พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
ตอนที่ ๕๘๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อ.วิชัย ก่อนศึกษา สภาพจิตก็เป็นความพยายามของเรา โดยไม่รู้ว่าเป็นจิตที่ไม่รู้ แต่ก็มีความพยายาม ขณะใดที่เข้าใจสภาพธรรม ก็คือเข้าใจว่าเป็นสภาพของจิตที่จะวิรัติงดเว้นที่จะไม่ไปที่ที่สมควร
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะเหตุว่าการฟังพระธรรมผิวเผิน ก็เป็นผู้พยายามจะทำ อย่างเดินไม่เหลียวซ้ายแลขวา มองไม่เกินชั่วแอก วันนี้ใครทำอย่างนี้บ้าง พอได้ยินได้ฟัง และจะทำ แต่ความจริงเป็นอัธยาศัยของผู้ละอาคารบ้านเรือน คือบรรพชิต กล่าวไว้ชัดเจนว่า บรรพชิตคือผู้ที่เว้นรอบ ทีนี้เว้นรอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยไม่มีปัญญา และไม่มีปัญญาก็ต่างกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปัญญา ได้ยินแค่นี้ ไม่เข้าใจ ก็พยายามทำด้วยความเป็นเรา ผลคืออะไร
อ.วิชัย คือความไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะทั้งหมดลืมอุปนิสยโคจร จะเป็นอย่างนั้นได้เพราะสะสมมา บางคนสะสมมาที่จะไม่ฟังเรื่องไร้สาระ พอใครพูดเรื่องไร้สาระ เขาก็ไปที่อื่น หรือไปทำอย่างอื่น เพราะสะสมมาที่จะไม่สนใจในสิ่งที่ไร้สาระ แต่บางคนพูดเรื่องสิ่งไร้สาระ ยิ่งสนใจ แทนที่จะสนใจในสิ่งที่เป็นสาระ ตามการสะสม
เพราะฉะนั้น แต่ละบุคคลจะรู้ไหมว่า อุปนิสัยที่สะสมมาเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีอาการปรากฏ สมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ตรัสรู้ เจ้าศากยะทั้งหลายหรือบุคคลทั้งหลายในโลกก็มีอัธยาศัย อุปนิสัยตามที่ได้สะสมมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ต่างๆ กันไป และพอได้ฟังแล้ว มีการสะสมแล้ว ใครเป็นเอตัคคะในการสำรวมอินทรีย์ ท่านพระนันทะ ซึ่งก่อนนั้นเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ไม่เป็น ท่านมีผู้เป็นที่รัก คือนางชนบทกัลยาณี แม้แต่พระผู้มีพระภาคเห็นอุปนิสัยของการเป็นพระอรหันต์ของท่าน ที่นั่งกันอยู่ที่นี่ ไม่มีใครรู้ว่า ใครเป็นอย่างไรกันมาแล้วบ้าง แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์โลก ใครที่มีอุปนิสัยที่สะสมมาแล้วถึงความเป็นพระอรหันต์ เหมือนเทียนหรือแสงสว่างที่ถูกครอบไว้ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ ไม่ปรากฏให้เห็นได้ แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ว่า บุคคลผู้นี้มีอัธยาศัยที่จะถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังมีผู้เป็นที่รัก แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงเห็นอัธยาศัยอย่างนี้ แล้วก็ทรงส่งบาตรให้ท่าน ท่านก็รับ แล้วก็เดินตามไปจนกระทั่งถึงพระวิหาร เมื่อถึงพระวิหารแล้ว ท่านก็เกรงใจมาก เป็นพระญาติ และเป็นที่เคารพ และเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สั่งให้กลับก็กลับไม่ได้ เพราะความเคารพในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้บวชก็บวช แต่ใจของท่านเป็นอย่างไร ทอดสายตาชั่วแอกหรือไม่ ก็ไม่ใช่ จนกว่าถึงกาลที่สะสมอุปนิสัยมาก็สามารถเป็นเอตัคคะในทางนั้นได้
เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ทำอะไรโดยไม่มีปัญญา บางคนอยากฝืนอัธยาศัย ขณะนั้นความเป็นเรามีหรือไม่ ก็ไม่รู้ว่า ต้องละอะไรก่อน ขณะที่กำลังฝืน ไม่เป็นปกติ แล้วจะรู้ไหมว่า ขณะนี้แต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน แม้วาสนา ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ก็เป็นไปตามการสะสม ไม่ได้สะสมกุศล และอกุศลเท่านั้น เมื่อกุศลเป็นปัจจัยให้มีกายวาจาอย่างไร อกุศลสะสมให้มีกายวาจาอย่างไร ก็เป็นการสะสมมาจนเป็นปกติ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือไม่ใช่กุศลก็ตาม กาย วาจา ก็เป็นไป น่าดูบ้าง ไม่น่าดูบ้างตามการสะสม
ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จริงๆ แล้วฝืน จะไม่รู้ความละเอียดของธรรมว่า ไม่ใช่เฉพาะจิต แม้กายวาจาก็เป็นปกติ เมื่อเป็นปกติอย่างนี้รู้ไหมว่า กายวาจาสะสม แล้วก็เป็นวาสนา
ที่ถามว่า “วาสนา” คืออะไร ก็เดี๋ยวนี้ มองไปก็เห็นวาสนาแล้วทั้งนั้น ใช่ไหม ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเข้าใจจริงๆ ปัญญาสามารถรู้ว่า ปัญญาคืออะไร ปัญญารู้อะไร และอบรมอย่างไรเพื่อละอกุศลไม่ได้ แต่ละวาสนาไม่ได้ นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พูดถึง ถ้าละก็ต้องหมายความถึงวาสนาที่ไม่ดีงาม
อ.วิชัย บางครั้งก็มีความพยายามก่อนศึกษา แต่กระทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจ
ท่านอาจารย์ น่าเสียดายที่เสียเวลาพยายามหรือไม่ ถ้าเสียเวลาพยายามแล้วได้อะไรก็ยังดี เป็นประโยชน์ นี่ไม่ได้อะไรนอกจากความเห็นผิด อาจจะเข้าใจว่า ยังเป็นประโยชน์ก็ทำต่อไป ติดต่อไป
อ.วิชัย ที่เมื่อสักครู่กล่าวว่าไม่สำเร็จ ก็หมายความว่า ตราบใดที่ยังมีอกุศลอยู่ คือยังไม่ได้ละอกุศลตามลำดับขั้น เมื่ออกุศลยังมีอยู่ ก็ยังมีการกระทำชั่วทางกาย ทางวาจา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อุปนิสัยหรืออุปนิสยะ ที่อาศัยที่มีกำลังที่สะสมมา หรือความคิด หรือกิเลส หรืออกุศลหรือกุศลใดๆ ก็ตาม ฝ่ายไหนที่มีกำลังที่จะเป็นไปในวันนี้ ตั้งแต่เช้ามา แล้วขณะนี้ก็คืออุปนิสยะที่ค่อยๆ สะสม
อ.วิชัย ที่เรียนท่านอาจารย์ก่อนหน้านี้คือทำแล้วไม่สำเร็จ ที่พยายามป้องกันด้วยการไม่ดู ไม่มอง ก็ยังล่วงทางกาย ทางวาจาได้ เพราะเหตุว่าเมื่อยังไม่ได้ดับอกุศลตามลำดับขั้นแล้ว เมื่ออกุศลยังมีอยู่ เมื่อมีกำลังก็เป็นเหตุให้ล่วงทางกาย วาจาได้อีก
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะถึงอุปนิพันธโคจร
ผู้ฟัง จะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหมว่า อาจารย์เริ่มด้วยสภาพธรรมที่ปรากฏ แล้วใจเราก็จะมีสภาพธรรมออกมาด้วยตามกิเลส และถ้าระลึกสภาพธรรมที่ปรากฏที่ออกมาจากแต่ละบุคคลตามกิเลสที่สะสมไว้ ขณะนั้นถ้าระลึก จิตก็เป็นกุศล เมื่อมีกำลังขึ้นแล้วก็จะเรียกว่า เป็นอุปนิสยโคจร สิ่งนี้จะเข้าใจได้ไหม
ท่านอาจารย์ ก็คงต้องย้อนกลับมา ไม่ใช่ชื่อจะเรียก แต่เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง
ผู้ฟัง เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง
ท่านอาจารย์ จิตไม่มีอารมณ์ได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จิตรู้อารมณ์แล้ว เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล จิตเป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ เพราะฉะนั้นในขณะนี้มีจิตเห็น เห็นแล้วเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เห็นแล้วก็เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ เห็นแล้วเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏหรือยัง
ผู้ฟัง ตอนนี้ยัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังหรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจในลักษณะที่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ลักษณะ อุปนิสยโคจร โคจรคืออารมณ์ อุป มีกำลัง นิสยะ ที่อาศัย ตลอดมาในชีวิตที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ก็มีการเห็น การได้ยิน เพราะจิตเป็นสภาพที่ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏนั่นเอง จิตไม่ใช่ปัญญา จิตไม่ใช่สติ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดมาในสังสารวัฏฏ์ ก็เห็น ก็ได้ยิน เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏหรือไม่
ผู้ฟัง ตอนนี้ยัง
ท่านอาจารย์ ไม่ ใช่ไหม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรม ขณะไหนเป็นธรรม ธรรมอยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้เป็นธรรมหรือไม่ เมื่อเข้าใจเป็นอุปนิสยะ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการเห็น เมื่อไรที่อบรมแล้วถึงอุปนิพันธะ ก็คือผูกพันในสิ่งที่ได้ฟังไว้ไม่ลืมที่จะรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แต่กว่าจะถึงขณะนี้ ทุกคนก็พิสูจน์ได้ ใช่ไหม กำลังฟังก็ยังเป็นอกุศลได้ ตั้งหลายคนที่บอกว่า ฟังแล้วก็เป็นอกุศล มีอะไรคุ้มครองรักษาไม่ให้จิตเป็นอกุศลหรือไม่ ถ้าไม่มีการฟัง และเข้าใจธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องรีบร้อนหรือไม่ใช่เรื่องที่จะไปจำคำ แต่เข้าใจคำที่ได้ยินให้ถูกต้อง ฟังเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ให้รู้ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ ถ้าไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ฟังก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม แต่พอได้ฟังรู้ว่าเป็นธรรม ก็เริ่มสะสม ไม่เห็นผิด เวลาใครบอกว่า นี่ไม่ใช่ธรรม หรือจะไปหาธรรมที่ไหน ก็แสดงว่าคนนั้นไม่รู้จักธรรม ไม่ได้เข้าใจธรรม แม้แต่คำว่า “ธรรม”
ผู้ฟัง ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องของภาษาที่เราคุ้นเคย ภาษาไทยเวลาที่เราใช้คำว่า ระลึก หรือรำลึก หมายความว่าอย่างไร ยาวหรือสั้น คำเดียวได้ไหม นี่ก็เป็นเรื่องของภาษา เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะฟังธรรม ภาษาจะไม่ใช่สิ่งที่จะกั้นไม่ให้เราพิจารณาไตร่ตรองว่าคำนั้นหมายความถึงสภาพธรรมขณะนั้นอย่างไร
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าที่พูดถึงระลึก ไม่ได้พูดถึงเรื่องอดีตเก่าๆ นานๆ ที่ผ่านมา แต่ถ้าใช้ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง ต้องหมายความถึง ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วจะไปคิดถึงเรื่องเก่าๆ ได้ไหม ในเมื่อบอกว่า หมายถึงสภาพที่ระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น คำนี้ไม่ได้หมายความอย่างนั้นว่า ไประลึกยาวๆ แต่ขณะนี้ ทั้งๆ ที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏ คิดอะไร เห็นไหม ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เปลี่ยนจากสิ่งที่ปรากฏไปสิ่งอื่นทันที แม้แต่คำว่า ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทั้งๆ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็กำลังปรากฏ แต่ไม่ได้รู้ว่าลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเพียงปรากฏแล้วหมดแล้ว เป็นแต่เพียงธรรมจริงๆ ใครปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มี แต่มีชั่วขณะที่จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง รู้อย่างนี้หรือไม่
นี้เพียงขั้นฟัง ยังไม่ถึงรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องตามลำดับขั้น ไม่ใช่วันนี้ไม่รู้เรื่องจิต ไม่รู้เรื่องสภาพธรรม ไม่รู้ว่าเป็นธาตุทั้งหมด จิตก็เป็นธาตุรู้ เจตสิกก็เป็นธาตุแต่ละธาตุ มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง เกิดพร้อมกับจิต และดับพร้อมกับจิต จิตกำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จิตก็มีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ แต่เจตสิกที่เกิดกับจิตก็มีทั้งฝ่ายที่เป็นกลางๆ คือ เกิดกับจิตสภาพธรรมที่เป็นอกุศลก็ได้ ก็เป็นอกุศลไปด้วย หรือเกิดกับสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี ก็เป็นฝ่ายดีไปด้วย สามารถเข้ากันได้กับสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี แต่ก็ยังมีเจตสิกที่เป็นอกุศลอย่างเดียว จะไปร่วมกับกุศลไม่ได้
เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ได้หมายความถึงอกุศลเจตสิก แต่หมายความถึงสภาพธรรมที่กำลังรู้จากการเข้าใจที่ฟังแล้ว ขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้น เห็นขณะนี้เป็นธรรม แล้วแต่ว่าใครฟังขณะนี้แล้วจะรู้ที่เห็นที่กำลังเห็น หรือเพียงฟังแล้วก็เข้าใจว่า เห็นเป็นธรรม มีจริงๆ
นี่คือฟัง แล้วอาจจะพูดตาม คิดตาม แต่ไม่รู้ลักษณะที่เห็น เพราะเห็นไม่ใช่ขณะที่คิด นี่คือความละเอียดของธรรม
เพราะฉะนั้น การเข้าใจความหมายของ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานว่า อะไรเป็นธรรม และขณะนี้รู้ลักษณะของธรรม หรือกำลังฟังเรื่องราวของธรรม ทั้งๆ ที่ธรรมก็กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟัง เข้าใจ ก็เป็นสติที่เป็นไปกับเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น สตินั้นเกิดร่วมกับปัญญาในขั้นของการฟัง แต่ขณะที่ฟังก็ยังสามารถเข้าใจว่า สภาพธรรมที่มีจริงยังไม่รู้ตามความเป็นจริง เพียงแต่ฟังแล้วเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรม เพราะถ้ารู้ ขณะนั้นไม่ใช่คิด กำลังมีสิ่งที่ให้รู้ และค่อยๆ รู้ เพราะค่อยๆ เข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร ขณะนั้นคือสติที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะที่สภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏ จะใช้คำว่า ระลึก หรือไม่ใช้ ก็คือสติเป็นสภาพรู้ และขณะนั้นไม่ได้รู้อย่างอื่น เหมือนจิตเห็นก็กำลังมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น จิตได้ยินก็กำลังมีเสียงปรากฏให้ได้ยินฉันใด ขณะที่มีสิ่งใดปรากฏ แล้วกำลังรู้ หรือเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น นั่นก็คืออาการของสติ ซึ่งไม่ใช่การลืมหรือหลง หรือไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้แม้คำก็ยากที่จะเข้าใจ เพราะเหตุว่าสติเป็นโสภณธรรมเกิดกับโสภณจิตทุกประเภท แล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นสติขั้นไหน ระดับไหน แต่ต้องเข้าใจขั้นพื้นฐานที่มั่นคง จึงสามารถรู้ว่ ในขณะนี้ที่กำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งนั้น เพียงรู้แจ้ง ไม่ได้ทำหน้าที่อะไร ไม่ใช่จำ ไม่ใช่รู้สึก ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของเจตสิกแต่ละเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นทำงานของแต่ละเจตสิก
เพราะฉะนั้น สติเป็นหนึ่งในเจตสิกที่เกิดกับจิต แต่มีหน้าที่การงานร่วมกับเจตสิกอื่น เพราะกำลังรู้ตรงลักษณะ และปัญญาเริ่มค่อยๆ เข้าใจจากการฟัง
ผู้ฟัง ต้องฟังอีกเยอะๆ เลย ฟังแล้วก็สะสมความรู้หรือสะสมปัญญา
ผู้ฟัง จะเข้าใจลักษณะของแข็ง หรือสภาพของคิด ดูเหมือนจะชัดเจนกว่า และเข้าใจได้ง่ายกว่า
ท่านอาจารย์ ชัดเจนว่าอย่างไร
ผู้ฟัง เมื่อแข็งปรากฏ
ท่านอาจารย์ แล้วชัดเจนอย่างไร
ผู้ฟัง รู้ว่ามีแข็ง
ท่านอาจารย์ ใครไม่รู้ว่าแข็ง
ผู้ฟัง รู้ แต่แตกต่างจากจิตเห็น
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรชัดเจน
ผู้ฟัง คือยังเห็นปกติ ไม่ได้ผิดปกติ
ท่านอาจารย์ เหมือนเดิมทุกวันที่เห็น เพราะฉะนั้น อะไรชัดเจน
ผู้ฟัง ดูเหมือนสภาพคิด และแข็ง ตรงนี้จะเข้าใจได้ง่ายกว่า
ท่านอาจารย์ เป็นตัวเราทั้งหมด
ผู้ฟัง การฟังธรรมให้เข้าใจลักษณะที่ปรากฏจริงๆ ตรงนี้
ท่านอาจารย์ ลึกซึ้ง และยากหรือไม่ หรือง่าย
ผู้ฟัง ยากมากๆ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นอย่างนี้ กว่าจะเข้าใจได้ ก็ต้องฟัง และเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ
ผู้ฟัง ดูเหมือนสภาพคิด เหมือนจิตรู้ได้ทันที
ท่านอาจารย์ รู้ว่าอย่างไร
ผู้ฟัง รู้ว่า จิตที่คิดเป็นกุศลหรืออกุศล
ท่านอาจารย์ ยังไม่ทันรู้จักจิตแล้วจะรู้ว่า จิตไหนเป็นกุศล จิตไหนเป็นอกุศล
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนี้ก็หมายความว่า รู้ว่าจิตเป็นอกุศล ก็คิดไปยาวมากมาย
ท่านอาจารย์ ต้องรู้สภาพที่เป็นธาตุรู้ และขณะนั้นเป็นปัญญาที่สามารถเห็นแจ้งประจักษ์ว่า ขณะนั้นไม่มีรูปร่างใดๆ แต่รู้ ธาตุรู้ไม่มีรูปร่างใดๆ ถ้ารู้จิตหมายความว่า ขณะนั้นไม่มีสิ่งใดปรากฏทั้งสิ้น นอกจากธาตุรู้
ผู้ฟัง และการเข้าใจถึงธาตุรู้ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้
ท่านอาจารย์ อุปนิสยโคจร ถ้าไม่มี จะสามารถถึงระดับขั้นไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ผู้ฟัง คำว่า รู้รอบ แทงตลอด หมายถึงอะไร
ท่านอาจารย์ เวลานี้เห็นด้วย ได้ยินด้วยหรือไม่ ทั้ง ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่รู้รอบอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น ถ้ารู้รอบคือทีละ ๑ ไม่มีข้อสงสัยใดเลยในสิ่งที่ปรากฏ เห็นแจ้งจริงๆ เพราะไม่มีอย่างอื่นในขณะนั้นนอกจากสิ่งที่ปรากฏให้รู้อย่างเดียว
ผู้ฟัง การจะรู้ทีละหนึ่งได้ ดูเหมือนจิตเกิดมากมาย แล้วถึงจะรู้หนึ่ง
ท่านอาจารย์ จิตหนึ่ง รู้หนึ่ง รู้สองไม่ได้ ทีละอย่าง จิตเห็นจะไปรู้เสียงด้วยไม่ได้
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วชีวิตประจำวันมีจิตเห็น มีเสียง มีคิด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องรู้ทีละอย่าง พร้อมกันไม่ได้
ผู้ฟัง ความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ใช่ปัญญา อวิชชาจะไปรู้ได้อย่างไร เกิดมามีแต่วิชชาหรือปัญญาหรือ ถึงจะได้รู้อย่างนี้
ผู้ฟัง เกิดมาก็ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นอย่างนี้
ผู้ฟัง แล้วคำว่า เว้นรอบ เมื่อสักครุ๋นี้ รู้รอบ
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นเป็นอะไร หลังเห็นแล้วเป็นอะไร กุศลหรืออกุศล
ผู้ฟัง เป็นได้ทั้งกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ พร้อมกันหรือ
ผู้ฟัง ไม่พร้อม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น หลังเห็นแล้วเป็นอะไร เห็นไหม ชีวิตจริงๆ มีเห็น แต่ไม่ได้เห็นตลอดไป ชั่วขณะจิตที่เกิดขึ้นทำทัสนกิจแล้วดับเท่านั้นเอง สั้นมาก เพราะฉะนั้น หลังจากเห็นแล้วเป็นอะไร ไม่ต้องละเอียดถึงขณะจิตก็ได้ ชีวิตตามความเป็นจริง พอเห็นแล้วเป็นอะไร
ผู้ฟัง คิดค
ท่านอาจารย์ คิด จิตอะไรคิด คิดเรื่องอะไร
ผู้ฟัง คิดในสิ่งที่เห็นเมื่อสักครู่นี้
ท่านอาจารย์ ขณะที่คิดไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่กิริยาจิต ต้องเป็นกุศลจิต อกุศลจิตที่คิด ทุกครั้งที่คิดให้ทราบว่า ขณะนั้นอกุศลจิตคิดหรือกุศลจิตคิด ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น หลังจากเห็นแล้ว แม้คิดเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นกุศลหรืออกุศล
ท่านอาจารย์ แล้วคำถามว่า
ผู้ฟัง คำว่า เว้นรอบ
ท่านอาจารย์ ขณะเป็นอกุศล เว้นหรือไม่ เว้นอกุศลหรือไม่ หลังเห็นแล้วเว้นอกุศลหรือไม่ นี่ทางตา ทางหู ได้ยินแล้วเว้นอกุศลหรือไม่ ทางจมูก ได้กลิ่นแล้วเว้นอกุศลหรือไม่ ทางลิ้น กำลังลิ้มรส เว้นอกุศลหรือไม่ ทางกายกระทบสัมผัส เว้นอกุศลหรือไม่ ทางใจที่คิดเว้นอกุศลหรือไม่ เว้นรอบ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผู้ฟัง ถ้าเกิดกุศล ก็เว้นอกุศลใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นเว้นอกุศล เกิดไม่ได้ ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิด
ผู้ฟัง จากที่ได้ฟังท่านอาจารย์กล่าว ขณะที่รู้รอบ ขณะที่เห็น ได้ยิน ก็รู้ตามความเป็นจริง ขณะที่รู้ตามความเป็นจริง ก็เว้นรอบอกุศลขณะนั้น เพราะฉะนั้น ขณะที่รู้รอบก็คือขณะที่เว้นรอบจากอกุศล
ท่านอาจารย์ รู้เป็นปัญญาหรือไม่
ผู้ฟัง รู้เป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ ขณะที่เว้นเป็นปัญญาหรือไม่
ผู้ฟัง ขณะที่เว้นรอบ หมายความถึงขณะที่อกุศลจิตเกิด
ท่านอาจารย์ เวลาที่เห็นแล้วเป็นอกุศล เว้นหรือไม่เว้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600