พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
ตอนที่ ๕๙๑
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ต้องเป็นผู้มั่นคงที่จะมีปัญญาเข้าใจความจริง เมื่อมีเหตุปัจจัยที่โลภะจะเกิดขึ้น ก็รู้ว่า โลภะเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่ยังมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ เพราะอวิชชา ไม่รู้ จึงมีโลภะ และถ้ามีปัญญาเห็นโทษของโลภะ สามารถดับโลภะได้หรือไม่
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เมื่อไร
ผู้ฟัง ปัญญาสะสมจากการฟังเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพิ่มขึ้น จนถึงเวลาดับธรรมที่เป็นอกุศลได้
ผู้ฟัง ถ้าเราเชื่อมั่นในความเมตตาอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว คิดว่าเราจะไม่มีโลภะมีคว่มผูกพันในบุคคลต่างๆ มีแต่ความเป็นมิตร ความหวังดีอย่างเดียว ถ้าเรามั่นคงอย่างนั้นจริงๆ เราก็สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ เราหรือปัญญา
ผู้ฟัง ปัญญาที่เข้าใจประโยชน์ของกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมดเป็นไปเพื่อเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงก่อน แล้วจึงสามารถละคลายอกุศลได้
ผู้ฟัง ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจตามความเป็นจริงก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่มีทางละอกุศลใดๆ ได้
ผู้ฟัง แล้วแต่ความเข้าใจ
อ.วิชัย ข้อความในพระสูตรนี้ที่กล่าวว่า บุญที่ตนเองทำเองเป็นมิตรติดตามถึงภพหน้า ถ้ากล่าวถึงบุญ คือ กุศลจิตเกิดแล้วดับไป แล้วไม่สามารถกลับมาเกิดได้อีก เมื่อมีปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น การติดตามของบุญนี้จะอธิบายได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ บุญมีตัวตนไหม
อ.วิชัย บุญคือกุศลจิตก็มีจริง
ท่านอาจารย์ แต่มีรูปร่างหน้าตาหรือไม่
อ.วิชัย ไม่มี
ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรม มีจริงๆ ต้องเกิดขึ้น และเกิดที่ไหน เมื่อไร
อ.วิชัย ขณะที่จิตเกิดขึ้นเป็นบุญกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น บุญหมายความถึงสภาพธรรมที่ดีงาม เช่น อโลภะ ความไม่ติดข้อง อโทสะ ความไม่โกรธ และอโมหะ คือวิชชา ความเห็นที่ถูกต้องเกิดกับจิต สภาพธรรมที่เกิดกับจิต ภาษาบาลีเรียกว่า เจตสิกะ ภาษาไทยก็เรียกว่า เจตสิก
เพราะฉะนั้น บุญหรือกุศลก็หมายถึงโสภณเจตสิกทั้งหมด ซึ่งไม่เป็นโทษภัยใดๆ การจะเข้าใจว่า บุญติดตามไปหรือไม่ ก็ต้องรู้ก่อนว่า บุญเกิดที่ไหน และเกิดเมื่อไร เมื่อบุญเกิดกับจิต คือสภาพธรรมที่เป็นกุศล เกิดกับจิต ดับพร้อมจิต จะไม่ใช่จิตดับไปก่อนแล้วเจตสิกดับทีหลัง หรือเจตสิกดับไปก่อน แล้วจิตดับทีหลัง สภาพธรรมที่เกิดกับจิต จิตเป็นนามธรรม เจตสิกก็เป็นนามธรรม เจตสิกเกิดกับจิต จะไม่เกิดที่อื่นใดๆ ทั้งสิ้น เกิดพร้อมกับจิต และเจตสิกอื่นๆ เจตสิกแต่ละชนิดเกิดพร้อมกัน กับจิตในขณะนั้น แล้วดับไปพร้อมกัน
เพราะฉะนั้น บุญที่ทำแล้วจะอยู่ที่ไหน ในเมื่อจิตดับแล้ว
อ.วิชัย ก็ต้องสั่งสมไว้ในจิตที่เกิดต่อไป
ท่านอาจารย์ เพราะสภาพของจิตเป็นสภาพที่น่าอัศจรรย์ เกิดเมื่อมีปัจจัย ขณะนี้ แม้แต่จิตเห็น ถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่มีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท ไม่มีจิตเกิดขึ้นเห็น ไม่มีเจตสิกที่เป็นปัจจัยให้จิตนั้นเกิด แม้เห็นขณะนี้ก็มีไม่ได้ น่าอัศจรรย์ไหม ใครก็ทำอะไรไม่ได้
เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพของนามธรรมเกิดแล้วก็ดับ ความน่าอัศจรรย์ของจิตก็คือว่า ตราบใดที่ยังเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่น แต่จิตที่เกิดต่อโดยไม่มีระหว่างคั่น โดยจิตที่ดับไปก็สืบต่อทุกอย่างที่มีในจิตขณะก่อน ตั้งแต่เกิดชาตินี้จนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ จิตเกิดดับนับไม่ถ้วน และสภาพธรรมใดๆ ที่เกิดแล้วก็สืบต่อในจิตขณะต่อๆ ไป
เพราะฉะนั้น ถ้าจากโลกนี้ไป จิตที่ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพจากความเป็นบุคคลนี้ที่เราเรียกว่า จิตขณะสุดท้าย ทำจุติกิจ เคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ เป็นจิตขณะแรกของปฏิสนธิ ก็มีทุกสิ่งทุกอย่างที่สะสมจากจิตขณะก่อน แล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยทำให้สภาพธรรมใดเกิด ก็เกิดได้ เพราะมีการสะสมของสภาพธรรมนั้นๆ อยู่แล้ว
อ.วิชัย เข้าใจอย่างนี้ได้ไหม คือทั้งๆ ที่เป็นกุศลหรือบุญ หรือทั้งที่เป็นอกุศล ก็สั่งสมสืบต่อที่จิตแต่ละขณะสืบๆ ต่อไป
ท่านอาจารย์ ที่เห็นได้ง่ายๆ ตอนเกิด เราไม่รู้ แต่ตอนหลับ เรารู้ว่า หลับแล้ว แล้วก็ตื่นแล้ว ขณะที่หลับ ทุกคนเหมือนกันหมดหรือไม่
อ.วิชัย ภวังคจิต จิตทำกิจภวังค์ ที่เหมือนกัน คือ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ถ้าเป็นโจรผู้ร้ายหลับกับพระโสดาบันหลับ จิตทำกิจเหมือนกันหรือไม่
อ.วิชัย ทำภวังคกิจ
ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ว่า เคยไปทำผิดที่ไหนมาแล้ว อย่างไร พระโสดาบันในขณะนั้นก็ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่พอตื่นทุกอย่างที่มีสะสมในขณะที่หลับ แต่ละขณะที่หลับทำกิจดำรงภพชาติ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึกใดๆ ก็มีปัจจัยทำให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ที่เราบอกว่า ไม่ได้หลับ คือตื่นแล้ว มาจากไหน หลับก่อน แล้วก็ตื่น เพราะฉะนั้น จิตที่ตื่นก็มีทุกอย่างที่สะสมอยู่ทุกขณะจิต
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างในแสนโกฏิกัปป์ที่ผ่านมาแล้ว ไม่ได้หายไปไหนเลย จิตเกิดแล้วก็ดับไปก็จริง แต่สะสมทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาแล้วที่เป็นฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดีด้วย
ผู้ฟัง จะมีหลักในการพิจารณาอย่างไรว่า ทำบุญแล้วก็จะไปภพหน้าที่ดี มีมิตรที่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องของการอบรมเจริญปัญญา เรื่องของสติปัฏฐาน หรือเรื่องของจิต เจตสิกอะไร ขอให้ท่านอาจารย์เกื้อกูลด้วยว่า เมื่อเราพบข้อความนี้ในพระไตรปิฎก เราจะเข้าใจลึกซึ้งเพิ่มเติมได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ พระไตรปิฎกกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง หรือกล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี
ผู้ฟัง กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีจริงๆ พระไตรปิฎกกล่าวถึงขณะนี้ที่มีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง กล่าวถึง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราส่วนใหญ่จะไม่รู้เหตุ แต่สามารถรู้ว่าผลมี อย่างเกิดมี เกิดแล้ว ก็ต้องมีเกิด แต่เกิดจากไหนเราไม่รู้ มาจากไหนเราก็ไม่รู้ เกิดแล้วก็มีเห็น เรารู้ไหมว่า ทำไมต้องเห็น ไม่เห็นได้ไหม เกิดแล้วมีตา แล้วจะไม่ให้เห็นได้ไหม เรารู้ว่า เกิดแล้วเห็น แต่เราไม่รู้ว่า เห็นมาจากไหน มีเหตุอะไรที่ทำให้เห็นเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น อริยสัจจะกล่าวถึงสิ่งที่มี ทุกขอริยสัจจะ ยังไม่กล่าวถึงเหตุว่าอะไรเป็นเหตุให้มี แต่กล่าวถึงสิ่งที่มีแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นผลของสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้น ถ้าไม่มีสิ่งที่ทำให้เกิด อะไรก็เกิดไม่ได้ ใช่หรือไม่ แต่สิ่งใดก็ตามที่เกิดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น พิจารณาแล้วก็ต้องมีเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิด จะใช้คำว่า “ปัจจัย” สภาพธรรมที่เกื้อกูลส่งเสริมสนับสนุนปรุงแต่งให้สภาพธรรมนั้นมีขึ้นก็ได้
นี่แสดงให้เห็นว่า เรารู้แต่สิ่งที่เกิดแล้ว แต่ไม่รู้ถึงเหตุว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิด ทำไมชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ชีวิตของแต่ละคนเหมือนกันหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ก็มีตา ๒ ข้าง แล้วก็เห็นเหมือนกัน แล้วทำไมต่างกัน มีหูก็ได้ยิน แต่ทำไมได้ยินต่างกัน มีจมูกได้กลิ่น มีลิ้นลิ้มรส มีกายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วก็มีใจคิดนึก แต่ทำไมต่างกัน
ผู้ฟัง บางครั้งบางคนก็เห็นดีบ้าง บางคนก็เห็นไม่ดีบ้าง
ท่านอาจารย์ ทำไมอยู่ดีๆ ก็เห็นดีบ้าง เห็นไม่ดีบ้าง ไม่มีเหตุเลยหรือ
ผู้ฟัง คิดว่า เพราะเป็นกรรมของเราที่ทำมาไม่ดี ก็เลยเห็นไม่ดี
ท่านอาจารย์ ก็ใช้อีกคำหนึ่งแล้วว่า “กรรม” เชื่อไหมว่า กรรมมี
ผู้ฟัง เป็นพุทธศาสนิกชนก็เชื่อว่า มีกรรม
ท่านอาจารย์ โดยมากเราจะไปอ้างตำรา ว่าโดยอย่างนั้น โดยอย่างนี้ สภาพธรรมมีไหม ผลมีไหม เหตุมีไหม อย่างเห็น เราบังคับบัญชาไม่ได้ บางคนเกิดมาก็เห็นแต่สิ่งที่น่าพอใจ ได้ยิน ได้กลิ่น ทุกอย่างน่าพอใจหมด บางคนเห็นก็จริง แต่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แล้วได้กลิ่นไม่น่าพอใจ กลิ่นกับรสจะเห็นชัดบางครั้งก็เป็นรสที่ไม่น่าพอใจ เสียง ก็เห็นได้ชัด เสียงบางเสียงไม่น่าพอใจ ชอบเสียงฟ้าร้องดังๆ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ชอบ
ท่านอาจารย์ แล้วทำไมได้ยิน
ผู้ฟัง มีเหตุปัจจัยที่จะได้ยินเสียงนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น นี่เป็นผล ต้องมีเหตุ ถ้าเข้าใจว่า ทั้งหมดที่มีจริงตั้งแต่เกิดจนตาย มีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น แต่ยังไม่รู้ว่า อะไรเป็นปัจจัย สามารถรู้ได้ เข้าใจได้ตามความเป็นจริง โดยต้องรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ก่อน
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์กล่าวหมายความว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พุทธศาสนิกชนเพื่อให้เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นเหตุ และสิ่งใดเป็นผล
ท่านอาจารย์ แล้วก็กล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ขณะนี้ด้วย ความจริงขณะนี้ ไม่ใช่เพียงความจริงวันนี้ แต่เป็นความจริง ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ด้วย แต่ขณะนี้ ทีละหนึ่งขณะ เดี๋ยวนี้มีตั้งหลายอย่าง เห็นก็มี คิดก็มี แต่ขณะหนึ่งๆ ความจริงก็คือ ขณะนั้นเห็นจริง แค่เห็น อย่างอื่นยังไม่เกิด ยังไม่มี เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นนั้นจริง เป็นเห็น รู้ความจริงของสิ่งที่เป็นเห็นเดี๋ยวนี้หรือไม่ที่กำลังเห็น ก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้ความจริงอื่นได้ไหม แล้วจริงไหนจะเป็นอริยสัจจะ ความจริงแท้ที่ทำให้บุคคลรู้ สามารถจะดีขึ้นๆ ละอกุศลไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถดับอกุศลได้
ผู้ฟัง เมื่อค่อยๆ เห็นว่า เป็นสภาพธรรม ค่อยๆ รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เร็วง่ายๆ อย่างนั้น คือรู้เห็นว่าเป็นสภาพธรรม ต้องกำลังมีเห็นขณะนี้ด้วย และขณะที่ฟังเรื่องเห็น แล้วมีเห็น เข้าใจขณะเห็น แม้ว่าจะยากมาก เพราะไม่เคยสนใจ ไม่เคยรู้ เคยผ่านไปเป็นเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏทั้งหมด หรือกำลังเห็นยังคิดเรื่องอื่น ไม่ใช่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้น จะรู้จักเห็นจริงๆ ในขณะที่ฟัง แม้ไม่ต้องใช้คำว่า เห็นเป็นธรรม แต่เห็นมีจริงๆ ขณะนี้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงทั้งหมดจะเรียกว่าอะไร ในเมื่อไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย แต่เกิดแล้ว แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มีจริงนี้เป็นธรรม เป็นธาตุ ความหมายเดียวกับธรรม ไม่ใช่ของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครบันดาลหรือทำให้เกิดขึ้นได้
เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมคือเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงขณะนี้ว่า เป็นสิ่งที่เป็นธรรม เป็นธาตุซึ่งเกิดตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ต้องเริ่มค่อยๆ เข้าใจความจริงขณะนี้ที่เป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นธาตุที่เห็น ไม่ใช่เป็นเราที่เห็น
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง มิฉะนั้นตำราทั้งหลายจะไม่มีประโยชน์เลย เป็นแต่ชื่อ ถามว่า ธรรมคืออะไร นามธรรมคืออะไร รูปธรรมคืออะไร ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ขณะนี้พอรู้แล้วใช่ไหมว่า ธรรมเป็นธรรม เห็นเป็นธรรม มีจริงๆ และสิ่งที่ถูกมีหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ถ้ามี เป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เกิดปรากฏว่ามีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นเห็นหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่เห็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนี้รู้ว่า มีธรรมที่ต่างกัน ๒ อย่างแน่นอน ศึกษาธรรมจากตัวธรรมจริงๆ ที่มีจริงในขณะนี้ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏมีจริงๆ ต้องเกิดขึ้นด้วย ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏให้รู้ว่ามี แต่สิ่งที่มี เพียงปรากฏให้เห็น ไม่ใช่สภาพที่จำ สภาพที่คิด สุข ทุกข์ใดๆ ทั้งสิ้น เพียงสามารถปรากฏให้เห็นว่า สิ่งนี้มีจริงๆ
นี่คือความละเอียด ความลึกซึ้งของธรรม ถ้าศึกษาธรรมแล้วไม่มีความเข้าใจมั่นคงตั้งแต่ต้น ก็เป็นตัวเรา ตายแล้วก็เป็นตัวเรา แล้วก็เข้าใจว่า ตัวเราได้ฟังธรรม และพอได้ยินอีกก็ได้ยินชื่อธรรม โดยไม่รู้ว่า ทุกๆ ขณะเป็นธรรม
เพราะฉะนั้น ความละเอียดก็คือไม่เผิน ธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง จึงต้องเป็นผู้อบรมพระบารมีถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงตรัสรู้ความจริง และทรงแสดงถึงความจริงนี้ เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ ไม่ใช่ฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือปกปิดไว้ไม่ให้เข้าใจ ก็ไม่ใช่ แต่สิ่งที่มีจริงขณะนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็เปิดเผยความจริงของสิ่งนี้ให้พิจารณา ให้เข้าใจให้ถูกต้องในลักษณะที่มีจริงทุกอย่างในชีวิตว่า เป็นสิ่งที่ปรากฏเมื่อเกิด แล้วดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เราเคยยึดถือว่า สิ่งนั้นมีจริงๆ และเที่ยง
ผู้ฟัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นเรื่องของสภาพธรรม ถ้าเราเอามาจากพระสูตรที่ว่า มีตัวเราที่ทำบุญ และมีตัวเราจะได้รับผล
ท่านอาจารย์ เผินมากเลย มีตัวเราที่ทำบุญ หรือว่ากุศลเป็นกุศล เป็นธรรม อย่างมิตร บอกหรือว่า ชื่ออะไร เป็นใคร
ผู้ฟัง ไม่ได้บอก
ท่านอาจารย์ แล้วลักษณะของมิตร คือความหวังดี พร้อมที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลกับบุคคลอื่น
ผู้ฟัง แสดงถึงสภาพธรรมที่เป็นเมตตา
ท่านอาจารย์ ใช้ชื่อก็ได้ อยากจะใช้ชื่อก็มีหลายชื่อ ใช้คำว่า มิตตะ ก็ได้ เมตตาก็ได้ แต่หมายถึงสภาพธรรมหนึ่งซึ่งเป็นสภาพที่ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย ไม่หวังร้าย พร้อมจะเกื้อกูล เป็นประโยชน์กับคนอื่น
ผู้ฟัง อย่างนั้นท่านผู้ฟังอ่านพระสูตร ขณะนั้นก็ต้องเข้าใจทันทีว่า กล่าวถึงตัวเราที่ทำบุญแล้วจะติดตามไปภพหน้า นั่นคือสภาพจิตที่ทำกิจ แล้วมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดกุศลวิบากที่ดีในภายหน้า
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธรรมเลย จะมีพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมไหม จะมีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทรงแสดงธรรมเป็นใคร เป็นคนธรรมดาๆ รู้เรื่องพื้นๆ ง่ายๆ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่แน่นอน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหมดลึกซึ้งไหม
ผู้ฟัง ลึกซึ้งมาก
ท่านอาจารย์ พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ พระสูตรลึกซึ้งโดยอรรถ แม้แต่คำว่า โค เกวียน มิตร สหาย แต่ละคำลึกซึ้ง เพราะเป็นสภาพของจิตที่ละเอียดอย่างยิ่ง พระอภิธรรม ธรรม ลึกซึ้งโดยสภาวะ โดยความเป็นจริง ซึ่งขณะนี้เป็นธรรมที่มีสภาวะ ลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ แต่ลึกซึ้ง คือยากที่จะเข้าใจในธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ เพราะว่าเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก รวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ จนไม่มีใครเห็นว่า ขณะนี้เห็นเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ระหว่างนั้นก็มีจิตอื่นเกิดแทรกคั่นมากมายด้วย มีทั้งเสียง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมคือศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ จนเป็นความเห็นถูกเพิ่มขึ้น จึงจะรู้ว่า ได้เริ่มเข้าใจธรรม ไม่ใช่อยู่ในหนังสือ ไม่ใช่เป็นเพียงคำ แต่มีลักษณะจริงๆ ของแต่ละลักษณะที่เป็นธรรม
ผู้ฟัง เคยสนทนากับเพื่อนธรรม เขาบอกว่าศึกษาเรื่องขันธ์ เรื่องธาตุ แล้วไม่สามารถจำได้ เข้าใจได้ เพราะพระสูตรแสดงสิ่งต่างๆ มากมาย
ท่านอาจารย์ จำไปทำไม
ผู้ฟัง ขันธ์ไกล ใกล้ อนาคต ปัจจุบัน
ท่านอาจารย์ จำแล้วเป็นอย่างไร มีขันธ์ไกล ขันธ์ใกล้ อดีต อนาคต ปัจจุบัน จำไว้แล้วเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง เพื่อเข้าใจในขันธ์
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เข้าใจขันธ์เลย เพียงแต่จำว่า ขันธ์ใกล้ ขันธ์ไกล หยาบ ละเอียด ภายใน ภายนอก เลว ประณีต
ผู้ฟัง แต่พระสูตรก็แสดงไว้อย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะพระสูตรลึกซึ้งโดยอรรถ
ผู้ฟัง หมายถึงอะไร
ท่านอาจารย์ ทุกคำ แม้คำว่า “ขันธ์” ลึกซึ้งหรือไม่
ผู้ฟัง ลึกซึ้ง
ท่านอาจารย์ รู้จักหรือยังว่า ขันธ์คืออะไร จึงจะรู้ว่า ลึกซึ้งแค่ไหน เมื่อสักครู่นี้ได้ยินคำว่า “ธรรม” รู้จักคำเดียวแล้ว ยังไม่รู้จักคำว่า “ขันธ์” รู้จักธรรม แล้วธรรมก็หลากหลาย มีทั้งสภาพที่ปรากฏให้เห็น ปรากฏให้ได้ยิน อย่างเสียง เสียงกำลังปรากฏให้รู้ว่า เสียงมี ปรากฏทำไม ปรากฏเมื่อไร ปรากฏเพราะอะไร เพราะมีจริงๆ ปรากฏให้รู้ว่า เสียงมี แต่เสียงไม่ได้จงใจให้รู้ว่ามี เสียงมี แต่เสียงมี และใครรู้ว่ามีเสียง ถ้าไม่มีสภาพรู้หรือธาตุรู้เกิดขึ้น ที่เราใช้คำว่า ได้ยินเสียง ได้ยิน ไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุที่สามารถรู้เฉพาะเสียงที่กำลังปรากฏให้รู้ ไม่ใช่เสียงที่ไม่ปรากฏให้รู้ เสียงมีหลายเสียง เสียงที่ไม่ปรากฏให้รู้ เพราะไม่มีสภาพที่กำลังรู้เสียงนั่นเอง เสียงนั้นจึงไม่สามารถปรากฏให้รู้ได้
เพราะฉะนั้น ที่เสียงปรากฏในขณะนี้ ให้ทราบว่า มีสภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ ใช้คำว่า “ธาตุรู้” ที่นี่ ไม่ได้หมายความถึงปัญญา แต่หมายความถึงธาตุซึ่งเกิดแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ แค่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏว่า สิ่งนั้นมีจริงๆ และเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น สภาพรู้หรือธาตุรู้ที่เกิดขึ้นเห็น เป็นแต่เพียงธาตุที่สามารถเกิดขึ้นรู้ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏอย่างนี้ ขณะนี้ เป็นอย่างนี้ และมีจริงๆ รู้เท่านั้นเอง คือเห็นว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เช่นเดียวกับเสียง ต้องมีธาตุที่เกิดขึ้นรู้ คือ ไม่ได้รู้อื่น แต่รู้ว่า เสียงขณะนี้เป็นอย่างนี้ เพราะจิตขณะนี้กำลังรู้เสียงนั้น ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้เท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น สภาพที่เป็นธาตุรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่า จิตตะ หรือจิตตัง หรือวิญญาณ หรือมโน มนะ หทยะ หลายคำได้ แต่หมายถึงสภาพที่มีจริง ที่เมื่อเกิดแล้วต้องรู้ เช่นเห็น จะบอกว่าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเลยไม่ได้
เพราะฉะนั้น เห็นเป็นสภาพธรรมที่รู้สิ่งที่ปรากฏให้เห็นว่า เป็นอย่างนี้ แค่นี้เอง ไม่ใช่ปัญญาที่เห็นถูก เข้าใจถูกว่าเป็นธรรม แล้วเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้น ธรรมจึงหลากหลายมาก แต่ถึงจะหลากหลายอย่างไร ก็มีลักษณะที่ต่างกันถึง ๒ อย่าง คือ สภาพธรรมอย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้ทั้งสิ้น แข็ง รู้อะไรไม่ได้ กลิ่น รู้อะไรไม่ได้ แต่กลิ่นปรากฏเมื่อไร เพราะมีสภาพที่กำลังรู้กลิ่นที่ปรากฏ กลิ่นนั้นกลิ่นเดียว ให้รู้ว่าเป็นกลิ่นนั้น และรู้ว่า มีกลิ่นนั้นชั่วขณะที่จิตรู้กลิ่นนั้น
ด้วยเหตุนี้แม้ว่าธรรมทั้งหมด กี่จักรวาลก็ตามแต่ อดีต หรืออนาคตก็ตามแต่ มีสภาพธรรมที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง เดี๋ยวนี้ สภาพธรรมที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียง หรือเป็นกลิ่น เป็นรส หรือเป็นแข็ง สภาพธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ทั้งหมด ภาษาบาลีใช้คำว่า รูปะ หรือภาษาไทยใช้คำว่า รูป ซึ่งเป็นธรรม ก็เป็นธรรมที่เป็นรูป เป็นรูปธรรม ส่วนสภาพรู้หรือธาตุรู้ก็มี ถ้าไม่มีธาตุนี้ จะมีอะไรๆ ในโลก หรือปรากฏว่าเป็นโลกได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น สภาพที่เป็นธาตุรู้ ก็รวมเรียกธาตุรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเกิดขึ้นรู้ขณะนั้นว่า เป็นนามธรรม
เพราะฉะนั้น ถ้าแยกธรรมประเภทใหญ่ๆ ก็มีสภาพธรรมที่ต่างกันเป็นนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งความหลากหลายของรูปมีมากมาย ความหลากหลายของนามมีมาก และทั้ง ๒ อย่างเกิดแล้วก็ดับ เร็วมากด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึงลักษณะของรูปทั้งหมดเกิดดับ เป็นรูปขันธ์ ได้ไหม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600