็งจริงๆ นี่ต่างกันแล้วใช่ไหม แข็งจริงๆ ชัดเจน ไม่มีใครทำลักษณะนั้นเลย เพราะฉะนั้น นี่คือการเริ่มต้นที่จะรู้จักตัวธรรมว่า ธรรมที่ได้ยินได้ฟังมีสภาพจริงๆ ที่ปรากฏ แต่กว่าจะรู้ได้ว่าเป็นเพียงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็ต้องอาศัยการฟัง และรู้ความต่างกันของขณะที่ฟังเรื่องธรรม เข้าใจเรื่องธรรม แต่ยังไม่รู้จักตัวธรรม แต่ถ้าจะรู้จักตัวธรรม ก็ขณะนั้นรู้ลักษณะ ตรงลักษณะที่แข็ง ทุกคนตอบได้ว่าแข็ง แต่ไม่รู้ลักษณะที่เป็นธรรมของแข็ง
เพราะฉะนั้น ชีวิตประจำวันเป็นธรรมทั้งหมด เป็นสติปัฏฐานทั้งหมด ปัญญาสามารถรู้ความจริงของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขณะหนึ่งขณะใดก็รู้ความจริง จึงสามารถละวิจิกิจฉา ความสงสัย เพราะว่ากำลังฟัง สงสัยหรือไม่เรื่องการเกิดดับ ไม่เกิด ไม่ดับสักทีไม่ว่าอะไร นี่เป็นความสงสัย แต่พอฟังก็รู้ว่า สภาพธรรมปรากฏเมื่อมีจิตซึ่งเป็นธาตุที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ปรากฏไม่ได้
เพราะฉะนั้น จิตเกิดทีละ ๑ ขณะ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ไม่มีใครไปบังคับจัดสรรอะไรทั้งสิ้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ความจริงว่า มีธาตุรู้ด้วย ซึ่งไม่ใช่มีแต่รูปธาตุที่ไม่สามารถจะรู้อะไร และธาตุรู้มีปัจจัยจึงเกิดรู้แล้วดับ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ถูกรู้จึงเป็นทีละ ๑ อย่าง เพราะจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้แจ้งในสิ่งที่จิตกำลังรู้ในขณะนี้ เห็นไหม ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช่เรา แต่จิตเป็นธาตุรู้กำลังเห็น หรือจะใช้คำว่า เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
นี่คือความจริงเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรา ขณะที่เสียงปรากฏ ถ้าไม่มีธาตุที่สามารถได้ยินเสียง เสียงปรากฏไม่ได้ เสียงก็เป็นเสียง เป็นรูปธรรม มีสมุฏฐานให้เกิด อุตุ ความเย็น ความร้อน การกระทบกัน ก็เป็นปัจจัยให้เกิดเสียง แต่ถ้าไม่มีธาตุที่รู้เสียง จะรู้ไหมว่า เสียงเกิดแล้วดับชั่วขณะที่มีสภาพที่กำลังได้ยินเสียง เท่านั้นเอง แล้วจะมีความยั่งยืนอะไรตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกขณะผ่านไป ผ่านไป บังคับบัญชาไม่ได้ ให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้ แต่ว่ามีปัจจัยให้สภาพธรรมใดเกิด สภาพธรรมนั้นต้องเกิด ตั้งแต่เล็กจนโต จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ และจนถึงตายก็เป็นสภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรม ก็จะเห็นได้ว่า ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคล เป็นผู้ที่ตรง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600