ปกิณณกธรรม ตอนที่ 750
ตอนที่ ๗๕๐
สนทนาธรรม ที่ กนกรัตน์ รีสอร์ท อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ มีความเข้าใจแล้วจึงรู้ได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมไม่มีทางเลย เขาว่า เขาบอก เชื่อเขาแล้วทำไมบอกเราไม่ได้แต่ถ้าอย่างนั้น
ผู้ฟัง ขอตอบแบบที่เคยไปนั่งหลักๆ เขาก็จะคิดว่าสุขหรือทุกข์ เกิดจากการรับรู้ ๖ ทางแล้วก็ปรุงแต่ง ในวิธีการก็คือ ถ้าเราสามารถหยุดการปรุงแต่งหมายความว่า ให้จิตนิ่งอยู่กับอะไรสักอย่าง ไม่ต้องปรุงแต่ง หลังเห็นหลังได้ยิน เราก็จะไม่สุขทุกข์ไปตามที่กิเลสจะเป็นไป ถ้าไม่ฝึกนั่งตรงนี้ ประมาณนี้
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าถามเป็นคำๆ สุขคืออะไร
ผู้ฟัง คือไม่ต้องมีความทุกข์กับกิเลส อย่างเช่น ไม่พอใจ พอใจ เดี๋ยวมีพี่น้องเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ทำไมทุกข์ร้อน
ท่านอาจารย์ แล้วใครไม่รู้ทุกข์อย่างนี้บ้าง รู้แล้วมาบอกทำไมก็รู้กันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกทุกข์อย่างนี้เลย
ทุกขอริยสัจจะ ทุกข์จริงๆ หมายความถึงสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วต้องดับ ทุกคนไม่พอใจสภาพที่ไม่เที่ยงเลยอยากจะให้เที่ยง อยากตายไหม
ผู้ฟัง ไม่อยาก ไม่อยากตายแต่รู้ว่าต้องตาย
ท่านอาจารย์ อยากเป็นคนนี้ไปอีกนานเท่าไร ลองบอกจำนวน อยากเป็นคนนี้ไปอีกนานเท่าไร
ผู้ฟัง ก็นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ท่านอาจารย์ ค้ำฟ้าเลยหรือ เห็นไหม ไม่รู้จักทุกข์แท้ๆ เพราะฉะนั้น มีทุกข์หลายอย่างที่ทรงแสดง ทุกข์กายก็มี ทุกข์ใจก็มี ทุกขทุกขมี วิปริณามทุกข์มี สังขารทุกข์ ทุกข์ทั้งนั้นที่ทรงแสดง เพราะว่าสภาพธรรมใดก็ตามที่เกิดแล้วดับเป็นสิ่งที่ควรเป็นสุขหรือ เพราะเหตุว่าไม่เที่ยงจริงๆ ถ้าประจักษ์แจ้งจริงๆ เมื่อไร เมื่อนั้นประจักษ์แจ้ง ในทุกขอริยสัจจะ ไม่ใช่ทุกที่ชาวบ้านรู้
ผู้ฟัง ที่ศึกษามา จิต คือ สภาพที่รู้อารมณ์ใช่ไหม อยากจะถามว่าแข็ง แข็งแล้วจิตเราไปรู้ ตรงนั้นคือ แวบเดียวที่เรารู้แล้วมันก็หายไป อยากจะถามว่าตรงนั้นใช่ไหม ที่ว่ามีอยู่จริงในขณะที่จิตเรารู้
ท่านอาจารย์ จิตเรารู้ จบเลย
ผู้ฟัง ก็คือที่เข้าใจ อยากจะทราบว่ามันตรงจากพระพุทธเจ้าที่การสอนหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ปัญญา รู้สิ่งที่เป็นปกติถ้าไม่ใช่ปกติ ไม่ใช่ปัญญา เดี๋ยวนี้ธรรมดาอย่างนี้เลย ในครั้งพุทธกาล ผู้ที่ฟังพระธรรม รู้แจ้งสภาพธรรม ในขณะที่ฟังเป็นพระโสดาบัน เป็นปกติใครรู้ไม่ผิดปกติเลย เพราะฉะนั้น ก็คือเดี๋ยวนี้เป็นปกติ และไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ที่เข้าใจก็คือเป็นปกติใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นปกติทุกอย่าง เกิดดับโดยสืบต่อเร็วมากไม่ปรากฏการเกิดดับ เพราะยังไม่ใช่ปัญญาระดับที่สามารถละคลายความติดข้อง ไม่หวังรออะไรทั้งสิ้น แล้วก็สภาพธรรมซึ่งมีปัจจัยจะเกิด ก็เกิดโดยความเป็นอนัตตา ให้ประจักษ์ชัดมั่นคงในความเป็นอนัตตา โดยไม่หวัง
ผู้ฟัง ที่เรารู้ที่มีอยู่จริง หมายถึงว่า แข็งกระทบใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ใครก็รู้
ผู้ฟัง แต่หมายถึงว่าจิตที่รู้มันรู้แวบเดียว
ท่านอาจารย์ ก็จิตก็รู้ สั้นมาก เกินกว่าที่ใครจะไปประจักษ์แวบด้วยซ้ำไป เดี๋ยวนี้นับไม่ถ้วนละที่จิตเกิดดับสืบต่อ อาการแนบเนียนมาก เพราะว่าพอทันทีที่ดับ อย่างอื่นก็เกิดสืบต่อทันที ไม่เว้นว่างพอที่จะให้ใครไปรู้ได้ นอกจากปัญญาที่อบรมแล้ว เห็นไหม ต่างกันไหม นอกจากปัญญาที่ได้อบรมแล้ว แต่นี่ปัญญายังไม่ได้อบรมก็ไปคิดว่า ขณะนั้นรู้แล้วใช่ไหม สงสัยต้องการ และกว่าจะละได้ ต้องฟังธรรมจนกระทั่งเป็นผู้ไม่รู้ และค่อยๆ เข้าใจขึ้นชาตินี้คือสะสมความเห็นถูกเท่าที่จะได้ยินได้ฟัง และไตร่ตรอง โดยความเป็นอนัตตาว่าเลือกไม่ได้
ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าอย่างไร
ผู้ฟัง เข้าใจว่าที่สะสมมายังน้อยอยู่
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปสนใจเลยอะไรที่จะดับก็ดับอยู่แล้ว แต่ปัญญาพอไหม ปัญญาไม่พอก็ยังจะไปสนใจตอนที่ดับ คิดว่าได้รู้ ก็ไม่ใช่ ก็ต้องเป็นปัญญา ที่ค่อยๆ รู้ และค่อยๆ ละ ค่อยๆ คลาย กว่าจะถึงปัญญาต่างขั้น แต่ละขั้นแล้วก็จะเห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ จะไม่เป็นอย่างนั้น หลงทางคิดว่ารู้แล้ว เห็นแล้ว โดยไม่ได้อบรมอะไรเลย ไม่ได้ละอะไรเลย เพราะไม่รู้ เข้าใจว่ารู้แล้ว
อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ เรื่องสำนักปฏิบัติที่เขาสอนผิด กับผู้ที่ไปเชื่อเขา ถ้าสำนักเหล่านี้ไม่สอนก็ไม่มีการแสดงความเห็นผิด แต่ที่ไปเชื่อจริงๆ อย่างนั้น คนที่ไปเชื่อผู้ที่ไปเชื่อ ทำไมถึงเป็นความผิดของผู้ที่ไปเชื่อ
ท่านอาจารย์ ผิดต้องผิด ทั้งผู้สอน และผู้ฟัง แต่ผู้สอนผิดเพราะเข้าใจผิด แต่ว่าเราจะไปสำนักปฏิบัติไหม คุณอรรณพจะไปสำนักปฏิบัติไหม
อ.อรรณพ ไม่ไป
ท่านอาจารย์ ใช่ ไม่มีใครบังคับใช่ไหม
อ.อรรณพ บังคับให้ไปก็ไม่ไป
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ถ้าไปเพราะอะไร
อ.อรรณพ ไปเพราะไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ใช่ ไม่ไปเพราะอะไร
อ.อรรณพ ไม่ไปเพราะเข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริง ถูกคือถูก ผิดคือผิด เปลี่ยนไม่ได้
อ.อรรณพ จริงๆ แล้วไม่มีใครที่จะทำให้เราเห็นผิดได้ ถ้ามีความเข้าใจถูก แต่ถ้ามีพืชเชื้อ และมีความโน้มเอียงที่จะเข้าใจผิด เมื่อมีการสอนอย่างนั้นก็มีปัจจัยให้เข้าใจผิดได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คบพาล มงคลสูตร ว่าอย่างไร ไม่คบพาล
อ.อรรณพ น่าเห็นใจ เพราะว่าตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบัน ทุกคนสะสมมาทั้งพืชเชื้อความเห็นผิด และสะสมพืชเชื้อความเห็นถูกมาด้วยในอดีตนี่ต้องฟัง ฟังทั้งความเห็นผิดนิครนถ์อะไรกันมา และก็ฟังธรรมที่ถูกต้องด้วย ตัวอย่างท่านพระสาวกทั้งหลาย ก่อนหน้านี้ ถ้าท่านยังไม่ได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง ท่านก็ยังไปเชื่อผิดๆ อย่างนี้ก็มี แต่เมื่อได้ฟังแล้วถึงจะรู้
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น คุณอรรณพ มีความเห็นใจพอที่จะกล่าวคำจริงไหม
อ.อรรณพ แน่นอน แล้วแต่กำลังของความเข้าใจ ถ้ามีความเข้าใจแล้ว ก็จะมีความเห็นใจ และคิดจะอนุเคราะห์มาก
ท่านอาจารย์ คนที่กล่าวคำจริงให้คนอื่นเข้าใจความจริง เป็นเพื่อนที่หวังดีที่สุด เป็นกัลยาณมิตร เพราะเหตุว่าน่าเห็นใจคนที่จะต้องเห็นผิดเข้าใจผิด ไปอีกนานแสนนานตลอดนับไม่ถ้วนเลย สังสารวัฏฏ์ออกไม่ได้เลย
อ.อรรณพ ที่นี้จะกราบเรียนท่านอาจาย์ก็คือปัญญาในขั้นปริยัติ จะสะสมจนมีกำลังไปถึงขั้นปฏิปัตติอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่ต้องศึกษาธรรมทีละคำ และทุกคำด้วย ที่จะรู้ว่าคำไหนพูดแล้วตรงกับที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้หรือเปล่า ไม่ใช่ยาวไปเลย แต่ต้องทีละคำ ถ้าเป็นคนที่กล่าวตามพระไตรปิฎก จะสั้น จะยาว สักเท่าไรก็ตาม ขอให้ได้พูดให้เข้าใจชัดเจน เช่น สติสัมปชัญญะอย่าเพิ่งรับมาง่ายได้โดยไม่เข้าใจเลย เพราะว่าต้องรู้จริงๆ ว่าแม้แต่คำธรรมดาที่เราใช้โดยไม่มีปัญญา เขารู้สึกตัวหรือยัง ถ้าเขาสลบไป แล้วนั่นก็รู้สึกตัวแล้ว ก็ไม่ใช่สติสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมเลย เพราะไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริง แต่ละคำต้องชัดเจน
ถ้ากล่าวว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา มีใครจะเปลี่ยนคำนี้ไหม ต้องคิดดู บางคนอาจจะบอกว่าธรรมเป็นอัตตา ที่กล่าวว่าอนัตตานั้นผิด เพราะฉะนั้น ผู้ฟังจะเชื่ออย่างไร ไม่ใช่เชื่อ เพราะต้องรู้ว่าธรรมคืออะไร ก่อนจะถึงคำว่า อนัตตา ต้องย้อนไป ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงเพราะเกิดแล้ว ใครทำให้เกิด เลือกให้เกิดได้ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าสอนในความเป็นอนัตตา แล้วบอกให้ทำอะไรด้วยความเป็นอัตตา เราก็บอกได้ว่านี่ไม่ตรงคำไหนไม่ตรงก็ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่คําที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไม่ใช่ว่าเชื่อยาวๆ ไปหมดแต่ต้องทีละคำให้มีสติยังไม่รู้ว่าสติเป็นอย่างไร มีกันใหญ่เลย ใครไปก็มีสติกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าสติคืออะไร สติรู้อะไร พร้อมด้วยปัญญาหรือเปล่า เมื่อพร้อมด้วยปัญญา เกิดขึ้นด้วยความเป็นอนัตตาเพราะอะไร ทุกอย่างมีเหตุผล
ผู้ฟัง เจริญพรโยมอาจารย์ และเหล่าญาติโยมทุกท่าน เมื่อก่อนคิดว่าตัวเองมันเก่ง คือฟังอะไรเข้าใจหมดเลยไปทำ ไปปฏิบัติสติระลึกรู้สภาพธรรม คือ ระลึกลมหายใจ และระลึกอาการเดินจงกรมอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เข้าใจธรรมแล้วไปทำ แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมเจ้าค่ะ เพราะธรรมเป็นอนัตตา มีเราไปทำได้อย่างไร ผิดตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น ปัญญาเจริญไม่ได้เลย ไปทำกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็ยังคงเป็นเรา ไม่ต้องไปทำอะไรเลย เห็นเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น สติ คือ สภาพที่ระลึกแล้วรู้ สิ่งที่มีด้วยความเข้าใจที่มั่นคงจากการฟังว่า ขณะนั้นเป็นธาตุรู้แน่นอน ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้ ความไม่รู้มากมาย จนกระทั่งรู้นิดเดียวก็สงสัยแล้ว และเมื่อไรจะรู้จริงๆ เมื่อไรจะรู้มากๆ ก็ไม่รู้ทั้ง ๕ ขันธ์ทั้ง ๖ ทวาร ทุกขณะ และก็เมื่อไรจะรู้ ก็ต้องทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ที่ฟังไป ศึกษาไป ถ้าผู้ที่ไม่ได้ศึกษาละเอียด ฟังให้ละเอียด อาจจะเข้าใจผิด อันนี้ก็ใช่ อันนี้ก็ใช่ คือมันแยกไม่ออกเป็นอันตรายมาก
ท่านอาจารย์ แต่บุญที่ได้กระทำไว้ก็สามารถที่จะทำให้เกิดการไตร่ตรองพิจารณา และพบหนทางที่ถูก แต่ขณะนี้เป็นบุญที่ได้ทำแล้วสำหรับชาติหน้าแน่ๆ เป็นบุญที่ทำไว้แต่ปางก่อน ที่ได้มีความเห็นถูกเพราะถ้าเห็นผิดไม่มีทางที่จะพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย ไม่รู้จักคำสอนของพระองค์
อ.อรรณพ ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล คือยังไม่มีความเข้าใจที่มั่นคง หรือเป็นกัลยาณปุถุชนที่เข้าใจสภาพธรรมแล้ว ในจิตนี้มีการสะสมทั้งอนุสัยก็คือความลังเลสงสัยมีอยู่ทั้งนั้น เพราะยังไม่เป็นพระโสดาบัน ได้นึกถึงเรื่องเพื่อนของท่านอนาถบิณฑิก ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกก็มีความปรารถนาดี กับกลุ่มเพื่อนกลุ่มนี้ ก็พาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งพอได้ฟังธรรม ก็รู้สึกว่าดี ดูเหมือนมีความเห็นถูกอยู่ แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าจาริกไปแสดงธรรมที่อื่น ท่านเหล่านี้ก็กลับไปเห็นผิดอีก ไปเชื่อพวกนอกศาสนานี้อีกแล้ว และก็เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ กลับไปกลับมา
ท่านอาจารย์ ในที่สุดทั้ง ๕๐๐ ท่านนั้นก็เป็นพระโสดาบัน เพราะสะสมความเห็นถูกไว้ด้วย ถ้าไม่มีการสะสมความเห็นถูกไว้เลย เมื่อกิเลสที่มี และสะสมมามากเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เพราะสะสมความเห็นถูกมาด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่ปัญญามีกำลังที่จะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ว่าสภาพธรรมใด โลภะระดับไหน แม้แต่ความเห็นผิดเกิดขึ้น ปัญญาก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า นั่นไม่ใช่หนทาง นั่นผิด เพราะฉะนั้น สะสมความเข้าใจที่ถูกต้องไป ด้วยความไม่ประมาท เพราะว่าไม่รู้ในกาลครั้งหน้า จะเกิดเป็นอะไร จะพบใครจะมีความเห็นผิด ที่ถูกชักชวนไปมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องแล้วแต่ว่า สะสมความเห็นถูกมาพอที่จะเป็นที่พึ่ง และสามารถที่จะรู้ได้ว่านั่นผิด
ผู้ฟัง เกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ๆ กรุณาตอบคำถามให้เพื่อนๆ ชาวสมุทรสงครามด้วย
ท่านอาจารย์ สำหรับวัยเด็ก คงไม่พร้อมที่จะฟังธรรมที่ลึกซึ้ง แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจได้จากชีวิตจริงๆ ของเขา เราก็มีชีวิตจริงของเด็กในชั้น ก็มีหลายคนหลากหลายผู้ปกครอง พี่น้อง ญาติ เพื่อนฝูง แต่ละชีวิต ถ้าเราถามเขา ให้เขาเล่า แล้วก็ให้ทุกคนได้ช่วยกันพิจารณาว่าอะไรถูก อะไรดี เขาก็อาจจะช่วยกันคิด และในที่สุดเขาก็เริ่มจะเห็นว่าสิ่งใดที่ควร และสิ่งใดไม่ควรค่อยๆ แทรกความเข้าใจธรรมโดยไม่ต้องกล่าวตรงๆ ว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรมทุกอย่างเป็นธรรม เขาก็อาจจะไม่พร้อมที่จะเข้าใจ เพราะเขาอยู่ในวัยนั้น แต่ก็ถามในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ พี่น้องเป็นอย่างไร เหมือนกันหรือเปล่า ทำอะไรบ้างเมื่อวานนี้ ทำดีหรือทำไม่ดี อย่างน้อยที่สุดเขาก็ค่อยๆ เริ่มคิดเริ่มเข้าใจ แล้วเราก็ค่อยๆ นำไปแล้วถ้าเขามีคำถามอะไร เราก็ตอบในทางที่ให้เขาค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถ้าเขาเป็นคนช่างซัก เราก็สามารถที่จะค่อยๆ ให้เขาเข้าใจอย่างถูกต้อง
อย่างบอกว่าขณะนี้หิวไหม ใช่ไหม ถ้าเขาบอกว่าหิว และถ้าไม่มีตัวร่างกายมันจะหิวไหม เริ่มให้เขาเข้าใจความจริงเดี๋ยวนั้นว่า แท้ที่จริงแล้วแต่ทุกอย่างที่มีจริง บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็มีธรรม ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งก็เป็นฝ่ายที่ดี อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ดี ขั้นต้นต้องรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ตั้งแต่ต้น และเขาก็สามารถจะเข้าใจได้ เด็กคนไหนช่วยพ่อแม่บ้าง รักพ่อแม่เพราะอะไร พ่อแม่มีคุณในอะไรบ้าง เพราะว่าเด็กบางคนไม่คิดถึงคุณของพ่อแม่เลย เหมือนพ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดู แล้วก็อุ้มชูเค้าไปตลอด แต่ถ้าเป็นเด็กที่ช่างคิด เราก็อาจจะให้เขาคิดว่ารักพ่อแม่ไหม แล้วรักแล้วทำอย่างไร ดูแลหรือเปล่าถ้าเขาเป็นเด็กไม่ดีพูดไม่ดี เคยไหมในขณะนั้นแหละ พ่อแม่รู้สึกอย่างไร และคำพูดที่ไม่ดีนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะกับใครทั้งนั้น กับเพื่อนหรือใคร แม้แต่ผู้ที่ช่วยงานทำให้เขาเสียใจไหม เพราะฉะนั้น ถ้าเขาต้องการอย่างไร ที่จะได้รับสิ่งที่ดีเขาก็เป็นคนดีให้กับคนอื่นได้ค่อยๆ แนะนำแล้วก็ถามดูปัญหาของเด็กๆ อย่างไรๆ ก็เป็นความเข้าใจที่เป็นธรรมทีละเล็กทีละน้อย ให้เขาได้ยินคำที่คุ้นหูก็ได้ อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ดับกิเลส เพราะฉะนั้น กิเลสคือสิ่งที่ไม่ดี วันนี้มีไหมโกรธบ้างหรือเปล่าอะไรอย่างนี้ค่อยๆ ถามไป ก็คงจะให้เค้าได้เข้าใจชีวิตจริงๆ ถ้าเราหัวข้อมาอริยสัจ ๔ รับรองไม่มีความหมายเลยอิทธิบาท ๔ ก็ไม่รู้ว่าอะไรแต่ว่าจากชีวิตจริงๆ เขาเริ่มเห็นว่าในบรรดาคนที่เขารู้จัก เขาชอบใครเพราะอะไร ก็ต้องรู้ว่าเป็นเพราะความดีหรืออะไร หรือถ้ามีข่าวคราว เช่น แท็กซี่นำเงินมาคืนให้ ถ้าเป็นเขา เขาจะทำอย่างไร และอะไรที่ถูกต้องค่อยๆ เห็นว่าไม่ว่าเป็นใคร ความดีเป็นความดี และทุกคนก็ชื่นชมความดีด้วย เพราะฉะนั้น คนที่เป็นคนดี ใครจะเกลียดจริงๆ แล้วก็ไม่มีใช่ไหม ถ้าจะมีคนอิจฉาริษยาก็ช่วยไม่ได้ เพราะว่าจริงๆ แล้ว เขาเข้าใจผิดว่า แท้ที่จริงแล้วถึงจะริษยาใคร ก็ไม่ได้ทำให้คนนั้นเดือดร้อน อกุศลทั้งหลาย เป็นโทษกับตัวเองทั้งนั้น ตั้งแต่คิดร้ายไปอะไรไปคือค่อยๆ รู้จักเด็กในห้อง แล้วก็รู้ว่าแต่ละคน เราจะช่วยเขาอย่างไรให้เขาค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นคนดีขึ้น เราอาจจะถามทุกวันวันนี้ใครทำดีบ้างหรือเปล่า มีหรือไม่มี คนที่ไม่มีจะรู้สึกอาย วันนี้ไม่ได้ทำดีอะไรเลยอะไรอย่างนี้ คือมีความเข้าใจสำคัญที่สุด ความเข้าใจสมานัตตตา ความมีตนเสมอไม่ได้ถือว่าเขาสูงกว่าเรา ต่ำกว่าเรา เสมอกับเราหรืออะไร แต่ทุกคนเหมือนกันเลย เกิดมาเพราะกรรมที่ได้ทำแล้ว และชีวิตที่แต่ละคน จากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่เราก็เห็นตัวอย่างตอนเด็กเขาเป็นอย่างไร และตอนโตเขาเป็นอย่างไร เด็กทุกคน เข้าใจว่าตอนเล็กๆ ดูเหมือนว่าพอใจที่จะทำความดีชื่นชมในความดี แต่ทำไมโตขึ้นกลายเป็นไม่ดีไปได้ถึงอย่างนั้น นี่ก็แสดงให้เขาไม่ประมาทที่จะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าตราบใดที่ยังไม่เป็นคนดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่เข้าใจความถูกต้องวันหนึ่งเขาก็จะต้องทำไม่ดี เพราะฉะนั้น คนที่ทำไม่ดีจริงๆ แล้วไม่มีใครอยากไม่ดี แต่ไม่ทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่เขา แต่สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น คือให้เข้าใจในเหตุในผลจริงๆ ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ด้วยเหตุนี้จึงต้องสะสมความดี เพื่อที่จะได้ไม่เป็นคนเลวในวันข้างหน้า ถ. ช่วงหลังนี้มาได้ยินเรื่องฟังด้วยความเคารพ ไม่ทราบว่ารู้สึกผิดหรือเปล่า บางครั้งเราก็ออกกำลังกายฟังบ้างขับรถบ้างอะไรต่างๆ อย่างนี้ แต่ก็รู้สึกว่าเรากำลังทำอะไรสักอย่าง เราก็ฟังไปด้วยบางครั้งเราก็เข้าใจบางครั้งเราก็หลุดลอยไปกับเรื่องที่เรากำลังทำ กลับไปกลับมา
ท่านอาจารย์ ความเคารพด้วยกาย ความเคารพด้วยวาจา ความเคารพด้วยใจ เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วฟัง ยังดีกว่าไม่ฟัง อย่างน้อยที่สุดบางคนบอกว่าทำอะไรไปด้วย และฟังจะไม่ดีไม่เข้าใจเท่ากับตั้งใจฟังจริงๆ นั่นถูก แต่ว่าแล้วถ้าไม่สามารถจะเป็นอย่างนั้นได้ เพียงได้ฟังบางคำสะกิดใจทันที และก็สามารถที่จะเห็นประโยชน์ในขณะนั้นทันที ก็แล้วแต่การสะสม แต่ขอให้ทราบว่า การฟังเพื่อความเข้าใจความเคารพก็คือว่าไม่ใช่เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ หรืออะไรทั้งสิ้น ไม่ใช่เพื่อคนอื่นยกย่องชมเชยแต่ฟังด้วยความเข้าใจนั่นจึงเป็นการเคารพจริงๆ เพราะฉะนั้น เคารพแท้จริง คือเคารพในความถูกต้อง เคารพในความจริง เคารพในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงฟังเพื่อเข้าใจ นั่นคือการเคารพอย่างยิ่ง และเมื่อเข้าใจแล้วปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา โดยที่เราไม่รู้เลย เพราะว่าแต่ละขณะจิตไม่ใช่เรา
ที่ทรงแสดงขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ไม่รู้อะไรเลยแต่เป็นที่ตั้งที่ยินดีที่ยึดมั่นที่ต้องการ เวทนาขันธ์เป็นความรู้สึกทุกคนแสวงหาแต่ความรู้สึกที่เป็นสุข และเพราะจำได้ว่าอะไรทำให้เป็นสุขก็ขวนขวายแสวงหาสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์ไม่ว่าจะโลภะ โทสะ ความเพียร และอะไรก็ตามทั้งหมด เพราะความจำ และเพราะความรู้สึก ที่ทำให้ปรุงแต่งไปตามสภาพของความรู้สึกด้วย ความจำในสิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นความไม่ใช่ตัวเราทั้งหมด และชีวิตก็สั้นมาก
การฟังธรรม ก็คือ จุดประสงค์เพื่อเข้าใจธรรม นั่นคือการเคารพอย่างยิ่ง ไม่ใช่ว่ามีเวลาฟัง มีท่านหนึ่งท่านก็อาบน้ำแต่งตัวสะอาดเรียบร้อยไม่ทำอะไรเลย นั่งฟังเข้าใจหรือเปล่าหวังอะไรหรือเปล่า และชีวิตของท่าน ต่อมาก็คือว่าท่านป่วยไข้เป็นอัมพาตไม่ฟังธรรมเลย ใครจะรู้ว่าการฟังด้วยความเคารพจริงๆ ด้วยการเห็นประโยชน์ที่จะเข้าใจ ไม่ใช่เพียงเคารพด้วยการไปอาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้วก็มานั่งฟังนั่นเข้าใจว่าเป็นการเคารพแต่สำคัญที่สุดคือเข้าใจในคำสอนซึ่งไม่เปลี่ยน และไม่มีใครสามารถ ที่จะทำให้เราเปลี่ยน จากความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น เราไม่ถืออาการกิริยาภายนอก แต่ความที่มั่นคงในความถูกต้อง ในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทุกคำ กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงแต่เราต้องเริ่มเข้าใจตามลำดับทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อยเพราะยิ่งฟังยิ่งเข้าใจยิ่งลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น จะไม่เหมือนกับการที่เราเพิ่งเริ่มฟัง ก็จะยิ่งเห็นพระคุณมากขึ้นอันนั้นคือฟังด้วยความเคารพ แม้แต่การอบรมเจริญปัญญาที่เป็นภาวนา ก็ด้วยความเคารพสักกัจจะภาวนา หมายความว่า เคารพต่อการที่รู้ว่าธรรมยาก ขณะนี้มีสิ่งที่พระเจ้าตรัสรู้ทุกอย่างเช่น เห็นพระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ในการเป็นธาตุซึ่งเกิดขึ้น และก็ดับไป ขณะนั้นต้องไม่มีอะไรเลย เพราะแสดงให้เห็นว่า ถึงเฉพาะนี่เฉพาะจริงๆ แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาด้วยความเคารพว่า ต้องเป็นความเข้าใจขึ้นโดยความเป็นอนัตตา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 721
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 722
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 723
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 724
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 725
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 726
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 727
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 728
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 729
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 730
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 731
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 732
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 733
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 734
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 735
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 736
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 737
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 738
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 739
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 740
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 741
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 742
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 743
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 744
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 745
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 746
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 747
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 748
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 749
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 750
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 751
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 752
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 753
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 754
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 755
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 756
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 757
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 758
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 759
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 760
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 761
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 762
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 763
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 764
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 765
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 766
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 767
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 768
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 769
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 770
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 771
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 772
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 773
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 774
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 775
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 776
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 777
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 778
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 779
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 780