พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660
ตอนที่ ๖๖๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ผู้ฟัง จริงๆ ถ้าฟังแล้วก็จะรู้ว่าต้องเห็นก่อน ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วคิด คิดจากการจำได้ว่าเป็นอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่มีวันที่จะไม่เห็นว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ใช่ไหม เพราะเหตุว่าก็เห็นอย่างนี้แหละ แต่ปัญญาสามารถเห็นถูกเข้าใจถูกในสิ่งที่ปรากฏ และในการคิดถึงรูปร่างสัณฐานเพราะเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก จะไปแยกไม่ให้เกิดได้อย่างไร เห็นแล้วก็ต้องคิดมีนิมิตปรากฏแล้วก็จำรูปร่างสัณฐาน
เพราะฉะนั้น ก็เป็นปกติ คำว่าเป็นปกติคือไม่ใช่ไปให้ไม่เห็นว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าเป็นปกติคือ เป็นปกติที่เห็นแล้วรู้ก็สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องว่าสภาพที่แท้จริงของสิ่งปรากฏจริงๆ ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆ ทั้งสิ้นถ้าไม่มีการคิดก็สามารถที่จะเข้าใจความเป็นจริงได้ ยังไม่ปรากฏใช่ไหม สิ่งที่เป็นธรรมที่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้ทางตาปรากฏเป็นประจำเมื่อมีการเห็น แต่ยังไม่รู้ความจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นเองใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องมีศรัทธาอีกเท่าไหร่
ผู้ฟัง ต้องมาก
ท่านอาจารย์ เห็นไหม ไม่ใช่ว่าฟังนิดหนึ่งพอแล้ว ถ้าพอแล้วก็อยู่เป็นตอในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีทางที่จะออกไปได้เลย เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดดับๆ แต่ละภพแต่ละชาติไม่มีทางสิ้นสุดเลย เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ฟังธรรมแล้ว ขณะนี้ความมั่นคงในความเข้าใจถูกมีมากขึ้นหรือไม่ ว่าเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้วันหนึ่งแน่นอน ถ้าไม่สามารถเข้าใจอย่างนี้ได้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ฟัง แต่เมื่อฟังแล้วมีศรัทธาเพิ่มขึ้นหรือไม่ ยังไม่ถึงความเป็นศรัทธินทรีย์เพราะเหตุว่ายังไม่เกิดร่วมด้วยกับศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาที่กำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น จากธรรมเล็กๆ น้อยๆ ในวันหนึ่งๆ ที่เริ่มมีค่อยๆ มั่นคงขึ้น อย่างหนึ่งอสงไขยแสนกัปป์ หรือหนึ่งแสนกัปป์ก็เป็นคำพูดที่เริ่มที่จะเข้าใจว่าจะเป็นความจริงอย่างนั้น หรือไม่ ทำไมถึงนานอย่างนั้น ก็ให้รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้สามารถที่จะปรากฏความจริงอย่างนั้นได้แน่นอน เมื่อไหร่ ศรัทธาเพิ่มขึ้นจากการฟัง เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าไม่มีใครไปบังคับใครได้เลย แล้วแต่การสะสมแล้วแต่ปัญญาที่มนสิการที่สนทนากันเมื่อวานนี้ก็เป็นการที่ใส่ใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังโดยแยบคายโดยถูกต้องโดยเห็นประโยชน์ และเห็นคุณค่าจริงๆ
เพราะฉะนั้น การที่สามารถที่สภาพธรรมปรากฏตามความเป็นจริงได้ไม่ใช่เพียงศรัทธาเล็กๆ น้อยๆ จากการฟัง แต่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถรู้ความต่างกันของขณะที่ฟังเรื่องธรรมกับขณะที่กำลังเริ่มเห็นถูกเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จากศรัทธากว่าจะเป็นศรัทธินทรีย์ วิริยะมาแค่ไหน ปัญญานั้นอยู่สุดท้ายเกิดไม่ได้ง่ายๆ เร็วๆ มากๆ อย่างที่หวังว่าแล้วเมื่อไหร่จะรู้ ก็ไม่รู้อย่างนี้แล้วก็ความละเอียดที่จะต้องรู้ถึงอย่างนั้น แล้วยังมีคำถามว่าแล้วเมื่อไหร่จะรู้ก็แสดงว่าไม่มีศรัทธาในความอดทนที่จะรู้ความจริงว่าเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีความเพียรไม่มีวิริยะต่อการที่จะเข้าใจธรรม เพราะอยู่ดีๆ จะให้เกิดปัญญาเป็นไปได้อย่างไร แต่อาศัยการฟัง ทุกท่านที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพหุสูตร พหุสุตภาษาไทยจะใช้คำว่า “พหูสูตร” เป็นผู้ที่ได้ฟังมาก ฟังมากก็คือเข้าใจมากไม่ใช่ฟังเฉยๆ
เพราะฉะนั้น แต่ละครั้งที่ฟัง และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นศรัทธาก็เพิ่มขึ้นตามกำลังของปัญญา และวิริยะก็เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยด้วยโดยไม่ใช่เราทำ แต่รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะใดที่เป็นไปในกุศลธรรมที่ประกอบด้วยปัญญาก็ต้องมาจากการเห็นค่าของปัญญาประเสริฐสุด เพราะเหตุว่าทานใดๆ ก็ไม่เสมอกับธรรมทาน ถูกต้องไหม
ให้อะไรได้อะไรมาก็หมดไป แต่ความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการได้แต่ละครั้งไม่ใช่หมดไปจากการได้แต่ละครั้งเหมือนอย่างทรัพย์สินเงินทอง หรือว่าวัตถุอย่างอื่น ธรรมทานเป็นเยี่ยมกว่าทานอื่นๆ รสอะไรเป็นยอด รสพระธรรมกำลังเป็นยอดจริงๆ หรือไม่เห็นไหม ตอบกับเข้าใจเหมือนกันไหม กว่าศรัทธาจะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถที่จะค่อยๆ รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเพราะเข้าใจจากการฟังแล้วก็ไตร่ตรอง ในบรรดาสิ่งทั้งปวงอะไรประเสริฐสุด เอาอะไรชาตินี้ อยากได้อะไรนักหนา คุ้มไหมกับความอยากได้ ได้มาแล้วก็หมดไป ไม่เหลือเลย ไม่เหลือเลยจริงๆ นอกจากความหลงติดข้องซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องละ แต่เมื่อยิ่งติดเพิ่มขึ้นแล้วจะละได้อย่างไร เพราะฉะนั้น อะไรประเสริฐสุด
ผู้ฟัง ปัญญา
ท่านอาจารย์ ทุกคนก็ตอบพร้อมกันได้ใช่ไหม ปัญญาประเสริฐสุด แต่ว่าถ้าไม่มีการฟังก็ไม่มีทางที่ปัญญาจะเกิดได้เลย และต้องเป็นการฟังอย่างละเอียดด้วยความเข้าใจจริงๆ เป็นผู้ตรงมั่นคงในสัจจะ คือฟังเพื่อละไม่ใช่ฟังเพื่อที่จะได้ ละความไม่รู้ซึ่งมีอยู่ทุกขณะที่มีการเห็นการได้ยินการคิดนึก
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ เรื่องการศึกษาพระไตรปิฎกจริงๆ ไม่ทราบต้องฟังท่านอาจารย์ให้เข้าใจมากขนาดไหนถึงพอมีพื้นฐานที่ไปศึกษาพระไตรปิฎกได้พอเข้าใจ
อ.กุลวิไล เชิญคุณวิชัย
ผู้ฟัง ก็คงจะทราบว่าจุดประสงค์ของการอ่านพระไตรปิฎก หรือว่าการฟังพระธรรมก็คือความเข้าใจถูก แม้จากการที่ฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์ที่มีมากมายรวมถึงการสนทนาธรรมในที่ต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจธรรม ให้รู้จักธรรมว่าเป็นธรรมจริงๆ ซึ่งในพระไตรปิฎกก็แสดงอย่างนั้น แต่ถ้าเราเพียงอ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรมเลยก็ไม่เข้าใจถึงอรรถคือลักษณะของธรรมจริงๆ ก็จะคิดถึงเป็นเรื่องราวของบุคคลต่างๆ แต่ถ้าเมื่อเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะอ่านพระวินัยปิฎก หรือพระสุตตันตปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎกก็เข้าใจได้ถูกต้องเพราะมีพื้นฐานที่มั่นคง ว่าความจริงทั้งหมดก็เป็นธรรมที่เป็นลักษณะแต่ละอย่างมีเหตุปัจจัยให้เป็นไปในเหตุปัจจัยต่างๆ กัน ชาติหนึ่งที่มีโอกาสได้อบรมเจริญปัญญาก็เป็นชาติที่ประเสริฐ เพราะเหตุว่าปัญญาคือสภาพธรรมที่รู้ตามความเป็นจริงก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นเจริญขึ้นๆ โดยฟังจากบุคคลที่อบรมเจริญแล้ว แล้วก็รู้แล้ว
ท่านอาจารย์ คำถามที่ได้ยินก็คืออยากจะรู้สภาพธรรมแล้วก็เมื่อไหร่จะรู้ แต่เคยคิดไหมว่าเราเป็นคนดีขึ้นบ้าง หรือไม่ พระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อดับอกุศล แล้วก็เรื่องของการที่จะละอกุศลได้ก็ต้องด้วยปัญญา แต่เราก็มุ่งไปที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยลืมว่าแท้ที่จริงอกุศลที่เรามีมากมายสักแค่ไหนถ้าจะเปรียบกับเมื่อต้นไม้ต้นหนึ่งเกิดขึ้นเจริญเติบโตขึ้นงอกงามมีสาขามากมายคืออกุศลทั้งนั้น นานๆ ก็จะมีดอกผล คือกุศลบ้าง ใช่ไหม ก็แสดงให้เห็นว่าเราลืมเรื่องของคุณความดีซึ่งเป็นฝ่ายที่ตรงกันข้ามกับอกุศล และเราก็คิดแต่เพียงว่าเมื่อไหร่เราจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ แต่ลืมความดีคนดี ดีขึ้นบ้างไหม ฟังพระธรรมก็ตั้งนานอะไรดีขึ้นบ้างหรือไม่ หรือว่าเหมือนเดิม หรือว่าร้ายขึ้นอันนี้ก็แล้วแต่แต่ละคนที่จะรู้จักตัวของตัวเองตามความเป็นจริง
แต่ประโยชน์การอ่านพระไตรปิฎกข้อความในพระสูตรไพเราะจับใจ พระอภิธรรมพูดเรื่องปรมัตถธรรมซึ่งเป็นความจริงแท้ให้เห็นว่าความจริงเป็นอย่างนี้ ปัญญาที่จะรู้แจ้งเป็นอย่างนี้แต่ลืมว่าอกุศลมีมาก เพราะฉะนั้น ถ้าตราบใดยังมีอกุศลมากไม่เป็นบารมีที่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ เพราะฉะนั้น อย่างหนึ่งที่ทุกคนลืมแล้วก็มุ่งแต่เพียงว่าเมื่อไหร่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมรู้แจ้งอริยสัจจธรรมแต่ลืมความดีในชีวิตประจำวันแม้เพียงเล็กน้อยขณะนั้นไม่มีปัจจัยจะเกิด หรือว่าเริ่มที่จะเห็นประโยชน์พระธรรมเป็นไปเพื่อการขัดเกลา
เพราะฉะนั้น ที่อยากจะให้ทุกคนได้อ่านพระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตร หรือว่าพระวินัยด้วยก็เป็นถ้อยคำที่เป็นเครื่องเตือนให้เห็นความดีกับความชั่ว หรือความที่อกุศลกับกุศลต่างกันมาก และกว่าจะน้อมไปจะดีขึ้นๆ ได้ก็ด้วยความไพเราะจับใจของข้อความในพระสูตรไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคคลใดทั้งสิ้น พระราชามหากษัตริย์ หรือเรื่องในอดีตชาติสมัยโน้นกว่าจะได้มีความสามารถที่จะละคลายอกุศล และเห็นประโยชน์ยิ่งกว่ากุศลใดๆ ก็คือปัญญาที่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น ยังไม่ต้องถึงการรู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรม วันนี้ดีบ้าง หรือยัง แค่บ้าง หรือยัง ยังไม่กล่าวว่ามาก หรือน้อยแค่ไหนอย่าข้ามสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือกุศลทุกอย่าง เพราะว่าถ้าปราศจากกุศลต่างๆ เหล่านี้จิตก็เป็นอกุศลแล้วก็ไปหวังคอยว่าเมื่อไหร่เราจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมก็เป็นสิ่งซึ่งไม่มีเหตุผลก็เป็นไปไม่ได้ ในยุคนี้สมัยนี้คนลืมแม้แต่คำว่า “พุทธศาสนา” พุทธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานหมายความถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนาคือคำสอนของพระองค์ เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาก็คือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่คนลืมลืมศึกษาลืมฟังคำสอนก็เข้าใจว่าไปอ่านหนังสือเล่มนั้นก็ได้ เล่มนี้ก็ได้ แต่ว่าแท้ที่จริงแล้วไม่ว่าเป็นหนังสือเล่มใดจากใครก็ไม่ใช่พุทธศาสนาไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่บุคคลในครั้งอดีตกับบุคคลในยุคนี้ห่างไกลกันในการสะสมความเห็นถูกก็ตามกาลสมัย
สมัยนี้ถ้าไม่เข้าใจธรรม ปรมัตถธรรมก่อนก็จะเข้าใจพระสูตรเพียงผิวเผินแต่ก็เป็นความไพเราะแต่ไม่สามารถที่จะรู้ว่าไม่มีเราเลย ข้อความทั้งหมดแสดงธรรมแต่โดยนัยซึ่งกล่าวถึงธรรมซึ่งเป็นหัวข้อบ้าง หรือว่ารวบรวมไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ และเรื่องราวต่างๆ แต่ทั้งหมดเป็นธรรม แต่คนที่ไม่เข้าใจธรรมก็คิดว่าพระองค์สั่ง พระองค์บอกว่าให้ให้ทานอย่างนี้จะได้ผลมาก แต่ไม่ได้ให้ ให้ทานอย่างนี้แต่แสดงตามความเป็นจริงว่าการให้แต่ละครั้งขณะนั้นผลจะต้องมาจากเหตุคือจิตใจในขณะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรมหมดแต่คนก็เอาตัวเองเข้าไปใส่เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรม เวลาอ่านพระสูตรก็เลยกลายเป็นการทรงแสดงธรรมกับเรา ให้เราเป็นอย่างนั้นให้เราเป็นอย่างนี้ แต่ตามความเป็นจริงไม่ว่าพระวินัย พระสูตร หรือพระอภิธรรมก็แสดงธรรมตามความเป็นจริง แต่สำหรับพระวินัยเป็นสิ่งที่มีผู้ศรัทธาจะประพฤติปฏิบัติตามก็ทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อที่จะให้การอยู่ร่วมกันของบรรดาภิกษุเหล่านั้นเป็นไปโดยที่ว่าไม่ทำให้เกิดอกุศลเพิ่มขึ้น และต้องไม่ลืมว่าพระธรรมทั้งหมดไม่ใช่ชื่อเท่านั้น ไม่ใช่เป็นชื่อเป็นคำ แต่เป็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงซึ่งเมื่อพระปัญญาคุณที่ได้สะสมมาก็ทรงแสดงธรรมนั้นโดยละเอียดยิ่งโดยประการทั้งปวงโดยนัยต่างๆ
อ.กุลวิไล เชิญคุณธีรพันธ์
อ.ธีรพันธ์ ก็ให้เห็นความละเอียดลึกซึ้งของการศึกษาพระธรรมนอกจากมีการฟังมีการสนทนาแล้วหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎก ขณะใดที่มีศรัทธาศึกษาที่จะเข้าใจความหมายในพระไตรปิฎกคืออะไร อย่างไร อรรถที่แท้จริงคืออย่างไร
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ สภาพธรรมมีจริงแล้วก็ปรากฏในชีวิตประจำวันทั้งสภาพธรรมที่ดี และไม่ดีก็เกิดขึ้นตามเหตุ และปัจจัย แล้วจะเข้าใจต่อไปได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้คุณสุกัญญาพูดถึงธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยใช่ไหม แต่อะไรเกิด
ผู้ฟัง ก็มีทั้งสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ทีละหนึ่ง ทั้ง ทั้งหมดไม่ได้ การศึกษาอะไรที่จะให้เข้าใจจริงต้องทีละอย่างจนกระทั่งเข้าใจสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ใช่ข้ามไป และก็ศึกษามากมายแต่ว่าไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ทีละอย่างจะทำให้เข้าใจขึ้น ถ้าเราพูดรวมว่าขณะนี้มีธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัยแต่ไม่รู้อะไร มีธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย แต่ถ้าในขณะนี้สามารถที่จะบอกได้ว่าอะไรเป็นธรรมที่เกิดทีละอย่าง ก็สามารถที่จะเข้าใจว่าสิ่งนั้นมีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่พูดรวมไปข้ามไปว่าสภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง อย่างเสียงปรากฏ
ท่านอาจารย์ ดับแล้วในสังสารวัฏฏ์ไม่กลับมาอีกเลย ทำไมถึงพูดแค่นี้ ความจริงก็อย่างนี้ เราไม่รู้ความจริงของสิ่งที่เพียงเกิดปราฏแล้วหมด เพื่อให้ติดข้องถ้าไม่เข้าใจความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้นก็มีความยินดีติดข้องในเสียง หรือว่าไม่ยินดีไม่ติดข้องในเสียง
ผู้ฟัง ยินดี และติดข้องในเสียง
ท่านอาจารย์ โดยที่ไม่รู้ความจริงว่าความยินดีเกิดแล้วก็ดับ เสียงเกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเลยซึ่งเกิดแล้วไม่ดับไปแต่ไม่รู้เลยสักอย่างว่ากำลังเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ เพราะฉะนั้น พูดเพื่อให้ไม่ลืม ข้ามไปในขณะที่เสียงปรากฏก็รู้เสียงในขณะนั้น แล้วก็เห็นความจริงของเสียงว่า เสียงเกิดแล้วเสียงก็ดับไป แต่ปัญญาไม่พอที่จะละความติดข้องความเป็นตัวเราเพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่มีแต่เสียง ยังมีธาตุ หรือสภาพธรรมที่ได้ยินเสียงด้วยเสียงจึงปรากฏ
เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงความจริงในชีวิตประจำวันก็เป็นความจริงเหมือนที่ได้เคยฟังมาแล้ว แต่ว่าความเข้าใจ และความสนใจในสิ่งที่มีจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทำให้รู้ และเข้าใจจริงๆ ว่าที่เราบอกว่าทุกวันก็มีแต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นแล้วก็คิด ทางตาก็เห็นแล้วก็คิดเรื่องราวต่างๆ ทางหู เสียงปรากฏแล้วก็คิด ห้ามความคิดอะไรก็ไม่ได้เลย ความคิดต้องเกิดแต่ก็หมดแล้วทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น ควรเข้าใจความจริงซึ่งเป็นเพียงธรรมซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปให้มากขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่าธรรมมีจริงๆ หลากหลายมาก และบังคับบัญชาไม่ได้เลยสักอย่างเดียว เกิดแล้วก็ดับไปๆ
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเป็นเหตุหนึ่งที่จะทำให้สามารถค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังได้ฟัง จนกว่าจะถึงกาลที่สามารถจะรู้ความจริงในขณะที่ธรรมนั้นไม่ใช่ธรรมอื่น ธรรมนั้นคือหนึ่งแล้วแต่จะเป็นธาตุรู้ หรือสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น หรือว่าเป็นเสียง หรือว่าเป็นคิดนึกซึ่งเป็นความจริงทั้งหมด
ผู้ฟัง แต่ว่าความรู้ยังไม่เพียงพอที่จะเข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นเพียงแค่ธรรมยังเป็นเราที่ได้ยิน หรือว่ายังเป็นเสียงใดเสียงหนึ่งของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ ทีนี้สภาพของความเป็นตัวตน หรือเป็นเราถ้าจะกล่าวว่าไม่มีเลยในสภาพความเป็นจริงของชีวิตยังปรากฏอยู่
ท่านอาจารย์ เป็นเราในขณะไหน
ผู้ฟัง ในขณะที่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ ขณะที่ได้ยิน ได้ยิน ได้ยินอะไร
ผู้ฟัง ได้ยินเสียงท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ได้ยินเสียงดับไปแล้ว คิดต่อไหมว่าเป็นเสียงใคร
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เสียงใครดับไปแล้วคนนั้นก็ดับ ถ้าเสียงเป็นคนนั้นแล้วเสียงหมดไปแล้ว คนนั้นก็ต้องดับไป หมดไปแล้วไม่มีคนนั้นอีกเลย
ผู้ฟัง แต่ยังมีความคิดกับความจำ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อนกำลังฟังเรื่องเสียง ได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่าเสียงใคร ไม่ เหมือนกันแล้วใช่ไหม เสียงเป็นเสียง ได้ยินเป็นได้ยินได้ยินเสียงแล้วก็ดับไป แล้วก็รู้ว่าเสียงใครจำได้ว่าเป็นเสียงใคร ถ้าเสียงนั้นเป็นใคร ใครคนนั้นก็ต้องไม่เหลือแล้วเพราะเสียงนั้นดับไปแล้ว
เพราะฉะนั้น ความไม่รู้มีมาก และก็ความคิดก็ทำให้ยึดถือแม้สิ่งที่ดับไปแล้วว่าเป็นอะไร ขณะนี้สภาพธรรมทั้งหมดตามความเป็นจริง จะเห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงตรัสรู้สิ่งที่คนอื่นไม่รู้ คือแม้แต่เสียงก็ดับไปแล้วได้ยินก็ดับไปด้วย แล้วก็คิดเรื่องความหมายของเสียง แล้วก็มีความพอใจไม่พอใจในเสียง และในเรื่องมากมายหลายประการอย่างรวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ จนทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อครู่นี้อะไรที่ดับไป อย่างที่คุณสุกัญญาบอกว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับตามเหตุตามปัจจัย เมื่อครู่นี้อะไรเกิดอะไรดับ ไม่รู้เลยใช่ไหม นี่ก็แสดงว่าความไม่รู้ก็เป็นอย่างนี้ ชาตินี้ทั้งชาติไม่รู้แล้วจะรู้เมื่อไหร่ ชาติหน้ามีโอกาสที่จะรู้หรือไม่ ก็ไม่ทราบใช่ไหม แต่ถ้ามีความเข้าใจถูกไม่ได้ให้ไปทำอะไรเกินความสามารถเกินความเป็นจริง เพียงฟังแล้วเข้าใจเท่านั้นเอง เพราะว่าจะเกินกว่านี้ไม่ได้เลย แต่อาศัยความเข้าใจที่เข้าใจขึ้นเพราะฟังมากขึ้น รู้ความจริงมากขึ้นก็จะทำให้เป็นผู้ที่ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วไม่ลืมไปคิดเรื่องอื่นเลย โดยลืมไปแล้วว่ามีสิ่งที่ปรากฏ แล้วสิ่งนี้ปรากฏแล้วหมดไปแล้วก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น กว่าจะถึงกาล หรือขณะที่เริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังพูดถึงแต่ละอย่างซึ่งมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างซึ่งเกิดแล้วดับไปเร็วที่สุด ไม่ต้องไปกังวลมีสิ่งที่ปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจตลอดเวลาจนกว่าจะเริ่มเข้าใจได้ และความเข้าใจนั้นก็ไม่ใช่ของใครเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เข้าใจดับ แล้วก็มีไม่เข้าใจจนกว่าจะหมดความไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ อย่างนั้นลักษณะของความเป็นตัวตน ก็ไม่ใช่ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นธรรมไม่ใช่ความเห็นผิด เห็นเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้ว่ากำลังมีสิ่งปรากฏให้เห็นเดี๋ยวนี้ นี่คือเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ความเห็นผิด ได้ยิน เสียงขณะนั้นที่ได้ยินมีเสียงปรากฏแน่นอนไม่ใช่เสียงอื่นด้วย เฉพาะเสียงนั้น และก็ได้ยินเสียงนั้นไม่ใช่ความเห็นผิด
เพราะฉะนั้น จิตที่เห็น จิตที่ได้ยิน จิตที่ได้กลิ่น จิตที่ลิ้มรส จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทั้งหมดนี้ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยเลย เป็นแต่เพียงธาตุซึ่งอาศัยการเกิดขึ้น อุปัตติของธรรมที่กระทบกันเป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรมที่รู้ว่าขณะนั้นมีอะไร เช่นคุณสุกัญญามีตาหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่ามี
ผู้ฟัง จำ คิดว่ามีตาแล้วก็เห็น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะรู้ว่ามีตาไหม
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็ไม่มีตา
ท่านอาจารย์ ความเป็นจริงขณะนั้นตาไม่มี เพราะอะไร เกิดแล้วดับแล้วหมดเลย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660