ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
ตอนที่ ๙๓๙
สนทนาธรรม ที่ คุ้มภูผาหมอก จ.เลย
วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ ที่จะละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเช่น ละความเป็นโต๊ะ ความเป็นสัตว์บุคคล เป็นเก้าอี้ เป็นหลังคา คือเป็นเพียงแค่เห็น แต่ขณะที่คิดเพราะจำ ถ้าไม่จำก็จะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ปรากฏรูปร่างอย่างไร จึงทำให้คิดว่า เป็นโต๊ะบ้าง เป็นเก้าอี้บ้าง เป็นคนบ้าง นี่คือความละเอียดแม้แต่ชั่ว ๑ ขณะ เห็นดับไปแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะเห็นตลอดไป เห็นคนนี้ตลอดไป ไม่ใช่เลย มีจิตที่เกิดสลับ ทำหน้าที่ต่างๆ กัน ซึ่งไม่ใช่เห็น เวลาหลับฝันไหม
ผู้ฟัง ฝัน
ท่านอาจารย์ ฝันเห็นอะไร
ผู้ฟัง ฝันทุกวันเลย
ท่านอาจารย์ เห็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เห็นบางทีก็ฝันเห็นเพื่อนบ้าง ฝันไปเที่ยวบ้าง
ท่านอาจารย์ แล้วเห็นจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่จริง
ท่านอาจารย์ แค่นี้เราก็รู้แล้ว ฝันเห็น เห็นในฝันกับเห็นจริงๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอะไรทำให้ต่างกัน เพราะเหตุว่า พอเห็นแล้วคิดเลยใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความจำ จำเรื่องราวสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากที่เห็น เพราะฉะนั้นแม้ไม่เห็นก็จำได้ คุณวิชัย พูดแค่นี้จำเลยรูปร่างเป็นยังไงใช่ไหม แต่ว่าไม่มีภาพ ไม่มีสิ่งที่กระทบตาปรากฏให้รู้ว่านี้เป็นสิ่งที่มีจริง แต่จำว่าเป็นคุณวิชัย แค่เป็นสิ่งที่มีจริง ฟังแค่นี้อีกนานเท่าไหร่ กว่าจะมีความเข้าใจที่มั่นคงว่า แค่เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งเกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไป แต่ละคำไม่ใช่ให้เราไปรีบร้อนรู้นั่นรู้นี่ แต่มีความเข้าใจลึกซึ้งมั่นคงแน่นอน แม้ในคำเดียวคือธรรม มีจริงๆ แต่หลากหลายมากเป็นแต่ละหนึ่ง แม้แต่เห็นก็ไม่ใช่รู้ว่าเห็นอะไร รู้ว่าเห็นอะไรไม่ใช่ขณะที่เห็น เพราะในฝันไม่เห็นเลย แต่เหมือนอย่างนี้เลย คนนั้นยังอยู่ที่นี่ คนนี้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่านั่นไม่ใช่เห็น
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือว่าไม่ใช่เพียงว่า ตั้งสติ จะได้เข้าใจเรื่อง ไม่ใช่แต่ละคำ เข้าใจทีละคำ และพิจารณาจนกระทั่งมั่นคง ว่าจริงๆ แล้วเห็น เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ จิตอื่นหลังจากนั้นทั้งหมดกี่ประเภทก็ตามไม่เห็น เพราะว่าจิตแต่ละหนึ่ง ทำกิจของตนของตน จิตเห็นเกิดขึ้นทำกิจเห็น แค่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ดับเร็วแค่ไหน สภาพจำ จำทุกอย่างทุกขณะจิต เพราะฉะนั้นขณะที่จำรูปร่างสัณฐาน ปรากฏเพราะจิตเกิดดับสืบต่อ เร็วจนกระทั่งความหลากหลายของแต่ละรูปรวมกันแล้วปรากฏเหมือนเป็นแก้ว เป็นเก้าอี้ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แสดงว่าความไม่รู้ของเรานี่มากมายมหาศาลแค่ไหน ความลึกซึ้งของธรรมแค่ไหน
การที่จะต้องศึกษาด้วยความเคารพ เพื่อเข้าใจว่าพระธรรมทุกคำ เป็นไปเพื่อการละความไม่รู้ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอกุศลทั้งหมด เป็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งซึ่งประมาทไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นฟังคำไหนแล้วแม้ว่าจะลืมไม่นึกถึง แต่ก็มีความเข้าใจในคำนั้นบ้าง ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งทำให้เราคิดถึงเรื่องอื่นบ่อยๆ กำลังคิดถึงเรื่องอะไร คิดแล้วเมื่อวานนี้ วันนี้ยังคิดถึงเรื่องนั้นอีก เพราะว่า พบบ่อยๆ คิดถึงบ่อยๆ ก็กังวลอยู่ที่เรื่องนั้น แต่ว่าสิ่งที่เราได้ฟังน้อยกว่านั้นคือธรรม แล้วจะให้เราคิดถึงธรรมบ่อยๆ เหมือนเรื่องของญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ที่เราคุ้นเคยต่อการที่จะคิดได้อย่างไร
เพราะเหตุว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นการฟังธรรมแต่ละชาติ ก็เพื่อความเข้าใจ สิ่งที่มีให้มั่นคงขึ้น ยังชาตินี้ให้ฟังว่า เห็นมีจริง และเห็นไม่ใช่เรา แล้วเห็นคืออะไร คือเห็นสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นอย่างนี้ ที่เป็นอย่างนี้ก็คือเพราะมีจิตเห็นเกิดขึ้นเห็น แต่จิตเห็นนั้นแค่เห็นแล้วไป กว่าจะค่อยๆ มั่นคง คลายความเป็นเรา เพราะรู้ความจริงของแต่ละ ๑ ขณะ ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปจำชื่อ หรือไปตั้งสติ แต่ฟังแล้วเข้าใจคำที่ได้ฟัง การที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ ก็คือว่าเดี๋ยวนี้ก็เป็นธรรม แต่กว่าเราจะค่อยๆ เข้าใจ คิดดู เราสะสมความไม่รู้มานานมาก และเพียงแค่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบำเพ็ญบารมีมานานจนตรัสรู้ แล้วตรัสแม้คำสั้นๆ แต่กว่าคำสั้นๆ เราสามารถที่จะเข้าใจทีละคำด้วยความมั่นคงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการฟังทั้งหมดเพื่อน้อมไปสู่การรู้จริงๆ ว่าไม่มีเรา หลงเข้าใจว่าเป็นเรามานานแสนนาน ถ้าไม่ได้ฟังธรรมโดยละเอียดติดต่อกัน บางคนก็สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังทันทีได้ แต่บางคนฟังแล้วก็ต้องคิดไตร่ตรอง แม้แต่คำว่าจิต ทุกคนง่ายมาก ต้องมีจิตแน่ แค่นี้พอไหม ใช่ไหม เพราะฉะนั้นแม้แต่เดี๋ยวนี้ก็มีจิต แล้วก็พูดถึงจิต ที่ว่ากำลังมีเดี๋ยวนี้ แต่ใช่ว่าเราสามารถที่จะละความเป็นเรา จากจิตซึ่งกำลังเห็นกำลังได้ยิน เพราะว่าคุ้นเคยกับการไม่รู้ความจริงว่านี่แหละไม่ใช่เรา เพราะว่าเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัย ทำกิจแค่เห็นแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย
เพราะฉะนั้นทุกคำก็ย้ำ ซ้ำ และการที่เราจะเข้าใจธรรมจริงๆ ไม่ใช่โดยชื่อ แต่ว่าคำเดียวไม่ว่าอะไรก็ตามค่อยๆ เข้าใจละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น จนกระทั่งค่อยๆ ปรุงแต่งให้มีการนึกถึงแต่ละคำ แต่ละเรื่อง จนกระทั่งไม่ใช่เราเลย ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป โดยธรรมที่ทำหน้าที่ของธรรมนั้นๆ เช่น ถ้าเราพูดถึงเจตสิก ยังไม่กล่าวถึงจำนวนเลย แต่ให้เข้าใจจริงๆ ว่าเจตสิกไม่ใช่จิตแน่นอน เป็นธาตุรู้เหมือนกัน ไม่มีรูปร่างลักษณะเลย เกิดขึ้นต้องรู้ แต่ว่าต่างกันโดยเจตสิกนั้นๆ และจิต เช่นจิตไม่ใช่เจตสิกสักเจตสิกเดียว ไม่ใช่รัก ไม่ใช่ชัง ไม่ใช่เมตตา ไม่ใช่กรุณา ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ความจำ ทั้งหมดในชีวิตประจำวันที่เราพูด เป็นลักษณะของเจตสิก แต่ก่อนนี้เป็นเราหมด แต่พอระลึกได้ก็คือทั้งหมดที่ว่าเป็นเรานี่เป็นเจตสิกเท่านั้น ส่วนจิตก็เป็นสภาพที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นใหญ่ รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏแจ้งจริงๆ แต่ทำไมไม่รู้ เพราะเหตุว่าเกิดดับสืบต่อเร็วมาก ขณะนี้มีแข็งไหม คิดดู แค่นี้ กลับมาที่สภาพธรรมที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้มีแข็ง มีไหม มี มีอ่อนไหม มีเย็นไหม มีร้อนไหม เป็นแต่ละหนึ่ง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีปรากฏว่ามี ก็ต่อเมื่อธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น แค่นี้กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เราที่เห็น เป็นจิตที่เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับ ไม่ใช่เราที่ได้ยิน เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเสียง ไม่มีหู ได้ยินจะเกิดได้ไหม ก็ไม่ได้ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ แม้แต่เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท เราไม่เรียนทั้งหมดทีเดียว ๕๒ ประเภท แต่เราค่อยๆ กล่าว เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นตอน เท่าที่จะพูดถึงให้พอได้ฟังบ้าง ได้เข้าใจบ้าง แต่จะครบถ้วนอย่างที่คนที่เรียนมาหลายปีก็คงยาก เพราะเหตุว่าต้องมาแบ่งเป็นประเภทต่างๆ แต่ว่าถ้าเรามีความเข้าใจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ง่าย เช่นถ้าพูดถึงความรู้สึก มีไหม มี แต่เรารู้หรือเปล่าว่าเรามีความรู้สึก นั่งอยู่อย่างนี้ รู้ไหมว่ามีความรู้สึก แม้มีก็ไม่รู้ว่ามี หมดแล้วดับไป เหมือนกับขณะนี้มีแข็งไหม ก็กำลังกระทบจะไม่แข็งได้ยังไง แต่ก็เหมือนไม่มี เพราะเหตุว่า สภาพของจิตคือสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์ แต่ไม่ใช่ปัญญา เราจะพูดถึงเจตสิกแต่ละหนึ่ง แล้วค่อยๆ จัดหมวดหมู่ทีหลัง
แต่เมื่อเช้านี้เราก็เร็วไปหน่อยยังไม่ละเอียดที่ว่ากล่าวถึงเจตสิก ๓ ประเภท คืออัญญสมานาเจตสิก อัญญ อื่น สมานา เสมอ เพราะฉะนั้นอัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่เสมอกับเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ถ้าเจตสิกที่เกิดร่วมกันเป็นอกุศล เจตสิกอื่นทั้งหมดเป็นอกุศล จะกล่าวว่ากุศลไม่ได้ ถัาเจตสิกที่เป็นฝ่ายดี ใช้คำว่าโสภณ ดีงาม เพราะเกิดได้ทั้งกุศลจิต ซึ่งเป็นเหตุ วิบากจิตซึ่งเป็นผล กิริยาจิตของพระอรหันต์ ซึ่งไม่ใช่กุศลจิตไม่ใช่อกุศลจิต ก็เรื่องยาวมาก แม้แต่คำเดียว
เพราะฉะนั้นการที่จะให้เข้าใจทั้งหมดในเวลาสั้นๆ เป็นไปไม่ได้ แต่จุดประสงค์ให้เข้าใจจริงๆ ที่จะรู้ทั้งหมดที่ฟัง ไม่ใช่เราแน่นอน ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่ชัดเจน ว่าคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดทุกคำ กล่าวถึงสิ่งที่กำลังมี แต่ไม่เคยรู้ แม้แต่เดี๋ยวนี้ รู้สึกอย่างไร ไม่รู้หรอกดับไปหมดแล้ว เวลาโกรธเกิดขึ้น โกรธไม่ใช่ความรู้สึก ความละเอียดของธรรม แล้วใครจะรู้ เราบอกเวลาโกรธ ก็รู้ว่าโกรธ แต่โกรธไม่ใช่ความรู้สึก ความรู้สึกขณะที่โกรธคือไม่สบายใจ ความรู้สึกเป็นทุกข์ มีทางกายก็อย่างหนึ่ง ทางใจก็อีกอย่างหนึ่ง ทั้งหมดก็เป็นธรรม ภาษาบาลีใช้คำว่าเวทนา แต่ภาษาไทยไม่ต้องไปคิดถึงคำนั้นเลย รู้สึกอย่างไร สบายใจไหม เสียใจไหม ดีใจไหม นี่คือสภาพของธรรมหนึ่งซึ่งไม่ใช่จิต แต่เกิดกับจิต
เพราะฉะนั้นที่ใดก็ตามที่มีจิต ที่นั่นมีสภาพธรรมที่รู้สึกในสิ่งที่จิตกำลังรู้แจ้ง ไม่ใช่สิ่งอื่น ทันทีที่จิตรู้แจ้งอะไร เจตสิกจะเกิดขึ้นเป็นสภาพที่รู้สึก ในสิ่งที่จิตกำลังรู้ เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าจิตเป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เมื่อเช้าก็ไม่ได้พูดใช่ไหม แต่ถ้าจะพูดก็มีอีกคำหนึ่ง อีกชื่อหนึ่ง เดี๋ยวก็จะเวียนหัวอีก หรือว่าไม่เวียนหัว เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงธรรมเป็นภาษาไทย แต่แสดงธรรมตามภาษาที่ชาวเมืองนั้นเข้าใจ เพราะฉะนั้นผู้คนที่อยู่ในแคว้นมคธ ใช้ภาษามคธี เพราะฉะนั้นตรัสธรรมเป็นภาษามคธี ที่เขาใช้ถึงจะเข้าใจได้ใช่ไหม อย่างเรานี่ถ้าเราเอา คัมภีร์พระบาลีคือเป็นภาษาบาลีมาอ่าน ใครจะรู้เรื่อง ไม่มีทางเลย แต่ว่าถ้าเป็นภาษาไทยเราฟัง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นแม้ชาวมคธฟังธรรม ไม่ใช่เขาเข้าใจ เขารู้เหมือนอย่างเรารู้ว่ามีจิต แต่ว่าชาวมคธเขาก็เป็นภาษาของเขาว่ามีจิต แต่ก็ยังต้องทรงอธิบายชี้แจงว่าจิตเป็นอย่างไร จิตเป็นสภาพรู้ แล้วก็มีสภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ แต่ไม่ใช่จิต ค่อยๆ ให้เข้าใจว่า ๑ ขณะจิต นี่น่าอัศจรรย์ ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้นได้เลย แต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย หลากหลายมาก โดยที่ว่าเมื่อจิตเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ จิตในภาษาบาลีว่าอะไร ต้องเข้าใจนิดหน่อยประกอบกัน อย่าง จิตตะ หรือจิตตัง เราก็เข้าใจ ก็จิตนั่นแหละใช่ไหม โดยที่เราไม่ได้พูดจิตตะ หรือจิตตัง แต่เขาพูดของเขา แต่เราก็รู้ว่าเขาหมายความอย่างที่เราเข้าใจนั่นแหละคือธาตุรู้ หรือสภาพรู้ซึ่งเป็นจิต เพราะฉะนั้นพูดว่าจิต คนส่วนใหญ่รู้ว่ามีจิต แต่บอกว่าจิตเป็นยังไงบอกไม่ได้ เพราะไม่รู้ ฉันใดชาวมคธก็เหมือนกัน เวลาฟังเขาก็รู้ว่ามีจิตแต่ก็ต้องทรงอธิบายชี้แจงให้เข้าใจ และจิตนี่เป็นยังไง เป็นธาตุที่กำลังรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ เมื่อมีธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ถูกต้องไหม
ธรรมทั้งหมดนี่ต้องตรงแล้วก็จริง เปลี่ยนไม่ได้เลยเพราะเป็นความจริงถึงที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่า อารัมมณะ หรืออาลัมพนะ ได้ยินคุ้นหู ใช่ไหม อารัมมณะ คุ้นหูเพราะอะไร คนไทยบอกว่าอารมณ์ แต่ภาษาบาลีเป็นอารัมมณะ ออกเสียงทุกตัว เพราะฉะนั้น ชาวมคธได้ยินคำว่าอารัมมณะกับคนไทยได้ยินคำว่าอารมณ์ก็หมายความถึงอย่างเดียวกัน แต่คนไทยไม่ได้เข้าใจว่าอารมณ์หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ มีคนไทยคนไหนบ้าง พอพูดถึงอารมณ์ก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่จิตรู้ ที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ สิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เป็นอารมณ์ของจิตที่รู้สิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตกำลังเห็นสภาพธรรมใดก็ตาม ที่จิตกำลังรู้ สภาพนั้นเป็นอารัมมณะ หรืออารมณ์ของจิตนั้น ทีละคำ สองคำ จะได้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่จะให้เข้าใจทั้งหมด เป็นประเภทหมวดหมู่ ต้องอาศัยเวลาที่นานพอสมควร เราค่อยๆ จัดระเบียบ แต่ว่าเข้าใจก่อนจะดีที่สุด แต่ถ้าเราไปแยกประเภท แล้วจำก่อน เราจะไม่เข้าใจเลย ว่าหมายความถึงสภาพธรรมที่กำลังมีจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้นอารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้ เจตสิกเป็นสภาพรู้ ไม่ใช่จิต เกิดพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นเจตสิกรู้อารมณ์ไหม ถามเปลี่ยนไปนิดเดียว ใช่ไม จิตเป็นสภาพรู้เจตสิกก็เป็นสภาพรู้ สิ่งที่ถูกจิตรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่าอารัมมณะ คนไทยเรียกว่าอารมณ์ แต่ถ้าเราจะกล่าวก็คือว่า สิ่งที่จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันรู้สิ่งเดียวกัน
เพราะฉะนั้นเจตสิกมีอารมณ์ไหม ไม่ใช่เรามีอารมณ์ เจตสิกมีอารมณ์ไหม เจตสิกเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นจิตรู้อารมณ์ เจตสิกรู้อารมณ์ เพราะทั้ง ๒ อย่างเป็นธาตุรู้ แต่จิตไม่ใช่เจตสิก ฟังอย่างนี้ ขอให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น มั่นคงขึ้นเท่านั้นเอง ว่าเรากำลังเรียนเรื่องอะไร เรียนเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ มีจริงให้ ฟังแล้วเข้าใจว่ามีอย่างที่ได้ฟังแน่นอน คือมีถ้ารู้แน่นอน มีเห็นแน่นอน มีได้ยินแน่นอน เพราะฉะนั้นเป็นจิต แล้วก็มีเจตสิก สภาพซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย จนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงว่าไม่ใช่แต่จิตเท่านั้นที่มีอารมณ์ แม้แต่สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ที่เกิดพร้อมจิตก็รู้อารมณ์เดียวกับจิต พร้อมกัน แต่ว่าหน้าที่ต่างกัน โกรธขุ่นใจ จะน้อยจะมากอย่างไร ก็เป็นสภาพของความไม่สบายใจ แต่ความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ ไม่ใช่ความโกรธ ความละเอียดของธรรม โกรธที่เราใช้คำว่าโกรธ เป็นสภาพที่แข็งกระด้าง หยาบ อยู่ดีๆ ก็เรียบร้อยดี แต่พอโกรธขึ้นมานี่แข็งกระด้างเลยเปลี่ยนไปเลย จากการที่ธรรมดาๆ กลายเป็นเปลี่ยนไปเลย เพราะสภาพธรรมที่ทำให้กระทบกระทั่งจิต ใช้คำว่าปฏิฆะ เพราะเวลานี้แม้จิตมีอารมณ์ รู้อารมณ์ แต่อารมณ์นั้นไม่ใช่ปฏิฆะ ไม่ใช่ความโกรธ ก็ไม่รู้สึกเลยว่าเดี๋ยวนี้ เห็นก็มี ได้ยินก็มี คิดก็มี เป็นธรรมดาตั้งแต่เช้า แต่พอโกรธขึ้นมานิดหนึ่งรู้เลย ปฏิฆะถูกกระทบด้วยอารมณ์ที่ไม่พอใจ อาจจะเป็นอารมณ์ที่ดี แต่สะสมความโกรธไว้เยอะมาก คำก็ดี เสียงก็ดี แต่ฟังแล้วไม่ชอบ เป็นไปได้ไหม นี่คือธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา แต่กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ก็คือว่าไม่ใช่เราเพียงแค่ฟัง แต่ปัญญาจะต้องเจริญเพิ่มขึ้น ที่ใช้คำว่าภาวนา ภาษาไทยใช้คำผิด เลยเข้าใจธรรมผิด ภาวนาก็เลยไปนั่งบ่นสวดมนต์อะไรก็ไม่ทราบ
แต่ว่าความจริงภาวนาคือ อบรมให้สิ่งที่ไม่มีเกิดมีขึ้น ให้สิ่งที่มีแล้วเจริญเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นขณะนี้อะไรกำลังเจริญ ถ้ามีความเข้าใจ ฟังเมื่อเช้านี้ ตอนบ่ายนี้ก็ภาวนาคืออบรมเจริญความเข้าใจให้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ไม่ต้องไปนั่งท่อง ไม่ทราบในเทป เคยมีเรื่องที่มีคนหนึ่งที่เขามีลูกหลานอยู่ต่างประเทศ แล้วเขาก็มาพาลูกหลานไปเที่ยวที่พิมาย ก็ไปเห็นฤาษีแต่งตัวเสื้อหนังนั่งท่องนั่งบ่น แม่ก็ให้ลูกกราบ ลูกก็กราบ เสร็จแล้วปรากฏว่าใครน่ะ ถามไปถามมาก็เขามาเล่นหนัง ใช่ไหม ลูกก็โกรธมากแม่ให้ไปกราบฤาษีเล่นหนัง ถามว่าเขาทำอะไร เขาบอกกำลังท่องบท นี่แหละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องชัดเจน แล้วก็รู้ได้เลยว่า ถูกคือถูก แล้วก็ผิดคือผิด ทุกอย่างละเอียดลึกซึ้ง และจากไม่เคยได้ยินมาก่อน
แต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่คำที่ไม่ใช่คนที่ไม่ได้ตรัสรู้จะพูดได้ เราทุกคนก็พูดมาตั้งแต่เกิด แต่ไม่เข้าใจคำที่พูด อย่างเมื่อเช้านี้ ตั้งสติเป็นต้น รู้จักสติหรือยัง แล้วตั้งได้หรือทั้งหมดเลยพูดไปด้วยความไม่รู้ แล้วเรายังจะไม่รู้ต่อไปอีกหรือ ไม่มีวันที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่คำสอนยังมีพร้อมทั้งพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก พระอภิธรรมปิฏก เป็นประโยชน์ที่สุดทั้ง ๓ ปิฎก เวลานี้ทุกคนมีจิต แต่จิตของทุกคนเป็นอย่างไร อกุศลมากเหลือเกิน เพราะอะไรไม่รู้หมดเลย เมื่อครู่นี้ก็สนุกสนาน อร่อยทุกอย่าง รู้ไหมว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ไม่รู้อย่างนี้มานานเท่าไหร่
เพราะฉะนั้น ปัญญาขณะนี้ที่เกิดท่ามกลางอกุศล ทางตาเห็นเป็นอกุศล ทางหูได้ยินเป็นอกุศล แต่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงสิ่งที่ซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อน ทำให้สามารถที่จะเข้าใจถูกต้อง แต่ต้องเป็นความเข้าใจ ไม่ใช่เป็นความจำ ไม่ใช่เป็นความอยากรู้ อยากสอบ อยากเก่ง อยากฟังคำแปลกๆ คำใหม่ๆ จำไว้ได้เยอะๆ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เท่ากับสามารถที่จะเริ่มเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ แล้วรู้ตามความเป็นจริงว่า ยังไม่เข้าใจพอที่จะตามความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแล้วว่า ขณะนี้ สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับเร็วมาก จนกระทั่งปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหลายสิ่ง พรรณนาได้หมดเลยว่าเห็นอะไรเดี๋ยวนี้เหมือนพร้อมกันเลย แต่ความจริงพร้อมกันไม่ได้เลย จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ รู้ได้เฉพาะสิ่งเดียว แต่เวลานี้ มีโต๊ะ มีถ้วยแก้ว มีเก้าอี้ มีสารพัดอย่าง แสดงว่าจิตจะรู้ทีเดียวทั้งหมดพร้อมกันได้ไหม ถ้วยแก้วจะไปรู้พร้อมกับต้นไม้ได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ ว่าความไม่รู้นี่มาก แต่ด้วยพระมหากรุณาสะสมมาเป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะตรัสรู้ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วยพระญาณมากมาย ที่สามารถที่จะทรงแสดงสิ่งที่มี ซึ่งยากที่เราจะใช้คำแต่ละคำอธิบายความจริงของสิ่งนั้น โดยประกรทั้งปวง ที่จะทำให้เข้าใจจนกระทั่งสามารถรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่มีชั่วคราว คือชั่วคราวนั้นแค่ไหน แค่ขณะที่ปรากฏ สั้นแค่ไหน ชั่วขณะที่ปรากฏ เกิดแล้วดับ ยังช้ากว่าความเป็นจริง เพราะฉะนั้นปัญญากว่าจะสามารถรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ เราได้ยินอีกคำหนึ่ง นิมิตตะ เพื่อจะได้รู้ว่าความไม่รู้ ช่างมากมายมหาศาลสักแค่ไหน สภาพธรรมที่เพียงหนึ่ง เกิดแล้วก็ดับไป ยังไม่เป็นอะไรเลยใช่ไหม แต่พอเกิดดับสืบต่อมากมาย ปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน ผม คิ้ว ตา แต่ละหนึ่งๆ เกิดดับจนปรากฏเป็นนิมิต ว่าตาไม่ใช่คิ้ว ทุกอย่างหมด ทั้งหมดเป็นความหลากหลายต่างกัน ซึ่งถ้าไม่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้พอที่จะเห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน จะไม่มีความคิดว่าสิ่งนั้นมีเลย แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มี เพราะว่าเกิดดับจนปรากฏเป็นนิมิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฏกมีคำว่า รู ปะ นิ มิต ภาษาไทยก็ใช้คำว่า รูปนิมิต รูปหมายความถึงสิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย เกิดแล้วดับ ไม่สามารถที่จะกลับไปเป็นธาตุรู้ได้ แต่ละหนึ่งเพียงแค่เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทันทีที่เกิดเป็นสิ่งนั้น แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นรูปไม่รู้อะไรเลย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960