ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๓๒

    สนทนาธรรม ที่ โรงละครวังหน้า

    วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ที่เคารพ มีสติระลึกรู้ สภาพธรรมความเป็นจริง ๒ ประโยคนี้ ก็การเจริญสติพอที่จะทำกันได้

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ มีสติได้อย่างไร ทุกคำต้องไตร่ตรอง มีสติระลึกรู้ รู้จักสติหรือยัง เพียงได้ฟังคำว่ามีสติ แล้วเหมือนกับรู้เข้าใจทันทีว่ามีสติคืออย่างไร นั่นผิด แต่ต้องรู้ว่าสติคืออะไร เพราะฉะนั้นทุกคำประมาทไม่ได้เลย ต้องเข้าใจจริงๆ เดี๋ยวนี้มีสติไหม ถึงแม้ว่าจะรู้แล้วว่าสติคืออะไร ก็ยังต้องรู้ว่าแล้วเดี๋ยวนี้มีสติหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ตอบตามความจริง ก็ยังไม่มีสติ

    ท่านอาจารย์ รู้จักสติหรือยัง

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่รู้จรัก

    ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่รู้ตอบไม่ได้ คิดเอง เดาเอง คาดหวังว่าเป็น หรือไม่เป็น แต่ว่าถ้าศึกษาธรรมจริงๆ จะรู้ได้เลยว่า กำลังมีก็ไม่รู้

    ผู้ฟัง ก็คงอย่างที่อาจารย์ว่า ต้องแทงตลอดในปริยัติ ถ้าอย่างผมอย่าหวังเลย

    ท่านอาจารย์ แต่ก่อนที่จะแทงตลาดไม่รู้เลยใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมถึงแทงตลอดได้

    ผู้ฟัง ก็ต้องฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าไม่รู้เลย แล้วไม่มีหนทาง หนทางคือฟังคำจริงไตร่ตรอง และก็เข้าใจให้ถูกต้องแต่ละคำ แต่ละคำ ทุกคำสอดคล้องกันหมด ทำให้เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง แม้แต่คำว่าสติ พวกกระผมเองก็ยังไม่สมบูรณ์ แบบว่าอย่างนั้นเถอะ แล้วจะประสาอะไรกับการที่ว่า ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงยังไกลมาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพอทราบว่าไม่เข้าใจประโยคนี้โดยแจ่มแจ้ง ก็ฟังจนกระทั่งรู้ว่าสติคืออะไร และสติจะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่เกิดก็ไม่มี แต่จะให้เกิดตามใจชอบก็ไม่ได้ จะไปพยายามบังคับให้สติเกิดก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความเข้าใจมั่นคงว่า สิ่งที่มีไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย

    ผู้ฟัง อย่างการดำรงชีวิตเป็นประจำทั้งหมด ผมจะทำอะไรก็ทำได้หมดจะกินจะนอน กินดื่มทำพูดคิดต่างๆ ก็ทำได้หมด นั้นก็ถือว่ามีสติอย่างนั้นไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อนรู้ไหมว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง รู้อยู่ว่าเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้รู้ ทุกวันตั้งแต่เช้ามา จะกิน จะนอนอย่างที่ว่าเมื่อครู่นี้ แต่ละหนึ่งขณะนั้นรู้ไหมว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง คือจริงๆ เป็นสภาวธรรม แต่ไม่เข้าใจเลย ไม่รู้เลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นมีสติ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็คงไม่มี

    ท่านอาจารย์ จนกว่าปัญญามากพอที่จะรู้ความต่าง เมื่อสติสัมปชัญญะ หรือสติปัฎฐานเกิดเท่านั้น จึงจะสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ได้ ไม่เช่นนั้นก็เพียงฟังเรื่องของสภาพธรรม เช่นฟังเรื่องสติ เข้าใจด้วย และขณะนั้นลักษณะของสติปรากฏหรือเปล่า ให้รู้หรือเปล่าว่า นี่เป็นสติ นั้นเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมดเลย มากมายอยู่ในความมืด จนกว่ามีความเข้าใจพอที่จะไม่มีอะไรกั้นความจริง ที่ได้ฟังบ่อยขณะนี้สภาพธรรมต้องเกิดไม่เกิดไม่มี คำนี้เป็นคำจริง เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะละคลายความต้องการที่จะทำบ้าง หรือว่าที่เพียรที่จะไปรู้อย่างนั้นอย่างนี้โดยไม่เข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราที่เข้าใจ แม้แต่ความเข้าใจก็ไม่ใช่เรา ทั้งหมดเป็นธรรม ตื่นเต้นก็เป็นธรรม ไม่ว่าจะวันก่อนหรือวันนี้เห็นเมื่อวันก่อนหรือวันนี้ คิดเมื่อวันก่อนหรือวันนี้ ทุกขณะแม้เดี๋ยวนี้หนึ่งเท่านั้น สิ่งอื่นที่ปรากฏเมื่อครู่นี้ดับหมดแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นให้รู้ เพราะฉะนั้นจะรู้ความจริงก็ต้องความจริงของเดียวนี้ ถ้ามีความเข้าใจ และมั่นคงว่า จะไม่ไปทำอะไรที่ไหน แต่ว่าฟังพระธรรมจนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งรู้ว่าสติสัมปชัญญะรู้อะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว ก็แปลว่า สติ มีขั้นระดับธรรมดา กับขั้นระดับโลกุตระอย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ต่างกันมากเลย เพราะว่าสติเกิดขึ้นหนึ่งขณะดับไปไม่กลับมาอีกเลย แต่ขณะต่อไปมีปัจจัยให้สติเกิด สตินั้นก็เกิด ไม่ใช่สติเก่า แต่สติก็เป็นสติ เหมือนเห็น จะเมื่อวานนี้ หรือวันนี้ หรือวันต่อๆ ไป เห็นจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เห็นก็เป็นเห็น แต่ต้องมีปัจจัยให้เห็นเกิด ถ้าวันนี้เดี๋ยวนี้กำลังเห็น ต่อไปตาบอด

    ผู้ฟัง ไม่เห็นแล้ว

    ท่านอาจารย์ ไม่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้นแม้แต่เห็นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ทุกอย่างหมด มีความมั่นใจว่าไม่มีใครไปทำได้ สภาพธรรมมีเหตุปัจจัยเกิดแล้วเป็นอย่างนี้ คิดแล้วคิดอย่างนี้

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างงั้นการใช้ชีวิตประจำวันทุกวันนี้ ก็ไม่ต้องมีสติ

    ท่านอาจารย์ แล้วมี หรือเปล่า

    ผู้ฟัง แต่เราก็ทำกันได้นะ ดำรงชีวิตก็ได้ ไปทำงานทำการเป็นอะไรขับรถก็ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ฟังธรรม ไม่รู้เลยมีหรือไม่มี ได้แต่นั่งคิดแล้วก็นั่งสงสัยไปเรื่อยๆ แต่การฟังธรรมทำให้รู้โดยขั้นการฟัง เพื่อที่จะละความเป็นเรา มีสติหรือหลงลืมสติ ๒ คำนี้มีในพระไตรปิฎก แต่ว่าทั้งๆ ที่มีก็ไม่รู้ จนกว่าสภาพของธรรมแต่ละขั้น ความเข้าใจแต่ละขั้นเกิดขึ้น เช่น ถ้าขณะนี้ สติสัมปชัญญะเกิด คำว่าสติสัมปชัญญะไม่ได้หมายความถึง สติขั้นทาน หรือสติขั้นศีล หรือสติขั้นความสงบ แต่สัมปชัญญะคือกำลังมีสภาพธรรมหนึ่ง ปรากฏเร็วมากเลย เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นดับแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปหวังไปคอยสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด ที่สติจะเกิดแล้วรู้ สติเกิดก็เพราะเหตุปัจจัยเป็นอนัตตา สติจะระลึกรู้อะไรก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เกิดแล้วดับแล้วด้วย ไม่มีใครทันไปทำอะไรได้ เพราะเหตุว่าไม่มีเราอีกต่างหาก แต่ขณะนั้นเป็นธรรมทั้งหมด หลากหลาย ซึ่งเกิดดับสืบต่อ ลวงให้เห็นเหมือนกับว่า ยังมีเราในสิ่งนั้นบ้างในสิ่งนี้บ้าง แม้แต่ในขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเท่าที่มีชีวิตประจำวัน ทุกๆ วันอยู่ ก็หลงลืมสติตลอดเลย

    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่กุศลไม่เกิด ขณะนั้นสติก็เกิดไม่ได้เพราะว่าสติเป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล วันนี้เคยช่วยใครบ้าง หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เคยช่วย ก็ช่วยหลานไปโรงเรียน

    ท่านอาจารย์ ช่วยหลานด้วยความรัก หรือว่าเพราะช่วยด้วยความเห็นประโยชน์ว่าเขายังเด็กยังเล็ก แล้วก็เราจะทำสิ่งที่ช่วยเขาได้ก็ทำนี่เป็นสิ่งที่ยากมาก แม้แต่การให้ เคยให้ แต่ให้ด้วยอะไร ให้ด้วยสติ หรือให้ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือให้ด้วยความติดข้อง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งเปรียบเทียบเลือกธรรมเอง แต่ต้องเป็นความตรงต่อธรรม

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างที่อาจารย์ว่านั่น ก็คงอยู่ในฐานะที่ว่าให้ในลักษณะของความติดข้องมากกว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะมานั่งคิดว่า สติจะเกิดไหมวันนี้ สติเกิดตอนไหน ก็คิดไปแต่ไม่ได้เป็นความถูกต้อง จนกว่าจะเข้าใจธรรม จึงจะรู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล ถ้าขณะใดเป็นอกุศลขณะนั้นสติไม่ได้เกิดเลย

    ผู้ฟัง บางครั้งที่พูดถึงเรื่องว่า การบวชในพระศาสนา ที่ว่าคนที่มาบวชไม่รู้เรื่องอะไรเลย

    ท่านอาจารย์ เคยบวช หรือยัง

    ผู้ฟัง เคยแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วบวขเพื่ออะไรตอนนั้น

    ผู้ฟัง ก็บวชแบบตามประเพณีนะอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีประเพณีบวชไหม

    ผู้ฟัง ก็ทุกวันนี้ ก็ยังถือกันอยู่ประเพณีจารีตประเพณี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาเป็นแค่ประเพณีบวช หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีคนที่ไม่เข้าใจคิดว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เข้าใจพุทธะปัญญา ศาสนาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ เพื่อให้คนอื่นได้รู้ความจริงของสิ่งที่มี ก็หลงเข้าใจว่าพุทธศาสนาคือปฏิบัติธรรม สำนักปฏิบัติ เข้าใจอย่างนั้นจริงๆ ทั่วโลก ถูกหรือผิด ต้องเป็นผู้ที่ตรง ถ้าไม่รู้จักธรรม จะปฏิบัติธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็คงไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วถ้ารู้จักธรรมแล้ว จะปฏิบัติธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ปฏิบัติได้

    ท่านอาจารย์ เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เพื่อละความไม่รู้ ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ต้องไม่ลืม ฟังทำไม ฟังไปเราดี ฟังไปเราเก่ง ฟังไปแล้วรู้นั่นรู้นี่ ไม่เป็นประโยชน์เลย เพราะเป็นเรา แต่ถ้าฟังแล้วมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าไม่มีเรา ธรรมเป็นธรรมจริงๆ มั่นคงหรือยัง ธรรมแต่ละหนึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้น แล้วดับไป แล้วไม่กลับไปอีกเลย เราอยู่ที่ไหน ค่อยๆ สะสมความเห็นถูกทีละเล็กทีละน้อย

    เมื่อวานก่อนก็กล่าวถึงการสะสมความเห็นถูกทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ เพราะความเห็นถูกต้อง เกิดท่ามกลางอกุศลที่มีมาก เห็นก็เป็นอกุศลแล้ว ได้ยินก็เป็นอกุศลแล้ว ถ้าคนที่ไม่ฟังธรรมก็ไม่รู้เลย จะเป็นอกุศลได้อย่างไร เห็นแล้วเป็นอกุศล ก็เห็นแล้วไม่รู้ว่าเห็นไม่ใช่เรา ก็เห็น ก็เป็นแต่เพียงสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น แล้วก็ดับไป ไม่ได้รู้อย่างนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกตั้งแต่เกิดไม่ใช่แต่เฉพาะวันนี้ แต่ว่าตั้งแต่เกิดมาเลย เพราะฉะนั้นขณะที่ปัญญาเกิด ปัญญาก็เกิดรู้เฉพาะลักษณะของธรรมเพียงหนึ่งในท่ามกลางอกุศลทั้งหลาย ซึ่งหลงลืมสติ จนกว่าปัญญาจะเกิดขึ้น นี่คือการฟังเพื่อที่จะเข้าใจ เพื่อละความไม่รู้ และรู้ว่าไม่มีใครที่จะทำให้ความไม่รู้นั้นหมดไปได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้ก่อน แล้วได้ทรงแสดงพระธรรมให้คนอื่นได้เข้าใจตาม

    ผู้ฟัง พวกผมทั้งหลายนี่ก็อยู่ในฐานะที่เป็นความไม่รู้ ทั้งนั้น แต่จู่ๆ จะรู้กันไปลึกๆ เลยก็คงจะไม่ใช่ ถึงแม้ว่าจะ

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ต่างหาก จึงเห็นประโยชน์ของการที่จะรู้ไม่ใช่อาศัยความไม่รู้ไปตลอดชีวิต แล้วก็จะเข้าใจธรรมได้ แต่เพราะรู้รู้นี่คือปัญญา เพราะรู้ว่าไม่รู้ ก็เริ่มที่จะรู้ว่า รู้ได้โดยการฟังพระธรรม

    ผู้ฟัง คือถ้ารู้ว่าตัวเองไม่รู้ ก็เที่ยวขวนขวายฟังธรรม ขวนขวายศึกษาอะไรต่างๆ ก็เป็นเหตุเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะให้เกิดความรู้ขึ้นมา

    ท่านอาจารย์ แต่ต้องไตร่ตรองใช่ไหม ว่าคำที่ได้ยินถูกหรือผิด ถ้าบอกว่าปฏิบัติธรรม ไปปฏิบัติธรรม ถูกหรือผิด

    ผู้ฟัง ก็คงจะไม่ถูกหรอก อย่างที่อาจารย์ว่าคงไม่ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องฟังให้ละเอียด จนกระทั่งเป็นความเข้าใจตรงมั่นคงจริงๆ ต่อคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิเช่นนั้นคำของพระองค์ก็ไร้ผล ทรงแสดงแล้วก็ไม่มีใครไตร่ตรองจนกระทั่งเข้าใจได้ แต่ว่าทุกคำสามารถที่จะละความไม่รู้ แล้วก็เข้าใจถูกขึ้น

    ผู้ฟัง ผมได้เคยไปอย่างที่อาจารย์ว่า เห็นเขาบอกว่าที่นั่นสงบดีอะไรดี ผมก็ไป บำเพ็ญภาวนาสมาธินี่แหละ ถ้าจะถามว่ารู้ หรือเปล่าไม่รู้หรอก ผมไม่รู้ ก็คิดว่าว่างจากงานก็ไปหาความสงบอะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นสถานที่ แปลกกว่าทุกวันที่เป็นอยู่

    ท่านอาจารย์ ชอบใช่ไหม

    ผู้ฟัง ก็นิสัย ก็โน้มเอียงไม่ได้เรื่องของทาง

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ชอบจะไปไหม

    ผู้ฟัง ก็ชอบธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชอบเป็นโลภะ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าชอบ แน่นอนเป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้แจ้งสภาพธรรมได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ก็คงจะต้องอาศัยเวลา ศึกษาจนกระทั่งไม่มีโลภะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะไปอีกไหม

    ผู้ฟัง ก็คงไม่ได้ไป

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นคนตรงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คือถ้าผมไม่ไป ผมคิดว่าผมก็ตรง

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีผู้ที่มาฟังธรรมแล้ว ก็ไปสำนักปฏิบัติ ด้วยความหวังว่าจากการฟังธรรม แล้วเข้าใจนี่แหละจะเอาไปปฏิบัติทำให้ปฏิบัติได้ดี ถูกไหม

    ผู้ฟัง ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีคนทำอย่างนี้หลายคน ลืมไปว่าการฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ ใช่หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นการฟังธรรม เพื่อเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏเพราะเกิดดับ ไม่ต้องไปรอว่าอันไหน เมื่อไรทั้งสิ้น เพราะดับไปแล้วทั้งนั้น แม้แต่ขณะนี้ก็เป็นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ว่าฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏจะต้องไปที่ไหนไหม

    ผู้ฟัง ไม่ต้องไป

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าจะคิดว่าฟังธรรมเข้าใจแล้ว ก็จะได้ทำให้ปฏิบัติดีขึ้น ก็ยังคงมีตัวตนที่ปฏิบัติ แล้วหวังว่าการปฏิบัตินั้นดี แต่ผิดตั้งแต่ไปปฏิบัติ เพราะขณะนั้นเป็นความต้องการด้วยความเป็นเรา

    ผู้ฟัง นั่นเป็นอุปนิสัย

    ท่านอาจารย์ เป็นอุปนิสัยผิดมีไหม ทิฏฐิความเห็นผิดมาจากไหนถ้าไม่ใช่อุปนิสัยที่ชิน และก็คุ้นเคย แล้วก็ชอบในความเห็นผิดนั้น ถ้าไม่ติดข้อง ไม่ยินดี ไม่ชอบใจ ในความเห็นผิดนั้นก็จะไม่มีความเห็นผิดอย่างนั้น แต่ที่ยังคงมีความเห็นผิดอยู่ เพราะว่าพอใจในความเห็นผิดนั้น

    ผู้ฟัง ก็คนส่วนมากก็ยังไม่มีปัญญาพอที่จะแหลมคม จะมองทะลุถึงความเห็นถูกเห็นผิดตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ เขารู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้จัก

    ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้จักได้อย่างไร หรือไม่ต้องการรู้จัก

    ผู้ฟัง ถ้าหากต้องการจะรู้จัก พระสัมมาพระพุทธเจ้าก็ต้องศึกษาพระธรรมของพระองค์

    ท่านอาจารย์ ฟังพระธรรมเข้าใจเมื่อไหร่ ขณะที่เข้าใจนั้นเห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน ว่าถ้าไม่มีการตรัสรู้ จะไม่มีคำเหล่านี้ให้ได้ฟังเลย จะไม่มีคำว่าสติ ไม่มีคำว่าสติปัฎฐาน จะไม่มีคำว่าธรรม จะไม่มีคำว่าปรมัตถธรรม จะไม่มีคำว่าอภิธรรม จะไม่มีคำว่าธาตุ จะไม่มีทุกคำที่ได้ฟังเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมี ไม่ต้องรอคอยอะไรเลย เพียงแต่ว่ามีปัญญาพอที่จะเข้าใจหรือยัง ถ้ายังไม่มีก็ฟังต่อไป เพราะว่าที่เข้าใจ ไม่ใช่เราแต่เป็นปัญญา ปัญญาเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ผมไม่ได้เรียนอภิธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องหรอก ธรรมที่ได้ฟังแล้วถ้าไตร่ตรอง แล้วก็พอจะตอบได้ด้วยความถูกต้อง ไม่ต้องอาศัยอะไรเลย อาศัยความจริง ความตรงไปตรงมา อาศัยเหตุกับผล

    ผู้ฟัง ถามว่าปัญญาคือเราหรือเปล่า จะตอบอย่างไรดี

    ท่านอาจารย์ นี่คือผู้ฟังธรรม จะได้รู้ว่าฟังแล้วเข้าใจแค่ไหน ไม่ใช่ฟังแล้ว ๑๐ ปี แต่ว่าความเข้าใจกับคำถามที่ตอบ ต้องตรงกันว่าปัญญาเป็นเรา หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรา ก็ตรงกันข้ามกับคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมสิ่งที่มีจริงทั้งหมดไม่เว้นเลย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น นี่คือคำสอนซึ่งเป็นเบื้องต้น ซึ่งจะสอดคล้องตรงกับทุกคำของพระองค์ จะไม่ค้านกันเลย แม้แต่ปัญญาถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะเกิด เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ยังต้องใช้ปัญญาอยู่ดี

    ท่านอาจารย์ ใช้ได้อย่างไร ยังไม่มี เพราะฉะนั้นทุกคำต้องละเอียดมาก เช่นคำว่าใช้ปัญญา ปัญญาอยู่ไหน ปัญญารู้อะไร แล้วใครใช้ ใช้เมื่อไร ใช้ได้อย่างไร วิธีใช้ปัญญาทำอย่างไร ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเลย เพราะว่าขณะนี้ ปัญญามีหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าถามว่ามีหรือเปล่า ก็คงยังไม่มี มีน้อย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญารู้อะไรที่กล่าวว่าคง หรือมีน้อยปัญญารู้อะไร ที่ชื่อว่าปัญญา ความเข้าใจถูกความเห็นถูก เห็นถูกอะไร รู้ถูกอะไร เข้าใจอะไร ที่จริงๆ ไม่ต้องมีสอบอารมณ์ใช่ไหม ไม่ต้องเข้าห้องแล้วมานั่งถามมานั่งสอบ แต่จากการที่ได้ฟังธรรมด้วยการไตร่ตรอง คำตอบที่ถูก ก็เพราะเหตุว่าได้พิจารณาคำที่ได้ฟัง เห็นเป็นเราหรือเปล่า ตอบอย่างไรก็ได้ตามความคิด ความเข้าใจ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา ปัญญาเป็นเรา หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องไม่ใช่ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจ เริ่มนะ เริ่มเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ มีจริง ไม่ใช่ไม่มี มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ก็มีแต่ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา เพราะว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครสามารถไปทำให้เกิดขึ้นได้ เกิดแล้วก็ดับไปด้วย แล้วเราจะอยู่ที่ไหน อะไรจะเป็นเราต่อไปได้ ต้องตรงตั้งแต่ต้น เป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็จะไม่ไปหนทางผิด

    ผู้ฟัง คือเมื่อเช้านี้ ฟังว่า คือญาติโยมทั้งหลายส่วนมากไม่รู้ อย่างที่เอาเงินถวายพระ แล้วพระก็รับเงินไป ถามว่าผิดไหม แน่นอนตาม พระธรรมวินัยผิดแน่นอน แล้วทำไมพระไม่บอกโยมละ

    ท่านอาจารย์ แต่พระรู้หรือเปล่า ว่าผิด

    ผู้ฟัง ก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือพระไม่รู้แล้วก็ไม่สามารถบอกได้

    ท่านอาจารย์ บอกว่าพระไม่รู้เป็นพระไม่ได้ จะเป็นพระได้อย่างไร ถ้าไม่รู้พระวินัย และไม่ได้ศึกษาธรรม

    ผู้ฟัง แต่ก็มีพระที่รู้ แต่ไม่บอก มีพระที่รู้มี ๒ อย่าง พระไม่รู้ไม่สามารถจะบอกได้ว่าผิด

    ท่านอาจารย์ แล้วรับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง แต่พระที่รู้

    ท่านอาจารย์ แล้วรับหรือเปล่า รับเงินทองหรือเปล่า

    ผู้ฟัง รับ

    ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่รู้แล้วรับ ผิดไหม

    ผู้ฟัง อันนี้ผิดแน่นอน แล้วทำไมไม่บอกโยม แล้วโยมก็เชื่อจังเลยถวายต้องถวายพระนะ เงินนี้ไม่ถวายพระไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้แล้ว ทำผิดแล้วไม่บอกโยมให้รู้ด้วยว่าผิด ผู้นั้นเป็นพระ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าตามหลักตามพระธรรมวินัยก็ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ แล้วเป็นพระโดยไม่ศึกษาธรรม ไม่รักษาพระวินัย แล้วเป็นพระได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ก็นี่แหละจึงเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย

    อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ เพราะว่าแต่ละสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่เป็นบรรพชิตอย่างแท้จริง เพื่อความอยู่ผาสุก เพื่อความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามตามสมควรแก่เพศที่สูงยิ่ง ก็คือเพศบรรพชิต แต่ถ้าท่านใดก็ตามที่ไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีการล่วงละเมิดสิกขาบท ต้องอาบัติ มีโทษตามสิกขาบทนั้นๆ แล้วก็ถ้าหากว่าต้องอาบัติแล้วไม่เห็นโทษ ไม่กระทำคืน ไม่แสดงคืนตามพระธรรมวินัย เป็นผู้ที่มีอาบัติติดตัวอยู่ ถ้าหากว่ามรณภาพไป ก็เป็นผู้ที่มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ก็ทรงแสดงไว้โดยรวมอย่างนี้ว่า ความเป็นบรรพชิตความเป็นสมณะ ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะฉุดคร่าไปสู่อบายภูมิเท่านั้น ก็แสดงถึงการประพฤติผิดในเพศที่สูงยิ่ง มีโทษมากจริงๆ ซึ่งในพระวินัยก็ดี หรือว่าในพระสูตรต่างๆ ก็ดี ที่ทรงแสดงถึงบรรพชิตที่ประพฤติผิดแล้ว หลังจากนั้นมรณภาพไปเกิดในนรก นับชาติไม่ถ้วน พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสิ้นไป จนกว่าอีกพระองค์หนึ่งจะอุบัติขึ้น ก็พ้นจากนรก พ้นจากนรกแล้วก็เกิดเป็นเปรต น่ากลัวมากเลย มีรูปร่างเหมือนกับพระภิกษุทุกอย่าง ทรงบาตร ทรงจีวร มีสังฆาฏิ แต่ว่าถูกไฟแผดเผาได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนโดยที่ไม่มีใครทำให้เลย นอกจากความประพฤติที่ไม่เหมาะไม่ควรสำหรับผู้นั้นจริงๆ เป็นโทษมาก

    ผู้ฟัง ก็คำว่าภิกษุนี้ก็คงจะมีความหมายได้หลายนัย คำว่าภิกษุจะแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสารก็ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เพราะเห็นภัยใช่ไหมจึงบวช เพราะเห็นภัยใช่ไหมจึงจะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตตามพระวินัย เพราะฉะนั้นเปลี่ยนได้ไหม ไม่ตรงต่อความจริงได้ไหม ที่บวช

    ผู้ฟัง ก็คงไม่ได้ ต้องเป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร ก็ไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ละเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต ต้องเห็นประโยชน์อย่างยิ่งของการเป็นภิกษุ มิเช่นนั้นแล้วก็ศึกษาธรรมในเพศของคฤหัสถ์ได้ ไม่มีใครห้ามการเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ไม่ต้องบวช ไม่ใช่ว่าใครอยากบวชก็บวช หรือจะไปบวชเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ตรงมั่นคงจริงใจที่จะรู้อัธยาศัยว่าสามารถประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยทั้งหมด ทุกกาลสมัย ไม่ใช่ว่าสมัยโน้นประพฤติอย่างนั้น สมัยนี้ไม่อย่างนั้น ธรรมต้องเป็นธรรม ความจริงต้องเป็นความจริง และที่สำคัญที่สุด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อภิกษุจะประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความอยู่อย่างผาสุกร่วมกันสบายไหม ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะคิดถึงเงิน ไม่ต้องมายินดีในเงิน และทอง ไม่ต้องมีเรือกสวนไร่นา ไม่ต้องมีรถยนต์ ไม่ต้องมีโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องมีอะไรสารพัดอย่างที่ชาวบ้านมี ไม่ต้องไปทำกิจธุระของคฤหัสถ์เลย เพราะธุระไหนสำคัญกว่ากัน ธุระของคฤหัสถ์เป็นไปเพื่อชาตินี้ชาติเดียว แต่ธุระของพระภิกษุไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียวไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าคฤหัสถ์กี่คนจะมีอัธยาศัยที่จะละเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 179
    8 พ.ค. 2567