ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
ตอนที่ ๘๕๖
สนทนาธรรม ที่ ร้านโป๊ด เรสเตอร์รอง
วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ แม้ได้ฟังพระธรรม แต่ปัญญาขั้นฟัง เพียงฟัง ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่า เห็นขณะนี้เกิดแน่นอนจึงมีเห็น แต่เห็นขณะนี้เห็นแล้วดับไป เท่านั้นเองค่ะ เห็นไม่รู้เลยว่าเป็นดอกไม้ หรือเป็นคน หรือว่าเป็นเก้าอี้ เป็นโต๊ะ แค่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ นี่แสดงให้เห็นว่านะคะ ตั้งแต่เกิดมาถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่รู้ความจริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นก็อยู่ด้วยความไม่รู้ไปตลอดชีวิต จนกว่าจะได้มีโอกาสฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นตอนนี้นะคะ เพียงแค่ได้ยินคำว่าธรรม ก็คือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้กำลังมี เห็นเป็นนกป่าวคะ เห็นเป็นอะไรคะ เห็นเป็นเห็น เปลี่ยนไม่ได้เลยค่ะ ธรรมทุกอย่างเปลี่ยนไม่ได้ เพราะสั้นมากค่ะ เพียงแค่เกิดแล้วดับ ใครทำอะไรไม่ได้เลย ไม่สามารถที่จะไปทำอะไรกับสิ่งที่มีปัจจัยเกิดสั้นมากแล้วก็ดับไป เดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนี้ค่ะ นี่คือคำสอนของผู้ที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง สิ่งที่เห็น และสิ่งที่ปรากฏ ที่เป็นจริงทุกครั้งเนี่ยครับท่านอาจารย์ แล้วมันก็ดับไปแต่สิ่งที่มันยากเย็น แสนที่มันจะยากมากๆ คือ เห็นแล้วคิด คิดแล้วเก็บไปฝันครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ห้ามได้ไหมคะ
ผู้ฟัง ห้ามไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ให้เป็นอย่างนี้ได้ไหมคะ
ผู้ฟัง มิได้ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีอีกคำหนึ่งค่ะ อนัตตา เพราะฉะนั้นจะมีคำภาษาไทยเนี่ยว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ไม่เว้นเลยนะคะ อนัตตาหมายความว่าไม่ใช่อัตตา อัตตาคือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยง ยั่งยืน ไม่ปรากฏการดับไปเลย อย่างขณะนี้ก็ไม่มีอะไรดับไปเลยนะคะ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ความจริง ปัญญายังไม่ถึงระดับขั้นที่จะเห็น การเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ แต่เริ่มนะคะ คิดถึงสิ่งที่มี และก็ไตร่ตรอง และก็เข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย น้อมไปสู่การที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงเมื่อได้ฟังมากขึ้น สภาพธรรมก็ทนต่อการพิสูจน์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา ธรรมดามั้ยคะเดี๋ยวนี้ สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ดับก็ไม่รู้ เกิดก็ไม่รู้ แต่ผู้ที่ตรัสรู้ ตรัสรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง นอนหลับไม่เห็นเลย แต่ว่าเดี๋ยวนี้เห็น เพราะฉะนั้นเห็นไปไหนตอนนอนหลับ แสดงให้เห็นว่าเพียงแค่ได้ยินเกิด ไม่ใช่เห็นละ เห็นต้องดับไป เพราะเหตุว่าถ้าพูดถึงสภาพรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการที่มีสิ่งต่างๆ ปรากฏขณะนี้ ก็เพราะมีธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ ถ้าไม่มีธาตุรู้เกิด อะไรก็มีปรากฏไม่ได้ ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครได้ยิน ไม่มีการคิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น แต่สภาพธรรมนี่ค่ะมีจริงๆ และก็กำลังมีด้วย และก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาด้วย เห็นแล้วไม่จำรูปร่างสัณฐาน ของสิ่งที่เห็นได้ไหมคะ ได้ ไม่ได้แต่ก็ไม่รู้ ไม่รู้หมดเลยค่ะ ไม่รู้สักอย่างเดียว แต่จากการฟังนะคะ เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าก่อนที่จะได้ฟังธรรมค่ะ ได้ยินชื่อกราบไหว้ สูงสุดด้วยนะคะ แต่ว่าไม่รู้เลย ในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม ซึ่งเป็นคำจริงทั้งหมดค่ะ วาจาสัจจะ พูดถึงแต่สิ่งที่มีจริงๆ และกำลังมีทุกกาลสมัย ที่จะให้มีความเห็นถูกมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีโดยถูกต้อง เพราะเหตุว่าเราเพียงคิดว่านะคะ เราเกิดมาแล้วเราก็ตาย มีใครจะไม่ตายไหม ไม่มีเลยนะคะ
ผู้ฟัง แต่ก็อยากอายุยืนนะครับ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดบนสวรรค์นะคะ
ผู้ฟัง ยิ่งอยากไปเร็วๆ ครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดบนสวรรค์ อายุยืนยาวกว่ามนุษย์มาก ถ้าเกิดเป็นพรหมยิ่งยืนยาวกว่าสวรรค์ ยิ่งพรหมที่ไม่มีรูป ยิ่งยืนยาวใหญ่เลย แต่แล้วก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก เพราะความติดข้อง และความไม่รู้ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้นถ้ายังมีเหตุนะคะ คือความไม่รู้ความจริง ของสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็มีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตของแต่ละคนเวลานี้นะคะ เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ซึ่งเกิดรู้แล้วก็ดับ แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย แต่ละขณะนี่ค่ะ ยังไม่ปรากฏ เพราะว่าแต่ละคนนี่ค่ะ ไม่สามารถที่จะแม้รู้จักตัวเอง ใครรู้จักตัวเองบ้างค่ะ อย่างน้อยที่สุดมีความไม่รู้อันนี้รู้แน่ ใช่ไหมคะ เกิดมาแล้วก็ไม่รู้ แต่ว่ายังมีอีกมากที่ไม่รู้ ความไม่ดีมีเยอะ อยู่ที่คนอื่นหรือเปล่าคะ หรือทุกคนเหมือนกันหมด จึงได้ชื่อว่าปุถุชน ผู้ที่หนาด้วยกิเลสนะคะ แต่เพราะได้ฟังพระธรรม ความเข้าใจเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อฟัง และเห็นประโยชน์ของการที่เกิดมาแล้ว ก็ต้องจากโลกนี้ไปค่ะ ช้าหรือเร็วต้องไปแน่นอน แล้วก็จะมาคิดเสียดายมั้ยคะ ก่อนจะตายรู้อย่างนี้ทำอย่างนั้นซะก็ดี ทำอย่างนี้ซะก็ดีก็สายไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนสาย ก่อนที่จะจากโลกนี้นะคะ จะได้ไม่ต้องเสียใจ ก็คือทำดีแล้วก็เข้าใจธรรม เพราะมิฉะนั้นแล้วนะคะ เกิดอีกก็เหมือนคนที่ไม่รู้อะไรเลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ แล้วก็จากโลกนี้ไป และก็เปลี่ยนนะคะ สิ่งที่สะสมมาในชาตินี้ค่ะ สะสมสืบต่อในจิตทุกขณะ เพราะว่าทันทีที่จิตขณะสุดท้ายของชาตินี้ดับ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ในภพภูมิต่อไปนะคะ ไม่มีคนนี้อีกต่อไป เสียดายหรือดีใจ ค่ะคนนี้เป็นยังไง ดีชั่วแค่ไหนคะ เสียดายไหม ดีใจไหม พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ เป็นคนใหม่ แต่คนใหม่มาจากไหน ก็มาจากคนนี้แหละ และคนนี้มาจากไหน ก็มาจากชาติก่อนๆ นั่นแหละ สะสมสืบต่อนับไม่ถ้วนเลยนะคะ จึงต่างกันเป็นแต่ละ ๑ ไม่มีซ้ำกันเลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่านะคะ การฟังธรรมก็เป็นประโยชน์ ที่ทำให้รู้ความจริงว่า ก่อนตายก็ควรจะได้เข้าใจความจริง เพราะว่าตายโดยที่ไม่เข้าใจความจริงนะคะ แล้ว จะรู้ได้ยังไงว่า ไม่ดีแค่ไหน เพราะว่าวันนี้ที่ได้ฟังธรรมรู้ว่า ยังมีกิเลสแน่นอน มากด้วย แต่ถ้ามีการได้ยินได้ฟังธรรมนะคะ ก็ยังมีความเห็นถูก สะสมไปที่จะเจริญขึ้น จนสามารถที่จะดับกิเลสได้ แต่ว่าบางคนก็ชอบกิเลสมากเลยนะคะ
ผู้ฟัง กิเลสยั่วยวนนะครับ ท่านอาจารย์ อย่างเช่นสิ่งที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเนี่ย อย่างเช่นดอกไม้เนี่ยครับท่านอาจารย์ เห็นสี เห็นรูปร่างซึ่งสวยงาม แต่ถ้าเป็นดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งเนี่ย คงจะเศร้าหมองตามมา แล้วเก็บไปฝันว่าเห็นดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งต่างๆ นานา เหมือนเรื่องจริง ครับท่านอาจารย์ แต่ปรากฎว่าตาไม่ได้ลืมครับตอนที่หลับ
ท่านอาจารย์ นี่คือผู้ไม่รู้ความจริง แต่ผู้ที่ทรงตรัสรู้นะคะ แสดงว่าสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้นี่คะ เดี๋ยวนี้เลย เกิดเร็วมากแล้วก็ดับเร็วมากเลย แต่ว่าเกิดอีกสืบต่อสนิทจนไม่เห็นการสืบต่อเหมือนมีอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นฟังไว้ และก็ค่อยๆ คิดนะคะ ว่าเป็นความจริงไหม แล้วก็จะเห็นความไม่รู้ของตัวเองว่ามากมาย ที่ว่าพอใจติดข้องในสิ่งที่ไม่มี เพราะว่ามี แล้วก็ดับไม่กลับมาอีก แต่มีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อทันที เหมือนยังมีอยู่ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ก็คือว่าขณะที่สิ่งนั้นยังไม่ดับไปนะคะ มีความติดข้อง แต่เพราะดับไปไม่รู้ก็มีความติดข้อง เหมือนของที่เคยติดข้อง แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่สิ่งเดียวกันเลยค่ะ เพราะว่าสภาพธรรมใด ที่เกิดแล้วดับ ไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นขณะนี้นะคะ ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดดับสืบต่อ เร็วจนไม่ปรากฏการเกิดดับสืบต่อ เพราะฉะนั้นจะดับกิเลสได้ยังไง ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ ก็ต้องเป็นกิเลสไปเรื่อยๆ เพราะไม่รู้แต่จะดับได้หมดได้นะคะ ด้วยการเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง อย่างตัวโป๊ดเอง แต่ก่อนที่จะฟังพระธรรมเนี่ย บวชก็บวชมาแล้ว ก้าวย่างยกเหยียบทำมาตลอด แต่ก็ยังมีโกรธอยู่ แต่พอมาฟัง ก็ทำก็ได้ข้อคิดที่ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา ทำให้ความโกรธอันนั้นเนี้ย มันลดน้อยลงไป อันนี้ซึ่งต้องบอกว่าได้ผลจริงๆ ครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะคุณโป๊ด ได้ผล ไม่ใช่ธรรม ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง เป็นเรื่องจริงของธรรม แต่ว่าตัวโป๊ดเอง เนี่ยอดรู้สึกได้เลยว่า มีข้อแตกต่างจากการที่ฟัง แล้วทิ้งการฟังไม่ได้ด้วยครับ แต่ก่อนจะชอบฟังเพลง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ฟังเพลงก็ไม่เพราะครับ ฟังเสียงท่านอาจารย์เพราะกว่า
ท่านอาจารย์ ค่ะ ถ้าพูดไม่เป็นเรื่อง คงไม่ชอบใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะพูดทุกครั้ง ที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม ท่านอาจารย์ไม่เคยออกนอกลู่นอกทางนอกจากธรรม
ท่านอาจารย์ นี่ เป็นสิ่งที่คุณโป๊ดได้ฟังแล้ว รู้ว่าเป็นประโยชน์ ไม่ใช่พูดนอกเรื่องไม่ใช่พูดถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่ใช่พูดเรื่องไม่จริง ใช่มั้ยคะ เพราะฉะนั้นผู้ที่รักความจริง สัจจะบารมี ไม่ต้องการสิ่งอื่นซึ่งไม่จริง จะทำให้คนนั้นนะคะ เป็นผู้ที่ตรงต่อสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ได้ แต่กว่าจะตรงคือเข้าใจความจริง ของสิ่งที่กำลังมีนะคะ กิเลสที่มีมากมายนับประมาณไม่ได้เลย ก็ต้องอาศัยพระธรรม ๔๕ พรรษานี่ค่ะ กล่าวถึงธรรมทุกอย่างให้เห็นตามความเป็นจริง ว่าทุกอย่างนะคะ ไม่ใช่ของใคร เพียงแค่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ขณะแรกที่เกิดในโลกนี้เนี่ยนะคะ คุณโป๊ดเลือกเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง โป๊ดไม่ได้เลือกเกิดครับ
ท่านอาจารย์ ใครก็เลือกไม่ได้ ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ยังไม่ทราบเลยครับว่าเป็นเรา ยังไม่มีชื่อด้วย
ท่านอาจารย์ ชื่อก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี ภายหลังก็เป็นเรา แต่ก็ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วนะคะ ก็เป็นสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด ตั้งแต่ขณะแรก เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเหตุ และผลค่ะ ที่ให้เราค่อยๆ คิดไตร่ตรองด้วยความตรงว่า ถ้าเหตุดี ผลดีไหมคะ
ผู้ฟัง ต้องเป็นเช่นนั้นนะครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเหตุไม่ดีผลเป็นยังไงคะ
ผู้ฟัง ผลก็ไม่ดีตามมา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราใช้คำว่า กุศลสำหรับสิ่งที่ดี อกุศลสำหรับสิ่งที่ไม่ดี บุญสำหรับสิ่งที่ดี บาปสำหรับสิ่งที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นบาปบุญนะคะ เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลแต่เราก็ยังไม่รู้ เราก็คิดว่าเราบาปเราบุญ แต่ความจริงบาปก็เป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง บุญก็เป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ใคร และไม่ใช่ของใครด้วย แต่เมื่อเหตุมีนะคะ ผลต้องมี เพราะฉะนั้นการเกิดในโลกนี้ เป็นมนุษย์ต่างกับสัตว์เดรัจฉาน ก็แสดงให้เห็นเหตุที่ต่างกัน ถ้าเหตุไม่ดีนะคะ ก็ไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมด เกิดเป็นผีเสื้อ เกิดเป็นอะไร ก็เป็นผลของอกุศลกรรม หรือบาป ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็หลากหลายมาก มนุษย์พิการตั้งแต่กำเนิดก็มี หรือว่าตอนเกิดไม่พิการนะคะ อยู่ไปอยู่ไปพิการก็มี ถ้าไม่มีเหตุที่จะทำให้เกิดผล ผลเกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเป็นผู้ที่เริ่มมีความมั่นคงในความจริงในความตรง ในเหตุ และผล ทุกคำที่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะคะ สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ว่าเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ไม่สามารถที่จะประจักษ์ความจริง อย่างผู้ที่ได้ฟังมาก่อนนาน เข้าใจมานาน อบรมมานาน พอฟังไม่นานเพียงไม่กี่คำ ก็สามารถที่จะประจักษ์ความจริงตรงตามที่ได้ฟัง เช่นเห็นเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่คิด ไม่ใช่ได้ยิน แล้วก็ธรรมทั้งหมดทั้งวันนี่ค่ะ เป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เลือกไม่ได้ แต่มีเหตุปัจจัยที่จะเกิดขึ้น
ผู้ฟัง หมายความว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาเนี่ย ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ
ท่านอาจารย์ เกิดแล้ว ใช่มั้ยค่ะ
ผู้ฟัง ครับ
ผู้ฟัง ซึ่งห้ามไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วก็พรุ่งนี้จะเกิดมั้ย
ผู้ฟัง อาจจะเป็นเรื่องใหม่
ท่านอาจารย์ แต่มีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นพรุ่งนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นเดี๋ยวนี้วันนี้ โดยที่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าพรุ่งนี้คืออะไร แต่ว่ามีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็น สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุ
ผู้ฟัง แต่เราก็มีความหวังว่าพรุ่งนี้เนี่ย เราจะมีการสนทนาธรรมนะ วางแผนไว้หมดเลยครับ จะต้องทำอาหารอะไร จัดดอกไม้เป็นโทนสีอะไรต่างๆ นานา ยังฝันครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ค่ะเพราะว่า มีเหตุปัจจัยที่จะคิดอย่างนี้ ไม่คิดอย่างอื่นแน่นอนค่ะ ไม่ว่าความคิดจะเกิดเมื่อไหร่อย่างไร ก็เพราะมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น เมื่อวานนี้ที่คุณโป๊ดคิดแล้วก็สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนคิดไหมคะ
ผู้ฟัง เหมือนครับก็ได้สมใจนะครับ
ท่านอาจารย์ คุณโป๊ดหรือเพราะเหตุปัจจัย มีแต่คิด
ผู้ฟัง เป็นเพราะเหตุปัจจัยใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปัจจัยที่จะให้สิ่งนี้ เป็นอย่างที่คุณโป๊ดคิด ก็ไม่เป็นใช่มั้ยคะ
ผู้ฟัง ถูกต้องครับ
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อคิดแล้ว ก็มีเหตุปัจจัย ที่จะให้เป็นอย่างคิด ก็เลยคิดว่าเราทำได้ แต่ความจริงเพียงไม่มีปัจจัย ที่จะเป็นอย่างที่คิด ก็เป็นไม่ได้ แต่คิดได้ เพราะคิดแล้ว นี่คือความละเอียดอย่างยิ่งนะคะ ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจถูกต้อง ว่าไม่มีเราแต่มีธรรมแน่นอน เพราะเหตุว่าเราไปทำให้อะไรเกิดไม่ได้เลยค่ะ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดเพราะมีปัจจัย ไม่ให้ดอกไม้เหี่ยวได้มั้ย
ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ
อ. ธนากร กราบเท้าท่านอาจารย์ที่เคารพ มีข้อความว่า การที่สนใจในสิ่งที่ปรากฏทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่สามารถทำให้บรรลุธรรมได้ เพราะว่าในขณะที่เป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นทางมโนทวาร ถ้าไม่พิจารณาดีๆ ก็เหมือนกับว่าการที่มาศึกษาในเรื่องของ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่ว่าจริงๆ แล้วก็คือไม่ได้สอนให้สนใจ สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ว่าสอนให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นตรงนี้ครับจะมีความต่างกันอย่างไร แล้วก็ความละเอียดในเรื่องนี้ ก็อยากให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยอธิบายครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ พูดคำที่ไม่รู้จักเยอะเลยใช่ไหมคะ
อ. ธนากร ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสนใจมีรึเปล่า มีจริงๆ
อ. ธนากร สนใจมีจริงครับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า
อ. ธนากร เป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์ สนใจนี่แข็งไหม อ่อนไหม
อ. ธนากร สนใจไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อนครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสนใจมีจริงๆ นะคะ มองไม่เห็นเลย แต่ลักษณะสภาพที่ใส่ใจ สนใจมีแน่นอน เพราะฉะนั้นสภาพธรรมมี ๒ อย่างนะคะ อย่าง ๑ ก็คือว่าไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้นไม่สนใจ เพราะไม่รู้จะสนใจได้ยังไง ไม่ใช่สภาพรู้ แต่เมื่อเป็นสภาพรู้แล้วเนี่ยค่ะหลากหลายมาก มีสภาพธรรมซึ่งเห็น ได้ยินพวกนี้นะคะ ลักษณะนั้นเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ เราใช้คำว่าจิต แต่มีหลายคำนะคะ มโนก็ได้มนัสก็ได้ค่ะ หทยก็ได้ แต่ขอให้เข้าใจว่า เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเนี่ยค่ะ เป็นธาตุที่มีจริง ธาตุธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ เพราะมีสิ่งที่ปรากฏ ถ้าไม่มีสิ่งใดปรากฏ จะบอกว่ามี ธาตุรู้ก็ไม่ได้ใช่ไหมคะ แต่เมื่อมีสิ่งใดปรากฏแสดงว่า ต้องมีธาตุที่กำลังรู้สิ่งนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเดี่ยวนี้ปรากฏ เพราะมีธาตุเห็น ที่เกิดขึ้นรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้เป็นอย่างนี้ เสียงปรากฏเพราะเหตุว่า มีธาตุรู้ที่เกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นใส่ใจมีนะคะ แต่ไม่ใช่จิตไม่ใช่ธาตุรู้ แต่เป็นสภาพนามธรรม ธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าวันนึงๆ นี่ค่ะ ชอบ ไม่ชอบ ขยัน เกียจคร้าน ง่วงนอน ทุกอย่างหมดนะคะ มีจริงๆ เป็นธรรม ซึ่งไม่มีรูปร่างเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นใส่ใจ เป็นธรรมประเภทไหน ยังไม่รู้เลยแต่มี แต่ถ้าใช้ภาษาไทยนี่ค่ะ เห็นอะไร สภาพเห็นมีนะคะ แต่ก็มีสภาพที่ใส่ใจในสิ่งที่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นใส่ใจนี่มีจริงๆ เช่นเดี๋ยวนี้อ่ะค่ะ เห็นแล้วใส่ใจในสิ่งที่เห็นใช่มั้ย จะน้อยจะมากก็ใส่ใจแล้ว พอสมควรใช่ไหมคะ ถ้าเป็นสิ่งที่สนใจมาก เห็นไหมคะ สนใจมาก ใส่ใจมาก สภาพนี้ต้องมีจริง ก็ใส่ใจ และสนใจในสิ่งที่ใส่ใจ และสนใจนั้นมาก แต่ทั้งหมดไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมสภาพรู้ซึ่งไม่ใช่จิตนะคะ ใช้คำว่าเจตสิกในภาษาไทย และภาษาบาลี เจตสิกขะ ง่วง มีจริงๆ ไหมคะ เบื่อมีจริงๆ ไหมคะทั้งหมด ๑ ค่ะ เป็นเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตแล้วแต่ว่าจิตนั้น จะมีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย มากน้อยแค่ไหน ก็เป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีใครไปเลือกว่าให้จิตเห็นเนี่ยให้มีเจตสิกนั้นๆ มาเกิดร่วมด้วย หรือว่าจิตได้ยิน ให้มีสภาพธรรมนั้นๆ มาเกิดร่วมด้วย เป็นไปไม่ได้เลยคะ เพราะเหตุว่า อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยสิ่งที่เกิดพร้อมกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ถ้าศึกษาโดยละเอียด จะรู้จักพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ขณะจิตเกิดขึ้นจะต้องประกอบด้วยเจตสิกเท่าไหร่ หลากหลายต่างกันมาก เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งซึ่ง ถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมนะคะ เกิดแล้วตายก็ไม่รู้อะไร ที่เป็นความจริงทั้งหมดเลย ด้วยเหตุนี้ประโยคเมื่อกี้นี้นะคะ ก็คนที่พูดรู้มั้ย ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมทั้งหมด คุณธนากรทบทวนคำพูดทั้งหมดสิคะ
อ.ธนากร ครับก็เท่าที่ทรงจำได้นะครับ ใช้คำว่า การสนใจในสี เสียง กลิ่น รส
ท่านอาจารย์ เท่านี้ก่อนนะคะ
อ. ธนากร โผฏฐัพพะ ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะถ้าไม่มีสี เสียง กลิ่น รส แล้วจะสนใจอะไร
อ.ธนากร ก็ไม่มีสิ่ง
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นที่พูดว่าสนใจในสี เสียง กลิ่น รส เพราะเหตุว่ามีสี เสียง กลิ่น รส ให้สนใจ
อ. ธนากร ครับ
ท่านอาจารย์ แล้วไงคะเป็นสิ่งที่มีจริงไม่ให้ไม่รู้เหรอ
อ. ธนากร จริงๆ โดยคำครับก็คือสนใจด้วยอกุศลก็ได้ สนใจด้วยความเข้าใจก็ได้ แล้วก็ในขณะที่เพียง สี เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ปรากฎก็ไม่ใช่ขณะที่กำลังเข้าใจ แต่ว่าก็มีข้อความที่กล่าวตอนหลังครับว่า เพราะว่าในขณะที่สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะปรากฏ ไม่ใช่ขณะที่เป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา แต่ทีนี้ถ้าเกิดว่าฟังเผินมันก็เข้าใจผิดครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เค้ารู้จักอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาหรือเปล่า หรือคนที่ได้ฟังรู้จักหรือเปล่า พูด ๓ คำนะคะ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ศีลคืออะไร จิตคืออะไร ปัญญาคืออะไร ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร ก็ไม่มีประโยชน์เลยทุกคำ เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมจริงๆ นะคะ จนกระทั่งรอบรู้ในคำนั้น หมายความว่าไม่ผิวเผิน สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงนั้นถูกต้องได้ เพราะฉะนั้นยังไม่พูดถึง อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขานะคะ ศีลคืออะไร
อ. ธนากร ศีล ก็คือปกติครับ
ท่านอาจารย์ ปกติอะไรล่ะคะ
อ. ธนากร ต้องเป็นธรรมคือจิตเจตสิกที่เป็นปกติที่เกิดขึ้นเป็นไปครับ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้จิตเจตสิก เกิดเป็นปกติหรือเปล่า
อ. ธนากร เป็นปกติครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นเป็นศีลหรือเปล่า
อ. ธนากร ก็เป็นศีลครับ
ท่านอาจารย์ และเป็นศีลอะไรล่ะคะ
อ.ธนากร อกุศลศีล
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อธิศีลเห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นการที่จะสนทนาเรื่องอะไร ขอให้นำเรื่องนั้นทีละคำมาให้เข้าใจก่อน ไม่เช่นนั้นก็เสียประโยชน์ เพราะเหตุว่าพูดไปทั้งชั่วโมง สองชั่วโมง กี่ชั่วโมงก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ด้วยเหตุนี้นะคะ แต่ละคำจึงต้องกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงจริง เพื่อจะได้เข้าใจถูกต้องขึ้น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 841
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 842
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 843
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 844
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 845
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 846
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 847
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 848
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 849
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 851
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 852
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 854
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 855
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 857
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 858
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 860
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 900