ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
ตอนที่ ๘๙๗
สนทนาธรรม ที่ สวนสามพราน ริเวอร์ไซด์ จ.นครปฐม
วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ ขณะที่ได้ยิน กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ อะไรเป็นนามธรรมอะไรเป็นรูปธรรม เป็นเราหรือเปล่าที่ได้ยิน
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ อย่าลืมทั้งหมดไม่ใช่เรา เป็นธรรม กำลังเห็นเป็นเรา หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นก็คือเห็น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อะไรเป็น
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมคิด เป็นเราคิดรึเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ต่อไปนี้มั่นคงขึ้น แต่ถ้าถามให้ละเอียดว่าขณะนี้กำลังได้ยิน เป็นธรรมอะไร เสียงกับ
ผู้ฟัง มีการได้ยิน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีได้ยินเสียง แต่เสียงเป็นรูปธรรม ได้ยินเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เราได้ยิน มั่นคงหรือยัง
ผู้ฟัง มั่นคงขึ้นมาหน่อยแล้ว
ท่านอาจารย์ มั่นคงขั้นฟัง แต่ตราบใดที่ได้ยินแล้วไม่รู้อย่างนี้ ตรงนั้นก็คือว่ายังเป็นเราได้ยิน เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปนั่งทำอย่างอื่นเลย แต่ฟังพระธรรมจนกระทั่งเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง แสดงว่าเสียงที่ไม่ได้เห็นเป็นรูปแบบนี้ ก็นับเป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ พอพูดถึงรูปธรรม คนคิดว่าเป็นรูปภาพที่มองเห็น
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แต่ว่าความจริงไม่ใช่ เพราะฉะนั้นคนไทยเราเอาคำภาษาบาลีมาใช้แต่ไม่ได้เข้าใจความหมายเลย เพราะฉะนั้นก็คลาดเคลื่อนผิดไป สมัยนี้อาจจะพูดว่ายังไม่เป็นรูปธรรม รูปธรรมก็ต้องเป็นรูปธรรม แต่เพราะไม่รู้จักคำว่าธรรม ไม่รู้จักคำว่ารูปธรรม ก็เอาคำว่ารูปธรรมมาใช้ แต่ไม่ตรงความหมายเดิม เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ในขณะศึกษาธรรมซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสไว้เป็นภาษามคธี ดำรงพระศาสนา มั่นคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกชาติก็ต้องเข้าใจในภาษาของตน ของตน เพราะฉะนั้นเริ่มจากธรรมคือสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงเคยคิดอย่างไรก็ทิ้งไปเลย ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าสิ่งที่มีจริงต่างกันเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท คืออย่างหนึ่งก็มีแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย จริงไหม ฟังแล้วต้องไตร่ตรอง ไม่ใช่เชื่อ มีไหม มี สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่มีการเกิดขึ้นไม่สามารถจะรู้อะไรได้เป็นรูปธรรมทั้งหมดไม่เว้นเลย มองเห็น หรือไม่มองเห็น เสียง รู้ได้ว่ามี เป็นเสียงมองไม่เห็นก็เป็นรูปธรรม กลิ่นมองไม่เห็นเลย แต่ว่ากลิ่นปรากฏเมื่อมีสภาพที่รู้กลิ่น เพราะฉะนั้นกลิ่นไม่ใช่สภาพรู้ กลิ่นเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นขณะที่ได้ยินเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร
ผู้ฟัง ได้ยินเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ได้ยินเป็นนามธรรม เพราะกำลังได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นได้ยินไม่ใช่เสียง ต้องแยกขาดจากกัน ประมาทธรรมไม่ได้เลยนคิดว่าเข้าใจแล้ว เพียงได้ฟังไม่พอ ต้องไตร่ตรองจนกระทั่งมั่นคง เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังได้ยินเสียง รู้ความหมายของเสียง หรือเปล่า
ผู้ฟัง เคยได้ยินคำว่าสัญญา
ท่านอาจารย์ อย่าลืม จำกับเข้าใจต่างกันแล้ว เป็นนามธรรมคนละชนิดแล้ว เพราะฉะนั้นได้ยินใครเขาบอก เขาบอกถูกหรือเปล่า
ผู้ฟัง ดิฉันอ่านจากในพระไตรปิฎก
ท่านาอาจารย์ แต่ว่าไม่ละเอียดพอ เพราะฉะนั้นก็คิดเองส่วนใหญ่เป็นเราอ่านเราคิด แต่ว่าเพียงแค่ได้ยินเสียงกับเข้าใจความหมายของเสียงก็ต่างกัน เพราะได้ยินแล้วไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไรก็ได้ เพราะฉะนั้นได้ยิน ได้ยินจริงๆ แต่ว่าได้ยินแล้ว ขณะที่เข้าใจความหมายเป็นนามธรรม คิดไม่ต้องกลัวถูกผิด แต่ให้รู้ว่าความคิดของเรา เริ่มที่จะค่อยๆ น้อมไปเกือบจะถูกทั้งหมด แต่ว่าไม่มั่นใจ เพราะว่ายังไม่ได้ฟังจนทั่วทั้งหมดโดยละเอียดใช่ไหม เพราะฉะนั้นมีได้ยินนี่แน่นอนใช่ไหม พอได้ยินดับแล้วก็มีความเข้าใจ ซึ่งเพราะคิด ด้วยเหตุนี้จะมีการเข้าใจความต่างกันของเห็นกับคิด เห็นไม่รู้อะไรเลย แต่ว่าพอเห็นแล้วจำรูปร่างสัณฐาน สีสันต่างๆ ขณะนั้นก็คิด จำแล้วก็คิดด้วย ในความหมายของสิ่งที่เห็นทจึงบอกได้ทันทีเลยว่านี่ดอกกุหลาบ แค่เพียงเห็นบอกไม่ได้ แต่พอคิด จำ บอกได้เลยว่านี่ดอกกุหลาบ เพราะฉะนั้นพอได้ยินเสียง แค่ได้ยินบอกไม่ได้ บางทียังไม่ได้ฟังดีๆ เลย กำลังสนใจเรื่องอื่น พอใครพูด บอกพูดอะไร พูดใหม่สิ ใช่ไหม เพราะว่าแค่ได้ยิน แต่ไม่ได้คิดถึงเสียงคือความหมายของคำ
เพราะฉะนั้นนี่คือที่ว่าเป็นเราทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนตายก็เป็นธรรมแต่ละชนิด ซึ่งมีทางที่จะรู้สิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส ทางกายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทางใจแม้ไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เลยก็คิดได้ กลับไปบ้านไม่เห็นที่นี่เลยคิดได้ คิดถึงสิ่งที่เห็นแล้วได้ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าเห็นแล้วไม่ได้จบไปแค่เห็น คิดต่อทันทีไม่รู้ตัวเลย กลายเป็นเรารู้ว่าอะไร ความจริงเพราะคิดถึงรูปร่างสัณฐานทั้งหมดเลย อย่างเสียงแต่ละคำ เสียงแต่ละคำ เสียงทุกเสียงเป็นไปตามความหมาย เช่นพอบอกว่านามธรรม เราไม่เข้าใจผิดว่าเป็นรูปธรรม เพราะคำว่านาม คำนี้เสียงนี้หมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นพอได้ยินเสียงนี้ ก็เข้าใจความหมาย ก็เป็นการคิดซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ได้ยิน เพราะฉะนั้นความคิดจะติดตามทุกทางที่ปรากฏ พอเห็น และคิดทันทีเลย พอได้ยินแล้วก็คิดทันที แยกออกไหมระหว่างได้ยินกับเข้าใจความหมาย เกือบแยกไม่ออกเลย แต่ความจริงพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าระหว่างจิต ๒ จิต มีจิตอื่นเกิดดับคั่นมากมาย เพราะฉะนั้นใครรู้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง แล้วไหนเป็นเรา ไม่มีอะไรเลยสักอย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด ก็คือว่าแต่ละคำที่ได้ฟังก็ต้องทบทวนดูว่ามั่นคงหรือยัง รอบรู้หรือยัง คือไม่เปลี่ยนต้องเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง คำถามสุดท้าย ที่เรากำลังเรียนอยู่ ณ.ตอนนี้เขาเรียกว่าพระอภิธรรมใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อภิคืออะไร ธรรมรู้จักแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง รู้จัก
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริง แล้วอภิคืออะไร คุณสงบ
อ.สงบ อภิ แปลว่ายิ่งใหญ่ อภิธรรม ก็คือธรรมที่มีความละเอียด ลึกซึ้ง ที่เป็นจริงที่รู้ได้ยาก
ท่านอาจารย์ คุณกุลวิไลจะเพิ่มเติมไหม
อ.กุลวิไล พระธรรมที่ทรงแสดงนั้น แสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงซึ่งท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจใช่ไหม ว่าสภาพธรรมที่มีจริง มีทั้งที่เป็นธาตุที่ไม่รู้อะไร แล้วก็ธาตุที่รู้ด้วย มีอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่เราไม่ฟังพระธรรมเราไม่รู้ เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นอยู่ที่นี่มีธรรมไหม
ผู้ฟัง มี
อ.กุลวิไล แล้วอยู่ที่บ้านมีธรรมไหม
ผู้ฟัง มี
อ.กุลวิไล ทั้งหมดเป็นธรรม กราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เข้าใจ อภิธรรม แล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ ต่อเมื่อได้เข้าใจคำว่าธรรม คือสิ่งที่มีจริงนั้นแหละ ใครไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้เลย เป็น ปรม (ปะ-ระ-มะ) คนไทยใช้คำว่าบรม ยิ่งใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนได้ไหม เพราะทรงเป็นพระสัมผัสมาสัมพุทธเจ้า พุทธคือผู้รู้ ไม่ใช่ผู้เปลี่ยน ผู้รู้ความจริงถึงที่สุด เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงเคารพธรรม จะเคารพคนอื่นไหม เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีใครอีกเลยที่จะต้องเคารพนอกจากความเป็นจริงของธรรม ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าธรรม ตอนนี้ก็เข้าใจ ไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็เป็นปรม ปรมัตถธรรม ปรม กับ อัตถะ คือลักษณะของสภาพธรรมเปลี่ยนไม่ได้ แข็งเป็นแข็ง เย็นเป็นเย็น เพราะฉะนั้นธรรมทุกอย่างมีลักษณะเฉพาะของตน ของตน ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นปรมัตถธรรม แล้วก็ละเอียดมาก แม้แต่เมื่อครู่นี้ แค่ได้ยินกับคิดถึงความหมาย คือการเข้าใจความหมายของเสียง ก็ยังต้องรู้ว่าไม่ใช่จิตประเภทเดียวกัน จิตได้ยินเกิดขึ้นเพียงแค่ได้ยินเท่านั้นเอง นอกจากนั้นแล้วเป็นคิดทั้งหมด ขณะที่กำลังเห็น ชั่วขณะที่เห็นดับแล้วไม่รู้เลย นอกจากนั้นที่รู้ว่าเป็นอะไร ก็คือคิดทั้งหมด เพราะฉะนั้นอีกลักษณะหนึ่งของจิต ก็คือมากด้วยความคิด ไม่ได้อยู่เฉยๆ เลย ไม่เห็นก็ยังคิด ไม้ได้ยินก็คิดคิดตลอด แต่ว่าเกิดขึ้นคิดแล้วก็ดับคิดถึงสิ่งที่ไม่เคยเห็นได้ไหม
ผู้ฟัง ดิฉันเคยแต่ลักษณะของจินตนาการ
ท่านอาจารย์ ในสิ่งที่เคยเห็น ถ้าไม่มีอะไรปรากฏให้เห็นเลย จะไปจินตนาการได้อย่างไร แต่จินตนาการต่อจากที่เคยเห็น ก็คือถึงสิ่งที่เคยเห็นแล้วนั่นแหละ เพราะฉะนั้นไม่ว่าสวรรค์ โลกมนุษย์ พรหมโลกอบายโลก นรก หรืออะไรก็ตาม ทางที่จะรู้สิ่งที่ปรากฏให้รู้ว่ามีได้มี ๖ ทาง ทางตาคือเห็น ๑ ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นรู้รส ทางกายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทางใจคิดนึก ไม่ว่าอยู่ที่ไหน พันจาก ๖ โลกนี้ไม่ได้
สนทนาธรรม ที่ วัดคูหาสวรรค์ จังหวัดราชบุรี
วันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้เราก็ได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความนอบน้อม ด้วยกาย ด้วยวาจา ขณะนี้เราก็จะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจ คือด้วยการฟังพระธรรมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เพราะรู้ว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมีนานมาก ๔ อสงไขยแสนกัลป์สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งด้วยปัญญา นานมากกว่าจะได้ฟังแต่ละคำซึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้วตลอด ๔๕ พรรษา เพราะฉะนั้นไม่มีความเคารพใดๆ สูงสุดเหนือกว่าพระรัตนตรัย เพราะฉะนั้นผู้ฟังต้องเป็นผู้ที่ตรง รู้ว่าคำที่จะได้ฟังเป็นคำที่หาได้ยากยิ่ง แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นคำของผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น ทุกคำที่เป็นคำจริงเป็นคำของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นคำที่ละเอียดลึกซึ้ง ยากต่อการที่จะเข้าใจ และประพฤติปฏิบัติตาม เพราะเหตุว่าสัตว์โลกเป็นผู้ที่มากด้วยอวิชชา และความติดข้อง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วไม่น้อมพระทัยที่จะทรงแสดงธรรม ที่กล่าวอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ท้อถอย แต่ขณะที่ทรงเห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรมซึ่งมีมานานแสนนานในสังสารวัฎ แต่ไม่มีใครรู้ความจริงนอกจากผู้ที่บำเพ็ญพระบารมีเพื่อที่จะได้รู้ความจริง ไม่ใช่เฉพาะพระองค์เท่านั้นแต่ยังทรงพระมหากรุณา ที่จะให้ผู้อื่นซึ่งไม่สามารถที่จะรู้ความจริงด้วยตัวเอง ได้มีโอกาสได้รู้ด้วย เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมต้องไม่ลืม เคารพสูงสุดในพระรัตนตรัย พระพุทธรัตนะ ผู้ไม่มีผู้ใดเปรียบได้ในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ และในพระมหากรุณาคุณ ที่ได้ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกซึ่งไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าใจโดยการคิดเอง หรือคนอื่นจะบอกเล่า และความจริงที่ได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริงทุกกาลสมัยแม้เดี๋ยวนี้ แต่รู้ไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ ถ้าไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นพระธรรมก็เป็นธรรมรัตนะ ประเสริฐสุดมีค่ากว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น แต่ผู้ใดจะเห็นคุณค่าของพระธรรม ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้เข้าใจพระธรรม แต่ถ้าไม่ได้เข้าใจพระธรรมเลย จะคิดหรือว่ามีทรัพย์สมบัติใดในโลก ซึ่งไม่สามารถที่จะเปรียบได้กับแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระมหากรุณาให้ผู้อื่นได้ฟัง ได้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อถึงความเป็นพระสังฆรัตนะ ถึงจะเป็น ไตรรัตนะได้
ด้วยเหตุนี้ ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่าแต่ละคำที่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เหมือนคำของคนอื่น ถ้าเหมือนคำของคนอื่นก็ไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่เคยคิดว่าเข้าใจแล้ว ฟังคนโน้นบ้างฟังคนนี้บ้าง หนังสือเล่มนั้นบ้างหนังสือเล่มนี้บ้าง คิดเองบ้าง ต้องตัดออกหมด เพราะท่านเหล่านั้นไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเหตุนี้ การศึกษาธรรม ไม่ใช่ฟังเผิน เผิน ถ้าฟังเผิน เผิน แล้วจะเข้าใจผิด แต่ว่าแต่ละคำมีความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ละเอียดอย่างยิ่งสามารถที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งที่มีทุกขณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ ด้วยเหตุนี้น ตัดความรู้ความคิดเองเดิมๆ หมด แล้วก็เริ่มศึกษาแต่ละคำให้เข้าใจจริงๆ ว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีผู้อื่นสามารถที่จะกล่าวได้เลยนอกจากพระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วเมื่อไหร่ จึงได้ตรัสคำจริงวาจาสัจจะซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงเลย
ด้วยเหตุนี้ แต่ละคนต้องรู้จริงๆ ว่าจะเห็นค่าของพระธรรมต่อเมื่อได้ฟังพระธรรม บางคนไม่ฟังเลย เพราะไม่เห็นค่า ถ้าไก่ได้พลอยได้เพชร มีประโยชน์สำหรับไก่ไหม ทั้งๆ ที่เป็นเพชรเป็นพลอยไม่เห็นค่าเลย ฉันใดคนที่คิดว่าแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีค่าเหมือนคำอื่นๆ ทั่วๆ ไป บางท่านถึงกับกล่าวว่าไม่ต้องศึกษาพระธรรม นั่นแสดงชัดเจนว่าบุคคลนั้น ไม่เข้าใจธรรมแล้วก็ไม่เห็นคุณค่าของพระธรรมเลย ด้วยเหตุนี้ตั้งต้น ตั้งแต่คำว่าธรรม เข้าใจแค่ไหน ธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริง เดี๋ยวนี้กำลังมี ใครรู้ขณะนี้ว่าอะไรเป็นธรรมบ้าง ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมมาก่อน แต่ถ้าได้เริ่มฟังพระธรรมแล้ว ก็จะค่อยๆ เข้าใจจากพระธรรมที่ทรงแสดงว่า ขณะนี้เห็นมีจริง ธรรมดาไหมใครๆ ก็เห็นทั้งนั้น แต่ใครจะรู้บ้างว่าความจริงของเห็นคืออะไร ได้ยินก็มีจริง เมื่อเช้านี้ หรือขณะนี้อาจมีการได้กลิ่น ก็มีจริง มีการรับประทานอาหาร มีการรู้รส ลิ้มรสก็มีจริง มีการกระทบสัมผัส เดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว แล้วก็มีการคิดนึก มีสุขมีทุกข์ทั้งหมด มีใครรู้บ้างว่าพระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อตรัสรู้ความจริง ของสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน และตรัสไว้ในพระสูตรว่า เห็น และสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเดี๋ยวนี้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ได้ยิน และเสียงที่กำลังมีจริงขณะนี้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ขณะใดที่กลิ่นปรากฏมีการรู้กลิ่นขณะนั้นเอง เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ขณะใดที่ลิ้มรสอาหาร เมื่อไหร่ ที่ไหน เช้าสายบ่ายค่ำ รส กับธรรมที่กำลังรู้รส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ทางกายเดี๋ยวนี้เอง ธรรมดา เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง แม้แต่การคิดนึกซึ่งวนเวียนอยู่กับสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทุกวัน ตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อวานนี้ก็เห็นแล้วก็คิด วันก่อนโน้นก็เห็นแล้วก็คิด วันนี้ก็เหมือนกัน เหมือนเมื่อวานนี้เลย ตื่นขึ้นมาก็มีเห็น แล้วมีคิดต่างๆ ทั้งหมด ไม่มีอะไรอื่นนอกจากนี้ เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เพราะมิฉะนั้นแล้วจะรู้อะไร
ด้วยเหตุนี้ การฟังธรรม จึงรู้ว่าทุกคำ ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มี โดยการที่ตรัสว่าสิ่งที่มีจริงนี้แหละ ภาษาบาลีใช้คำว่าธรรม เพราะฉะนั้นภาษาไทยเห็นเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม คิดเป็นธรรม โกรธเป็นธรรม ทั้งหมดเลย กำลังเสียใจร้องไห้เป็นธรรม กำลังสนุกสนานรื่นเริงเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แค่นี้ใครรู้แล้วบ้าง อนัตตา ตรงกันข้ามกับ อัตตา อัตตาหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ยั่งยืน เดี๋ยวนี้เห็นไม่ได้ดับไปเลย นี่คือสิ่งซึ่งถ้าใครไม่ได้ฟังด้วยความเคารพอย่างยิ่ง จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก่อนอื่น เป็นผู้ที่ไม่ต้องรีบร้อนที่จะไปรู้ความจริง หรือทำอะไรขึ้นมา ซึ่งไม่เป็นเหตุเป็นผล แต่ต้องเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ ละความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ผมมีวิธีที่จะปฏิบัติในแนวทางของสติปัฎฐาน ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนไว้ได้อย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ โกรธมีจริงไหม
ผู้ฟัง ปกติแล้วไม่มี ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ แต่ว่าเมื่อเกิด โกรธก็เป็นโกรธ เป็นอื่นไม่ได้ ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นใครทำให้โกรธเกิด หรือเปล่า
ผู้ฟัง มีเหตุการณ์บางอย่างมากระทบจิต แล้วก็ไม่พอใจ แล้วก็โกรธ แต่ว่าไม่เข้าใจว่าทำไมต้องโกรธ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องถึงกับไม่เข้าใจว่าทำไมต้องโกรธ เพียงเข้าใจโกรธก่อน โกรธมีจริงๆ ถูกต้องไหม สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม หรือเปล่า ใช้คำ ๒ คำเหมือนกัน แต่ในต่างภาษา ถ้าภาษาไทยก็บอกว่าสิ่งที่มีจริงๆ มีลักษณะอย่างนั้น จึงกล่าวว่าเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น ถ้าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งคือภาษามคธี ซึ่งดำรงศาสนาจึงใช้คำว่าปาละ หรือบาลี ถ้าเป็นภาษาบาลีก็ใช้คำว่าธรรม แต่ถ้าเป็นภาษาไทยก็หมายความว่าสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นโกรธมีจริงไหม
ผู้ฟัง โกรธมีจริง
ท่านอาจารย์ โกรธเป็นธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ โกรธเป็นอนัตตา หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะหาวิธีอะไรที่จะไม่ให้โกรธได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เลิกหาวิธีเพราะเหตุว่าเพราะไม่รู้จักโกรธ แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าเข้าใจธรรมแต่ละหนึ่ง เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นนั่นคือหนทางที่จะไม่โกรธ แต่ไม่ใช่ด้วยความไม่รู้ และด้วยความต้องการไปแสวงหาวิธีอย่างไร ก็ยังต้องโกรธ เพราะขณะที่ต้องการไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความจริง เป็นตัวเราเป็นตัวตน ซึ่งเป็นอัตตา เพราะฉะนั้นคำ ๒ คำนี้ต่างกันมาก อัตตากับอนัตตา อัตตาหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เหมือนเที่ยง ไม่ได้หายไปเลย เช่นเห็นดอกไม้ เห็นโต๊ะ เห็นแก้ว เหมือนเที่ยงใช่ไหม แต่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าไม่มีเห็นจะมีการคิดถึงรูปร่างสัณฐาน จะจำได้ไหมว่าเห็นอะไร นี่ก็เป็นความที่เริ่มละเอียดขึ้น ซึ่งไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า กว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ต้องบำเพ็ญความเพียรเพื่อที่จะให้เรา เริ่มเป็นคนที่ละเอียด เป็นคนที่รู้ความลึกซึ้งของธรรม เพราะฉะนั้นพอฟังธรรม อยากจะไม่โกรธ ลึกซึ้งไหม รู้จักธรรมหรือยัง ถ้ารู้จักธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา อนัตตาหมายความว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ใช่ของใคร เพราะสิ่งนั้นมีปัจจัยเกิดแล้วดับ ดับแล้วจะเป็นของเราได้อย่างไร แล้วเวลาที่เกิดก็ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจคำเดียวคือคำว่าอนัตตา ก็คือเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้เห็นแล้วใช่ไหม ทำให้เห็นหรือเปล่า เห็นเกิดแล้ว ก่อนที่เห็นจะเกิดไปทำให้เห็นเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้ทำ
ท่านอาจารย์ ได้ยินไหม
ผู้ฟัง ได้ยิน
ท่านอาจารย์ ไปทำให้ได้ยินเกิดรึเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้ทำให้ได้ยิน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นไม่ใช่เราใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ได้ยินไม่ใช่เราใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ไปทำให้โกรธเกิดรึเปล่า
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 841
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 842
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 843
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 844
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 845
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 846
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 847
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 848
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 849
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 851
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 852
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 853
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 854
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 855
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 856
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 857
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 858
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 859
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 860
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 861
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 862
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 863
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 864
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 865
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 866
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 867
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 868
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 869
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 870
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 871
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 872
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 873
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 874
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 875
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 876
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 877
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 878
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 879
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 880
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 881
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 882
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 883
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 884
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 885
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 886
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 887
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 888
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 889
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 890
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 891
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 892
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 893
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 894
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 895
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 896
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 897
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 898
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 899
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 900