พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
ตอนที่ ๖๔๕
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ กว่าจะเข้าใจว่าเป็นธรรมก็อดทน เห็นคุณค่า และก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดยิ่งกว่ารัตนะใดๆ ทั้งสิ้น
อ.กุลวิไล ถ้าเราไม่ได้ฟังพระธรรมเราก็จะไม่รู้คุณของพระธรรมนั่นเอง เพราะว่าความศรัทธายังไม่มี และความที่จะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปก็ไม่มีด้วย เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในธรรมที่มีในขณะนี้ก็ไม่มี ส่วนใหญ่ก็จะไม่รู้ว่าทั้งหมดเป็นธรรม ก็มีแต่เรื่องราวของบุคคลต่างๆ เพราะฉะนั้น ความหลงลืมสติ หรือความไม่รู้จึงมีมาก
ท่านอาจารย์ เวลาที่อกุศลร้ายแรงเกิดขึ้น เห็นภัยของอหิริกะ อโนตตัปปะใช่ไหม สามารถที่จะทำอย่างนั้นได้ ทุจริตกรรมต่างๆ ถ้าไม่มีการสะสมมาทีละเล็กทีละน้อยจะถึงขั้นที่จะทำทุจริตกรรม ทำให้คนอื่นเดือดร้อนมากมายได้ไหม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น กำลังมีทั้งหิริโอตตัปปะ เป็นกำลังทางฝ่ายกุศล และกำลังของอหิริกะ อโนตตัปปะด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นให้พิจารณาได้ ว่าควรที่จะสะสมอย่างไร
อ.วิชัย พระผู้มีพระภาคตรัสถึงธรรมที่เป็นที่พึ่ง คือตรัสให้มีธรรมเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง หมายถึงสติปัฏฐาน ๔ คือทรงเห็นความสำคัญของที่พึ่งที่แท้จริง คือการที่มีความเข้าใจจนเป็นปัจจัยให้สติระลึกในสภาพธรรมนี้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่มีความเข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้นว่าขณะนี้เป็นธรรม สติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นเพียงชื่อ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือเมื่อมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น และก็เพียงแต่จะเป็นแต่เพียงเรื่องราว แต่ก็สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมดมีลักษณะของสภาพธรรมที่สามารถที่จะรู้ความจริงทุกขณะ ขณะนั้นก็มีปัจจัยพอที่จะเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้เป็นอีกระดับหนึ่ง เพราะเหตุว่าพระรรมที่ทรงแสดงสมบูรณ์ทั้งปริยัติ ปฏิปัตติ และปฏิเวธ ได้ยินคำว่าปริยัติบ่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าศึกษาภาษาบาลี หรือว่าศึกษาคำต่างๆ โดยที่ไม่เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ถ้าไม่เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ศึกษาอะไร ก็เป็นเพียงชื่อกับเรื่องราว แต่ถ้ารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ปริยัติรอบรู้ในธรรมที่ได้ฟัง ทั้งหมดสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
เมื่อวานนี้ก็มีการสนทนาซึ่งก็ขอเล่าให้ฟังกับชาวศรีลังกาเขาก็คิดว่าทำไมจะต้องมีปริยัติ เพราะว่าส่วนใหญ่ก็เหมือนจะข้ามปริยัติไปสู่การปฏิบัติ แต่ว่าจริงๆ แล้วขณะนี้เป็นธรรมที่สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้โดยเข้าใจในขั้นการฟังก่อน ถ้าไม่มีความรอบรู้จริงๆ ฟังแล้วก็พิจารณาจนกระทั่งเริ่มเข้าใจสภาพธรรมมากขึ้น "ปฏิปัตติ" มีไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าปริยัติคือการฟังเรื่องราวของสภาพธรรมรอบรู้โดยเข้าใจแม้โวหารเทศนาโดยประการต่างๆ ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้แหละ แต่เพราะเหตุว่าหลากหลายมาก
เพราะฉะนั้น พระธรรมเทศนาเรื่องของสภาพธรรมก็หลากหลายตามความเป็นจริงเพื่อที่จะถึง "ปฏิปัตติ " ซึ่งในภาษาบาลีหมายความว่า ปฏิคือเฉพาะ ปัตติคือถึง ถึงเฉพาะลักษณะที่เป็นจริงของธรรมซึ่งต้องเป็นปัญญาจึงสามารถที่จะถึงด้วยความเข้าใจได้ อย่างขณะนี้ถ้าถามว่าแข็งไหม ทุกคนก็ตอบได้ใช่ไหม แข็ง แต่ถ้าถามว่าแข็งเป็นธรรมหรือไม่ ก็ไม่เข้าใจ และก็ถ้าจะรู้ความจริง รู้ความจริงของแข็ง หรือไม่ เพราะว่าแข็งมีจริงกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น " ปฏิปัตติ " กว่าจะรู้เฉพาะลักษณะแข็ง ซึ่งในขณะที่แข็งปรากฏอย่างอื่นไม่ปรากฏเลย
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ชัดว่าแข็ง ลักษณะนี้แหละเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ใช่สิ่งอื่นใดทั้งสิ้น ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น แล้วก็กำลังปรากฏความจริงว่าเกิด จึงแข็ง และถ้ามีปัญญาขณะนั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าแข็งนั้นที่กำลังปรากฏเกิดแล้วดับ แล้ว ก็ไม่มีเราที่กำลังรู้แข็ง แต่แข็งปรากฏกับธาตุที่กำลังรู้เฉพาะแข็ง เฉพาะแข็งในขณะนั้นไม่ได้รู้อื่น
เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมต้องแต่ละอย่าง เฉพาะแต่ละอย่างจริงๆ ถ้าเสียงกำลังปรากฏไม่รู้เฉพาะเสียงด้วยความเข้าใจว่าขณะนั้นเป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่งในสังสารวัฏฎ์ ในสังสารวัฏฎ์ไม่ว่าเกิดที่ไหนเมื่อไหร่ก็มีเสียงปรากฏให้รู้ว่าเสียงป็นธรรม และที่เสียงจะปรากฏได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพได้ยินเสียงนั้น เสียงนั้นจึงปรากฏได้
เพราะฉะนั้น นี่คือการรอบรู้คือการเข้าใจความจริง แม้แต่คำว่าเห็น คำว่าได้ยิน คำว่าได้กลิ่น คำว่าลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก สุขทุกข์ต่างๆ ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ก่อน เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดว่าสติสัมปชัญญะโดยที่ไม่รู้จักสภาพของธรรมก็คือว่าไร้ประโยชน์
อ.วิชัย ก่อนที่จะมาฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์ก็มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรมก่อน แต่พอมาฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์ซึ่งท่านอาจารย์ก็แสดงให้เข้าใจถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จึงจะรู้ว่าก่อนที่แม้จะศึกษาพระอภิธรรมก็ไม่รู้จักธรรมจริงๆ จนกว่าที่ได้ฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์ที่ชี้ให้เห็นจริงๆ ว่าธรรมขณะนี้บ่อยๆ เนืองๆ จึงเริ่มที่จะมีความเข้าใจถึงธรรมจริงๆ ได้ ถ้าเพียงแต่ฟังพยัญชนะชื่อต่างๆ ขณะนั้นก็ยังไม่มีความเข้าใจ เหมือนกับที่ให้เข้าใจธรรมขณะนี้
ท่านอาจารย์ เพราะว่าก็ได้ฟังมาอีกว่าหลายคนกลัวอภิธรรม ได้ยินแล้วก็เป็นชื่อที่เหมือนกับยิ่งใหญ่สุดเอื้อมเลยใช่ไหม อภิ ธรรม แต่ถ้าใครก็ตามที่ไม่เข้าใจธรรมจะเข้าใจอภิธรรมไหม เพราะว่าธรรมก็เป็นธรรมอยู่นั่นเอง แต่ความละเอียดความลึกซึ้งของธรรมนั้นเองคือ "อภิ" ละเอียดยิ่งที่จะรู้ว่าไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครด้วย
เพราะฉะนั้น บางคนแยกเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม แต่ถ้าไม่มีธรรมเลยจะมีอะไรไหม ก็ไม่มี แต่เมื่อมีธรรม ก็หลากหลาย เป็นธรรมที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยเช่นแข็ง หรือเสียงแต่ก็มีธาตุ หรือธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งสามารถที่จะรู้ได้ทุกอย่าง กำลังแข็งมี ปรากฏเพราะมีสภาพที่รู้แข็งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีธรรมไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไรจะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระรัตนตรัยก็ไม่ได้ จะมีพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก พระอภิธรรมปิฏกก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงเพราะละเอียดมาก แต่ทั้งหมดก็เป็นธรรม ถ้าเข้าใจว่าทั้งหมดเป็นธรรมจะสอดคล้องกับพระอภิธรรมไหม คือธรรมนั่นแหละเป็นอภิธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นสัจจธรรม จะใช้คำไหนได้อีกหลายคำ บ่งถึงความจริงของธรรมนั้นๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงต้องละเอียดที่จะต้องรู้ความจริงว่าเข้าใจเสียก่อนว่าอะไรคือธรรม แล้วต่อไปก็จะได้เห็นความลึกซึ้ง ขณะนี้สนทนากัน "อภิธรรม" หรือไม่ หรือเพียงแค่ธรรมเท่านั้น หรือเมื่อเป็นธรรมแล้วก็เป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงที่ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าจะรู้ให้ละเอียดขึ้นถึงการเกิดขึ้นของธรรมซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้ก็เป็นอภิธรรม และถ้าจะเข้าใจสติปัฏฐานก็คือว่าขณะนั้นมีความเข้าใจพอที่จะรู้ความเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่พยายามที่จะให้เกิดสติที่จะรู้ความจริงของธรรม นั่นก็คือฟังแล้วก็ลืมว่าธรรมเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคงในปริยัติจึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดการรู้เฉพาะลักษณะที่มีในขณะนี้ได้ทีละลักษณะ จนกระทั่งแทงตลอดรู้แจ้งตามความเป็นจริงว่าพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นสัจจธรรมทุกคำ
อ.วิชัย แม้กุศลในขั้นทาน ขั้นศีล เมื่อกระทำสำเร็จย่อมให้ผลแต่ที่พระผู้มีพระภาคตรัสที่พึ่งอย่างแท้จริง คืออบรมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความมุ่งหมายคือว่าถ้ายังไม่มีความรู้ความเข้าใจ จนอบรมปัญญาดับกิเลสก็ยังเป็นไปในสังสารวัฏฏ์ต่อ
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานต้องเป็นปัญญา ใครก็ตามที่จะทำ เจริญโดยที่ไม่มีความเข้าใจซึ่งเป็นปัญญา เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ทั้งหมดเป็นปัญญาเมื่อสามารถที่จะฟัง เข้าใจแล้วก็ค่อยๆ รู้ความจริงขึ้น
อ.วิชัย กราบขอบคุณท่านอาจารย์
ผู้ฟัง ถ้าจะฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ฟัง และก็ละเอียดรอบคอบ แล้วก็ศึกษาให้ถูกต้อง ตรงนี้ก็คือต้องตามลำดับ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเพื่อเข้าใจจะใช้คำว่าอะไรก็ตามแต่เพื่อเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่มีกำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องใช้คำอะไร
ผู้ฟัง ซึ่งถ้ายังไม่รู้เลยว่าธรรมคืออะไร แต่อยากรู้สติปัฏฐานเพราะว่าบอกว่าเป็นที่พึ่งเป็นเกราะ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดก็ยังเหมือนกับว่ายังต้องเป็นโมฆะบุรุษ ยังไม่รู้อะไรก็จะไปตรงนั้น
ท่านอาจารย์ ก็พูดคำที่ไม่รู้ตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นสติคืออะไร จะพ้นจากธรรมได้ไหม แสดงว่าเรายังไม่ได้เข้าใจธรรม ถ้าเข้าใจธรรมแม้สติที่เราใช้คำว่า "สติ" ก็มีจริงก็เป็นธรรม แล้วเกิด หรือไม่ และก็รู้ลักษณะของสติ หรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพียงชื่อเผินๆ แต่ทุกคำต้องเข้าใจเพื่อละความไม่รู้ ไม่ใช่เพื่อเราจะไปเจริญสติ แต่เพื่อละความไม่รู้ว่าคำนั้นคืออะไร หมายความถึงอะไร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะขยายความละเอียดว่าต้องไปตามลำดับก็คือฟังให้เข้าใจในสิ่งที่มีขณะนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจแล้วสติปัฏฐานคืออะไร ไปรู้อะไร ไปทำอะไร เพื่อให้รู้อะไร ก็ไม่มีคำตอบ
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมว่า ที่ว่าถ้าปฏิสนธิด้วยเหตุ ๒ แล้วไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย
อ.ธิดารัตน์ คิดว่าปฏิสนธิด้วยเหตุ ๒ หมายถึงว่าบรรลุเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ ไม่ได้หมายความสติปัฏฐานจะเกิดไม่ได้ หรือว่าอบรมเจริญปัญญาเพิ่มไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้กระทั่งปฏิสนธิไม่ได้มีเหตุ ๓ หรือไม่ได้สมบรูณ์มา แต่ก็มีการฟังธรรมสามารถที่จะสะสมความเข้าใจธรรม มีกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาที่จะเป็นปัจจัยให้ชาติต่อไปปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญาได้
ท่านอาจารย์ คุณอุดรทราบไหม ปฏิสนธิจิตของคุณอุดรเป็นจิตประเภทไหน
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ แล้วกำลังพูดถึงอะไร
ผู้ฟัง พูดถึงสิ่งที่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ใครจะรู้ปฏิสนธิจิตของใครได้
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าผู้นั้นเป็นพระอริยบุคคล รู้ได้เลยใช่ไหม ปฏิสนธิจิตประกอบด้วยโสภณเจตสิก เจตสิกที่ดีงามทำให้เกิดเป็นมนุษย์แล้วยังมี เจตสิกที่ดีงามคือปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยซึ่งจำแนกคนเป็นต่างๆ ที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมหนึ่งซึ่งเลือกไม่ได้เลยว่าจะเป็นระดับไหน แต่ก็เกิดมาแล้วกรรมนั้นก็ประมวลมาซึ่งธรรมที่เป็นปัจจัยที่จะเกิดได้ในชาตินั้น ตามกำลังของการสะสม เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นผลของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่มนุษย์ก็หลากหลายมาก มนุษย์ที่เกิดมาแล้วพิการตั้งแต่กำเนิดมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ปฏิสนธิจิตจะเหมือนกับคนที่ไม่พิการไหม
ผู้ฟัง ไม่เหมือน
ท่านอาจารย์ เพราะแต่กำเหนิดหมายความว่าถึงวาระที่ควรจะมีตา หู พวกนี้ กรรมก็ทำให้ไม่เกิด เป็นคนตาบอดแต่กำเนิดบ้าง หรือว่าหูหนวกแต่กำเนิดบ้าง เพราะฉะนั้น แต่กำเนิดหมายความว่าเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว ที่เบียดเบียนไม่ให้กุศลนั้นให้ผลที่จะทำให้เป็นผู้ที่ร่างกายสมบรูณ์ ไม่พิการทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเริ่องที่ละเอียดที่เราเห็นความหลากหลายตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว และที่สามารถจะให้ผลในชาตินั้นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น เวลานี้คนที่ไม่พิการมีมากกว่า หรือน้อยกว่าคนพิการ เกิดมาเป็นมนุษย์นี่
ผู้ฟัง ไม่พิการมากกว่า
ท่านอาจารย์ ไม่พิการมากกว่าก็แสดงว่ามนุษย์ที่พิการเป็นผลของกุศลอย่างอ่อนจนกระทั่งอกุศลสามารถที่จะเบียดเบียนได้ ด้วยเหตุนี้แม้คนที่ไม่พิการก็ยังต่างกันอีก หลากหลายมากเลยใช่ไหม บางคนก็พรั่งพร้อมวงศาคณาญาติทรัพย์สินเงินทอง บางคนก็ยากไร้
เพราะฉะนั้น ก็ตามผลของกรรมที่จะให้ผลเป็นบุคคลนั้นๆ ประเภทหนึ่ง แล้วก็มีคนซึ่งแม้ไม่ได้ร่ำรวยมั่งมีทรัพย์สินเงินทองแต่มีปัญญา ปัญญาที่นี่คือสามารถที่จะฟังพระธรรมเข้าใจ กับคนที่แม้จะมีทรัพย์สมบัติมากมายก็เข้าใจผิด ฟังแล้วก็ไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร มีความเข้าใจผิดในสิ่งที่ได้ฟัง ไม่เป็นผู้ที่สามารถที่จะรับพระธรรมได้ก็มีใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ความหลากหลายของกรรมที่ได้ทำไว้ก็ทำให้แต่ละบุคคลต่างกันตั้งแต่เกิด และแต่ขณะที่มีการเห็น การได้ยิน การคิดนึกยิ่งหลากหลาย ต่อไปข้างหน้าประมาณไม่ได้เลย ตั้งแต่แสนโกฏิกัปป์ถึงชาตินี้ ต่อไปอีกแสนโกฏิกัปป์ ด้วยเหตุนี้จึงทรงจำแนกธรรมเป็นประเภทๆ ต่างๆ และคุณอุดรจะรู้ตัวไหมว่าเวลาที่เกิดเป็นผลของกุศลกรรมก็จริง แต่สำหรับคุณอุดรมีปัญญาเกิดร่วมด้วย หรือไม่ จะทราบไหม
ผู้ฟัง ตอนนี้ยังไม่ทราบ มีปัญญาเกิดขึ้น หรือไม่
ท่านอาจารย์ แล้วของคุณธิดารัตน์ ปฏิสนธิจิต
ผู้ฟัง ยิ่งไม่ทราบใหญ่เลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะไปคิดในสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ขณะใดก็ตามที่มีการฟังพระธรรมเข้าใจก็จะต่างกับขณะที่ฟังไม่รู้เรื่อง ยากไปไม่ฟังดีกว่า สำหรับคนอื่นที่ไม่สนใจ และไม่เห็นประโยชน์ของการเข้าใจธรรม ก็เป็นแต่ละคนจนกว่าการฟังเข้าใจขึ้น แม้ในชาตินั้นจะยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ยังไม่สามารถที่จะให้ฌานจิตเกิดก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่าบุคคลนั้นสะสมปัญญา ในขณะที่ปฏิสนธิเกิดจะมีปัญญาเกิดร่วมด้วยหรือไม่
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรคิดเพราะแค่คิด ไม่สามารถจะรู้ความจริงได้ แต่ไม่ว่าใครก็ตามที่ฟังพระธรรมเข้าใจแล้วสะสมเพิ่มขึ้น ก็เป็นโอกาสที่ว่าถ้าจากโลกนี้ไปแล้ว ถ้ากุศลนั้นให้ผลก็ทำให้จิตเกิดประกอบด้วยปัญญา แล้วแต่ว่าจะเป็นระดับไหน ด้วยเหตุนี้แม้ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้ที่ได้ฟังพระธรรม บางท่านก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บางท่านก็ไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บางท่านก็ถึงความป็นพระอรหันต์ บางท่านก็ไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ ซึ่งแต่ละบุคคลก็จะรู้เมื่อผลเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น จากการฟังแต่ละครั้งก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าฟังแล้วเข้าใจธรรมที่กำลังฟังเพิ่มขึ้นชัดเจนขึ้นหรือไม่ แต่ไม่ต้องไปคิดถึงว่าปฏิสนธิจิตของเราประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ หรือของใครไม่ประกอบด้วยปัญญา ของคนนั้นประกอบด้วยปัญญา เพราะว่าเพียงคิด
ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์ และอาจารย์วิทยากร ถ้าในขณะที่อกุศลกรรมกำลังให้ผลอยู่ จะมีการพิจารณาอย่างไรเพื่อที่จะให้บรรเทาสิ่งเหล่านั้น
ท่านอาจารย์ ทุกคนก็มีอกุศลเกิด
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วทุกคนหรือจะพิจารณาอย่างไร
ผู้ฟัง พิจารณาคงไม่ได้ แต่ว่าคงจะบรรเทา หรือว่า
ท่านอาจารย์ ทุกคนก็มีอกุศลจิตเกิดกันทั้งนั้น แล้วจะบรรเทากันทุกคนได้ไหม
ผู้ฟัง คงไม่ได้ ต้องเป็นไปตามกรรม
ท่านอาจารย์ ต้องขึ้นกับเหตุ ถ้าไม่มีปัญญาแล้วจะให้เป็นอย่างไร ให้บรรเทาลงไปในลักษณะไหน
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้ อกุศลกรรมเหล่านั้นขณะที่ให้ผลอยู่ผู้ที่รับกรรมอยู่นั้นอยู่ในสภาพที่ต้องการที่พึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นที่พึ่งเมื่อมี แต่ยังไม่มีก็อบรมให้เกิดขึ้น ไม่ว่าในสถานะการณ์ใดๆ ปัญญาก็เกิดได้เมื่อมีปัจจัยที่ปัญญาจะเกิดแต่ไม่ใช่เป็นวิธีให้ทำอย่างนี้ ให้คิดอย่างนั้น
ผู้ฟัง แต่ขณะนั้นปัญญายังไม่เกิดเพราะเกิดช้า เกิดโตยาก
ท่านอาจารย์ แน่นอนถึงได้เป็นทุกข์กันนักหนา ลองไปเยี่ยมเพื่อนฝูงตามโรงพยาบาลก็ล้วนแต่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์กันทั้งนั้น แล้วจะไปให้เขาเกิดปัญญา หรือ
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จะไปให้เขามีปัญญาให้คิดอย่างนี้ให้ทำอย่างนั้นก็ไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ขณะตอนที่ฟังอาจารย์ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากจะทราบเพิ่มเติม อาจารย์กล่าวถึงกับว่าปัญญาเมื่อเจริญขึ้นแล้วก็จะสามารถแก้ไขสภาพธรรมต่างๆ ไม่ให้สั่งสมอกุศลจิตเกิดต่อไป และก็รู้วิธีแนวทางที่จะเดินโดยการเข้าใจธรรม
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กุศลจิตเกิดขณะนั้นอกุศลเกิดไม่ได้ ขณะใดที่ปัญญาเห็นถูกเกิด ขณะนั้นความสงสัยความไม่รู้ และความเห็นผิดเกิดไม่ได้
ผู้ฟัง ใช่ แต่ว่าขณะที่อกุศลจิตกำลังให้ผล
ท่านอาจารย์ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่ใช่เฉพาะตอนนั้น ไม่ว่าอกุศลกรรมให้ผล หรืออกุศลกรรมให้ผลก็แล้วแต่มีปัจจัยที่ปัญญาจะเกิด หรือไม่เกิด ไม่ต้องเลือกเวลาให้ปัญญาเกิด แล้วตอนที่กำลังได้ผลของกุศลกรรม กุศลวิบากล้วนแต่น่าพอใจทางตา หู จมูก ลิ้น กาย (ใจ) ไม่ต้องการ ไม่หวัง ไม่คิด ไม่เห็นประโยชน์ของการที่ปัญญาจะเกิดรู้ความจริงในขณะนั้น หรือ ทำไมจะไปเลือกเวลาที่อกุศลกรรมให้ผล
ผู้ฟัง แต่เราก็สั่งสมไว้เยอะมากเพราะว่าวันๆ หนึ่งก็เป็นอกุศลจิต ก็เลยสั่งสมมาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับ
ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่มีกำลังพอจะเกิด เพราะฉะนั้น ก็สะสมปัญญาพร้อมไม่ว่าในสถานการณ์ใด
ผู้ฟัง จึงต้องมาฟังธรรมเพื่อเจริญปัญญา
ท่านอาจารย์ ไม่อย่างนั้นก็เป็นตัวตนเลือก และก็หวัง และก็ต้องการแต่ก็ไม่ใช่ปัญญา คล้ายๆ กับจะบอกปัญญาว่าช่วยหน่อยๆ ใช่ไหม แต่ปัญญาอยู่ที่ไหน ปัญญาของใคร ปัญญาของตัวเอง หรือปัญญาของคนอื่น
ผู้ฟัง การเจริญปัญญานี่ก็ยากเหลือเกิน แต่ก็ต้อง
ท่านอาจารย์ แต่ผู้ที่เจริญแล้วมี จากการที่ยาก แล้วก็มีน้อยจนกระทั่งมีมากขึ้น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ปัญญาจำปรารถนาด้วยประการทั้งปวง
ท่านอาจารย์ เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวงแล้วก็ควรอบรมด้วย
อ.คำปั่น สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่อกุศลจิตก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติเป็นธรรมดา ได้เหตุได้ปัจจัยอกุศลก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ในเมื่อมีอกุศลเกิดมากอย่างนี้จะป้องกันอย่างไร เพราะเหตุว่าส่วนมากแล้วไม่คำนึงถึงภัยที่เกิดขึ้นภายในของแต่ละบุคคล นั่นก็คืออกุศลธรรมที่พร้อมจะกรุ้มรุม พร้อมที่จะเบียดเบียนได้ทุกเวลา และเมื่อสำเร็จเป็นอกุศลกรรมบทแล้วก็ให้ผลเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น เครื่องป้องกันอกุศลกรรมก็มีทางเดียวก็คือการเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย มีศรัทธา มีหิริความละอายต่ออกุศล มีโอตตัปปะความเกรงกลัวต่ออกุศล และที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่ได้สดับตรับฟังพระธรรม สะสมความรู้ความเข้าใจสภาพธรรม มีสติซึ่งเป็นความระลึกเป็นไปในกุศล และปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อกุศลธรรมเหล่านี้เจริญขึ้นไปตามลำดับอกุศลก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ขณะที่กุศลจิตเกิดก็ได้ชื่อว่าป้องกันอกุศลแล้วในขณะนั้น ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดแต่ก็ยังไม่มั่นคงพอ จนกว่าจะถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้โดยประการทั้งปวง ดับกิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์ เมื่อนั้นจึงจะเป็นผู้ปลอดภัยอย่างแท้จริง
ท่านอาจารย์ คนอื่นช่วยได้ไหม นอกจากตนเป็นที่พึ่งของตน
ผู้ฟัง คนอื่นช่วยไม่ได้ ไม่มีทางได้เลย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660