พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๓

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ เวลานี้ที่กำลังฟังธรรม มีวิรตีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ วิรัติคำที่คิดว่าจะพูดแล้วไม่พูด หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้เกิดกับกุศลจิตทุกดวงใช่ไหม จะมีก็ได้ หรือจะไม่มีก็ได้

    ท่านอาจารย์ แน่นอนเกิดก็ได้ไม่เกิดก็ได้ แต่บางคนกำลังจะพูดคำที่ไม่เหมาะสม พูดไปแล้วจิตคิดจะพูดห้ามไม่ได้เลยพูดแล้ว แต่ถ้าวิรตีเจตสิกเกิดวิรัติวจีทุจริต วจีทุจริตนี่ละเอียดมาก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดเพื่อให้ตนเองเป็นที่รักคนอื่นเป็นที่ชัง แล้วก็ไม่พูดสิ่งที่ไม่จริง แล้วก็ไม่พูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เห็นไหมว่าถ้าไม่เป็นไปเพื่อความเข้าใจธรรม ไม่เป็นไปเพื่อกุศล หรือไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ วิรัติไม่พูด

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งซึ่งขณะนี้กำลังฟังธรรม สนทนาธรรมกันใครจะรู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิตที่มีวิรตีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ส่วนใหญ่ไม่มีใช่ไหม แต่ถ้าใครคิดจะพูดคำที่ไม่เหมาะสม แล้ววิรัติได้ขณะนั้นไม่ใช่เขา ไม่ใช่ใครแต่เป็นธรรมคือสัมมาวาจาเจตสิกเกิดขึ้นวิรัติคำพูดที่ไม่ควรจะพูด คือคำพูดที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ

    เพราะฉะนั้น สำหรับกุศลโดยทั่วไปก็จะไม่มี ๓ วิรตีเกิดร่วมด้วย เกิดเมื่อไหร่ก็มีเมื่อนั้น แล้วสำหรับอัปปมัญญาคือกรุณาเวลานี้ที่กำลังฟังธรรมกุศลจิตมีกรุณาเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าอยากให้คนอื่นที่เขาไม่เข้าใจได้เข้าใจธรรม กรุณาไหม

    ผู้ฟัง กรุณา

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นกรุณาเจตสิก หรือว่าใครกำลังตกทุกข์ได้ยาก ช่วย หรือว่าเฉย หรือว่าเป็นอกุศลใครจะรู้สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วดับไปเร็วมาก แต่การศึกษาธรรมให้เป็นผู้ตรงที่จะเข้าใจความจริงว่าไม่มีเรา ถ้ามีเรามีเขาเอียงแล้วใช่ไหม แต่เป็นตัวธรรมจริงๆ สภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นอย่างไรก็เปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เพราะเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีคนที่กำลังเดือดร้อนทุกข์ยากกรุณาเจตสิกจะเกิดไหม

    ผู้ฟัง ไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้ามีคนหนึ่งกำลังไม่สบายเป็นไปได้ไหมในห้องนี้ เป็นลม หรือไม่สบาย หรืออะไรก็แล้วแต่กรุณาเจตสิกเกิดหรือไม่

    ผู้ฟัง เกิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าจะเกิด หรือไม่เกิดสำหรับกรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิกก็เช่นเดียวกัน ยินดีด้วยกับบุคคลอื่นในขณะที่เขาได้สิ่งที่ดีจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุขอย่างไรก็ตามแต่ แต่ต้องระวังเพราะฆ่าศึกใกล้คือโลภะ ยินดี หรือติดข้อง ถ้าเป็นคนที่เราไม่พอใจเขาได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ สุข เฉย หรือว่าญาติสนิทมิตรสหายได้ก็เลยดีใจ แต่ไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าสิ่งนั้นเกิดจากอะไรถ้าไม่ใช่เป็นกุศลกรรมที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามเวลาที่เจตสิกเหล่านี้เกิดใครก็จะเปลี่ยนแปลงว่าไม่ให้เกิดก็ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าถึงแม้ว่าจะเป็นโสภณเจตสิก แต่ก็มีโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ซึ่งต้องเกิด ขาดเจตสิกหนึ่งเจตสิกใดไม่ได้ แต่สำหรับโสภณเจตสิกอีก ๖ เกิดก็ได้ไม่เกิดก็ได้แล้วแต่ปัจจัย

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์เรื่องเห็น ขณะนี้ก็ยังเห็นแล้วก็คิดว่าเป็นดอกไม้ ก็ยังเหมือนเดิมอยู่

    ท่านอาจารย์ ปกติ ไม่ผิดปกติ เพราะไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แต่เพราะไม่เข้าใจถูกไม่เห็นถูก ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาให้เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนความคิดถึงรูปร่างสัณฐานว่าไม่ให้คิด ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนแปลง เป็นดอกไม้แล้วจะมีความพอใจไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนแปลงอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะว่าธรรมเป็นธรรมซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อไหร่จะจรดเยื่อในกระดูกด้วยความเห็นที่ถูกต้อง ที่จะเข้าใจว่าขณะนี้เป็นการอบรมเจริญความเห็นถูกต้อง ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่น เช่นขณะนี้ เมื่อครู่นี้ก็เห็นคนมากมายนั่งอยู่ในห้องนี้ แต่ฟังธรรมเพื่อรู้ว่าอะไรเป็นธรรม ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเป็นธรรมเราไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจสิ่งนั้น ที่เราแสวงหาบางคนพอได้ยินธรรมอยากจะปฏิบัติธรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่รู้ว่าอะไรคือธรรม ถึงรู้แล้วก็ลืม พูดอยู่อย่างนี้ก็ลืม ว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เพียงสั้นๆ แค่นี้เมื่อไหร่สามารถที่จะเข้าใจจรดเยื่อในกระดูกจริงๆ จะเข้าใจในความหมายของคำว่ารู้ชัด ไม่ใช่เพียงฟังเข้าใจแต่รู้ชัด

    เพราะฉะนั้น สิ่งที่ขาดก็คือว่าขณะนี้มีเห็น ไม่รู้ความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่บุคคลใดๆ เลยทั้งสิ้นเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธาตุชนิดหนึ่งเปลี่ยนได้ไหม เห็นเกิดกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ นึกถึงเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้จะเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ไม่ได้ แล้วสิ่งที่ปรากฏให้อย่างนี้ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ฟังความเข้าใจเริ่มเกิดขึ้น ว่าหลงไม่รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นแต่เพียงสิ่งที่จริงแล้วก็สามารถที่จะปรากฏว่าสิ่งนี้มีจริงๆ เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น เมื่อมีธาตุเห็น ถ้าไม่มีธาตุเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาปรากฏไม่ได้เลย ฟังแล้วลืมไหม เดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็ลืม

    เพราะฉะนั้น ก็ฟังจนกว่าไม่ลืม สัญญาความจำที่มั่นคงคือความเห็นถูกในความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนี้เหมือนเดิมใช่ไหม คุณชมชื่นมีเห็น และก็มีรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นดอกไม้ ชอบรู้ไหมว่ากำลังชอบสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นดอกไม้ รู้ไหม เห็นมีจริงๆ ตอบยากไหมว่าเห็นมีจริงๆ

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ก็ยากอีก

    ท่านอาจารย์ ทำไมเพียงแค่เห็นมีจริงๆ นี่เราไปเอาอะไรมาคิดมากมาย ปกติธรรมดา ธรรมดาจริงๆ ธรรมเป็นธรรมดา เห็นขณะนี้มีจริงๆ ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีตอบไม่ยากเลย เห็นมีจริงๆ ไม่รู้ว่าเห็นเป็นธรรมนี่แทรกแล้ว เพราะฉะนั้น จะเป็นความรู้ชัดในเห็นได้ไหม ไม่ได้ เพียงแต่เห็นมีจริงไหม เดี๋ยวนี้ก็ตอบว่าเห็นมีจริง ทุกคนกำลังเห็นมีจริง แต่เมื่อเห็นมีจริงแล้วไม่รู้ว่าว่าเห็นเป็นธาตุที่เกิดแล้วเห็นแล้วก็ดับไป นี่คือความลึกซึ้ง " คัมภีร " ของธรรมทั้งหมด ธรรมที่จะไม่ลึกซึ้งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่เคยคิดว่าความจริงแท้จริงในสังสารวัฏก็เป็นอย่างนี้เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น เริ่มเห็นความไม่รู้แล้วใช่ไหม เห็นมี ทุกคนตอบได้ว่าเห็นมีจริงๆ แต่ไม่รู้ว่าเห็นเป็นธรรมที่กำลังเห็นเป็นลักษณะของธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเห็น นี่เป็นธรรม นี่หนึ่งไม่รู้แล้ว พอเห็นดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตคิดนึกถึงสิ่งที่เห็นนั่นแหละไม่ใช่คิดเรื่องอื่นแต่เร็วมาก เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไรด้วยความจำในสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเด็กเล็กๆ เกิดมาไม่รู้ว่าเป็นดอกไม้ หรือเป็นอะไร ใช่ไหม แต่เพราะเหตุว่ามีความคุ้นเคยในสีสันวรรณะที่ปรากฏให้เห็นบ่อย จนกระทั่งสามารถที่จะจำได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นจำ นี่ไม่รู้อีกแล้ว ใช่ไหม มีจริงๆ เพราะคุณชมชื่นเองเป็นคนบอกว่าเห็นแล้วก็เป็นดอกไม้

    เพราะฉะนั้น ในขณะที่เป็นดอกไม้ก็คือจำ ก็ไม่รู้ว่าจำ ไม่รู้แล้ว แล้วเวลาที่เป็นดอกไม้ก็ชอบด้วย ที่จริงวันนี้ดอกไม้ก็สวยมากทุกคนก็คงจะยอมรับในขณะที่เพียงเห็นชอบแล้ว ชอบมีจริงๆ ใช่ไหม ก็ไม่รู้อีกแล้ว เพราะฉะนั้น คิดดูก็แล้วกันว่าความไม่รู้มากมายระดับไหน กว่าจะถึงการรู้ความจริงซึ่งใช้คำว่ารู้ชัด นี่เพียงฟังเรื่องราวของธรรม

    เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟังทุกคนก็เป็นผู้ที่ตรง และจริงใจ ชีวิตธรรมดาไม่ต้องไปคิดก่อนถึงตำราเล่มนั้นเล่มนี้เคยฟังวันนั้นวันนี้ เพราะฉะนั้น จะตอบว่าอย่างไร ไม่ใช่อย่างนั้นแต่ขณะนี้เองที่กำลังมีสิ่งมีจริงกำลังปรากฏ ความจริงมีอย่างไรก็คือมีเห็น แล้วไม่รู้ว่าเห็น รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไรไม่ต้องไปเปลี่ยน ไม่ต้องไปทำให้ไม่เห็นว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่รู้ว่าแม้ขณะนั้นก็เป็นธรรม

    เพราะฉะนั้น ธรรมที่ไม่รู้มีมากไหม มากมายมหาศาล เพียงเท่านี้แต่ถ้าตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียดถึง ๑ ขณะจิต รวดเร็วจนกระทั่งจิตที่ไม่ได้ปรากฏเลยมากใช่ไหม ภวังคจิตปรากฏไหม ปฏิสนธิจิตไม่ต้องกล่าวถึงเพราะว่าดับไปในชาติหนึ่งก็มีเพียงขณะเดียว แต่เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว จิตที่เกิดดับสืบต่อถ้าไม่มีจะไม่มีอะไรเลย ถูกต้องไหม แต่เพราะเมื่อปฏิสนธิจิตดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อจนถึง ณ บัดนี้ รู้ไหม สภาพที่ดำรงภพชาติก่อนเห็น มีก็ไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ความไม่รู้มากมายมหาศาล และก็คิดว่าจะเป็นพระโสดาบัน หรือว่าจะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่อบรมความเห็นถูกความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะมั่นคงไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยน ไม่ต้องเปลี่ยน ปกติธรรมดา แต่เริ่มเข้าใจ แล้วแต่ว่าจะเข้าใจอะไรด้วยเพราะในขณะที่ฟังก็ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง ตรงไหนไม่จริงบ้าง ไม่มีใช่ไหมแต่ไม่รู้

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงถ้ายอมรับมีความเข้าใจขั้นต้นว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ควรรู้ไหม? เพราะชีวิตก็เท่านี้เองแต่ละ ๑ ขณะจิตซึ่งเกิดดับผ่านไปทุกภพชาติ โดยมีความสำคัญว่าเป็นเราเป็นเขาเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ยั่งยืน แต่ความจริงก็เพียงชั่วขณะที่ปรากฏ แล้วถ้ารู้ความจริงว่าปรากฏสั้นมาก แล้วก็ดับไปแล้วไม่เหลือเลยด้วย นี่คือพระปัญญาคุณซึ่งทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างนี้ในสังสารวัฏ ถ้าไม่มีการรู้การเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    เพราะฉะนั้น เป็นการอบรมเจริญปัญญาความเห็นถูกไม่ใช่ให้ใครไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น แล้วก็เป็นผู้ที่ตรงด้วยว่าฟังแล้วชาติก่อนเคยฟังบ้าง หรือยัง ถ้าไม่รู้ชาตินี้เป็นชาติก่อนของชาติหน้า ฟังธรรมมาบ้าง หรือยัง กำลังฟังธรรมอยู่ หรือไม่ และในขณะที่กำลังฟังเข้าใจแค่ไหน และเข้าใจเพิ่มขึ้นจากครั้งหนึ่งที่ฟังเป็นสองครั้งสามครั้งแต่ละวันจนกระทั่งนานเป็นปีมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น หรือไม่ แต่ว่าสะสมความไม่รู้อย่างละเอียดมาก ที่พูดถึงแม้แต่เพียงเห็นก็ไม่รู้ รู้ว่าเป็นอะไรก็ไม่รู้ ชอบก็ไม่รู้ ทั้งหมดไม่รู้ และจะให้เป็นความรู้แทนความไม่รู้เพื่อที่จะละความติดข้อง เพราะว่าชีวิตในวันหนึ่งๆ ของแต่ละคนตามความติดข้อง แล้วแต่ว่าจะติดข้องอะไร ตั้งแต่ลืมตามาก็ติดข้องทั้งนั้นเลย

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องที่ฟังให้เป็นผู้ที่ตรงว่าธรรมเป็นธรรม ถ้าจะจากโลกนี้ไปคุณชมชื่นไม่ต้องมานั่งจำถึงสูตรนั้นสูตรนี้ หรือว่าขณะที่ได้ฟัง แต่ว่าขณะนั้นเองสภาพธรรมใดปรากฏสามารถที่จะรู้ว่าเป็นลักษณะของธรรมอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนี้สมมติว่า จะเร็วหรือจะช้าไม่ทราบอีกแสนกัป ไม่ใช่แสนวัน ไม่ใช่แสนเดือน แสนปี แสนชาติแต่เป็นแสนกัป ปัญญาสามารถที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เดี๋ยวนี้ได้ แล้วละความติดข้องด้วย สภาพธรรมจึงจะปรากฏตามความเป็นจริง คือเพียงเกิดแล้วก็ดับไป และก็สามารถที่จะแทงตลอดความจริงของสภาพธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุเคราะห์แสดงโดยละเอียดถึงจิตทุกๆ ขณะไม่ใช่ให้ไปรู้จิตทุกขณะแต่ให้เข้าใจตั้งแต่ขั้นต้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่คุณชมชื่น ขณะนี้กำลังมีธรรมซึ่งไม่ได้เคยฟังเรื่องสิ่งที่มี กำลังฟังเรื่องธรรมแต่ละสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ด้วยความเคารพ ท่านกล่าวว่าอีกแสนกัปก็อาจเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้กล่าวถึง จะมากหรือจะน้อยไม่ทราบใช้คำว่า "แสนกัป" จะน้อยกว่าแสนกัปจะมากกว่าแสนกัป ก็แล้วแต่ความเข้าใจธรรมขณะนี้ ไม่ใช่ไปหวัง อย่างท่านพระสารีบุตรเพียงได้ฟังคำท่านพระอัสสชิตอนที่ท่านยังไม่ได้เป็นท่านพระสารีบุตร ท่านสามารถที่จะเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่าสะสมมาเหมือนกำลังสะสมขณะนี้แต่ยังไม่ถึงเมื่อได้ยินก็สามารถเข้าถึงความเป็นธรรม อย่างธาตุรู้กำลังมีเข้าถึงธาตุรู้หรือยัง อย่างอื่นบังหมดเลย

    ผู้ฟัง ยัง กราบเรียนท่านอาจารย์ถ้าเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ที่ท่านบอกว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ เข้าใจหรือไม่ ไม่เลย

    ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้บอกว่ามีเห็นแล้วบอกว่าจะไม่ให้เห็นว่าเป็นดอกกุหลาบ หรือว่าดอกไม้ ใช่ไหม แต่ว่าเวลานี้รู้ว่าไม่ต้องไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ต้องไปพยายามไม่ให้เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นดอกไม้หลังเห็นมีจริงๆ แต่เพียงขณะนั้นเป็นอย่างนั้นแล้วก็หมดไปไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ไปเปลี่ยนแปลง นี่เข้าใจเพิ่มขึ้น หรือยัง

    ผู้ฟัง เข้าใจว่าเขาเป็นแบบนี้

    ท่านอาจารย์ แค่นี้เพิ่มจากการที่คิดว่าจะต้องไปไม่ให้เห็นว่าเป็นดอกไม้ใช่ไหม ปกติแล้วค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง ไม่ใช่ให้ใครไปทำอะไรให้ถึงพระโสดาบัน ให้วิปัสสนาญาณเกิดโดยไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง และใช้คำว่าเข้าใจไม่ใช่ให้ไปดูไปจ้องอะไรแล้วไม่รู้ แต่ความเข้าใจจะค่อยๆ คลายความไม่รู้ ถ้ายังคงไม่รู้อย่างนี้สภาพธรรมก็เกิดดับไปโดยที่ไม่รู้อย่างที่เมื่อครู่ได้กล่าวถึงใช่ไหม เห็นก็ไม่รู้ คิดถึงรูปร่างสัณฐานก็ไม่รู้ รู้ว่าเป็นอะไรก็ไม่รู้ ชอบก็ไม่รู้ นั่นเพียงแค่นิดเดียว แล้วทั้งวันทุกวันเป็นอย่างนี้ หรือไม่

    ฟังธรรมเพื่อละความไม่รู้ เพราะว่าจะมีความไม่รู้ไปรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะมีความไม่รู้ไปละความเป็นตัวตนก็ไม่ได้ ความไม่รู้จะไปสามารถเป็นวิปัสสนาญาณก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น อบรมความรู้เท่านั้นเอง อยากให้สติปัฏฐานเกิดไหม

    ผู้ฟัง อยาก

    ท่านอาจารย์ อยากอีกแล้ว ฟังธรรมเพื่อละความอยากซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ตราบใดที่ยังอยากก็เพราะยังไม่รู้อยู่อย่างมากๆ นั่นเอง ความอยากนี่น่ากลัวแค่ไหน อยากไปหมดทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่อยากอะไรบ้าง หรืออยากหมด อยากทุกอย่างแล้วก็จะละอยากได้ไหม เหนียวแน่น หนาแน่น ลึกอย่างนี้ทั่วไปหมดทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วจะละได้อย่างไร

    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาอย่างเดียว ฟังแล้วเข้าใจขึ้นๆ นั่นเป็นหนทางเดียว และไม่มีโอกาสจะพบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ถ้าไม่ฟังพระธรรม ผู้ที่มีปัญญาสูงสุดเหนือบุคคลใดในสากลจักรวาลในแต่ละยุคสมัยไม่มีใครเทียบได้เลยไม่มีใครเปรียบปาน โอกาสที่จะได้รู้จัก โอกาสที่จะได้ฟัง มีอยู่ในขณะซึ่งพระธรรมยังไม่อันตรธาน อยากไหม

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ก็ยังอยากอยู่

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เห็นก็อยาก ได้ยินก็อยาก เพียงแค่สติก็อยาก ก็อยากหมด แล้วความเข้าใจถูก

    ผู้ฟัง ก็มีน้อยอยู่ ยังมีน้อยอยู่มาก

    ท่านอาจารย์ จะมีมากขึ้นได้เพราะอยาก หรือเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะฟัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฟังเข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ พอดีพระสูตรเมื่อวานสงสัยที่ใคร่จะเรียนถามว่า ก็กล่าวถึงความประพฤติเป็นไปของบรรพชิต และของคฤหัสถ์ต่างกัน คือพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่าสาวกที่เป็นบรรพชิตโดยสรุปก็เป็นผู้มีความประพฤติเหมาะสมแก่ความเป็นบรรพชิต ไม่ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย พึงกำจัดความยินดีติดข้องในกามคุณ ๕ เมื่อจะมีการสนทนากันก็ควรสนทนาแต่ธรรม ไม่ควรโต้เถียงกัน พึงเป็นผู้พิจารณาก่อนแล้วจึงใช้สอยปัจจัยมีอาหารบิณฑบาตเป็นต้น อันนี้ก็คือสิ่งที่ผู้ที่เป็นบรรพชิตควรประพฤติปฏิบัติ ส่วนสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ก็พึงรักษาอุโบสถศีล ถ้าไม่สามารถรักษาอุโบสถได้ก็พึงรักษาศีล ๕ เว้นจากทุจริตประการต่างๆ พึงให้ทานพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประกอบอาชีพการงานโดยชอบ เว้นจากอาชีพที่ไม่ควรทำ และก็ไม่ให้ประมาท คำถามคือเมื่อพระสูตรโดยอ่านมาแล้วสรุปเป็นเช่นนี้ แล้วในชั่วโมงนี้เป็นชั่วโมงพื้นฐานพระอภิธรรมก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้เองว่า ตรงนี้เป็นพื้นฐานพระอภิธรรม หรือเป็นธรรมที่ไม่ขัดแย้งกัน และเกี่ยวข้องกัน ก็จะขอความกรุณาท่านอาจารย์ขยายความ หรือให้เกี่ยวโยงว่าจากพระสูตรตรงนี้แล้วเป็นพระอภิธรรม หรือเป็นธรรมขณะนี้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็จะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจธรรมแต่ละอย่าง และทั้งหมดก็จะสอดคล้องกัน แต่ถ้าคิดว่าสูตรนี้เป็นอย่างไรจะสอดคล้องกับสูตรนั้นตรงไหน หรือข้อความของบรรพชิตกับข้อความเรื่องของคฤหัสถ์นี่จะสอดคล้องกันอย่างไรจะต่างกันอย่างไร ถ้าไม่เข้าใจธรรมแต่ละลักษณะ ก็ไม่สามารถที่จะเห็นความสอดคล้องได้ ผู้ไม่ประมาทคือผู้ที่ศึกษาธรรมด้วยความเคารพ ด้วยความจริงใจที่จะเข้าใจถึงที่สุดของคำที่ได้ยิน คุณอรวรรณลองพูดตั้งแต่คำแรก ทีละคำๆ ทั้งหมดมีความหมายที่ควรให้เข้าใจให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง คือก็เป็นคำถามที่ท่านธัมมิกอุบาสกถามกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบธัมมิกอุบาสกโดยสรุปว่า "สาวกที่เป็นบรรพชิตพึงเป็นผู้มีความประพฤติที่เหมาะสมแก่ความเป็นบรรพชิต

    ท่านอาจารย์ แค่นี้ต้องคิดไหม บรรพชิต ผู้เว้นทั่ว ไม่ใช่เว้นแค่นิดๆ หน่อยๆ อย่างคฤหัสถ์ใช่ไหม เว้นทั่วทุกอย่างที่เป็นชีวิตของคฤหัสถ์เพราะเห็นโทษ เพราะฉะนั้น บรรพชิตจะมีชีวิตอย่างบรรพชิตไม่ใช่อย่างคฤหัสถ์ คฤหัสถ์ที่ฟังธรรมก็พอที่จะรู้เรื่องของศีลใช่ไหม การวิรัติทุจริตอย่างคฤหัสถ์ศีล ๕ ทุกคนก็เข้าใจได้ คงไม่ลืมว่าวิรัติเพราะอะไร ตามใจจริงเคยเว้นไหม เว้นฆ่าสัตว์เคยเว้นไหม

    ผู้ฟัง เคย

    ท่านอาจารย์ เว้นพูดคำหยาบคาย เว้น หรือไม่

    ผู้ฟัง เว้น

    ท่านอาจารย์ เว้นพูดเรื่องไม่จริง เว้น หรือไม่

    ผู้ฟัง เว้น

    ท่านอาจารย์ เว้นคำส่อเสียด เว้น หรือไม่

    ผู้ฟัง เว้น

    ท่านอาจารย์ เว้นคำเพ้อเจ้อ หรือไม่

    ผู้ฟัง อันนี้จะพูดบ่อยหน่อย

    ท่านอาจารย์ ยากแค่ไหน เพราะฉะนั้น เว้นทั่วไม่ใช่เฉพาะอย่างๆ อย่างคฤหัสถ์บางกาลก็เว้น บางกาลก็ไม่เว้นใช่ไหม แต่ว่าความจริงใจก็คือในขณะที่เว้นรู้ไหมว่าเว้นเพราะอะไร คุณอรวรรณเป็นตัวคุณอรวรรณไม่ต้องคิดถึงคนอื่น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 175
    14 มิ.ย. 2567