พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
ตอนที่ ๖๐๓
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม บัญญัติมีไม่ได้ แต่เมื่อมีปรมัตถธรรม แต่ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นรู้เฉพาะธาตุที่เห็นว่า เป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ก็มีวิญญาณนิมิต แล้วก็สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสีสันวัณณะต่างๆ ก็จำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะไม่ปรากฏเลยว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้เกิดแล้วดับอย่างเร็วมาก
ด้วยเหตุนี้จึงจำนิมิตเป็นบัญญัติในใจ คน โต๊ะ เก้าอี้ แต่ความจริงก็คือนิมิตของสิ่งที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก ถ้าไม่มีสภาพที่จำ ก็ไม่มีการจะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่นิมิตที่มี และสัญญาที่จำก็จำส่วนต่างๆ นิมิตต่างๆ เป็นนิมิตของสิ่งที่จำไว้ในใจว่า นี่เป็นสิ่งหนึ่ง นี่เป็นสิ่งหนึ่ง นี่เป็นสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต่างๆ กันไป โดยยังไม่มีเสียง เด็กที่เพิ่งเกิดได้ยินเสียงไหม เห็นไหม เห็นนิมิต หรือไม่ ทำไมงง เป็นธรรม เป็นธรรมดา เป็นชีวิตจริงๆ เห็นเกิดดับ แล้วรูปที่ปรากฏก็เกิดดับ แล้วมีสีสันต่างๆ แล้วจะไม่เห็นนิมิต หรือ เด็กมีแค่เห็นเท่านั้นหรือ ในเมื่อสิ่งที่เห็น ไม่ว่าใครเห็นก็ตาม ก็เกิดดับจนกระทั่งเป็นนิมิต เมื่อมีนิมิตต่างๆ สัญญาก็จำ ตอนต้นๆ ก็จำไม่เก่ง เกิดมา เพราะไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่ปรากฏทางตา จะไปจำอะไรได้ แต่พอคุ้นเคยกับสีสันต่างๆ รูปร่างสัณฐานต่างๆ
เด็กรู้ไหมว่าอะไรเป็นอะไร เพราะนิมิตของสิ่งที่ปรากฏ แต่แม้ว่าจะมีบัญญัติที่รู้ว่า สิ่งนี้ต่างกับสิ่งนั้น แต่ยังไม่มีเสียง เด็กพูดได้ไหมพอเกิดมา แต่ได้ยินเสียงเป็นนิมิตของเสียงอีก เสียงสูงๆ ต่ำๆ ต่างกัน เป็นเสียงเดียวหรือหลายเสียง มีความจำเกิดขึ้นในความสูงความต่ำ นิมิตต่างๆ และในที่สุดเมื่อมรการจำเสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำๆ วันหนึ่งเด็กนั้นก็เปล่งเสียงนั้นออกมาได้ เพราะจำจนสามารถเปล่งคำนั้นออกมา นี่คือบัญญัติ สิ่งที่ปรากฏเรียกชื่อต่างๆ พ่อ แม่ เพื่อนฝูง หรืออะไรก็แล้วแต่
นี่คือการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วมากของปรมัตถธรรม ทำให้มีนิมิต และมีบัญญัติ แม้ไม่เอ่ยชื่อเลย ก็เป็นอรรถ ความหมายของสิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ จนกระทั่งมีเสียง ก็เป็นสัททบัญญัติ เสียงสูงเสียงต่ำของแต่ละภาษาก็มีความหมายต่างๆ กันไป
เพราะฉะนั้น การเข้าใจปรมัตถะกับบัญญัติก็ต้องรู้ว่า ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม ไม่มีธรรมะที่มีจริงๆ บัญญัติมีได้ไหม ไม่ใช่ตอบตามตำรา หรือได้ฟังมาก็ตอบ แต่ต้องรู้จริงๆ ว่า ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม อะไรๆ ก็ไม่มี แต่เมื่อมีปรมัตถธรรม ทั้งนามธรรม และรูปธรรมก็เกิดดับเร็วจนกระทั่งไม่สามารถรู้ความจริงได้เลย ถ้าไม่มีพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรม จนถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นเพียงพระปัจเจกพุทธเจ้า รู้เฉพาะตน แต่บารมีต้องมากกว่านั้นด้วยพระมหากรุณาที่จะทรงอนุเคราะห์ให้คนอื่นสามารที่จะฟังพระธรรม และเข้าใจขึ้นจนกระทั่งสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมนั้นได้
กำลังบริโภคพระธรรมหรือไม่ เมื่อวานนี้ก็พูดถึงเรื่องการบริโภค เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาแล้วก็สอดคล้องกันทั้งหมด แต่ต้องเข้าใจโดยไม่ประมาท โดยไม่เผิน แม้แต่ละคำ ขณะนี้ก็พอเข้าใจความหมายของ “ปรมัตถ์” ปรมัตถ์มีจริงๆ แต่เพราะการเกิดดับสืบต่อเร็วมากเป็นนิมิตต่างๆ ทำให้จำเป็นบัญญัติต่างๆ จนกระทั่งสามารถจะใช้คำเรียกเป็นสัททบัญญัติ ให้เข้าใจว่าหมายความถึงอะไร
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ก็คงไม่ต้องไปคิดเองว่า อะไรเป็นอะไร อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ปรมัตถธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง ซึ่งเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้เลย แต่บัญญัติก็คือความคิดนึก เช่น เห็นแล้ว เห็นคน แต่เห็นเป็นเห็น เห็นเห็นคนไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อแล้วคิดถึงบัญญัติ นิมิตบัญญัติ สมมติก็มาทีหลัง คนนี้เป็นตำรวจ คนนั้นเป็นชาวนา หรือว่าอะไรๆ ก็แล้วแต่จะสมมติกัน เป็นนักร้อง เป็นเสนาบดี เป็นทหาร เป็นผู้ว่าราชการ ก็แล้วแต่จะสมมติ นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การศึกษาธรรม ถ้าไม่เผินก็รู้ว่า ศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ จนกว่าสามารถที่จะรู้ความลึกซึ้งของธรรมทุกอย่างที่ปรากฏ เหมือนไม่มีอะไรเลย คนที่ไม่รู้ก็คือ เห็นก็คือเห็น แต่ไม่รู้ว่าเห็นคืออะไร
เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาเข้าใจจริงๆ ก็จะเกื้อกูลอนุเคราะห์ให้เมื่อได้ผ่านข้อความอื่นๆ อีก ก็สามารถเข้าใจได้ ไม่สับสน
ผู้ฟัง มีคำถามจากท่านผู้ฟัง ข้อแรกถามว่า สติปัฏฐาน และปัญญาเกิดทางปัญจทวารได้ไหม
ท่านอาจารย์ ฟังเรื่องธรรม ปรมัตถธรรม นิมิต บัญญัติ แล้วถามถึงสติปัฏฐาน รวดเร็วมากเลย ถ้าฟังดีๆ ก็จะรู้ได้ว่า เห็น-คน ขณะไหนเป็นปัญญา หรือยังไม่มีเลย เพียงแต่แม้คำว่า เห็น ก็ยังไม่ได้รู้ลักษณะจริงๆ ว่า เคยเข้าใจว่าเราเห็น ความจริงไม่ใช่เราเลย เคยเข้าใจว่า นกเห็น เห็นก็เป็นเห็น เห็นจะเป็นนกได้อย่างไร ถ้าเอารูปร่างนกออก ช้างเห็น ช้างจะเห็นได้อย่างไร ใช่ไหม ถ้าจิตเห็นไม่เกิดขึ้นแล้วก็นึกถึงรูปร่าง
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็คือให้เข้าใจธรรม เพราะฉะนั้น ศึกษาให้เข้าใจ เข้าใจเป็นปัญญา ทั้งๆ ที่กำลังเห็น รู้สภาพลักษณะที่แท้จริงของเห็น ซึ่งเราใช้คำว่า นามธรรม หรือว่าจิต ไม่ใช่เจตสิก กำลังเห็นเป็นจิตที่กำลังรู้ลักษณะ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าฟังเข้าใจอย่างนี้ ความเข้าใจขั้นไหน ขั้นฟัง มีใครบอกว่า กำลังรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปเลย ไม่มีรูปร่างเลยในขณะนี้ที่เกิดขึ้น และกำลังเห็น มีใครเป็นอย่างนี้บ้างในขณะที่กำลังฟัง เป็นผู้ตรง มี หรือไม่มี แต่จะมีได้อย่างไร ถ้าไม่มีการเข้าใจก่อน
เพราะฉะนั้น ไม่ได้พูดถึงความเข้าใจเลย สติปัฏฐาน แล้วสติปัฏฐานคืออะไร ขณะใดที่ไม่เข้าใจธรรม สติปัฏฐานจะเกิดได้ไหม ก็มีสติเพียงขั้นทาน สติเพียงขั้นศีล วิรัติทุจริตทางกาย วาจา เป็นวาริตศีล หรือมีการช่วยเหลืออ่อนน้อมต่อบุคคลอื่น ก็เป็นจาริตศีล ก็เป็นแต่เพียงศีล แต่ไม่ใช่เป็นการที่สามารถที่จะรู้ความจริงซึ่งเป็นธรรมในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึงสติปัฏฐาน ไม่ใช่ไม่รู้อะไรแล้วก็จะเป็นสติปัฏฐาน หรือจะเอาขณะที่เพียงแต่เกิดกุศลจิตที่เป็นทานบ้าง ศีลบ้าง หรือความสงบของจิต คือ ไม่โกรธ แล้วมีการอภัยหรืออะไรต่างๆ ในขณะที่กุศลประเภทหนึ่งประเภทใดเกิด ขณะนั้นจะให้เป็นการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม โดยไม่มีการฟัง และเข้าใจสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็จะมีสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐานไม่ได้
เพราะฉะนั้น แม้ในขณะนี้ฟังเรื่องเห็น และเห็นมี สามารถที่จะเข้าถึง คือ ไม่ได้คิดขณะนั้นเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น แต่กำลังมีเห็น เพราะฉะนั้น กำลังรู้ตรงเห็น เฉพาะเห็นที่กำลังเห็นเมื่อไร นั่นคือสติปัฏฐาน แต่ต้องมาจากความรู้ถูก ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกว่า เป็นธรรม มิฉะนั้นแล้วจะรู้ทำไมในขณะที่กำลังเห็น จะรู้อะไร เพื่ออะไร แต่เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง การรู้ความจริงขณะนั้นว่า ไม่ใช่เรา แม้สติสัมปชัญญะหลังจากฟังแล้วจะเกิดเมื่อไร กำลังเริ่มรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทีละเล็กทีละน้อย จะเข้าถึงความหมายของคำว่า ไม่ติดข้องในนิมิต และอนุพยัญชนะ ก่อนที่จะรู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้นจริงๆ เพราะว่าปัญญาก็ต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจจริงๆ ตามลำดับขั้นในสิ่งที่ปรากฏ และในเห็นที่กำลังเห็นด้วย มิฉะนั้นไม่ชื่อว่า สติปัฏฐาน ได้แต่เรียกชื่อ สติ ปัฏฐาน
สติเป็นสภาพที่ระลึกรู้ ปัฏฐาน คือ ที่ตั้งของสติ เมื่อสติเกิดเป็นนามธรรม ก็ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยการที่ขณะนั้นมีปัญญาที่รู้ว่า ควรรู้ยิ่งในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ และขณะนั้นที่ใช้คำว่า “ระลึกได้” หรือ “ตามรู้” หมายความว่า สิ่งนั้นยังไม่หมดไป ยังเป็นสิ่งที่เห็นอยู่ ยังไม่ใช่คิด ยังไม่ใช่เสียง ยังไม่ใช่อย่างอื่น แม้ว่ามีสิ่งนั้นๆ ก็ตามแต่ แต่ขณะใดที่กำลังรู้เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมนั้นด้วยความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งต้องน้อยมากในขั้นต้น เพราะการฟังต้องฟังจนกระทั่งเป็นพื้นฐานให้สติเกิดระลึกได้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ที่เห็นนี้เป็นธรรม มีจริงๆ และไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร เพียงเกิดแล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้สติปัฏฐานเกิดไม่ได้เลย เข้าใจสติปัฏฐานว่าอย่างไร ถ้าไม่มีปัญญา จะรู้ไหมว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง และใครสามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏเป็นทางไหน แข็งที่ปรากฏ ถ้าไม่มีกายปสาท ไม่มีอ่อนกระทบ หรือแข็งกระทบ เย็นกระทบ ร้อนกระทบ ตึงกระทบ ไหวกระทบ จะไม่มีธาตุซึ่งเกิดขึ้นรู้ลักษณะนั้นได้เลย
เพราะฉะนั้น ขณะนี้บอกได้ไหมว่า ในขณะที่ยังไม่ปรากฏว่าแข็งดับว่า ว่าแข็งที่ปรากฏทางทวารไหน แน่นอนว่าต้องมีกายทวาร คือ กายปสาทรูปที่สามารถกระทบกับรูปที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหวได้ แต่หลังจากนั้นที่สั้นมาก ดับแล้ว ทางมโนทวาร หรือใจรับรู้ต่อ เพราะว่าทางตาก็คือจิตที่เกิดดับเป็นวิถีรับรู้สภาพธรรมที่ยังไม่ดับ แต่พอดับไปแล้ว เนื่องจากการรู้สิ่งที่ดับนั่นแหละ แม้ภวังค์เกิดคั่น ก็ทำให้ใจคิดถึง ไม่ต้องเรียกว่า มโนทวารก็ได้ ใช้คำว่า ใจคิดถึงสิ่งที่เพิ่งผ่านไป ลักษณะที่แข็งซึ่งเกิดดับสืบต่อ แม้ว่าขณะนี้มีทั้งกายทวาร มีภวังค์คั่นด้วย ไม่ใช่ไม่มีภวังค์เพราะดับแล้วจิตก็ยังรับรู้ต่อ ซึ่งใช้คำว่า มโนทวาร โดยที่แข็งนั้นไม่ปรากฏว่าดับเลย
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ เดี๋ยวนี้แข็งปรากฏทางทวารไหน เห็นไหม ใครบอกได้ ฟังนี่รู้ว่า ต้องมีกายทวาร ต้องมีมโนทวาร แต่บอกได้ไหม เหมือนเห็นเดี๋ยวนี้ก็มีจักขุทวาร รูปดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น จิตจะอาศัยจักขุปสาทรู้รูปอีกต่อไปไม่ได้ เพราะรูปนั้นดับแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว แต่ก็ยังมีการรู้สิ่งที่ปรากฏจนสามารถเห็นเป็นนิมิต เข้าใจว่าเป็นนิมิต และเป็นบัญญัติต่างๆ
เพราะฉะนั้น ใครสามารถที่จะแยกปัญจทวารกับมโนทวารได้ เพราะเกิดต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ แล้วจะมาสงสัยอะไรเรื่องสติปัฏฐานจะเกิดทางจักขุทวาร หรือทางมโนทวาร หรือเกิดทางโสตทวาร หรือทางมโนทวาร เพราะสืบต่อเร็วมาก ข้อสำคัญที่สุดผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว เห็นพระคุณของผู้ที่ได้รวบรวมตำราต่างๆ ในยุคก่อน ไม่ใช่ในยุคนี้ เพราะว่าในยุคก่อนใกล้ชิดกับพระธรรมมาก ก็สามารถเข้าใจ และอนุเคราะห์ประมวลสภาพธรรมในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ ปิฎก ให้เป็นหัวข้อ เป็นหมวดหมู่ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ก็จะกล่าวถึงเรื่องจิตแต่ละประเภท และเรื่องเจตสิกเป็นต้น แต่การเข้าใจธรรมไม่ต้องรอ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมไม่ได้แยกเป็นปริจเฉทต่างๆ แต่พูดถึงสิ่งที่กำลังมีจริง เห็นจริง โลภะมีจริง ความติดข้องมีจริง โทสะ ความขุ่นเคืองมีจริง สภาพธรรมใดที่มีจริงขณะนั้นก็ทรงแสดงให้เห็นว่า เป็นธรรม แล้วเป็นอนัตตา โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชื่อโดยละเอียด จักขุทวาร หรือมโนทวารต่างๆ แต่ให้ทราบว่า อนุเคราะห์คนที่ไม่สามารถรู้สภาพธรรมได้เร็ว ทรงพระมหากรุณาแสดงความละเอียดของธรรมโดยประการต่างๆ สำหรับผู้ที่เป็นปทปรมะ ไม่สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลในชาตินั้นได้
เพราะฉะนั้น เราก็รู้ว่า ตำราบอกไว้ หรือไม่ว่า กุศลจิตเกิดได้กี่ทวาร ศึกษากันมาแล้วหลายปริจเฉท นี่ปริจเฉทที่ ๑ เพราะฉะนั้นลืมหรือไม่ว่า กุศลจิตเกิดได้กี่ทวาร ๖ ทวาร ทั้งหมด ๘ หรือว่าเพียง ๔ ที่เกิดได้ ๖ ทวาร
มหากุศลจิตมี ๘ ประกอบด้วยปัญญา ๔ ไม่ประกอบด้วยปัญญา ๔ มหากุศลจิตเกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร มหากุศลจิตทั้ง ๘ เกิดได้ ๖ ทวาร หรือไม่ เรียนแล้วไปไหน ถึงได้สงสัย ถ้าเป็นปัญญา ขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะของรูปทางหนึ่งทางใดที่ยังไม่ดับ ด้วยสติสัมปชัญญะด้วย แยกไม่ออกเลยระหว่างมโนทวารกับปัญจทวาร มิฉะนั้นแล้วแปลกมากเลยปัญญาเกิดทางมโนทวาร พอถึงจักขุทวารไม่มีล่ะ การที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมจนเข้าถึงสภาพที่เป็นธรรมนั้น ไม่ใช่สภาพธรรมอื่นก็ไม่มี เกิดไม่ได้ อย่างนั้นหรือ
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ประมาท ไม่เผิน และต้องสอดคล้องกันด้วย จะให้ใครยืนยัน พระอรรถกถาจารย์ และตามความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้นถ้าศึกษาโดยละเอียด โดยลึกซึ้งขึ้น ก็ต้องเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย มิฉะนั้นอยู่ดีๆ มีแต่ปัญญาทางมโนทวารรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม พอเป็นรูปรู้ไม่ชัดเลย ไปรู้ชัดตอนที่ต่อมาจากปัญจทวาร ก็เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ และก็ค้านกับความจริงด้วย เพราะว่าเมื่อเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ก็เกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร
ผู้ฟัง ปัญญาที่เกิดทางมโนทวารเจริญสติปัฏฐานอย่างไร
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกเป็นปัญญา หรือปัญญาคืออย่างไร
ผู้ฟัง ไม่ได้ถามว่า ปัญญาคืออย่างไร แต่ถามว่า ปัญญาที่เกิดทางมโนทวารเจริญสติปัฏฐานอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็คือปัญญาอย่างไร ไม่ใช่ความเข้าใจ ปัญญาคือความเข้าใจ เจริญสติปัฏฐานอย่างไร ถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจสติปัฏฐาน เจริญได้หรือไม่ สติปัฏฐานคืออะไร สติปัฏฐานรู้อะไร ปัญญาเข้าใจอะไร เมื่อไรด้วย ถ้ารูปไม่ปรากฏจะเข้าใจรูปนั้นได้ไหม รูปปรากฏแล้ว ไม่เข้าใจเป็นอะไร เข้าใจเป็นอะไร ก็เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน
อ.ธิดารัตน์ ขณะที่วิปัสสนาญาณเกิด ถึงแม้จะรู้ชัดทางมโนทวารก็ตาม แต่ก็มีปัญจทวารคั่นอย่างไร
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณแรกคืออะไร รู้อะไร
อ.ธิดารัตน์ นามรูปปริจเฉทญาณรู้ทั้งรูปธรรม และนามธรรมตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่มีรูปธรรมปรากฏให้รู้ชัด จะรู้ชัดได้ไหม
อ.ธิดารัตน์ ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ และความรู้ชัดนั้นระดับไหน
อ.ธิดารัตน์ ระดับที่มากกว่าสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ระดับประจักษ์แจ้ง ต้องมีสิ่งที่ปรากฏจริงๆ รูปปรากฏทางไหนได้
อ.ธิดารัตน์ รูปปรากฏทั้งทางปัญจทวาร และสืบต่อทางมโนทวารด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญาสามารถรู้รูปทางปัญจทวารได้ไหม
อ.ธิดารัตน์ ได้
ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้มหากุศลจิต ๘ ดวง เพราะฉะนั้น จะเอาปัญญาเว้นไม่เกิดไม่ได้ และถ้าประจักษ์แจ้งคือขณะนั้นไม่มีเรา เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้มืดหรือสว่าง ทางมโนทวารไม่มีรูปใดที่จะปรากฏ เฉพาะทางมโนทวารที่สว่าง แต่ต้องมีรูปๆ หนึ่งที่ปรากฏทางจักขุทวารที่สว่าง
เพราะฉะนั้น ทางมโนทวารสามารถรู้ทุกอย่าง ไม่เว้นเลย เพราะฉะนั้น ก็เป็นการแสดงอยู่แล้วว่า เมื่อสภาพธรรมนั้นปรากฏ แม้ยังไม่ดับสติสัมปชัญญะก็สามารถที่จะเข้าใจสภาพนั้นที่ไม่ใช่ตัวตนเลยในขณะนั้น เป็นลักษณะของธาตุที่เป็นนามธาตุกับรูปธาตุในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น ก็มีทั้งมโนทวาร และปัญจทวาร
อ.ธิดารัตน์ เวลาที่เป็นวิปัสสนาญาณ ลักษณะของปัญจทวารก็ปรากฏ ลักษณะของมโนทวารก็ปรากฏ
ท่านอาจารย์ โดยไม่เรียกชื่อเลย เพราะรู้อยู่ว่า ถ้าไม่มีปัญจทวาร จะมีรูปนั้นปรากฏได้ไหม
อ.ธิดารัตน์ แต่ไม่ได้หมายความว่า แยกระหว่างตัวนกกับเงานกใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จะไปแยกทำไม เป็นปัญญาระดับที่ธาตุปรากฏ ธรรมปรากฏ โดยไม่มีใดๆ ปรากฏรวมอยู่ด้วยเลย โลกทั้งโลกไม่เหลือ ถ้าเหลือก็ยังเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นโลก แต่ไม่มีเลย นอกจากธาตุรู้กับสภาพที่ปรากฏให้รู้ แล้วแต่สภาพนั้นจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
ผู้ฟัง อยากทราบว่า ในส่วนของปัญญาเมื่อปัญญาทำกิจแล้วดับไป แล้วปัญญาจะสะสมอยู่ที่ไหน แล้วจะอบรมเจริญขึ้นได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ความเข้าใจในความหมายของ “มิตร” เป็นปัญญาไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะพูดคำอะไรทั้งสิ้น ควรเข้าใจสิ่งนั้นจริงๆ มิฉะนั้นก็จะข้ามไปข้ามมา เช่น เมื่อครู่นี้ที่พูดเรื่องมิตร มิตรคือใคร
ผู้ฟัง มิตรที่สำคัญที่สุด คือ กัลยาณมิตร
ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงกัลยาณะ แค่มิตรคือใคร
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจ มิตรคือเพื่อนที่ดี
ท่านอาจารย์ แล้วที่เรียกว่าเป็นเพื่อน เพื่อนคืออย่างไร เห็นหน้ากันอย่างนี้ เป็นเพื่อนกัน หรือยัง
ผู้ฟัง ก็เป็น แต่ไม่ทราบว่าจะดี หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเพื่อนหมายความว่า ไม่ใช่ศัตรูใช่ไหม เพราะฉะนั้น มิตรต้องเป็นคนที่หวังดี พร้อมทำประโยชน์เกื้อกูล อันนี้คงไม่ลืมเลยว่า ใครเป็นมิตร คนนั้นจะไม่หวังร้าย ไม่มีกายวาจาแม้ใจที่คิดไม่ดีกับคนที่เป็นมิตร
เพราะฉะนั้น ความหมายของมิตรลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงผิวเผิน อันนี้จะนำไปสู่การตอบปัญหาของคุณพิสิษฐ์ แต่ควรได้ตามข้อความที่เราได้ฟังจากพระไตรปิฎก เพราะควรเข้าใจทุกคำจริงๆ ชัดเจน มั่นคง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660