พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
ตอนที่ ๖๐๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเป็นใครได้อย่างไร นอกจากคิด เหมือนฝันว่า สิ่งนี้ยังอยู่ ยังเห็นอยู่ ยังเป็นรูปร่างอย่างนี้อยู่ ยังเข้าใจว่าเป็นชื่อนี้อยู่ ยังเป็นคนนี้อยู่
เพราะฉะนั้น ก็คือฝันถึงสิ่งที่ไม่มี เหมือนเวลานอนหลับแล้ว ก็ฝันถึงสิ่งที่ไม่มีทั้งนั้น เพราะเพียงคิด อยู่ในโลกของความฝัน ถ้าโลกของความจริง คือ ขณะนั้นตื่นปัญญาเกิดรู้ความจริงว่า เป็นเพียงธรรมที่มีลักษณะที่ปรากฏขณะนั้น และถ้าจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ สิ่งนั้นที่ปรากฏเกิดแล้วก็ดับด้วย ไม่เหลือเลย ตรงตามที่ได้ทรงแสดงทุกอย่าง ไม่มีสักคำเดียวที่ผิดไปจากความเป็นจริง แต่คนฟังจะรู้ และเข้าใจได้แค่ไหนเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง แสดงว่าถ้าเรายังไม่รู้ธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ ก็เหมือนอยู่ในความฝันตลอด
ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ฝันหรือไม่ ตื่นมาทำอะไรที่ไหนอย่างไร ก็ไม่เหลือแล้ว เหมือนในฝันไหม พอตื่นมาที่มีในฝันก็ไม่เหลือ เพราะฉะนั้น เมื่อวานนี้ยังมีอะไรเหลือบ้างที่จะต่างกับฝัน ที่ในฝันมีทุกอย่างเลย แต่พอตื่นขึ้นมาไม่เหลือเลยสักอย่าง
เพราะฉะนั้น เมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน สิ่งที่เห็น ได้ยินทั้งหมดเหมือนฝันไหม เพราะหมดแล้ว แล้วไม่กลับมาอีกด้วย ไม่เหลือเลยสักอย่าง แม้ขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้ ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้หรือไม่ หรือไม่ว่าจะอยาก หรือไม่อยากก็เป็นอย่างนี้ แล้วจะฝันต่อไป หรือจะตื่นจากฝัน คือรู้ความจริงทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถหมดกิเลสได้ เพราะคนไม่ฝันคือผู้ไม่มีกิเลส
ใครไม่ฝันบ้างเมื่อคืนนี้ เดี๋ยวจะเป็นผู้ไม่มีกิเลส แต่ความจริงไม่ใช่ ไม่ฝันเพราะไม่มีปัจจัยที่จะฝัน คือ พระอรหันต์ เพราะหมดกิเลส แต่คนที่ไม่ฝันเมื่อคืนนี้อาจจะไม่รู้ว่า ฝันสั้นๆ ก็ได้ แล้วจำไม่ได้ว่าฝันว่าอะไร ก็เลยบอกว่าไม่ฝัน เหมือนหลับสนิทเลย ก็แล้วแต่ขณะนั้นจะเป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ โดยที่ว่าไม่คิดนึกก็ได้ ตามความเป็นจริง ความเป็นจริงก็คือจริง ใครจะไปเปลี่ยนได้ แต่ต้องเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่สับสน และไม่เข้าใจผิด
ผู้ฟัง ปัญญาถึงจะรู้ความจริงได้ ทีนี้ในผู้ศึกษาที่ยังฟังไม่เข้าใจ ก็จะตั้งข้อสงสัยว่า อยู่ในโลกความจริง ไม่ใช่โลกความฝัน นอกจากฟังธรรมให้เข้าใจแล้ว ยังสงสัยว่าเมื่อฟังธรรมเข้าใจแล้วจะไม่อยู่ในโลกของความฝันอย่างไร
ท่านอาจารย์ แข็งมีจริงไหม
ผู้ฟัง แข็งมีจริง
ท่านอาจารย์ แข็งเป็นธรรม เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ เกิดแล้วจึงได้ปรากฏ รู้แข็ง หรือไม่
ผู้ฟัง ยังไม่รู้ความจริงตรงแข็งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ รู้จักโต๊ะ รู้จักเก้าอี้ แต่ลืมแข็ง
ผู้ฟัง อย่างจับก็ไมโครโฟนชัดเจน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็อยู่ในโลกของความคิดจากสิ่งที่มีจริงๆ ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ก็เข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง นี่คือฝัน เพราะไม่รู้ความจริง จะใช้คำว่า “หลง” ก็ได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริง จะใช้คำว่า “หลับ” ก็ได้ เพราะไม่ได้ตื่น ยังคงอยู่ในโลกของความคิด ความจำ ฝันก็จำ ขณะนี้แม้มีสิ่งที่ปรากฏ ก็จำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่รู้ความจริงของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น เวลาตื่น คือ มีลักษณะจริงๆ ปรากฏเมื่อไร เมื่อกี้นี้ที่คิดเรื่องโต๊ะ เรื่องเก้าอี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ มี หรือไม่ เพราะว่าขณะนั้นเพียงแข็งที่ปรากฏให้รู้ว่ามี มีลักษณะจริงๆ แต่ต้องเข้าใจถูก ไม่ใช่ถามใครว่าแข็งไหม ก็ตอบว่าแข็ง แต่ไม่รู้ว่า แข็งนี่แหละคือสิ่งที่เพียงปรากฏแล้วหมดไปอย่างหนึ่ง ในทุกๆ อย่างที่ปรากฏ ไม่ใช่เฉพาะแข็งที่เพียงปรากฏให้รู้ว่ามี แล้วก็หมดไป แล้วไม่ได้กลับมาอีกเลย ขณะนั้นเริ่มรู้ว่า ขณะใดก็ตามที่สภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิด และขณะนั้นเพราะสติที่ฟังจนเข้าใจ เกิดเป็นปกติ ตามธรรมดา เพียงแข็งนิดเดียวก็รู้ความจริงนิดหนึ่งว่า ขณะนั้นไม่มีอะไรเลย เห็นไหม แม้แต่คำที่ว่า ขณะที่แข็งปรากฏ ขณะนั้นไม่มีอะไรเลย ถึงใจ หรือยัง จรดกระดูก หรือยังว่า ไม่มีเลย โลกทั้งโลกไม่มี คนไม่มี โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อนฝูง มิตรสหายใดๆ ไม่มีเลยทั้งสิ้น มีแต่แข็งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป จรดกระดูก หรือยัง ถ้าขณะนั้นก็คือเริ่มเข้าใจลักษณะของธรรมว่า มีจริงๆ แล้วไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้น ที่เคยเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นหมอน ก็คือไม่ได้รู้ลักษณะแข็งซึ่งเกิดดับ แล้วเกิดดับสืบต่อเป็นนิมิตปรากฏให้เห็น ทำให้เข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้น กว่าจะตื่นขึ้นเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด แล้วรู้ลักษณะที่มีด้วยความเห็นถูก ด้วยความเข้าใจว่า ขณะนั้นไม่มีอย่างอื่น และไม่มีอะไร นอกจากลักษณะนั้นซึ่งเป็นสภาพที่ปรากฏกับธาตุที่กำลังรู้สิ่งนั้นเท่านั้น
นี่คือหนทางที่จะละอัตตา เพราะเป็นอนัตตาจริงๆ จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร เพียงเป็นสภาพธรรมที่มี ปรากฏแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้น ก็จะคลายการยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง
ผู้ฟัง ฟังก็เข้าใจขั้นฟังเช่นนั้น แต่คิดว่าฝันเป็นจริง เช่น คิดว่าตัวเองนั่งอยู่ มีตัวตนที่ชื่ออรวรรณ นั่งอยู่ และกำลังถาม จับไมโครโฟน ฟังท่านอาจารย์ก็เข้าใจได้ว่าไม่จริง ความจริงก็คือเป็นธรรมแต่ละอย่างที่เกิดปรากฏแล้วก็หมดไป แล้วไม่มีอะไรเหลือ แต่ความที่เหมือนกับไปยึดความฝันว่าเป็นความจริงจรดในกระดูก ทำให้ไม่สามารถเอาความจริงที่ฟังมาจรดในกระดูกแทน
ท่านอาจารย์ แน่นอน ใครจะสามารถ เพราะไม่มีเรา ได้ยินคำว่า “อุปาทาน” แปลได้ รู้ แต่จรดเยื่อในกระดูก หรือไม่ ความยึดมั่น ถือมั่นในอะไรบ้าง อุปาทาน ๔ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นกามุปาทาน มีใครบ้างวันไหนที่ไม่ติด เห็นไหม ยึดมั่นแค่ไหน จะถอนความยึดมั่นออกได้อย่างไร ในเมื่อติดมานานมาก และติดอย่างเหนียวแน่นด้วย ยากที่จะแกะ ที่จะไถ่ถอน แล้วบอกว่าฟังอย่างไรก็ยังไม่ได้ละ ก็จริง ปัญญาแค่นี้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่เริ่มเข้าใจปัญญาว่า สามารถฟังเข้าใจได้ เริ่มจากสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังได้ นี่คือขั้นต้น เพราะบางคนฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ไม่ยอมเข้าใจด้วย คิดว่าเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ แต่ก็จริง
เพราะฉะนั้น คำว่า “อาจหาญ ร่าเริง” จรดเยื่อในกระดูก หรือยัง ไม่ต้องไปรบใครที่ไหน ชนะใครที่ไหนเลย เพียงแค่ฟังแล้วเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ นี่คือขั้นเริ่มจะก้าวเข้าไปรู้ความจริง เพราะรู้ว่า จริงเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าไม่รู้เลยจะไปไหน จักขุวิญญาณเกิดดับ จักขุวิญญาณมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียงแค่ ๗ ประเภทเท่านั้นเอง แล้วพอดับแล้ววิตกเจตสิกเกิดพร้อมจิตขณะต่อไปตลอดเรื่อยไป เว้นจิต ๑๐ ประเภทเท่านั้นที่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วแต่ว่าวิตกเจตสิกจะจรดที่อารมณ์ไหน ซึ่งเป็นกิจของธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่โทสะ เพียงแค่ทำกิจจรดในอารมณ์ที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนจิตที่เกิดต่อจักขุวิญญาณไม่เห็น ไม่ได้ทำทัสสนกิจ แต่วิตกจรดในอารมณ์ที่จิตเห็นเกิดเห็นแล้วดับไป จึงต้องมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมกับจิตที่เกิดต่อ คือ สัมปฏิจฉันนะ ไม่มีเราเลย กว่าจะเป็นวิตก วิตกไม่ว่าจรดในอารมณ์ที่เป็นกุศล หรืออกุศล แล้วเราเคยมีวิตกในอารมณ์อะไรในสังสารวัฏ นานแสนนานมาแล้ว คือ เข้าใจว่าเที่ยง เข้าใจว่าเป็นเราทุกชาติ และเข้าใจว่าเป็นสุขด้วย จะไม่ให้เห็นอีกเลย ดับเลย ไม่มีการเกิดอีกเลย คิดอย่างไร ในเมื่อยังติดอยู่ ยังต้องการอยู่ในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจธรรม ไม่มีทางที่ใครจะหมดกิเลส โดยไม่รู้ ไม่เข้าใจความจริงของธรรม ซึ่งขณะนี้เป็นอย่างนี้ แล้วทรงแสดงให้รู้ว่า ความจริงก็คืออย่างนี้แหละ
เพราะฉะนั้น แม้แต่ละคำ วิตกเจตสิก เที่ยวจรดไปในอารมณ์อะไรมากมายในสังสารวัฏ ซึ่งเหมือนฝันทั้งนั้นเลย เพราะไม่มีอะไรเหลือ แล้วยังจะทำหน้าที่นี้ต่อไปอีกในสังสารวัฏที่จะเกิดต่อไป ก็เป็นอย่างนี้ แล้วไปทางไหนกันตามวิตกที่ไม่รู้ ถ้าไม่รู้ก็ไปทางอกุศล โลภะเกิด ถ้าไม่ได้สิ่งที่พอใจ โทสะเกิด มีความสำคัญตนด้วยในสิ่งที่ไม่มีอะไรเลย เหมือนลูกโป่งลอยไปในอากาศ ข้างในมีอะไร ว่างเปล่า แต่ก็ลอยไปสารพัดทิศ แล้วแต่จะไปได้สูงแค่ไหน ทั้งหมดคือการไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น วิตกก็สำคัญจนกระทั่งเป็นถึงสัมมาสังกัปปะในมรรคมีองค์ ๘ ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม จากการที่เที่ยวจรดไปโน้น จรดไปนี่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยสุขทุกข์ต่างๆ ด้วยความคิดมากมายซึ่งเป็นเพียงชั่ว ๑ ขณะจิตที่เกิดแล้วดับ กว่าจะถึงความเข้าใจธรรม แล้วค่อยๆ สะสมความเข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถเป็นอารักขโคจร โคจร คือ สิ่งที่เป็นอารมณ์เดี๋ยวนี้ที่กำลังได้ยินได้ฟัง ฟังอะไร แต่ก่อนเคยฟังเรื่องอื่นมากมาย แต่ฟังธรรมเตชะ พระพุทธพจน์ทั้งหมด มีกำลังที่ทำให้สามารถเห็นความจริงของสภาพธรรมได้ทีละเล็กทีละน้อย ฟังบ่อยๆ เข้าใจขึ้น รู้ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณา ไม่เลือกหน้าเลย ไม่ว่าใคร พร้อมที่จะให้เขาเกิดความเห็นถูก เกิดความเข้าใจถูกที่จะพ้นทุกข์ ขณะที่เคยเป็นอกุศล ธรรมที่ได้ฟัง จะไม่รู้เลยว่า เหมือนเกล็ดเกลือทีละเกล็ดตกลงไปในมหาสมุทรในสังสารวัฏ กว่าจะถึงกาลที่ทำให้ค่อยๆ เข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ จากการที่เคยตรึก หรือจรดเป็นอกุศล ก็จะเป็นกุศลค่อยๆ เพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า บรรดากุศลทั้งหลายที่เกิดขึ้นเพราะเข้าใจพระธรรม ขณะนั้นพระธรรมที่ได้ฟังแล้วเป็นอารักขโคจร คุ้มครองรักษาไม่ให้จิตขณะนั้นเป็นอกุศล จะเอาอะไรไปรักษาจิตซึ่งเน่าใน ที่ใช้คำว่า “เน่าใน” อยู่ข้างในไม่มีใครเห็นเลย ตัวเองก็ไม่เห็น มีใครเห็นความเน่าในของจิตของตัวเองบ้าง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ถ้าสิ่งที่ปรากฏภายนอกรู้ได้ว่า น่ารังเกียจ เป็นแผลมากมายระดับไหน แต่สิ่งที่ยิ่งกว่านั้นที่มองไม่เห็นจะมากมายกว่านั้นสักเท่าไร
เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมด ถ้าได้พิจารณาเข้าใจจริงๆ จะมีความเข้าใจในทุกคำได้ แม้แต่คำว่า “กำลังบริโภคพระธรรมเมื่อเข้าใจ” อยู่ในจิตเลย ถึงจิต ทุกอย่างที่ปรากฏถึงจิตทั้งหมด อยู่ในจิต แล้วแต่การสะสม
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ของการฟัง คือ ฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อเราจะดับกิเลส หรือฟังเพื่อเราจะรู้แจ้งการเกิดดับของสภาพธรรม นั่นคือเราฟัง แต่ไม่เข้าใจว่า ไม่มีเรา แต่เป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง แสดงว่าสภาพธรรมแต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ของเขาไป อย่างสัญญาเจตสิกก็จำอย่างเดียว วิตกก็คิดนึกจรดในอารมณ์นั้นแต่ละอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีตัวตนไปทำเลย
ท่านอาจารย์ เข้าใจแค่นี้ แต่ใครกำลังเข้าใจ ก็ต้องสะสมจริงๆ จะเห็นประโยชน์ของการฟัง และสงสารเห็นใจคนที่ไม่ได้ฟัง และถ้าฟังแล้วก็ยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแล้วก็ยังไม่ว่าง่าย ก็ไม่ทราบว่าจะใช้คำว่าอะไร เพราะไม่มีใคร แต่ตามการสะสม
เพราะฉะนั้น ผู้ที่อดทน ผู้ให้ และผู้รับก็ต้องอดทนที่จะฟังจนกระทั่งเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง อย่างนี้ในขั้นฟังก็เข้าใจได้ว่า จริงๆ เป็นเช่นนั้นว่าเป็นฝัน เพราะว่าหมดแล้ว ไม่มีความจริงเหลืออยู่ นอกจากเป็นคิด หรือจำได้ การเริ่มต้นฟังเข้าใจตรงนี้ก็สามารถทำให้เข้าใจต่อๆ ไปได้ จนสามารถรู้จริงๆ ว่าเป็นความฝัน เมื่อความจริงดับ
ท่านอาจารย์ ได้ยินแล้ว ใช่ไหม จะไม่ให้ได้ยินได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยแล้วจะให้หายไปได้ไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ในเมื่อทุกอย่างอยู่ในจิต เพราะฉะนั้น ก็แสสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถทำให้กุศล หรืออกุศลใดๆ ที่เกิดแล้วหมดไปได้เลย เพราะว่าสะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกขณะ เพียงแต่ว่าจะมาก หรือจะน้อยในชาติไหน เมื่อไร เหมือนเดี๋ยวนี้ฟังแล้วแต่ยังไม่เข้าใจมากมายพอจะละกิเลสได้ แต่เริ่มรู้ว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ ฟังต่อไปอีก ก็เข้าใจขึ้น ในภพหนึ่งชาติหนึ่งเราไม่สามารถรู้ว่า ปัญญา ความเห็นถูกของเราจะเพิ่มขึ้นสักแค่ไหน แต่ทั้งหมดมีแล้ว เป็น"อาสยานุสยะ" การสะสมที่ทำให้แต่ละคนมีอุปนิสัยต่างกันไปตามปัจจัยของแต่ละชาติด้วย
ก็เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด และกำลังจะผ่านไปสู่ชาติต่อๆ ไปอีก แต่ให้ทราบว่า ณ กาลครั้งหนึ่ง หรือครั้งหนึ่งเคยได้ยินได้ฟัง เคยสะสมความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาเจริญขึ้นมากๆ พอฟังอีกก็เข้าใจได้ ไม่มีความสงสัย แม้แต่คำว่า “ธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย” เป็นภาษาบาลีที่ท่านพระอัสชิกล่าวกับท่านพระสารีบุตร ไม่ทราบว่าคุณคำปั่นจะกล่าวคำนั้นอีกครั้งหนึ่งได้ไหม
อ.คำปั่น เป็นช่วงที่ท่านอุปติสสะปริพาชก ก็คือท่านพระสารีบุตรตอนที่ท่านเป็นปริพาชก เป็นเพื่อนกับท่านโกลิตะ ซึ่งภายหลังคือท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทั้งสองท่านเป็นเพื่อนกัน แสวงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้น ท่านทั้งสองตกลงกันว่า ถ้าผู้ใดรู้แจ้งธรรมก่อนก็ขอให้ได้บอก ในช่วงนั้นท่านอุปติสสปริพาชกได้พบกับท่านพระอัสชิ ซึ่งเป็น ๑ ในภิกษุปัญจวัคคีย์ และได้เห็นความสงบน่าเลื่อมใสของท่านก็เลยเข้าไปถามว่า ท่านบวชอุทิศใคร พระศาสดาของท่านมีปกติกล่าวสอนว่าอย่างไร ซึ่งท่านพระอัสชิก็ได้กล่าวว่า เนื่องจากว่าท่านเป็นผู้ที่บวชไม่นาน ท่านก็เลยกล่าวพุทธพจน์สั้นๆ ว่า เย ธัมมา เหตุปปภวา หมายความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ เตสังเหตุง ตถาคโต พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น เตสัญจ โย นิโรโธ จ และก็ตรัสถึงความดับแห่งธรรมเหล่านั่น เอวังวาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้
ซึ่งแปลโดยความก็คือ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุ และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้ ซึ่งจากการฟังสั้นๆ นี้ ท่านอุปปติสสะปริพาชกได้รู้แจ้งเป็นพระโสดาบัน เมื่อได้บรรลุพระโสดาบันแล้วก็ได้นึกถึงเพื่อนตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่า ถ้าท่านใดรู้แจ้งธรรมก่อนขอให้ได้มาบอก ซึ่งท่านอุปติสสะก็ได้มากล่าวธรรมที่ตัวเองได้ฟังให้ท่านโกลิตะฟัง ท่านโกลิตะก็ได้รู้แจ้งเป็นพระโสดาบันด้วย
ท่านอาจารย์ สั้นมากเลยใช่ไหม แต่สามารถจะรู้แจ้งอริยะสัจจธรรมได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจภาษาบาลี ธรรมเป็นภาษาอะไร เป็นภาษาไทยหรือภาษาบาลี ก็ไม่ใช่ภาษาไทย ก็ยังต้องอธิบายว่า ธรรมนี่คืออะไร แต่ถ้าได้ฟังว่าขณะนี้สิ่งที่มีจริงๆ เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ แค่นี้ความเข้าใจของคนที่ฟังมาแล้วก็พอที่จะเข้าใจได้ แต่ไม่ถึงท่านพระสารีบุตร แต่ก็ยังฟังได้ว่าขณะนี้สิ่งที่เกิดเดี๋ยวนี้มีปัจจัยให้เกิดขึ้น ถ้าฟังบ่อยๆ จะสงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้ไหม ก็เป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์บอกว่า ธรรมเกิดแต่เหตุ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขอเชิญคุณคำปั่นทวบทวน จะได้ตรง
อ.คำปั่น ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ธรรมเหล่าใดหรือเปล่า ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ผู้ฟัง ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ เฉพาะเหตุ ๖ หรือว่า
ท่านอาจารย์ ท่านพระสารีบุตรสงสัยอย่างนี้หรือไม่
ผู้ฟัง ก็คิดนะว่าท่านพระสารีบุตรฟังแค่นี้ ก็เข้าใจแล้ว บรรลุแล้ว ทำไมหนูฟังแล้วยังสงสัย ไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ แค่ธรรมบางคนยังไม่รู้เลย พอพูดธรรมก็หาโน้นหานี่ว่าตรงไหนเป็นธรรม และเดี๋ยวนี้ตรงธรรมหรือยัง และท่านพระสารีบุตรกำลังฟัง มีธรรมที่ท่านตรงด้วยความเข้าใจหรือไม่ เพียงคำสั้นๆ
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นกำลังของปัญญา สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งซึ่งเสมือนว่ารู้ไม่ได้ ขณะนี้กำลังเห็น แม้สิ่งที่ปรากฏเกิดดับอย่างไร ก็เห็นอยู่อย่างนี้ ใช่ไหม แต่ไม่เคยรู้เลย ไม่เคยแม้แต่จะจำคำที่ได้ยินบ่อยๆ ว่าเป็นธรรมที่มีจริงซึ่งเพียงปรากฏให้เห็นได้ ให้เห็นได้ ลองคิดดู ใครไปทำอะไรไม่ได้เลย ถ้ามีจิตเกิด ธรรมนี้ปรากฏให้เห็นได้เพราะว่าเกิดเป็นปกติ ดับเป็นปกติ
ที่ใดมีมหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ต้องมีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุประสาท ปรากฏให้รู้ว่ามี มีกลิ่น มีรส มีโอชา ฉะนั้นจะไปเปลี่ยนให้ไม่มีสิ่งที่สามารถกระทบจักขุประสาทไม่ได้
เพราะฉะนั้นขณะนี้ที่กำลังเห็น เกิดเพราะปัจจัยหรือไม่ หรือว่าเหตุ ๖ มาจากไหนอย่างไร ยาวไปอีกเยอะแยะ
ผู้ฟัง พอจะเข้าใจว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่เฉพาะเหตุ ๖ เท่านั้น เป็นเหตุของเขาที่จะเกิดขึ้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 601
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 602
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 603
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 604
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 605
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 606
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 607
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 608
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 609
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 610
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 611
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 612
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 613
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 614
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 615
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 616
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 617
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 618
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 619
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 620
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 621
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 622
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 623
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 624
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 625
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 626
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 627
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 628
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 629
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 630
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 631
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 633
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 635
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 636
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 637
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 639
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 640
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 641
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 642
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 643
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 644
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 645
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 646
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 647
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 648
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 649
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 650
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 651
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 652
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 654
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 655
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 656
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 657
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 658
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 659
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 660