ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941


    ตอนที่ ๙๔๑

    สนทนาธรรม ที่ คุ้มภูผาหมอก จ.เลย

    วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นเพียงเห็น จะดีใจเสียใจได้อย่างไร แค่เห็นแล้วก็ดับเท่านั้นเอง เวลานี้ทุกครั้งที่เห็น คิดดูว่าแค่หนึ่งขณะแต่นำมาซึ่งเรื่องราวมากมาย ความติดข้องมากมายไปหมดเลย คุณโทษทั้งหลายก็ติดตามมา แต่ไม่รู้ความจริงว่าแค่เห็นแล้วก็ดับ ประกอบกับแค่ได้ยิน แต่เสียงนี่หลากหลายใช่ไหม แต่ละเสียงเป็นไปตามสภาพธรรม เช่น พอพูดคำว่าเห็น เป็นไปตามสภาพธรรมที่กำลังเห็น พอพูดว่าได้ยินถ้าไม่มีสภาพธรรมที่ได้ยินจะมีคำว่าได้ยินไหม เพราะฉะนั้นแม้คำว่าได้ยินก็เป็นไปตามสภาพที่ได้ยิน ต่างกับสภาพที่เห็น แต่ละคำ เป็นคำที่ให้เข้าใจสภาพธรรมทั้งหมดเพราะถ้าพระองค์ตรัสรู้ และนั่งเฉยๆ เลยไม่พูดสักคำจะมีประโยชน์กับสัตว์โลกไหม ไม่สมกับที่ได้ตั้งพระทัยที่จะบำเพ็ญบารมี ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อคนอื่น จะได้รู้ด้วย ลองคิดพิจารณา

    เพราะฉะนั้นแต่ละคนจะไม่รู้เลยว่าแต่ละครั้งที่ทำดี ความดีเกิดขึ้น เป็นการเสียสละ เพราะว่าหลายคน คิดว่าทำทำไม อยู่สบายดีกว่า ไม่ต้องไปเดือดร้อน ไม่ต้องทำอย่างนั้น ไม่ต้องทำอย่างนี้ เห็นแก่ตัวไหม เพราะฉะนั้นขณะนั้นเขาไม่รู้เลยว่าอกุศลทำดีไม่ได้ เสียสละไม่ได้ ละไม่ได้ วางไม่ได้ทั้งหมด เพราะเป็นความติดข้อง เพราะฉะนั้นแต่ละคำเป็นสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันทั้งหมดเลย แต่กว่าจะรู้ กว่าจะเข้าใจ แต่ละท่านไม่ขาดการฟัง เพราะฟังเข้าใจยังไม่พอ ฟังอีกเข้าใจอีกยังไม่พอ จนกว่าจะถึงเวลาที่ประจักษ์แจ้งว่าสิ่งที่กำลังได้ฟังเป็นอย่างที่ได้ยินมาแล้ว อย่างนั้นเลยเป็นปกติ "ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ" นั่งฟังพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเป็นปกติไม่ได้ไปที่ไหนเลย รู้ความจริงในขณะนั้นเป็นปกติ เพราะเป็นปัญญา อวิชชาไม่สามารถจะเข้าใจอะไรได้เลย เที่ยวดิ้นรนไปแสวงหาคิดว่าจะสามารถเปลี่ยนจากอวิชชาเป็นวิชาก็เปลี่ยนไม่ได้ อวิชชาไม่รู้อยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นวิชาอยู่ตรงไหนก็รู้ ยิ่งเดี๋ยวนี้เราอยู่ตรงนี้ แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏ และเรากำลังพูดความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ความเข้าใจเกิดขึ้นตรงไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่จำกัดเลย

    เพราะฉะนั้นชีวิตที่จะเป็นชีวิตที่เข้าใจธรรม เพราะธรรมเป็นปกติ ปัญญาก็ต้องเข้าใจสภาพที่เป็นปกติ เดี๋ยวนี้เกิดแล้ว เห็นเกิดแล้วไม่มีใครไปทำ ได้ยินเกิดแล้วไม่มีใครไปทำ เพราะฉะนั้นแต่ละคำช่วยทำให้ความเข้าใจละเอียดขึ้น เพิ่มขึ้น ได้ยินคำว่าธรรม แล้วยังได้ยินคำว่า "ขันธ์" ตามความยึดถือว่ายึดถือในรูป เกิดมามีสิ่งที่ปรากฏทางตา และจะไม่ยึดถือได้อย่างไร จะเที่ยวไปยึดถืออะไรที่ไม่ปรากฏหรือ เพราะฉะนั้นทั้งหมดก็คือเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้มีอะไรตอบได้ไหม เห็นไหม ฟังแล้วเข้าใจแล้ว แต่ตอบได้ไหมว่าเดี๋ยวนี้มีอะไร มีเรา มีต้นไม้ มีดอกไม้ มีโต๊ะ มีเก้าอี้ หรือมีอะไร มีธรรม เริ่มเห็นแล้วใช่ไหม ว่าเรารู้จักคำนี้ เพราะฉะนั้นถ้าใครพูดว่าธรรมแต่เขาไม่รู้จักธรรม เรารู้เลยว่าคนนั้นไม่ได้ฟังพระธรรม แล้วคิดเอง แต่ถ้าได้ฟังพระธรรมแล้วเราจะรู้เลยจากคำตอบของคนนั้น ความรู้สึกโกรธมี ดีใจมี เสียใจมี ชอบไม่ชอบมี ทั้งหมด เป็นเรา หรืออะไร เป็นธรรม

    เพราะฉะนั้นทุกอย่างไม่เว้นเลยสักอย่างเดียว เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่ของใคร แค่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ที่พระเชตวัน ก็มีคนที่เผาหญ้าที่พระเชตวัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังตรัสกับพระภิกษุไม่เว้นสักโอกาสเดียวว่าเดือดร้อนไหม เขาเผาหญ้าเดือดร้อนไหม แต่ถ้าเป็นของเรา เดือดร้อน เพราะฉะนั้นทุกอย่างหมด ทรงแสดงไม่เว้นสักโอกาสเดียว เสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำคงคาก็เห็นท่อนไม้ลอยมา ก็ทรงแสดงพระธรรม ท่อนไม้ลอยมา แล้วก็พบกัน แล้วก็แยกกัน ชาตินี้ก็พบกัน แล้วก็แยกกัน ทุกชาติเป็นอย่างนี้ ไม่มีการที่จะไม่ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะละคลายความติดข้องเพราะเหนียวแน่นเหลือเกิน "อุปาทานขันธ์" ทุกอย่างที่มีเป็นสิ่งที่ติดข้องทั้งนั้น ไม่ขาดสักอย่างเดียวว่า กว่าจะค่อยๆ คลาย ยังไม่ต้องไปดับ ใครจะไปดับ ตัวตนดับ เพราะเดี๋ยวนี้ดับแล้ว จะไปดับอะไรอีก แต่เข้าใจถูกต้องว่าไม่มีใครทำอะไรได้เลย เกิดก็ทำให้เกิดไม่ได้ ดับก็ทำให้ดับไม่ได้ เพราะฉะนั้นเพียงแค่ทุกอย่างเป็นธรรม ค่อยๆ ฟังไป ถ้าถามกันเอง ว่าเห็นอะไร พอลืม ก็เห็นคนนั้นใช่ไหม เห็นเมื่อสักครู่นี้เองก็เป็นเรื่องเป็นราว เพราะลืม แต่ว่าแม้เป็นอย่างนั้น ความคิดอย่างนั้นก็เป็นธรรม ไม่เว้นเลย

    เมื่อไหร่ที่ทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อนั้นเป็นการเจริญขึ้นของปัญญา กว่าจะถึงขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่อาศัยพระธรรมที่ทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ธรรมยากไหม ละเอียดลึกซึ้งไหม อภิธรรม กำลังศึกษาอภิธรรมหรือไม่ จะบอกว่าฟังธรรมแต่ไม่ศึกษาพระอภิธรรมได้ไหม ก็แสดงชัดเจนว่าไม่เข้าใจธรรมไหน ไม่ใช่อภิธรรม

    ผู้ฟัง มีบางคำที่อาจจะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน คือมีคำว่าบัญญัติ คือบัญญัติเองก็ไม่ได้อยู่ในปรมัตถธรรม แต่ว่าเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ท่านอาจารย์ ตามตำราแล้วบอกว่าไม่อยู่ในพระอภิธรรมใช่ไหม แต่เราต้องเข้าใจว่าบัญญัติคืออะไร เพราะฉะนั้นจะสังเกตได้เลยว่าถ้าเรายังมีคำอะไร ที่ยังคงไม่ตรงแสดงว่า เรายังไม่สามารถที่จะเข้าถึงธรรมนั้นได้ จะตั้งสติก็ไม่ได้ อยู่ในนั้น อยู่ในนี้ก็ไม่ได้อยู่ เพียงแต่ว่าเป็นธรรมประเภทไหน เพราะฉะนั้น เราเริ่มตั้งแต่เป็นเด็กกว่าจะโตถึงวันนี้เก็บสะสมอะไรมาบ้างตั้งแต่เกิดใช่ไหม เกิดมาเห็นก็ไม่รู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร หรือใครรู้ แต่พอเริ่มจำสิ่งที่เป็นนิมิต เพราะฉะนั้นก็มีการเข้าใจโดยประการนั้นๆ "ปญฺญตติ" คำนี้ หมายความว่ารู้ได้โดยอาการนั้น

    เพราะฉะนั้นอาการของเสียง มีใช่ไหม เสียงแต่ละเสียงหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นสภาพที่จำก็เริ่มจากเสียงที่หลากหลาย เพราะแต่ละเสียง ต่างกันมาก เช่น คำว่า ได้ยิน กับ เห็น ๒ คำนี้ต่างกัน ฟังบัญญัติ คือเสียงที่กล่าวถึงสิ่งที่มี จึงเข้าใจว่าหมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นจาก นิมิตฺต ก็มาสู่ ปญฺญตติ ตามลำดับคือว่าสิ่งที่ปรากฏมี รูปร่าง สัณฐาน หลากหลายนี่ยังไม่รู้เลยว่าเรียกอะไร นี่อะไร เห็นกันทุกคนรูปร่างอย่างนี้แต่อะไร ไม่รู้เลยแต่รู้ได้โดยอาการอย่างนี้ว่าเป็นสิ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นอะไรเห็นไหม ก็เป็น นิมิตฺต รูปร่างสัณฐานอย่างนี้ รู้ได้โดยอาการอย่างนี้ รู้ แต่ยังไม่มีคำ เด็กเรียกไม่ถูก บอกไม่ได้เลย ไม่มีสักคำ พูดยังไม่ได้ พูดไม่เป็น แต่เห็น รู้แล้วว่าอะไร ภายหลังก็ชินกับเสียงซึ่งทุกเสียง เป็นไปตามความหมายของคำนั้นๆ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าแก้ว แล้วก็ชี้มาที่นี่ใช่ไหม และเห็นอย่างนี้ เด็กก็รู้ว่าแก้ว อันนี้อะไร ถ้าไม่บอกรู้ไหม แต่รู้ได้โดยอาการอย่างนี้ว่าต้องเป็น ถ้าพอได้ยินคำว่าไม้กัวซาจะไม่คิดถึงอื่น ใช่ไหม แต่ต้องคิดถึงนิมิตอันนี้ เพราะฉะนั้นรู้ได้โดยอาการนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งซึ่งใช้ทำอะไร แล้วก็มีคำที่เรียก เพราะฉะนั้นมี "อัตถบัญญัติ" กับ "สัททบัญญัติ"

    อัตถบัญญัติ คือความหมายของสิ่งที่ปรากฏ นั่นเก้าอี้ หรือโต๊ะ เก้าอี้ใช่ไหม เก้าอี้ รู้ได้โดยอาการนั้นๆ แล้วก็ใช้ สัททะ คือเสียงนี่บัญญัติว่าเก้าอี้ สำหรับผู้ที่รู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นแต่ละภาษา ก็หลากหลายตามเสียง ซึ่งรู้ได้ร่วมกันกับผู้ที่ใช้คำนั้นให้รู้ว่าหมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นจากปรมัตถธรรม ก็เป็น นิมิตฺต และก็เป็นบัญญัติ แต่ถ้าไม่ใช่สัททบัญญัติ เพียงนิมิตก็รู้แล้วว่าหมายความถึงอะไร เมื่อสักครู่นี้เรารู้ว่าเป็นสิ่งนี้แต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร นี่คือ อัตถบัญญัติ เพราะฉะนั้นมี อัตถบัญญัติ กับสัททบัญญัติ งูมีตั้งหลายชนิดใช่ไหม นี่ตัวนี้งูอะไร เห็นไหม ต้องบัญญัติใช่ไหม ถึงจะรู้ได้ว่าตัวนี้ต่างกับตัวโน้น นี่งูเห่า นั่นงูเขียว หรืออะไรอย่างนี้ ก็นิมิตมาก่อน แล้วบัญญัติรู้ว่าเป็นงู ความต่างของงู ๒ ชนิดนี้ก็เห็น ก็รู้ แต่ถ้าไม่เอ่ยชื่อเรียกไม่ถูก อุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่ข้างหน้าเรา แต่ละชิ้น ลองเรียก เรียกถูกไหม ไม่ถูกเลย รู้แต่ว่านี่ๆ ชี้ไปก็มีบัญญัติให้รู้ เป็นอัตถบัญญัติ แต่พอรู้ทันทีเป็นสัททบัญญัติ เรียกอีกทีรู้เลย นี่ไม้กัวซา รู้แล้ว เรียกถูกแล้ว ออกเสียงถูกต้อง ก็เป็นธรรมในชีวิตประจำวัน

    เพราะฉะนั้นการเกิดดับสืบต่อของธรรม ปรากฏลวงให้เห็นว่ายั่งยืน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งไม่ดับ ปรากฏเป็นนิมิตต่างๆ และรู้ได้โดยประการของนิมิตนั้นๆ จึงเป็นบัญญัติ "ถ้าไม่มีเสียงก็เป็นอัตถบัญญัติ ถ้ามีเสียงก็เป็นสัททบัญญัติ" พอพูดถึงเรื่องจิตทุกคนรู้ว่าไม่ได้พูดถึงเรื่องเจตสิก

    ผู้ฟัง มีข้อสงสัยว่า มีความต่างกันอย่างไรระหว่างรูปนิมิต นิมิตของสิ่งที่จิตเห็น ทีนี้เราก็มีจิตเห็นด้วย ซึ่งก็เป็นนิมิตเช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ถึงอย่างไรรูปก็ต้องเป็นรูป คือไม่ใช่สภาพรู้ ส่วนจิต ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นสภาพรู้ จะใช้คำอะไรก็ได้ วิญญาณก็ได้ มโน มานัส หทย ได้หมดเพราะเป็นขันธ์ ก็กล่าวถึงความเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงลักษณะต่างๆ เราสามารถที่จะกล่าวโดยนัยต่างๆ เพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเห็นขณะนี้ที่จะรู้ว่าเป็นธาตุรู้ นี่ไม่ใช่หนึ่งขณะ ต้องเป็นนิมิตของจักขุวิญญาณ แม้แต่ความรู้สึก เช่นความรู้สึกเป็นทุกข์หนึ่งขณะเกิดดับ แต่มันนานใช่ไหม จนกระทั่งไม่มีใครรู้เลยว่า สิ่งนั้นเกิดดับ แม้แต่เพียงแค่สัมผัสตรงนี้ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความจริง ประจักษ์การเกิดดับ

    เพราะฉะนั้นคำว่า "เกิดดับ" นี่ไม่ใช่คำง่ายๆ แต่ต้องลึกซึ้งจนกระทั่งถึงว่าดับจริงๆ จึงใช้คำว่า "ดับ" คือไม่กลับมาอีก เหมือนไฟ ไฟที่ดับแล้วกลับมาอีกได้ไหม ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นแต่ละสภาพธรรมที่ดับแล้วดับเลย ต่างคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง เห็นเป็นเห็น รูปเป็นรูป แต่ว่าที่จะไปประจักษ์ หนึ่งรูป หนึ่งเห็น นี่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ทันทีที่ลืมตาเห็นหมดเลย แล้วไหน หนึ่งไหน ดับแล้วทั้งนั้น เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก อยู่ในโลกของความไม่รู้ มานานมาก แล้วจะเป็นอย่างนี้ไปอีกถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม แต่ละคำนี่ไม่ใช่เป็นเรื่องจะรู้ได้ทันที หรือเรื่องง่าย ต้องค่อยๆ เข้าใจอย่างมั่นคงขึ้น ความเข้าใจที่มั่นคงไม่ใช่เราเลย เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นทำกิจของปัญญา เจริญขึ้น เพิ่มขึ้น ปัญญาจะนำไปในกุศลทั้งปวง จนถึงการรู้แจ้งสภาพธรรมตามที่ได้ฟัง คืออยู่ในโลกของนิมิตทั้งหมด จิตเห็นเกิดดับนับไม่ถ้วน แต่ก็เหมือนเห็นที่ไม่ดับ เพราะเป็น นิมิตฺต ของจิตเห็นซึ่งเกิดดับสืบต่อจนปรากฏเป็นเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง แต่เมื่อเข้าใจจริงๆ เราก็จะเข้าใจทีละหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสังขารขันธ์ ไม่ใช่เรา ขณะนี้ เจตสิต กับ จิต กำลังทำหน้าที่ทั้งหมดเลย ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อย เพราะฉะนั้นฟังแล้วต้องไตร่ตรองแล้วก็ ปัญญาก็ทำหน้าที่ของปัญญา

    ผู้ฟัง เมื่อเราเข้าถึงลักษณะเฉพาะของเขา คือ รูป กับ จิต จะเห็นความต่าง

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่มีเรา เป็นปัญญา

    ผู้ฟัง ปัญญาที่จะเห็นความต่างชัดเจน

    ท่านอาจารย์ จนกว่าปัญญาไม่ใช่เรา ทั้งหมดไม่เหลือเลยเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ใกล้ต่อการที่จะรู้ความจริง เพราะค่อยๆ ละความติดข้อง สภาพธรรมก็ปรากฏได้

    อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่าถ้าเป็นนิมิตของรูป ถึงแม้จะเป็นลักษณะของรูปที่เกิดดับสืบต่อกัน เพราะว่ายังไม่ได้เห็นความเกิดดับของสภาพธรรม แต่ก็มีลักษณะของความเป็นรูปธรรมจริงๆ เหมือนกับนามธรรมก็เหมือนกันใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นนิมิตแค่นี้ เราก็รู้ เห็นก็เป็นนิมิตของจิตเห็นที่เกิดดับ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นนิมิตของสิ่งที่เกิดดับ แม้แต่ความรู้สึกของเจ็บแม้นิดเดียวก็เป็นนิมิตของความรู้สึกเจ็บซึ่งเกิดดับ

    อ.ธิดารัตน์ เป็นเวทนานิมิต

    ท่านอาจารย์ แตะที่โต๊ะนิดเดียว ยกมือขึ้นแข็งไม่ปรากฏใช่ไหม แต่ในความทรงจำยังมีใช่ไหม แต่ว่าจริงๆ แล้วนี่ไม่มี หลงว่ายังมีอยู่ แต่แม้กระนั้นปัญญาที่อบรมแล้ว แค่แตะ สภาพธรรมที่เกิดดับก็ปรากฏ ไม่ต้องยกมือ

    อ.ธิดารัตน์ ที่ท่านอาจารย์อธิบายหมายถึงว่าขณะที่สภาพธรรมปรากฏ ถึงแม้จะเป็นลักษณะของสภาพธรรม แต่ก็ไม่ใช่รูปๆ เดียว อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องนิมิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นทรงแสดง รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต คือ นามธรรม รูปธรรมทั้งหมด

    อ.ธิดารัตน์ ที่เราใช้คำว่าสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมนี้ก็คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ นิมิตของสภาพธรรม

    อ.ธิดารัตน์ แต่เป็นนิมิตของสภาพธรรมที่ยังไม่ได้เป็นสังขาร

    ท่านอาจารย์ ใครรู้ได้หนึ่งถึงจะไม่ใช่นิมิต นี่เท่าไหร่ นี่เท่าไหร่

    อ.ธิดารัตน์ แล้วถ้าอย่างปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้น และดับไปของธรรม ก็ต้องรู้ทั้งนิมิต แล้วก็เห็นถึงธรรมที่ดับไปนั้นด้วยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริงเท่าที่ปัญญาจะรู้ได้ เช่น เวลานี้รู้ได้ไหมหนึ่งเดียว

    อ.ธิดารัตน์ สภาพธรรมปรากฏก็ทีละหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้หรือ

    อ.ธิดารัตน์ ถ้าพูดถึงเวลาที่สติระลึก

    ท่านอาจารย์ เหมือนกันเลย เพราะสติระลึกหมายความว่าอย่างไร เข้าใจ ถ้าไม่มีความเข้าใจ กระทบเท่าไหร่ ก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นปกติธรรมดาเหมือนเดิมแต่ความเข้าใจค่อยๆ เริ่มขึ้น เพราะฉะนั้นก็เป็นนิมิตทั้งหมด

    ผู้ฟัง หนูนอนอยู่ที่เถียงนาที่อยู่ริมน้ำ ไปนอนพักอยู่คนเดียว ทุกคนก็ถามว่าอยู่ได้อย่างไรในป่าแล้วอยู่คนเดียว เรียนถามท่านอาจารย์ว่า คนที่เป็นทุกข์ เพราะความคิดใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ ว่าไม่ใช่เรา เพราะคิดว่าเป็นเราอยู่ตลอดเวลา ใครถูกมดกัด เราใช่ไหมที่ถูกกัด

    ผู้ฟัง แต่ขณะที่เจ็บ ทนไม่ไหวต้องหาทาง

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด เพราะไม่รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา ใครจะไม่เจ็บบ้าง เกิดมามีใครบ้างที่ไม่เคยเจ็บ แต่ไม่รู้ความจริงว่าเจ็บเกิด และเจ็บก็หมด ถ้าเจ็บเป็นเรา เราก็ต้องหมดไปทุกขณะ ไม่เหลือเราเลยสักขณะเดียว ต้องเป็นคนที่ตรงต่อความจริง จนกระทั่งประเสริฐที่สุด ที่สามารถที่จะดับการยึดถือ สิ่งที่เคยยึดถือมานานแสนนานว่าเป็นเราได้ ถึงความเป็นพระอริยบุคคล ด้วยการเข้าใจธรรม และธรรมนั่นเองที่ดับการที่เคยยึดถือเห็นเดี๋ยวนี้ว่าเป็นเรา ได้ยินเดี๋ยวนี้ว่าเป็นเรา แค่บอกว่าไม่ใช่เรา ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ เพราะว่าเป็นเรามานานแล้ว

    ต้องปัญญาที่ฟัง ฟังใคร ฟังคำจริงทุกคำนี่จริง จากใคร จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่าอย่างไร ตรัสว่า "สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้น" เดี๋ยวนี้ ทุกอย่างปรากฏเพราะเกิด "สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" สักคำก็ไม่ควรที่จะขาดการพิจารณา ความไม่ประมาท จงยังความไม่ประมาทเดี๋ยวก็ไปเพียรกันใหญ่ แต่ความจริงว่า จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ให้ถึงพร้อม หมายความว่าทุกอย่าง แม้การฟังประมาทไม่ได้เลย ไม่ใช่ฟังแล้วเข้าใจแล้ว ฟังแล้วเข้าใจแล้ว นั่นคือประมาท แต่ถ้าฟังแล้วรู้ ไม่เข้าใจตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสักนิดหนึ่ง เช่น ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ สิ่งนั้นต้องเกิดกระทบตา ตาก็ต้องยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิด จิตเห็นดับไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏยังไม่ดับ เพราะเหตุว่ารูปธรรม จะมีอายุยืนยาว จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งดับ และใครรู้ แล้วถ้าไม่รู้อย่างนี้จะละคลายไหมว่า แท้ที่จริงแล้วแม้แต่ร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้ามีอากาศธาตุแทรกคั่นละเอียดยิบ เป็นแต่ละกลุ่ม เล็กจนมองไม่เห็น แต่แม้อย่างนั้น รูปในกลุ่มนั้นก็ต้องเกิดพร้อมกันถึง ๘ รูป แล้วใครจะรู้ เพราะฉะนั้นมีรูปหนึ่งแน่ๆ ที่กำลังปรากฏให้เห็นแค่นี้ ละความเป็นเราไหม จากสิ่งที่ปรากฎว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่มีจริง ไม่ว่าธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว จะมีที่ใดตรงนั้นต้องมีอีก ๔ รูป แต่ว่าจะปรากฎได้ทีละรูป เพราะเหตุว่าสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ก็เป็นรูปหนึ่งต่างหากจากรูปแข็ง แต่เกิดพร้อมกับรูปแข็ง เพราะฉะนั้นเราไม่มีวันจะเห็นแข็ง แต่เรารู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ ทำให้หลากหลาย จนกระทั่งความหลากหลายของธาตุ ดิน น้ำไฟ ลม จะยาว จะสั้น ก็เพราะเหตุว่าสิ่งที่กระทบตาปรากฏ ให้เห็น ให้จำได้ ว่าตรงนั้นแค่นั้น เป็นนิมิตอย่างนั้น เป็นสัณฐานอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้นความไม่รู้มีมาก แต่ว่าไม่มีตัวตน ที่จะสามารถดับกิเลสด้วยความไม่รู้ เพราะการไม่รู้ก็คือยึดถือแล้วว่าเป็นตัวตน ซึ่งผิด จะเอาตัวตนไปละตัวตนเป็นไปไม่ได้เลย ยิ่งเพิ่มความเป็นตัวตนขึ้น เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมแต่ละคำ ไม่ใช่ให้เราผ่านไป แต่แม้การฟังก็ยังต้อง "จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" ที่จะเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ไม่รู้ทั้งหมดเลย แม้ว่าการเริ่มฟังเริ่มเข้าใจ ก็เพียงแค่เริ่มรู้ว่าเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหากรุณาที่ทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษา เพราะรู้ว่าเราทุกคนสะสมอกุศลมามาก เพราะฉะนั้นเพียงแค่คำสองคำไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตรงแต่ละลักษณะ เช่น เสียงเป็นเสียง ขณะที่เสียงปรากฏขณะนั้นสิ่งอื่นปรากฏพร้อมกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นตราบใดที่สภาพธรรมยังไม่ปรากฏทีละหนึ่ง ก็ยังรวมกันอยู่ ก็ยังต้องเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งเกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกทั้งหมดเลย ถึงจะค่อยๆ คลายความเป็นเรา แต่ถ้ายังไม่ประจักษ์แจ้งอย่างนี้ก็คือว่า ไม่มีอะไรที่จะไปดับความเป็นเราได้ ขณะนี้มีจิตใช่ไหม มีเจตสิก อยู่ไหนในความมืด แต่เกิดดับไป

    ผู้ฟัง เพราะมองไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ถึงจะอย่างไรก็ตาม มืดเพราะไม่รู้ แม้แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็ยังอยู่ในความมืด เพราะว่าตัวจริงๆ ขณะนั้นแค่ปรากฏแล้วดับ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 179
    14 พ.ย. 2567