ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
ตอนที่ ๙๐๔
สนทนาธรรม ที่ ชลพฤกษ์รีสอร์ท จ.นครนายก
วันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ ใครจะไม่ให้เป็นธรรมดา แต่ว่าความต่างก็คือว่าคนที่คิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ คิดว่าไม่ต้องมีเงินไม่ต้องหาเงินไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น จะดีกว่าไปหมกมุ่นศึกษาหรือทำอะไรก็แล้วแต่ ขวนขวายให้มากๆ จริงหรือไม่ จะเห็นได้เลยพระภิกษุที่ผิดพระวินัยเพราะอะไร เดิมก็เข้าใจว่าจะสละ แล้วกลับมาติดข้องในสมบัติเพราะอะไร
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นเพราะอยาก หรือเพราะหลงผิด หรือเพราะเข้าใจผิด แต่ต้องเป็นผู้ตรง เพราะอะไรขณะนั้นความต้องการมากๆ เกิดแล้วเป็นธรรม ตรงนี้ต่างหากที่จะต้องรู้ตามความเป็นจริงใครไปทำให้ความต้องการมากๆ เกิดบ้าง ไม่มีใครทำเลยเกิดแล้ว เพราะฉะนั้นพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ใช่ให้ไปทำ แต่มีสิ่งที่เกิดแล้วไม่รู้
เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะละความไม่รู้ก็คือว่าเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครไปทำอะไร ด้วยเหตุนี้แต่ละคำพอตัดออกมาแล้วเป็นแต่ละคำต้องเข้าใจให้ถูกต้อง จะอยากได้เงินมากๆ ก็เกิดแล้วไงก็รู้สิว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา
อ. ณภัทร ถ้าบุคคลนั้นรู้ว่าความต้องการของตัวเองขณะนั้นเกิดขึ้นแล้วเข้าใจถูกว่าขณะนั้นเป็นความต้องการซึ่งไม่ใช่เราเป็นธรรม แล้วก็ไม่อยากได้ขึ้นมาเป็นปัจจัยที่ทำให้เขากระทำ คือไม่..
ท่านอาจารย์ แม้เเต่ความรู้สึกอยากได้ หรือไม่อยากได้ที่เกิดก็ไม่ใช่ใครทำให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะไม่อยากได้แล้วเราจะทำอะไรต่อไป นี่เริ่มผิดแล้ว ใช่ไหม มีความเป็นตัวตนเข้ามาตรงนี้แล้วว่า ถ้าเราไม่อยากได้แล้วจะทำอะไรต่อไปนี้ความเป็นตัวตนแต่ความจริงก็คือว่าขณะใดก็ตามที่จะอยากหรือไม่ยากเป็นความจริงที่เกิดแล้ว เปลี่ยนความจริงนั้นให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้
เพราะฉะนั้นจะรู้ความจริงไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดเมื่อไร หยาบละเอียดอย่างไร เลวประณีตอย่างไรเกิดแล้วให้เห็นว่าเป็นธรรมก็ไม่เห็น เพราะฉะนั้นหนทางที่จะไม่รู้ตามความเป็นจริงไม่ใช่หนทางดับกิเลส
อ. ณภัทร เรียนท่านอาจารย์ความเป็นเรานี่บางครั้ง เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าทำไปด้วยความเป็นเรา
ท่านอาจารย์ เพราะทั้งหมดที่เป็นอกุศลมาจากอวิชชาความไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะละความติดข้อง พยายามไปเถอะ หาทางไปเถอะแต่ถ้าไม่รู้ละไม่ได้ ไม่มีทางละได้เลย เพราะฉะนั้นเมื่อความติดข้องไม่ว่าจะมากน้อยสักเท่าไรก็ตาม ในเรื่องไหนก็ตามเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ หนทางที่จะละก็คือว่าต้องรู้ และความติดข้องอะไรจะเหนือกว่าความติดข้องในความเป็นเรา
อ. ณภัทร เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อตรัสรู้แล้ว ไม่น้อมพระทัยที่จะทรงแสดง เพราะเป็นปกติ และเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เป็นเรื่องทำ แต่เป็นเรื่องเข้าใจแม้การฟังขณะนี้ ก็เพื่อเข้าใจ ต้องรู้จุดประสงค์ว่าฟังเมื่อไรก็เพื่อเข้าใจ ไม่ต้องไปทำอะไรเลยเพราะปัญญาหรือความเข้าใจทำหน้าที่ของปัญญา แต่ถ้ามีเราเข้ามาเมื่อไร ปัญญาเกิดไม่ได้ไปพยายามขวนขวายไปป่า ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ละกิเลสอะไรได้เลย เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ได้ตรงต่อความจริงซึ่งเกิดแล้วดับ
เพราะฉะนั้นต้องตรงต่อความจริงเพราะว่าอะไร ไม่มีใครไปทำเลย ถ้าตราบใดยังคิดว่าเราจะทำก็ผิด เพราะฉะนั้นหนทางผิดสีลัพพตปรามาส ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรค วิจิกิจฉาความสงสัยโน่นนี่ นี่นั่นเช่นขณะนี้เห็นเป็นอย่างไร บ้างคนก็บอกไม่ใช่เขาไม่รู้ว่ามีเห็น มีแต่เห็นนั้นคืออะไร เห็นขณะนี้เป็นเราเห็นหรือว่าเป็นอะไรเห็น จะไม่หมดความสงสัย ยากนะขณะนี้ที่จะรู้ว่าไม่มีเราเลยแต่มีจิตเจตสิก เกิดดับทำให้เห็นโน่นเห็นนี่คิดนั่นคิดนี่อยู่ตลอดเวลา ไม่พบจิตเจตสิกซึ่งอยู่ข้างหลังเลย จะเรียกว่าอยู่หลังม่าน หรืออยู่อะไรก็ตามแต่ สิ่งที่ปรากฏก็เหมือนสิ่งที่ครอบคลุมจิตไว้ เห็นขณะนี้ก็ครอบคลุมไม่เห็นจิตว่าแท้ที่จริงจิตเห็น ขณะที่กำลังได้ยินก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นจิตได้ยิน ธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นไม่มีรูปร่างใดๆ เลย แต่ขณะใดที่เสียงปรากฏเพราะเหตุว่ามีธาตุนั้นกำลังได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้นจิตเจตสิกเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีใครพบไม่มีใครเจอไม่มีใครคิดถึงคิดถึงแต่สิ่งที่อยู่ภายนอกเท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่ภายนอก ปกปิด แล้วก็คว่ำไม่ให้เห็นจิตที่อยู่ภายใน
เพราะฉะนั้นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหงายของที่คว่ำ ไม่มีอะไรเลยนอกจากธาตุรู้ ซึ่งเกิดขึ้นกับสิ่งที่จิตรู้ในขณะนั้นเท่านั้นทีละหนึ่ง นั่นแหละปรากฎด้วยดี สิ่งที่มีจริงปรากฏด้วยดีเพราะต้องปรากฏด้วยดีกับปัญญา ซึ่งไม่ได้เลือกเลยไม่ได้คิดว่าเป็นตัวเราที่จะทำอะไรเลย เพราะว่าถ้าคิดอย่างนั้นเมื่อไหร่ ก็คืออวิชชาความไม่รู้ กำลังมีความทุกข์ใช่ไหม ไม่ใช่เรา แต่มีเหตุที่จะให้ทุกข์เกิดทุกข์ก็เกิด ชาตินี้ร้องไห้ตั้งแต่เกิดเลย แล้วก็จะร้องอีกต่อไปเหมือนชาติก่อน ชาติก่อนๆ ทั้งหมดก็เคยร้องไห้มาแล้วเคยหัวเราะมาแล้ว แล้วก็ไม่มีอะไรเหลือเลย พอถึงชาตินี้ก็รู้ว่าของชาติก่อนๆ ไม่เหลือเลยซักนิดเดียวใช่ไหม
เพราะฉะนั้นสิ่งที่กำลังมีในชาตินี้ก็เป็นในขณะที่อยู่ในชาตินี้ เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้ถูกว่าเป็นธรรมทั้งหมดเลย ใครสะสมจิตขณะไหนสะสมมาอย่างไรก็เกิดขึ้น เป็นปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้นชั่วคราวไม่มีอะไรที่ถาวรยั่งยืนเลยทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วใครที่จะพูดคำนี้ให้เราได้คิด ว่าทุกอย่างไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง คนที่เป็นที่รักก็คือเห็น ย่อยคนที่เรารักออกมาแล้วก็คือมีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น แล้วเราก็ไปยึดถือว่านั่นแหละเขาที่เรารักแต่ความจริงรักเห็นไหม รักได้ยินไหม รักได้กลิ่นไหม รักคิดนึกไหมก็หมดไปทุกขณะอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้น ที่จะทำให้สามารถที่จะค่อยๆ ละคลายความยึดถือซึ่งขณะใดที่ละคลายความยึดถือขณะนั้นก็เพราะเข้าใจถูก ละคลายความติดข้องในเราในเขาในทุกอย่างเพราะไม่รู้ เป็นธรรมดาต้องรู้ว่าธรรมคือธรรมดามาจากคำภาษาบาลีว่า "ธัมมะตา" ธัมมะตา แต่คนไทยก็พูดว่าธรรมดา ธรรมดาฝนจะตกไม่ให้ตกได้ไหม ตกแล้ว น้ำท่วม ท่วมแล้ว ทุกอย่างใครทำอะไรได้แม้แต่คิดก็คิดแล้วทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมดชั่วคราว
อ.ณภัทร ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าถ้าไม่คิดก็ไม่มี แล้วความไม่มีก็คือไม่ทุกข์ ที่ว่าเราหลับก็คือสบายที่สุด ทุกคนชอบหลับเพราะว่าหลับแล้วก็ไม่รับรู้อะไรใดๆ ทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์ แต่ก็ยังมีจิตเกิดดับ ถ้าไม่มีจิตเกิดดับเสียเลย ยิ่งสบาย ยิ่งเป็นสุข เพราะฉะนั้นสุขอย่างยิ่ง
อ.ณภัทร เพราะฉะนั้นที่เราทุกข์ในทุกๆ วันนั้นก็คือทุกจากกิเลสหรือท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ แน่นอน
อ.ณภัทร ทั้งๆ ที่ทุกอย่างเป็นธรรมทำไมต้องแยก กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นหมวดสติปัฏฐานด้วย
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรมแปลว่ามีหลายอย่างใช่ไหม
ผู้ฟัง เวทนากับธรรมไม่เหมือนกันหรือ
ท่านอาจารย์ คือต้องเข้าใจว่าธรรมคืออะไรก่อน จะได้รู้ว่า ทุกอย่างที่มีจริงคำว่าธรรมนี่ไม่ใช่ภาษาไทยเป็นภาษามาคธี ซึ่งก็ผู้มีพระภาคตรัสในภาษานั้น เพราะฉะนั้นภาษานั้นก็เป็นภาษาที่ดำรงพระศาสนาจึงใช้คำว่าปาละหรือปาลีแต่คนไทยก็ใช้ " บ" แทนก็เป็นบาลี เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่ภาษาไทย ภาษาไทยแล้วบอกว่าสิ่งที่มีจริงเข้าใจได้ทุกคน แต่ถ้าไปถามคนอื่นธรรมคืออะไรเขาก็ตอบไม่ได้ เขาอาจจะคิดเองตามที่ได้ฟังตามที่คิดเองบ้าง แต่ว่าไม่ตรง ตรงจริงๆ ก็คือว่าสิ่งที่มีจริง และก็ตรงกับขณะนี้ด้วย มีสิ่งที่มีจริงไม่ต้องเรียกเลย แต่สิ่งที่มีจริงนั้นไม่ใช่คนไม่ใช่สิ่งของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาจึงใช้คำว่าธรรมสิ่งที่มีจริงคิดง่ายๆ ในภาษาไทย ศึกษาธรรมในภาษาไทย จะทำให้เข้าใจมากกว่าภาษาอื่น เพราะเป็นภาษาที่เราใช้ตั้งแต่เกิด
ผู้ฟัง เวทนาก็คือธรรม
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงเวทนา
ผู้ฟัง คือไม่เข้าใจระหว่างคำว่า
ท่านอาจารย์ พูดว่าเวทนานี่อะไร
ผู้ฟัง ก็คือเเบบว่าดีใจ
ท่านอาจารย์ ความรู้สึก เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช้ภาษาบาลีว่าเวทนา รู้สึกอย่างไร รู้สึกเฉยๆ หรือว่ารู้สึกดีใจ หรือว่ารู้สึกเสียใจ เพราะฉะนั้นความรู้สึกมีจริงไหม มีจริงทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมเพราะธรรมคือสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ยังสงสัยอย่างไรความรู้สึกมีจริงๆ
ผู้ฟัง หนูไม่ได้สงสัยความรู้สึก แต่หนูสงสัยคำว่า ที่เขาตั้งหัวว่า กาย เวทนา จิตแล้วก็ธรรม
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วก็ธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นเรามีไหม อยู่ตรงไหน อยู่ตรงนี้ที่ถือว่าเป็นเราต่างกับธรรมอื่นไหม นี่เป็นเขานี่เป็นเรา ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นธรรมทั้งหมดแล้วแต่จะแสดงอะไร เพราะอะไร เพราะว่ายึดถือกายนี้มาก มีใครไม่ได้ยึดถือกายนี้บ้าง ธรรมมีเยอะทุกอย่างเป็นธรรมแต่ยึดถือธรรมอะไรมาก ติดข้องนี่ธรรมอะไรมาก ก็กายซึ่งยึดถือว่าเป็นรูปร่างเป็นตัวของเราตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงธรรมหมดเลย แต่ถ้าพูดเฉพาะส่วนที่จะให้เห็นชัดขึ้นในความติดข้องว่าเป็นเราก็คือกาย ส่วนหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลาย กายก็เป็นธรรมแต่ที่ติดข้องในบรรดาธรรมทั้งหลายก็คือกายนี้แหละ เพราะฉะนั้นควรรู้ไหมคว่ากายที่จริงนั้นคืออะไรความจริงที่ว่าเป็นการนั้นคืออะไร ตอนนี้พบไหมว่าความจริงที่ว่าเป็นกายนี้คืออะไร ให้รู้ความจริงของสิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นเรา ยึดถืออะไรยึดติดกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ที่นี่จะได้รู้ว่าที่ยึดถือนั้นแหละอะไร จะได้ละคลายความยึดถือได้ เพราะรู้ความจริงว่าคืออะไร
เพราะฉะนั้นกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้านี่คืออะไร ลองกระทบสัมผัสทุกส่วนในกายนี้ คืออะไร อะไรปรากฏ แข็งปรากฏ เพราะฉะนั้นเรายึดถือแข็ง แต่แข็งอื่นก็ยึดถือเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ แต่แข็งตรงนี้ยึดถือว่าของเราเป็นกายของเรา เพราะฉะนั้นทรงแสดงธรรมทั้งหมด แต่ว่าต่างกันที่ยึดถือกาย
เพราะฉะนั้นจะหมดความยึดถือกายว่าเป็นเรา ก็ต่อเมื่อรู้ความจริงที่กาย เพราะว่ากายคนอื่นจะอยู่กับเราไหม ไม่มีทางเลยใช่ไหม เฉพาะกายนี้เท่านั้นที่ว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นเมื่อมีการยึดถือกายนี้ว่าเป็นเราจึงควรที่จะรู้ความจริงว่าที่ยึดถือว่าเป็นกาย เป็นเราเนี่ยก็คือสิ่งที่เพียงแข็ง สิ่งอื่นก็แข็ง โต๊ะก็แข็ง หนังสือก็แข็ง กายก็แข็ง แต่แข็งที่กายเป็นกายของเรา
เพราะฉะนั้นหนังสือ โต๊ะ หรือกายอื่นไม่ได้อยู่กับเราเลยทั้งสิ้นแต่เฉพาะกายตรงนี้แหละที่อยู่กับเราไม่ว่าจะเช้า สาย บ่าย ค่ำ ที่ไหนทั้งสิ้นกายนี้ก็อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ตลอดไปใช่ไหม ทิ้งกายนี้ได้ไหม ไม่ได้เลยไปไหนไปด้วย อยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้นจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน แต่ไม่รู้ความจริงว่าที่ยึดถือว่ากาย และยังของเราด้วย แท้ที่จริงคืออะไร แค่กระทบสัมผัสก็มีแต่แข็ง เพราะฉะนั้นยึดถือแข็งที่กายว่าเป็นกายของเราสิ่งอื่นภายนอกก็แข็งแต่ไม่ได้อยู่กับเราตลอด ไม่ยึดถือว่าเป็นกายด้วย เป็นโต๊ะบ้างเป็นเก้าอี้บ้าง หรือถึงแม้ว่าจะเป็นกายของคนอื่นก็ไม่ใช่กายของเรา เห็นไหม ความยึดมั่นที่กายนี้มีมากด้วยเหตุนี้จึงมีกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน เพื่อที่จะละการยึดถือว่าเป็นเรา เป็นคำถามที่ดีว่าทำไมจึงต้องแยก ธรรมเป็น ๔ สติปัฐาน อันที่หนึ่งหายสงสัยหรือยังว่าไม่ต้องไปรู้กายอื่น ถึงรู้ และควรรู้ แต่ก็ไม่เคยยึดถือมั่นคงเหมือนอย่างกายนี้ว่าเป็นของเรา ของคนอื่นไม่ใช่ เป็นกายคนอื่น สงสัยเรื่องกายยานุปัสสนาตอนนี้เข้าใจ หรือยังคะ เพราะยึดมั่นเป็นธรรมทั้งหมด แต่ธรรมหลากหลายมากถึงแม้เป็นแข็ง แข็งอื่นก็ไม่ใช่กายของเรา เฉพาะตรงนี้ที่ยึดมั่นคงจึงควรที่จะรู้ แล้วก็มีอยู่ตลอดเวลาด้วย กระทบเมื่อไหร่แข็งปรากฎไหนล่ะ "เรา" เราอยู่ไหนมีแต่แข็ง
เพราะฉะนั้นจะเห็นความไม่รู้ว่า ยึดแข็งนี่แหละว่าเป็นของเรา ควรไหมแข็งเกิดขึ้น และแข็งก็ดับไป แข็งปรากฏเมื่อกระทบ ถ้าไม่กระทบแข็งจะปรากฏไหม แข็งที่ไม่ปรากฏมีปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ ที่ตัวนี้ แข็งแต่ละหนึ่งเล็กๆ แยกแข็งออกไปแล้ว บางแข็งก็เกิดจากกรรม บางแข็งก็เกิดจากอุตุ บางแข็งก็เกิดจากจิต บางแข็งก็เกิดจากอาหาร ก็แข็งทั้งนั้นแหละแต่เกิดจากกรรมก็มี แข็งที่เกิดจากจิตก็มี แข็งที่เกิดจากอุตุความเย็นความร้อนก็มี แข็งที่เกิดจากอาหารก็มี แต่ถ้ายังไม่รู้จักแข็งจะไปรู้ไหมว่าแข็งนั้นเกิดจากอะไร นี่คือการศึกษาธรรมที่จะต้องเป็นไปตามลำดับ ไม่ใช่ให้ข้าม ไม่ใช่จะไปนั่งคิดถึงโพชฌงค์หรืออะไรๆ ต่างๆ แต่ว่าไม่รู้ธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นยึดแข็งว่าเป็นเราเพียงแค่แข็ง ถูกไหมเอาแข็งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับมาเป็นเรา เริ่มเห็นความต่างของปรากฏด้วยดี กับไม่ปรากฎด้วยดี กระทบเมื่อไหร่แข็งไม่ปรากฏด้วยดี จนกว่าปัญญารู้ในสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่เราเมื่อไหร่ ลักษณะนั้นเท่านั้นแต่ละหนึ่งนั่นคือปรากฏด้วยดี เพราะแต่ละหนึ่งไม่ปะปนกันเลย หายสงสัยเรื่องกายานุปัสสนา หรือยัง แข็งทั่วไปหมดไปยึดถือแข็งที่กายว่าเป็นกายของเรา ความรู้สึกมีไหม
ผู้ฟัง แม่เค้าไม่สบาย
ท่านอาจารย์ ห้ามไม่ให้ไม่สบายได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วควรรู้ความจริง เป็นธรรมดา หรือไม่ เราก็ต้องไม่สบายเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นธรรมดาบังคับบัญชาไม่ได้ไปเป็นทุกข์ทำไม เห็นไหม
ผู้ฟัง มันปรากฎ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นห้ามทุกข์ไม่ได้เลย ทุกข์เกิดแล้วเมื่อไหร่รู้ทุกข์ที่กำลังปรากฏเมื่อนั้น เมื่อนั่นแหละเวทนาความรู้สึกจึงปรากฏด้วยดี แม้แต่คำเดียวก็สามารถที่จะเข้าใจ ซ้ำไปซ้ำมาให้รู้ความหมายที่เปลี่ยนไม่ได้เลย ต่อไปนี้พบข้อความในพระไตรปิฎก ขณะที่ธรรมปรากฏด้วยดีก็รู้เลยว่าเมื่อไร ซึ่งคนอื่นอาจจะเอ๊ะ ด้วยดีนี่เป็นอย่างไร ขณะที่เห็นๆ ชัดๆ อย่างนี้ถ้าจะด้วยดีคงเห็นชัดแต่ความจริงไม่ใช่เห็นชัดแต่มีความเข้าใจถูกต้องในสิ่งนั้น ความรู้สึกมี เกิดแล้วดับไหม หมดไปไหมแล้วจะทุกข์ทำไมหมดแล้ว
ผู้ฟัง ชอบปรากฎ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตราบใดที่ธรรมไม่ปรากฏด้วยดีว่าไม่ใช่เราตราบนั้นเป็นทุกข์ ทุกข์ทั้งหมดมาจากการยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อน เป็นข้าวของสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราชอบทั้งหมด ทุกข์เพราะพลัดพราก หรือว่ามีสิ่งที่ทำให้เราไม่สบายใจเกิดทุกข์ แต่ก็ต้องรู้ห้ามทุกข์ไม่ได้ แต่จากการฟังก็รู้ว่าทุกข์ก็เป็นทุกข์เกิดแล้วก็หมดไป มีอะไรอีกนอกจากกาย เวทนา ทุกอย่างเป็นธรรมใช่ไหม แต่สติปัฎฐานมี ๔ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ที่เหลือเป็นธรรมที่แยกออกมาแล้วจาก ๓ อย่างนั้น ทุกอย่างเป็นธรรมเวลานี้มีจิตไหม ไม่เคยเห็นจิต ไม่เคยรู้จิต เพราะจิตยังไม่ได้ปรากฏด้วยดี
เพราะฉะนั้นกายยึดถือว่าเป็นเราถ้าไม่ตามรู้คือเข้าใจความจริงบ่อยๆ จะละการยึดถือว่ากายเป็นเรา หรือของเราได้ไหม ด้วยเหตุนี้ "อนุปัสสนา" ปัสสนาหมายความถึงความเห็นแจ้ง เห็นถูกต้องตามความเป็นจริง อนุแปลว่าบ่อยๆ ครั้งเดียวไม่พอเลย เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ของกายานุปัสสนาคือปัญญาที่สามารถเห็นถูก เข้าใจถูกในกายซึ่งเป็นที่รักยิ่งที่ติดข้องอย่างมากว่าเป็นเรา และในความรู้สึก และในจิตซึ่งขณะนี้มีก็ไม่ได้ปรากฏ
เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจถูก สติปัฎฐานเกิดไม่ได้ใครจะไปทำสติ ใครจะไปสำนักปฏิบัติ ใครจะทำอะไรทั้งหมดถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจธรรมเดี๋ยวนี้ ปัญญาเกิดไม่ได้ แล้วก็ไม่มีการที่จะต้องไปที่ไหนด้วย เพราะเหตุว่าถ้าไปเมื่อไหร่ก็ผิดเมื่อนั้น เพราะว่าไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมแล้ว ที่เหลือไม่ต้องพูดเลยใช่ไหม ก็แยกมาสามที่เหลือทั้งหมดก็เป็นธรรม เป็นธรรมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เสียงปรากฏไม่ว่าเสียงอะไรทั้งนั้น ก็สามารถที่จะรู้ในความเป็นธรรมคือเกิดขึ้น และดับไปได้
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ในความทุกข์กายไม่ว่าจะด้วยเจ็บป่วย กับความทุกข์ใจท่านอาจารย์ขยายความตรงนี้ ว่าเราจะเห็นความแตกต่างของระหว่างทุกข์กายกับ ทุกข์ใจ
ท่านอจารย์ ต้องรู้ว่าทุกข์กายเกิดจากอะไร และทุกข์ใจเกิดจากอะไร กายนี้ ไปยังไงมายังไงว่านั่งอยู่ตรงนี้ได้มาจากไหน ถ้าไม่มีกรรมที่ทำให้รูปเกิดเป็นร่างกาย กายก็ไม่มี เพราะฉะนั้นให้เห็นว่าการกระทำคือกรรมที่ได้ทำแล้ว และยังประมวลมาซึ่งกรรมอื่นๆ ที่สามารถที่จะให้ผลในชาตินี้ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้กายนี้ต่างกัน เพราะว่ากุศลกรรมก็มีอกุศลกรรมก็มี แต่ว่ากุศลกรรม และอกุศลกรรมต่างกัน ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่ดีก็ให้ผลที่ไม่ดี ถ้าเป็นการกระทำที่ดีก็ให้ผลดี
เพราะฉะนั้นที่กายนี้ ก็มีกรรมอื่นๆ ที่สะสมมา ที่จะปรุงแต่งแม้ร่างกายที่เป็นรูปที่เกิดจากกรรมแต่ละส่วน เกิดมาเป็นมนุษย์นี่เป็นผลของกรรมแน่ แต่บางคนก็ตาบอดบางคนก็พิกลพิการก็แล้วแต่ว่าเคยมีเจตนาที่จะให้ใครเป็นอย่างนั้น หรือไม่ คงไม่มีเจตนาที่จะให้ตัวเองตาบอด แต่จะให้คนอื่นตาบอด และผลคืออะไร ตัวเองเมื่อต้องการที่จะให้ตาบอดก็สมความปรารถนา เวลาเกิดมาก็ไม่มีตาไม่มีจักขุประสาท
เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นมนุษย์จะกี่คนก็ตามในโลกนี้กรรมก็จำแนกให้ต่างกันรูปร่างหน้าตา แค่มีตาสองข้าง มีจมูก มีหูต่างกันแล้ว ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า สูงต่ำ ดำขาว ตาสีฟ้า ตาสีเขียว ตาสีดำ ทั้งหมดนี้ใครทำ ทำได้ไหม ไหนลองทำ ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นได้มาจากไหนกาย เห็นไหม เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิด และถึงจะได้รู้ว่ามีกายเพื่ออะไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960