ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
ตอนที่ ๙๔๓
สนทนาธรรม ที่ คุ้มภูผาหมอก จ.เลย
วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้ฟัง ความหมายของสมาทาน
ท่านอาจารย์ ถือเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ คุณน้อยจะขโมยเงินใครหรือไม่
ผู้ฟัง คือหนูคิดว่าหนูจะไม่ขโมย แต่หนูไม่รู้อนาคต
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แค่คิด สมาทานที่จะไม่ขโมย ถือเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เราจะทำอะไรบ้าง ไม่ต้องมีใครมาบอก แต่ขณะนั้นจิตเกิดขึ้น
ผู้ฟัง คือมีความตั้งใจที่จะไม่ทำ แต่เราไม่รู้อนาคต
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ขณะตั้งใจสมาทานไหมว่าจะไม่ขโมย แค่นั้นถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ จะไม่ถือเอาของของคนอื่นมาเป็นของตน ละเอียดลงไปอีกว่าของนั่นอะไร และของใคร สารพัดอย่างที่เป็นความละเอียดอย่างยิ่งของธรรม ซึ่งอยู่ในความมืดมาแล้วนานสะสมไว้กองใหญ่ๆ ก็ไม่เห็น เพราะอยู่ในความมืดจนกว่าสติ และปัญญาจะเกิด และค่อยๆ เข้าใจทีละหนึ่งจนทั่วหมดไม่เหลือเลยเมื่อใด ดับกิเลส
ผู้ฟัง แม้แต่เรื่องที่เคยฟังว่าไปขโมยกลิ่นดอกไม้ แค่นั้นก็ยังเป็นความผิด
ท่านอาจารย์ ของใคร พระภิกษุ เพราะฉะนั้นคำพูดที่แสดงกับพระภิกษุกับคนทั่วไป โดยเพศต่างกัน ความละเอียดต้องต่างกันมาก เพราะฉะนั้นการฟังต้องเข้าใจ หมายความถึงอะไร ระดับไหน ถ้าคุณน้อยไปดมกลิ่นดอกไม้ ไม่มีใครเขาว่า แต่พระภิกษุบวชเพื่อประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อขัดเกลากิเลส ยังยินดีในกลิ่นใช่ไหมจึงดม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วทำอย่างไร จะให้ภิกษุนั้นรู้ตัวว่าทำผิด เทวดาก็กล่าวคำ ซึ่งจะเตือนให้ภิกษุรู้ว่า สำหรับอกุศลของภิกษุ แม้เพียงเล็กน้อย ผู้ที่จะขัดเกลากิเลสต้องเห็นว่า สิ่งที่เล็กน้อยนั้นเหมือนกับสิ่งที่ใหญ่โต เหมือนก้อนเมฆใหญ่ที่ปรากฏให้เห็น เห็นก้อนเมฆใหญ่ๆ ไหม กิเลสอย่างนั้น แต่ต้องใหญ่กว่านั้นแน่นอน เพราะนั่นแค่ก้อนเมฆจะใหญ่เท่าใดก็ไม่เท่ากับกิเลสที่สะสมมา แล้วถ้าไม่มีใครบอกให้รู้ว่าเป็นกิเลส เราจะรู้ไหม เราก็คิดว่าไม่เห็นเป็นไรเลย ใช่ไหม แต่ความจริงกิเลสทั้งหมดมากหรือน้อย ต้องนำสิ่งที่เป็นโทษมาให้ โดยเฉพาะเริ่มจากทีละน้อย และทีละน้อยนั่นเองเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นพระภิกษุรับเงิน และทอง หรือยินดีในเงิน และทองไม่ได้ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ต่างกัน เพราะสะสมอบรมขัดเกลาที่จะรู้กิเลส แม้ตัวใหญ่ก็รู้ได้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นปัญญาต้องมากเพียงใดที่สามารถที่จะรู้ได้ แม้แต่ท่านพระมหาโมคัลลานะกับท่านพระสารีบุตรต่างกันโดยคุณธรรม เป็นพระอรหันต์ด้วยกัน แต่ท่านหนึ่งเป็น "เอตทัคคะในทางอิทธิปาฏิหาริย์" อีกท่านหนึ่งเป็น "เอตทัคคะในทางปัญญา" ต่างก็ชื่นชมในกัน และกัน ที่สามารถที่จะถึงความเป็นเอตทัคคะในทางนั้นได้ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดเพราะอะไร แค่มีปัจจัยเกิดแล้วดับไม่กลับมาอีก เมื่อใดปรากฏอย่างนี้ จิตคล้อยตามไปสู่การเห็นโทษของการเกิดว่า เราเกิดมาทำไม วันนี้ เกิดมาเห็นมาได้ยินมารับประทานอาหารเอร็ดอร่อย หลับสนิทไม่มีใครแล้ว เราก็ไม่มี ทุกสิ่งทุกอย่างในวันนี้ ที่มีแล้วไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นมีเพื่อติดข้อง มีเพื่อลืม แล้วก็เป็นอกุศล และสะสมหมักหมมสิ่งที่ไม่ดีต่อไป จนกว่าจะได้พบผู้ที่มีปัญญาที่สามารถอนุเคราะห์ทรงแสดงธรรมให้เราค่อยๆ เข้าใจ และปัญญาก็อบรมเจริญไป ท่ามกลางอกุศลจริงๆ เพราะแค่เห็นเห็นนิดเดียว อกุศลเกิดแล้วไม่รู้เลย
เพราะฉะนั้นปัญญาที่เกิดก็เกิดในท่ามกลางอกุศล ด้วยความอดทนเป็นบารมีที่รู้ประโยชน์ของกุศลว่า ถ้ากุศลไม่เกิด อกุศลก็เกิด เพราะฉะนั้นบารมีทั้งหลายจึงเป็นกุศลที่ค่อยๆ เพิ่มกำลัง ที่จะให้ปัญญาสามารถรู้สภาพธรรม เมื่อได้ฟังแล้วเข้าใจแล้วพร้อมด้วยบารมีแล้ว ก็สามารถที่จะรู้ความจริงได้
ผู้ฟัง ความเป็นอนัตตา แล้วก็เรื่องการปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้รับความมั่นคงในเรื่องของความเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้มีไหม
ผู้ฟัง ขณะนี้มี
ท่านอาจารย์ ใครทำให้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ นั่นคืออนัตตา ไม่ให้มีขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นั่นคืออนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ แล้วจะเข้าใจอะไรได้ใช่ไหม ก็ต้องมีสิ่งที่มี แล้วก็เข้าใจให้ถูกต้องว่า สิ่งที่มีนั่นเองเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คืออนัตตา สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เป็นอนัตตาทั้งหมด
ผู้ฟัง คือเริ่มต้นเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นเช่นนี้
ท่านอาจารย์ แล้วก็ต้องเข้าใจละเอียดขึ้น สิ่งที่เกิดดับนี่อะไร เดี๋ยวนี้มีเห็นจะไม่ให้มีเห็นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นั่นคืออนัตตา เมื่อเห็นเกิดแล้ว เห็นก็ดับไป ไม่ให้เห็นดับไปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นั่นก็คืออนัตตา แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ปรากฏได้ไหม ในเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นเห็น
ผุ้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นั่นก็คืออนัตตา ทุกอย่างลงที่อนัตตาทั้งหมด แต่จะเข้าใจหรือเปล่าเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง ย้อนมาถึงเรื่องของการปฏิบัติธรรม มีผู้กล่าวอย่างนี้ว่า การศึกษาทางโลก กว่าจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยการทุ่มเทอย่างมากฉันใด
ท่านอาจารย์ เท่านั้นก่อน การศึกษาทางโลกที่สำเร็จในชีวิตนี้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ที่ใช้คำว่าสำเร็จทางโลกในชีวิตนี้ แล้วก็กิเลสที่สะสมมานานแสนนาน ทุ่มเทอย่างไรจะสำเร็จในชีวิตนี้ จะทุ่มเทอย่างไรนี่คือการศึกษาธรรม แม้แต่คำพูดก็ต้องพิจารณาว่า คำพูดนั้นถูกผิดอย่างไร ไม่ใช่ฟังดูน่าเชื่อ ใช่ไหม ความเพียรต้องทุ่มเทเหมือนกับว่าต้องขยัน ใครก็สอนได้ แต่มีใครบอกว่าไม่ใช่เรา ละเอียดมากที่ทุกอย่างที่ปรากฏจะไม่ใช่เราได้ เพราะฉะนั้นจะได้ยินคำใดก็ตาม ขยัน ขยันทำชั่วก็มี ขยันทำดีก็มี แล้วจะให้ขยันอะไร แล้วชั่วหรือดีเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งท่ามกลางกิเลสทั้งหมดเดี๋ยวนี้ กว่าจะค่อยๆ เจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจะทุ่มเทอย่างไร จะทุ่มเทด้วยความเป็นตัวตน ไม่มีทางสำเร็จแน่นอน เพราะเป็นความเห็นผิดความเข้าใจผิด เพราะจะต้องละความเป็นตัวตน แล้วมีตัวตนไปทุ่มเทจะให้รู้ความไม่ใช่ตัวตน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเห็นผิดที่ตัวที่ทุ่มเทว่าเป็นเรา ที่กำลังทุ่มเทเป็นเรา แล้วจะไปสู่ความรู้ว่าไม่ใช่เราได้อย่างไร
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นี่คือฟังธรรม แม้เป็นคำที่ดูเหมือนจะถูกชวนเชื่อ แต่ถ้าพิจารณาละเอียด ธรรมลึกซึ้ง เผินๆ ไม่ได้เลย ไม่ใช่หนทางแน่ที่ความเป็นตัวตนจะทุ่มเท และความเป็นตัวตนที่มีมาก จะอาศัยค่อยๆ น้อยลงไปอย่างไร ฟังพระธรรมด้วยความเป็นเรา กับฟังพระธรรมด้วยความเข้าใจถูกว่าเป็นธรรม ความเข้าใจสบาย หรือไม่สบาย ไม่ต้องเดือดร้อนไปเห็นผิด พยายามด้วยความเป็นตัวตนที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งซ่อนอยู่ด้วยโลภะ และอวิชชา ไม่รู้เลย ถ้าเขาเป็นผู้ที่ละเอียด เขาจะต้องไม่เห็นผิด แต่ถ้าไม่ละเอียดเผินๆ ปรากฏว่ามีคนที่ไม่เข้าใจธรรมมาก เพราะเขาไม่ละเอียด
ผู้ฟัง ขาดความละเอียดตั้งแต่ต้น
ท่านอาจารย์ แม้แต่การฟังเพื่อละความเป็นเรา ฟังหมดเลยจิตเท่าใด เจตสิกเท่าใด รูปเท่าใด พระสูตรก็อ่าน พระไตรปิฎก พระวินัย พระอภิธรรม แล้วเข้าใจแค่ไหน ขณะนี้ที่เห็นเดี๋ยวนี้ จะทุ่มเทอย่างไร ไหนลองทุ่มเทให้รู้ว่าเห็นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ทุ่มเทอย่างไร เพราะว่าหนาแน่นเหลือเกิน กว่าจะค่อยๆ คลายลงไป ในขั้นฟัง จนกว่าจะถึงขั้นปฏิปัตติ ซึ่งไม่ได้แปลว่าทำอย่างที่คนไทยคิด และจนกว่าจะถึงปฏิเวธทุ่มเทอย่างไร ทุ่มเทได้ไหม ถ้าได้ตัวตนใช่ไหม แล้วจะไปละความเป็นตัวตนได้อย่างไร นี่คือความลึกซึ้งของธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง ประโยคแรก ก็ถ้าไม่เข้าใจก็พาไปให้เห็นผิด ก็มีตัวอย่างที่ยกมาว่าหลายท่านในพระไตรปิฎก จำนวนไม่น้อยที่ก็ทิ้งราชสมบัติ ทิ้งตำแหน่งอุปราช ทิ้งตำแหน่งเศรษฐี เพื่อที่จะบำเพ็ญเพียร นี่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
ท่านอาจารย์ แล้วคนพูดสละหรือเปล่า พูดอย่างนี้ ทำอย่างที่พูดหรือเปล่า
ผู้ฟัง พูดขึ้นมาเฉยๆ
ท่านอาจารย์ แล้วให้ใครทำ แล้วจะให้ใครทำ
ผู้ฟัง ไม่มีทางเป็นไปได้
ท่านอาจารย์ ก็ใช่แล้วพูดทำไม นี่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่าว่าให้ทุกคนทุ่มเทมีไหม ความเพียรไม่ใช่เรา ควรรู้ไหมว่าไม่ใช่เรา อกุศลเกิดก็ไม่ใช่เรา เพียรไปในทางอกุศลด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความอยากก็ไม่ใช่เรา หรือว่ากุศลจิตเกิดทำความดีสารพัดทุกอย่างก็ไม่ใช่เรา ปัญหาไม่ใช่อยู่แค่ดี และชั่ว แต่ปัญหาอยู่ที่ความเข้าใจผิดความเห็นผิด เพราะไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่ด้วยการไปคิดไตร่ตรองหรือทุ่มเท แต่ต้องเป็นการเข้าใจถูกต้องว่า ธรรมลึกซึ้งเพราะอะไร แม้พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้แสดงความจริงว่า ทุกขณะเกิดขึ้นแล้วดับไป ใครรู้ แล้วจะทุ่มเทอย่างไรให้รู้ กิเลสตั้งมากมายที่อยู่ในจิต เขาไม่รู้ว่ารักษาจิต ถ้าจิตยังไม่สะอาดปลอดจากอกุศล ไม่สามารถจะรู้ความจริงของธรรมที่ปรากฏเหมือนทุกวัน ไม่ได้ต่างจากทุกวันเลย แต่ทุกวันไม่รู้
เพราะฉะนั้นค่อยๆ รู้ขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น กิเลสมากมายมหาศาลไม่มีที่จะเก็บ เปรียบก็คือว่ายิ่งกว่าจักรวาล แล้วปัญญาแค่ไหน ที่จะสามารถเห็นถูกต้องว่าไม่ใช่เรา ทุ่มเทถ้าจะกล่าวถึงสภาพธรรม วิริยเจตสิกก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ มิฉะนั้นจะไม่มีมิจฉามรรค เพราะฉะนั้น "มิจฉามรรค" ทั้งหมด เพราะขาดปัญญา มิจฉามรรคองค์ที่หนึ่งคือ มิจฉาทิฎฐิ เพราะฉะนั้นจะทุ่มเทไหม มิจฉาวายามะ เพียรผิด เพียรทุ่มเทโดยไม่เข้าใจธรรม ที่ขณะนี้แสนยากที่จะรู้ได้ ต้องอาศัยความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งว่ามีพระมหากรุณาบำเพ็ญบารมี เพื่อให้คนอื่นเข้าใจ และเราจะมาเผินๆ ทุ่มเทกัน และที่ทรงบำเพ็ญเพียรมานานแสนนาน แล้วเราเข้าใจผิดมีประโยชน์ไหม ในการที่จะไม่พูดตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ลึกซึ้ง ไม่น้อมพระทัย คิดดู แล้วก็จะทุ่มเทกันง่ายๆ มีตัวตนทุ่มเท เพื่อที่จะละความเป็นตัวตน ผิด ต้องปัญญาละอวิชชา ไม่ใช่อวิชชาเพิ่มอวิชชา แล้วบอกว่าอวิชชาละอวิชชา อวิชชาละอวิชชาไม่ได้
อ.อรรณพ คือความที่ไม่ได้ศึกษาให้ครบ แล้วก็ให้เห็นความสอดคล้องของพระธรรมใช่ไหม อย่างที่ยกตัวอย่างว่า สละราชสมบัติ สละสมบัติมหาศาล แล้วก็ออกบวช แต่ถามว่านั่นคืออัธยาศัยของผู้ที่ท่านสะสมมาที่จะอยู่ในเพศบรรพชิตก็มี ใช่ไหม แล้วท่านไม่ได้สละด้วยความไม่เข้าใจ แต่เพราะท่านเห็นประโยชน์ของพระธรรมแล้วเข้าใจพระธรรมเป็นอย่างดีแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงมีความเพียรเช่นนั้น ที่จะเป็นสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้นเราจะซึ้งเลยว่า ทำไมพระองค์ท่านถึงต้องแสดงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ควบคู่กันว่า สัมมาวายามะก็ต้องมีมิจฉาวายามะ คือความเพียรผิด อย่างเช่น ท่านวิสาขาอุบาสกกับท่านธรรมทินนาเป็นสามีภรรยากัน ซึ่งท่านวิสาขาอุบาสก ท่านก็ไปฟังธรรม ณ ตอนนั้นภรรยายังไม่ได้ฟังธรรม สามีก็ไปฟังธรรม ฟังธรรมแล้วเข้าใจบรรลุเป็นโสดาบัน กลับมาบ้านก็ยังปกติ
ท่านอาจารย์ แล้วชีวิตอย่างนั้นทุ่มเทหรือเปล่า
อ.อรรณพ จะใช้คำอะไรก็แล้วแต่ อย่างท่านอาจารย์เห็นประโยชน์ของพระธรรม แล้วก็อนุเคราะห์แสดงธรรม จะใช้คำว่าทุ่มเทเพื่อพระธรรม แต่ก็ไม่ได้ด้วยความเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ทุ่มเท ไม่ได้ทุ่มเทเลย เป็นปกติทุกวัน ตื่นมาก็กินข้าว ทำทุกอย่างเหมือนคนอื่นๆ ไปเที่ยวทำอะไร แต่ไม่ขาดการฟังธรรม เพราะไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นการสะสมมาที่แต่ละหนึ่งขณะจิตจะเกิดขึ้นเป็นไป นี่เป็นหนทางเดียวที่จะรู้ถึงความเป็นอนัตตาต้องไม่ใช่เราทั้งหมด แม้คิดก็ไม่ใช่เรา อย่างนี้เลยทุกอย่างกว่าปัญญาจะรู้ทั่วว่าไม่ใช่เรา ต้องเป็นปกติ จึงสามารถที่จะรู้การสะสมซึ่งเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ถ้ามีความเป็นเราเป็นตัวตน สะสมอะไรมา แล้วทำไมพุทธบริษัทจึงมี ๔ แล้วก็ชีวิตของแต่ละคน ไม่ว่าจะเกิดเป็นใคร ชีวิตเป็นไปตามปกติของธรรม จึงรู้ว่าเป็นธรรม แต่ถ้าผิดปกติไม่รู้ความเป็นปกติของธรรม นั่นคือความเป็นเรา ทับถมเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมต้องรู้ว่าธรรมละเอียดลึกซึ้งเป็นปกติ เป็นปกติเดี๋ยวนี้มีเห็น แล้วอย่างไรที่จะเข้าใจเห็นได้จริงๆ ว่า เห็นเกิดแล้วดับ ในขณะนั้นต้องไม่มีอย่างอื่นเลย เพราะว่าถ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างเดี๋ยวนี้ เห็นจะเกิดแล้วดับได้อย่างไร ในเมื่อมีอย่างอื่นเกิดสืบต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่นเลย เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมไม่ใช่ฟังแล้วก็คิดเอง แล้วก็เผิน แล้วก็ทำ แต่ต้องรู้ถึงความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นทุกคำฟังรู้ความลึกซึ้ง นั่นคือความถูกต้อง
ผู้ฟัง ก็จะมีข้อโต้แย้งมาว่า ท่านเหล่านั้น ท่านทุ่มเทมาในชาติก่อนๆ
ท่านอาจารย์ ทุ่มเทแบบไหน ลองอ่านชีวประวัติของท่าน ประวัติของสาวกทุกท่านเป็นปกติไหม ได้ฟังธรรมไหม ค่อยๆ เข้าใจความเป็นจริงหรือเปล่า นี่คือจะใช้คำว่าทุ่มเทหมายความว่าอย่างไร เป็นตัวตนทั้งหมดที่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นธรรมไม่เผิน คำนี้เป็นการเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไม่เข้าใจผิด คิดว่าพระผู้มีพระภาคให้ทำอย่างนั้น ให้ทุ่มเท แม้แต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ตั้งแต่เบื้องต้นใช่ไหม ทุกอย่างเป็นธรรม ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนได้ไหม ตรัสแล้วไม่เป็นสองคือเปลี่ยนเป็นอื่นไม่ได้เลย ธรรมเกิดก็เกิดถึงได้มี และเกิดแล้วก็ดับหายไป ไม่ใช่อันเก่าแล้ว เป็นความจริง เพราะว่าเป็นวาจาสัจจะ
เพราะฉะนั้นพระองค์ก็มีชีวิตที่ทรงบำเพ็ญบารมี ที่จะถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีพระมหากรุณายิ่งกว่าใคร แม้ว่าตื่นตอนเช้า ตื่นบรรทมก็พิจารณาว่า ใครสมควรที่ฟังแล้วเข้าใจไม่ละเลยโอกาส ด้วยปัญญาที่เห็นประโยชน์ของเขา เพราะฉะนั้นประโยชน์จริงๆ ของคนอื่นทั้งนั้น ในขณะนั้นเป็นทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์คนอื่น แต่ไม่ได้เพ่งเล็งที่ประโยชน์ตนว่า ฉันอยากได้ ฉันต้องทำอย่างนี้ ฉันต้องไม่ช่วยใคร เดี๋ยวคนอื่นมาทำให้ฉันวอกแวก ฉันอยู่ตัวคนเดียว หรืออะไรอย่างนี้ ฉันตัวใหญ่ อยู่ที่ไหนอยู่ข้างหลัง ไม่ได้อยู่ข้างหน้าให้เห็น แต่ว่านั่นคือธรรมที่ลึกซึ้งจริงๆ แล้วต้องรู้ว่าทุ่มเทอย่างไร ที่จะเข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่มีทาง นอกจากค่อยๆ ฟัง พิจารณาไตร่ตรองเห็นความลึกซึ้ง แล้วปัญญาก็ค่อยๆ อบรม คือเจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อยทรงอุปมาว่า "เหมือนจับด้ามมีด" แล้วเห็นใหญ่กว่าด้ามมีดไหม ที่จะรู้ว่าหนาเหนียวแน่นมหึมาที่จะหมดไปได้ว่าไม่ใช่เรา ฟังวันนี้ทั้งวัน ก็ยังคงเป็นเรา พรุ่งนี้เพิ่มอีกไม่พอ เพราะสะสมมานานกว่านั้นคือแสนโกฏิกัปที่จะไม่รู้ เพราะฉะนั้นความไม่รู้ และความติดข้องก็พาไปทุ่มเท แต่ไม่สามารถที่จะละความไม่รู้ และความไม่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ นอกจากปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น ด้วยความเป็นอนัตตา มีความมั่นคงในความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น
ผู้ฟัง กล่าวลึกลงไปอีก ก็บอกว่าบางคนปฏิเสธการปฏิบัติธรรมว่าเป็นอัตตา ถามว่าการระลึกถึงพระพุทธคุณบ่อยๆ เป็นอัตตาไหม
ท่านอาจารย์ ผู้นี้รู้จักคำว่า "ปุถุชน" กับ "พระอริยบุคคล" ไหม จะพูดคำเดียวกันพระอริยบุคคลกับปุถุชน พูดคำเดียวกันได้ แต่ปัญญาเท่ากันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เท่าแน่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลองอ่านอีกครั้งหนึ่ง
ผู้ฟัง เขาถามว่า การระลึกถึงพระพุทธคุณบ่อยๆ เป็นอัตตาไหม
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่ถึงความเป็นพระอริยบุคคล ยังมีอัตตาแน่นอน มิฉะนั้นแล้วบำเพ็ญอะไร เพื่อที่จะละอัตตาถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็คือว่าไม่มีความเป็นตัวตนอีกต่อไป เพราะฉะนั้นใครพูด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดคำว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน โดยฐานะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามีบุคคล พระสกทาคามีบุคคล พระโสดาบัน พูดตามกำลังของปัญญาที่ต่างกัน พระอนาคามีท่านก็บอกว่าไม่มีตัวตน แต่ปัญญาของท่านเหนือพระโสดาบันหรือเปล่า เพราะฉะนั้นไม่ใช่อยู่ที่คำพูด แต่อยู่ที่การรู้ความจริงว่าใครจะพูดก็ได้ เขาเป็นใคร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสต้องไม่มีกิเลสแน่ ไม่มีความเป็นตัวตนแน่ พระโสดาบันก็กว่าจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ปัญญาที่ค่อยๆ เกิดด้วยความอดทนอย่างยิ่ง
เพราะว่าชาวโลกอดทนที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง การงานอยู่กลางดึกตลอดคืนทำอะไรก็แล้วแต่ จะเย็บเสื้อ จะขุดบ่อถ่านหิน หรืออะไรก็ตามแต่ ทั้งนั้นหมดทำได้หมด เพราะความต้องการ เพราะฉะนั้นนั่นเป็นความเข้าใจหรือเปล่าว่าไม่ใช่ตัวตน ก็ยังมีความเป็นตัวตนอยู่ เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอก ในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ภิกษุบางรูปเป็นพระอรหันต์ บางรูปเป็นพระอนาคามีบุคคล รวมทั้งเทวดาที่ฟังด้วย บางรูปก็เป็นพระสกทาคามี บางรูปเป็นพระโสดาบัน บางรูปเพิ่งเริ่มเข้าใจ บางรูปไม่เข้าใจก็มี แล้วจะไปเปลี่ยนแปลงเขาได้ไหม เพราะฉะนั้นที่พูดอย่างนี้ หมายความว่าอย่างไร อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ผู้ฟัง บางคนปฏิเสธการปฏิบัติธรรมว่าเป็นอัตตา ถามว่าการระลึกถึงพระพุทธคุณบ่อยๆ เป็นอัตตาไหม
ท่านอาจารย์ อันนี้เข้าวรรคตอนต้องถูกต้อง บางคนปฏิเสธการปฏิบัติธรรมว่าเป็นอัตตา ต้องทิ้งความหมาย เพราะเหตุว่าถ้าปฏิเสธว่าเป็นอัตตา ก็ต้องเป็นอนัตตา แต่ในความหมายนี้คงจะหมายความว่า บางคนปฏิเสธการปฏิบัติธรรม และบอกว่าเป็นอัตตา
ผู้ฟัง คือไม่ให้ไปปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ไม่ให้ไปปฏิบัติ แล้วเขารู้ไหมว่าปฏิบัติคืออะไร
ผู้ฟัง ที่ยกมาคงจะไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่รู้แม้แต่ว่าเป็นธรรมที่ใครก็ปฏิบัติไม่ได้ ต้องปัญญาที่สะสมมาแล้วในปริยัติ จนรอบรู้เป็นสัจจญาณ เป็นปัจจัย สติสัมปชัญญะ ปฏิปัตติกิจจึงเกิดได้ ไม่มีใครไปทำ คำถามข้อสงสัยก็คือว่า การระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอัตตาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ พระภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ เวลาท่านนอน ท่านหันศีรษะไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ ท่านระลึกถึงพระพุทธคุณหรือเปล่า นั่นคือพระอรหันต์
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคนที่ได้ฟังธรรม เข้าใจธรรมทันทีที่เข้าใจนั้นระลึกถึงพระพุทธคุณหรือเปล่า
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960