ปกิณณกธรรม ตอนที่ 786
ตอนที่ ๗๘๖
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จ.เชียงใหม่
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องฟังอีกเท่าไหร่ ไม่ต้องคิดถึงเลยเรื่องที่ว่าจะเป็นเราไปคอยกี่วัน กี่เดือน กี่ปี แต่เป็นความเข้าใจถูกต้อง ว่าเดี๋ยวนี้ที่ฟังนี้มีความเข้าใจแค่ไหน หรือยังเป็นตัวตน ซึ่งเราอยากจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยไม่รู้ว่ารู้แจ้งอริยสัจธรรมไม่ใช่เรา แต่เป็นปัญญาระดับไหน แล้วเกิดจากไหน ถ้าไม่มีเหตุก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมอย่างนี้ใครจะรู้ว่าเป็นเรื่องละกิเลส วิริยารัมภะกถา เป็นกถาด้วยคำพูดที่ให้เกิดวิริยะ ไม่ใช่เราทำ แต่ว่าปัญญาพร้อมวิริยะที่รู้ว่าค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้น จึงจะเป็นหนทางที่จะทำให้ค่อยๆ ละคลาย การที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วเริ่มรู้จักลักษณะของสติ เมื่อสติเกิด แต่ถ้าฟังเดี๋ยวนี้สติไม่เกิด พูดถึงสติ ก็ไม่ใช่สติ
ผู้ฟัง ก็เพราะไม่รู้จักสติ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วจะให้สติเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง คืออาจารย์บอกว่า ในขณะที่เข้าใจมีสติเกิด แต่เราก็ไม่ทราบว่ามีสติ
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะว่าเราเพิ่งเริ่มฟัง เพราะฉะนั้นถ้าสติยังไม่เกิด จะรู้จักลักษณะของสติได้หรือ เพราะแม้แต่เห็นขณะนี้กำลังปรากฏแท้ๆ ยังไม่รู้เลย
ผู้ฟัง ตั้งแต่เกิดมานี่ถ้าลักษณะนี้ ผมก็ยังเชื่อว่าผมยังไม่เคยมีสติเกิด
ท่านอาจารย์ ถูกไหม ไม่ใช่ถามคนอื่นเลย ให้เข้าใจให้มั่นคง ถ้ารู้จักสติจะตอบได้
ผู้ฟัง ตอนนี้ไม่รู้จักสติ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคิดว่ามีสติไหม ในเมื่อไม่รู้จักสติ
ผู้ฟัง ถ้าฟังที่อาจารย์บรรยาย อาจารย์บอกว่า ในขณะที่เข้าใจมีสติเกิด
ท่านอาจารย์ นี่คือความเข้าใจถูกว่าไม่มีเรา แต่ขณะที่เข้าใจมีสติเกิด นี่คือความเข้าใจถูก แต่ถ้าในขณะที่ฟังคิดอย่างไร
ผู้ฟัง ยังไม่รู้จักสติ
ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้จักสติ
ผู้ฟัง ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่รู้จักสติ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะว่าไม่ใช่กิจจญาณ หรือปฏิปัติ เพียงแต่เป็นขั้นฟังปริยัติ และปริยัติสมบูรณ์หรือยัง พอหรือยัง มั่นคงหรือยัง เพราะการฟังพระพุทธพจน์ไม่ลืมว่าพระพุทธพจน์ คือคำของใคร แต่ละคำ มาจากไหน เห็นธรรมดาอย่างนี้ใครรู้ ต้องบำเพ็ญบารมีนานเท่าไหร่ กว่าสามารถที่จะรู้ความจริงของทุกอย่างไม่เหลือเลย รวมเห็นด้วย ได้ยินด้วยทุกอย่าง แล้วเราเป็นใคร ถ้าไม่ฟังโดยความรอบคอบจริงๆ จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ก็เห็นว่าพระองค์เหมือนคนธรรมดา พูดง่ายๆ แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ทุกคำลึกซึ้ง อริยสัจมีเท่าไหร่ ๔ ลึกซึ้งทั้ง ๔ ไม่เว้นเลย อริยสัจจะความจริง ที่จะทำให้เป็นผู้ประเสริฐ คือดับกิเลสได้ ดับกิเลสคือไม่เกิดอีกเลย รู้ไหมว่ากิเลสมากเท่าไหร่ รู้ไหมว่าลึกเท่าไหร่ แล้วจะดับไป แต่ละประเภทไม่เหลือเลยไม่เกิดอีกเลย เป็นผู้ที่เป็นพระอริยะบุคคล ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น
เพราะฉะนั้นในบรรดาสิ่งที่มีในสังสารวัฎฏ์ที่เกิด ปัญญาประเสริฐสุด ได้ฟังเมื่อเช้าจากท่านผู้หนึ่งท่านก็บอกว่า เป็นสิ่งที่ท่านได้ตระหนักแล้วว่าสิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็คือปัญญา มีโอกาสที่ได้ฟังได้เข้าใจ เพราะว่าสิ่งอื่นก็ไม่สามารถที่จะเป็นของใครได้ อย่างแท้จริงเลย แต่สิ่งที่เกิดแล้วนี้จะสะสมอยู่ในจิตของแต่ละคนทำให้แต่ละคน มีอัธยาศัยต่างกัน มีทั้งพวกเดียรถีย์ในครั้งพุทธกาล และมีทั้งผู้ที่เป็นสาวกเห็นประโยชน์ในการฟังพระธรรมอยู่ด้วยกันใกล้ๆ กัน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันบ้าง ที่อื่นบ้าง แต่พวกเดียรถีย์ก็ไม่มาเฝ้ามาฟังธรรมเลย เพราะมีความเห็นอื่น แต่ผู้ที่รู้ว่าความเห็นที่ถูกต้อง กับความเห็นที่ผิดนี้ต่างกัน
เพราะฉะนั้นควรฟังคำ ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ หรือความไม่รู้ และความติดข้อง ถ้าบอกให้ไปนั่งทำอะไร ให้ไปเพียรทำอะไร มีประโยชน์อะไร รู้อะไร เข้าใจอะไร แต่ด้วยความอยากก็ทำ แต่การที่จะค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ขณะที่เข้าใจก็ละความไม่รู้ และความติดข้องด้วยความไม่รู้ไปทีละเล็กทีละน้อย น้อยมาก เกือบไม่รู้สึกเลย จึงทรงอุปมาว่าเหมือนการจับด้ามมีด ไม่เห็นการสึกไปของด้ามมีด เพราะฉะนั้นปัญญาขณะนี้ไม่มีใครสักคน แต่มีจิตเจตสิกกำลังเกิดดับ ทำกิจการงานแล้วแต่ว่าจะเป็นประเภทใด ถ้าเป็นทางฝ่ายความเห็นถูก ก็ค่อยๆ เริ่มสะสมไปทีละน้อย ใครจะรู้ พรุ่งนี้ความคิดเปลี่ยนตามความเข้าใจขึ้นได้ ฟังอีกต่อไปก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ มีอะไรสงสัยหรือไม่ เพราะเหตุว่า ทีละคำจะทำให้เข้าใจชัดเจน
ผู้ฟัง ถ้าฟังมาถึง ณ เวลานี้ ก็คือฟังพิจารณา ไตร่ตรองไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ เป็นปัญญาของผู้ฟังใช่ไหมไม่ใช่ปัญญาของคนอื่น
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่พิจารณา จะเป็นความเข้าใจของผู้ที่ฟังได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคำจริงนี่ทนต่อการพิสูจน์ เพราะว่ามีจริงๆ เดี๋ยวนี้ แล้วแต่ล่ะคำก็ทำให้เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น โดยประการที่ได้ทรงแสดงไว้ โดยนัยต่างๆ มากมายใน ๔๕ พรรษา
ผู้ฟัง ปัญหาก็คือว่า เราฟังไปพิจารณาไป แล้วบางอย่างเหมือนกับว่า เราก็ต้องเชื่อไปก่อน
ท่านอาจารย์ ทำไมต้องเชื่อไปก่อน
ผู้ฟัง เช่นอย่างบอกว่า จิตเกิดดับทีละหนึ่งขณะ ทั้งทาง ๖ ทวารเนี่ย
ท่านอาจารย์ จิตทีละหนึ่งขณะหรือเปล่า
ผู้ฟัง คือก็เชื่อตามที่อาจารย์
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เชื่อตาม แต่เข้าใจ ไม่ใช่เชื่อ
ผู้ฟัง เข้าใจตามที่อาจารย์บอก
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ตามที่ แต่พิจารณาแล้ว เป็นความเข้าใจถูกไหม
ผู้ฟัง พิจารณาแล้ว
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจนี้ถูกไหมว่าจิต ๑ขณะเกิดขึ้น จะเกิดพร้อมกัน ๒ ขณะไม่ได้ เพราะอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ทีละ ๑ ถ้าจิตขณะนี้ยังไม่ดับไป จิตขณะต่อไปเกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจิตแต่ละ ๑ ขณะ การดับไปของจิตขณะนั้น เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ จริงหรือเปล่า
ผู้ฟัง ลักษณะนี้เราไม่ประจักษ์ แต่เราเชื่อ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เชื่อ ขณะนี้เห็น ๑ ขณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แค่นี้ หรือรู้มากกว่านี้
ผู้ฟัง รู้มากกว่านี้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ทุกคนเห็นหนึ่งขณะ ทุกคนรับรอง แต่ความเข้าใจความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่านี้ หรือเท่ากับเรา ที่รู้ว่าขณะนี้เห็น เกิดขึ้นเห็น ถ้าผู้มีพระภาคตรัสรู้ความจริงของจิตแต่ละหนึ่งขณะ เราไม่รู้ความจริงของจิตแต่ละหนึ่ง ขณะถูกต้องไหม เกิดดับสืบต่อนับไม่ถ้วน แต่เรารู้ได้อย่างไรเพราะทรงแสดงไว้โดยละเอียด ด้วยประการทั้งปวงว่าจิตหนึ่งขณะ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ โดยฐานะของความเป็นปัจจัย ต่างกันแต่ละหนึ่งเจตสิกอย่างไร และถ้าศึกษาแล้ว ความเข้าใจถูกจะเพิ่มขึ้นไหมว่าจิตเห็นขณะนี้เพียงหนึ่งนี่แหละ แต่ถ้าไม่มีจักขุปสาท รูปที่ตัวนี้ จะมีรูป หนึ่งเป็นรูปที่พิเศษ วิเสสลักษณะมีลักษณะเฉพาะ ต่างกับรูปอื่น คือเป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เป็นปัจจัยให้ธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น สิ่งที่ยังไม่ดับไป คือจักขุปสาทก็ยังไม่ดับ สิ่งที่กระทบก็ยังไม่ดับ จิตเห็นเกิดขึ้นรู้สิ่งที่ยังปรากฏ ที่ยังไม่ดับ หนึ่งขณะทำทัสสนกิจ และดับไป จิตขณะต่อไปไม่เห็น ไม่ได้ทำทัสสนกิจ แต่ทำกิจรับอารมณ์ต่อ จากจิตที่ดับไปแล้ว โดยมีเจตสิกเพิ่มขึ้น คือต้องมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะจรดหรือตรึกถึงอารมณ์ที่จิตเห็นรู้ และดับไปได้ แต่ละ หนึ่งขณะ หนึ่งขณะนี่เรารู้หรือ
แต่เพราะเหตุว่าเหตุผลมี แม้แต่ว่าจิตที่เห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภทต่างเป็นปัจจัยอย่างไร และก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เมื่อจิตนั้นดับไปแล้ว โดยต้องมีเจตสิกเพิ่มขึ้น ไม่เท่ากันเลย และจิตขณะต่อไปต่อไป ก็มีเจตสิกตามประเภทที่สมควรแก่การที่จะเป็นปัจจัย ให้จิตนั้นเกิดขึ้น และก็ดับไป ถ้าฟังอย่างนี้เพิ่มขึ้น ก็จะรู้ว่าใครทำได้ อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครหรือเปล่า หรือว่าเป็นอย่างนี้แหละ นานแสนนานมาแล้ว แต่ละภพแต่ละชาติ แต่เพราะไม่รู้จึงติดข้อง และก็ยึดถือ และก็จะทำ แล้วก็จะเพียร แล้วก็จะอะไรตั้งหลายอย่าง ด้วยความต้องการ ที่จะรู้ แต่ความรู้ไม่ได้เกิดจากความอยากหรือความเพียร โดยที่ว่าไม่ได้ฟังพระธรรม จนกระทั่งเข้าใจที่มั่นคง ถ้าไม่มีความเข้าใจที่มั่นคง ก็เขวหมด ผิดหมด
ผู้ฟัง ก็คือสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมด เราไม่สามารถรู้เลยว่าจริง ไม่เข้าใจได้
ท่านอาจารย์ แต่เข้าใจได้ไหม เพราะฉะนั้นยังไม่ได้รู้ ยังไม่รู้เพราะรู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ไหม ในเมื่อฟังเหตุผลว่าก่อนจิตเห็นจะเกิด มีจิตเกิดก่อนด้วย และก่อนจิตนั้นก็ยังมีจิตเกิดก่อนอีกด้วย และต่างกันอย่างไร ถ้าเราไม่ได้ฟังเลย ใครจะรู้ แต่พอฟังแล้วรู้เลย ตั้งแต่ขณะแรกที่เกิด เป็นจิตประเภทไหนดับไป เป็นปัจจัยให้จิตอะไรเกิดสืบต่อ กว่าจะเห็นขณะนี้ได้ มีจิตอะไรเกิดก่อน และต้องอาศัยอะไรเกิดด้วย รวมความว่าเพื่อให้เห็นความไม่ใช่เรา ที่จะไปดลบันดาล ให้อะไรเกิดขึ้น เป็นไปอย่างที่เราคิด แต่ว่าทุกอย่างค่อยๆ เข้าใจขึ้น ความติดข้อง และความไม่รู้ ก็ค่อยๆ เบาบางลง กว่าจะถึงระดับขั้นที่ประจักษ์ การเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับในขณะนี้
ผู้ฟัง คือสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนั้นเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เป็นคุณชัยยงค์หรือเปล่าที่เข้าใจ
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แค่นี้ใช่ไหม ไม่ได้รู้มากกว่านี้ รู้ตามที่รู้แค่นี้
ผู้ฟัง รู้จากการศึกษา
ท่านอาจารย์ แค่นี้ ยังไม่มากกว่านี้ จะมากกว่านี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็มีความมั่นคง มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น รู้ได้โดยวิธีไหน
ผู้ฟัง ก็ฟัง และพิจารณาไตร่ตรอง
ท่านอาจารย์ หนทางเดียวด้วย หรือว่ามีหนทางอื่น
ผู้ฟัง คิดว่ามีหนทางเดียวครับ
ท่านอาจารย์ คิดแค่คิด แต่จริงหรือเปล่า
ผู้ฟัง ณ เวลานี้ผมก็คิดว่ามีหนทางเดียว
ท่านอาจารย์ จริงหรือไม่ หรือจริงชั่วขณะที่กำลังฟัง ต่อไปอาจจะเปลี่ยน คิดเองเพิ่มเติมหรืออย่างไร หรือว่ามั่นคงที่จะฟังพระธรรมต่อไป เพราะว่าคำของใคร ก็ไม่สามารถที่จะเกิดจากปัญญา ที่ได้บำเพ็ญมาถึงการตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ง่ายมากที่จะเข้าใจผิด แค่ฟังพระพุทธพจน์เผินๆ เพราะฉะนั้นกว่าจะมีความเห็นถูกหลายขั้น เห็นถูกขั้นปริยัติ คือฟัง ไตร่ตรอง จนกว่าจะมั่นคงเป็นสัจจญาณ คลายแล้ว ค่อยๆ คลายความเป็นเรา จากการฟังระดับหนึ่ง แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญา ที่จะเริ่มเข้าใจลักษณะแท้ๆ ที่เราพูดถึงเดี๋ยวนี้ ไม่ว่าจะเห็น ไม่ว่าจะแข็ง ไม่ว่าจะเสียง ถ้าตราบใดยังไม่ได้มีการรู้ เฉพาะลักษณะนั้นจริงๆ ในความเป็นธรรม เพราะรวมกันหมดเลย ก็ไม่พอที่จะเห็นว่า ตรงอย่างที่เราเข้าใจ
ถ้าตรงอย่างที่เราเข้าใจ ก็จะต้องเฉพาะ ๑ แต่เราบังคับไม่ได้ ว่าจะให้เกิดการเข้าใจเฉพาะ ๑ เพราะเวลานี้ ความรู้ยังไม่พอ แต่ถ้ามีความรู้ความมั่นคงพอ ไม่ต้องห่วงเลย อย่างไรก็จะมีปัจจัย ที่ทำให้เริ่มถึงเฉพาะ คือสติสัมปชัญญะ ซึ่งไม่เคยเกิดเพราะไม่เคยฟัง แล้วจะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่เคยฟัง แต่เมื่อฟังแล้วเข้าใจแล้ว พร้อมแล้วก็เป็นปัจจัย ที่จะให้สติสัมปชัญญะเกิด เห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น จากขั้นปริยัติ มาสู่การปฏิบัติ ก็เห็นความเป็นอนัตตาแล้ว มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นอนัตตา ถึงจะค่อยๆ ละความเป็นอัตตาได้ ลึกซึ้งหรือไม่
ผู้ฟัง ลึกซึ้ง
ท่านอาจารย์ ยากไหม
ผู้ฟัง ยาก
ท่านอาจารย์ ใครรู้ได้
ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ และใครอีก
ผู้ฟัง สาวก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสาวกคือใคร
ผู้ฟัง สาวกคือผู้ฟัง
ท่านอาจารย์ ผู้ฟังใคร
ผู้ฟัง ฟังพระพุทธเจ้า ปัญหาก็คือว่าเราไม่รู้ว่า เป็นคำของพระพุทธเจ้าจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลย คำจริงทุกคำพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นคำของเรา คำจริงทุกคำ เห็น ได้ยิน พูดถึงเรื่องจริง เกิดจริง ดับจริง ไม่ใช่ของใครเลยทั้งสิ้น เมื่อวานนี้คุณชัยยงค์เห็นหรือไม่
ท่านอาจารย์ เมื่อเช้าเห็นไหม
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็นไหม
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เป็นเห็นเดียวกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง คนละเห็น
ท่านอาจารย์ แล้วเห็นเมื่อวานนี้ กลับมาเห็นวันนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เห็นเมื่อเช้านี้ จะเป็นเห็นเดี๋ยวนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วคุณชัยยงค์เห็น หรือว่ามีแต่เห็น
ผู้ฟัง มีแต่เห็น
ท่านอาจารย์ แล้วก็มีคิด แล้วก็มีจำ และก็มีการเข้าใจว่าเห็นเป็นเรา ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะเห็นจะเป็นใครไม่ได้เลย แม้ว่าเห็นมีจริง เห็นก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ตาบอดไม่เห็นแล้ว นอนหลับสนิท ไม่ตื่นก็ไม่เห็น แต่ตื่นแล้วเห็นแล้ว จะไม่เห็นก็ไม่ได้ เป็นอนัตตาจริงๆ ทั้งหมดเลย ถ้าเข้าใจ ถ้าไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นเรามาเจือปน ก็จะเข้าใจในความเป็นอนัตตาทั้งหมดได้ แต่กว่าจะถึงวันนั้น ต้องฟังอีก ไตร่ตรองอีก มั่นคงเพิ่มขึ้น ไม่หวั่นไหวเป็นสัจจญาณ จึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ ซึ่งไม่เคยเกิด ก็เกิดขึ้น ไม่ใช่เราไปทำให้เกิด ใครบอกให้ทำ แล้วเราก็ไปคิดว่านั่นเป็นสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นไม่ใช่คำจริง ไม่ใช่วาจาสัจจะ คำของพระพุทธเจ้าคือปริยัติ ปฏิปัติปฏิเวธ ปริยัติคือการฟังพระธรรม จนกระทั่งมั่นคงเป็นสัจจญาณว่าเป็นธรรมทั้งหมด เป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ ปฏิปัติเกิดขึ้นทำกิจถึงเฉพาะ เข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้ เริ่มเข้าใจเห็น ธาตุที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานเลย รู้เห็น เห็นจึงปรากฎ แม้แต่จะฟังก็ยังยาก กว่าจะคุ้นหูก็ยาก กว่าจะสติสัมปชัญญะเกิดก็ยาก แต่ว่าเป็นผู้ตรงว่าเกิดหรือไม่เกิด เกิดเมื่อไหร่รู้เมื่อนั้นว่า นี่คือสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้นมาได้ นอกจากความเข้าใจ ที่มั่นคงเป็นสัจจญาณ ทำให้กิจจญาณคือสติสัมปชัญญะ ปฏิบัติกิจคือถึงเฉพาะลักษณะที่กำลังเป็นขณะนี้ ตามความเป็นจริง คือเป็นธาตุรู้ ซึ่งถ้าไม่มีธาตุนี้ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในขณะนี้ปรากฏไม่ได้เลย เมื่อไม่มีการเห็น จะปรากฏว่ามีสิ่งที่ถูกเห็นไม่ได้ ธาตุนี้จะไม่ปรากฏเลย เหมือนเสียง ถ้าจิตได้ยินไม่เกิด ใครจะรู้ว่ามีเสียง เสียงนั้นก็เกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้น พระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมด ๔๕ พรรษาเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้ฟังแล้วเท่านั้นที่เข้าใจแล้ว จึงจะกล่าวขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อได้เข้าใจแล้ว แต่ถ้ายังไม่เข้าใจเลย จะพึ่งอะไรหรือ ไม่ยังไม่เข้าใจ จะกล่าวไปก็กล่าวไปลอยๆ ไม่รู้ว่าพึ่งอะไร เพราะไม่เข้าใจ แต่พอฟังแล้วจะพึ่งคนอื่นอีกไหม หรือว่าจะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ คือผู้ที่เป็นพระอริยะบุคคล
เพราะฉะนั้นคงไม่มีคำว่า ถ้าสติเกิด เพราะยังไม่รู้จักสติ ระดับขั้นที่เป็นสติสัมปชัญญะ ถูกต้องหรือไม่ แต่พอฟังแล้วเข้าใจขึ้น รู้เลยว่าขณะนี้ยังไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะความเข้าใจไม่พอ และเวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด ปฏิบัติกิจของสติสัมปชัญญะ ไม่มีใครทำเลย แต่จากการฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง จนกระทั่งมั่นคง ก็เป็นปัจจัยให้เริ่มถึงเฉพาะลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เป็นปกติเดี๋ยวนี้เอง สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ทั้งหมด เป็นสิ่งที่สติสัมปชัญญะเกิดตาม แล้วก็รู้ได้ ไม่ใช่ไปทำให้มาเกิด หรือไปรู้อย่างอื่น แต่เดี๋ยวนี้ที่ไม่รู้ ก็เป็นสิ่งที่สติสัมปชัญญะรู้ เป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะ จึงเป็นสติปัฎฐาน สติปัฏฐานเป็นที่ตั้งของสติ เพราะมีแล้วเกิดแล้วให้รู้แล้ว อยู่ที่ว่าอวิชาไม่รู้ แต่เกิดแล้ว มีแล้ว สำหรับผู้ที่มีการเข้าใจถูกต้อง สติสัมปชัญญะก็เกิด และก็รู้สิ่งนั้น ตรงตามที่ได้ฟังทุกอย่าง โดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นอนัตตาคือเพิ่มความเข้าใจที่มั่นคง ในความเป็นอนัตตามากขึ้น ค่อยๆ คลายความเป็นเรา ทีละเล็กทีละน้อย
อ.อรรณพ การที่คิดว่าจะต้องเชื่อไปก่อน ไม่ใช่ปัญญาที่เข้าใจขั้นการฟังใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ เชื่อกับเข้าใจเหมือนกันไหม
อ.อรรณพ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแม้ปัญญา ยังไม่ถึงขั้นที่จะเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมเนี่ย แต่ก็มีปัญญาขั้นการฟัง ซึ่งเป็นความเข้าใจในขั้นฟัง แต่ไม่รู้ตัวธรรมก็ไม่ใช่การที่จะเชื่อไปก่อน โดยที่ไม่ใช่ความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ แต่เข้าใจถูกสิ่งที่มีนี่รู้ได้แน่นอน ถ้าไม่รู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร และเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว จะไม่ทรงแสดงธรรม ให้คนได้รู้ตามหรือ แล้วจะให้ไปรู้สิ่งอื่นหรือ ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏหรือ นี่คือการที่ไตร่ตรองว่าต้องไม่ใช่สิ่งอื่นแน่นอนการตรัสรู้ก็คือว่าสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ ซึ่งไม่รู้นี้ เมื่อปัญญารู้ก็ต้องรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏนี้นั่นเอง
อ.อรรณพ ถ้าเป็นปัญญา แม้ขั้นฟังเข้าใจ ก็จะต้องเป็นกิจของปัญญาที่จะเข้าใจถูก ว่าเป็นการเข้าใจขั้นการฟัง การพิจารณา ไม่ใช่ปัญญาขั้นที่รู้ตรงสภาพธรรม แต่ก็ต้องเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ ผู้ตรง รู้ว่าปัญญาแค่นี้เพียงขั้นฟัง สภาพธรรมก็มีทั้งเห็น ทั้งได้ยินอย่างนี้ แล้วก็อย่างไหนเกิด อย่างไหนดับ ไม่ใช่ไปคิด แต่เป็นการสามารถประจักษ์แจ้งแต่ละ ๑ เห็นไม่ใช่ได้ยิน จะมีเห็นกับได้ยินพร้อมกันไม่ได้ ความชัดเจนของสภาพธรรม ต้องค่อยๆ ปรากฏ
ผู้ฟัง คือตอนแรกก็ไม่เคยทราบมาก่อนว่า ทั้งจิตทั้งเจตสิกที่ทำหน้าที่ร่วมกันก็จริง แต่นึกว่าปรุงแต่งเฉยๆ ไม่เคยทราบว่า เขาก็ทำหน้าที่รู้ของเขา แต่รู้ไปตามประเภท เช่นรู้แล้วก็เกิดโทสะ โมหะ
ท่านอาจารย์ คือการเข้าใจธรรม เราจะไม่คิดเองเลย เพราะว่าความคิดของเราไม่มีพอที่จะสามารถเข้าใจธรรมได้เลย แม้แต่ว่าขณะนี้เป็นธรรม ก็ยังไม่สามารถจะเข้าใจได้ เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นอะไร เป็นเก้าอี้ เป็นโต๊ะ เท่าที่เราเคยรู้เคยเข้าใจใช่ไหมแต่ที่จะไปรู้ว่าเป็นธรรมเพียงแค่นี้ก็ยาก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ไปคิดถึงสิ่งใดเลยทั้งสิ้น ขณะนี้มีเห็น ถูกต้องหรือไม่ เห็นอะไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 781
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 782
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 783
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 784
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 785
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 786
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 787
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 788
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 789
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 790
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 791
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 792
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 793
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 794
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 795
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 796
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 797
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 798
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 799
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 800
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 801
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 802
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 803
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 804
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 805
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 806
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 807
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 808
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 809
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 810
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 811
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 812
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 813
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 814
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 815
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 816
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 817
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 818
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 819
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 820
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 821
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 822
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 823
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 824
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 825
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 826
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 827
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 828
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 829
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 830
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 831
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 832
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 833
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 834
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 835
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 836
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 837
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 838
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 839
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 840