ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
ตอนที่ ๘๕๓
สนทนาธรรม ที่ ภูพานเพลส จ.สกลนคร
วันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ พอจากโลกนี้ไป ไม่มีอะไรเลย แม้แต่ร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ที่เข้าใจว่าเป็นเรา ไม่มีอะไรที่จะเป็นของเราเลย ธรรมเป็นธรรม จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป เราอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ว่าสัตว์โลกไม่สามารถที่จะเข้าใจความจริงนี้ได้ พระโพธิสัตว์ก็บำเพ็ญเพียร ที่จะรู้ความจริง ที่สามารถที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย โดยการทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการศึกษาธรรม ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้ แต่รู้ไม่ได้แน่นอน ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ก็เริ่มเห็นว่าทุกคำเป็นเรื่องของปัญญา
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมมีธาตุรู้ใช่ไหม จิต เจตสิก รูปไม่รู้อะไรเลย แล้วศีลเป็นอะไร ก่อนอื่น ทุกคำ “เป็นอะไร” ถ้ายังไม่รู้ก็คือว่าไม่รู้อยู่นั่นแหละ เข้าใจผิดอยู่นั่นแหละ ไม่มีทางจะเข้าใจถูกได้เลย แต่สิ่งที่มีจริงสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นพอพูดถึง ศีล เป็นอะไร ในเมื่อความจริงที่เกิดขึ้น จะพ้นจากจิต หรือเจตสิก หรือรูปไม่ได้เลย แม้จะหลากหลายสักเท่าไหร่ เป็นจิต หรือว่าเป็นเจตสิก หรือว่าเป็นรูป จะเป็นคน เป็นสัตว์บุคคลไม่ได้เลย ในความเป็นจริงซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เปลี่ยนไม่ได้ เป็นอภิธรรมที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่า ศีล นั้น เป็นอะไร คืออะไร เห็นไหม เมื่อเช้านี้เราพูดถึงจิต เจตสิก รูป ทุกขณะต้องเป็น ๑ คือ เป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เพราะฉะนั้น ศีลเป็นอะไร ไม่อย่างนั้นเราก็พูดไป ไม่เข้าใจไป ห้ามไป คิดไป ทำไป ไม่ได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความจริงคืออะไร คิดเองไม่ได้เลย ต้องศึกษา เพราะฉะนั้น ได้ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว ว่าไม่มีเรา แต่มีจิต เจตสิก รูป
ผู้ฟัง มีหลายคนที่จะถามว่า แล้วที่เราพูดคุยกันอยู่นี้ เราศึกษาถูกต้องไหม ละเอียดไหม อะไรคือความถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน เราศึกษาอะไรกันอยู่ มานั่งอยู่ตรงนี้ พูดกันเรื่องอะไร และศึกษาเรื่องอะไร ที่จะว่าถูกหรือผิด
ผู้ฟัง ในการตีความ “คำ” อะไรทำนองนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ “คำ” มีความจริงหรือเปล่า ไม่ใช่เราพูดเรื่องคำนี้ หมายความว่าอย่างนั้น ประกอบด้วยคำนั้น อยู่ข้างหน้า ข้างหลัง เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ใช่เลย แต่ทุกคำส่องถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ อย่างนี้ผิดหรือถูก ไม่ใช่คำที่ไร้ความหมาย แต่เป็นคำที่บ่งถึงลักษณะที่มีจริง ให้เข้าใจให้ถูกต้องแต่ละคำ เพราะฉะนั้น ตอนนี้ทุกคนเข้าใจคำว่าธรรม มีจริงๆ กำลังมีด้วย แต่ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมจะรู้ไหม ไม่รู้ เพราะฉะนั้นทุกคำที่ไม่รู้ ศึกษาแล้วรู้ ถ้าไม่ศึกษาไม่รู้ เพราะฉะนั้นเพียงได้ยินคำว่าศีล ศีลคืออะไร ก่อนฟังพระธรรมรู้ไหม แต่พูดแล้วใช่ไหม ๕ ข้อ, ๘ ข้อ, ๑๐ ข้อ, ๒๒๗ ข้อ, แต่คืออะไร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้ เพื่อให้คนจำ เพื่อให้คนทำ เพื่อให้คิดว่าเป็นเราสามารถที่จะทำได้ เว้นได้ ทุกประการ แต่ทรงแสดงความจริงให้เข้าใจถูกว่า ความจริงไม่มีเรา แต่เป็นธรรมทั้งหมดเลย หลากหลายมาก จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป พ้นจากจิต เจตสิก รูป ไม่ได้ ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นที่พูด ต้องเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เพราะฉะนั้นเมื่อได้ยินคำว่าศีล อย่าคิดว่าเข้าใจ หรืออย่าคิดว่าเราคิดว่าอย่างนี้ เราถือว่าอย่างนั้น นั่นคือคิดและถือ แต่ความจริงเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไร พิสูจน์ได้อย่างไร แต่ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวาจาสัจจะ สามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ต้องละเอียด ได้ยินคำไหน คืออะไร แล้วจะเข้าใจถูกต้องขึ้น แต่ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร ไม่มีทางที่จะเข้าใจ และไม่มีทางที่จะถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ศีล คืออะไร คือไม่ลืมคำที่ได้ฟังแล้ว ธรรมแน่นอน ใช่ไหม ศีลเป็นธรรมแน่นอน แต่ธรรมมี ๓ จิต เจตสิก เป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ รูปไม่รู้อะไรเลย รูปไปฆ่าใครได้ไหม รูปพูดไม่จริงได้ไหม รูปทำอะไรที่ไม่ดีๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วทำอะไรที่ดีๆ ได้ไหม ไม่รู้เลย ไม่รู้ต้องไม่รู้ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นที่เคลื่อนไหวไปนี้ ถ้าไม่มีจิต รูปไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้เลย สักนิดเดียวก็ไม่ได้ แค่ขยับก็ไม่ได้ แต่ว่าเมื่อมีจิตแล้ว รูปเป็นไปตามจิต ไม่ใช่จิตสั่ง ใช้คำก็ผิดแล้ว คำทั้งหมดที่ผิด เพราะไม่รู้ แต่พอเข้าใจขึ้น จะเว้นคำพูดนั้นๆ เพราะเข้าใจ จะไม่พูดเลยว่าจิตสั่ง เพราะจิตเกิดขึ้นรู้ แล้วดับ ถ้าสั่ง ต้องมีผู้ที่ถูกสั่ง รู้คำสั่งใช่ไหม นี่ก็เป็นสิ่งซึ่ง ธรรมต้องละเอียดมาก และใครห้ามใคร ให้เป็นผู้ละเอียดและตรงหรือเปล่า ห้ามได้ไหม แต่ใครก็ตามที่จะเป็นผู้ไม่ละเอียด แล้วก็ไม่ตรง ก็เป็นอย่างนั้น เพราะเป็นธรรม ใครก็จะไปเตือน ไปบอกว่าอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ไม่ใช่เรื่องผิวเผิน ไม่ใช่เอามานั่งพูด นั่งท่อง แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย ชวนกันไม่รู้นั้น เป็นมงคลหรือเปล่า มงคลคือสิ่งที่นำความเจริญมาสู่ชีวิตที่เกิดมา แต่ละข้อ เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง เริ่มตั้งแต่คำแรก มงคลแรก ไม่คบคนพาล ต่อไปจนถึงที่สุด คือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นที่สุดของมงคล
เพราะฉะนั้นคบคนพาล ไม่มีทางที่จะเข้าใจธรรม ไม่มีทางที่จะดับกิเลสได้ ธรรมเป็นเรื่องจริง เพราะว่าคนพาลไม่เข้าใจธรรม คนพาลพูดอะไรก็พูดไป แล้วเราต้องเชื่อหรือ เรามีเขาเป็นที่พึ่ง หรือว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่บอกให้รู้ว่าศีลคืออะไร แล้วปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็บอกว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่พอถึงศีล เป็นเราแล้ว ต้องเว้นนี้ ห้ามนั่น อย่างนั้นตรงไหม สอดคล้องกันหรือเปล่า ความจริงเปลี่ยนไม่ได้ ความจริงต้องเป็นความจริงทุกกาลสมัย อดีตนานแสนนานมาแล้ว แข็งก็เป็นแข็ง เสียงก็เป็นเสียง เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้น ต่อไปก็เป็นอย่างนั้น ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาธรรมซึ่งเป็นมงคล แน่นอน เพราะเหตุว่าเป็นความเข้าใจถูก ซึ่งถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น การฟังธรรม เข้าใจธรรมต่างหาก ที่เป็นมงคล ไม่ใช่การพูดคำที่ไม่รู้จัก
เพราะฉะนั้น ขณะนี้พูดคำว่า ศีล จะเป็นมงคลเมื่อไหร่ เห็นไหม ทุกอย่างต้องสอดคล้องกัน เมื่อเข้าใจถูกว่าศีลคืออะไร แต่ละคำข้ามไม่ได้เลย จะข้ามไปถึง ๕ ข้อ ๘ ข้อ ๑๐ ข้อ ๒๒๗ ข้อ โดยความตั้งใจ โดยอะไรต่างๆ ทั้งหมด โดยไม่รู้ว่าศีลคืออะไร ก็คือความไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นสภาพธรรมมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเกิด ไม่รู้อะไร อีกอย่างหนึ่งเป็นสภาพรู้ สภาพรู้ที่เกิดขึ้นก็มี ๒ อย่าง คือ จิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน กำลังรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตา เห็น ทางหู ได้ยิน เป็นต้น แต่สภาพอื่นทั้งหมดเป็นเจตสิก นอกจากนี้ เพราะว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้ง เมื่อรู้แจ้งแล้ว ชอบเกิดขึ้น ติดข้องเกิดขึ้น ไม่ใช่จิต เจตสิก แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งหลากหลายมาก
เพราะฉะนั้น ศีลคืออะไร ทุกคำ นำมาซึ่งความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ซึ่งเมื่อเห็นถูก เข้าใจถูกแล้ว ไม่หายไปไหน แล้วก็ไม่เปลี่ยนด้วย แล้วก็มั่นคงด้วย แล้วก็สามารถที่จะนำไปสู่การหมดจด ดับกิเลสได้ เพราะเว้นการคบคนพาล คือคนที่ไม่รู้ แล้วก็กล่าวถึงสิ่งต่างๆ ด้วยความไม่รู้ และยังเข้าใจผิดด้วยถ้าไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นยังไม่ข้ามไปไหนเลย ไม่พาไปไหน พาไปก็ไม่รู้ แต่ให้เข้าใจถูก สิ่งที่มิตรที่ดี กัลยาณมิตรจะให้คนอื่นก็คือสิ่งที่จริง ไม่ให้สิ่งที่ไม่จริง นั่นคือไม่ใช่มิตร แต่ถ้าเป็นมิตรจริงๆ หวังดี เพราะว่าถ้าใครเข้าใจพระธรรมผิด มีแต่โทษ นำไป ต่อไป โทษทั้งนั้นเลย แต่ถ้ามีความเข้าใจถูก นำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น และก็ตรงตามที่ได้ฟังด้วย ไม่ผิดกันเลย ตรงทุกคำด้วย แต่กว่าจะถึงวันนั้น ก็คือว่าไม่ใช่เราอยาก แต่ว่ามีความเข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นตรงกันข้ามกันเลย คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อละความไม่รู้ ละความติดข้อง แต่คำสอนที่ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อตัวตนที่จะได้มา ให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย แม้แต่ห้ามฆ่าสัตว์ ก็พูดไป ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามได้หรือ ห้ามไม่ได้ คนพูดก็ฆ่า หรือคนพูดก็ทำทุจริตต่างๆ เพราะอะไร ยังมีความไม่รู้ และยังมีกิเลส เพราะฉะนั้นถ้าได้เข้าใจถูกต้อง จะนำมาสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น แต่ต้องเริ่มจากความเป็นผู้ละเอียด ถ้าจะพูดคำไหน เข้าใจคำนั้น คือก่อนนี้พูดด้วยความไม่เข้าใจ แน่นอนใช่ไหม จะเข้าใจได้อย่างไร ไม่ได้ฟังพระธรรม ฟังแต่คำอื่นมาทั้งนั้น แต่พอฟังพระธรรม เข้าใจแล้ว ก็จะไม่พูดผิด เพราะไม่ได้เข้าใจผิด เพราะเป็นผู้ละเอียดที่จะต้องเข้าใจจริงๆ ทุกคำ แม้แต่คำว่า ศีล ถ้าไม่บอกให้เข้าใจ มีประโยชน์ไหม พูดอะไรกัน พูดตั้งเยอะ แล้วมันคืออะไร ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างกับคำสอนอื่นทั้งหมด เพราะทรงตรัสรู้ความจริง ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ฟังคำสอน ต้องเข้าใจทุกคำ เช่น ศีลคืออะไร ฟังแล้ว พิจารณา ขอเวลาหน่อย ไม่ใช่ว่าจะตอบไม่ได้ เพราะมีคำตอบ เป็นอะไร รูปธรรมหรือนามธรรม เป็นจิตหรือเป็นเจตสิกแค่นี้ มีเท่านี้ให้เลือก จะไปตอบอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรู้ว่าความจริง มีเพียงเท่านี้ แล้วจะไปตอบอย่างอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ศีลคืออะไร ศีลเป็นธรรมแน่นอน มีจริงแน่นอน การฆ่ามีจริงไหม การไม่ฆ่ามีจริงไหม ๒ อย่างต่างกันแล้วใช่ไหม รูปธรรมทำอะไรไม่ได้เลย ไม่รู้อะไรแล้วจะไปโกรธใคร จะไปฆ่าใครได้อย่างไร เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นจิตและเจตสิก แต่จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นอื่นๆ ทั้งหมด นอกจากนี้เป็นเจตสิก แต่เกิดร่วมกันเสมอ ไม่ได้แยกจากกันเลย
เพราะฉะนั้น ศีลคืออะไร เป็นจิต เป็นเจตสิก แล้วทำไมเป็นศีล เห็นไหม ไม่จบง่ายๆ โดยคิดว่าพอแล้ว เข้าใจแล้ว ไม่มีเลย จนกว่ารอบรู้ คือเข้าใจจริงๆ ในคำนั้น ทำไมเป็นจิต เป็นเจตสิก เพราะว่ามีจิต เจตสิกหลากหลายมาก ตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ใช่ไม่มี เพราะฉะนั้น ศีลก็คือ ปกติ ความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น ห้ามไม่ให้เป็นไปได้ไหม เจตสิกต่างๆ นั้น ไม่ให้เกิดติดข้อง ไม่ให้เกิดความโกรธได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสภาพของจิตซึ่งมีเจตสิกใดเกิดร่วมด้วย ก็เป็นศีลประเภทนั้น
เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎก มีคำว่า อกุศลศีล กุศลศีล อัพยากตศีล เมื่อเช้านี้เราพูดถึงกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม รวมหมดเลย ต้องแยก นั่นคือธรรม นี่คือศีล มีความต่างกันหรือเปล่า ถ้าเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป ใช่ไหม ธรรม เพราะฉะนั้น อกุศลธรรมคืออะไร อกุศลเจตสิกซึ่งเกิดพร้อมกับอกุศลจิต ทั้งหมดขณะนั้น แยกกันไม่ได้เลย ให้มีแต่เจตสิกไม่ให้มีจิตได้ไหม ไม่ได้ เมื่อจิตนั้นมีเจตสิกประเภทนั้นๆ เกิดแล้ว จะให้เป็นอย่างนั้น ได้ไหม ให้เป็นจิตดีแต่เจตสิกไม่ดีเกิดพร้อมกันได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นอกุศลธรรมก็คือจิต เจตสิกที่ไม่ดี รูปเป็นอกุศลได้ไหม นี่คือปัญญา ไม่ใช่สวดมนต์ แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจแล้ว ก็จะสามารถทบทวนความเข้าใจ จะตามลำดับหรือไม่ตามลำดับ เรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง หรือว่าจะเปล่งออกมาเป็นคำ หรือไม่เป็นคำก็ได้ ใช่ไหม ก็แล้วแต่ แต่ไม่ลืมว่าคิดขณะใด ก็คือสภาพที่จำเสียง ตามความคิด ว่าคิดถึงอะไร
เพราะฉะนั้นพอที่จะรู้ได้แล้วใช่ไหมว่า ศีล คือ ปกติของจิตและเจตสิกที่จะต้องประพฤติเป็นไป เกิดแล้วไม่เห็น ไม่ชอบ ไม่อะไร ไม่ได้ ใครจะไปยับยั้งได้ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นทรงแสดงพระธรรมให้เข้าใจถูกว่า ไม่ใช่เรา และไม่มีเรา มีแต่ธรรม ซึ่งถ้าเป็นกุศลธรรม ก็ได้แก่จิตและเจตสิกที่มีกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าเป็นอกุศลธรรม ก็ได้แก่จิตและเจตสิกซึ่งมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย และสภาพธรรมที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล ทั้งหมดเป็นอัพยากตธรรม นี่จะต้องแยกแล้ว พอถึงกุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล เห็นไหม นี่คือความละเอียดของธรรม ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ก็ปะปนกัน ผิดๆ ถูกๆ มาแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะมีคำซึ่งไม่ถูก หรือว่าถูกคำเดียว ผิดเยอะ แต่ว่าถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คือว่าไม่เข้าใจธรรม แต่ถ้าเข้าใจธรรม ต้องไม่มีผิด ทุกคำต้องถูก แต่คำๆ ใดก็ตาม หนังสือใดๆ ก็ตาม คำพูดใดๆ ก็ตาม ซึ่งไม่สอดคล้องกัน คัดค้านกันอยู่ในตัว ผู้ไม่มีปัญญาก็คิดว่าถูก แต่ว่าถ้ามีปัญญาก็พิจารณาว่าไม่ตรง ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น แต่ละคำนั้น เคารพอย่างยิ่งว่า ทำไมทรงแสดงธรรมหลากหลาย แม้แต่กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ก็ต้องเข้าใจว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล เป็นกุศลธรรม ธรรมที่ไม่ดีไม่งามเป็นฝ่ายอกุศล ก็เป็นอกุศลธรรม แล้ว อัพยากตธรรม คืออะไร อัพยากต ไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศล และอกุศล พยากรณ์ไม่ใช่ว่าเดาหรือทาย แต่เป็นปัญญาที่รู้ชัด ที่จะบอกว่านั่นไม่ใช่กุศล และอกุศล เพราะฉะนั้น อะไรที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล เห็นไหม ฟังแล้วไม่ใช่หยุดแค่นั้น แต่ฟังแล้วสามารถที่จะเข้าใจต่อไปอีก ต่อไปอีก จนหมดความสงสัย หมดความไม่รู้ ขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับ ความไม่รู้ปิดบังหมดเลย ไม่มีซักคำที่จะไปเปิดของที่ปิด ใช่ไหม เพราะอะไรปิด อวิชชา ความไม่รู้ และความติดข้อง ทำหน้าที่เลย ปิดสนิท ทั้งๆ ที่เกิดดับ ชอบ พอชอบแล้วจะไปเห็นการเกิดดับไปได้อย่างไร เพราะเหตุว่าไม่มีเหลือที่จะให้ชอบ ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ชอบอยู่ เพราะคิดว่ายังอยู่ ยังมีอยู่ ก็คือว่าไม่ได้เข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงโดยละเอียดยิ่ง เพื่ออุปการะให้สัตว์โลกมีความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งยากที่จะเข้าใจ เพราะลึกซึ้งละเอียด แต่เข้าใจได้ มั่นคง มีผู้ที่รู้แจ้งแล้ว ด้วยความอดทน ด้วยความเห็นถูกต้องในบารมีทั้ง ๑๐ ว่า ถ้าไม่มีคุณความดีนั้นๆ ที่จะสละความไม่ดีออกไป ที่อยู่ในจิต แล้วอกุศลและความติดข้องที่หนาแน่น จะเบาบางลงได้อย่างไร เครื่องปิดกั้นมีอยู่ทุกขณะ แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจก็ค่อยๆ จางลง จนกว่าจะหงายของที่คว่ำ เข้าใจคำนี้ลึกซึ้งว่า ขณะนี้อะไรคว่ำอะไรไว้ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นเรื่องราว เป็นคน เป็นอะไรทั้งหมด ไม่ทำให้เข้าใจว่า มีจิตและเจตสิกเท่านั้น ที่กำลังรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นจึงปรากฏได้ เพราะฉะนั้นคว่ำไว้สนิทไหม ไม่รู้เลย ว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีใคร มีจิต เจตสิก ซึ่งกำลังเห็น กำลังคิดถึงรูปร่างสัณฐานต่างๆ กำลังชอบ ไม่ชอบ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ กำลังคิดล่วงหน้าด้วยว่าจะทำอะไร ทั้งวัน ไม่มีสักขณะเดียวที่ไม่ใช่จิต เจตสิก เมื่อไร ขณะไหนไม่มีจิต เจตสิก คือสภาพใดๆ ก็ไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคำ พระมหากรุณาคุณ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ เมื่อนอบน้อมในพระคุณ ที่สามารถที่จะทำให้คนอื่นได้เข้าใจแต่ละคำ แม้แต่กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ให้ผู้ฟังเข้าใจ เพราะฉะนั้น เข้าใจหรือยัง ถ้ายังไม่เข้าใจ อย่าเพิ่งไปไหน ไปปฏิบัติอะไร ไปทำอะไรที่ไหน ไม่มีทางที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ข้ามแต่ละคำ เมื่อกี้เราพูดถึงศีล ตอนนี้กลับมาพูดถึงธรรม คือกุศลธรรม รู้แล้ว อะไร อกุศลธรรม รู้แล้วใช่ไหม แล้วอัพยากตธรรม คืออะไร ไม่ใช่ถือ ถือคือความเห็นของตัวเอง แต่ความจริงไม่ต้องถือ ใครจะรู้หรือไม่รู้ ความจริงก็ต้องเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นตอนนี้น่าสนใจ สวดศพ ได้ยินทุกที ไม่รู้สักที กับเริ่มเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ คือเข้าใจว่ากุศลธรรม มี คืออะไร อกุศลธรรม มี คืออะไร แล้วยังมี อัพยากตธรรม แค่ ๓ คำ แต่พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เกิน ๓ คำ เพราะฉะนั้นก็มีอีกมาก ที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น จากที่ไม่รู้เลยว่าเป็นอย่างนี้ ไม่เคยรู้มาก่อน แต่สามารถที่จะเข้าใจ จนกระทั่งเข้าใจขึ้นๆ มั่นคงเป็นสัจจญาณ ก่อนที่จะถึงกิจจญาณ ซึ่งเป็นปฏิปัตติ ก่อนที่จะถึงปฏิเวธ ซึ่งเป็นกตญาณ
เพราะฉะนั้นทรงแสดงธรรมประกอบไว้ไม่ให้หลงผิด ปริยัตติ คือ ความรอบรู้ในพระพุทธพจน์ รอบรู้ไม่ใช่เพียงแค่คำเดียว ธรรมทั้งหมด ทั้งวัน ไม่สงสัย ว่าไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน เป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป แค่นี้ ที่ปัญญาจะไตร่ตรอง แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจขึ้น แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ ทิ้งไปเลยดีไหม หรือว่าเข้าใจได้แน่ ถ้าได้ฟังต่อไป อยู่ที่ว่าจะให้ปัญญาเจริญขึ้น หรือว่าไม่สนใจ อยู่ไปในโลกวันๆ นี่ก็สนุกดี เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวสุข ก็ทนได้ อยู่ไปด้วย " ความไม่รู้ "
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 841
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 842
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 843
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 844
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 845
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 846
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 847
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 848
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 849
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 851
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 852
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 854
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 855
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 857
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 858
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 860
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 900