ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
ตอนที่ ๘๙๒
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ ถ้าจะเข้าใจคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และเข้าใจจริงๆ เมื่อเข้าใจว่าวินัยคือการนำกิเลสออก แสดงว่าทุกคนก็รู้ว่ากิเลสไม่ดี ควรที่จะนำออกไปทิ้งเสียให้หมดจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้ทำไม แต่อะไรจะนำออกไปได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ มีคนบอกให้ทำอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้แล้วกิเลสจะหมด คนนั้นไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน แต่ต้องเป็นผู้ที่แสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงจนกระทั่งบุคคลที่ได้ฟังแล้ว มีความเห็นถูกเข้าใจถูกว่าขณะใดที่ไม่รู้ขณะนั้นเป็นอกุศลสิ่งที่ไม่ดี แต่ขณะใดที่เริ่มรู้เริ่มเข้าใจก็เห็นโทษของสิ่งที่ไม่ดี และเห็นคุณของสิ่งที่ดี
เพราะฉะนั้นการที่จะนำออก หรือวินัย ต้องมีความเข้าใจธรรม ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมไม่มีทางที่จะนำกิเลสออกไปได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้วในครั้งพุทธกาล หรือสมัยต่อมาก็ตามแต่ เห็นประโยชน์ของการที่จะนำกิเลสออก แม้แต่ที่กำลังฟังธรรมเดี๋ยวนี้ ก็เพื่อนำความไม่รู้ออก แล้วจะให้ใครนำความไม่รู้ออกไปได้ ในเมื่อใครๆ ก็ไม่รู้ทั้งนั้น เว้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี รู้แล้ว ตรัสรู้ ไม่ใช่เพียงแต่คิดพิจารณาไตร่ตรอง แต่ประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่มีจริง ในขณะนี้สิ่งใดก็ตามที่กำลังปรากฏสิ่งนั้นมีจริงแน่นอน
เพราะฉะนั้นเมื่อได้ทรงตรัสรู้ความจริงแล้ว เห็นว่าคนอื่นไม่สามารถที่จะรู้อย่างนี้ได้เลยถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงแสดงพระธรรมให้ผู้ที่เข้าใจพระธรรมแล้ว รู้จักตนเองที่จะนำกิเลสออกตามความเป็นจริงว่า จะขัดเกลาโดยการที่ฟังพระธรรมเข้าใจขึ้น นำกิเลสคือความไม่รู้ออกไป โดยฐานะที่ขัดเกลาอย่างยิ่งเหมือนพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเพศบรรพชิตคือสละอาคารบ้านเรือนสละทุกอย่าง มารดาบิดา ครอบครัว วงศาคณาญาติ ความสนุกสนานความรื่นเริง ทุกอย่างที่เป็นทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดไม่ใช่กิจของบรรพชิตอีกต่อไป เพราะว่ากิจของบรรพชิต ซึ่งสละแล้วก็มีชีวิตอยู่ เพื่อที่จะได้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นกิจของบรรพชิตคือศึกษาพระธรรม นำออกซึ่งกิเลสตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่า เพศบรรพชิตจะต้องประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสทางกายทางวาจาอย่างไร ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะบัญญัติพระวินัยได้เลย แม้แต่ท่านพระสารีบุตร หรือใครก็ตามแต่
เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินว่า พระวินัยทุกข้อพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติโดยการที่เมื่อมีผู้ที่ยังมีกิเลสแม้ว่าบวชแล้ว เพราะกิเลสก็ทำให้ประพฤติผิด จึงมีการประชุมสงฆ์เพื่อจะให้ทุกคนได้รับทราบว่าการประพฤติอย่างนี้สมควรไหมกับเพศบรรพชิต เมื่อไม่สมควร ทุกคนเห็นด้วย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ เพราะว่าถ้ามีคนไม่เห็นด้วยก็แสดงว่าเขายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สิ่งนี้แหละเหมาะสำหรับเพศบรรพชิตที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตาม เป็นหนทางที่ จะทำให้ละกิเลส จนกระทั่งถึงความเป็นพระอรหันต์ได้
เพราะเหตุว่าคฤหัสถ์ฟังธรรม สามารถเป็นพระโสดาบันได้ พระสกทาคามีบุคคล พระอนาคามีบุคคล ยังเป็นคฤหัสถ์ได้ แต่เมื่อไหร่บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสหมดแล้ว จะไม่สามารถดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์อีกต่อไปได้ เพราะฉะนั้นบรรพชิตทุกรูปรู้ตนเอง ว่าจุดประสงค์ของการบวชไม่ใช่เพียงเพื่อที่จะ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นเพียงพระโสดาบัน หรือว่าพระสกทาคามีบุคคล พระอนาคามีบุคคลเพราะว่ากิเลสต้องหมดสิ้นไปดับสิ้นไปตามลำดับขั้น กิเลสมีมากมหาศาลในแสนโกฎกัลป์ที่สะสมมาจะหมดสิ้นไปทันทีไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เข้าใจความจริง ก็สามารถที่จะรู้จักตนเองว่าจะศึกษาธรรม ขัดเกลากิเลส นำกิเลสออกโดยเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตต้องเป็นผู้ที่ตรง เพราะฉะนั้นผู้ที่สละอาคารบ้านเรือนแล้ว มีความเคารพในพระบรมศาสดา จึงสละอาคารบ้านเรือนเพื่อดำเนินรอยตาม ที่พระผู้มีพระภาคทรงสละ เพราะฉะนั้นภิกษุทุกรูปต้องเคารพต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย เพราะใครบัญญัติ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะไม่ประพฤติตามที่พระองค์ทรงบัญญัติหรือ นี่เป็นข้อที่ภิกษุทุกรูปต้องรู้จุดประสงค์ว่าบวชเพื่ออะไร ไม่ใช่เพียงเพื่อรู้แจ้งอริสัจจธรรมขั้นพระโสดาบัน แต่ก็เพื่อดับกิเลสหมดถึงความเป็นพระอรหันต์ ซึ่งจะต้องขัดเกลากิเลสทางกายวาจาในเพศของบรรพชิต ต้องเป็นผู้ตรง
เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ซึ่งได้สละแล้วก่อนที่จะบวช และเมื่อบวชแล้วก็เป็นผู้ที่สละ เพราะฉะนั้นจะกลับมาเป็นชีวิตอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น บรรพชิตจะไม่ทำกิจของคฤหัสถ์ เพราะละความเป็นคฤหัสถ์แล้ว เพราะฉะนั้นบรรพชิตก็มีหน้าที่ที่จะศึกษาพระธรรม และก็อบรมเจริญปัญญาในเพศของบรรพชิตคือรักษาประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งละเอียดมาก แสดงให้เห็นว่านี่เป็นการขัดเกลาจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าใครยังมีกิเลส แล้วก็ประพฤติผิดจากพระธรรมวินัยต้องสำนึกตน แล้วก็ต้องแสดงโทษการประพฤติผิดจากธรรมวินัยนี้เป็นโทษคืออาปัตติ หมายความว่าได้ล่วงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงบัญญัติไว้แล้ว เพราะฉะนั้นจะกลับเป็นภิกษุอีกได้ไหม เมื่อล่วงแล้ว แต่ว่าพระองค์ทรงเห็นว่าตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่การบวชเป็นบรรพชิตยาก เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นโทษผิดเพียงเล็กน้อยไม่ถึงขั้นโทษหนัก และผู้นั้นสำนึกก็สามารถที่จะปลงอาบัติ หมายความว่าแสดงโทษสำนึกผิด แล้วก็ให้ภิกษุได้รู้ แล้วแต่ว่าบัญญัติไว้ในเรื่องใด ว่าจะต้องอาศัยบุคคลใดที่จะทำให้บุคคลที่สำนึก ได้กลับเข้าสู่หมู่คณะ เป็นภิกษุ เป็นคณะสงฆ์ต่อไป ด้วยเหตุนี้ ถ้าคฤหัสถ์ไม่ศึกษาพระธรรมวินัยจะรู้ไหมว่าใครเป็นบรรพชิต
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ เพราะฉะนั้นจำเป็นไหมที่เราควรจะรู้ เพราะเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท
ผู้ฟัง จำเป็น ผมเข้าใจว่าถ้าไม่รู้เราน่าจะติเตียน โดยที่เราน่าจะเป็นอกุศลมากกว่า
ท่านอาจารย์ หรือร่วมกันกับผู้ที่กระทำผิด กระทำผิดต่อไป
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ ได้กล่าวเรื่องไม่ควรรับเงินทอง ดูค้านกับที่ผมเห็นมาตั้งแต่เด็กว่า เวลาใส่บาตรไม่มีเวลาเราก็ใส่เงินแทน เวลานิมนต์พระมาทำบุญบ้านเราก็ใส่ซอง แล้วเรื่องนี้จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร มีวินัยข้อไหนที่บัญญัติไว้ในเรื่องรับเงินทองไหน
ท่านอาจารย์ ผู้นั้นไม่รู้จักพระภิกษุ เพราะเหตุว่าการไม่รับเงินทองรวมอยู่ในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุกระทำไม่ได้รวมอยู่ในสิกขาบท ๒๒๗ ข้อ แล้วก็เป็นขั้นต้นๆ ด้วย แสดงให้เห็นว่าห่างไกลกันมาก คฤหัสถ์รับเงินทองได้ไม่อาบัติเลย แต่เมื่อสละชีวิตของคฤหัสถ์ทรัพย์สินเงินทองทั้งหมด แล้วจะกลับรับได้อย่างไร ก็เป็นการผิดจากความตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ก็จะกล่าวว่าไม่มีภิกษุในในยุคนี้ที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยได้ แต่ว่าลืม ไม่รู้จักภิกษุ แล้วกล่าวอีกว่าถ้าประพฤติตามพระวินัย ก็เหมือนกับภิกษุในฝันคือไม่สามารถที่จะเป็นจริงได้เลย แต่ลืมพระธรรมเปลี่ยนแปลงไม่ได้ พระวินัยคือข้อประพฤติปฏิบัติ สิกขาคือศึกษาประพฤติปฏิบัติ บทคือข้อที่ประพฤติทางกายทางวาจา เยอะมากในเพศของบรรพชิต เปลี่ยนเพศจากคฤหัสถ์ซึ่งเต็มไปด้วยกิเลสทำอะไรก็ได้ แต่ฟังพระธรรมได้ เข้าใจได้ มาเป็นผู้ที่ขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตซึ่งสละความเป็นคฤหัสถ์จะมีชีวิตอย่างคฤหัสถ์อีกต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเงินทองไม่ควรแก่พระภิกษุแล้วก็เป็นอาบัติด้วย แม้อาบัติในขั้นต้น ขั้นต้นคือความประพฤติใดๆ ที่คฤหัสถ์เคยประพฤติ ถ้าบรรพชิตยังประพฤติเหมือนเดิมไม่ใช่ภิกษุ
ผูู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดว่าไม่รู้จักพระภิกษุ ผมไม่รู้จักจริงๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษาพระวินัยจะรู้ไหม ว่าพระภิกษุเป็นใคร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ เห็นคนที่รับเงินทอง เป็นภิกษุ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เข้าใจว่าเป็น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษาก็ยังคงคิดว่าเป็นพระภิกษุ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แต่ว่าพระภิกษุต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ แล้วพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่าอย่างไรในเรื่องเงินทอง แต่ชาวบ้านธรรมดายังไม่ต้องถึงการที่จะรู้ความละเอียดของพระวินัย ๒๒๗ ข้อ เพียงรู้ว่าพระภิกษุต่างกับคฤหัสถ์ ใช่ไหม เครื่องนุ่งห่มก็ต่างกัน ความประพฤติต้องต่างกันด้วยไหม หรือว่าต่างกันแต่เพียงเสื้อผ้า แต่ว่าความประพฤติยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ อย่างนั้นจะเป็นพระภิกษุหรือ เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ต้องเข้าใจถูกต้องว่าการเป็นพระภิกษุไม่ใช่เพียงแค่ อุปสมบท เพราะฉะนั้นพระภิกษุต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนี้แน่นอน รู้จักพระภิกษุ หรือยัง
ผู้ฟัง เริ่มรู้จัก อยากรู้จัก
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ายังไม่รู้ความละเอียดของศีล ๒๒๗ เพียงแค่รับเงินทองก็ไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย เพราะว่าก่อนบวชสละแล้วไม่ใช่ หรือ แล้วรับเงินทำไม ก็ต้องกลับมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์ ถ้ายังคงรับเงินทอง ทำกิจอะไร ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่เข้าใจพระธรรม แล้วบวชทำไม ซึ่งก็ขอเชิญคุณคำปั่นกล่าวถึงเรื่องสิกขาบทในข้อของเงินทอง
อ.คำปั่น ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงความเป็นพระภิกษุ ก็คือผู้ที่สละทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่คฤหัสถ์เป็น ทรัพย์สินเงินทอง วงศาคณาญาติทั้งหมดเลย มุ่งสู่เพศที่สูงยิ่งก็คือเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่เว้นทั่ว เว้นโดยประการทั้งปวง เว้นจากเครื่องติดข้อง อย่างที่คฤหัสถ์เป็น เว้นจากสิ่งที่ประพฤติไม่เหมาะไม่ควรทั้งหมด นี่คือความเป็นพระภิกษุ นอกจากนั้นความหมายของภิกษุ ก็หมายถึงผู้เห็นภัยในสังสารวัฎ เพราะว่าเป็นผู้ที่เห็นว่า ชีวิตเป็นไปด้วยภัยคือกิเลสมีแต่อกุศลธรรมทั้งหลายที่กลุ้มรุม ผู้ที่สะสมมาที่จะขัดเกลากิเลสในเพศที่สูงยิ่ง ท่านก็เห็นว่าเพศที่ปลอดโปร่ง ก็คือเพศบรรพชิต ท่านจึงสละอาคารบ้านเรือนมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง ด้วยความเป็นผู้เห็นโทษเห็นภัยของกิเลสอย่างเช่นพระภิกษุในอดีต มีท่านรัฐปาละ เป็นต้น รวมไปถึงพระราชกุมารทั้งหลายที่สละความเป็นพระราชามุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง โดยไม่ติดข้องในสิ่งที่สละแล้วเลยแม้แต่น้อย
แล้วก็อีกความหมายหนึ่ง ที่ปรากฏในอรรถกถา ก็คือผู้ใกล้ชิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่ามีความประพฤติคล้อยตามความเป็นไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าพระองค์เป็นเพศบรรพชิต สละอาคารบ้านเรือน ผู้ที่เป็นภิกษุก็ต้องมีความประพฤติเหมือนอย่างพระองค์ก็คือสละทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็พร้อมที่จะได้รับฟังพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงแสดง นี่คืออีกความหมายหนึ่ง แล้วที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงสิกขาบท หมายถึงบทที่จะต้องศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ว่าสิ่งที่พระองค์คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้นมีความละเอียดอย่างไร เพื่อที่จะได้น้อมประพฤติได้อย่างถูกต้อง คือเว้นไม่ประพฤติในสิ่งที่ผิด และก็น้อมประพฤติเฉพาะในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น อย่างเช่นในสิกขาบทที่กล่าวถึงการไม่รับเงิน และทอง แม้เพียงเล็กน้อย เงินไม่มากเลยก็ไม่ควรแก่ความเป็นพระภิกษุ ซึ่งก็มีต้นบัญญัติก็คือท่านอุปนันทศากยบุตร ก็เป็นผู้ที่ เข้าไปรับอาหารจากตระกูลประจำ คือนิมนต์ไว้เพื่อไปรับภัตตาหารประจำ อุบาสกก็จะเตรียมอาหารไว้โดยตลอด แต่ว่ามีอยู่วันหนึ่ง ว่าจะเตรียมทำอาหารถวายแก่ พระอุปนันทศากยบุตรด้วยเนื้อชนิดหนึ่ง แต่ปรากฏว่าก่อนหน้านั้น เด็กในบ้านก็อยากจะกินเนื้อก็เลยให้เนื้อนี้แก่เด็กๆ ไปกินก่อน แล้วก็คิดว่าวันรุ่งขึ้นจะเอาเงินไปซื้อ พอพระอุปนันทะ มาก็ได้ทราบว่า เนื้อไม่มีแล้วแต่ว่าจะเอาเงินไปซื้อมาทำใหม่ เพราะอุปนันทะได้ยินคำว่าเงิน ก็ถามกับอุบาสกว่าท่านจะถวายเงินแก่เราหรือ คือได้ยินคำว่าเงิน ที่จะเอาไปซื้อเป็นเนื้อมา คือก็หมายความว่าถ้าจะซื้อเป็นเนื้อมา ก็ถวายเงินแก่อาตมาก็แล้วกัน แสดงถึงความเป็นผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ซึ่งอุบาสกเป็นผู้ที่มีความเข้าใจ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ต่อหน้าเลย ต่อหน้าพระอุปนันทศากยบุตรเลยว่า พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ผู้เป็นสมณะเชื้อสายศากยบุตร ทำอย่างนี้ได้อย่างไร กล่าวต่อหน้าเลย ในสิกขาบทแสดงไว้ ว่ากล่าวติเตียนต่อหน้าเลยว่าเป็นความประพฤติที่ไม่เหมาะไม่ควร แล้วก็กล่าวกระจายข่าว โพนทะนาให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าความประพฤติเช่นนี้ไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต ความนี้ก็ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประชุมสงฆ์แล้วก็ตรัสถาม พระอุปนันทศากยบุตรว่าเธอประพฤติอย่างนี้จริงหรือ เธอรับเงินจริง หรือ ก็ได้รับคำตอบว่ารับจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิติเตียนโดยประการต่างๆ มากมายว่า ความประพฤติที่เธอกระทำนั้นไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง ไม่เหมาะควรแก่ผู้ที่ สละอาคารบ้านเรือนมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง แล้วไม่ควรเลย เป็นไปเพื่อความพอกพูนกิเลส อกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้คนเลยแม้แต่น้อย พระองค์ก็เลยทรงบัญญัติสิกขาบทด้วยความเห็นชอบของหมู่สงฆ์ที่ประชุมกันนั้นว่า ใครก็ตามที่บวชเข้ามาแล้วรับเงิน และทอง เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นอาบัติมีโทษซึ่งจะต้องมีการสละในท่ามกลางสงฆ์ จึงจะแสดงอาบัติได้ พ้นจากอาบัตินั้น นี่เพียงสิขาบทอย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวก็คือเพียงต้นๆ ยังทำไม่ได้เลย รับเงิน และทองไม่ได้ แล้วก็น่าพิจารณาอีกอย่างหนึ่งก็คือผู้ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกาในครั้งนั้น เป็นผู้ที่เข้าใจธรรม จึงสามารถที่จะกล่าวให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วยว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร แม้มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ราชบริษัท กล่าวกันว่าเงินทองควรแก่เพศบรรพชิต แต่ว่าก็มีบุคคลท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจธรรม ก็คือนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ กล่าวเลยว่าพระภิกษุท่านสละอาคารบ้านเรือนแล้ว ท่านสละเงิน และทองแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงรับเงิน และทองไม่ได้ นี่ก็เป็นความเห็นของผู้ที่เข้าใจ ก็สามารถที่จะกล่าวอธิบายให้ผู้อื่นได้ยินได้ฟังตามความเป็นจริงได้ และพระพุทธพจน์คือพระดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสก็คือ "เราไม่เคยกล่าวด้วยว่าให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสวงหาเงิน และทองโดยประการใดๆ เลย " ไม่มีเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีความเคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะต้องเคารพ ศึกษาในพระธรรมวินัยแล้วก็น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ประพฤติในสิ่งที่ผิดเพราะว่าเป็นโทษโดยส่วนเดียว ก็อย่างที่ได้กราบเรียนท่านอาจารย์เมื่อวาน ว่าความเป็นบรรพชิตถ้ารักษาไม่ดีมีแต่จะฉุดคร่าไปสู่ที่ต่ำอย่างเดียว แม้อาบัติเพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษเป็นเหตุที่ทำให้ผู้นั้น ซึ่งยังไม่ได้แสดงอาบัติ ถ้าหากว่ามรณะภาพลงก็คือตายไป ภพหน้าก็คืออบายภูมิ ไม่มีเว้นเลย แม้ว่าบางท่านจะประพฤติ ปฏิบัติธรรมมามาก แต่ว่าเพียงล่วงสิกขาบทเพียงข้อเดียว แต่ว่าไม่ได้แสดงอาบัติ ท่านละจากโลกนั้นไปก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน นี่คือเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก จากความเป็นมนุษย์จากเพศที่สูงยิ่ง แต่ว่าภพต่อไปตกไปสู่ที่ต่ำ น่ากลัวมากเลย ก็กราบท่านอาจารย์
ผู้ฟัง แปลว่าเรานึกว่าเราทำบุญด้วยเงิน อาจจะทำให้ท่านไปสู่อบาย ถ้าเข้าใจแบบนี้ใช่ไหม แล้วก็ได้ยินอีกอย่างอาจารย์ ถ้าท่านอาบัติ ท่านก็ปลงอาบัติได้ ก็ไม่เป็นไรเราก็ใส่ไปก่อน
ท่านอาจารย์ คิดง่ายๆ ถ้าใครคิดว่าเงินทองควรแก่พระภิกษุ ค้านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รึเปล่า
ผู้ฟัง ค้าน
ท่านอาจารย์ แล้วกล้าที่จะค้านไหม
ผู้ฟัง ถ้าไม่ได้ศึกษา เขาค้านกันอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก ที่ทรงบัญญัติพระวินัยก็เพื่อให้ภิกษุอยู่ด้วยกันด้วยความผาสุขทุกข้อทุกประการแก่เพศของบรรพชิต เพราะเหตุว่าเงินทองควรแก่ผู้ใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่เราพูดว่าเช้านี้ ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน เสียงต่างๆ รูปต่างๆ ทางจมูกได้กลิ่นทางลิ้นลิ้มรส ทางกายกระทบสัมผัสเย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง ตึงไหวบ้าง ถ้าเงินเป็นแต่เพียงกระดาษ ไม่สามารถที่จะนำมาซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ จะมีประโยชน์ไหม เอาเงินมากองท่วมจักรวาล แต่ว่าทำอะไรได้ไหม จะเอาไปซื้ออะไรก็ไม่ได้เพราะเป็นแค่กระดาษ แต่เพราะเหตุว่าเงิน และทอง สมบัติเงินทองทั้งหลาย จะเป็นธนบัตรจะเป็นอะไรก็ตามแต่ทั้งหมด นำมาซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส กระทบสัมผัสได้ แต่พระภิกษุเป็นผู้ที่ได้ฟังพระธรรม แล้วก็รู้จักตนเองที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ไม่มีใครไปบังคับใครให้บวช ยุคนี้สมัยนี้ มีคนขอให้คนอื่นบวชเพื่อครบจำนวน ตามที่ได้ทราบขาดไปหนึ่งคนขอให้ใครก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจพระธรรมวินัยเลย เขาก็บอกว่าเขาไม่รู้ ก็ขอให้เขาบวช มีหรือในพระพุทธศาสนา แสดงว่าดูหมิ่นความเป็นภิกษุว่าใครก็ได้ บวชได้ทั้งนั้น แต่ว่า ตามความเป็นจริง สิ่งที่บริสุทธิ์ยิ่งคือพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามเป็นผู้บริสุทธิ์ยิ่ง แม้แต่การที่ต่างกันเป็นคฤหัสถ์ และบรรพชิต ทำไมคฤหัสถ์กราบไหว้บรรพชิต เพราะรู้จุดประสงค์ว่าท่านบวชเพื่ออะไร เพื่อศึกษาธรรม เพื่อประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยตั้งแต่ตื่นจนหลับ แม้แต่การที่จะบริโภคอาหารต้องพิจารณาก่อน เห็นไหมต้องรู้คุณเลยว่าไม่ใช่บริโภคเพื่อเล่น เพื่ออะไรทั้งสิ้น เพื่อดำรงชีวิตที่จะได้ศึกษา และประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ควร กราบไหว้ไหม เพราะคฤหัสถ์เข้าใจถูกต้อง แต่ถ้าคฤหัสถ์ไม่รู้จักพระภิกษุ คือไม่รู้ว่าใคร บวชทำไมก็ไม่รู้ แล้วได้รับอะไรจากพระภิกษุ พระภิกษุในครั้งนั้น อบรมเจริญปัญญา เมื่อพระผู้มีพระภาค ส่งพระภิกษุไปประกาศพระศาสนา ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกเท่าไหร่ แต่ละคำที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์กราบไหว้ในคำ ที่เป็นความเห็นถูก ที่ได้รับจากพระภิกษุซึ่งศึกษาประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์จึงรู้ว่าใครเป็นภิกษุ และใครไม่ใช่ภิกษุ แล้วจะกราบไหว้ผู้ที่เพียงแต่บวช แต่ไม่ได้ศึกษาธรรมเลย และไม่ประพฤติปฏิบัติตามธรรมเลย แล้วคฤหัสถ์ซึ่งไม่เข้าใจธรรมวินัยเลย ก็กลับสนับสนุนส่งเสริม กล่าวว่าพระภิกษุจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีเงิน คิดว่าผู้ที่จะเป็นอย่างนี้ ไม่รับเงินรับทองเป็นภิกษุในฝัน แต่ความจริงภิกษุในฝันไม่มีภิกษุในอุดมคติ อุดมการณ์ก็ไม่มี มีแต่ภิกษุในพระธรรมวินัย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 841
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 842
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 843
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 844
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 845
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 846
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 847
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 848
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 849
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 851
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 852
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 854
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 855
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 857
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 858
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 860
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 900