ปกิณณกธรรม ตอนที่ 788
ตอนที่ ๗๘๘
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จ.เชียงใหม่
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ สัญญาสภาพจำ ไม่ได้ไปจำเรื่องที่เราต้องการจะจำ แต่ขณะนั้นสัญญาจำสภาพที่จำไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงรู้ความต่างกันว่า ขณะนั้นน่ะจำไม่ได้เป็นอย่างนี้ มีใครไหมที่จำได้ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ขณะที่จำไม่ได้ก็ต้องมี แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่า แม้ขณะนั้นก็เป็นธรรม เป็นสัญญา และบอกว่าสัญญาเจตสิกเป็นสภาพจำ ก็ขณะนั้นจำไม่ได้จะบอกว่าเป็นสัญญาเจตสิกหรือ แน่ละเพราะขณะนั้นไม่ได้จำสิ่งที่ต้องการจะจำ อยากจะจำ แต่จำว่าเวลาจำไม่ได้เป็นอย่างนี้นะ ไม่ใช่เป็นอย่างอื่น ก็คือธรรมทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นการ ฟังธรรม ฟังเพื่อเข้าใจ เพื่อเข้าใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อจะรู้ว่าพระองค์ทรงตรัสรู้สิ่งที่มีในขณะนี้ตามปกติ ซึ่งคนอื่นรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่รีบร้อนจะไปมีสติ จะไปเจริญสติ จะไปทำสติ โดยไม่รู้ว่าสติไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นการฟังธรรมจนกระทั่งมีความเข้าใจจริงๆ ตอนนี้เรารู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ธรรมมีจริงนี่หลากหลายมาก เพราะอะไร เพราะธรรมเกิดแล้วดับไปไม่กลับมาอีก วันนี้ทั้งหมดตั้งแต่เช้าไม่ว่าจะเป็นความจำ ไม่ว่าจะเป็นการเห็น ไม่ว่าจะเป็นเสียง ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมด ที่ปรากฎว่ามีจริง เพราะเกิดแล้วดับไปหมดเลย แต่รู้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ถ้าฟังพระธรรมแล้วเข้าใจแค่ไหน ต้องฟังต่อไปอีกหรือว่าแค่นี้พอแล้ว จะได้ไปมีสติ ไปทำสติ ไปเจริญสติ ไปละความไม่รู้ นั่นคือไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะเหตุว่า แม้ว่าสภาพธรรมมีจริง เป็นจิรกาลภาวนา ภาวนาไม่ได้หมายความว่าไปนั่งท่อง แต่หมายความว่าอบรมในสิ่งที่ไม่เคยมี ไม่เคยเกิด ให้มีขึ้น เกิดขึ้น และสิ่งที่มีแล้วไม่พอ ก็จะต้องเจริญมากขึ้น มั่นคงขึ้น ด้วยเหตุนี้ความเป็นผู้ตรง คือรู้ว่าขณะนี้กำลังเพียงฟัง กำลังเริ่มรู้จักสัญญาเจตสิก เพราะได้ฟัง ซึ่งก่อนนี้อาจจะได้ยินชื่อสัญญาเจตสิกเป็นสภาพธรรมจำ จบ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ มีสัญญาเจตสิกหรือเปล่า กำลังจำแท้ๆ ก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นเราจำ ใครนั่งอยู่ที่นี่จำได้หมดเลย ชื่อก็จำได้บนโต๊ะมีอะไรก็จำได้ ออกไปนอกห้องก็จำได้ ทั้งวันนี้ก็จำได้ แต่ไม่ใช่เรา รู้ไหม
เพราะฉะนั้น เริ่มเห็น พระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มรู้ว่าคำไหนเป็นคำจริง เพราะเหตุว่านอกจากจะเป็นจิรกาลภาวนา ยังเป็นสักกัจจภาวนา หมายความว่าอบรมด้วยความเคารพในความจริง สิ่งใดที่จริงถูกต้องก็ค่อยๆ ให้สิ่งนั้นเพิ่มขึ้น เข้าใจเพื่อละความไม่รู้ และความไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่ามีตัวเราอยากจะรู้ธรรม ไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ ด้วยวิธีต่างๆ อันนั้นจะไม่เป็นไปได้เลย เพราะไม่เข้าใจว่า ถ้ารู้จริง เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ รู้จริงคือปัญญา สามารถเริ่มเข้าใจถูก ตั้งแต่ขั้นการฟังอย่างมั่นคง ว่าการรู้จริงไม่ใช่รู้อย่างอื่นเลย ที่ไม่ได้มีในขณะนี้ ไปทำให้มี หมายความว่า ไม่รู้สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ แต่สิ่งที่มีในขณะนี้ เป็นสิ่งที่เมื่อเป็นปัญญาแล้วสามารถรู้ได้ ตั้งแต่ขั้นฟังค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งทุกคำที่ได้ยินเป็นคำจริง ซึ่งเมื่อไหร่ที่สภาพธรรมนั้นเป็นอย่างนั้น ก็จะรู้ว่าตรงตามที่ได้ฟังทุกคำ สภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ขณะนี้รวมกันมากมายเลย แต่ว่าถ้าเป็นหนึ่งเดียวเนี่ย จะมีอย่างอื่นปรากฏร่วมด้วยได้ไหม
คือต้องค่อยๆ เข้าใจจนกระทั่งรู้ว่า นี่คือการการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงแสดงพระธรรม โดยละเอียดยิ่ง ทั้งสัมมามรรค และมิจฉามรรค เพื่อประโยชน์อะไร เพื่อให้คนที่ได้พิจารณารู้ว่า อะไรถูกอะไรผิด เพื่อที่จะได้ไม่คิดเองเข้าใจเอง เพราะฉะนั้นก็ต้องผิดไปเองแน่ๆ ไม่สามารถที่จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ ด้วยเหตุนี้ไม่มีใครไปบังคับใคร ให้เชื่ออะไร แต่ว่าผู้ใดก็ตามในครั้งพุทธกาลเมื่อได้ฟังธรรมเข้าใจแล้ว ผู้นั้นเองกล่าวเองว่า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เพราะว่าเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม แม้แต่ที่รู้แจ้งในสัจธรรมก็ไม่ใช่ใครนอกจากธรรม ต่างระดับขั้น ว่าธรรมระดับขั้นพระสัมมาสัมเจ้าตรัสรู้อย่างนี้ ธรรมที่ไม่ใช่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ความจริงได้ แต่ไม่ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่คือความละเอียดของธรรมอย่างยิ่ง ทุกคำ มีในพระไตรปิฏก ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงก่อน เมื่อเข้าใจถูกต้อง ทุกคำมีอยู่ในพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นเป็นคำจริง ซึ่งสามารถเข้าใจจริงๆ ได้ ไม่ใช่เรียนแบบเปิดตำรา มีจิตเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ล่ะจิตอะไร แล้วเมื่อพูดถึงเจตสิก มีสัญญาเจตสิกเป็นสภาพจำ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ล่ะ เราหรือว่าสภาพจำที่กำลังจำ เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจจริงๆ ก็คือว่าผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ตรง จึงจะได้สาระจากพระธรรม จึงสงสัยไหมว่าสัญญาเจตสิกมีจริงๆ และไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง มองสิ่งที่อยู่ต่อหน้าท่านอาจารย์ ผมก็จำทันทีว่าเป็นดอกไม้
ท่านอาจารย์ ผมจำ หรือว่าสัญญาเจตสิกจำ
ผู้ฟัง สัญญา จำว่าเป็นดอกไม้ทันที
ท่านอาจารย์ กว่าจะไม่เป็นเรา ให้รู้ได้เลยว่าจิรกาลภาวนาแน่นอน เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็จะเข้าใจจริงๆ และรู้ความจริงว่า ใครก็ไม่สามารถจะรู้ได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นก็จะเลิกคิดเอง เลิกฟังคนอื่น เพราะว่าถ้าเป็นคำจริง คือพูดถึงสิ่งที่มีในขณะนี้ให้เข้าใจขึ้น แล้วก็สามารถที่จะรู้ได้ด้วย ว่าเป็นความจริงหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าต้องเชื่อ แต่พิจารณาแล้วเข้าใจ
ผู้ฟัง เรื่องที่ว่าเชื่อไปก่อน ความจริงถ้าเป็นคนมีเหตุมีผลนะ ถ้าเชื่อว่าสิ่งนั้นมีเหตุมีผล ก็ควรจะเชื่อไว้ก่อน
ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีเหตุมีผล
ผู้ฟัง อย่างเช่นที่ถามว่าเกิดดับอะไรนี่ ก็เห็นบางอย่างที่ว่ามีการเกิดมีการดับ มีคนเกิดมีคนตายก็เกิดดับ ก็เป็นพื้นฐาน
ท่านอาจารย์ คนเกิดคนตายกับคนดับ หรือเกิด หรืออะไรเกิด หรืออะไรดับ นี่คือคนที่ไม่รู้ แล้วก็สนทนากันด้วยความไม่รู้ คือคนเกิดคนตาย รู้อะไร เหมือนเดิม เหมือนไม่เคยฟังธรรม เชื่อหรือเข้าใจ ต่างคนต่างเชื่อได้ไหม
ผู้ฟัง เข้าใจมีหลายระดับ
ท่านอาจารย์ ต่างคนต่างเชื่อได้ไหม เขาเชื่อกันมามากมายแล้ว ก่อนสมัยพุทธกาล ก่อนการตรัสรู้ เขาก็เชื่อกันมามากมาย คนนี้ก็เชื่ออย่างนี้ คนนั้นก็เชื่ออย่างนั้น ความเห็นก็หลากหลาย มากมายต่างกัน จะบอกว่าเชื่อไปก่อน โดยที่ไม่ได้มีความจริงไม่เข้าใจเลย ก็เหมือนก่อนฟังธรรม เชื่อไปก่อน แต่เมื่อฟังธรรมแล้วเชื่อไปก่อน หรือว่าเป็นปัญญาที่เริ่มเกิด ที่เริ่มพิจารณา เริ่มไตร่ตรอง ถึงความเห็นถูก กับความเชื่อต่างกัน
ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่าความเชื่อนี้ เป็นการยอมรับอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ก็เป็นก่อนการฟังธรรม และเมื่อฟังธรรมแล้วเข้าใจหรือเชื่อ ต้องต่างกันใช่ไหม ก่อนฟังธรรมไม่มีใครมาบอกความจริงเลย ก็เชื่อกันไปก่อน เพราะไม่ได้รู้ความจริง แต่ถ้ามีผู้ที่บอกความจริงแล้วจะเข้าใจว่าสิ่งนั้นจริง หรือว่าเหมือนเดิมคือเชื่อไปก่อน ถ้าจะเข้าใจธรรม เราก็พูดธรรมที่เราได้ฟังเนี่ย ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนให้เข้าใจขึ้น เช่นคำว่าศรัทธา คนไทยใช้คำนี้ แต่เข้าใจสิ่งที่มีจริงซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเรียกสิ่งนั้นว่า ศรัทธาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจธรรม ต้องเป็นผู้ตรงอย่างยิ่ง แล้วศึกษาด้วยความเคารพ คำนี้ทิ้งไม่ได้เลย ทุกคำต้องไตร่ตรองแล้วไตร่ตรองอีก คำที่เราเคยใช้แต่ไม่ถูก แล้วความจริงคืออะไร อย่างศรัทธา มีใครใช้คำนี้บ้าง ได้ยินคำอะไร ก็ไม่ศรัทธา คำที่ถูก แต่คนนั้นฟังแล้วไม่ศรัทธา ได้ไหม นั่นเป็นศรัทธาหรือเปล่า อย่างการฟังพระธรรมเป็นคำจริง จากผู้ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่ได้ตรัสรู้ และทรงแสดงความละเอียดอย่างยิ่ง ยากไป ไม่ศรัทธา ยากไป นี่หมายความว่าอะไร
ถ้ากล่าวว่าลึกซึ้ง ละเอียดอย่างยิ่ง นี่เป็นคำสรรเสริญพระปัญญาคุณ แต่ถ้ากล่าวว่ายากไป ไม่ฟังเพราะยากไป อย่างนั้นเป็นศรัทธาหรือเปล่า บอกว่าไม่ศรัทธา แต่จริงๆ พูดคำนี้ โดยรู้จักลักษณะของศรัทธา สภาพที่เป็นสัทธาเจตสิกหรือยัง เห็นไหมว่าภาษาไทยใช้คำซึ่งเราใช้ โดยที่เราคิดเอาเองว่า เราเข้าใจคำนั้น แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าไม่ศึกษาจะรู้ไหมว่าศรัทธาแล้ว แต่ละคำ นี่หมายความถึงศรัทธาต่างระดับ แต่อย่างไรก็ตาม ให้ทราบว่าศรัทธามีจริงแน่นอน เป็นนามธรรมใช่ไหม ไม่แข็ง ไม่อ่อน ไม่เย็น ไม่ร้อน ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่กลิ่น แต่ว่าเป็นธรรมฝ่ายดีหรือฝ่ายไม่ดี นี่เริ่มละเอียดแล้ว ไม่ใช่ยังไม่ทันรู้เลย ก็ศรัทธาไม่ศรัทธาเอาเองตามใจชอบ แต่ศรัทธานี้คือสภาพจิตที่ผ่องใส ขณะนั้นหมายความว่า ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีกิเลสใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นจึงผ่องใส เพราะเหตุว่าไม่มีโลภะ ไม่มีความติดข้อง ไม่มีความไม่รู้ ไม่มีอะไร แต่ว่าก็ยังเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดกับจิตหลากหลายมาก ต่างๆ ชนิด
เพราะฉะนั้นลักษณะของโสภณเจตสิก ที่เกิดกับจิตแต่ละหนึ่งประเภท ที่เป็นโสภณจิต ก็ต้องรู้ความหลากหลายด้วย เพราะฉะนั้นศรัทธาเป็นสภาพที่ผ่องใสเป็นกุศล นั่งสบายไม่มีใครมากวน อยู่เงียบๆ จิตผ่องใสไหม ขณะนั้นจิตผ่องใสไหม ถ้าไม่เคยฟังมาก่อนคิดว่าอย่างไร ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่เดือดร้อน ตอนนั้นก็คิดว่าผ่องใส แต่ความจริงขณะใดก็ตามที่เป็นอกุศล ไม่มีศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เห็นไหม เพราะฉะนั้นศรัทธาเจตสิกจริงๆ คืออะไร ไม่ใช่สติ ไม่ใช่อโลภะ ไม่ใช่อโทสะ ไม่ใช่อโมหะ ไม่ใช่หิริ ไม่ใช่โอตตัปปะ นี่คือลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นนามธรรม ซึ่งถ้าไม่ฟังก็ไม่มีทางที่จะรู้เลย และแม้แต่คำว่าน้อมใจเชื่อ หรือปักใจเชื่อ กล่าวถึงศรัทธาระดับไหน และต้องเป็นผู้ที่รู้ด้วยว่า ขณะนั้นไม่ใช่ความเห็นผิด เพราะว่าถ้าเราใช้คำว่าปักใจเชื่อ ในทางที่ผิดได้แน่นอน ไม่เปลี่ยนเลยเชื่ออย่างนี้ ใครจะพูดอย่างไรก็ไม่เปลี่ยน และนั่นเป็นกุศลหรือเปล่า ดีงามหรือเปล่า เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้คำว่า เชื่อเป็นศรัทธาหรือเปล่า หรือว่าเป็นความเห็นผิด เป็นสิ่งซึ่งเพราะได้ฟังพระธรรม จึงสามารถที่จะเข้าใจในความละเอียดอย่างยิ่งของธรรม ซึ่งไม่มีรูปร่างเลย เป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็รู้ และก็หลากหลายมากทั้งจิต และเจตสิก
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ พิจารณาอย่างมั่นคงว่า คำนั้นถูกหรือผิด มิฉะนั้นก็หลงเชื่อศรัทธาหรือไม่ แต่ว่าขณะที่เราเชื่อ รู้หรือเปล่า หรือคิดว่าศรัทธา ธรรมเป็นสิ่งที่ตรง และจริง แต่ยากที่จะรู้ได้ อาศัยพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถ้าไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีทางที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ตามความเป็นจริง แม้ศรัทธาขณะนี้มีก็ไม่รู้ แม้ไม่ใช่ศรัทธาก็เข้าใจว่าเป็นศรัทธาก็ได้ นี่เป็นสิ่งซึ่งผู้ที่ได้ศึกษาโดยละเอียด จึงขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่ไม่ใช่ใครมาบอกว่า ให้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
ผู้ฟัง ถ้าความเชื่อไว้ก่อน เชื่อโดยที่ไม่มีเหตุผล และไม่เข้าใจในสิ่งที่ควรจะเชื่อ ก็จะมีแต่ผลเสีย อย่างเช่นว่า คนที่เข้ามาชักชวนให้เราไปนั่งปฏิบัติธรรม ไปนั่งสมาธิ ไปสวดมนต์ แล้วก็บอกว่าจะเป็นหนทางสู่ปัญญา ผมคิดว่าเป็นการเชื่อที่ผิดพลาด ความเชื่อที่ผมคิดว่าเป็นความเชื่อที่ผิดพลาดนี้ มีความเข้าใจถูกต้องอย่างไร
ท่านอาจารย์ เชื่อไว้ก่อน เป็นโทษแค่ไหนหรือไม่
อ.อรรณพ ในเกสปุตตสูตรหรือกาลามสูตร ก็มีหลายประการ ที่ทำให้ได้คิดว่า ถ้าไปเชื่อโดยเพียงแต่ใครเขาบอก เราก็เชื่อไว้ก่อน โดยที่เราก็คิดว่าคนนี้น่าจะเป็นผู้ที่รู้ธรรม น่าจะเป็นคนที่กล่าวธรรมได้ถูกต้อง โดยคิดว่าเป็นครูอาจารย์ของเราบ้าง หรือบางคนก็เชื่อไปตามนักตรึก นักคิด ที่ท่านบอกว่าไปตามอาการอะไรอย่างนี้
เพราะฉะนั้นถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เขาพูดถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้อาศัยการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความเข้าใจจริงๆ ก็ไม่มีเครื่องมืออะไร ที่จะไปแยกว่าอะไรผิดถูก เพราะว่าเครื่องมือที่จะแยก ก็คือปัญญา จะเป็นสภาพที่จำแนกแยกแยะได้ถูก ซึ่งคำสอนใดสอนให้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ รู้ความต่างของกุศล อกุศล และธรรมประการต่างๆ ตามความเป็นจริง จึงจะเป็นหนทางที่แท้จริง
ความอันตรายของความคิด และความเชื่อที่อันตรายที่สุด ก็คือ เริ่มต้นจากการไม่มีเหตุไม่มีผล แล้วก็เชื่อตามกัน แล้วก็คิดว่าเชื่อไว้ก่อน ก็ยังไม่ได้มีการพิจารณา ไตร่ตรองอะไรเลย แต่จริงๆ พิจารณาก่อนแล้ว จึงเชื่อหรือไม่เชื่อด้วยปัญญา ประเด็นอยู่ตรงนี้ และอะไรละที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้มีความเข้าใจ ที่จะพิจารณาไตร่ตรอง ก็เป็นลักษณะ เป็นกิจของปัญญา ซึ่งสามารถจะไตร่ตรองได้ ก็ต้องด้วยการศึกษาพระธรรม จริงๆ แม้การฟังเรื่อง เป็นปริยัติ ขณะนั้นเป็นปัญญาที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แม้ว่าปัญญานั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอด หรือว่าประจักษ์สภาพธรรมก็ตาม
เพราะฉะนั้นอันตรายของการเชื่อไว้ก่อนก็คือ ไปเชื่อสิ่งที่ผิด แล้วก็ไปปฏิบัติผิด หลงผิด แล้วก็ยึดว่าการประพฤติปฏิบัตินั้นถูกแล้ว เพราะว่าต้องด้วยลัทธิหรือความเชื่อของตน แล้วก็ยึดว่าผู้นี้เป็นครูเป็นอาจารย์เรา เราก็เชื่อโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองในความถูกต้องจริงๆ
ท่านอาจารย์ ก็เห็นชัดว่า คำว่าเชื่อไว้ก่อน ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ต้องทราบว่า ที่ผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ๔๕ พรรษา เพราะรู้ว่าธรรมเดี๋ยวนี้ลึกซึ้งมาก เพียงแค่วันสองวัน ปีสองปี ก็จะไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรม ซึ่งไม่เคยรู้มานานแสนนานได้ เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแสดงธรรมไว้มาก แต่ผู้ฟังต้องเป็นผู้ที่รู้จักตัวเอง เวลาที่ได้ยินคำอะไรเข้าใจคำนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะนับถือคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม ในเมื่อฟังแล้วไม่เข้าใจแล้วเชื่อ แต่ว่าทุกคำที่ได้ทรงแสดง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดปัญญา คือความเห็นถูกต้องของตนเอง
ตอนแรกๆ ใครจะมีความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้มาก ก็ไม่รู้มานานแสนนาน ทั้งๆ ที่ได้ฟังบ่อยๆ เรื่องของสิ่งที่มีจริง เกิดมาไม่ว่าที่ไหน ก็ต้องมีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีการคิดนึกโดยไม่รู้เลย แล้วก็มีการเข้าใจผิด ยึดถือสภาพธรรมอย่างมั่นคงว่าเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม ไม่เผินเลย ตัวตนหรืออัตตา หมายความถึงสิ่งซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน ของผู้ที่ไม่เคยได้ฟังธรรม เห็นคน เห็นวัตถุสิ่งต่างๆ คิดนึกเรื่องราวของสิ่งต่างๆ เต็มไปด้วยเรื่องของสิ่งที่มี แต่ไม่เคยรู้ความจริงว่า สิ่งที่มีแท้ๆ เป็นอนัตตา หมายความว่าไม่ใช่ของใคร แล้วก็เกิดขึ้นโดยมีปัจจัย ที่อาศัยที่จะทำให้ สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ทำกิจอย่างนั้น แล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย แต่ละหนึ่ง เห็นขณะนี้เกิดแล้ว เห็นแล้วดับไปไม่กลับมาอีก ได้ยินขณะนี้ได้ยินแล้ว ได้ยินเฉพาะเสียงที่ปรากฏ ได้ยินแล้วเกิดขึ้นได้ยินแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก แม้แต่คิดนึก ก็ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้น
แต่ความเป็นไปของธรรมคือธรรมดา ที่จะต้องยับยั้งไม่ได้เลย ขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แต่ไม่เคยรู้ความจริงเลยว่า ขณะที่เข้าใจว่าเป็นคนหนึ่งคนใด ไม่ใช่ขณะที่กำลังเห็น ในเมื่อเห็น มีเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น หลับตาไม่มีใครสักคนในห้องนี้ ไม่มีอะไรด้วยทั้งหมด แต่เมื่อลืมตาแล้ว จำว่ามี และก็มั่นคงว่า ไม่เห็นดับไปเลยสักอย่างเดียว คนก็ยังนั่งอยู่ โต๊ะเก้าอี้ก็ยังอยู่ เพราะฉะนั้นความเห็นของคนที่ไม่ได้ฟังพระธรรม และก็ไม่ได้ไตร่ตรอง ความละเอียดลึกซึ้งว่ายาก แต่ว่าสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ที่อดทน และขณะที่กำลังฟังเดี๋ยวนี้ ก็มีความเพียรซึ่งเป็นวิริยะ ไม่มีใครไปทำสภาพธรรม คือจิต และเจตสิกในขณะนี้ให้เกิด และจิตเจตสิกขณะนี้เอง กำลังทำกิจการงานอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเมื่อไม่รู้ ก็เข้าใจว่าเป็นเราทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้การฟังพระธรรม ต้องไม่ลืมว่า เพื่อให้คนที่ฟัง ชาติไหนก็ตาม ขณะไหนก็ตาม เข้าใจคำที่ได้ฟังว่า หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งกำลังเป็นอย่างนี้แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ว่า ฟังหลายชาติ อาจจะชาติก่อนเคยฟัง ชาตินี้ฟังแล้ว ชาติหน้ามีโอกาสจะได้ฟังอีก เหมือนคำเก่าที่เคยได้ยินหรือไม่ เรื่องสิ่งที่ปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เดี่ยวนี้แต่ก็ไม่รู้ เพราะด้วยความเข้าใจน้อยมาก เมื่อเทียบกับความไม่รู้นานแสนนาน
ด้วยเหตุนี้ทุกคนที่ได้ฟังพระธรรมจึงมีความเคารพสูงสุดในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังเป็นอย่างนี้ ในขณะนี้ โดยที่ว่ายากที่จะรู้ได้ แต่ผู้ที่ฟังทุกคนในครั้งก่อน ก็สะสมความเข้าใจมานาน พอที่เมื่อได้ฟังแล้วก็รู้ว่าเป็นความจริง แล้วก็อบรมเจริญปัญญา เพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นขณะนี้ ก็เป็นขณะที่ประเสริฐในชีวิต ที่มีโอกาสจะได้ฟัง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น สะสมไป ฟังไว้ เข้าใจไว้ สะสมไป เพราะว่าสิ่งที่กำลังเป็นจริงในขณะนี้ สามารถที่จะรู้ความจริงได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 781
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 782
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 783
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 784
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 785
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 786
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 787
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 788
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 789
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 790
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 791
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 792
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 793
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 794
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 795
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 796
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 797
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 798
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 799
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 800
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 801
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 802
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 803
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 804
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 805
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 806
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 807
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 808
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 809
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 810
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 811
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 812
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 813
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 814
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 815
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 816
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 817
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 818
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 819
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 820
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 821
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 822
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 823
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 824
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 825
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 826
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 827
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 828
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 829
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 830
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 831
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 832
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 833
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 834
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 835
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 836
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 837
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 838
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 839
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 840