พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
ตอนที่ ๖๒๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ผู้ฟัง ขอถามเพิ่มเติม สิ่งที่ปรากฏทางตาก็หมายถึงว่า มีสี มีสีที่สามารถกระทบกับจักขุปสาทรูปได้ ตรงนั้นหมายถึงสิ่งที่ปรากฏได้ทางตาเท่านั้น อันนี้เข้าใจถูกต้องใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อันนี้จำ
ผู้ฟัง แล้วถ้าเป็นเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจเดี๋ยวนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง มีสิ่งที่กำลังปรากฏก็คือหมายถึงมีสี
ท่านอาจารย์ หมายอีกแล้ว ก็ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นจริงๆ ว่ามีสิ่งนี้ จริง หรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ มีจริงๆ เป็นรูปหรือไม่
ผู้ฟัง มีจริงๆ เป็นรูป
ท่านอาจารย์ กระทบจักขุปสาทจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง จากการศึกษามีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จากการศึกษา เดี๋ยวนี้เรากำลังเข้าใจธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ นี่คือการศึกษา ไม่ใช่ตำราเล่มนั้น หน้านั้น ข้อนั้นบันทัดนี้ เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น จริงหรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ สิ่งนี้กระทบจักขุปสาทได้ จริงหรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่มีทางที่สิ่งนี้จะปรากฏได้ว่ามี เพราะฉะนั้น รูปนี้เป็นรูปที่กระทบได้เฉพาะจักขุปสาท จริงหรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ตำราเล่มไหน
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้ สิ่งที่ปรากฏขณะนี้เพราะกระทบกับจักขุปสาท เพราะจักขุปสาทเป็นรูป รูปเดียวที่สามารถจะกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ก็เป็นรูป รูปเดียวที่สามารถจะกระทบกับจักขุปสาทได้ ใครทำ
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม ทุกขณะหรือไม่
ผู้ฟัง ทุกขณะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าสิ่งที่ปรากฏทางตากระทบกับจักขุปสาท แต่ไม่มีจิตเห็นเกิด สิ่งนี้ปรากฏได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จริงหรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ นี่คือขณะนี้เห็นเป็นอะไร
ผู้ฟัง ขณะเห็นเป็นจิตเห็น
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งใช้คำว่าจิตเพราะกำลังเห็น ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ คือเดี๋ยวนี้เอง กำลังกระทบ และสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ก็มี ให้เข้าใจขึ้น นี่คือการศึกษาธรรม ซึ่งก่อนการตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ ไม่ได้สนใจอย่างอื่นเลย แต่สนใจที่จะเข้าใจความจริงในชีวิต ที่มีในขณะนั้นว่าเป็นอะไร ความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร
เพราะฉะนั้น คนที่ศึกษาธรรมก็รู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม สามารถที่จะเข้าใจได้ตามความจริงซึ่งมีผู้ที่ทรงตรัสรู้ และทรงอนุเคราะห์แสดงพระธรรมให้เข้าใจ ขณะที่กำลังเห็น เข้าใจในขณะที่กำลังเห็น แยกได้เลยว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ธาตุที่กำลังเห็น ค่อยๆ เข้าใจที่ละเล็กทีละน้อย นี่คือปริยัติ ถ้าไม่มีปริยัติจะไม่มีการเข้าใจขณะนี้ที่กำลังเห็น เพราะขณะใดก็ตามที่เข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างนี้ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง และธาตุที่กำลังเห็นก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น แต่สามารถเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะที่กำลังฟัง และเข้าใจในสิ่งที่มี ต้องใช้คำว่าสติปัฏฐานไหม ต้องใช้คำว่าปัญญาไหม ในเมื่อเป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่เราไปติดชื่อโดยที่เราไม่รู้เลยว่าหมายความถึงอะไร ขณะไหน เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็ไม่ใช่การศึกษาธรรม
ผู้ฟัง ชื่อพนิดา เห็นคำถามมาทางรูป ก็จะถามทางด้านเรื่องรูปเหมือนกันเพราะว่าที่เรียนมาจะมีรูปที่เกิดกับจิตที่เรียกว่าจิตตชรูป ซึ่งในหนังสือท่านอาจารย์จะเขียนบอกว่า รูปชนิดนี้จะเกิดเพราะจิต
ท่านอาจารย์ จิตเป็นสมุฏฐาน มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นธรรมที่ก่อตั้งให้เกิดรูปนั้น
ผู้ฟัง แล้วธรรมนี้ก็จะดับไปพร้อมจิต
ท่านอาจารย์ จิตตชรูปมี ๒ รูป ที่เกิดดับพร้อมจิตคือ
ผู้ฟัง กายวิญญัติ กับวจีวิญญัติ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ทีนี้เมื่อกี้นี้บอกว่ารูปที่เล็กที่สุดคือ ๑ กลาป จะต้องมี ๘ รูปที่เรียกว่าอวินิพโภครูป ๘ เพราะฉะนั้น กลาปนี้ก็มีจิตตชรูปเกิดขึ้นมาด้วย แต่ว่ารูปปกติจะต้องเกิดดับ ๑๗ ขณะ แต่ว่ารูปชนิดนี้ดับไปพร้อมจิตแสดงว่า ในกลาปนั้นบางครั้งถ้ามีรูปนี้เกิดขึ้นก็จะดับไปก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง พร้อมจิต แต่ที่เหลือต้อง ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ธรรมไม่เปลี่ยน เมื่อทรงแสดงความละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้นเป็นจริงอย่างไร ก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้น
เชิญคุณวิชัย
อ.วิชัย ไม่ทราบว่าคุณบุษกรลืมเรื่องรูปบ้าง หรือยัง หรือว่ายังพอจำได้อยู่ เพราะส่วนตัวเองศึกษาแล้วก็จะมีคล้ายๆ วิธีการจำ ความจริงแล้ว รูปทรงแสดงไว้ทั้งหมด ๒๘ รูป ทรงแสดงที่เป็นนิปผันนรูปคือรูปที่เกิดจากสมุฏฐานมีลักษณะเป็นของตนเองเช่นมหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๔ ที่เรียกว่าอวินิพโภครูป ๘ ปสาทรูปต่างๆ เป็นนิปผันนรูปเป็นรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีลักษณะเป็นของตนเอง และส่วนอนิปผันนรูปคือเป็นรูปที่ไม่มีลักษณะเป็นของตนเอง เป็นรูปที่ต้องอาศัยภาวรูป คือถ้าจะจำแนกออกเป็น ๒ อย่างก็ได้คือนิปผันนรูปกับอนิปผันนรูป หรือสภาวรูป และอสภาวรูป ซึ่งถ้าเป็นสภาวรูปจะมีอยู่ ๑๘ รูป ถ้าเป็นอสภาวรูปก็จะมีอยู่ ๑๐ รูป คือจะแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ถ้าเรากล่าวถึงอสภาวรูปก่อน วิธีการคือนับ ๑ ๒ ๓ ๔ มีปริจเฉทรูป ๑ กายวิญญัติ วจีวิญญัติก็เป็นวิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณะรูป ๔ นี่ก็จะเป็นอสภาวรูป คือรูปที่ไม่มีภาวะเป็นของตนเอง เป็นรูปที่ต้องอาศัยสภาวรูป ส่วนอีก ๑๘ รูปที่เหลือ ถ้ากล่าวถึงรูปที่กลุ่มเล็กที่สุดจะมีอยู่ ๘ รูป คือมหาภูตรูป ๔ สี กลิ่น รส โอชา เป็น ๘รูป แล้วก็มีปสาทรูป ๕ คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป ก็เหลืออีก ๕ รูป ก็มีภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ และสัททรูป ๑ ดังนั้น การศึกษาถ้าเราเข้าใจในรูปว่า รูปก็จะมีการจำแนกออกเป็นหลายอย่างเช่นบางแห่งทรงแสดงเช่นรูปที่กระทบได้ และรูปที่กระทบไม่ได้ รูปที่เห็นได้กระทบได้ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบได้ รูปที่เห็นไม่ได้ด้วย และกระทบไม่ได้ด้วย ถ้าพิจารณาคำว่า "รูปที่กระทบได้" ก็จะมีอยู่ทั้งหมด ๑๒ รูป อย่างเช่นกล่าวถึงรูปขณะนี้ก็มีการกระทบกันอยู่ จักขุปสาทรูปกระทบกับรูปอะไร
ผู้ฟัง สี
อ.วิชัย คือวัณณรูป หรือว่าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ก็กำลังกระทบกับปสาทรูป ปสาทรูปเป็นรูปที่กระทบได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
อ.วิชัย ได้ วัณณรูปเป็นรูปที่กระทบได้ไหม
ผู้ฟัง วัณณรูปเป็นรูปที่กระทบได้
อ.วิชัย คือกระทบกับ
ผู้ฟัง จักขุปสาทรูป
อ.วิชัย จักขุปสาทรูป ยังมีรูปอื่นที่กระทบอีกได้ไหม
ผู้ฟัง มี
อ.วิชัย เช่นอะไรบ้าง
ผู้ฟัง เช่นกลิ่น เสียง
อ.วิชัย กลิ่นกระทบกับรูปอะไร
ผู้ฟัง ฆานปสาทรูป
อ.วิชัย กลิ่นจะกระทบกับจักขุปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย ไม่ได้ ดังนั้น รูปก็จะมีการกระทบกัน แต่รูปที่เห็นได้ด้วย และกระทบได้ด้วยมีกี่รูป
ผู้ฟัง รูปเดียว คือสี
อ.วิชัย สี หรือวัณณรูป รูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้มีกี่รูป ทางหูเสียงกระทบกับโสตปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง กระทบกับโสตปสาทรูปได้
อ.วิชัย แต่ว่าจิตจะเห็นเสียงได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย เสียงเป็นรูปที่กระทบได้แต่ว่าก็เห็นไม่ได้ จักขุปสาทรูปกระทบกับวัณณรูปแต่จะเห็นจักขุปสาทรูปได้ไหม จิตเห็น เห็นจักขุปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง จิตเห็น เห็นจักขุปสาทรรูปไม่ได้
อ.วิชัย ดังนั้นมีแค่รูปเดียวเท่านั้นคือวัณณรูปที่เป็นรูปที่เห็นได้ แต่รูปอีก ๑๑ รูปที่เหลือกระทบได้ แต่ว่าเห็นไม่ได้ เพราะว่ารูปที่กระทบได้จะมีทั้งหมด ๑๒ รูปคือวิสยรูป ๗ รูป และปสาทรูปอีก ๕ รูปเป็นรูปที่กระทบได้ แต่รูปที่เห็นได้ด้วย และกระทบได้ด้วยมีเพียงแค่รูปเดียว ก็คือวัณณรูป หรือสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ทางตา รูปที่เหลือทั้งหมดเห็นไม่ได้แต่ว่ากระทบได้ คือกระทบรูปที่มากระทบขณะนั้น เช่นโสตปสาทรูปกระทบกับเสียง ฆานปสาทรูปกระทบกับกลิ่น ชิวหาปสาทรูปกระทบกับรส กายปสาทรูปกระทบกับเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหวก็กระทบกัน แต่ว่ารูปที่เหลือทั้งหมด ๑๑ รูปเห็นไม่ได้เพราะเห็นได้เพียงแค่รูปเดียวเท่านั้นก็คือวัณณรูป
ผู้ฟัง แล้วคำว่าวิสยรูป ๗ หมายถึงว่าที่รู้ได้ก็คือมี ๗ รูป
อ.วิชัย รูปที่เป็นอารมณ์ของจิตโดยปกติ โดยปกติแล้วจะมีอยู่ ๗ รูป ตือทางตาจิตรู้วัณณรูป หรือรูปารมณ์ ทางหูจิตก็รู้เสียง ทางจมูกจิตรู้กลิ่น ทางลิ้นจิตรู้รส ทางกายจิตก็รู้โผฏฐัพพะ ซึ่งสี กลิ่น รส เสียง และโผฏฐัพพะก็เป็นวิสยรูป คือเป็นรูปที่เป็นอารมณ์แก่จิต
อ.อรรณพ ขอเสริมในเรื่องรูปที่กระทบได้ จริงๆ ท่านอาจารย์ท่านก็คิดว่าถ้าเอาไปทีละ ๒๘ รูปก็ไม่เหลือสักรูปก็ค่อยๆ ไป ความเข้าใจก็เอาเพียงแค่นี้เพราะสนทนามาแล้วกับอาจารย์วิชัย ว่ารูปที่กระทบได้มีเพียง ๑๒ รูปคือสีกระทบกับตา หรือจักขุปสาทรูป เสียงกระทบกับหู หรือโสตปสาทรูป กลิ่นกระทบกับจมูก หรือฆานปสาทรูป รสกระทบกับลิ้น หรือชิวหาปสาทรูป ส่วนโผฏฐัพพะธาตุมี ๓ คือธาตุไฟเย็นร้อนก็กระทบกับกายปสาท ตึงไหวก็กระทบกับกายปสาท อ่อนแข็งก็กระทบกับกายปสาท
เพราะฉะนั้น ธาตุดินคือสภาพที่อ่อน หรือแข็ง ธาตุไฟคือสภาพที่ร้อน หรือเย็น และธาตุลมคือสภาพที่ตึง หรือไหวก็ปรากฏทางกาย แล้วสีก็ไปกระทบกับหู จมูก ลิ้น กายไม่ได้ ลองง่ายๆ จับสีแดงได้ไหม ความรู้ที่เราฟังเป็นประโยชน์อย่างไร ทำให้เราเข้าใจความจริงแล้วไม่สับสน เพราะมหาภูตรูปคือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แต่ที่ปรากฏทางกายมีเพียง ๓ มีดิน ไฟ และลม ถ้ามีก้อนหินสองก้อน ก้อนหนึ่งสีแดง ก้อนหนึ่งสีเขียว บอกให้จับก้อนหินสีเขียว เราก็จับก้อนหินสีเขียว แล้วจับสีแดง เราเข้าใจว่าเราหยิบจับกระเป๋าสีแดงนั้นได้ นี่คือไม่ได้ศึกษาธรรม แต่เราจับกระเป๋าสีแดงได้อย่างไร เพราะฉะนั้น สีจะกระทบกับกายปสาทได้ไหม และในขณะเดียวกัน แข็งจะกระทบกับจักขุปสาทรูปได้ไหม ไม่ได้ อย่างเราเห็น เราเห็นแข็งไม่ได้ แต่เราคิดถึงความแข็งได้ เพราะว่าเคยมีสภาพที่แข็งกระทบกับกายปสาท แล้วเป็นปัจจัยให้จิตเกิด เมื่อมีสภาพที่แข็งกระทบกับกายปสาทแล้วมีจิตรู้แข็งนั้นเกิด จึงมีสภาพของผัสสะที่กระทบ มีแข็ง มีกายปสาทแล้วมีจิต ถ้าจิตเกิดเมื่อไรก็ต้องมีผัสสะเกิดขึ้นขณะนั้น
เพราะฉะนั้น เราเห็นแข็งไม่ได้ แต่เราคิดถึงแข็ง เห็นไหวได้ไหม เห็นต้นไม้กำลังไหว บางคนนึกว่าเขาเห็นต้นไม้กำลังไหวแต่ความจริงเห็นสี หรือบางคนเห็นพัดลม คิดถึงความไหว หรือความเย็นที่ปรากฏที่กาย เห็นไม่ได้ เห็นสภาพที่ไหวไม่ได้ เพราะสภาพที่ไหวกระทบกับกายปสาทเท่านั้น แต่เนื่องจากเคยมีธาตุไหวที่กระทบกับกายปสาท แล้วมีจิตที่รู้สภาพไหวนั้น จำไว้ เห็นอะไรอย่างนี้ก็นึกแล้วเหมือนเห็นการไหว เหมือนสิ่งของต่างๆ เป็นเรื่องราวหมดเลย
เพราะฉะนั้นที่เราสนทนากันเรื่องสภาพธรรมทำให้เราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยที่เป็นรูป แล้วไม่สับสนกัน เพราะฉะนั้น สีก็ต้องกระทบตาไปกระทบหู จมูก ลิ้น กาย ก็ไม่ได้ เสียงก็กระทบได้เฉพาะหู จะไปกระทบตา กระทบจมูก กระทบลิ้น กระทบกายก็ไม่ได้ อ่อนแข็ง เย็นร้อนทั้งหลายก็กระทบกายได้อย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่สับสนเมื่อมีความเข้าใจ แม้สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยที่เป็นรูปธรรม ก็เข้าใจตามความเป็นจริง รูปที่กระทบได้จึงมีเพียง ๑๒ รูป คือรูปที่เป็นภายนอก ๗ รูปได้แก่อะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นสี ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ เย็นร้อน ๑ อ่อนแข็ง ๑ ตึงไหว ๑ นี้เรียกว่ารูปภายนอก
อ.อรรณพ ๗ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ๗ รูปที่กระทบได้
อ.อรรณพ แล้วกระทบกับอะไร
ผู้ฟัง กระทบกับปสาทรูป
อ.อรรณพ สีกระทบกับจักขุปสาทรูป เสียงกระทบกับอะไร
ผู้ฟัง โสตปสาทรูป กลิ่นกระทบกับฆานปสาทรูป รสกระทบกับชิวหาปสาทรูป
อ.อรรณพ แล้วที่กระทบทางกายมีรูปอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ที่กระทบกับทางกายได้ก็มีเย็นร้อน
อ.อรรณพ เย็นร้อนกระทบอะไร
ผู้ฟัง เย็นร้อนกระทบกับกายปสาทรูป อ่อนแข็งก็กระทบกับกายปสาทรูป ตึงไหวก็กระทบกับกายปสาทรูป
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้น ธาตุดินคืออ่อนแข็ง ธาตุไฟคือเย็นร้อน แล้วธาตุลมคือตึงไหวก็กระทบกับกายปสาท กระทบทางกาย เพราะฉะนั้น รูปทั้ง ๓ นี้ก็รวมเรียกว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ คือสภาพธรรมที่ปรากฏที่กายมี ๓ รูป เพราะฉะนั้น รูปที่ภายนอก ๗ รูปเป็นรูปที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นโคจร โคจรรูป คือเป็นอารมณ์อยู่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเป็นวิสัย วิสยรูปที่สามารถที่จะรู้ลักษณะสภาพของเขาได้ และกระทบกับสิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ว่าเป็นปสาทรูปเป็นรูปที่เหมาะควรสามารถกระทบกับรูปเหล่านี้ แต่ต้องไม่สับสนกันด้วย เพราะสีกระทบกับจักขุปสาทเท่านั้น สีจะกระทบกับหู จมูก ลิ้น กายปสาทไม่ได้ เพราะฉะนั้นรูป ๗ บวก ๕ เป็น ๑๒ รูปเป็นรูปที่กระทบได้
ผู้ฟัง สักครู่ท่านอาจารย์สนทนากับคุณศุภชัย คำถามว่าสีอยู่ที่ไหน และได้คำตอบว่า อยู่ที่มหาภูตรูป ๔ ทีนี้ก็สงสัยว่าแล้วเสียง กัมมชรูป ปสาทรูปอยู่ที่มหาภูตรูป ๔ ด้วย หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีมหาภูตรูป ๔ รูปใดๆ เกิดไม่ได้เลย
ผู้ฟัง นั่นหมายความสภาวรูปทุกรูปก็คือเกิดกับมหาภูตรูป ๔ เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่ารูปเหล่านี้อยู่ที่ไหน ก็คือเกิดกับมหาภูตรูป ๔
ท่านอาจารย์ จะไปเกิดอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ก็ต้องอยู่ที่มหาภูตรูป ๔
ท่านอาจารย์ เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน
เชิญคุณไชยา
ผู้ฟัง แล้วมหาภูตรูป ๔ อยู่ที่ไหน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่กระทบอยู่ไหน เกิดแล้วดับแล้วตามเหตุตามปัจจัย รูปมีปัจจัยคือสมุฏฐานเกิดแล้วดับ รูปใดไม่ปรากฏรูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เร็วมาก รู้สึกตัวไหมว่ามีรูปอยู่ตรงไหนบ้าง
ผู้ฟัง บางขณะ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้รู้สึกตัวไหม ว่ารูปอยู่ตรงไหนบ้าง ตรงไหนเป็นรูป
ผู้ฟัง รู้สึก แข็ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อกี้คำถามว่าอย่างไร
ผู้ฟัง มหาภูตรูปอยู่ที่ไหน
ท่านอาจารย์ แข็งเป็นมหาภูตรูป ปรากฏลักษณะแข็ง ดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รูปแข็งอื่นที่ไม่ปรากฏ เกิดตามสมุฏฐานต่างๆ ดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ รูปใดไม่ปรากฏ รูปนั้นก็เกิดแล้วดับแล้ว
เชิญคุณอรวรรณ
ผู้ฟัง เมื่อศึกษาแล้วนั่นเข้าใจว่า สภาพธรรมเกิดแล้วดับ คำถามว่ามหาภูตรูปอยู่ที่ไหน ถ้าศึกษาเข้าใจ ดูเหมือนธรรมทั้งรูปทั้งนามก็เกิดดับ แต่ว่ารู้ต่อเมื่อปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏให้รู้ได้ ก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้จิต เจตสิก รูปก็เกิดดับไปเท่าไรแล้ว
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่รู้เลย แต่รู้ว่าเกิดดับมากมายโดยไม่ปรากฏ สัมปฏิจฉันนจิตเกิด หรือไม่ เกิดแล้วดับ หรือไม่ แล้วปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง เกิดแล้วดับ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นก็คือกลับมาสู่ว่าเหมือนทุกคนยังยึดว่าอะไรเที่ยง ก็เลยไปคิดว่าเขาจะอยู่ที่ไหน แต่ถ้าศึกษาจริงๆ แล้วเขาก็เกิดดับตามเหตุปัจจัยที่ให้เกิดให้ดับนั้น แล้วเราก็ศึกษาให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ให้ทราบว่าไม่มีอะไรเหลือเลย ถ้าพูดถึงเห็น ก็ขณะนั้นไม่มีอย่างอื่นเลยนอกจากเห็น ถ้าพูดถึงเสียงขณะนั้นก็ไม่มีอย่างอื่น จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะรู้ทีละหนึ่งอารมณ์ เพราะฉะนั้น จะมีอย่างอื่นรวมปรากฏด้วยไม่ได้ และก็ทั้งหมดก็เกิดแล้วดับแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ จะเป็นใคร อยู่ที่ไหน นอกจากเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมเพื่อรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม ซึ่งเพียงมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก
อ.วิชัย ขอสนทนากับคุณไชยา มหาภูตรูป ๔ มีกี่รูป มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง มหาภูตรูป ๔ มี ๔ รูป มีดิน น้ำ ไฟ ลม
อ.วิชัย จะเกิดโดยแยกจากกันได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย ธาตุดินเกิดขึ้นต้องมีธาตุ
ผู้ฟัง น้ำ ไฟ ลม
อ.วิชัย ธาตุน้ำเกิดขึ้นต้องมีธาตุ
ผู้ฟัง ดิน ลม ไฟ
อ.วิชัย เมื่อกล่าวถึงธาตุใดก็ต้องมีธาตุที่เหลืออยู่ ๓ ธาตุ เพราะเหตุว่าต่างต้องอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ต่างก็ต้องเป็นปัจจัยแก่กัน และกัน ธาตุดินเกิดก็ต้องมีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเป็นปัจจัยให้ธาตุดินนั้นเกิดขึ้น ธาตุน้ำจะเกิดขึ้นได้ต้องมีธาตุดิน ไฟ ลม เป็นปัจจัยให้ธาตุน้ำนั้นเกิดขึ้น ดังนั้นธาตุทั้ง ๔ ต่างต้องอาศัยกัน และกัน และต่างก็เป็นปัจจัยแก่กัน และกันด้วย ซึ่งต่างกับมหาภูตรูปกับอุปาทายรูป อุปาทายรูปคือรูปที่อาศัยมหาภูตรุป มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยให้อุปาทายรูปเกิดขึ้น แต่อุปาทายรูปไม่ได้เป็นปัจจัยให้มหาภูตรูป ๔ นี้เกิดขึ้น เพราะอุปาทายรูปหมายถึงรูปที่อาศัยมหาภูตรูปจึงเกิดขึ้นได้ ดังนั้นมหาภูตรูปเป็นปัจจัยให้อุปาทายรูปเกิด แต่พูดถึงมหาภูตรูปทั้ง ๔ ต่างต้องเป็นปัจจัยแก่กัน และกัน ธาตุดินต้องอาศัยธาตุน้ำ ไฟ ลม คือต่างต้องอาศัยกัน และกัน ต่างต้องเป็นปัจจัยแก่กัน และกันเกิดขึ้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660