ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๒๐

    สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ จ.ลำพูน

    วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    อ.อรรณพ กราบท่านอาจารย์ครับ ท่านอาจารย์ครับ ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเกิด อะไรดับเนี่ย เราก็คิดว่าเราได้อาหารอร่อย เราได้รางวัล เราได้ลาภยศ อะไรต่างๆ ถ้าเราไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เราได้สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเกิดดับ

    อ.อรรณพ แล้วเป็นการได้จริงๆ ไหมฮะ

    ท่านอาจารย์ ก็ได้ในสิ่งที่ไม่รู้

    อ.อรรณพ สมมติว่าได้ ได้รับลาภยศ เงินทอง

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นๆ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็ได้สิ่งที่ไม่รู้ คิดว่าได้จริงๆ ยั่งยืน

    อ.อรรณพ ท่านอาจารย์ แล้วถ้าเป็นปัญญาที่ค่อยๆ อบรมเจริญขึ้น จนรู้ในความเป็นธรรมที่เกิดแล้วดับเนี่ย จะได้อะไรอ่ะ

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มีอะไรที่เหลือ ได้ความเข้าใจถูก แต่ความเข้าใจถูกนั้นก็ไม่ใช่เรา

    อ.อรรณพ อันนี้ลึกซึ้งมากๆ นะครับ ว่าได้อะไรจากสิ่งที่เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นธรรม แล้วสิ่งนั้นเกิดแล้วดับ ก็คิดว่าได้ลาภยศทรัพย์สินเงินทอง อันนั้นคือได้ความไม่รู้ แล้วก็ยึดถึงในสิ่งที่ว่างเปล่า

    ท่านอาจารย์ ซึ่งแท้จริงไม่มีใครที่จะได้อะไร เพราะว่าเป็นธรรมทั้งหมด กว่าจะค่อยๆ เข้าใจธรรมทีละชั้น ทีละชั้น ทีละชั้น จนกระทั่งรู้ว่าไม่มีอะไรเลย เพราะว่าเกิดแล้ว ดับแล้วหมด ไม่เหลือเลย

    อ.อรรณพ ท่านอาจารย์ฮะ เอาง่ายๆ ได้รับประทานทุเรียนอร่อย

    ท่านอาจารย์ แค่ได้รับประทาน แล้วก็ทุเรียนด้วย อะไรเกิดอะไรดับไม่มีเลย

    อ.อรรณพ แต่มีความคิดความจำว่าได้รับประทาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่ได้ความไม่รู้ต่อไป ว่าได้รับประทานทุเรียน

    อ.อรรณพ แล้วถ้าปัญญาที่รู้ในความเป็นธรรมนั้น ค่อยๆ เจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ ค่ะ ต้องไม่ประมาทแต่ละคำนะคะ แม้แต่ที่จะรู้ว่าทุเรียนหรือเปล่า หรือว่าธรรม ถ้าไม่มีธรรม มีทุเรียนไหม

    อ. อรรณพ ถ้าไม่มีรส ที่เป็นธรรม ไม่มีสีที่เป็นธรรม ไม่มีกลิ่นที่เป็นธรรมก็ไม่มี รวมๆ ว่าเป็นทุเรียน

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่เคยรู้อย่างนี้เลย แม้ฟัง กำลังรับประทานทุเรียนแน่ๆ ใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ แต่ว่านะคะ ธรรมเป็นปกติ เวลาปัญญาเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้ว่า ไม่ใช่มีแต่ความคิดว่าทุเรียน ต้องมีสิ่งที่ปรากฏ รูปร่างสัณฐานหลากหลาย และสภาพที่จำก็สามารถที่จะจำ ว่านั่นอะไรนี่อะไร แล้วก็มีชื่อเรียกต่างๆ แม้แต่ความรู้สึกพอใจที่เกิดขึ้นจากรสขณะนั้นนะคะ ก็จะต้องรู้ว่าความพอใจมี อร่อย ทำไมจะไม่อร่อย แต่ว่าขณะนั้นเป็นธรรม

    อ.อรรณพ เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรม แล้วก็ไม่รู้ว่าธรรมนั้นเป็นแต่ละอย่าง เป็นรส เป็นสี เป็นกลิ่น แล้วก็รวมๆ คือไม่รู้ว่าเกิด ว่านั่นเป็นธรรม ก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะรู้เกิดดับ เพราะฉะนั้นทุเรียน ก็เหมือนกับไม่เกิดไม่ดับอะไรอ่ะครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นบางคนก็บอกเอ๊ะ แล้วจะได้ประโยชน์อะไร

    อ.อรรณพ ครับ

    ท่านอาจารย์ รู้ อย่างนี้ยังไม่เป็นประโยชน์อีกหรือคะ เห็นไหมคะ คนที่ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจจริงๆ ไม่เห็นประโยชน์เลย แต่ถ้าคนที่รู้ประโยชน์ ไม่เคยรู้อย่างนี้มาเลย ซึ่งเป็นความจริงถึงที่สุด ไม่มีอะไรที่จะจริง ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ เริ่มเห็นความจริง และเริ่มเห็นพระคุณ แล้วก็มีศรัทธาที่จะฟัง จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจกว่านี้

    ผู้ฟัง ลืมครับ ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราก็พูดนะคะ จนกระทั่งว่ารู้ความเป็นอนัตตาว่า ลืมก็ลืม ลืมก็เป็นธรรม จนกว่าจะทุกอย่างเป็นธรรมคิดดูนะคะ ถึงจะไถ่ถอนการที่อกุศลสะสมมามาก ที่ปิดบังไม่ให้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีเรา ไม่มีอะไรสักอย่างเดียวเที่ยง เป็นแต่เพียงแต่ละ ๑ ซึ่งมีปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ยังไม่เห็นอย่างนี้ไม่เป็นไรค่ะ เข้าใจให้ถูกก่อนว่าจริงไหม ถ้าจริงนะคะ ก็ฟังต่อไป เพื่อให้ปัญญาเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น เพราะว่าสังสารวัฎฏ์นี้อีกยาวนานมาก ใครก็บังคับไม่ให้เกิดอีกไม่ได้ หลังจากที่ตายแล้วก็ต้องเกิด แต่เกิดเป็นอะไร รู้ได้จากการกระทำในชาตินี้ และในชาติก่อนๆ แม้ไม่รู้นะคะ แต่ก็ยังสามารถที่จะเป็นปัจจัย ให้การเกิดของแต่ละคนหลากหลายไป แม้แต่ชาตินี้ค่ะ เคยรู้มาก่อนมั้ย ว่าเราจะเกิดเป็นคนนี้ แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ แต่ละวันแต่ละวันที่ผ่านมาจนถึงนั่งเดี๋ยวนี้ และต่อไปก็จะต้องเป็นไปตามกรรม

    อ.อรรณพ เริ่มต้นที่ท่านอาจารย์พูดว่าต่อไปก็จะไปเป็นอะไรต่ออะไร ที่ไปเป็นอะไรต่ออะไร นี่ก็ไม่ทราบว่าจะไปเป็นอะไรเหมือนกันนะครับ

    ท่านอาจารย์ เหมือนอดีตที่เคยเป็นมาแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นอะไรต่ออะไร ยากดีมีจนนะคะ แขนขาด ตาบอด หรืออะไรก็ไม่รู้ เป็นสัตว์บนบก ในน้ำอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นอย่างนี้ ไปอีกนานแสนนาน ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม

    ผู้ฟัง คือประโยชน์ที่ได้รับจากการฟังพระธรรมเนี่ย คือการจะละ ละอย่างต่อเนื่องกันไปเนี่ย มันจะต่างกันยังไงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนะคะ ต้องละเอียดยิ่ง เช่นได้ฟังว่านะคะ สิ่งหนึ่งสิ่งใดคือเดี๋ยวนี้ อะไรก็ตามที่ปรากฏเพราะเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดา หมายความว่าไม่เหลือเลย ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ตรงนี้นะคะ ปัญญาขณะนั้นค่อยๆ ละความไม่รู้ และความสงสัยที่สะสมมานานแสนนาน เกินแสนโกฏฏ์กัปป์ นี่คือประโยชน์ตรงนั้น ที่จะค่อยๆ ละจนกว่าจะค่อยๆ หมดไป จนกระทั่งไม่เหลือการที่ยึดถือ สภาพธรรมว่าเป็นตัวตน และสงสัยในความเป็นธรรมซึ่งเกิดดับ เพราะจริงๆ นะคะ เราพูดถึงจิตใช่ไหมคะ และพูดถึงเจตสิก คือสภาพนามธรรมที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิต เช่นโทสะ ความโกรธความขุ่นเคืองใจเนี่ย ไม่ใช่จิตแต่เกิดกับจิต เพราะบางครั้งก็มีจิตที่มีโทสะเกิดร่วมด้วย บางครั้งโทสะก็ไม่เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นโทสะจะเป็นจิตไม่ได้ โทสะต้องเป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ใช้คำว่าเจตสิกะ เพราะว่าเกิดกับจิต เกิดในจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต เป็นสภาพรู้สิ่งที่จิตรู้อย่างเดียวกันทั้งหมด

    เราพูดทุกอย่างเดี๋ยวนี้นะคะ ทุกอย่างที่เราพูดอยู่ในความมืด ไม่มีใครรู้จิตสักขณะ เพราะเหตุว่ายังไม่ถึงการที่จะ แทงตลอดทีละ ๑ เวลานี้ค่ะ ทุกอย่างที่พูดนี่เกิดดับหมดเลย เร็วมากด้วย ไม่ใช่ช้าเลยค่ะ เราคิดว่าเราเห็นดอกกุหลาบนี่ และเราได้ยินคำว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เล่าคะเนไม่ถูกเลยซึ่งความรวดเร็วของการดับ เพราะมันเหมือนกับยังเที่ยงอยู่ แต่ว่าเราเริ่มเข้าใจว่า มันต้องมีการเกิดดับ เริ่มเข้าใจว่าต้องมีการเกิดดับ แต่เกิดดับสืบต่อจนกระทั่งปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน ให้หลงเข้าใจว่า ยังไม่ได้หายไปไหนเลย ยังมีอยู่อย่างนี้แหละ โต๊ะก็อยู่อย่างนี้แหละ ถ้วยแก้วก็อยู่อย่างนี้แหละ แต่ความจริงผู้ที่ทรงตรัสรู้นะคะ ตรัสรู้ความจริงซึ่งเดี๋ยวนี้อยู่ในความมืด ไม่ได้ปรากฏเลย อย่างจิตซึ่งเป็นธาตุรู้นะคะ ก็อยู่ในความมืดอย่างเช่นเห็นนะคะ

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ ตาเห็นได้มั้ย

    ผู้ฟัง ตา เห็นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ตาเห็นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ไม่ใช่เห็น

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ แต่มีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็น และดับไปแค่นี้ค่ะ ถ้าไม่แทงตลอดจะประจักษ์มั้ยว่าเป็นอย่างนั้น เราก็กำลังฟังเพื่อเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นก่อน ให้เข้าใจในขั้นปริยัติ ปริยัตินี่นะคะ คือการฟังพระพุทธพจน์ด้วยความเข้าใจ ที่ค่อยๆ รอบรู้ มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง อย่างฟังเนี่ยว่า ขณะนี้สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏ สิ่งนั้นต้องเกิด เกิดแล้วดับเลย นี่คะฟังพระพุทธพจน์ จากการที่ทรงตรัสรู้จนกระทั่งเป็นความเข้าใจ ที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้น ในขณะนั้นนะคะ ความเห็นถูกค่อยๆ ไปชำระจิต ซึ่งหมักหมมเน่าเหม็น เต็มไปด้วยเชื้อโรค คือกิเลสทั้งหลาย ซึ่งกว่าจะเป็นจิตที่หมดจากการยึดถือสภาพธรรม และความสงสัยนี่อีกนานไหม เพราะว่าขณะนี้เราเพียงฟังเพียงเริ่มเข้าใจ นี่คือการเริ่มเข้าใจ แต่ยังไม่ถึงการประจักษ์ ยังไม่มีการแทงตลอดลักษณะหนึ่ง เช่นขณะนี้ความรู้สึกมีไหมคะ ฟังมาจากตำรา จิตเกิดพร้อมกับเจตสิกหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพที่รู้สึก ใช้คำเรียกว่า เวทนาเจตสิก จำได้หมดเลย เรื่องราวในพระอภิธรรม ที่ศึกษามาจากพระอภิธรรมมัตถสังคหะ หรือจะจากไหนก็ตามแต่นะคะ แต่ขณะนี้ค่ะ เวทนาความรู้สึกเกิดดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ รู้มั้ย อยู่ในความมืดหมด

    ผู้ฟัง ก็ฟัง นี่เหมือน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนี้ค่ะ ที่ฟังนี่อยู่ในความมืดทุกอย่าง กว่าปัญญาจะค่อยๆ ถึงเฉพาะที่ใช้คำว่าปฏิปัติ ปฏิแปลว่าเฉพาะ ปัตติแปลว่าถึง ถึงเฉพาะลักษณะหนึ่ง ที่เรากล่าวถึงเดี๋ยวนี้ เช่นความรู้สึกนี่มีแน่ๆ นะคะ บางคนก็อาจจะรู้สึกเบื่อ ไม่สบายใจครับ ให้ความรู้สึกจะมีสุขหนึ่ง ทุกข์หนึ่ง เฉยๆ ทางกายก็มีทางใจก็มี ล้วนแต่เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา พร้อมจิตใครรู้ อยู่ในความมืดทั้งหมดเลย ยังไม่มีการถึงเฉพาะลักษณะหนึ่ง ที่ใช้คำว่าสติปัฐาน สติสัมปชัญญะ ซึ่งใช้คำว่าปฏิปัติ แปลว่าฟังก็จริง แต่ยังไม่ถึงเฉพาะ ลักษณะที่อยู่ในความมืดทั้งหมด ซึ่งกำลังเกิดดับ

    ผู้ฟัง มันเหมือนกับคิดอ่ะ ไม่ใช่ถึงการปฏิปัติ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงนะคะ แต่เริ่มที่จะรู้ จากโลกทั้งหมดเนี่ย เวลานี้มีอะไรในโลกบ้างคะ ห้องนี้ก็เป็นโลกละ ต้นไม้ใบหญ้าข้างนอกก็เป็นโลก และรถยนต์ตามท้องถนน ประเทศต่างๆ ก็เป็นโลกละใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ใช่ครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รู้ว่าขณะนี้ค่ะ กว่าจะเป็นดอกไม้สักดอก ๑ เนี่ย ต้องมีธรรมซึ่งอ่อนหรือแข็งแต่ละหนึ่ง แต่ละ ๑ๆ เนี่ยนะคะ ย่อยสลายออกไป จนกระทั่งเหลือเพียงหนึ่งแข็ง หนึ่งอ่อน ที่ยังไม่ได้รวมกัน เป็นดอกไม้เลย

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย แต่การที่มีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิด อุตุ ความเย็นความร้อนในขณะที่ทำให้รูปนั้นปรากฏเหมือนเดิม

    ผู้ฟัง ต่อเนื่องกันไป

    ท่านอาจารย์ ต่อเนื่องกันไป เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกมายา หรือว่าโลกของความลวงนะคะ ซึ่งจิตเนี่ยเหมือนมายากลค่ะ เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ได้ปรากฏอย่างที่เป็นเลย แต่ปรากฏการเกิดดับเนี้ย ให้เห็นเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ ซึ่งแต่ละ ๑ มีอากาศธาตุแทรกคั่นละเอียดยิบเลย แตกย่อยออกไปแล้ว จะเหลือดอกกุหลาบมั้ย

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ก็มีแต่ลักษณะของสภาพธรรม อย่างที่มีคนแตะที่ปาก แต่พอหลับตา และไม่ใช่ปาก แต่เป็นอ่อนหรือนิ่ม เพราะฉะนั้นแทนจะเป็นปาก เดี๋ยวนี้ทั่วตัวจับตรงไหนที่เป็นแขน แต่ว่าความจริงก็คือธาตุที่อ่อนหรือแข็ง เกิดขึ้น และก็ดับไป ปัญญาสามารถประจักษ์การเกิดดับ คือถึงเฉพาะลักษณะหนึ่ง จึงสามารถที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเกิด และสิ่งนั้นดับ แต่ถ้าปัญญายังไม่ถึงเฉพาะ ลักษณะของสภาพธรรม ตามที่ได้ฟังแต่ละหนึ่ง จะประจักษ์การเกิดดับไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีการฟังมาก่อน ก็ไม่สามารถที่จะมีปัญญาที่ถึงเฉพาะลักษณะเพียงหนึ่งเดี๋ยวนี่อ่ะค่ะ เดี๋ยวนี้มากมายเกินที่จะประมาณได้ว่าเท่าไหร่ แต่เพียงหนึ่งที่ปัญญาพร้อมสติ สามารถถึงเฉพาะ ที่จะรู้ว่านั่นเป็นธรรมหนึ่ง

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นปฏิปัติเนี่ย ก็หมายความว่า ปัญญาเนี่ยเกิดขึ้นทราบ ทุกขณะทุกขณะไปเรื่อย

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อย่างงั้น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แล้วแต่จะมีปัจจัยที่จะให้ปัญญาระดับนั้นเกิด นานเท่าไหร่ และรู้อะไรบ้าง ที่เราว่าเวลานี้นาน แต่ความจริงนะคะ ในความที่ว่านานเนี่ย มีสภาพธรรมที่เกิดดับ เร็วกว่าเยอะมาก เพราะฉะนั้นเร็วแสนเดิมที่สภาพธรรมถึงเฉพาะ แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องได้ แต่ต้องฟังเข้าใจแล้วก็ละความเป็นตัวตน ไม่มีใครไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น เหมือนท่านพระสารีบุตรค่ะ ท่านก็ไม่ได้คิดว่าท่านจะได้ฟังคำจากท่านพระอัสสชิ แล้วก็สามารถแทงตลอด เพราะท่านสะสมการชำระจิตมาตลอด จนกระทั่งจิตของท่านเนี่ย สะอาดบริสุทธิ์ คลายความสงสัย และท่านก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ท่านจะสามารถที่จะดับการที่เคยสงสัย และการยึดถือสภาพธรรม เพราะต้องละคลาย ไม่ใช่เป็นไปด้วยความหวัง และก็ท่านก็ไม่รู้ว่าชาติไหนด้วย และในฐานะที่ท่านจะเกิดเป็นใครด้วย แต่เมื่อถึงเวลาที่ปัญญาที่ได้สะสมมา ที่ชำระจิตสะอาด พร้อมที่จะรู้ความจริง เพียงฟังคำของท่านพระอัสสชิ ปัญญาของท่านพระสารีบุตรนะคะ หนึ่งอสงไขยที่ได้ฟังธรรม จนกว่าท่านจะรู้อย่างนี้ได้ แต่รู้ได้ก็จริงนะคะ เอาดอกกุหลาบได้ไปแตกย่อยให้หมด ก็มีอากาศธาตุ และก็จะเหลือไหม เพราะว่าเราพูดถึงปาก ไม่มีปาก ฉันใดพูดถึงดอกกุหลาบ สัมผัสดูก็นิ่ม เหมือนปากนิ่ม แต่ว่าอันนั้นเราจำไว้ว่า เป็นปาก อันนี้เราจำไว้ว่าเป็นดอกกุหลาบ แต่ลักษณะที่มีจริงๆ ก็คือสภาพที่นิ่ม ซึ่งต้องเกิดแล้วก็ต้องดับด้วย ทุกคำนี่ค่ะ แทงตลอดด้วยปัญญาที่ได้อบรมแล้ว เต็มไปด้วยการที่จะต้องขัดเกลาจิต ชำระสิ่งสกปรก ที่กั้นไม่ให้รู้ความจริง

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่เอาตัวตน ไปพยายามทำให้รู้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ เพราะว่าปัญญาเท่านั้นที่จะค่อยๆ ชำระจิตให้ค่อยๆ สะอาด พ้นจากเชื้อโรค พ้นจากความมืดค่อยๆ สะอาดขึ้น จนถึงเวลาที่สามารถที่จะแทงตลอด เพราะฉะนั้นปริยัติ การเข้าใจพระพุทธพจน์ในขั้นฟังนะฮะ ต้องถึงความรอบรู้ ใช้คำว่าปฏิเวธในปริยัติ หมายความว่าแทงตลอดในคำที่ได้ฟัง อย่างเวลานี้ค่ะทุกอย่างเกิดดับเนี้ย แทงตลอดจนกระทั่งว่าทุกอย่างจริงๆ แล้วถึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด และก็ถึงเฉพาะทีละหนึ่งจึงจะรู้ว่าสิ่งนั้นเกิด และสิ่งนั้นดับ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเนี่ย การที่เข้าใจในเรื่องราว หรือปริยัติ ก็ยังไม่ใช่รวมไปถึงการ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ใช่การถึงเฉพาะด้วยซ้ำไป

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าทุกอย่างอยู่ในความมืด เกิดแล้วดับแล้วทั้งนั้นค่ะ จนว่างเปล่าอ่ะ

    ผู้ฟัง ก็คิดนึกทั้งนั้นว่าถึงเฉพาะแล้ว อะไรต่างๆ

    ท่านอาจารย์ และคิดนึกด้วยความเข้าใจ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง อ๋อครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วตัวเข้าใจนี่แหละ ที่ไปชำระจิต ให้สามารถสะอาดขึ้น ที่จะถึงการรู้ความจริงได้

    ผู้ฟัง เฉพาะธรรมนั้น

    ท่านอาจารย์ นั่นคือปฏิปัติ เพราะฉะนั้นต้องมีปริยัติก่อนฟังพุทธพจน์ แทงตลอดในแต่ละคำ เข้าใจถูกต้องมั่นคง เป็นสัจจญาณ จึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด โดยความเป็นอนัตตา ไม่ต้องรอ ไม่ต้องหวัง ไม่ต้องคอย เพราะว่าธรรมเกิด และดับ จะรู้ได้ยังไงคะว่า สติจะระลึกรู้สภาพธรรมไหน ในเมื่อยังไม่เกิด

    ผู้ฟัง มันก็เป็นเรื่องอยาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แต่คำที่ว่าเปิดของที่คว่ำ เพิ่งรู้ว่าคว่ำ แต่กำลังที่จะเปิดมีแค่ไหน มีกำลังพอไหมคะ ที่จะหงายของที่กำลังคว่ำอยู่ คือจิตเจตสิกขณะนี้ กำลังเกิดขึ้นทำงานถ้าไม่มีจิตเจตสิก อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ ตั้งแต่เกิดเลย ที่โลกปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเพราะจิตเกิดเพราะมีจิต ถ้าไม่มีจิตอะไรก็ปรากฏไม่ได้ ทางตานั้นก็ไม่มีสีสันที่กำลังปรากฏ ทางหูเสียงก็ไม่ปรากฏ เพราะเหตุว่าไม่มีจิตที่จะรู้ เพราะฉะนั้นเวลานี้นะคะ ใครรู้จิตเจตสิกซึ่งกำลังเกิดดับ ทำกิจละเอียดยิ่งที่ทรงแสดงโดยประเภทว่าจิตไหนเกิดก่อนแล้วดับไป และจิตต่อไปเกิดสืบต่อตามลำดับ โดยความเป็นอนัตตา อย่างเร็วที่สุดซึ่งประมาณไม่ได้เลย นี่คือพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    จะกล่าวอีกนัยหนึ่งนะคะ การศึกษาการฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ นั่นคือเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นคุณมหาศาล เปรียบอะไรไม่ได้เลย กับพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นตรงนี้เนี่ย ก็ต้องทำความละเอียดให้มากขึ้น ส่วนกำลังที่ว่านี้ก็ยังไม่เข้าใจ หรือว่ากำลัง กำลังนั้นประกอบด้วย อะไรมากมาย ถึงแม้จะฟังเรื่องอินทรีย์พละ อะไรก็แล้วแต่ แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย

    ท่านอาจารย์ อย่างน้อยก็รู้อะไรคว่ำ ใช่ไหมคะ โลกทั้งโลกเนี่ยค่ะ ยังไม่ได้หงาย ให้ปรากฏตามความเป็นจริง ว่าเป็นจิตแต่ละหนึ่งขณะ พร้อมเจตสิกที่เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วที่สุด ที่จะประมาณไม่ได้เลย เพราะเหมือนคนตั้งเยอะ ทั้งฟ้า ทั้งต้นไม้ ทั้งหลังคา ทั้งอะไรหมด แต่ว่าความจริงแล้ว กว่าจะรู้อย่างนั้นคิดดู กว่าจะเป็นสัณฐานอย่างนั้นได้ จิตจะต้องรู้สืบต่อนานเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ครับ

    อ.ธิดารัตน์ กราบท่านอาจารย์ค่ะ ถ้าพูดถึงปริญญาก็จะมี ๓ อย่างใช่ไหมคะ ท่านอาจารย์ที่เป็น ญาตปริญญา ตรีรณปริญญา หรือว่าประหานปริญญา คำว่าปริญญาเนี่ย หมายถึงปัญญาที่ไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน เป็นวิปัสสนาเนี่ยนะคะ แต่กำลังของปัญญา นี่มีความต่างกันยังไงคะท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ค่ะ รู้ลักษณะของสภาพธรรม อะไรบ้าง เดี๋ยวนี้ ใช้คำว่าสภาพธรรมแล้ว จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นธรรม เพราะมีลักษณะเฉพาะ ของธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้นเวลากล่าวว่านะคะ สิ่งที่มีจริงนี่ค่ะ เป็นธรรมทั้งหมดเลย ไม่ต้องเรียกก็ได้ แต่เมื่อมีจริง ภาษาบาลี ก็ใช้คำว่าธรรม แต่ธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้เลย ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นการที่สภาพนั้นเป็นอย่างนั้น ทรงไว้ซึ่งความเป็นอย่างนั้น ซึ่งใครเปลี่ยนไม่ได้ ก็ใช้อีกคำ ให้รู้ว่าเป็นธาตุ หรือธาตุ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าธาตุ ต้องเป็นธรรม จะเป็นอื่นไม่ได้เลย และเวลาที่ใช้คำว่าธาตุ หรือธรรมเนี่ย แสดงความหลากหลาย ว่าธรรมนั้นๆ น่ะจริงนะ แต่ก็เปลี่ยนลักษณะไม่ได้เลยนะคะ ทรงไว้ซึ่งสภาพนั้นตลอดกี่สมัย โลกจะแตกจนทำลาย ลักษณะของสภาพธรรมใดเกิดขึ้น มีลักษณะอย่างนั้นก็เปลี่ยนไม่ได้ เพราะเป็นธาตุแต่ละหนึ่ง ธาตุโกรธ โทสะ ธาตุติดข้อง โลภะก็เป็นแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจคำว่าธรรม ยังต้องเข้าใจคำว่าธาตุ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนี่ค่ะ ที่จริงแล้วนะคะ เข้าใจขึ้นเมื่อไหร่ เข้าใจทั้งธรรม เข้าใจทั้งธาตุ เข้าใจทั้งขันธ์ เข้าใจทั้งอายตนะ เข้าใจทั้งปฏิจสมุปบาท ตามสมควร ไม่ใช่ว่าทีเดียวจะเข้าใจไปหมดตลอด แต่เริ่มรู้ว่าทุกคำที่ใช้เนี่ย ถ้าไม่เข้าใจธรรมไม่รู้เลย ได้แต่พูดตามใช่ไหมคะ อย่างขันธ์มีเท่าไหร่ ขันธ์มี ๕ เรียงได้ด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แต่หารู้ไม่ว่าขันธ์นั่นแหละเป็นธรรม ซึ่งเป็นธาตุ เพราะเหตุว่าต้องเกิดขึ้น และดับไป เห็นไหมคะ พอเรากล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเป็นธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเป็นแต่ละหนึ่ง เป็นธาตุ และทุกสิ่งทุกอย่างที่มีแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดดับเป็นขันธ์ เห็นไหมคะทุกอย่างนั้น ก็คือคำอธิบายให้เข้าใจ สิ่งที่มีจนกว่าจะรู้ความจริง แค่ฟังเนี่ยยังไม่รู้ความจริงค่ะ เริ่มรู้ว่ามีสิ่งที่คว่ำ ยังไม่ได้หงาย ถ้าหงายก็คือว่า รู้ว่าจะต้องหงาย แต่มีกำลังพอจะหงายหรือยัง ถ้ามีกำลังพอจะหงายนะคะ สติสัมปชัญญะ และหงายขึ้นมาก็คือวิปัสสนาตามลำดับ ของกำลังที่มีขึ้น ที่จะหงายออกได้เท่าไหร่ เพราะฉะนั้นที่คุณธิดารัตน์ถามนะคะ ก็คือว่าขณะนี้อ่ะคะ มีธรรมแน่ๆ เป็นธาตุแน่ๆ แล้วรู้อะไรหรือเปล่าสักหนึ่ง รู้ธาตุไหนสักหนึ่งหรือเปล่า ไม่ใช่แค่ฟังนะคะ รู้ลักษณะที่เป็นธรรมที่เป็นธาตุ เพราะว่าก่อนฟังไม่รู้เลย เป็นเราหมด แต่พอฟังอ้อเป็นธรรมเป็นธาตุ แต่รู้เฉพาะถึงเฉพาะธาตุ หรือธรรมแต่ละหนึ่งรึเปล่า ถ้าถึงไม่ใช่เราเลยค่ะ เริ่มรู้ความหมายของคำว่าสติ สติปัฎฐาน สติสัมปชัญญะ เพราะขณะนั้นเป็นสติปัฐาน เป็นสติสัมปชัญญะไม่ใช่เรา เป็นสติสัมปชัญญะนะคะ เพราะกำลังรู้สิ่งที่มีจริงๆ ที่มีลักษณะปรากฏ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงที่มีลักษณะปรากฏ และเป็นปัฏฐานะเป็นที่ตั้งของสติ หมายความว่าถึงแหละ ถึงเฉพาะลักษณะนั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของสติ ซึ่งปัญญาที่เกิดพร้อมในขณะนั้น ต้องอาศัย เพราะเคยฟังมา จึงสามารถที่จะรู้ว่าเป็นธรรม อยู่ดีๆ แค่แตะอย่างเงี้ยค่ะ แข็งอย่างเงี้ย ไม่มีทางที่จะรู้ว่าเป็นธรรม แต่เวลาที่รู้ว่าเป็นธรรม ก็ไม่ผิดจากนี้ แต่ว่าปกติธรรมดานะคะ กระทบแข็งปรากฏ ไม่รู้อวิชา แต่ฟังมาแล้วพอแข็งปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา ก็เข้าใจลักษณะที่เป็นธรรม โดยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นสติปัฎฐาน ก็คือไม่ใช่ขณะที่เพียงฟัง แล้วก็ถึงเฉพาะนะคะ ที่ใช้คำว่าปฏิปัติเนี่ยด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นมรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำปฏิบัติ ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย เพราะต้องเป็นสติสัมปชัญญะ ซึ่งเกิดเพราะปริยัติ ฟังจนกระทั่งรอบรู้ จนกระทั่งเป็นสัจจญาน จนกระทั่งเป็นปฏิเวธ ในขั้นปริยัติ แล้วต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 179
    19 ก.ค. 2567