ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
ตอนที่ ๙๑๐
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้ฟัง เรียนท่านอาจารย์สุจินต์ และคณะวิทยากรครับ ถ้าพูดถึงเรื่องของจิตเจตสิกรูป และนิพพาน ผมก็มาสนใจตรงที่เจตสิก เจตสิกมีลักษณะ มีรส มีปัจจุปัฏฐาน มีปทัฏฐาน ผมยังไม่ค่อยเข้าใจในลักษณะ ๔ ประการนี้ ขอให้อาจารย์ช่วยอธิบายให้ฟัง
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักสภาพธรรมที่เป็นจิตเป็นเจตสิกเป็นรูป ก็ต้องอาศัยการไตร่ตรองพิจารณาในขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ เพราะว่าถ้าขณะนั้นสภาพธรรมนั้นไม่ปรากฏ เราก็เพียงแต่พยายามคิดหาว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร แต่ว่าขณะใดก็ตามที่สภาพธรรมนั้นปรากฏลักษณะที่ปรากฏนั้นเองทำให้เข้าใจได้ เช่นความโกรธ ทุกคนเคยโกรธ แต่ว่าไม่เคยรู้ว่าไม่ใช่เราเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิตเมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะเกิด ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะเกิดก็เกิดไม่ได้สักอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นแม้แต่ลักษณะของความโกรธ ถ้าเราจะไม่ตามตัวหนังสือเราก็จะรู้ว่า มีลักษณะที่ดุร้าย หยาบกระด้าง ขุ่นเคือง ไม่พอใจ ลักษณะทั้งหลายแล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมประเภทใด ลักษณะของโทสะเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกหนึ่งในเจตสิก ๕๒ ก็เป็นอย่างนั้นเวลาที่ปรากฏชัดเจน แต่เวลาที่ไม่ปรากฏ เราจะไปคิดถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้นก็ยาก แล้วก็การที่จะรู้ว่าเจตสิกแต่ละหนึ่งมีลักษณะ และก็มีกิจเฉพาะของเจตสิกนั้น มีอาการปรากฏ และมีเหตุใกล้ให้เกิด เราคงจะไม่ไปหาครบ ทั้ง ๕๒ เจตสิกเพราะเหตุว่าแม้แต่เจตสิกหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก ก็ยากที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่เรา ข้อสำคัญที่สุด คือศึกษาธรรมได้ยินชื่อจิต เจตสิก รูป แต่ลืมว่าไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรานั่นแหละที่กำลัง พยายามคิดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เพราะฉะนั้นขณะนั้น ก็ไม่รู้ว่ามีวิริยเจตสิกความเพียรเกิดขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าสภาพธรรมใดไม่ปรากฏกับสติ และปัญญาขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงกันคิดค้นหาไตร่ตรองที่จะรู้ว่า สภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุด ก็คือว่าจะเข้าใจลักษณะของจิตเมื่อรู้ว่าจิตไม่ใช่เรา จะเข้าใจลักษณะของเจตสิกแต่ละเจตสิก ก็คือเมื่อรู้ว่าเจตสิกนั้นๆ ไม่ใช่เรา แม้แต่รูปแต่ละรูป ที่จะเข้าใจว่าไม่ใช่เรา ก็ต่อเมื่อรูปนั้นปรากฏเช่นแข็ง มี ไม่เคยคิดที่จะรู้จักแข็งว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เกิดแล้วปรากฏในสังสารวัฏฎ์แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย เช่นเดียวกับสภาพธรรมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดหรือว่าเจตสิกประเภทใด
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ถ้ารู้หลักว่าเพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นธรรมจริงๆ เพื่อที่จะเข้าใจคำว่าธรรมชัดเจนว่า ธรรมเป็นธรรมจะเป็นอย่างอื่นใดไม่ได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าคิดถึงพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงตรัสรู้สภาพธรรมทั้งหมด แล้วเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ทรงพระมหากรุณาแสดงธรรมแต่ละคำมาจากพระปัญญาที่ทรงตรัสรู้ และการที่เราจะเข้าถึงความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ก็จากคำที่พระองค์ตรัส ให้รู้ว่าพระองค์รู้อย่างนี้ พระองค์ตรัสรู้อย่างนี้ว่าเห็นขณะนี้มีจริงๆ เห็นขณะนี้เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ถ้าเราจะไม่ใช้คำว่าธรรมก็หมายความถึงสิ่งที่มีจริงในขณะนั้นคือเห็น หรือในขณะนี้ก็เห็นอย่างนี้ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จึงได้ทรงแสดงว่าเห็นไม่ใช่เรา เห็นเป็นสิ่งที่มีจริงชั่วขณะที่เกิดขึ้นเห็น แล้วก็ดับไปเพื่อที่จะละคลายความติดข้องความไม่รู้ และก็ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ต้องรู้จุดประสงค์เพื่อเข้าใจถูกต้องว่าเป็นธรรม และโดยเฉพาะธรรมมีตลอดเวลา แต่ไม่รู้ตลอดเวลา จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมจึงรู้ว่าที่ไม่เคยรู้มาก่อนเป็นธรรมทั้งหมด ไม่ต้องไปหาธรรมที่ไหนเลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นจิต หรือเจตสิก หรือรูปกำลังมีเดี๋ยวนี้พร้อมที่จะให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเพื่อที่จะถึงวันหนึ่ง ซึ่งมีความเข้าใจชัดเจนมั่นคงว่าไม่ใช่เราเลยสักอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นลักษณะของจิต ไม่ว่าจะเป็นสภาพซึ่งเป็นธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ แล้วก็มีกิจ และก็มีอาการปรากฏ มีเหตุใกล้ให้เกิด ก็ขณะที่เข้าใจว่าเป็นธรรมค่อยๆ เข้าใจขึ้น และลักษณะนั้นก็จะปรากฏ การศึกษาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้สภาพธรรมโดยละเอียดยิ่งโดยประกาศรับทั้งปวง เพราะว่าพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เรายังไม่รู้เลยยังไม่เข้าใจธรรมเลย ยังไม่ได้เข้าใจเห็น ได้ยิน ทุกอย่างในชีวิตประจำวันว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง
เพราะฉะนั้นเมื่อรู้แต่ละหนึ่งแล้ว ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้น รู้ในกิจ หรือรู้ในลักษณะอาการที่ปรากฏ อย่างจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ก็เดี๋ยวนี้ ธรรมดาอย่างนี้ไม่ผิดปกติ ถ้าสามารถที่จะรู้นี่แหละคือธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังเห็นปกติอย่างเดี๋ยวนี้เลยเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นอาการปรากฏของจิตก็คือการเกิดดับสืบต่อถ้าจิต ๑ ขณะเกิดแล้วดับไปแล้วไม่มีจิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ไม่มีทางที่จะเข้าใจว่าธาตุรู้ที่กำลังเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นแม้ว่าจิตจะเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏก็มีการเกิดดับสืบต่อ มีอาการปรากฏให้รู้ว่ามีจิต ถ้าไม่มีการเกิดดับสืบต่อ ก็ไม่รู้ว่ามีจิต และสำหรับเหตุใกล้ที่จะทำให้เกิดจิตก็คือเจตสิก ซึ่งแยกกันไม่ออกเลย ถ้าเจตสิกไม่เกิดจิตก็เกิดไม่ได้ ถ้าจิตไม่เกิดเจตสิกก็เกิดไม่ได้แต่เดี๋ยวนี้ใครรู้ กำลังเป็นอย่างนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการฟังธรรมคือฟังจนกระทั่งเข้าใจขึ้น ฟังบ่อยเท่าไหร่ ซ้ำเท่าไหร่ก็เพื่อที่จะให้เริ่ม ค่อยๆ เข้าใจถูกต้อง เพราะว่าเคยยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรามานานมากด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ความจริงก็ต้องอาศัยกาลเวลาที่ประมาณไม่ได้ แล้วแต่ว่าปัญญาพร้อมที่จะเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น มากน้อยเท่าไหร่
อ. วิชัย กราบท่านอาจารย์ถ้ากล่าวถึงจิต ก็โดยลักษณะของจิตคือเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์แต่ว่าเจตสิกก็มีความต่างๆ กันออกเป็นประเภทต่างๆ และที่จะกล่าวว่าการที่จะรู้ลักษณะของธรรมก็ต่อเมื่อรู้ว่าไม่ใช่ตัวเรา อย่างเช่นถ้ากล่าวถึงเจตสิก หนึ่งคือผัสสเจตสิก ก็กล่าวถึงว่ามีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ซึ่งถ้ากล่าวถึงผัสสะ ก็ประกอบกับจิตทุกประเภทไม่ว่าจะจิตประเภทใดก็ตาม ถ้ากล่าวถึงการเห็นการที่จะรู้เข้าใจลักษณะของผัสสะคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็จงใจอีกแล้วที่จะเข้าใจผัสสะ เป็นเรื่องของธรรมซึ่งจะต้องเป็นอนัตตาตลอดไป ถ้าเป็นเรา ก็มีแต่การอยาก หรือต้องการจะรู้ตรงนั้นตรงนี้ซึ่งความต้องการไม่สามารถที่จะทำให้รู้ได้เลยด้วยเหตุนี้ ฟังที่ลืมไม่ได้คือธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาตั้งแต่คำแรก ถึงที่สุดด้วยความเข้าใจว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่ว่าจะเมื่อไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นหนทางนี้เป็นหนทางของอนัตตา หมายความว่าไม่มีเราที่จะกะเกณฑ์ หรือที่อยากจะรู้ตรงนั้นตรงนี้ แต่ฟังให้เข้าใจอย่างเช่นคำว่าผัสสะ เป็นภาษาบาลี หมายความถึงเจตสิกที่กระทบสิ่งที่กำลังปรากฏ เกิดพร้อมจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมจิต นี่ก็เป็นความละเอียดขึ้น
เพราะฉะนั้นธรรมในการเป็นเรื่องจริงในชีวิตประจำวันแต่แวะเริ่มเข้าใจขึ้นทีละเล็กที่ละน้อย ในขณะที่ฟังธรรมจนจบก็จะรู้ได้ว่าเข้าใจขึ้นไม่มากแต่ก็ได้ฟังบ่อยๆ ว่าเป็นธรรมแต่ความเข้าใจจริงๆ กว่าจะไปลบล้างการที่เคยไม่เข้าใจมาก่อน และการยึดถือก็ยาก
เพราะฉะนั้นถ้าไม่ลืมคำเมื่อครู่นี้ จิต และเจตสิกอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ถ้าเจตสิกไม่เกิดจิตก็เกิดไม่ได้ หรือถ้าจิตไม่เกิดเจตสิกก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นขณะนี้ได้ยินเสียง ได้ยินเป็นจิต มีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพราะขณะนั้น ที่กำลังได้ยินผัสสะกระทบเสียง และพร้อมกับจิตที่รู้เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันสภาพธรรมหนึ่งกระทบอารมณ์สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกันกับสภาพกระทบนั้นก็รู้อารมณ์ที่ผัสสะกระทบแยกกันไม่ได้เลยขณะที่แข็งปรากฏ จิต และเจตสิกเกิดขึ้นรู้แข็ง ผัสสะกระทบแข็ง จิตที่เกิดพร้อมผัสสะรู้แข็ง แล้วจะแยกอย่างไร
เพราะฉะนั้นฟังให้เข้าใจ เพื่อที่จะค่อยๆ เข้าใจในขั้นการฟังว่าไม่มีเราแต่เป็นธรรมทั้งหมด เป็นธรรมทั้งหมดทุกวันฟังอย่างนี้ จนกว่าจะเข้าใจไม่ว่าได้ยินคำว่าผัสสะ ก็รู้ว่าทันทีที่แข็งปรากฏ ผัสสะกระทบแล้วจิตรู้แล้ว แข็งดับแล้วทุกอย่างดับหมด เพียงแต่ว่ารูปดับช้ากว่าจิต รูปๆ หนึ่งจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปๆ นั้นดับไปแต่จะปรากฏไหม ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นในขณะที่ผัสสะกระทบแข็ง รู้แข็งขณะนั้นต้องมี ไม่งั้นแข็งก็ปรากฏไม่ได้ แต่ให้รู้ว่าในขณะที่แข็งปรากฏ ผัสสะกระทบ และจิตที่เกิดพร้อมผัสสะก็รู้ สภาพเจตสิกอื่นซึ่งเกิดพร้อมกับสภาพจิตที่รู้แข็ง ก็รู้แข็งอย่างเดียวกันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน เช่นผัสสเจตสิกเป็นหนึ่งในเจตสิก ๕๒ จิตรู้สิ่งที่ผัสสะกระทบเพราะเกิดพร้อมกัน สัญญาเจตสิกซึ่งเป็นสภาพจำ จำทันทีพร้อมกันหมดเลย จิตดับพร้อมเจตสิก และก็ไม่กลับมาอีก และรูปก็เกิดดับเร็วมากแต่ว่าช้ากว่าจิตเพราะว่าจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะรูปๆ หนึ่งดับ ให้เข้าใจเพื่อที่จะค่อยๆ คลายความไม่รู้ กว่าจะเบาบางจากการที่สามารถจะเกิดการเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏซึ่งไม่ใช่เราแต่เป็นสภาพซึ่งเป็นสติ และสัมปชัญญะซึ่งเกิดจากการฟังเข้าใจแล้ว ก็มีบ้างแต่ว่าไม่ต้องหวังไม่มีเลยชาตินี้ก็ไม่เป็นไรเพราะอะไรคะเพราะชาตินี้ฟังเข้าใจแล้วมาก ถ้ายังยากจะเข้าใจก็ขนาดนั้นก็ช้าไปอีก เพราะฉะนั้นชาตินี้จะไม่เข้าใจเลย หรือว่าเข้าใจบ้าง หรือว่าเข้าใจมากก็เป็นธรรม ข้อสำคัญที่สุดคือไม่ใช่เราเป็นธรรมทั้งหมด
อ. วิชัย ทุกๆ ขณะที่จิตเกิดขึ้นไม่ว่าจะเห็นก็ตามได้ยินก็ตาม หรือแม้แต่คิดก็ตามก็มีผัสสะ งั้นความเข้าใจ เพียงอย่างนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างนี้หรือ
ท่านอาจารย์ เพื่ออะไร
อ. วิชัย เพื่อรู้ว่าไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ และไม่มีใครทำอะไรได้เลย สภาพธรรมแต่ละหนึ่งเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นทั้งหมด ที่กล่าวว่าเจตสิกมีลักษณะ ๔ เป็นต้นก็คือลักษณะนั้น และก็กิจนั้น อาการที่ปรากฏนั้น เหตุใกล้ของสภาพธรรมนั้น แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ละเอียดมาก ทั้งหมดฟังเพื่ออะไร เพื่อรู้ว่าไม่มีเรา ไม่ใช่เราเป็นธรรมทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะฟังอะไรทั้งหมด น้อมไปที่จะรู้ความจริงว่าไม่มีเรา แค่ได้ฟังว่าจิตเห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ และสิ่งที่ปรากฏก็ดับแล้วไม่กลับมาอีก มั่นคงแค่ไหน ไม่ได้ละคลายอะไรเลย เพราะความรู้ยังไม่พอ
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปทำอะไรที่จะละคลาย เข้าใจขึ้นปัญญาอย่างเดียว ปัญญาเท่านั้นที่สามารถที่จะละความไม่รู้ และความติดข้องได้ เพราะฉะนั้นถ้าปัญญามีแค่นี้นิดเดียว แต่ว่าความไม่รู้ และความติดข้องสะสมมานานแสนนานในสังสารวัฎฎ์ แล้ว จะให้หมดไปไม่ได้ เพียงแต่ว่ามีโอกาสได้สะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวาระเหมือนอย่างพระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านก็ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเพราะอาศัยการที่รู้ประโยชน์ของการได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ และก็บำเพ็ญบารมี ละความต้องการความติดข้อง จนกระทั่งสภาพธรรมก็ปรากฏโดยความเป็นอนัตตาแม้แต่ขณะที่รู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังเป็นอย่างนี้เองตามปกติ
อ. วิชัย พระธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็โดยประการทั้งปวงไม่ว่าจะแสดงลักขณาทิจตุกะของเจตสิกแต่ละประเภท ดังนั้นการที่มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรม จะมีการศึกษาอย่างไรที่จะรู้ และเข้าใจในลักษณะของเจตสิกแต่ละประเภท
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีผัสสะไหม
อ. วิชัย มีครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ฟังเเล้วก็รู้ว่ามี ไม่ต้องตามตัวหนังสือ กำลังเห็นมีผัสสะไหม มีกำลังได้ยินมีผัสสเจตสิกไหม
อ. วิชัย ก็มี
ท่านอาจารย์ กำลังคิดมีผัสสเจตสิกไหม
อ. วิชัย ก็มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท
อ. วิชัย จนกว่าจะมั่นคงขึ้น
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะคลายเพราะเข้าใจสภาพของจิต หรือสภาพของรูป หรือว่าสภาพของเจตสิกซึ่งมีชั่วขณะที่แสนสั้น
ผู้ฟัง มีคำถามฝากมาไกลค่ะจากกุรุน้อยจังหวัดราชบุรี ดิฉันชื่อธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี ใคร่ขอกราบเรียนถามปัญหาธรรมบางประการ ข้อ ๑ ติดในชื่อหมายความว่าอย่างไร หมายถึงจิตเจตสิกประการใดประเภทใด ลักษณะอาการที่ปรากฏ หรือแสดงออกทางกายวาจาใจเป็นอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ขอเชิญคุณอรรณพ ธรรมอะไรที่ติด ติดทั้งในชื่อติดทั้งในสิ่งที่ปรากฏทุกอย่างก็คือโลภะ ซึ่งโลภะนี่ติดได้หมดเลย ติดได้ทั้งตัวธรรมคือสี เสียง กลิ่น รส ที่เราก็ชอบแล้วก็ติดชื่อด้วย มาศึกษาธรรมก็ติดชื่อได้อันนี้ส่วนหนึ่ง ส่วนอีกส่วนหนึ่งก็คือพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ต้องใช้คำใช้ชื่อเพื่ออธิบายให้เข้าใจธรรม คำ และชื่อต่างๆ ไม่ได้เพื่อให้คนติด แต่คำทุกคำเพื่อความเข้าใจสภาพธรรม อาศัยคำเพื่อเข้าใจตัวธรรมถ้าไม่มีคำเราก็นั่งนิ่งกันไม่สามารถที่จะสื่อสารก็ได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้เองมีสอง คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ และสามารถบัญญัติคำบัญญัติชื่อเพื่อที่จะแสดงถึงสภาพธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจแล้วสามารถที่จะรู้ความจริง ที่เป็นธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้ ต่างกับการติดในคำ ซึ่งขณะนั้นไม่เข้าใจแต่ก็ลวงเหมือนกับเข้าใจ เพราะบางคนเค้ารู้คำเยอะจิต มีเท่าไร เจตสิกมีเท่าไร วิถีจิตมีชื่ออะไรเขากล่าวได้หมด แต่เขาไม่ได้น้อมเข้าไปที่จะเข้าใจความเป็นธรรมในขณะนี้ ขณะนั้นก็นั่นแหละคือสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการเพียงติดในชื่อ แต่ไม่ได้เป็นความเข้าใจที่อาศัยคำอาศัยชื่อ
ท่านอาจารย์ ชื่อคือคำเรียกสิ่งที่มี เพราะเหตุว่าเวลานี้ก็มีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้าไม่มีคำสำหรับเรียกก็ไม่รู้ว่าหมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นชื่อก็คือคำที่เรียกสิ่งที่มีจริง แล้วก็ลืมว่าแท้ที่จริงแล้วเพราะไม่รู้ การติดในชื่อทั้งวัน คิดอะไรก็เป็นชื่อทั้งหมดใช่ไหมโดยไม่รู้เลยว่า ชื่อที่เรียกแท้ที่จริงแล้วไม่มีสภาพธรรมที่ยั่งยืนเลย เพียงแต่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปแล้วก็มีสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อไม่ขาดสายเลย ทำให้เรียกชื่อต่างๆ เป็นเรื่องต่างๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีชื่อมีแต่สภาพธรรมที่ปรากฏแล้วก็ดับไป แล้วความจำในลักษณะของสภาพธรรมก็ดับไปด้วยแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งก็ไม่มีอะไรเหลือเลย การที่ใช้คำสำหรับเรียกชื่อสภาพธรรมเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นธรรม แต่เพราะเหตุว่าเราไม่ได้เข้าใจว่า ชื่อทุกชื่อเป็นการที่เรียกสิ่งที่มีจริงเราก็เลยติดข้องในชื่อ และทั้งวันก็เต็มไปด้วยชื่อ ลองคิดดูจริงหรือไม่ เห็นนิดเดียวเรื่องของเห็นนี่เยอะมากชื่อทั้งหมดเลย มาจากสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นก็มีคำซึ่งไม่เข้าใจด้วยว่าขณะนั้น เป็นแต่เพียงชื่อที่เรียกสิ่งที่มีแต่ละภาษา
เพราะฉะนั้นการติดในชื่อนี้ต้องเข้าใจธรรมด้วย ถ้าไม่เข้าใจธรรมก็ไม่รู้ว่าติดในอะไรเพราะว่าถึงแม้ว่าไม่มีชื่อก็ติด ในสิ่งที่ปรากฏแต่ติดเพียงสิ่งที่ปรากฏโดยไม่มีชื่อไม่พอ ยังต้องเรียกชื่อ เป็นชื่อต่างๆ อย่างดอกไม้ที่ชื่อลั่นทม เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ชื่อนี้แล้วติดในชื่อลีลาวดีมากกว่าชื่อลั่นทม นี่เป็นการติดในชื่อใหม่ คือติดไปหมดในสิ่งที่มีด้วยความไม่รู้ พอมีคำสำหรับเรียกสิ่งนั้นเป็นชื่อต่างๆ ก็ติดในชื่อ เมื่อติดในชื่อ และก็ติดในเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งนั้นด้วย เพราะฉะนั้น ชื่อก็เป็นสิ่งที่ปิดบังครอบงำไม่รู้ความจริงว่าแท้ที่จริง " หนึ่ง " ชื่อนั้นแหละคืออะไร จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรม ก็ไม่ใช่เพียงแต่เป็นชื่อ แต่รู้ว่าเป็นชื่อของคำที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เช่นเห็นภาษาไทยเรียกว่าเห็น ชื่อเห็น แต่ภาษาอื่นไม่ได้ชื่อนี้ แต่ลักษณะจริงๆ ก็เห็น เพราะฉะนั้นติดทั้งในเห็น โดยยังไม่ต้องเรียกชื่อ และเวลาที่เห็นแล้วก็ยังติดในชื่อด้วย แต่ละภาษา เพราะฉะนั้นบางคนจะบอกว่าจักขุวิญญาณไม่พูดเห็น พอศึกษาธรรมสักคำหนึ่งก็พูดคำที่ไม่ใช่ภาษาที่ใช้อยู่ เช่นเวลาที่เกิดวิจิกิจฉาความจริงทำไมไม่บอกว่าสงสัยใช่ไหม แต่ติดคำว่าวิจิกิจฉา นี่ก็เป็นเครื่องกั้นอันหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เข้าใจธรรมจริงๆ ก็จะไม่เข้าใจทุกอย่าง เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีธรรมก็ไม่มีชื่อ
เพราะฉะนั้นติดข้องในทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นธรรมซึ่งไม่มีชื่อเลยก็ติดข้อง และเวลาที่มีชื่อแล้วชื่อนั้นก็ยังปิดบังด้วยความติดข้องด้วยเช่นเห็นใคร มาแล้วใช่ไหมติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ ในชื่อที่รู้จักในเรื่องราวของคนนั้นแหละ ยังคิดต่อไปอีกมากทั้งหมดเป็นชื่อทั้งวันในขณะที่คิด
ผู้ฟัง การที่มีโอกาสอย่างเช่นสนทนาก็ต้องมีการกล่าวคำที่จะให้เข้าใจถึงสภาพธรรม นั้นที่จะรู้ความต่างกันของการที่จะมีการใส่ใจในคำต่างๆ ที่ทรงแสดงเอาไว้ หรือว่าเป็นความเข้าใจในธรรมที่ทรงแสดงเอาไว้
ท่านอาจารย์ อริยสัจจะติดไหม ชื่ออริยสัจจธรรม รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ยังไม่ทันรู้ว่าอะไรก็อยากจะรู้อริยสัจจธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960