ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
ตอนที่ ๙๒๑
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ จ.ลำพูน
วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้ฟัง แข็งก็ตาม หรือเวทนาก็ตาม เป็นความบริสุทธิ์ของสภาพนั้นเช่นแข็ง รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นลักษณะแข็ง
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้ภาษาทางโลก เราเริ่มสับสน ธาตุนั้นบริสุทธิ์ใช่ไหม บริสุทธิ์ตรงไหน
ผู้ฟัง บริสุทธิ์ หมายความว่า มีลักษณะเฉพาะ
ท่านอาจารย์ ก็พูดอย่างนี้ ถึงจะเข้าใจไม่สับสน ถ้าเรายังไปคิดถึงความบริสุทธิ์ หรืออะไรอย่างที่เราเรียนมาก็เริ่มสับสน เพราะฉะนั้นศึกษาธรรม พระพุทธพจน์กล่าวว่าอย่างไร เพราะประจักษ์แจ้งแทงตลอดความจริงอย่างนั้น ไม่ต้องมีคำอื่นเข้ามาปะปน เช่นบางคนบอกว่าธรรมเป็นธรรมชาติ ถามว่าธรรมชาติคืออะไร ก็บอกทุกสิ่งทุกอย่างที่มี
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังอยู่ตรงนี้อะไรเป็นธรรม ถ้ากล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มี ก็ตอบว่าเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ก็ถามว่า พื้นเป็นธรรมหรือเปล่า ตอนนี้งง เห็นไหม แสดงว่าถ้าเราไม่มีการสนทนา ไม่มีการซักถาม จะไม่รู้เลยว่าคำที่ตอบจำมา หรือว่าเริ่มคิดแต่ยังไม่ได้รู้จริงๆ ว่าเพียงแค่คิดยังไม่พอ ต้องไตร่ตรองแล้วก็ต้องมั่นคงด้วย เป็นปฏิเวธของปริยัติ แต่ไม่ได้ถึงเฉพาะสักอย่าง เห็นไหม นี่คือความต่างขั้นของปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เพราะฉะนั้นฟังจนกระทั่งเป็นความเข้าใจ อย่างบางคนบอกว่าฟัง ๑๐ ปีแล้ว เพิ่งเริ่มเข้าใจ ไม่แปลกเป็นของธรรมดา เพราะว่าขั้นแรกคือฟังคำ ความหมาย ฟังชื่อ ฟังเรื่อง แต่จะเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมในขั้นของการฟัง จนเป็นสัจญาณไม่ต้องทำอะไรเลย ก็มีแล้วเดี๋ยวนี้ แล้วไม่รู้ใช่ไหม เกิดมาก็มีแล้วทั้งนั้นแต่ไม่รู้ทั้งหมดใช่ไหมจนตาย แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่มีเป็นปกติธรรมดาที่มีแล้ว แต่คนไม่รู้ความจริง ไม่ใช่ให้ต้องไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นถ้าทำผิด สำนักปฏิบัติทั้งหลายผิด เพราะเหตุว่าไม่ได้เข้าใจอะไรเลย ไม่รู้อะไรเลย แล้วไปปฏิบัติวิปัสสนา คิดสิ นี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ เป็นการทำลายคำสอนโดยไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังพูดทุกคำ เชิญชวนทุกคนให้ทำสิ่งซึ่งไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะให้เป็นตัวตนที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ชวนกันไปปฏิบัติ เป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าไม่ศึกษาโดยละเอียด จะใช้คำว่าศรัทธาเป็นความเชื่อถือเมื่อใด แต่ว่าก่อนอื่นขณะใดก็ตามที่จิตผ่องใส เพราะเหตุว่าไม่มีโลภะไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ขณะนั้นต้องมีศรัทธาสภาพที่พ้นจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นเจตสิกหนึ่งซึ่งผ่องใส พร้อมกับโสภณเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดพร้อมกัน ในการที่จิตเป็นกุศลแต่ละหนึ่งขณะจนกระทั่งถึงกระทำกุศลกรรม ขณะนั้นจะรู้ได้เลยว่า เวลาที่เราทำกุศล จิตเกิดดับสลับเร็วมากไม่ได้เป็นกุศลทุกขณะเลย เห็นไหม นี่คือความตรง เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ว่าผ่องใสขณะใด
การศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ที่ละเอียดเห็นความลึกซึ้ง และเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทำให้เราไม่เผินแล้วก็ไม่คิดเอง เพราะเหตุว่าเผินเมื่อใด คิดเอง เมื่อใด ก็คือพลาดเมื่อนั้นผิดเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งๆ ก็ได้ฟังมาแต่ละชาติ แล้วก็จะมีความคิดของตัวเองระดับใด แต่ว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำต้องไตร่ตรอง จนกระทั่งพ้นจากความเห็นผิด และเข้าใจผิด ถ้ามิฉะนั้นจะปฏิปัตติไม่ได้เลย
อ.ธิดารัตน์ ถ้าเป็นปฏิปัตติ คือขณะนั้นรู้สภาพธรรมทีละอย่าง และถ้ากล่าวถึงปริญญา หมายถึงความรู้รอบ หรือว่ารู้ทั่วที่เป็นวิปัสสนาญาณ หมายถึงว่ารู้สภาพธรรมไม่ใช่อย่างเดียวใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมเกิดดับสืบต่อหลายอย่าง เพราะฉะนั้นสติปัฎฐานรู้เฉพาะทีละหนึ่ง จนกระทั่งเป็นวิปัสสนาสามารถที่จะแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นโดยเลือกไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะเป็นขณะใด เพราะฉะนั้นจะมีเพียงหนึ่งได้ไหม
อ.ธิดารัตน์ ก็ต้องมีมากกว่านั้น และกำลังของปัญญาที่จะรู้อย่างชัดเจนก็จะต้องมีมากกว่าสติปัฎฐาน
อ.ชุมพร ท่านอาจารย์พูดถึงปริยัติ มีคำว่าปฏิเวธในปริยัติ ขอท่านอาจารย์กรุณาขยาย
ท่านอาจารย์ ปฏิเวธคือการแทงตลอดด้วยความเข้าใจในขั้นของปริยัติ ทุกอย่างเป็นธรรม มั่นคงไหม
อ.ชุมพร ตอนนี้ยังไม่มั่นคง
ท่านอาจารย์ แต่เข้าใจได้ในขั้นปฏิยัติว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม แล้วธรรมแต่ละหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป มั่นคงไหม ขั้นปริยัติ
อ.ชุมพร จนกระทั่งมีความมั่นคงเป็นสัจญาณจนเป็นปัจจัยให้สติปัฎฐานเกิด ความเข้าใจรอบรู้ในปริยัติก็คือขั้นการฟัง การคิด การพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ตรงตามธรรมทุกอย่างตามที่ได้ฟัง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีวันจะตรง เห็นดอกกุหลาบก็เห็นดอกกุหลาบไปเรื่อยๆ ใช่ไหมแทงตลอดในปริยัติหรือเปล่าว่าไม่มีดอกกุหลาบ โลกว่างเปล่า
อ.ธิดารัตน์ ปริยัติที่ได้ศึกษา เพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรมแต่ละอย่าง อย่างชัดเจน
ท่านอาจารย์ เข้าใจอย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนเลย แทงตลอดเช่นว่า ขณะนี้สิ่งที่เห็นทางตา ไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้น เป็นธาตุที่เพียงปรากฏให้เห็นได้
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่าจากที่เราเรียน ไม่ว่าจะเรียนพระอภิธรรมโดยละเอียด หรือว่าลักษณะของความเป็นปัจจัย ก็เป็นการเรียนปริยัติเพื่อที่จะให้รู้ธรรมแต่ละอย่าง
ท่านอาจารย์ เรียนเพื่อเข้าใจไม่ต้องหวังอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าไม่มีความเข้าใจจะรู้ยิ่งกว่านี้ไม่ได้เลย แต่เพราะรู้อย่างนี้จึงค่อยๆ ละความติดข้องความต้องการความหวังด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น คือเพื่อเข้าใจ เช่น เมื่อสักครู่เราฟังเรื่องนี้เพื่อเข้าใจให้ถูกต้อง แล้วจบ หวังอะไรหรือเปล่า ถ้าหวังแทงตลอดในปริยัติหรือเปล่า
ผู้ฟัง ปฏิเวธในปริยัติ ก็ไม่ใช่ปฏิปัตติ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ แต่ถ้าไม่มีปฏิเวธในปริยัติ ปฏิปัตติก็เกิดไม่ได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึงคำว่าพุทธศาสนิกชน ก็มีความสงสัยลึกๆ ว่าคำนี้จะต้องมีความลึกซึ้งมาก ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายความลึกซึ้งของคำนี้
ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวว่าเป็นชาวพุทธหรือพุทธศาสนิกชน แต่ไม่รู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร และทรงแสดงธรรมอะไร จะถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ไม่ถูก ถ้าเช่นนั้นสมัยนี้ที่ในบัตรประชาชนที่เป็นพุทธศาสนิกชน เป็นแค่ชื่อใช้เฉยๆ
ท่านอาจารย์ เท่านั้น ก็เพียงแต่ว่าไม่ไปนับถือศาสนาอื่นเท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ได้เข้าใจศาสนาของตนเองที่ว่านับถือพุทธศาสนา ถ้าเราจะกล่าวว่าเรานับถืออะไร แต่เราไม่รู้ว่าดีอย่างไร สอนอะไร จะชื่อว่านับถือได้ไหม ก็ไม่รู้แล้วจะไปนับถือได้อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นหมายความว่าต้องมีความเข้าใจถูกขึ้นเรื่อยๆ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ในครั้งพุทธกาล มีใครเที่ยวไปประกาศว่าเป็นชาวพุทธโดยไม่ได้เคยฟังธรรมไหม
ผู้ฟัง เท่าที่เคยฟังเคยอ่านมา ไม่มี
ท่านอาจารย์ เมื่อฟังแล้วเข้าใจแล้ว จึงขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แสดงว่าต้องมีความเข้าใจ และเห็นประโยชน์คุณค่าจริงๆ แต่ชื่อก็ไม่สำคัญ จะเรียกหรือไม่เรียกก็คืออยู่ที่ความเข้าใจพระธรรม ถ้าเข้าใจพระธรรมแล้วมีคนบอกว่าไม่ใช่ชาวพุทธก็เรื่องของเขา แต่ว่าความจริงเมื่อมีความเข้าใจถูกต้อง จะเรียกหรือไม่เรียกก็คือเป็นผู้ที่นับถือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อ.อรรณพ มีคนเขาบอกว่ากลุ่มมูลนิธิเป็นลัทธิใหม่
ท่านอาจารย์ ต้องถามเขาว่าลัทธิคืออะไร
อ.อรรณพ เท่าที่ฟังเขามา ก็ไม่ได้คุยกับเขา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแต่ละคำก็พูดไปโดยไม่รู้ว่าพูดอะไร เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้เข้าใจพระธรรม พูดคำที่ไม่รู้จักตลอดชีวิต
อ.อรรณพ เขาดูว่าเรื่องเกี่ยวกับพระภิกษุ เรื่องเกี่ยวกับเงินทอง เขาดูว่าจะเหมือนกับจะล้มล้างประเพณีในเมืองไทยเรา วัดวาอารามอะไรต่ออะไรต่างๆ แล้วก็จะล้มล้างสำนักปฏิบัติ ก็ดูเหมือนเป็นแนวใหม่เป็นลัทธิใหม่
ท่านอาจารย์ สิ่งใดที่ผิด ควรจะรักษาไว้ไหม
อ.อรรณพ ไม่ควรอย่างยิ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ช่วยกันพิจารณาคำพูดที่ว่ามูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นลัทธิใหม่ว่าลัทธิคืออะไร
อ.สงบ ลัทธิก็คือเป็นเรื่องของความเชื่อถือในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นรูปแบบหรือเปล่า หรือว่าเป็นสัจธรรมความจริง
อ.อรรณพ เป็นสัจธรรมความจริง
ท่านอาจารย์ ดังนั้น การที่จะกล่าวว่าพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นลัทธิก็กล่าวผิดแล้ว เพราะว่ามูลนิธิศึกษาไม่ได้ศึกษาเรื่องอื่นเลย ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เผยแพร่ก็ไม่ได้เผยแพร่เรื่องอื่น เผยแพร่ความจริงที่ได้ศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้นใครจะคิดว่ามูลนิธิทำผิดก็กล่าวมาเป็นข้อๆ เป็นเรื่องๆ เช่น บอกว่าลัทธิ ก็ผิดแล้ว
อ.อรรณพ คือเขาเห็นว่าเหมือนกับว่าจะปฏิวัติประเพณี
ท่านอาจารย์ ปฏิวัติประเพณีอะไร
อ.อรรณพ ประเพณีที่เรียกว่าการที่ต้องไปสำนักปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ แล้วถูกหรือผิด ถูกหรือผิด ถ้าจะชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจว่าปฏิบัติคืออะไร ไม่ใช่มีใครสามารถจะเป็นอัตตา ชวนใครก็ได้ที่ไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วก็ไปปฏิบัติ แต่ว่าปฏิปัตติต้องเป็นปัญญาที่ฟังพระธรรมแล้วรู้ว่าขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นธรรมตรงตามที่ได้ฟัง แต่ว่ายังไม่ถึงการที่จะสามารถเข้าถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งธรรมใดด้วยการไปพยายาม แต่เพราะปัญญานั้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วก็ละความยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตน มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดเพราะปัจจัย ใครทำให้เห็นเกิดขึ้นได้บ้าง ใครทำให้คิดเกิดขึ้นได้บ้าง ใครทำให้เสียงเกิดขึ้นได้บ้าง ใครทำได้ ไม่มีใครทำได้เลย
เพราะฉะนั้นปฏิบัตินั่นใครทำ โดยที่ว่าไม่มีความรู้ความเข้าใจเลยแล้วปฏิบัติ นั่นเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ เพราะฉะนั้นประเพณีหมายความถึงสิ่งที่กระทำสืบต่อกันมา แต่ว่าโดยความเข้าใจหรือโดยความไม่เข้าใจ โดยความเห็นผิด หรือว่าโดยความเห็นถูก ถ้าเป็นสิ่งที่ผิดควรเลิกไหม หรือว่าจะให้ผิดต่อๆ ไป คำสอนทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวาจาสัจจะ เพราะฉะนั้นยกขึ้นมาเทียบเคียงได้ สำนักปฏิบัติคืออะไร ปฏิบัติอะไรเข้าใจอะไร มาจากไหน มีสำนักปฏิบัติในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างไหม แล้วทำไมจึงไม่มี เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วก็ไม่มีความรู้อะไรเลย แล้วก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจอะไรเลยแต่ให้ทำ พระพุทธเจ้าพุทธะคือปัญญาความรู้ที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้เกิดปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง แต่การที่จะไปนั่งไปเดินไปยืนไปนอน ทำขึ้นมาไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้นทั้งหมดนั้นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะให้ไม่รู้ ไม่ใช่ให้เข้าใจถูกต้อง
อ.อรรณพ บางคนก็ไม่อยากเห็นความแตกแยก เขาก็เลยดูว่าเป็นการที่ความเห็นต่างกันแตกแยกกัน
ท่านอาจารย์ กุศลกับอกุศลรวมกันได้ไหม
อ.อรรณพ ยิ่งกว่าน้ำกับน้ำมัน
ท่านอาจารย์ แล้วจะให้ไม่แตกแยก เอาอกุศลกับกุศลมารวมกันหรือ พูดต้องคิด แล้วต้องรู้ด้วย ถูกหรือผิด เป็นโทษหรือเป็นประโยชน์ ถ้าชาวพุทธทุกคนเข้าใจธรรมไม่มีใครทำลายประเทศได้ แต่ที่แตกแยกกันก็เพราะเหตุว่าไม่เข้าใจธรรม
อ.อรรณพ มีข้อความในพระไตรปิฏก ในเรื่องสาราณียธรรม พระอริยบุคคลท่านเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือผู้ที่มีความเห็นถูกจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเห็นถูกจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่มั่นคงอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเห็นถูกว่าชั่วเป็นชั่ว ดีเป็นดี อกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศลแล้วจะทำชั่วไหม
อ.อรรณพ ในเมื่อทุกคนพร้อมกันด้วยความเห็นถูกว่าชั่วเป็นชั่ว และไม่นิยมความชั่วก็เป็นความเห็นที่พร้อมกันพร้อมเพรียงกัน
ท่านอาจารย์ แล้วประเทศชาติจะเจริญไหม ในเมื่อมีแต่คนดีทั้งนั้น
อ.อรรณพ เจริญรุดหน้าแน่นอน
ท่านอาจารย์ แต่ที่ประเทศอ่อนแอ แล้วก็เสื่อมลง ไม่เจริญเพราะทุจริต ซึ่งเป็นอกุศล แต่ที่จะรวมกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นคนดีก่อน แล้วรวมกันได้ น้ำหนึ่งใจเดียวกันได้เมื่อเป็นคนดี เพราะฉะนั้นอยากให้รวมกันก็ศึกษาธรรมให้เข้าใจกันให้ทั่วถึงทั้งหมดแล้วก็รวมกันเองด้วยความเข้าใจถูกต้องในพระธรรม ไม่มีใครจะทำทุจริต แล้วทำไมจึงไม่ตั้งมั่นในคุณความดี เพราะไม่รู้ว่าคุณความดีมีแต่ประโยชน์ ส่วนความไม่ดีนั้นมีแต่โทษ เมื่อไม่รู้จริงๆ อย่างนี้ก็เป็นเช่นนี้ แต่ถ้ารู้ความจริงเมื่อใดก็ตั้งมั่นในความดีมากขึ้น จะไม่ได้รับโทษภัยใดๆ เลยทั้งสิ้นจากความดี ความดีต้องนำมาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อที่จะให้ตรงต่อพระธรรมวินัย และจุดประสงค์ที่รู้ว่าพระภิกษุไม่ใช่คือคฤหัสถ์แน่นอน จะทำกิจใดๆ ของคฤหัสถ์ หรือว่าจะมีชีวิตอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ จึงได้ทรงบัญญัติสิ่งที่ควรสำหรับบรรพชิต คือภิกษุที่จะต้องกระทำ พระองค์จะไม่รู้หรือว่าต่อไปข้างหน้าอีกร้อยปีพันปีหมื่นปีโลกจะเป็นอย่างไร พระองค์ต้องทรงทราบทุกอย่างจึงได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ และก็มีมหาปเทสไว้ เพื่อว่าภิกษุต่อไปอาจจะคิดว่าทำได้ เพราะว่าไม่ได้มีในข้อความที่ทรงบัญญัติไว้ เช่นบัญญัติว่า ภิกษุไม่รับ และไม่ยินดีในเงิน และทอง เขาก็จะบอกว่ามือถือไม่ใช่เงิน และทอง
เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงแสดงมหาปเทสไว้ เพื่อที่จะให้ภิกษุร่วมกันพิจารณาว่ามีสิ่งใดที่ควรที่จะประพฤติหลังจากที่ปรินิพพานแล้ว เช่น บัญญัติสิกขาบทต่างๆ จะมีการแก้ไขจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องประพฤติปฏิบัติตามได้ไหม แต่พระภิกษุทั้งหลายที่กระทำสังคายนาทั้งหมดนั้นเป็นพระอรหันต์ประชุมกันแล้ว ไม่เพิกถอนบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงบัญญัติแล้ว คำใดที่ตรัสไว้ไม่เป็นสอง แม้แต่ท่านพระอานนท์จะเคยทูลขอให้บุคคลที่ปราชิกแล้วเมื่อสำนึกแล้วได้บวชอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพระองค์ทรงทราบว่าบุคคลนั้นไม่มีคุณธรรม หรือไม่มีปัญญาอัธยาศัยที่สะสมมาที่จะเป็นบรรพชิต จึงสามารถที่จะเป็นปราชิกได้
ด้วยเหตุนี้เมื่อพระภิกษุทั้งหลายท่านกระทำสังคายนาไม่เพิกถอนสิกขาบทใดๆ ทั้งสิ้น และก็ไม่เพิ่มเติมด้วย แต่ต้องเป็นความเข้าใจถูกต้อง เพราะมหาปเทสกว้างขวางมากทุกกาลสมัย ให้เห็นว่าเปรียบเทียบอ้างอิงว่าสิ่งใดถูกต้อง เช่น ภิกษุทำธุรกิจการงานไม่ได้ ซื้อขายไม่ได้ แลกเปลี่ยนได้ไหม แม้แต่แลกเปลี่ยนยังไม่ได้ จากไม่ยินดีในการรับเงิน และทอง ก็ยังทรงบัญญัติว่าซื้อไม่ได้ขายไม่ได้ และทรงบัญญัติต่อไปอีกว่าแม้แลกเปลี่ยนก็ไม่ได้ พระวินัยมีข้อปลีกย่อยมาก ต้องอาศัยผู้ที่ศึกษาอย่างละเอียดเป็นพระวินัยธร
เพราะฉะนั้นทางมูลนิธิก็พยายามทุกประการ ที่จะทำให้ได้ศึกษาได้เข้าใจทั้งพระธรรม และพระวินัยเพิ่มขึ้นตามสติกำลังความสามารถ แต่ก็ทั้งพระธรรม และพระวินัยเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ แม้แต่มหาปเทส และการที่ภิกษุสมัยนี้จะอ้างว่าในครั้งพุทธกาลไม่มีมือถือ ไม่มีตู้เย็น ไม่มีรถยนต์ เป็นข้ออ้างทั้งหมด ซึ่งภิกษุรับไม่ได้
อ.อรรณพ ซึ่งในยุคนี้การเพ่งโทษโพนทนาในความไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย จะยากกว่าสมัยพุทธกาล ซึ่งมีแต่ผู้ที่เป็นบัณฑิตมากมาย
ท่านอาจารย์ พูดคำจริงเป็นประโยชน์ ยากก็เป็นประโยชน์ เดี๋ยวจะคิดว่ายากแล้วก็คิดว่าอย่าพูด
อ.อรรณพ จริงๆ ก็ตามส่วนกัน สมัยก่อนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพวกนี้ก็ร้ายแรงมาก
ท่านอาจารย์ แต่ระหว่างคำจริงวาจาสัจจะกับมุสาวาทะคำไม่จริง ผู้ที่มีปัญญาก็รู้ได้ว่าอะไรถูก ไม่เช่นนั้นก็ต้องไม่มีพวกเดียรถีย์เลย ถ้าทุกคนสามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ถ้ากล่าวว่าเป็นชาวพุทธแล้วต้องศึกษาพระธรรมวินัย มิเช่นนั้นแล้วก็คิดเองซึ่งผิด
อ.อรรณพ แต่ผู้ที่ไม่มีปัญญามีมากกว่า
ท่านอาจารย์ ก็เรื่องของพวกที่ไม่มีปัญญาที่อินเดียสมัยนั้นมากมาย ไม่ใช่ว่าทุกคนไปที่พระเชตวันไปฟังพระธรรม
อ.อรรณพ แต่ผู้ที่มีปัญญาในสมัยนั้น มีจำนวนมากกว่าสมัยนี้มากมาย
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อเทียบกับจำนวนของคน น้อยหรือมาก
อ.อรรณพ ก็ยังคงน้อยกว่า แต่เดี๋ยวนี้ยิ่งเทียบกันแทบจะไม่ได้
ท่านอาจารย์ มีท่านผู้หนึ่ง ท่านกล่าวว่าคนที่มีความเข้าใจถูกความเห็นถูก ในพระพุทธศาสนาในพระธรรมวินัยเปรียบเหมือนปลายเข็มที่จรดลงที่พื้นโลกเท่านั้นเอง
อ.อรรณพ ที่ฟังเพื่อให้ทราบว่าเป็นความจริงอย่างนั้น แต่ว่าก็มีปัจจัยทำให้เกิดความสลดหดหู่เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเลย ความจริงก็เป็นความจริงทำดีที่สุด เกิดมาไม่ได้หวังผลอะไร ทำเท่าที่จะทำได้ ใครจะเข้าใจมากน้อยเท่าใด นั่นคือความเข้าใจในความเป็นอนัตตา
อ.อรรณพ จุดเท่าปลายเข็มบนผืนโลกจะค่อยๆ ขยายขึ้น หรือว่าจะเลือนหายไป
ท่านอาจารย์ แล้วแต่เหตุปัจจัยไม่มีใครเป็นเจ้าของที่จะไปบงการหรือว่าบังคับบัญชาได้ แต่เกิดมาแล้วเป็นมนุษย์มีโอกาสได้ฟังพระธรรม และต่อไปจะเป็นอะไรก็ไม่รู้อีกนานแสนนานไม่รู้จบเลย กับการที่ได้เห็นประโยชน์แล้วก็ให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย เท่าที่จะกระทำได้ เป็นสิ่งที่ควรทำไหม
อ.อรรณพ ควรทำอย่างยิ่ง
ท่านอาจารย์ ก็ทำ
อ.อรรณพ ถึงจะพอให้ยังมีจุดเท่าปลายเข็มนี้บ้าง แต่ไม่เกิน พ.ศ.๕๐๐๐ จุดเหล่านี้ไม่มีบนโลกแล้ว
ท่านอาจารย์ นี่คือความคิด แล้วแต่จะคิด แต่ความจริงก็ต้องเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเกิดมาแล้ว มีโอกาสที่จะทำดีศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ก็ทำไปเท่าที่จะทำได้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นการสะสมไปที่จะให้ถึงโลกว่างเปล่า ติดข้องในสิ่งที่ว่างเปล่า เพราะจากไม่มี ก็มีแล้วดับไม่กลับมาอีกเลย ไม่เหลือเลยทั้งสิ้น จึงว่างเปล่า ได้ยินเสียง ก่อนได้ยินไม่มีเสียง เสียงไม่ได้ปรากฏ แต่เพียงแค่ปรากฏดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เฉพาะเสียง ทุกอย่างเมื่อปัญญารู้ความจริงก็เหมือนกันทั้งนั้นคือเป็นสิ่งที่ปรากฏสั้นมาก เพราะฉะนั้นกว่าปัญญาที่กำลังรู้เฉพาะถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง จะเข้มแข็งมั่นคงจนกระทั่งสามารถสละความติดข้อง ก็เพราะประจักษ์ความว่างเปล่าในสิ่งซึ่งคิดว่ายั่งยืนหรือว่ามีอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นเรื่องของการที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา เพราะปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะเป็นอย่างนี้ได้ บางท่านๆ ก็บอกว่า วันหนึ่งๆ ปัญญาเกิดน้อย อย่างเรากำลังฟังมีความเข้าใจอีกไม่นานเพียงแค่นิดเดียวเราออกจากห้องนี้ไปก็เป็นเรื่องอื่นแล้ว ก็ดูเหมือนว่าเป็นที่น่าสลดใจ แต่ความจริงปัญญาไม่สลดเพราะรู้ว่าขณะนั้นเกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย จนกว่าทั้งหมดไม่ว่ากุศล และอกุศลก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นก็มีความมั่นคงทะลุปรุโปร่งในความหมายของคำว่าธรรมเป็นธรรม ถ้าเป็นเรา เราก็เสียดายบ้าง อะไรบ้าง แต่ไม่มีเลย แม้แต่ความรู้สึกเสียดายโทมนัส สุขอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็เกิดเมื่อมีปัจจัยที่จะเกิดเท่านั้น มากน้อยก็ตามลำดับตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นเราที่จะต้องโศกเศร้าเสียใจ นี่คือเริ่มมีการเข้าใจทะลุปรุโปร่ง ธรรมไม่ใช่เรา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960