ปกิณณกธรรม ตอนที่ 787
ตอนที่ ๗๘๗
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จ.เชียงใหม่
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ไปคิดถึงสิ่งใดเลยทั้งสิ้น ขณะนี้มีเห็น ถูกต้องไหม เห็นอะไร ธรรมดาปกติ เห็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้
ท่านอาจารย์ เห็นโต๊ะ ชอบไหม โต๊ะมีตั้งหลายแบบ โต๊ะสั้น โต๊ะสูง เตี้ย โต๊ะยาว ชอบไหม
ผู้ฟัง ชอบ
ท่านอาจารย์ เห็นกับชอบเหมือนกันไหม
ผู้ฟัง ไม่เหมือน
ท่านอาจารย์ เห็นแล้วไม่ชอบก็มีใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เห็นเป็นเห็น ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ แล้วชอบเป็นชอบ ไม่ชอบจะเป็นไม่ชอบ ชอบเกิดชอบ ไม่ชอบเกิดไม่ชอบถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ปะปนกัน เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเห็น ขณะนั้นจะชอบไม่ได้ หมายความว่าเห็นเกิดขึ้น เห็นอย่างเดียว แต่ในขณะที่เห็น หลังจากที่เห็นแล้ว จะมีการชอบในสิ่งที่เห็น หรือไม่ชอบในสิ่งที่เห็น เพิ่มมาอีกแล้ว จากเห็นแท้ๆ เปล่าๆ ต่อมาก็มีชอบในสิ่งที่เห็น หรือว่าไม่ชอบในสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้นชอบ ก็ต้องไม่ใช่เห็น ไม่ชอบก็ต้องไม่ใช่เห็น ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน ในเมื่อชีวิตตามความเป็นจริง ไม่พ้นจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก แต่ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเห็น แต่ต้องมีการจำ และก็มีการคิดถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่เห็น เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เห็นดอกไม้กับเห็นคน ก็ปรุงแต่งแล้วใช่ไหม สัณฐานต่างกัน เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ ธรรมลึกซึ้ง และละเอียด ถ้ากล่าวถึงเห็น ธาตุที่ทำกิจนี้ไม่ทำกิจอื่นเลย
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ได้ยินเสียงไหม กี่เสียง
ผู้ฟัง ประจักษ์ชัดก็คือหนึ่งเสียง
ท่านอาจารย์ และมีเสียงอื่นด้วยไหม
ผู้ฟัง คิดว่าในบรรยากาศอย่างนี้ ต้องมีเสียงหลายๆ เสียง
ท่านอาจารย์ และปรากฏด้วยใช่ไหม ว่าได้ยินเสียงอื่นแต่ไม่พร้อมกัน
ผู้ฟัง ไม่พร้อมกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเสียงมีแน่นอน ธาตุที่รู้แจ้งเสียง แต่ละเสียง ทำให้รู้ว่าเสียงต่างกัน ถ้าธาตุนั้นไม่รู้แจ้งเสียงแต่ละหนึ่ง จะรู้ไหมคะว่าเสียงต่างกัน แต่เพราะเสียงนี้ไม่ใช่เสียงนั้น เพราะฉะนั้นสภาพที่เป็นธาตุที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติใช้คำว่าจิตตะ หรือจิต ธาตุรู้ เกิดขึ้นได้ยินแล้วก็ดับไป แต่ว่าพอได้ยินแล้วหลังจากนั้น ชอบหรือไม่ชอบก็ต้องชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏใช่ไหม จะชอบในเสียง จะชอบในสิ่งที่ปรากฏทางตา จะชอบในกลิ่น จะชอบในรส จะชอบในความเย็น ความสบายหรืออะไรก็ตามแต่ ลักษณะที่ชอบไม่ชอบนั่นไม่ใช่จิต แต่เกิดกับจิต ไม่ได้เกิดแยกจากจิตเลย เกิดพร้อมจิต แล้วก็รู้สิ่งเดียวกัน จะชอบไม่ชอบก็ในสิ่งที่จิตกำลังรู้แจ้ง
ดูรูปภาพ นักเขียนนักวาดรูปเนี่ย จิตรกรนี้ ท่านก็มีตั้งหลายแนวใช่ไหม ขณะนั้นเห็นความหลากหลายกว่าจะปรากฏ เป็นแต่ละความหลากหลายได้ จิตเห็นต้องเกิดเท่าไหร่ จึงจะปรากฏเป็นความหลากหลาย แต่ละสิ่งที่ปรากฏ แล้วยังเป็นปัจจัยให้ เมื่อเห็นชอบสิ่งนี้ ไม่ชอบสิ่งนั้นก็ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นแสดงถึงความหลากหลาย ความรวดเร็ว ของสภาพรู้ซึ่งเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจะเริ่มเข้าใจความต่างของจิตกับเจตสิก จิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้น เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น แต่เจตสิกคือสภาพธรรมที่เกิดกับจิตนี่ หลากหลายเป็นถึง ๕๒ ประเภท วันหนึ่งๆ ที่จะปรากฏกับเราก็คือ ชอบไม่ชอบ หรือว่าสงสาร หรือว่าสำคัญตน พอจะรู้ได้ นี่คือสภาพธรรมที่ไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก เพราะว่าเมื่อจิตรู้สิ่งใด เจตสิกที่ร่วมกับจิตนั้น ก็ทำหน้าที่ของตนของตน แต่จิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกแต่ละหนึ่งก็ต่างกันเป็น ๕๒ ประเภท ถ้าเรามีความเข้าใจอย่างนี้ค่อยๆ เข้าใจ บางครั้งบางคราว คุณรัชนีรู้สึกเจ็บไหม
ผู้ฟัง เจ็บ
ท่านอาจารย์ เจ็บ เป็นจิตหรือไม่
ผู้ฟัง เป็นความรู้สึก
ท่านอาจารย์ เป็นความรู้สึกไม่ใช่จิต จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กระทบ และความรู้สึกที่เกิดร่วมกับจิต ที่รู้สิ่งที่กระทบกาย ก็จะรู้สึกสบาย หรือรู้สึกเป็นทุกข์ เพราะจิตกำลังรู้แจ้งสิ่งนั้น แต่ว่าสภาพธรรมจะปรากฏทีละอย่าง ขณะที่กำลังรู้สึกแข็ง ยังไม่ปรากฏว่าเจ็บ หรือไม่เจ็บใช่ไหม แต่แข็งปรากฏ แต่บางคราวที่รู้สึกเจ็บ แข็งไม่ได้ปรากฏ สภาพรู้ไม่ได้ปรากฏ มีแต่ความเจ็บปรากฏ เพราะฉะนั้นความเจ็บไม่ใช่จิต จิตเป็นสภาพที่รู้ แต่ขณะนั้น ความรู้สึกซึ่งเป็นอินทรีย์เป็นใหญ่ ปรากฏในลักษณะที่เจ็บ เพราะฉะนั้นอย่างอื่นไม่ปรากฏ ด้วยเหตุนี้แม้สภาพธรรมจะเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน แต่ก็ปรากฏให้รู้ได้ ทีละอย่าง แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่ฟังธรรม และรู้ว่าไม่ใช่เราแน่นอน เพราะเหตุว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่งคือจิตก็เป็นจิต เจตสิกแต่ละหนึ่งก็เป็นเจตสิกแต่ละหนึ่ง
ผู้ฟัง ตัวเจตสิก นี่ก็คือเป็นรายละเอียดของจิต
ท่านอาจารย์ ไม่ใช้คำอื่นเลยทั้งสิ้น ไม่คิดเอง ไม่เอาคำอื่นๆ ที่เคยคิด เคยจำมาแล้ว ในวิชาการต่างๆ ไม่ต้องเป็นประสบการณ์ ไม่ต้องเป็นอะไรทั้งนั้น แต่ว่าเจตสิกเป็นสภาพรู้ ซึ่งถ้าไม่รู้จะชอบได้ไหม จะโกรธได้ไหม แต่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เฉพาะลักษณะของสิ่งนั้นอย่างเดียว ไม่จำ แต่ว่าเวลาที่เห็นแล้วมีสภาพจำ ซึ่งไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมจิตทุกขณะ
เพราะฉะนั้นพอจิตรู้ สภาพจำก็จำสิ่งที่จิตรู้ ถ้าเป็นลักษณะของความรู้สึกก็ไม่ใช่ความจำ ก็เป็นความรู้สึกสบายหรือไม่สบาย ดีใจหรือเสียใจ หรือสุขหรือทุกข์ จิตหนึ่งขณะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ นี่เป็นเหตุที่จิตหลากหลาย เช่นจิตเห็น เห็นเท่านั้น แต่พอจิตเห็นดับไปแล้ว ก็จะมีจิตที่รู้สิ่งเดียวกันกับจิตที่เห็น แต่ว่าชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้น ไม่ใช่ตัวจิตที่รู้แจ้ง แต่เป็นเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน ต่อไปก็จะทราบว่าเจตสิก ๕๒ มีอะไรบ้าง แค่รู้ แค่ฟัง ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดจะไม่รู้ตรงลักษณะ ซึ่งเป็นธรรมแต่เป็นเรา เพราะฉะนั้นก็จะมีความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง รู้ลักษณะของสติ ท่านอาจารย์ก็กล่าวว่า มีหลายระดับหลายขั้น
ท่านอาจารย์ สติมีแน่นอน แต่รู้ลักษณะของสติ หรือเข้าใจสติหรือไม่ แค่นี้ก็ต้องคิดแล้วใช่ไหม สติมีจริงแน่นอน แต่ว่ารู้ลักษณะของสติ และเข้าใจสติหรือไม่ หรือเพียงแต่คิดชื่อสติ แล้วก็คิดเองว่า สติเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ความจริงสติมีแน่ๆ เพราะฉะนั้นฟังว่าสติจริงๆ คืออะไร มีจริง เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็เป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง เป็นจิตหรือเปล่า หรือว่าจิตเป็นสภาพรู้ และสติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมจิต และรู้สิ่งเดียวกับจิต แต่ว่าไม่ใช่จิต ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคง ตามลำดับขั้น สติมีจริง สติก็เกิดพร้อมจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต แต่ว่าสติไม่ใช่จิต เป็นขั้นๆ เพราะฉะนั้นสติคืออะไร ชื่อนี้รู้สึกว่ามีคนอยากมีสติมากๆ เลย ใช่ไหม พอได้ยินชื่อสติ อยากมีสติ อยากทำสติ แต่เข้าใจก่อนว่าสติคืออะไร สติคือสิ่งที่มีจริง ใครก็ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ อยากมีสติก็ไม่ใช่ว่าสติจะมีเพราะอยาก แต่ต้องเริ่มจากการรู้ความจริงก่อน ว่าสติไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริงแต่เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นลองคิดดู เมื่อวานนี้ทำอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ลืมตา เห็น
ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ลืมตา เห็น เป็นสติหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ทำอะไรอีกเมื่อวานนี้
ผู้ฟัง หูก็ได้ยินเสียง
ท่านอาจารย์ หูก็ได้ยินเสียง เป็นสติใช่หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ อะไรอีก เมื่อวานนี้
ผู้ฟัง ฟังธรรม
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมเข้าใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าอะไร
ผู้ฟัง เข้าใจว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านอาจารย์ อะไรไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ ทำไม เห็นไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ผู้ฟัง เพราะเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะที่ฟังธรรม เข้าใจไม่ใช่เรา แต่มีสติ เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ได้ระลึกเป็นไปในเรื่องอื่นๆ เมื่อวาน ตื่นขึ้นลืมตา ไปเที่ยว ขณะนั้นที่จำได้ไม่ใช่สติ ใช่ไหม ขณะอื่นก็ไม่ใช่สติ แต่ขณะที่กำลังเข้าใจธรรม ยกตัวอย่างง่ายๆ คือขณะที่กำลังเข้าใจธรรมขณะนั้น เข้าใจคือปัญญา แต่สติขณะนั้นระลึกเป็นไปในสิ่งที่ปัญญากำลังเข้าใจ ต้องในขณะนั้นด้วย เช่นได้ยินคำไหน แล้ว ก็มีความเข้าใจเพราะสติในขณะนั้นเกิดพร้อมปัญญา แต่สติไม่ใช่ปัญญา แต่สติขณะนั้นกำลังระลึกเป็นไปในสิ่งที่ปัญญาเข้าใจ ไม่ใช่เพียงฟังเฉยๆ ถ้าเราฟังเรื่องสนุก เราก็หัวเราะเพลิดเพลินมากเลย สติหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นสติเป็นธรรมฝ่ายดี เวลาที่สติเกิด แม้ว่าจะใช้คำว่าระลึก หรือตามระลึกหรืออะไรก็ตามแต่ แต่นั่นเป็นคำที่ตราบใดที่ยังไม่ได้เข้าใจลักษณะของสติจริงๆ ก็พูดตาม จะใช้คำว่าตามรู้ รู้ตามหรืออะไรก็พูดไป เพราะจำแต่ว่าถ้าสติขณะนั้นไม่เกิด สติกำลังตามรู้อะไร ไม่พอเลยที่จะเพียงแต่ใช้คำว่าตามรู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นแม้แต่ในขณะที่เมื่อวานนี้ ไปเที่ยวสนุกสนาน สติไม่เกิด แต่กำลังฟังธรรมเข้าใจ ขณะนั้นเข้าใจ เป็นธรรมที่เป็นฝ่ายดีเข้าใจถูกต้อง และก็มีสติด้วยในขณะที่ฟัง เพราะเหตุว่าเวลาที่ธรรมฝ่ายดีเกิด ไม่ได้เกิดเพียงลำพัง ต้องไม่ลืมว่าโสภณสาธารณะเจตสิก ชื่ออาจจะเป็นภาษาบาลี โสภณแปลว่าดีงาม สาธารณะแปลว่าทั่วไป
เพราะฉะนั้นโสภณสาธารณเจตสิก ที่แปลก็คือเจตสิกทั่วไปที่ดี ต้องเกิดกับจิตที่ดี เพราะฉะนั้นจิตที่จะดีหรือไม่ดี ก็เพราะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าเป็นเจตสิกที่ไม่ดีเกิดร่วมด้วย จิตดีไม่ได้ก็เป็นอกุศลจิต เวลาที่จิตมีโสภณเจตสิกที่ดีงามเกิดร่วมด้วย จิตจะไม่ดีได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต หรือโสภณจิต เพราะมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตาม ที่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดี ขณะนั้นจะไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย วันนี้ช่วยใครบ้างหรือเปล่า เมื่อครู่นี้รับประทานอาหารกัน
ผู้ฟัง มีคนมาช่วย
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นการช่วยเหลือกัน ดีไหม
ผู้ฟัง ดี
ท่านอาจารย์ บางคนก็ขี้เกียจไม่ช่วยดีกว่าง่ายดี ดีกว่าต้องไปช่วยลำบากใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตาม ซึ่งเป็นการคิดดี ทำดี พูดดี เพราะสติระลึกเป็นไปในการจะช่วย ในการจะทำสิ่งที่ดี เพราะถ้าสติไม่เกิด การกระทำสิ่งที่ดีก็เกิดไม่ได้ จิตที่ดีก็เกิดไม่ได้ จะคิดดีก็ไม่ได้ จะพูดดีก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่การให้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนอื่น ขณะนั้น เพราะสติระลึกเป็นไปในการให้ ถ้าเขากำลังทำงาน แล้วก็อยากจะมีคนช่วยอะไรอย่างนี้ และขณะนั้นก็คิดจะช่วย และช่วยขณะนั้นเพราะสติ ระลึกเป็นไปในการที่จะช่วย เพราะฉะนั้นสติก็เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เพราะฉะนั้นก็ระลึกเป็นไปในทางที่ดี ถ้าเพียงจำได้ นึกถึงวันก่อน ไปเที่ยวสนุกก็ไม่ใช่สติ แต่ว่าขณะใดก็ตามที่เป็นไปในเรื่องที่ดี ในสิ่งที่ดี การกระทำที่ดีขณะนั้น เพราะสติเกิดระลึกที่จะทำอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ก็ได้ฟังท่านอาจารย์พูดถึง เรื่องของความจำอยู่หลายครั้ง แล้วก็บอกว่าสภาพจำ ก็จำสิ่งที่จิตรู้ ทีนี้ผมก็เลยว่า เวลาที่เราบอกว่าเราจำไม่ได้ เพราะว่าสิ่งที่เราจำนั้น จำสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือสิ่งที่ได้ยินไปแล้ว จำไม่ได้ไม่เข้าใจ นั่นเป็นเพราะว่า เรานึกไม่ออกหรือว่า เพราะว่าเราไม่มีความเข้าใจร่วมด้วย
อ.อรรณพ ความจำก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งในเมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะต้องมีสภาพที่จำ คือเจตสิกที่เกิดกับจิตนั้น ชื่อก็คือสัญญาเจตสิกหรือสภาพที่จำ แต่ระดับในการจำนั้นนะ แตกต่างกันไป ตามการปรุงแต่งของเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ทางฝ่ายอกุศล จำด้วยความโลภมากๆ แหม ร้านนี้อร่อยมาก จำ เพราะว่ามีความใส่ใจ มีความติดข้อง มีการปรุงแต่งให้ความจำนั้นแหละ จำพร้อมกับความติดข้องพอใจ
แต่ความจำที่มีประโยชน์ก็คือ ความจำด้วยความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในพระธรรมคำสอนซึ่งแสดงถึงสิ่งที่มีจริง ความจำที่เกิดเพราะความเข้าใจขณะนี้ ก็จะเป็นปัจจัยให้มีการระลึกตรึกถึงสภาพธรรมได้ แต่ถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจ ไม่มีความจำขั้นฟัง ที่เข้าใจ ก็ไม่สามารถที่จะมีปัจจัย ที่จะทำให้มีการระลึกรู้ตรง ลักษณะสภาพธรรมได้เลย
ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมเข้าใจธรรมทีละคำ จนกระทั่งเข้าใจจริงๆ และจะเข้าใจจริงๆ ก็เมื่อเดี๋ยวนี้ มีสิ่งที่กำลังกล่าวถึงหรือไม่ แม้แต่สภาพที่เราใช้คำว่า จำ ภาษาบาลีไม่มีคำนี้ แต่ใช้คำว่าสัญญาเจตสิก เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่จิต แต่เป็นธาตุรู้เพราะว่าธรรมถ้าจะแยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ก็คือว่ามีสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นจริง แต่ไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม ส่วนสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปโดยสิ้นเชิง ไม่มีรูปใดๆ เลย เป็นธาตุ แค่รู้ คิดดู นามธาตุ คิดถึงคำนี้ ไม่มีรูปร่าง จึงใช้คำว่าธาตุรู้ล้วนๆ เกิดขึ้นแล้วรู้ ความจำมีรูปร่างสัณฐานไหม ไม่มี และเดี๋ยวนี้จำหรือเปล่า
ผู้ฟัง จำ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจ จำหรือเจตสิกที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เรา นี่ต้องเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้จำอะไร
ผู้ฟัง จำสิ่งที่จิตรู้
ท่านอาจารย์ ต้องละเอียดกว่านี้ ถ้าจะเติมว่า จำสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏว่ามีเดี๋ยวนี้ ถูกไหม เห็นอะไรจำสิ่งที่เห็น ได้ยินเสียง จำเสียงที่ได้ยิน ถ้าไม่ได้จำเสียงที่ได้ยินจะรู้ไหมว่าหมายความว่าอะไร
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ใช่ไหม แต่มีการได้ยินเสียง และก็ไม่มีใครรู้เลยว่าในขณะที่กำลังได้ยินเสียง และสภาพจำ จำเสียงนั้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะรู้ได้ ถ้าเป็นเสียงที่ไม่คุ้นหู ว่าเสียงนั้นหมายความถึงอะไร แต่เริ่มจำเสียง เพราะฉะนั้นจะรู้ได้ว่า นี่เป็นภาษาที่เราไม่รู้ ไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่จำแล้วใช่ไหมว่า นี่เป็นเสียงนั้น เพราะฉะนั้นจำสิ่งที่เห็น ในขณะนี้กำลังเห็นอะไร จำสิ่งที่เห็นถูกต้องไหม เวลาได้ยินเสียงอะไรก็จำเสียงที่ได้ยิน เวลาได้กลิ่นก็จำกลิ่นที่กำลังปรากฏ พอได้กลิ่นอื่นรู้เลยไม่ใช่กลิ่นนั้น เพราะฉะนั้นอาจจะมีบางกลิ่น ซึ่งเราไม่สามารถ เพราะเราไม่รู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร แต่จำสิ่งนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นเขาบอกว่าได้กลิ่นอะไรที่ไม่รู้จัก เพราะว่าไม่เคยรู้เลยว่า กลิ่นนั้นคือกลิ่นอะไร แต่จำกลิ่นนั้นแล้วว่า เป็นกลิ่นที่เราไม่รู้จัก
เพราะฉะนั้นความจำก็ในสิ่งที่เห็น ในสิ่งที่ได้ยิน ในกลิ่นที่ปรากฎ ในรสที่ปรากฏ จำได้ใช่ไหม ไม่ต้องเรียกชื่อเลย ไม่ต้องเรียกว่าหวาน ว่าเค็ม แต่ทันทีที่รสนั้นปรากฏ สภาพที่จำก็จำรสนั้น ถูกต้องไหม ฟังธรรมเพื่อเข้าใจให้ถูกต้องว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นมีสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจำ แล้วต้องจำสิ่งที่จิตรู้ในขณะนั้นด้วย เพราะเกิดพร้อมจิตเป็นสภาพรู้ แต่ไม่ใช่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะนั้น เช่น รสเผ็ด ไม่มีใครเรียกว่าเผ็ด แต่ว่าขณะใดก็ตามมีธาตุรู้ คือจิตเกิดขึ้นลิ้มรสนั้น ไม่ต้องเรียกชื่อเลย แค่รู้ในลักษณะที่เผ็ดอย่างนั้น แต่สัญญาเจตสิกหรือสภาพที่จำ จำรสนั้น
เพราะฉะนั้นบางครั้ง ก็มีรสเผ็ด เผ็ดพริกไทย แล้วก็เผ็ดพริกขี้หนู เผ็ดพริกหยวก ไม่เหมือนกันแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่ลิ้มรส ไม่ต้องบอก ไม่ต้องเอ่ย ไม่ต้องกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าต่อให้จะพรรณาสักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะบรรยายถึงรสที่จิตกำลังลิ้มได้ ต้องขณะนั้นจริงๆ เราไปบอกคนอื่นว่าเผ็ดอย่างนี้เลย พริกกะเหรี่ยง พริกเวียดนามเผ็ดมาก แต่ว่าเราไปบอกให้ใคร แล้วเขาจะรู้ไหมว่า เผ็ดระดับไหน ก็เคยลิ้มแต่รสพริกขี้หนู แต่ว่าพริกนั่นน่ะยังไม่เคยลิ้มรสเลย แต่ว่าบอกเผ็ดแล้วไม่เคยลิ้ม แต่ว่าคนที่กำลังลิ้มรสนั้น สภาพจิตที่เกิดขึ้นลิ้มรสนั้น มีสภาพจำรสนั้นอยู่ด้วย
เพราะฉะนั้นทุกขณะที่จิตเกิด จะมีเจตสิกหนึ่ง ซึ่งต้องเกิดพร้อมกับจิตทุกขณะทุกประเภท นั่นก็คือสัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพจำ ไม่เรียกว่าสัญญาเจตสิกก็ได้ จะใช้คำภาษาอะไรก็ได้ แต่ว่าจะเปลี่ยนลักษณะจำให้เป็นอื่นไม่ได้เลย เพราะไม่ใช่เรา บังคับบัญชา ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ และเกิดแล้วจะทำหน้าที่อื่นก็ไม่ได้ แต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ต้องทำกิจจำเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นในขณะใดก็ตามที่จิตเกิด ไม่ว่าจะหลับจะตื่น จะยังไงก็ตามแต่ มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ใครจะรู้หรือไม่รู้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงแสดง เพราะฉะนั้นค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ในความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน สภาพที่จำเกิด ในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ประโยชน์สูงสุด คือให้เข้าใจถูกต้อง ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรม
เพราะฉะนั้น กว่าจะหมดความเป็นเราคิดดู ว่า จากความจำ จากความคิด จากทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมีจริงทั้งหมด ไม่เห็นผิดว่าเป็นเรา ไม่สงสัยในความเป็นธรรม มาจากไหน จากการฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้น อบรมไป ฟังไปทีละเล็กทีละน้อย จากปริยัตจนกว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด ขณะนั้นก็รู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่มีเราต้องไปทำอะไรเลย แต่ความเข้าใจธรรมที่มั่นคงขึ้น ทำให้แม้ขณะที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิด ก็รู้ว่าไม่ใช่เราเป็นธรรม เป็นอย่างนี้หรือยัง กำลังจำไม่ใช่เราหรือเปล่า แต่จะไม่ใช่เราจริงๆ เมื่อสติสัมปชัญญะกำลังรู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา จำก็คือเป็นจำ
เพราะฉะนั้นก็เป็นหนทางที่ยาวไกล แต่เป็นหนทางอบรมเจริญปัญญา ซึ่งมีข้อความในพระไตรปิฏก ว่าจิรกาลภาวนา เป็นการอบรมที่ยาวนาน เพราะต้องตรงตามความเป็นจริง รู้คือรู้ ไม่รู้คือไม่รู้ ปะปนกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นไม่ลืม จำเกิดกับจิตทุกขณะ ขณะที่บอกว่าลืม จำไม่ได้ขณะนั้น สัญญาสภาพจำไม่ได้ไปจำเรื่องที่เราต้องการจะจำ แต่ขณะนั้นสัญญาจำ สภาพที่จำไม่ได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 781
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 782
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 783
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 784
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 785
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 786
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 787
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 788
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 789
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 790
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 791
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 792
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 793
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 794
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 795
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 796
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 797
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 798
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 799
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 800
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 801
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 802
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 803
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 804
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 805
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 806
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 807
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 808
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 809
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 810
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 811
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 812
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 813
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 814
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 815
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 816
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 817
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 818
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 819
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 820
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 821
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 822
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 823
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 824
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 825
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 826
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 827
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 828
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 829
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 830
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 831
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 832
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 833
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 834
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 835
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 836
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 837
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 838
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 839
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 840