พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
ตอนที่ ๕๙๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ เมื่อจิตเกิดแล้วก็ต้องมีสิ่งที่จิตรู้ แล้วก็ปกติของจิตที่สะสมมา ที่จะหันไปในทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ตามการสะสม แม้แต่การคิดนึก บางคนชอบคิดเรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์ คิดถึงคนที่โกรธ แล้วก็ยิ่งโกรธ แล้วก็ยิ่งเกลียด แล้วก็ยิ่งชัง ห้ามได้ไหม ไม่ได้ แต่บางคนไม่คิดอย่างนั้น มีแต่ความเมตตา หวังดี เป็นประโยชน์ เกื้อกูลทุกคน ไม่ว่าใคร เขาจะดีจะร้าย เรื่องของเขา แต่การช่วยให้ทุกคนเป็นคนดี หรือหมดจากความไม่รู้ ก็เป็นสิ่งซึ่งควรจะทำอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็สะสมมา แล้วแต่ละคนจะเกิดขึ้นมีอารมณ์อะไร เพราะฉะนั้น การฟังธรรม อย่าหวังว่าจะหมดกิเลสทันที แต่กำลังสะสมสิ่งที่เป็นนิสัยมีกำลังที่ทำให้เกิด และระลึกลักษณะของสิ่งที่ปรากฏได้ เพียงแต่จะช้าหรือจะเร็ว จะมากหรือจะน้อย แล้วไม่เป็นไปทันที เพราะเพียงแค่เป็นคนดีขึ้น นั่นก็คืออุปนิสยโคจรที่สะสมมาจนกระทั่งเป็นอารักขโคจร แทนที่จะเป็นอกุศลก็เป็นกุศลได้ ในขณะนั้นก็พ้นจากการเป็นอกุศล จนกว่าจะถึงอุปนิพันธโคจร คือขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วเริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยไม่ต้องไปปะปนว่า เป็นสัจญาณหรือไม่ หรือเป็นอย่างนี้หรือไม่
นั่นคือสะสมมาที่จะคิดอย่างนั้น จริงๆ แล้วประโยชน์จริงๆ ก็ตนเองที่รู้ คนอื่นรู้ไม่ได้เลย ฟังแล้วขณะนี้เข้าใจแค่ไหน
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์อธิบายนำมาสู่ความหมายของประโยคที่ว่า ความสำรวมทางกาย วาจา ใจ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็ไปอีกจากอุปนิสยโคจรไปถึงความสำรวมทางกาย วาจา ใจ ก็เป็นคำ แต่เมื่อสักครู่นี้ที่บอกว่า หลังจากที่ได้ยินได้ฟังธรรม แล้วสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ไม่มีเราที่จะรู้ว่า ขณะต่อไปเป็นกุศลหรืออกุศล แต่เมื่อกุศลเกิดขึ้นขณะใด รู้ได้เลย เพราะได้ยินได้ฟัง และได้เข้าใจ ขณะนั้นเป็นกุศล ถ้าใช้คำว่า อารักขโคจรก็ได้ หรือจะใช้คำว่าสำรวม อะไรก็แล้วแต่ แต่เข้าใจสำรวมหรือเปล่า อย่างไหน เมื่อไร หรือเป็นเพียงคำ แล้วมีสติอีก มีอะไรอีกมากมายทุกคำในพระไตรปิฎก ปนกันหมด แทนที่จะปน เข้าใจแต่ละคำให้ชัดเจน
ผู้ฟัง ขอย้อนกลับไปที่ปฏิปัตติ แล้วปริยัติ ตอนแรกๆ ก่อนจะเข้ามาศึกษาที่นี่ ก็เข้าใจว่า ปริยัติคือทฤษฎีตามพระไตรปิฎกทั้งหมด จิตมีกี่ดวง แต่เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์บอกว่า จะรู้ปฏิปัตติได้ ต้องรู้ปริยัติก่อน ท่านอาจารย์บอกว่า การฟังพระธรรม และการเข้าใจพระธรรม รู้ว่า เป็นธรรม ก็แสดงว่า จะรู้ปริยัติได้ก็ต่อเมื่อ ณ ตรงจุดนั้นต้องเข้าใจธรรมแล้ว ใช่ไหม ถึงจะเรียกว่าเป็นปริยัติ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เดี๋ยวนี้เข้าใจหรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง เข้าใจสิ่งที่เห็นว่าเกิดขึ้นจริง
ท่านอาจารย์ สิ่งที่เห็นเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เข้าใจจนกระทั่งรอบรู้หรือยัง
ผู้ฟัง ยัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รอบรู้เมื่อไรในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังได้ยินได้ฟัง นั่นคือปริยัติ แล้วจะรู้ไหมว่า ขณะนี้เป็นธรรมได้อย่างไร หรือว่าเขาบอก
ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เรารับทราบได้ตรงนี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมคือศึกษาอะไร เมื่อไร
ผู้ฟัง ก็คือศึกษาพระธรรม
ท่านอาจารย์ เรื่องอะไร
ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ จนกระทั่งรอบรู้ว่า เป็นธรรม
ผู้ฟัง ก็ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัยว่า จะเกิดขึ้นเมื่อไร
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง แล้วแต่เหตุปัจจัย แต่ต้องเป็นตัวเองที่รู้ว่า เข้าใจหรือไม่ เข้าใจแค่ไหน เข้าใจจริงๆ หรือยัง หรือพูดตาม
ผู้ฟัง อยู่ที่การสะสม และการฟังพระธรรม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เข้าใจจริงๆ หรือไม่ หรือพูดตาม
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องถามใครว่า เข้าใจอะไร
อ.ธิดารัตน์ ถ้าเข้าใจนิดหนึ่ง จะเรียกว่า ปริยัติ คือรอบรู้หรือไม่
ท่านอาจารย์ แค่ไหนคะ จิตมี ๘๙ ดวง นั่นหรือปริยัติ
อ.ธิดารัตน์ นั่นเป็นการจำชื่อ
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไรเป็นปริยัติ
อ.ธิดารัตน์ ก็เข้าใจว่า สภาพธรรมที่เราเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิต เจตสิก รูปมีสภาวธรรมจริงๆ
ท่านอาจารย์ เมื่อไร
อ.ธิดารัตน์ เมื่อปรากฏ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้หรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ค่ะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเดี๋ยวนี้รู้ว่า เป็นธรรม เห็นนี่ เป็นธรรม ได้ยินก็เป็นธรรม คิดนึกก็เป็นธรรม จำได้ก็เป็นธรรม อ่อนหรือแข็งก็เป็นธรรม อย่างนั้นคือศึกษาธรรม เป็นปริยัติ คือไม่มีอะไรสงสัยเลยว่าจะไม่ใช่ธรรม
อ.ธิดารัตน์ มีคำถามว่า ธรรมละเอียดลึกซึ้งสุดประมาณ เสียงขณะนี้ละเอียดอย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นแค่เสียง แน่นอนหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ค่ะ
ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริง เกิดแล้วดับ แน่นอน
อ.ธิดารัตน์ ค่ะ
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างอื่นที่นอกจากเสียง
อ.ธิดารัตน์ สีก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรม สั้นเหมือนเสียงไหม
อ.ธิดารัตน์ เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ มีใครบังคับให้เกิดหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ไม่มี
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วหมดไปหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ เกิดแล้วดับ
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วเป็นของใครหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ไม่ใช่ของใคร เพราะเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ แล้วกลิ่น
อ.ธิดารัตน์ เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ รู้ทั่วหมดหรือยังว่า เป็นธรรม
อ.ธิดารัตน์ จริงๆ แล้วอาจจะไม่เข้าใจในหลายๆ อย่าง เพียงแต่ยกตัวอย่างเรื่องเสียงขึ้นมาถาม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แต่ละคนที่ฟังธรรม บางคนเข้าใจว่าไม่ยาก พอบอกว่าเสียงมีจริง เป็นธรรม ก็ถูก คิดมีจริง เป็นธรรม ก็ถูก ก็เป็นธรรมไปหมดแล้ว ไม่ยากเลย รู้จักธรรมหรือเปล่า หรือจำว่า สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม แต่สิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างมีลักษณะที่ต่างกันอย่างไร ห้ามไม่ให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ห้ามไม่ให้หมดไปก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ต้องเหมือนกับเสียง ถ้าเสียงเกิด แล้วเสียงปรากฏเป็นเสียง สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ต้องเกิดปรากฏ เป็นสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ แล้วเสียงดับไป สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ต้องดับไปด้วย ทุกอย่างเหมือนกันหรือยัง หรือเฉพาะเสียง อย่างอื่นไม่รู้ อย่างนั้นจะชื่อว่า รอบรู้หรือเป็นปริยัติก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าทุกคนก็รู้ว่าเสียงมีจริง และบอกว่าเสียงเป็นธรรม ทุกคนก็พูดได้ และได้ยินมีไหม
อ.ธิดารัตน์ มีค่ะ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ เป็น
ท่านอาจารย์ เกิดหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ เกิดแล้วดับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหมดแล้วใช่ไหม
อ.ธิดารัตน์ อย่างเช่นเวลาสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างก็ตาม ก็มีเพียงเข้าใจลักษณะ เช่น ลักษณะของรูปธรรม หรือลักษณะของเสียงหรือสิ่งที่ปรากฏ ก็เป็นเพียงแค่ธรรมแต่ละอย่างเท่านั้นเอง แต่ความเข้าใจตอนนั้นก็เป็นเพียงมีสภาพธรรมปรากฏกับปัญญาเท่านั้น แต่ความเข้าใจขั้นสติปัฏฐานก็ยังไม่เข้าใจถึงความหยาบ ความละเอียดของการเกิดดับ หรือลักษณะของความเป็นขันธ์อื่นๆ
เพราะฉะนั้น เวลาท่านอาจารย์กล่าวถึงลักษณะของขันธ์ จะเป็นความเข้าใจอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขันธ์ไม่ใช่ชื่อ ใช่ไหม
อ.ธิดารัตน์ ไม่ใช่ชื่อ
ท่านอาจารย์ แต่มีจริง และหลากหลายหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ หลากหลาย
ท่านอาจารย์ เวลานี้ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏ และได้ยินเสียงใหม่ที่กำลังปรากฏ และได้ยินเสียงใหม่ที่กำลังปรากฏ เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ คนละเสียง
ท่านอาจารย์ หลากหลายไหม
อ.ธิดารัตน์ หลากหลาย
ท่านอาจารย์ หลากหลายเมื่อกำลังรู้เสียงนั้นๆ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า สามารถจะรู้ในลักษณะของเสียงที่ปรากฏ ไม่ใช่เพียงคิดถึงเสียงที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราพูดถึงเรื่องแข็ง เราคิดถึงแข็งก็ได้ หรือถามเด็กว่าแข็งไหม เด็กก็ตอบว่า แข็ง หรือถามทุกคนที่นี่ว่า แข็งปรากฏไหม ก็บอกว่าแข็งปรากฏ เพราะมีกายวิญญาณ จิตที่สามารถรู้สภาพแข็ง แต่ไม่ใช่ศรัทธา สติสัมปชัญญะที่กำลังเข้าใจถูกในสภาพของแข็งที่เป็นธรรม ซึ่งไม่มีอะไรเจือปน ปนได้อย่างไร ถ้าเป็นความรู้จริงๆ ว่า เป็นธรรมแต่ละอย่างก็ต้องแต่ละอย่าง แต่เมื่อยังไม่เป็นแต่ละอย่าง ก็จะเป็นการรู้โดยกายวิญญาณธรรมดาปกติที่รู้ว่าแข็ง แต่ยังไม่เริ่มเข้าใจว่า ขณะที่แข็งปรากฏ ลักษณะนั้นไม่มีอย่างอื่นปรากฏร่วมด้วย และถ้าเป็นความชัดเจนของปัญญาที่อบรมละคลายการปะปนสภาพธรรมอื่น สภาพธรรมนั้นที่ได้อบรมแล้วจะปรากฏทางมโนทวาร มีความต่างกันไหม ระหว่างทางกายทวาร และทางมโนทวาร ในเมื่อขณะนี้แม้มีมโนทวารเกิดต่อก็ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นมโนทวาร แข็งทางกายทวารก็ยังคงเป็นแข็ง แต่ความจริงแข็งนั้นทางกายทวาร แล้วมโนทวารรู้ต่อเหมือนกันเลย
เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่า รอบรู้ รู้ชัดได้ไหม ในเมื่อยังเป็นแต่เพียงความจำ และความเข้าใจที่เริ่มต้นว่า การรู้แข็ง รู้ได้ทางกาย แต่ขณะไหนหลงลืมสติ และขณะไหนสติเกิด ไม่เหมือนกัน ใช่ไหม วันหนึ่งๆ ไม่มีใครไม่รู้แข็ง แต่สติสัมปชัญญะไม่ได้รู้แข็งที่เป็นธรรม
เพราะฉะนั้น ก็รู้เพียงลักษณะที่แข็ง เหมือนรู้เสียง เหมือนรู้กลิ่น แต่ไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรมที่เกิดปรากฏแล้วหมดไป ชั่วคราว อย่างรวดเร็ว ที่ว่ารวดเร็ว เพราะเหตุว่าถึงแม้จะเร็วสักเท่าไร อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่ใช่ปัญญาที่สามารถประจักษ์การเกิดดับได้ทันที เพราะเพียงความต่างของเสียงที่ปรากฏทางโสตทวารกับทางมโนทวาร แข็งที่ปรากฏทางกายทวารกับทางมโนทวารก็ยังไม่ได้แสดงความต่างกัน ซึ่งความจริงเมื่อเสียงปรากฏทางโสตทวารอย่างนี้ แล้วก็ปรากฏทางมโนทวารด้วย สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาปรากฏทางจักขุทวาร แล้วปรากฏทางมโนทวารด้วย โดยมีภวังค์คั่นด้วย
เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าเป็นความรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมก็ยังไม่ได้ แต่เป็นการเริ่มเข้าใจว่า สภาพธรรมที่ปรากฏไม่เที่ยง ต่อให้เหมือนเที่ยงมานานแสนนาน กี่ชาติ แต่ความจริงก็คือไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงความจริง ซึ่งปัญญาสามารถอบรมจนกระทั่งเป็นปัญญาที่รู้ชัดทางมโนทวาร เมื่อนั้นก็จะแสดงให้เห็นว่า สามารถรู้ความต่างของขณะที่เพียงจำได้ ฟังแล้วรู้ว่าขณะนี้ แข็งมี เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ได้รู้ตรงแข็งจริงๆ เพราะอะไรคะ คิดแล้ว โดยไม่รู้ เห็น ไม่รู้ว่าคิดแล้ว เพราะความจริงสั้นที่สุดคือปรากฏแล้วดับ แต่คิดถึงรูปร่างสัณฐานแล้วก็จำไว้ เป็นนิมิต เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกของนิมิตของการเกิดดับของสภาพธรรมโดยตลอด โดยไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ ไม่เที่ยง แต่เราจำเป็นเรื่องเป็นราว เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน โดยเป็นอัตตา
เพราะฉะนั้น ความหมายของอัตตากับความหมายของอนัตตา ต้องตรงกันข้ามกัน แต่ว่าสัญญายังไม่ได้จำสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา เพียงจำชื่อ “อนัตตา” แต่ลักษณะแท้ๆ ของอนัตตายังไม่ได้ปรากฏ
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์หมายความว่า เวลาที่ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น แล้วมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏซึ่งหลากหลายมาก เสียงเพียงอย่างเดียวก็ยังมีความต่างกันในตัวเอง
ท่านอาจารย์ เสียงหลายเสียง มีอายุ ๑๗ ขณะทุกเสียง มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง สภาพเห็นกับสภาพคิดเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้เหมือนกันแน่นอน เห็นก็เป็นธาตุรู้ คิดก็เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ที่เหมือนกันก็คือไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมที่เกิดแล้วก็ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่สิ่งที่ปรากฏให้รู้ต่างๆ กันไป
ด้วยเหตุนี้ถ้าศึกษาโดยละเอียดก็จะเข้าใจได้ว่า ธาตุรู้แต่ละอย่าง แต่ละขณะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย หลากหลายต่างๆ กัน แล้วก็ดับไป ไม่เหลือเลย แล้วสาระอยู่ที่ไหน เกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ดับไป ตลอด
ผู้ฟัง อย่างนั้นสภาพเห็นกับสภาพได้ยินก็คือสภาพรู้เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สภาพรู้ทั้ง ๖ ทางก็ไม่ต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะ เพราะเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ไม่เคยรู้ว่า สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏได้เพราะมีธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็รู้สิ่งที่ปรากฏ ถ้าทางตาก็คือธาตุนั้นเห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ถ้าทางหู ธาตุนั้นก็เกิดขึ้นรู้เสียง แต่ก็เป็นธาตุรู้ จะไม่เป็นธาตุรู้ไม่ได้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่มีจริงมีลักษณะที่ต่างกัน ๒ อย่าง สภาพหนึ่งรู้ อีกสภาพหนึ่งไม่รู้อะไร มี ๒ อย่างเท่านั้นเอง แต่ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นสภาพรู้ก็หลากหลายมากมาย เมื่อเข้าใจขึ้นก็เห็นความหลากหลายได้ แม้แต่ขณะนี้เห็นกำลังเป็นธาตุรู้ คือกำลังเห็น เวลาเสียงที่ปรากฏ ก็เป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เห็น แต่เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นได้ยินเสียง เป็นสภาพรู้ทั้งนั้น
ผู้ฟัง แล้วทำไมเห็นไม่ใช่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ เพราะว่าจะเห็นเสียงได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จะได้ยินสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สภาพเห็นกับสภาพได้ยินจะต่างกันตรงไหน
ท่านอาจารย์ ต่างกันตรงที่รู้สิ่งที่ปรากฏแต่ละทางต่างกัน ไม่ใช่ทางเดียวกัน เห็นเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นเกิดอีกก็ต้องอาศัยตาแล้วก็ดับไป แล้วก็เห็นสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเดี๋ยวนี้หรือเมื่อสักครู่นี้ หรือนานแสนนานมาแล้ว สภาพเห็น ธาตุที่สามารถเห็นได้ก็ต้องอาศัยจักขุปสาท แล้วต้องเห็นสิ่งที่เป็นธรรมอย่างเดียวที่สามารถกระทบกับจักขุปสาทได้ นี่คือสภาพเห็น แต่สภาพที่ได้ยินหรือธาตุได้ยิน ไม่ได้อาศัยจักขุปสาท ถ้าถามถึงความต่างก็คือธาตุได้ยินที่ได้ยินเสียงต้องอาศัยโสตปสาท ถ้าไม่มีโสตปสาท เสียงก็ปรากฏไม่ได้ เพราะธาตุได้ยินต้องอาศัยโสตปสาทเกิดเพื่อได้ยินเสียงที่กระทบโสตปสาท
ผู้ฟัง แล้วที่ว่าเป็นสภาพรู้เหมือนกัน เหมือนกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ เหมือนกันคือทุกขณะที่เกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่รู้ไม่ได้ ขณะเห็นกำลังรู้คือเห็น ขณะได้ยินรู้คือได้ยิน ขณะคิดคือรู้เรื่องที่คิด
ผู้ฟัง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นจิตคนละประเภท
ท่านอาจารย์ แต่จิตทุกประเภทต้องเกิดขึ้นรู้ แล้วแต่จะรู้อะไร โดยอาศัยปัจจัยอะไร ถ้าไม่มีตาที่สามารถกระทบสิ่งที่ปรากฏแล้วเห็นเดี๋ยวนี้ จิตเห็นเดี๋ยวนี้เกิดไม่ได้ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏไม่ได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นเวลาสิ่งที่ปรากฏที่ปรากฏจะปรากฏถึงความแตกต่าง หรือปรากฏถึงความเหมือน
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เห็นเป็นใครหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ กว่าจะรู้ว่า ไม่ใช่ใครเลย เป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ เพราะมีธาตุเห็น ถ้าไม่มีธาตุชนิดนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นธาตุรู้ เกิดเมื่อไรต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ แล้วแต่ว่ารู้อะไร โดยอาศัยอะไร ธาตุรู้เกิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยปัจจัยใดๆ ได้ไหม ไม่ได้
เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเพราะต้องอาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือหลายๆ สิ่งที่ทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น อย่างจิตเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ ถ้าไม่อาศัยสิ่งที่ปรากฏซึ่งจิตกำลังรู้ จิตนั้นจะเกิดขึ้นได้ไหม อาศัย ๑ อย่าง คือ อารมณ์ใช่ไหม จิตไม่มีอารมณ์เกิดไม่ได้ เพราะอะไร เพราะจิตเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งหนึ่งเท่านั้นที่ปรากฏกับจิตที่กำลังรู้สิ่งนั้น เวลาที่สภาพธรรม เช่น เสียงเกิดขึ้น จะมีกลิ่นรวมอยู่ให้จิตที่ได้ยินเสียงไปรู้กลิ่นไม่ได้
เพราะฉะนั้น จิตเกิดขึ้นต้องอาศัยสิ่งที่กำลังรู้เพียงหนึ่ง แต่เวลาที่จิตแต่ละประเภทเกิดขึ้นต้องอาศัยสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันอีกหลายอย่าง
นี่แสดงให้เห็นว่า การศึกษาธรรมคือเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ซึ่งทุกคนก็เกิดมาแล้วนานแสนนาน แต่ถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสามารถเข้าใจได้ไหมแม้แต่สักขณะเดียวในชีวิตว่า เป็นธรรม
เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า “ธรรม” ก็อาศัยพระปัญญาคุณที่ทรงเปิดเผยลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ให้รู้ว่า ความจริงของสิ่งที่มีจริงแต่ละขณะ แต่ละอย่างในชีวิตนั้นคืออะไร เพื่อที่จะไม่หลงเข้าใจผิด เพราะทุกคนเกิดมาก็ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องคิดนึก ต้องสุข ต้องทุกข์ แล้วก็จากโลกนี้ไปแน่นอน โดยไม่รู้อะไร แต่ถ้าสามารถรู้ความจริงว่า ขณะนี้สิ่งที่มีจริงเป็นอะไร ใครจะเปิดเผยให้เห็นความจริงว่า สิ่งนั้นเป็นธรรม ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น แต่เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เห็นแล้วใช่ไหมทุกคน เพราะมีปัจจัยให้เห็นเกิดขึ้น ไม่ใช่ให้อย่างอื่นเกิดขึ้น ในขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จิตเกิดขึ้นเห็น
อ.คำปั่น ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงก็เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงนั้นก็ไม่พ้นจากความเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ ธาตุก็จำแนกออกเป็นหลายประเภท แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปก็ไม่พ้นจากนามธาตุกับรูปธาตุ นามธาตุก็เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ก็มี และไม่รู้อารมณ์ก็มี นามธาตุที่รู้อารมณ์ก็คือจิต และเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทุกขณะไม่พ้นจากจิต และเจตสิก สิ่งนี้เป็นธาตุที่รู้อารมณ์ ธาตุอีกอย่างหนึ่งที่ไม่รู้อารมณ์ เป็นนามธาตุเหมือนกัน แต่ไม่รู้อารมณ์ คือพระนิพพาน ส่วนอีกธาตุหนึ่งก็คือรูปธาตุ รูปธรรมทั้งหมดไม่รู้อะไร เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง สิ่งนี้เป็นรูปธาตุ แม้แต่เมื่อสักครู่ที่ท่านอาจารย์ได้สนทนากันเรื่องสภาพเห็น และสภาพที่ได้ยิน ก็ไม่พ้นจากความเป็นธาตุเลย ขณะที่เห็นก็เป็นจิตที่เกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่เราที่เห็น ขณะที่ได้ยินก็เป็นจิตที่เกิดขึ้นได้ยิน ไม่ใช่เราที่ได้ยิน ทุกอย่างก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600