พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
ตอนที่ ๖๒๓
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแทนที่จะจำชื่อจิตเยอะๆ หลายชื่อ แต่ทีละหนึ่งให้เข้าใจจริงๆ อย่างปฏิสนธิจิต ให้เข้าใจจริงๆ เป็นจิตขณะเเรกของชาตินี้ ยังไม่เรียกชื่อ เกิดสืบต่อจากจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน ถ้าเรียกชื่อจิตสุดท้ายของชาติก่อน "จุติจิต" เพราะทำจุติกิจ ซึ่งภาษาบาลีหมายความว่าเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น เเละปฏิสนธิจิตก็คือจิตซึ่งเกิดสืบต่อ ไม่ได้เกิดสืบต่อจากจิตอื่น เเต่เกิดสืบต่อจากจุติจิตเท่านั้น จึงเป็นปฏิสนธิจิต ถ้าไปเกิดสืบต่อจากจิตอื่นไม่ใช่ปฏิสนธิ แต่ต้องสืบต่อจากจุติจิตเท่านั้น จึงจะเป็นปฏิสนธิจิต
ผู้ฟัง การศึกษาที่จะให้เข้าใจจริงๆ แม้ชื่อใดชื่อหนึ่งให้เข้าใจจริงๆ ว่าหมายความว่าอย่างไร ให้เข้าใจจริงๆ อันนั้นเป็นประโยชน์กว่าว่า ชื่อนั้นก็ยังจำไม่ได้ ชื่อนี้ก็ยังจำไม่ได้ การศึกษาอย่างนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการศึกษาทางโลก เรียนอันโน้น เรียนอันนี้ก็จำไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วพูดคำไหนก็อธิบายได้ด้วย แต่นี่พอถามอะไรก็ไม่ทราบ จำชื่อไว้ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนั้นไม่ได้หมายความว่าเข้าใจธรรม
ผู้ฟัง อย่างสภาพเเข็งที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน กับสภาพของความพึงพอใจ เหมือนกันหรือต่างกัน
ท่านอาจารย์ เเข็งเป็นเเข็ง พอใจเป็นพอใจ
ผู้ฟัง แต่จริงๆ จากการศึกษา ก็รู้ว่าสิ่งหนึ่งเป็นรูป อีกสิ่งหนึ่งเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จากการศึกษา เดี๋ยวนี้มีเเข็งปรากฏหรือไม่ ตัวจริงๆ ของเเข็ง
มีแข็งปรากฏที่ไหนบ้างหรือไม่
ผู้ฟัง มีเมื่อกระทบสัมผัส
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เเข็งปรากฎไหม ไม่ต้องคิดถึงเรื่องกระทบสัมผัสหรืออะไรเลยทั้งสิ้น เพราะว่าธรรมเกิดดับเร็วมากที่ละอย่าง ในขณะที่คิดไม่ใช่ในขณะที่รู้ลักษณะที่เเข็ง เพราะฉะนั้นเมื่อถามว่า ขณะนี้มีเเข็งปรากฏไหม ไม่ต้องคิดอะไรเลย มีแข็งไหม กำลังปรากฏหรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าไม่คิดถึงแข็งก็ไม่มีเเข็ง
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิดอะไรเลย มีแข็งไหมเดี๋ยวนี้ เเข็งปรากฏว่ามีหรือไม่
ผู้ฟัง มีเเข็ง
ท่านอาจารย์ มีเเข็ง ตรงเเข็ง เเข็งอยุ่ตรงไหน
ผู้ฟัง ตรงที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ตรงที่ปรากฏ ถ้าไม่มีสภาพที่กำลังรู้เเข็งตรงนั้น แข็งจะปรากฏไหม
ผู้ฟัง ปรากฏไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีแข็งปรากฏ ขณะนั้นมีสภาพที่กำลังรู้เเข็ง ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นจะไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น จิตเกิดขึ้นที่ละ ๑ ขณะแต่เร็วมาก เพราะฉะนั้นขณะที่เข็งปรากฏเราก็จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของเเข็งโดยไม่ต้องเรียกชื่อ ไม่ต้องเรียกเลย แต่เเข็งก็ไม่ใช่สภาพที่กำลังรู้เเข็ง
เพราะฉะนั้นขณะนั้นมีธรรม ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นเเข็ง ใช้คำว่าเป็นเเข็ง อีกอย่างกำลังรู้เเข็ง ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ทีนี้เวลาเสียงปรากฏ มีเสียง เมื่อมีสภาพที่ได้ยินเสียง ถ้าสภาพที่ได้ยินไม่เกิดขึ้นได้ยิน เสียงก็ปรากฏไม่ได้
เพราะฉะนั้น เสียงก็เป็นเสียง เเข็งก็เป็นเเข็ง กลิ่นก็เป็นกลิ่น รวมทั้งหมดเรียกว่าสภาพธรรมที่ปรากฏ มีลักษณะหลากหลายต่างๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เราก็เรียกรวมกันว่ารูปธรรม แต่การศึกษาธรรมไม่ใช่ไปเอาชื่อรูปมาจำ แล้วก็ตอบได้ว่าเสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม เเข็งเป็นรูป รู้เเข็งเป็นนาม กลิ่นเป็นรูป รู้กลิ่นเป็นนาม ไม่ใช่อย่างนั้น นั้นไม่ใช่เข้าใจลักษณะธรรม ไม่ใช่การศึกษาธรรม
ถ้าการศึกษาธรรมต้องรู้ว่าธรรมมีจริงๆ อยู่ที่ไหน ขณะไหน ขณะที่เสียงปรากฏไม่มีเเข็งปรากฏร่วมด้วยเลย เเต่เสียงก็มีจริงในขณะที่เสียงปรากฏ เเข็งก็มีจริงในขณะที่เเข็งปรากฏ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏ ทางตากำลังปรากฏ ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่แข็ง ทางหูเสียงปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และก็ไม่ใช่เเข็ง เวลาที่กลิ่นปรากฏ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เสียง และก็ไม่ใช่เเข็งด้วย ถูกต้องไหม เป็นกลิ่นที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมหลากหลายมาก เป็นสิ่งมีจริงในชีวิตประจำวัน โดยไม่รู้ว่าเป็นธรรม การศึกษาธรรม ศึกษาให้เข้าใจว่าเริ่มที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งไม่เคยเข้าใจเลย ไม่เคยรู้เลย เห็นก็ผ่านไป ได้ยินก็ผ่านไป กลิ่นปรากฏก็ผ่านไป รสปรากฏก็ผ่านไป ทุกอย่างผ่านไปโดยไม่รู้
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือว่า รู้ว่าสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ก็คือความจริงของสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน แต่เพราะเหตุว่าการเกิดดับของสิ่งที่ปรากฏเร็วมาก ถ้าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีมา ใครจะรู้ความจริงของสิ่งที่เพียงปรากฏเเล้วดับ ทั้งนั้น ไม่ว่านามธรรมหรือรูปธรรม
เพราะฉะนั้นเมื่อครู่นี้เราพูดถึงสิ่งที่มีจริงขณะนี้ และเริ่มรู้ว่าเป็นธรรม เเละเริ่มรู้ว่าสิ่งที่มีจริงมีลักษณะต่างๆ เช่น เเข็งบ้าง ร้อนบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง เป็นสภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้ แต่ปรากฏได้เมื่อมีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ กำลังรู้เฉพาะสิ่งนั้นที่ละอย่างๆ
เพราะฉะนั้นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ มีจริงๆ ขณะที่เห็นมีธาตุที่กำลังเห็น ขณะที่ได้ยินเสียง ก็มีธาตุที่ได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นธาตุรู้มีจริงๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งกำลังปรากฏ
ฉะนั้นเวลามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ เราลืมสภาพรู้ แม้เเต่สิ่งที่ปรากฏก็ไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมซึ่งยากที่จะได้ยินได้ฟัง เพราะเหตุว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ต้องทรงบำเพ็ญพระบารมีมากกว่าจะได้ตรัสรู้ความจริงธรรมดาๆ อย่างนี้ ในชีวิตประจำวัน ทรงรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหมดทั้งปวง โดยประการต่างๆ ด้วยพระมหากรุณาเห็นประโยชน์ของผู้ไม่รู้ ไม่รู้เลย เกิดมาเเล้วก็ต้องเป็นไป แล้วก็จากโลกนี้ไป เรื่องอะไรเกิดมาทำอะไร เกิดมาแล้วก็จากโลกนี้ไป แต่ก่อนจะจากโลกนี้ก็ไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว ทุกวัน ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรัสรู้เเล้ว ทรงพระมหากรุณาให้คนอื่นสามารถที่จะเข้าใจความจริงว่า เกิดจากไหน และแต่ละขณะเกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อจุติจิตขณะสุดท้ายของชาตินี้เกิด ก็ยังต้องมีธาตุซึ่งเกิดสืบต่อ โดยที่คนอื่นไม่สามารจะรู้ได้ อย่างเวลานี้เราไม่รู้หรอกถ้าใครจะสิ้นชีวิตขณะนี้ ไปไหน เขาก็ไม่รู้ เราก็ไม่รู้ แต่ว่ามีกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ก็คือว่าขณะนี้เป็นธรรม ทุกอย่างที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย เป็นธรรมที่ฟัง และรู้ลักษณะของธรรม ไม่ใช่ฟังชื่อ ฟังเรื่อง แล้วก็จำ แต่ก็จะเห็นได้ว่า ลักษณะของธรรมตลอดวันเลย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วรู้อะไร ขณะไหนบ้างหรือไม่
เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาท่านกล่าวว่า มีชีวิตเพื่อความรู้ปรากฏ เวลานี้ความรู้ปรากฏหรือยัง มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสีสันวัณณะ ต่างๆ แล้วก็มีจิตที่กำลังเห็นด้วย มีธาตุที่กำลังเห็น มีความรู้อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ แต่การฟังมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย เป็นความรู้ขึ้นหรือไม่ จากการที่ไม่เคยรู้เลย
เพราะฉะนั้นความรู้เริ่มมี แต่ว่าไม่ใช่เป็นความรู้ที่สามารถเเทงตลอดความจริง ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ ทรงแสดง ให้คนอื่นได้อบรม คำว่าอบรมก็หมายความว่าให้มีความข้าใจถูก ความเห็นถูกเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ศึกษาธรรมโดยละเอียด โดยเข้าใจจริงๆ ทุกคนต้องการสติ ต้องการสติปัฏฐาน ไม่ทราบไปเอาความรู้อะไรมาที่จะเข้าใจว่าสติปัฏฐานคืออะไร แล้วจะรู้อะไร และจะเกิดได้อย่างไร และจะเกิดได้เมื่อไหร่ ก็ไม่มีความรู้ใดๆ เลยทั้งสิ้น
แต่พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออนุเคราะห์ให้ผู้ที่ฟังเข้าใจถูกเห็นถูก เพราะฉะนั้นปัญญาประเสริฐสุด แต่ต้องเป็นการตรงต่อตัวเอง เข้าใจแค่ไหนทั้งๆ ที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ถ้าจะมีความเข้าใจก็ไม่ได้เข้าใจอย่างอื่นเลย เริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นทุกคำที่ทุกคนได้ยินไปแล้ว จำได้ไหม ฟังมาว่าอย่างไร พิจารณาเเล้วเป็นความเข้าใจขึ้น ถูกต้องขึ้นหรือไม่ ที่จะสามารถเข้าใจขึ้นๆ เป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่การที่จะรู้ความจริงของธรรมที่กำลังปรากฏ
ธรรมทั้งหมดสอดคล้องกัน เป็นความจริงทั้งหมด ไม่ว่าจะกล่าวคำอะไรสักคำก็เป็นความจริง เมื่อวานเรากล่าวถึงความไม่รู้อะไรบ้าง ตั้งเเต่เกิดเลย ปฏิสนธิจิตเกิดมีใครรู้ ปฏิสนธิดับมีใครรู้ ปฏิสนธิจิตชั่วขณะที่สั้นมากเกิดขึ้น จิตทุกขณะมีอนุขณะ คือขณะเกิด ไม่ใช่ขณะดับ ขณะดับก็ไม่ใช่ขณะที่เมื่อเกิดเเล้วยังไม่ดับ
เพราะฉะนั้นก็มีอนุขณะ ๓ อนุขณะ " เกิด อุปาทขณะ" " ฐิติขณะ ยังไม่ดับ " "ภังคขณะ ขณะที่ดับ" ทันทีที่ภังคขณะของจิตดับ หมายความว่าไม่มีจิตขณะก่อนเหลือเลย เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด แล้วใครจะไปทำอะไรธรรมได้ จะไปเตรียมตัว จะไปทำอะไร ไม่มีทางเป็นไปได้เลย นอกจากเริ่มเข้าใจธรรมว่าเป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่เรา มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
เพราะฉะนั้นแต่ละคนฟังอย่างนี้ก็ดูธรรมดา ปฏิสนธิจิต จิตขณะเเรกเกิด มาจากไหนสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนเพราะว่าไม่ว่าจิตประเภทใดก็ตาม ทันทีที่ปราศไปหมดไปโดยสิ้นเชิง เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เว้นจุติจิตพระอรหันต์เท่านั้น
เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีเพียงชาตินี้ ตั้งเเต่เกิดจนถึงบัดนี้ แต่นานเเสนนานมาแล้ว ใครก็เปลี่ยนแปลงสภาพของจิตไม่ได้ เพราะจิตเป็นธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วเเล้วไม่เหลือเลย เป็นอย่างนี้ตลอดในสังสารวัฏ เริ่มเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุ เป็นธรรม แล้วก็เวลาที่เป็นภวังคจิตหมายความว่า เมื่อปฏิสนธิจิตคือจิตแรกทำกิจนี้ จิตทุกประเภทที่เกิดต้องทำกิจการงานอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีจิตซึ่งเกิดโดยไม่ทำกิจอะไรเลย
เพราะฉะนั้นขณะเเรกของชาตินี้ก็เป็นกิจของจิตที่เกิดไม่ได้เห็น ไม่ได้ได้ยิน ไม่ได้คิดนึกอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เพราะสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เพราะฉะนั้นนี่คือกิจการงานของจิตซึ่งต้องเกิดทำหน้าที่สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ขณะเดียวลองคิดดูจะเร็วสักเเค่ไหน และชาติหนึ่งๆ ก็มีปฏิสนธิจิตเพียง ๑ ขณะ ดับไปแล้วเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ แต่เมื่อไม่ได้เกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน แต่เกิดสืบต่อจากปฏิสนธิ
เพราะฉะนั้นไม่ได้ทำกิจสืบต่อจากชาติก่อน เป็นกิจเเรกของชาตินี้ แต่ทำกิจสืบต่อจากปฏิสนธิจิตซึ่งเกิดเเล้ว ฉะนั้นจิตนี้ทำภวังคกิจ มาจากคำว่า "ภวะ" กับ "อังคะ" หรือองค์ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลที่เกิดแล้วก็ต้องเป็นอย่างนั้นไป เกิดด้วยจิตประเภทใด ก็จิตประเภทนั้น เกิดดับดำรงความที่เป็นผลของกรรมที่ทำให้จิตประเภทนั้นเกิด จนกว่าจะถึงขณะสุดท้ายคือจากโลกนี้ไป ซึ่งแต่ละคนรู้ไหมว่าเมื่อไหร ไม่มีทางรู้เลย แต่ระหว่างไม่รู้ก็ไม่รู้สิ่งที่มีด้วย ไม่รู้อะไรเลยสักอย่าง แล้วก็จากโลกนี้ไปด้วยความไม่รู้ ชาติก่อนมาจากไหนก็ไม่รู้ ชาตินี้จากไปแล้วพอถึงชาติหน้าก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นชัดเจนที่สุด ชาตินี้เป็นชาติก่อนของชาติหน้า ไม่ต้องไปนั่งระลึก เราทำอะไรไว้บ้างที่ไหน อย่างไร เพราะว่าขณะนี้ก็คือสิ่งทุกคนรู้ชัดว่า จะต้องเป็นชาติก่อนของชาติหน้า แล้วก็เป็น ณ กาลครั้งหนึ่ง อีกแสนนาน แต่ถ้าไม่ถึงคิดอย่างนั้น ก็คือแม้ขณะเมื่อกี้นี้ก็ ณ กาลหนึ่งซึ่งเกิดเเล้วไม่กลับมาอีกเลย
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ไม่ใช่ให้ท้อถอย ฟังเเล้วท้อถอยได้อย่างไร ฟังเเล้วก็เข้าใจต่างหาก แต่คนท้อถอยอยากจะได้อะไร เบื่อแล้ว ฟังแล้ว ก็ไม่ได้ผลอะไรสักที พูดแต่เรื่องสิ่งที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ซ้ำไป ซ้ำมา อย่างนี้ได้ประโยชน์อะไร ไม่เห็นมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เเต่นั่นไม่ถูกต้อง ต้องการอะไรจากการฟัง ฟังแล้วเข้าใจใช่ไหม ก็ได้สิ่งที่ต้องการแล้วไง ฟังเพื่อเข้าใจก็เข้าใจจะต้องเดือดร้อนอะไร จะต้องเบื่ออะไร จะต้องหวังอะไร ยิ่งฟังยิ่งเข้าใจ ถูกต้องไหมก็เป็นประโยชน์ เมื่อเข้าใจขึ้นก็ต้องเป็นประโยชน์
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ธาตุรู้เสียง กับธาตุรู้เเข็ง เป็นธาตุรู้เหมือนกันไหม
ท่านอาจารย์ รู้เสียงเวลาเสียงปรากฏ รู้เเข็งเวลาแข็งปรากฏ จะไม่รุ้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเหมือนกันไหม เกิดขึ้นรู้
ผู้ฟัง เหมือนกัน เเต่ว่า ธาตุรู้ทางกาย กับธาตุรู้ทางหูจะมารู้ทางกายก็ไม่ได้ ธาตุรู้ทางกายก็จะไปรู้ทางหูก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่รู้เป็นรู้ ไม่ใ่ช่เเข็ง รู้เป็นรู้ ไม่ใ่ช่เสียง รู้จะเป็นอย่างอื่นได้ไหม รู้จะเป็นไม่รู้ได้ไหม รู้จะเป็นชอบได้ไหม รู้จะเป็นโกรธได้ไหม หรือรู้เป็นรู้เกิดขึ้นรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เเม้ว่าในขณะที่สภาพรู้หรือธาตุรู้เกิด จะมีนามธาตุรู้เกิดร่วมด้วย ใช้คำว่านามธาตุ เพราะเหตุว่าเป็นธาตุที่สามารถจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งเมื่อเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นธาตุใดก็ตามที่เกิดเเล้วรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นนามธาตุทั้งหมด หลากหลาย แต่ขณะที่พูดถึงเห็น ได้ยิน เห็นคือกำลังรู้สิ่งที่มีปรากฏให้เห็นขณะนี้ เเล้วเวลาที่เสียงปรากฏ ก็รู้เสียงที่ปรากฏ เป็นเสียงนั้นที่กำลังปรากฏให้ได้ยิน ไม่ใช่เสียงอื่น
เพราะฉะนั้นสภาพรู้ก็รู้ แต่ไม่ใช่โกรธ ไม่ใช่ชอบ
ผู้ฟัง แล้วอย่างนี้สภาพรู้ก็รู้เหมือนกัน แต่ก็มีความต่างกัน
ท่านอาจารย์ ที่สิ่งที่ถูกรู้ต่างกัน ต่างกันโดยอารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ ฉะนั้นขณะที่ได้ยิน ธาตุรู้ไม่ได้เปลี่ยนเกิดขึ้นต้องรู้ เปลี่ยนไม่ได้เลย เเต่รู้อะไรรู้เสียง เวลาที่แข็งปรากฏธาตุรู้ก็ต้องเกิดขึ้นไม่รู้ไม่ได้ รู้รู้อะไรก็รู้เเข็งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นต่างที่อารมณ์ แต่ธาตุรู้เป็นธาตุรู้ เกิดเมื่อไหร่ก็ต้องรู้
ผู้ฟัง อันนี้ก็เข้าใจว่า เห็นกับได้ยินคนละขณะ
ท่านอาจารย์ คนละขณะ แต่รู้เป็นรู้ จะเปลี่ยนรู้ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง รู้ทางตากับรู้ทางหูจะต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตามี มีธาตุที่เห็นสิ่งที่ปรากฏ รู้คือเห็น เวลาที่เสียงปรากฏ รู้คือได้ยิน เห็นไม่ใช่เห็นเสียง ได้ยินไม่ใช่ได้ยินสิ่งที่ปรากฏทางตา ฉะนั้นธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ ตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดธาตุรู้ ซึ่งเกิดขึ้นรู้เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งกำลังปรากฏ แต่ไม่ได้รู้ว่าขณะนั้นมีธาตุรู้ที่กำลังรู้
อย่างขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏอย่างนี้เลย แล้วมีใครรู้ว่ามีธาตุที่รู้กำลังเห็น หรือเห็นอย่างนี้แหละไม่มีรูปร่างเลย แต่ลักษณะที่เห็น สภาพที่เห็นเป็นธาตุมีจริง กำลังเห็น เมื่อไหร่เข้าใจอย่างนี้ ก็คือจากการที่ฟังแล้วฟังอีกแล้วก็ไม่ลืม ที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ โดยไม่ใช่เราไปบังคับด้วย อาศัยการที่เคยฟังบ่อยๆ เพราะว่าฟังครั้งเดียวลืมแน่ ได้ยินเรื่องอะไรครั้งเดียวก็ลืม แต่เราจะคิดถึงสิ่งที่เราคุ้นเคย
เพราะฉะนั้นยังไม่คุ้นเคยกับตัวธรรม แต่คุ้นเคยเพียงชื่อธรรม
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ทำไมรู้ทางตาถึงไม่มารู้ทางหู ในเมื่อรู้เหมือนๆ กัน
ท่านอาจารย์ แล้วปฏิสนธิจิตทำไมไม่เห็น
ผู้ฟัง เพราะทำกิจต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตเห็นทำกิจอะไร ถ้าจะใช้คำว่ากิจ
ผู้ฟัง จิตเห็นก็ทำทัสสนกิจ
ท่านอาจารย์ ตอบได้หมดเลย เป็นชื่อทั้งนั้นเลย เป็นชื่อทั้งนั้นแต่ขณะนี้กำลังเห็นก็มีความสงสัยจิตนี้ทำไมไม่ทำกิจนั้น จิตนั้นทำไมไมทำกิจนี้ ไม่ต้องเรียกชื่อเลย อย่างเห็นไม่ต้องเรียกชื่อว่าจักขุวิญญาณ กำลังทำทัสสนกิจ ก็เห็นแล้วต้องไปเรียกอะไร แต่ถ้าอยากจะให้รู้ว่า หมายความถึงขณะจิตไหนก็จำเป็นต้องใช้ชื่อ ว่าที่กำลังเห็นต้องอาศัยจักขุปสาท ถ้าไม่มีจักขุปสาทจิตนี้เกิดขึ้นไม่ได้เลย และจิตนี้ยังเกิดที่จักขุปสาทด้วย
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า หมายความถึงเฉพาะจิตที่เกิดที่จักขุปสาท และกำลังทำกิจเห็นเท่านั้น เพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมาก มีจิตอื่นอีกมากมายที่ไม่รู้ แต่จิตก็เกิดทำกิจการงานของจิตแต่ละประเภท แล้วเราจะไปสงสัยอย่างไร ในเมื่อขณะนี้มีเห็นที่ต้องอาศัยจักขุปสาท เวลาได้ยินไม่ต้องอาศัยจักขุปสาทเลย แล้วจะไปบอกทำไมจิตได้ยินไม่เห็น จิตเห็นไม่ได้ยิน ก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัยที่ต่างกัน สิ่งที่ปรากฏให้รู้ก็ต่างกัน
อ.วิชัย ขอสนทนากับพี่สุกัญญา จิตเกิดทีละขณะๆ คือลักษณะของจิตไม่เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นก็เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เเจ้งอารมณ์ จิตเกิดขึ้นก็ต้องมีกิจด้วย แล้วเเต่ว่าจิตเกิดขึ้นจะทำกิจใดทั้งหมด ๑๔ กิจ ที่เราทราบกันอยู่ ฉะนั้นจิตแต่ ละประเภทที่เกิดขึ้นก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างให้จิตนั้นเกิดขึ้นเป็นไป จิตแต่ละประเภทก็ไม่ใช่มีประเภทเดียว แม้เราจะรู้ลักษณะของจิตว่าเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เเจ้งอารมณ์ แต่จิตที่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย และจิตที่เกิดขึ้นก็มีธรรมที่เกิดร่วมกันกับจิตคือเจตสิกแตกต่างกันออกไปอีก ดังนั้นจิตก็เกิดทีละขณะๆ โดยอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวสักครู่นี้ ฉะนั้นจิตที่จะเกิดทางตาก็ต้องอาศัยปัจจัยให้เกิดขึ้น คือต้องอาศัยตา ในการที่จะเป็นทางเป็นทวารให้จิตเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องทำกิจหน้าที่ ขณะเเรกทางตาทำอาวัชชนกิจ ขณะที่ ๒ ทำกิจทัสสนกิจ คือกิจเห็น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660