ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
ตอนที่ ๘๕๙
สนทนาธรรม ที่ ร้านโป๊ด เรสเตอร์รอง
วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นใครถวายเงินให้พระภิกษุรู้สึกยังไงคะ รับด้วย นับด้วยนะคะ รับก็แตะต้องแล้ว รับแล้ว ไม่ถูกต้องใช่ไหมคะ แล้วนับด้วยยินดีหรือเปล่า ในขณะนั้น เพราะฉะนั้นแม้เพียงยินดี ก็ไม่ใช่เพศบรรพชิต เหมือนงูพิษเท่ากับเค้าถวายงูพิษมาให้ เพื่อที่จะกัดทำลายความเป็นภิกษุ ซึ่งอันตรายอย่างยิ่งค่ะ เพราะเหตุว่าปฏิญาณตนหรือว่าให้คนอื่นรู้นะคะ ประกาศโดยทั่วไปว่าเป็นภิกษุ แต่ว่าความประพฤติไม่ใช่เป็นไปตามพระวินัย เพราะฉะนั้นถ้าเห็นอย่างนี้นะค่ะ หวังดี เอ็นดู สงสาร ถ้าสามารถที่จะเกื้อกูลได้โดยการที่จะชี้แจง หรือกราบเรียนหรืออะไรก็แล้วแต่จะทำได้ แต่ว่าคฤหัสถ์นี่ค่ะยาก เพราะเหตุว่าพระภิกษุเป็นเพศที่สูงกว่า เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่คฤหัสถ์จะทำได้ในฐานะของพุทธบริษัท ที่มีความหวังดีต่อกันจริงๆ นะคะ ก็คือให้บุคคลนั้นได้ทราบว่า จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่กล่าวถึงพระวินัยนี่ค่ะเพื่อประโยชน์จริงๆ สำหรับให้คฤหัสถ์ได้รู้นะคะ ว่าไม่ควรจะไปทำให้เพศบรรพชิตต้องได้รับโทษ เพราะการกระทำของเรา ถ้าคฤหัสถ์ไม่ถวายนะคะ ภิกษุไม่ตกนรกไม่ไปอบายภูมิ แต่ถ้ารับเงิน และทอง จากโลกนี้ไปแล้วนะคะ ที่ไปก็คืออบายภูมิ มีใครอยากเห็นใครตกนรกบ้างไหมคะ ค่ะถ้ามีทางที่จะช่วยได้ก็ควรที่จะหวังดีนะคะ โดยกล่าวถึงข้อความตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้แล้ว
อ.คำปั่น แม้แต่ในสมัยพุทธกาลเองนะครับ ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทนะครับ ท่านเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรม เวลาท่านเห็นอะไรที่ไม่ควรนะครับ ท่านก็สามารถที่จะชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเช่น นายบ้านชื่อมณิจูฬกนี่ครับ ท่านนี้เป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมวินัยนะครับ ท่านก็สามารถที่จะกล่าวชี้แจงในที่ประชุมได้ว่า ในเมื่อพระภิกษุก่อนบวช เป็นผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน สละกองทรัพย์สมบัติแล้ว สละเงิน และทองแล้ว แล้วเพราะเหตุใดจึงจะไปรับเงิน และทองอีก เพราะว่าเพศบรรพชิตเป็นเพศที่สูงยิ่งจริงๆ เป็นเพศที่มุ่งสู่ภาวะของความเป็นผู้ที่เว้นทั่ว เว้นจากเครื่องติดข้อง อย่างที่คฤหัสถ์เคยเป็น เว้นจาก สิ่งที่ไม่ดีทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นความเป็นบรรพชิต ความเป็นเพศที่สูงยิ่ง ก็ต้องเป็นเพศที่สละจริงๆ ครับ และสิ่งที่จะเกื้อกูลได้ ก็คือการได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม และน้อมประพฤติตามพระธรรมวินัยครับ ผู้ที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็มีส่วนสำคัญ ในการที่จะช่วยกันรักษาความถูกต้อง ร่วมกันศึกษาให้เข้าใจ และก็กล่าวในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น จะได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตามไปด้วยครับ
ท่านอาจารย์ คุณต่ายศึกษาพระธรรมใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ใช่ศึกษาอภิธรรมค่ะ เรียนพระอภิธรรม ๗ ปี
ท่านอาจารย์ ๗ ปี เดี๋ยวนี้ อภิธรรมอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง อยู่ที่ใจ
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ใจนะคะ ที่ใจ มีอะไรบ้างคะ
ผู้ฟัง รับรู้จากทั้ง ๖ ทวาร
ท่านอาจารย์ ที่สะสมมา ไม่หายไปไหนเลย ไม่ว่าจะเป็นกุศลอกุศล น้อยมาก อย่างไรชาติไหนก็ตามนะคะ เกิดแล้วดับเป็นของธรรมดา แต่เมื่อเกิดแล้วดับแล้วก็จริงนะคะ แต่สิ่งที่มีในจิตที่ดับไปนี่ค่ะ ก็สะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไปเป็นธรรมดา ธรรมเกิดก่อนที่ใครคนนึงคนใด จะไปโยนิโสหรือว่าพิจารณาให้แยบคาย ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้หรือเปล่าคะ มนสิการเจตสิก สภาพธรรมที่ใส่ใจในอารมณ์เนี่ย และเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภทใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเกิดแล้วเป็นไปตามการสะสม ไม่มีเราจะไปพยายามให้ไม่เป็น เพราะว่าเกิดแล้วทั้งนั้น ก่อนที่ใครจะไปพยายาม สภาพธรรมนั้นมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีใครสักคน ที่สามารถจะไปพยายามได้ ไม่ว่าอะไรเช่นเดี๋ยวนี้คิดนะคะ คิดแล้วค่ะตามเหตุตามปัจจัย จะทำเห็นก็ไม่ได้เพราะเห็นแล้ว จะทำได้ยินก็ไม่ได้ ได้ยินเกิดแล้ว แม้แต่คิดนะคะ ก็คิดต่างกันตามเหตุตามปัจจัย เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรมทั้งหมด หรือแม้แต่พระธรรมที่ละเอียด แสดงว่าไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้เลย ก็เป็นสิ่งซึ่งมีจริงๆ เดี๋ยวนี้เพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นจิตเกิดแล้วดับ เป็นธรรมดา เพราะว่าจิตเกิดยังมีกิเลส เพราะฉะนั้นเวลาที่เกิดแล้วดับแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นทั้งหมดเว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดเลย
เดี๋ยวนี้จิตกำลังเกิดดับรึเปล่าคะ
ผู้ฟัง เกิดดับอยู่
ท่านอาจารย์ กี่ชาติ ชาติ หมายความถึงจิตที่เกิดนี่ค่ะ หลากหลายมาก แต่ถึงกระนั้นนะคะ ก็ประมวลไว้โดยการเกิด ว่าจิตแต่ละหนึ่งที่เกิดเนี่ย ต้องเป็นหนึ่ง ใน ๔ คือเป็นกุศล ๑ เป็นอกุศล ๑ ซึ่งเป็นเหตุ แล้วก็จิตที่เกิดขึ้นเป็นวิบาก เพราะว่าเหตุมีแล้วกระทำแล้ว ถึงวาระที่จะทำให้ผลเกิดขึ้น จิตนั้นเกิดเพราะเหตุที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นผลนะคะ ภาษาบาลีใช้คำว่าวิปากะ คนไทยก็เรียกว่าวิบาก เพราะฉะนั้นก็มีจิตที่เป็นกุศล ๑ อกุศล ๑ เป็นเหตุ และก็มีกุศลวิบากคือผลของกุศล และอกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของอกุศล ก็เป็นกุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ แล้วก็มีจิตซึ่งไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลด้วย ไม่ใช่วิบากด้วย แต่มีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นกิริยา เดี๋ยวนี้มีจิตมีกี่ชาติคะ ที่กำลังนั่งอยู่ขณะนี้
ผู้ฟัง กุศลชาติ อกุศลชาติ วิปากชาติ กิริยา
ท่านอาจารย์ ค่ะ กิริยาจิตคืออะไร
ผู้ฟัง คือเป็นจิตของพระอรหันต์
ท่านอาจารย์ เท่านั้นหรือค่ะ เรามีไหม
ผู้ฟัง น่าจะมี แต่ก็
ท่านอาจารย์ เนี่ยค่ะ คือการศึกษาธรรม ไม่ใช่ศึกษาตัวหนังสือในตำรานะคะ หรือว่าจำนวน แต่ไม่ว่าจะศึกษาละเอียดขึ้น ก็คือเข้าใจขึ้น ทุกครั้งที่ได้ยินนี่ค่ะ ไม่ใช่ว่าได้ยินเปล่าๆ แต่ได้ยินแล้วสามารถที่จะเข้าใจ สิ่งที่เราได้ฟังหรือได้อ่าน มั่นคง อย่างจิตนี่ค่ะ มี ๔ ชาติแน่นอนใช่ไหมคะ กุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ คำถามก็คือว่าเดี๋ยวนี้มีจิตชาติอะไรบ้าง
ผู้ฟัง กุศลค่ะ
ท่านอาจารย์ กุศลเมื่อไหร่คะ
ผู้ฟัง ขณะที่นั่งฟัง
ท่านอาจารย์ ฟังเฉยๆ เป็นกุศลไหมคะ เวลานี้ค่ะ ทุกคนฟังทั้งนั้นเลย
ผู้ฟัง น่าจะเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ฟังเฉยๆ เป็นกุศลไหมคะ ได้ยินนี่ค่ะ
ผู้ฟัง แต่ถ้าไปพิจารณาก็จะเกิด
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ค่ะ เดี๋ยวนี้เลยค่ะ
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้เป็นกุศลแน่นอน
ท่านอาจารย์ และก็ไม่มีใครไปพิจารณาด้วย พิจารณานั้นกุศลที่เราจะพิจารณา ดับไปแล้ว พยายามเท่าไหร่ นึกเท่าไหร่ว่าจิตนั้นเป็นอะไร ก็เปล่าประโยชน์ เพราะไม่ใช่กำลังปรากฏให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้นะคะ เราศึกษาธรรม หรือว่าจะศึกษาพระอภิธรรม พระสูตร พระวินัย และก็เพื่อที่จะเข้าใจความไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อชื่อว่า ศึกษาธรรม ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมทั้งหมด ถ้ายังหลงเหลือความคิดว่าเป็นเรา ขณะนั้นก็หมายความว่า ยังไม่รอบรู้ในพระพุทธพจน์ ด้วยเหตุนี้นะคะ ถ้าศึกษาจริงๆ นี่ค่ะ ธรรมเปลี่ยนไม่ได้เลย ขณะนี้มีจิตกี่ชาติ คะ
ผู้ฟัง กุศลชาติ
ท่านอาจารย์ มีกุศลจิต แล้วมีอะไรอีกคะ เนี่ยค่ะ เราจะไม่ศึกษาแล้วจำคำในตำรานะคะ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ เป็นกุศลเมื่อไหร่ เป็นอกุศลเมื่อไหร่ เป็นวิบากเมื่อไหร่ เป็นกิริยาเมื่อไหร่ จะได้ชัดเจนค่ะ ว่านี่คือการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประโยชน์ก็คือว่าให้ทุกคนเนี่ยได้เริ่มเข้าใจว่า ไม่มีเรา มีแต่จิตซึ่งเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง วิบากบ้าง กิริยาบ้าง แล้วก็มีเจตสิกซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ มากน้อยต่างกันตามประเภท จิตมีเจตสิกร่วมด้วยมากหรือน้อยกว่ากุศลจิต
นี่คือเดี๋ยวนี้ไงคะ เราเริ่มค่อยๆ เข้าใจ ทีละนิดทีละหน่อย จะได้เข้าใจว่าไม่มีเรา จะไปเปลี่ยนแปลง ศึกษาแล้วใช่ไหมคะ ค่ะ เพราะฉะนั้นศึกษานี่ไม่อยู่ในตำราเลย ทุกคำที่ได้ฟังเนี่ยเข้าใจ อกุศลเป็นธรรมดา อกุศลเจตสิกมีเท่าไหร่คะ เราฟังธรรมกันแล้วใช่ไหมคะ แล้วก็ศึกษาธรรมพอสมควร เพราะฉะนั้นโอกาสของการสนทนาธรรม ก็คือว่าพวกเรื่องนี่แหละจะได้ไม่ลืม และจะได้เข้าใจในเหตุผล จนกระทั่งเราไม่ต้องไปพลิกตำราเลย แต่เราก็สามารถที่จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ตามความเป็นจริงได้ โดยเข้าใจในเบื้องต้น ว่าไม่มีเราค่ะ แต่มีธรรม เดี๋ยวนี้ทั้งหมดเป็นจิตเจตสิกรูป แต่การศึกษาธรรมก็จะทำให้เราค่อยๆ เข้าใจความต่างของ กุศลจิต และอกุศลจิต อกุศลเจตสิกทั้งหมดมี ๑๔ โสภณเจตสิกเกิดกับกุศลก็ได้ วิบากก็ได้ กิริยาก็ได้ จึงใช้คำว่าโสภณ ไม่ใช่คำว่ากุศลเท่านั้น เพราะสภาพของเจตสิกที่ดีงามนี่ สามารถจะเกิดได้ทั้งกับจิตที่เป็นเหตุคือกุศล จิตเป็นผลของกุศลคือกุศลวิบาก และกิริยาจิตของพระอรหันต์ จำนวนของอกุศลเจตสิกมีเท่าไหร่
อ.คำปั่น อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ครับ
ท่านอาจารย์ และโสภณเจตสิกมีเท่าไหร่
อ.คำปั่น โสภณเจตสิก มี ๒๕
ท่านอาจารย์ ค่ะ โสภณเจตสิก มีมากกว่าแต่เกิดน้อยกว่า เห็นไหมคะ นี่คือความต่าง ในเหตุผลทั้งหมดนี่ค่ะ ถ้าเราไม่เพียงแต่จำชื่อนะคะ แต่พิจารณาด้วย อกุศลเจตสิกมีเพียง ๑๔ โสภณเจตสิกมีมากกว่า แต่อะไรเกิดบ่อยกว่า เห็นไหมคะ อกุศล เจตสิกเกิดบ่อยกว่า เพราะอกุศลจิตวันนี้เยอะมาก เมื่อกี้รับประทานอาหารอร่อยไหมคะ ค่ะ เป็นเราหรือว่าเป็นธรรม เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นฝ่ายโสภณ อย่างน้อย ๑๙ ประเภทเกิด ขณะนั้นจิตจึงจะเป็นกุศลจิตได้ หรือเป็นโสภณจิตได้ มีกำลังนะคะ ทั้งๆ ที่วันทั้งวันนี่ค่ะ เป็นอกุศลทั้งนั้นเลย ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อกุศลบ่อยๆ นะคะ แต่กุศลก็ยังเกิดได้บ้าง เช่นขณะที่เข้าใจธรรม ไม่ใช่เพียงฟัง แต่ไม่เข้าใจฟังแล้วจำ จำแล้วลืม ก็คือว่าขณะนั้นก็ไม่ชื่อว่าเข้าใจ แต่ขณะใดที่เข้าใจขณะนั้นน่ะค่ะเป็นจิตที่ดีแน่ และก็มีกำลังพอที่จะเกิดด้วย นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีกุศลจิตเกิดบ่อยๆ ก็ต้องมีเหตุนะคะ ก็ทำให้กุศลมั่นคงขึ้น ด้วยเหตุนี้แต่ละคนเนี่ย ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนฟังธรรมเนี่ย กุศลคงน้อยกว่าแน่ๆ เลย แต่พอฟังธรรม และขณะที่เข้าใจ กุศลจิตก็เกิดมากกว่า แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นกว่าปัญญา จะถึงระดับที่ทั้งหมดเป็นธรรมค่ะ เพื่อที่จะละคลายความรัก ความชัง ละทั้งความยินดี และยินร้าย เพราะรู้ความจริงว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีปัจจัยเกิด ไม่มีปัจจัยเกิดไม่ได้สักอย่างเดียว ทุกอย่างนี่ค่ะ ที่เกิดเราเพียงยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เกิด แต่แน่นอนก็คือว่า ใครก็ไปทำให้ธรรมใดๆ เกิดไม่ได้เลย ไม่ว่าธรรมเดี๋ยวนี้เป็นอะไรนะคะ ก็เพราะมีปัจจัยที่สมควรที่จะต้องให้เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่เราเลย
ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะโดยวิธีใดนะคะ จะอ่านหรือว่าจะฟัง หรือจะไตร่ตรอง ก็เพื่อให้เข้าใจความจริงตามที่ได้ฟัง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าบังคับได้ไหมค่ะ ให้เป็นกุศล เราโกรธ ก็ให้ไปคิดซะอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อว่าอกุศลจะไม่เกิด โกรธขึ้นมาเนี่ยก็ไปหาวิธีต่างๆ ที่จะไม่ให้เป็นอกุศล หาใหญ่เลย แต่ก็เป็นเรา แล้วไม่มีใครเลยที่สามารถที่จะดับอกุศลได้ นอกจากปัญญาที่เกิดขึ้นตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นฟัง ฟังอย่างนี้แล้วไม่โกรธได้ไหมคะ ไม่มีทาง ฟังอย่างนี้ และไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ไหมคะ ก็ไม่มีทาง เพราะว่าสะสมมามากค่ะ มากประมาณไม่ได้เลย ไม่เห็นหยุดเลยวันนี้ ตั้งแต่ลืมตาก็อกุศลทั้งนั้น แต่ก็ยังมีกุศล ขณะที่ได้ฟังพระธรรม นี่ค่ะเป็นสิ่งซึ่งไม่ว่าจะศึกษา มากน้อยเท่าไหร่ก็ตามนะคะ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเข้าใจสภาพที่ได้ศึกษา ว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เห็นเป็นเห็น ได้ยินเป็นได้ยิน เห็นไม่ใช่เราได้ยินไม่ใช่เรา คิดไม่ใช่เรา กุศลไม่ใช่เรา อกุศลไม่ใช่เรา ถูกต้องมั้ยคะ ต้องไตร่ตรองนะคะและก็เป็นความมั่นใจของตนเองนะคะ ไม่ใช่ว่าเชื่อตาม
ขณะนี้กำลังฟังธรรมซึ่งเป็นอภิธรรมรึเปล่าคะ ถ้าละเอียดขึ้นๆ ก็เป็นอภิธรรมเพราะว่าลึกซึ้ง และละเอียดขึ้น เพราะเหตุว่ากำลังมีเดี๋ยวนี้ แต่ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลยนะคะ ไม่มีทางเลยค่ะ ที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา เลยสักอย่างเดียว ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมเกิดแล้วดับ เร็วสุดที่จะประมาณได้ และผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้แล้วนะคะ ก็รู้ว่าธรรมที่เกิดแล้วดับแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย ไปหาที่ไหนก็ไม่มี หาไม่เจอเพราะดับหมดเลย อันนี้เป็นมนสิการเจตสิกหรือเปล่าคะ เห็นไหมคะ เราไม่จำเป็นต้องไปเรียกชื่อเลย เพราะว่าหนึ่งขณะจิตมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าขณะนั้นมีปัญญา ก็มีทั้งมนสิการเจตสิกปัญญาเจตสิก และเจตสิกอีกมากด้วย แต่ไม่ปรากฏ มีนะคะ แต่ไม่ปรากฏ เลือกให้ปรากฏได้ไหม จะดูอย่างนั้นจะดูอย่างนี้ได้ไหม ได้ยินคำว่ามุทิตาก็จะรู้มุทิตาขณะนั้นขณะนี้ได้ไหม ผิดหมดเลยนะคะ เพราะเหตุว่าดับแล้วในขณะที่กำลังคิด และก็ยังคงเป็นเราที่คิดจะทำอย่างนั้นอย่างนี้
ผู้ฟัง เป็นเรื่องยากมากที่จะบอกว่า ทุกอย่างไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นค่อยๆ คิดแล้วจะตอบถูก ใช่เราหรือเปล่า เห็นเป็นเห็น
ผู้ฟัง เห็นแล้วดับไปทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ ถ้างั้นเราก็ไม่มีเลย ดับไปหมดทุกขณะ เพราะทุกอย่างดับ
ผู้ฟัง แต่ทุกอย่างมันก็ยังเป็นเรื่องของการยึดมั่น ถือมั่น นี่ตัวเรา นี่เสื้อผ้าของเรา นี่เป็นสิ่งของของเรา ก็ยังเป็นความรู้สึกที่ว่า ยังเป็นเราอยู่
ท่านอาจารย์ ค่ะ พระอรหันต์มีของเราไหม
ผู้ฟัง ไม่มีครับ
ท่านอาจารย์ จากความเป็นปุถุชน จากการเป็นพระโพธิสัตว์ ถึงการตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีเหตุปัจจัยที่สามารถ ที่จะทำให้เป็นอย่างนั้นได้
ผู้ฟัง อย่างนี้ก็จะต้องฟังอีก คงจะต้องเป็นสักแสนชาติ
ท่านอาจารย์ ไม่เดือดร้อนค่ะ เพราะว่าฟังแล้วเข้าใจ
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด ไร้ประโยชน์ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็รู้ว่า เข้าใจอีกๆ เพราะมีสิ่งที่ปรากฏที่เข้าใจได้ ฟังไปเข้าใจไป แล้วก็จะรู้ว่าต้องฟังอีกนานเท่าไหร่คะ จนกว่าจะตรัสรู้
ผู้ฟัง อย่างชาตินี้ที่เราได้มานั่งฟังพระธรรม แล้วพอชาติหน้าเราก็จำไม่ได้ว่า เราเกิดเป็นอะไรชาติที่แล้ว แล้วเราก็คงจะมีบุญที่ได้ฟังพระธรรมต่อในชาติหน้า
ท่านอาจารย์ เหมือนชาตินี้ที่ได้ฟังพระธรรมต่อจากชาติก่อน มีชาติก่อนมั้ย
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชาติหนึ่งชาติใด จะเหมือนอย่างนี้มั้ย ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นลืมชาติก่อนแล้ว ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ลืมไปแล้วครับ
ท่านอาจารย์ ชาตินี้ก็ต้องลืมแน่ แต่ก็เคยได้ฟังมาแล้ว แล้วถ้ามีความเข้าใจแล้วนะคะ คนอื่นเอาความเข้าใจนั้นออกไปจากใจของคุณโป๊ดได้มั้ย
ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลยค่ะ เป็นตู้นิรภัยที่ปลอดภัยที่สุด แม้แต่ลมแดดก็ไม่ต้อง ไม่ไปกระทบหรือไปแตะต้องได้เลย ใครก็เอาไปไม่ได้ค่ะ
ผู้ฟัง โป๊ดก็ยังไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏนี่มันปรากฏยังไง ในเมื่อเห็นก็คือเห็น ได้ยินคือได้ยิน
ท่านอาจารย์ ค่ะ ตอนนี้ทราบแล้วใช่ไหมคะ ถ้าเห็นไม่มี จะรู้ไหมว่าเห็นเป็นยังไง
ผู้ฟัง ครับ ตอนนี้ทราบแล้วครับ
ท่านอาจารย์ ชัดเจนนะคะ
ผู้ฟัง ชัดเจน
ท่านอาจารย์ ใครก็เอาไปไม่ได้ เมื่อเข้าใจแล้วค่ะ
ผู้ฟัง กราบสวัสดีค่ะท่านอาจารย์ค่ะ มีคำถามจากคุณชวนชมที่ประเทศญี่ปุ่นนะคะ ที่บอกว่าหยอกล้อให้ตกใจเล่นมีโทษอย่างไรคะ เห็นบอกว่าคฤหัสถ์ถ้าเว้นก็เว้นได้ เพราะคนเราก็ย่อมมีเพื่อนหยอกล้อกันเล่นเสมอ
ท่านอาจารย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เห็นไหมคะ ถ้าจะหยอกล้อแล้วกันเล่น ก็ไม่ต้องไปเป็นบรรพชิต เชิญคุณคำปั่นค่ะ
อ.คำปั่น ถ้าพูดถึงอกุศลนี่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ก็ไม่ควรอยู่แล้วใช่ไหมครับเพราะว่าถ้าพูดถึงการหยอกล้อกัน หรือว่าการทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตกใจ ด้วยความคึกคะนองนะครับ อย่างเช่นที่บอกว่าภิกษุที่ภิกษุด้วยกันก็เป็นโทษ เพราะว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควร ความไม่เหมาะไม่ควรที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะจิตประเภทใดก็ต้องเป็นอกุศลจิต ถ้ามีกุศลเกิดขึ้นจะไม่ทำอย่างนั้นแน่นอนครับ นี่ก็เป็นความจริงที่ แสดงถึงความเป็นจริงว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตามครับ ความเป็นไปของธรรมเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นครับ ถ้าอกุศลเกิดกับคฤหัสถ์ก็ไม่ดี เพราะว่าธรรมขณะนั้นก็คืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ถ้าเกิดกับเพศบรรพชิต ก็อกุศลธรรมนั่นแหละที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นความเป็นจริง ก็คือศึกษาให้เข้าใจความจริง แล้วก็ปัญญาก็จะสามารถที่จะคอยประคับประคองให้ชีวิต เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรได้เพราะว่าปัญญาคือ ความเข้าใจธรรมนี่นะครับ อุปการะเกื้อกูลให้คุณความดีทั้งหลายเจริญขึ้น และอกุศลทั้งหลายก็ถูกขัดเกลาละคลาย เพราะฉะนั้นปัญญาจึงเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดจริงๆ ครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะไม่ต้องหยอกล้อ กิเลสก็เยอะแล้วไม่ใช่เลยค่ะ ยังหยอกด้วยล้อด้วยบางทีก็ตกใจมากเลย ใช่ไหมคะ บางคนอาจจะเป็นลมไปก็ได้ ก็เป็นโทษค่ะ เพราะว่าถ้าคำนึงถึงอกุศลก็มีอยู่แล้วมาก ควรจะเพิ่มหรือเปล่า ด้วยเหตุนี้นะคะ ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ แม้ข้อความในพระไตรปิฏก เช่นเรื่องละคร การละเล่นนางสีดา พระรามอะไรก็แล้วแต่ยาวพวกนั้นนะคะ ปกติก็อกุศลอยู่แล้ว เมาอยู่แล้ว ด้วยความไม่รู้ แต่ก็ยังเพิ่มอีก และก็ไม่ใช่คนเดียวค่ะ ชวนคนอื่นหมดเลย หนังสือต่างๆ หลายสัปดาห์ อะไรเยอะแยะมากเลยค่ะ มีแล้วกิเลสก็ยังไม่พอ เพราะฉะนั้นจะเห็นจริงๆ ว่า ถ้าไม่เห็นโทษจริงๆ นะคะ คิดไหมที่จะละกิเลสหรือว่าคิดมั้ย เพียงแค่ได้ฟังพระธรรมเพื่อที่วันหนึ่ง กิเลสจะได้ลดน้อยลง เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะคะ จริง แล้วก็เป็นเหตุที่จะให้อกุศลเจริญมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์เดียวเท่านั้น ที่จะทรงบัญญัติการกระทำ ที่เป็นภิกษุบางคนนะคะ คิดว่าเล็กน้อยเหลือเกิน ทำไมต้องละเอียดอย่างนี้ ทำไมขัดเกลาอย่างนี้ เพราะเขาไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า ถ้าไม่ขัดเกลาจริงๆ ก็มีแต่การจะเพิ่มกิเลส เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นโทษของกิเลส จนกระทั่งคิดว่าตนเองเนี่ยสามารถ ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเพศบรรพชิตได้ และอุปสมบทก็ต้องประพฤติตาม มิเช่นนั้นก็ลาสิกขา ดีที่สุดนะคะ คิดว่าไม่อยู่ให้เป็นโทษแก่ตนเอง ทั้งยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่สิ้นชีวิตแล้วด้วย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 841
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 842
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 843
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 844
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 845
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 846
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 847
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 848
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 849
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 851
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 852
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 854
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 855
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 857
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 858
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 860
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 900