ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๘๒

    สนทนาธรรม ที่ เรือนทองทิพย์ จ.เชียงราย

    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙


    ท่านอาจารย์ คงมีโอกาสบ้าง บางโอกาส ตามกาลที่สมควร ต้องเป็นผู้ที่รู้จักบุคคลนะคะ แล้วก็รู้จักเวลาด้วย แล้วรู้จักว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์ไหม เพราะว่าข้อความในพระไตรปิฏกมีว่าคำดีเป็นคำชั่ว สำหรับผู้ที่ไม่เห็น ไม่เข้าใจในคำที่ดีนั้น เขาต้องโกรธเขาต้องว่าผิด เขาต้องว่าไม่เคารพหรืออะไรนะคะ แต่คำจริง ถูกหรือผิด เปลี่ยนคำจริงไม่ได้ แล้ววันหนึ่งก็คงสามารถ ที่จะได้ยินได้ฟังแล้วก็ไตร่ตรอง อย่างคุณเป็นต้น ก็ได้ผ่านมาแล้ว และก็ได้เริ่มเข้าใจ ได้ยินได้ฟังว่าคำจริงคืออะไร ก็เป็นผู้ที่มั่นคงต่อคำที่ถูกต้องซึ่งเป็นคำจริง ก็จะไม่กลับไปหาคำที่ไม่จริง ก็เป็นสาวกคือผู้ฟังพระธรรม ก็เป็นผู้ที่หวังดีนะคะ แล้วก็แทนคุณด้วยความดี ด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่แทนคุณใครด้วยความร้ายความชั่ว เพราะคุณคือความดี จะเอาการกระทำร้ายทำชั่วไปตอบแทนคุณไม่ได้ การจะตอบแทนคุณ ก็คือว่าต้องแทนด้วยความดีเท่านั้น เพราะฉะนั้นเป็นคนดีเข้าใจธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนเลยค่ะ เพราะความดีไม่เดือดร้อน ความเข้าใจธรรมก็รู้ว่าต่างคนก็ต่างคิด ต่างคนก็ต่างสะสมมา ต้องเป็นผู้ที่ตรงค่ะ พระธรรมทำให้ตรงต่อเหตุผล ต่อความเป็นจริง ต่อความถูกต้อง

    เมื่อมีโอกาสได้ยินคำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องรู้จักว่าเป็นใคร แล้วเราเป็นใคร สามารถที่จะเข้าใจคำของพระองค์ อย่างที่พระองค์ได้ตรัสรู้หรือเปล่า พูดคำเดียวกันนะคะ แต่คนที่พูดมีปัญญากับคนที่ฟังไม่มีปัญญา คำเดียวกันก็เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมนะคะ พระอรหันตพระสัมสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร เราเป็นใคร เคารพสูงสุดคือฟังด้วยความเคารพ ไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง นั่นคือความเคารพในพระรัตนตรัย ตรงกับที่กล่าวว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่มีคนอื่นเป็นที่พึ่ง

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์แล้วก็ คณะวิทยากรทุกท่านนะคะ กรณีถ้าเกิดสมมติว่าสมาธิเรารู้อยู่แล้วว่า ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานนะคะ แต่สมาธิเนี่ยในทางการแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม ก็เชื่อว่าการทำสมาธิเนี่ย จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ร่างกายดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัย หรือว่าอะไรต่างๆ ถ้าทำสมาธิอย่างเช่นคนป่วยทำสมาธิเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น เหมือนคนป่วยต้องออกกำลังกายอ่ะค่ะอาจารย์ อย่างงี้ถือว่าเป็นสมาธิที่ผิดมั้ยค่ะ ถึงแม้จะทำเป็นมิจฉาสมาธิก็ตามอ่ะค่ะ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่มีใครถือ ต่างคนต่างถือ คนนี้ถือว่าอย่างนั้น คนนั้นถือว่าอย่างนี้ แต่สมาธิคืออะไร

    ผู้ฟัง สมาธิคือจิตที่ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียวอ่ะค่ะ

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นสภาพรู้นะคะ เป็นใหญ่เป็นประธาน ขณะที่เห็นจิตเห็น ขณะที่คิด ก็ต้องจิต และเจตสิกเกิดขึ้นนะคะเพราะฉะนั้นจิตจะเกิดตามลำพัง โดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่พูดว่าสมาธินั่นน่ะ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง สมาธิเป็นเจตสิกค่ะ

    ท่านอาจารย์ คืออะไร

    ผู้ฟัง เป็นเอกัคคตาเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ค่ะ ก็ ก็มีชื่อมากนะคะ หมายความว่าฟังมาแล้วเยอะพอสมควรนะคะ แต่สำหรับทั่วไปเนี่ย ก็ให้ทราบว่านะคะ จิตกับเจตสิกต่างกัน แล้วคำว่าสมาธิเนี่ยหมายความถึงอะไรก่อนที่จะรู้ว่าเป็นเจตสิกอะไร

    ผู้ฟัง สมาธินี่ หนูเข้าใจว่าเป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว แต่ว่าเท่าที่เคยฟังมาก็คือปกติแล้วสมาธิก็มีอยู่ในจิตทุกขณะอยู่แล้ว ก็คือเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ แต่มันเป็นสมาธิที่ไม่ได้นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว หรือว่าอารมณ์นึงอารมณ์ใดนานพอเพียงอ่ะค่ะ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นสมาธิก็เป็นธรรม ๑ ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิก เจตสิกนี้หลากหลายมากค่ะ เพราะฉะนั้นสำหรับเจตสิกนี้นะคะ คือสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เกิดกับจิตทุกขณะ แสดงว่าที่จิตเกิดขึ้น และมีอารมณ์ใดหนึ่งอารมณ์ก็เพราะเจตสิกนี่แหละ ที่เมื่อตั้งมั่นในอารมณ์นั้น อารมณ์เดียวนะคะ จิตก็ต้องรู้เฉพาะอารมณ์นั้นอารมณ์เดียว เพราะฉะนั้นจิตที่ใช้คำว่าสมาธิ มีเอกัคคตาหรืออะไรก็ตามที่คุณหมอกล่าวถึงนะคะ หมายความว่าถ้ากล่าวแล้ว โดยสภาพธรรมเนี่ย เป็นเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ต้องเข้าใจทีละขั้นนะคะเพราะฉะนั้นเวลาที่จิตขณะไหนก็ตาม อย่างขณะที่กำลังเห็นเนี่ย จิตเกิดขึ้นเห็นมีเอกัคตาเจตสิก เอก ก็หนึ่ง เพราะฉะนั้นเป็นเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง จิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้เลย และอย่างน้อยที่สุดจะมีเจตสิก ๗ ประเภท น้อยมากเลยค่ะ นอกจากจิตที่มีเจตสิกเกิด ๗ แล้วนะคะ ซึ่งมีเพียง ๑๐ จิตอื่นทั้งหมด มีเจตสิกมากกว่านี้ นี่ค่อยๆ เริ่มเห็นว่าทุกวันเนี้ยนะคะ ต่างกันไป แม้แต่จิตก็บางประเภทมีเจตสิกเกิดน้อย บางประเภทก็มีเจตสิกเกิดมาก ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยนะคะเพราะฉะนั้นกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ค่ะ มีเอกัคคตาเจตสิกซึ่งใช้คำว่าสมาธินี่มั้ย

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง มี เพราะเกิดกับจิตทุกดวง

    ท่านอาจารย์ เพราะเจตสิกนี้นะคะ ต้องเป็นปัจจัยให้จิตทุกดวงเกิดขึ้น ที่จะตั้งมั่นในอารมณ์เดียว แต่ว่าจิตเห็นแล้วก็ได้ยิน แล้วก็คิด แล้วก็ได้กลิ่น แล้วก็ลิ้มรส ตั้งมั่นสั้นๆ เพียงแค่หนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง ไม่ปรากฏความตั้งมั่น นานนานพอที่จะใช้คำว่าสมาธิที่เราเข้าใจกัน เพราะฉะนั้นถ้าใช้คำว่าสมาธิ ก็หมายความว่า จิตเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นแหละ สิ่งเดียวนั่นแหละบ่อยๆ นานๆ ไม่ไปรู้อย่างอื่นเลย จนกระทั่งลักษณะของสภาพของสมาธิปรากฏ ที่มีคำว่า เอกัคคตาเจตสิก และมีคำว่าสมาธิด้วย สมาธินั้นคืออะไรมาจากไหน ก็คือเอกัคตาเจตสิกซึ่งตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง อารมณ์นั้น อารมณ์เดียวบ่อยๆ จนกระทั่งปรากฏว่ามั่นคงในอารมณ์นั้น เพราะฉะนั้นถามว่าเดี๋ยวนี้อ่ะค่ะ มีสมาธิมั้ย นี่ค่ะต้องเข้าใจจริงๆ ค่ะมีเจตสิกแน่ ที่ชื่อว่าเอกัคคตาเจตสิก เพราะเหตุว่าเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง และเมื่อเกิดกับจิตทุกดวง ไม่ว่าจิตอะไรทั้งหมด จะเกิด จะตาย จะเห็น จะได้ยิน จะคิด จะนึกทั้งหมดนะคะ ต้องมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ ที่เอกัคคตาเจตสิกมั้ยคะ มี วาจาสัจจะเปลี่ยนไม่ได้ เมื่อเจตสิกนี้ต้องเกิดกับจิตทุกประเภท ไม่ว่าจิตอะไรทั้งนั้น มีอะไรเป็นอารมณ์ทั้งนั้น ก็ต้องมีเอกัคคตาเจตสิกซึ่งทำให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์นั้น ทีละ ๑ ขณะ สั้นมั้ย ๑ ขณะ สั้นมาก ไม่ปรากฏลักษณะที่เราเรียกว่าสมาธิ แต่เมื่อไหร่ที่ตั้งมั่นนานๆ นะคะ จะใช้คำว่าทำสมาธิหรือว่าจิตเป็นสมาธิรู้ได้เลยค่ะ ว่าจิตนั้นตั้งมั่นในอารมณ์ ๑ คืออารมณ์ของสมาธินั้นบ่อยๆ จนกระทั่งปรากฏว่านาน เพราะฉะนั้นถามว่าเดี๋ยวนี้นี่ค่ะ มีสมาธิมั้ย

    ผู้ฟัง สำหรับหนูคิดว่าตั้งมั่นในการฟังอ่ะคะ ตอนฟังท่านอาจารย์อยู่ก็คือคิดว่ามีสมาธิที่ปรากฏนานพอสมควร

    ท่านอาจารย์ ฟังทีละคำใช่ไหม

    ผู้ฟัง ฟังทีละคำค่ะ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เห็นด้วย ขณะที่เห็น ก็ไม่ใช่ขณะที่ฟังใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ค่ะ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าเดี๋ยวเห็น เดี๋ยวฟังใช่มั้ยค่ะ

    ผู้ฟัง ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวเห็น เดี๋ยวฟัง เดี๋ยวคิด เดี๋ยวชอบทั้งหมดเนี่ย เป็นลักษณะของอาการที่ปรากฏของสมาธิหรือเปล่า เพราะฉะนั้นคำถามทุกคำถามเพื่อตอบ เพื่ออะไร เพื่อรู้ว่าผู้ฟังคิดอะไร และเข้าใจแค่ไหน ไม่เห็นการสนทนาไม่มีประโยชน์เลยค่ะเหมือนเดิม คือคิดยังไงมา ก็เหมือนอย่างนั้น แต่ว่าการสนทนากัน ก็ทำให้ได้เพิ่มเติมไตร่ตรองว่า ได้ยินคำว่าเอกัคคตาเจตสิก หมายความถึงเจตสิกหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งเนี่ย ไม่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ต่างกันจึงมีชื่อต่างๆ กัน เจตสิกนี้เรียกว่าโลภะ เจตสิกนั้นเรียกว่าเวทนา หรือความรู้สึก เจตสิกนั้นเรียกว่าสัญญาหรือความจำ เจตสิกนี่คือเอกัคคตาคือสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เพราะฉะนั้นเจตสิกแต่ละหนึ่งต่างกันเป็น ๕๒ ประเภท ปะปนกันไม่ได้เลย เกิดพร้อมกันได้ แต่เป็นแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมกัน ไม่ใช่รวมกันเป็นหนึ่ง แต่ละหนึ่งๆ เกิดพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ค่ะ รู้ละเอกัคคตาเจตสิกเนี่ย เป็นชื่อของเจตสิก ๑ ประเภทใน ๕๒ ซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ขณะเห็นมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหมคะกับจิตเห็น

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ขณะได้ยินมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังจำ มีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลยนะฮะ ไม่ขาดเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย มีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เดี๋ยวนี้ก็มีใช่ไหมคะ เพราะจิตเกิดดับเร็วมาก เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยินพวกนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เนี่ย มีสมาธิมั้ย

    ผู้ฟัง ไม่มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ไม่มี จึงไปทำสมาธิกันใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ใช่ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่มี จึงทำ เพราะฉะนั้นเอกัคคตาเจตสิกต้องเป็นเอกัคคตาเจตสิก แต่สมาธิก็คือเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตที่รู้อารมณ์เดียว อารมณ์นั้น เฉพาะอารมณ์นั้น บ่อยๆ ไม่ไปที่อารมณ์อื่น มากจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจว่าเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นถ้าจริงๆ แล้วเนี่ยนะคะ ถ้าจะกล่าวถึงการที่จะให้จิตตั้งมั่นที่เป็นกุศลที่ถูกต้องเนี่ย จะต้องอยู่ในที่ๆ ไม่มีอารมณ์มาก ไม่มีเสียงต่างๆ มารบกวน เพราะเหตุว่า เพื่อที่จะให้จิตเนี่ยตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์นั้น ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ละเอียดค่ะ อย่าเพิ่งกระโดดข้ามไปจากนี้ไปนั้น แล้วก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ไม่เข้าใจจริงๆ เพียงได้ยินได้ฟังแล้วก็สับสน เพราะฉะนั้นต่อไปนี้นะคะ ก็มีความเข้าใจว่าขณะนี้เนี่ย เห็น มีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีอาการลักษณะของสมาธิปรากฏไหม

    ผู้ฟัง ไม่มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าบ่อยๆ ที่เดียวมีไหม

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ชื่อว่า ขณิกสมาธิ เพียงชั่วขณะ ชั่วขณะ ชั่วขณะ ยังไม่ตั้งมั่นที่จะรู้ปรากฏอาการของสมาธิ ที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นอย่างเราบอกว่าอย่าพูดนะ กำลังคิดเรื่องนี้ จะได้มีสมาธิ แสดงว่าต้องการคิดเฉพาะเรื่องนั้น ไม่ต้องการเรื่องอื่นเลยใช่ไหมคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่จะให้มั่นคงในอารมณ์นั้น ก็ใช้คำว่าสมาธิ หรือบางคนก็บอกว่าแหม มาพูดก็เลยทำให้เสียสมาธิ กำลังเป็นสมาธิหรือว่าทำสมาธิอยู่ พวกเนี้ยค่ะ ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด แต่เพราะไม่รู้ความละเอียดยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมซึ่งเกิดดับสืบต่อเร็วมาก ก็เลยไม่สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ชัดเจน เข้าใจเลา เลา เวลานี้ก็เข้าใจเลาๆ เพราะว่าจิตเดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน ก็เลยไม่รู้ว่าสภาพรู้คืออย่างไร มีแต่เสียง มีแต่สิ่งที่ปรากฏทางตาให้รู้ แต่ตัวจิตที่เกิดดับไม่รู้ รู้ว่ามี แต่ไม่ได้ปรากฏให้เห็น ให้ได้ยินได้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นจะพูดถึงอะไรนะคะ ตอนนี้คุณหมอเข้าใจสมาธิแล้วนะคะ เชิญพูดถึงสมาธิที่คุณหมอต้องการ

    ผู้ฟัง ขณะที่หนูฟังธรรมจากท่านอาจารย์อยู่เนี่ย ฟังแล้วคิด ฟังแล้วก็คิด ถือว่ายังไม่

    ท่านอาจารย์ ถือคืออะไรก่อน ถือเป็นความจริงหรือปล่าว

    ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นความจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณหมอถือว่าเนี่ย เป็นความจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นความจริงค่ะ ไม่ใช่ค่ะ เป็นความคิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าจริงแล้วไม่ต้องถือเพราะจริง เพราะฉะนั้นรู้จริงหรือเปล่า หรือถือว่าจริงแต่ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นแต่ละคำนี่ต้องชัดเจนนะคะ คุณหมอถือว่ามีจิต หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ถือว่าค่ะ มีจริงๆ ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะจิตมีจริงๆ คุณหมอถือว่าเอกัคคตาเป็นสมาธิ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ถือว่าค่ะ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นมีการที่ว่า ถ้าเราถือว่าเนี่ยแปลว่าเรายังไม่มั่นคงเลยเพียงแต่ความคิดของเราเท่านั้น ที่เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้ เราก็ถือว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจะมีคำว่าถือว่าตลอดนะคะ เขาถือว่าเป็นอย่างนี้ เขาถือว่าโลกไม่เที่ยง โลกนะฮะแต่เค้ารู้จักโลกหรือยัง พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย จนกว่าจะรู้ว่าคืออะไร เพราะฉะนั้นสมาธิที่คุณหมอต้องการ ต้องการสมาธิอะไรคะ

    ผู้ฟัง อ่ะ เวลาฟังท่านอาจารย์พูดเกี่ยวกับธรรม แล้วก็พิจารณาไตร่ตรอง แล้วก็กลับมาฟัง เป็นขณิกสมาธิมั้ยค่ะ

    ท่านอาจารย์ จะใช้ชื่อหรือว่าไม่ใช้

    ผู้ฟัง ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าชื่อทำให้ติด ใช่มั้ยคะ ตอนนี้ก็โลภะมาแล้ว ไม่เคยรู้ตัวเลยนะคะ โลภะเนี่ยครองบ้านครองเรือน อยู่กับใจมาตลอดนานแสนนาน อุปมาเหมือนช่องว่าง อากาศธาตุที่คั่นอยู่ระหว่างกลาป สิ่งที่เล็กที่สุดที่แยกออกอีกไม่ได้ หรือมิฉะนั้นก็ถึงแม้อยู่ในห้อง ก็มาได้ทางอากาศ ตราบใดตรงไหนยังมีอากาศ โลภะก็ยังที่จะมาได้แสดงให้เห็นว่าประมาทโลภะไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วไม่อยากจะใช้ชื่อเลยนะคะ แต่ว่าถ้าไม่ใช่เลยก็เจตสิกก็ตั้งหลายเจตสิก ก็จำเป็นบ้างที่จะต้องเริ่มรู้จักเจตสิกแต่ละหนึ่ง โดยชื่อต่างๆ เริ่มเข้าใจธรรม เป็นสิ่งที่เป็นปรมัตถธรรม เปลี่ยนไม่ได้ ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะรู้ความจริงอย่างนี้ ก็คือว่าไม่รู้เลย ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม หรือถ้าฟังเพียงผิวเผินนะคะ ไม่มีทางที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยพระองค์ไม่เผินค่ะ ถ้าเผินไม่ใช้คำว่าตรัสรู้ รู้ความจริงทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงถึงที่สุด

    เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจแล้วนะคะ ที่พูดว่าสมาธิ สมาธิ ก็คือเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท แล้วแต่ว่าจะตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์ใด นานหรือไม่นาน ถ้าตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์นาน ก็พูดกันว่ามีสมาธิ คนนั้นมีสมาธิ ไม่ต้องทำก็ได้ใช่ไหมคะ แต่ไม่พออยากจะทำให้มันมากขึ้นอีก ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ต้องรู้ว่าสมาธิมีกี่ประเภท มิจฉาสมาธิก็มี สัมมาสมาธิก็มี ถ้าไม่รู้ก็เป็นมิจฉาสมาธิแน่นอนเพราะไม่รู้ จะเป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร จะเป็นสัมมาสมาธิต่อเมื่อปัญญารู้ จึงเป็นสัมมาสมาธิ นี่ค่ะก็เป็นสิ่งซึ่งไม่ทำให้เราหลงคิดว่าเข้าใจแล้ว ลองคิดว่าทำแล้วแต่ผิด แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าถูกคืออย่างไร คงไม่ลืมนะคะ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อได้มีโอกาสได้ฟัง และได้เข้าใจ แต่ถ้าไม่ได้ฟังเลย มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ไหม ไม่ได้ฟังเลย ไม่ได้เข้าใจเลยสักคำ แล้วก็บอกว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ไหม ไม่ได้ ได้แต่พูด แต่ไม่รู้รัตนะคืออะไร การที่เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้นะคะ ใครรู้ได้ว่าอีกนานเท่าไหร่ เย็นนี้เท่านั้นก็ได้ พรุ่งนี้เท่านั้นก็ได้ เดือนนี้เท่านั้นก็ได้ ปีนี้เท่านั้นก็ได้ หรือแม้ขณะต่อไปก็ได้ หมดความเป็นบุคคลนี้นะค่ะโดยสิ้นเชิงไม่เหลือเลยค่ะ ไม่มีจะไปหาที่ไหน ค้นคว้าใน ๓ โลก มนุษย์โลก เทวดาโลก พรหมโลก เดียรัจฉานโลก นรก สวรรค์ที่ไหน ไม่มีอีกเลยนะคะ

    เพราะธรรมมีปัจจัยเกิดแล้วดับแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย แล้วเรายังยึดติดมั่น ในความที่เป็นคนนี้ โดยการยึดถือว่าเป็นเรา จะต้องไม่ผิด ผิดแล้วไม่แก้ไขหรืออะไรอย่างเนี้ย แล้วจะมีประโยชน์อะไรกับการที่เกิดมา เพราะว่าต่อไปนะคะ ไม่ใช่เรา แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในชาตินี้ค่ะ สะสมสืบต่อที่จะเป็นคนอีกคนหนึ่ง แล้วแต่นะคะ จะเป็นสัตว์ประเภทไหน นรก สวรรค์ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ไม่รู้จักคนก่อนเลยสักนิด จำอะไรก็ไม่ได้ แต่ก็ติดมั่นล่ะในความเป็นคนนี้ เพราะฉะนั้นอวิชชา และโลภะนี่ค่ะ ก็นำไปในสู่ทางที่ไม่ถูกต้อง ในทางที่เป็นโทษ ในสังสารวัฎฏ์ตลอดไปไม่สิ้นสุด ก็เป็นโอกาสที่ว่า เมื่อมีโอกาสจะได้ฟังคำไหนนะคะ ขอให้เข้าใจจริงๆ เพราะว่าคำนั้นวาจาจริงทุกคำ เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่คำของคนอื่น เริ่มจากสมาธิคุณหมอต้องการด้วยนะคะ

    ผู้ฟัง สมาธิที่ต้องการเนี่ยก็คือ สำหรับผู้ป่วยอ่ะค่ะ มีการศึกษาวิจัยว่าการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แน่วแน่ นานๆ เพียงพอเนี่ย จะทำให้การจัดเรียงตัวของโมเลกุลของน้ำ หรือว่าอะไรก็ตาม หรือทำให้ร่างกายเนี่ย แข็งแรงขึ้นสดใสขึ้น ทำให้สุขภาพดีขึ้นค่ะ กรณีเช่นนี้เนี่ย ถ้ารู้ว่าเป็นไปเพื่อสุขภาพ เหมือนการออกกำลังกายอ่ะค่ะ ว่าทำไมคนเราถึงต้องออกกำลังกาย ก็เช่นเดียวกับสมาธิ สมาธิเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรณีอย่างนี้เนี่ย เป็นมิจฉาทิฎฐิไหมคะ

    ท่านอาจารย์ คุณหมอจะรักษาร่างกายซึ่งเป็นรูป หรือคุณหมอจะรักษาจิต

    ผู้ฟัง กรณีทำสมาธิคือรักษาร่างกายค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความตั้งใจของคุณหมอนะคะ ต้องการจะรักษาร่างกายใช่ไหมคะ คุณหมอรู้จักร่างกายหรือยัง ถึงที่สุดหรือยัง ถ้าถึงที่สุดใครรู้

    ผู้ฟัง รู้ไม่ถึงที่สุดค่ะ

    ท่านอาจารย์ ถึงที่สุดใครรู้

    ผู้ฟัง คงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ คงอีกแล้ว เดี๋ยวคงเดี๋ยวถือ แล้วมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ต้องไม่ใช่คงเพราะเราเอง และไม่ใช่ถือเพราะคิดเอง แต่เมื่อมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง คือฟังคำเข้าใจ เคารพจริงๆ ว่าคำนั้นเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นคุณหมอรู้จักร่างกายถึงที่สุดหรือยัง เพราะฉะนั้นในทางวิชาการใดๆ ก็ตามนะคะ แม้แต่ที่คุณหมอศึกษาทางแพทย์ มีความรู้ทางแพทย์ ก็ต้องรู้ว่าไม่ถึงความรู้ของสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน แล้วก็รักษาได้เพียงกาย แต่ใจของคนที่หายแล้วเหมือนเดิมมั้ย เพิ่มกิเลสขึ้นหรือเปล่า สามารถที่จะมีความรู้หรืออะไรก็ตามที่จะรักษาจิต ไม่ใช่เพียงกาย ซึ่งถ้าคุณหมอทราบนะคะ จะรู้ว่ารูปที่กายเนี่ย ที่เกิดจากกรรมก็มี ที่เกิดจากจิตก็มี ที่เกิดจากอุตุ ความเย็นความร้อนนะคะ ก็มี ที่เกิดจากอาหารที่รับประทานก็มี เพราะฉะนั้นเท่าที่สามารถจะรู้ได้ คือรู้จักอาหาร และอุตุ แต่ไม่สามารถที่จะรู้ถึงรูปที่เกิดจากกรรม และรูปที่เกิดจากจิต เพราะฉะนั้น การที่จะรักษาก็ชั่วคราว เพราะฉะนั้นไม่เหมือนกับการที่จะได้ให้เขาเรียกนี่ได้เข้าใจถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งซึ่ง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเห็นว่าสัตว์โลกนี่ค่ะ ก็มีแต่เกิด ตาย และเพิ่มความไม่รู้มากขึ้น เพิ่มความติดข้องมากขึ้น ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ที่จะตรัสรู้ความจริงนะคะ ที่จะทำให้พ้นจากทุกข์แท้จริงได้ ก็ไม่มีใครสามารถที่จะช่วยสัตว์โลกได้เลย เพราะฉะนั้นระหว่างคนไข้ เจ็บหนักยังไงต้องตาย แพทย์ก็ช่วยไม่ได้ แต่ธรรมช่วยได้

    ผู้ฟัง สำหรับเรื่องของธรรมที่ช่วยรักษาจิตใจ หนูเชื่อว่าอันนี้ช่วยได้แน่นอนค่ะ

    ท่านอาจารย์ ทั้งคนป่วย และคนไม่ป่วยนะคะ

    ผู้ฟัง ค่ะ

    อ.อรรณพ เพราะทุกคนเป็นโรคจิตกันอยู่ทุกคนนะครับ ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ค่ะ แต่ขอโทษสักนิดหนึ่งนะคะ คุณหมอรักษาคุณหมอเอง หรือเปล่า ค่ะ รักษาใจของคุณหมอด้วยหรือเปล่า หรือคิดแต่จะรักษาคนอื่น

    ผู้ฟัง รักษาใจด้วยการฟังพระธรรมค่ะ

    ท่านอาจารย์ จะรักษาได้ใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง คิดว่าขณะที่ฟังอยู่ รักษาได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ นะคะ แต่ว่าคนไข้อาจไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้สนใจ เฉพาะผู้ที่เห็นประโยชน์เท่านั้น ที่สามารถที่จะรักษาใจตนเอง แต่คุณหมอก็มีแต่รักษาโรคภายนอกนะคะ ร่างกายแต่ใจของเขาเนี่ย คุณหมอรักษาได้มั้ย แม้แต่ใจเราเองใช่ไหมคะ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่จะพูดถึงเรื่องอะไรนะคะ ต้องเฉพาะแต่ละเรื่อง ถ้าจะพูดถึง เรื่องสมาธิทั่วไปที่ชาวบ้านเข้าใจ แล้วก็ไปใช้ในการรักษาโรคบ้าง อะไรบ้างนั่นแหละ ไม่ใช่ตามพระพุทธศาสนา เพราะทั้งหมดนั้นเมื่อเกิดจากความไม่รู้ ก็เป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 178
    21 มิ.ย. 2567