ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
ตอนที่ ๙๔๕
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้ฟัง ปกติแล้วการทำดีนั้นไม่ใช่ง่ายที่จะทำได้ เรียนถามอาจารย์ว่า จะทำอย่างไร นอกจากที่เราประพฤติปัจจุบันที่ว่ามี ทาน ศีล ภาวนา แล้วไม่ทราบจะอีกสักกี่ชาติ ที่จะมีปัญญาตัดกิเลสได้ จะปฏิบัติอย่างไร ที่จะต่อจากชาตินี้ ชาติหน้า จนกระทั่งสามารถจะดับกิเลสได้หมด
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ยากที่สุด ก็คือการได้เข้าใจความจริง เพราะเหตุว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ คือเดี๋ยวนี้ อย่างที่ได้ทราบเมื่อสักครู่นี้ และทุกคนก็คงจะรู้ว่า ยากที่จะเข้าใจอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงจากการที่ได้ทรงตรัสรู้ แต่ว่าไม่เหลือวิสัย ข้อสำคัญที่สุดก็คือผู้ที่มั่นคงในการที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย กี่ชาติผ่านไป จากคำว่าจะเกิด และตาย แค่ ๒ คำ แต่ว่าระหว่างนั้น เกิดแล้วยังไม่ตาย ก็จะมีสภาพธรรมที่ปรากฏเหมือนในขณะนี้ เมื่อวานนี้ก็มีเห็น วันนี้ก็กำลังเห็น ต่อไปก็เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงว่าเห็นมีแน่นอน เกิดขึ้น และดับไป และนำมาซึ่งความคิดถึงสิ่งที่เห็น จนกระทั่งลืมเหมือนเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ทุกวัน แต่มีจริงชั่วขณะที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นที่ว่าจะประพฤติอย่างไร ก็คือว่า ทุกคนมีความเข้าใจที่มั่นคง ไม่มีใครที่จะรู้ธรรมได้เอง นอกจากได้ฟังพระธรรม คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งต้องไม่ใช่ เหมือนอย่างที่คนอื่นพูด เพราะเหตุว่าก่อนที่จะได้ฟัง เราก็พูดทุกเรื่อง แต่ว่าไม่รู้ความจริงเลยว่า แต่ละคำนั้นความจริงขณะนั้นคืออะไร และก็อยู่ไปอย่างนั้นทุกชาติ ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ได้ยินแล้วคิดไป แต่เมื่อใดที่มีโอกาสที่จะได้ฟังคำ รู้ได้เลย คำนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อน เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นด้วยความเคารพอย่างยิ่งว่าสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ใครก็รู้เองไม่ได้ แต่ต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ไม่ใช่ตัวเราที่จะไปขวนขวาย พยายามทำ พยายามรู้ พยายามคิดเอง แต่จากการที่ได้ฟังพระธรรม แต่ละคำเป็นปัญญาทั้งหมด และไม่ประมาทเลย แต่ละคำลึกซึ้งเกินกว่าที่จะคิด เพราะเหตุว่าถ้าไม่รู้ความจริง ธรรมเป็นธรรมดา เห็นธรรมดา ได้ยินธรรมดา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ สิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นธรรมดา นี่ต่างกันแล้วใช่ไหม เป็นธรรมดา แต่ทุกคนไม่รู้ความจริงของสิ่งซึ่งเป็นธรรมดา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เป็นธรรมดา ก็น่าอัศจรรย์ มีอะไรที่จะต้องรู้ลึกซึ้งกว่าเห็นเดี๋ยวนี้ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมี แล้วทรงแสดงความจริงของเห็น ลึกซึ้งอย่างยิ่ง สภาพธรรมถ้าไม่ศึกษาจริงๆ โดยละเอียดทีละคำ อาจจะประมาทว่ารู้แล้ว แต่ความจริงแค่ได้ยินอย่างนี้ ก็ยังไม่ได้รู้ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็ยังไม่รู้ ก็รู้เพียงเท่านี้ แต่ก็ฟังต่อไป ก็เริ่มจะเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงเท่านั้นที่เรายังไม่รู้ และสามารถจะรู้จริงได้ต่อเมื่อได้ฟังพระธรรม
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่พ้นจากสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แล้วผู้นั้นเองไม่ต้องให้ใครมาบอก เข้าใจด้วยตนเองว่ารู้แค่ไหนว่าขณะนี้เห็นมีจริงไม่ใช่เรา เพราะว่าถ้าเห็นไม่เกิดขึ้น เห็นก็ไม่มี เราก็ต้องไม่มี แต่เพราะมีเห็นเกิด แล้วไม่รู้ความจริงว่า เห็นเกิดแล้วดับไป ทันทีที่เห็น เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป แต่ก็มีสภาพธรรมอื่นเกิดสืบต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่นอย่างรวดเร็ว ใครจะรู้ได้ ถ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นธรรมไม่ได้อยู่ที่อื่น นอกจากขณะนี้เลย ขณะนี้ทุกขณะ อาศัยการฟังพระธรรม แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะว่าความไม่รู้ไม่สามารถที่จะละความไม่รู้ แต่ความรู้ที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ แล้วผู้นั้นก็จะรู้เองว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ ลึกซึ้งขึ้น แต่ก็สามารถที่จะรู้ว่า ทุกคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเป็นความจริงที่รู้ได้ในวันหนึ่ง
เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่เริ่มประกอบด้วยบารมี คือความเพียร รู้ว่าไม่ใช่เราจะพยายามไปขวนขวายด้วยความไม่รู้ ด้วยความเป็นตัวตน แต่กว่าจะได้ฟังพระธรรมแต่ละคำ และเข้าใจขึ้น ก็เป็นผู้ที่ตรง ต้องเป็นความเพียรไม่ใช่เรา และขันติความอดทน ขณะนี้กำลังฟังด้วยความอดทน เพราะรู้ว่าฟังสิ่งที่มีจริง แต่รู้ยากจริงๆ เพราะเหตุว่าฟังมานานแล้วว่า เห็นเกิดขึ้น และดับ แต่เห็นเมื่อใด เห็นก็ไม่ได้เกิด และดับสักทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นยังไม่ได้เข้าใกล้ความจริงของสภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นปรากฏแล้วก็ดับไป นี่ก็คือ ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงว่าขณะนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แต่สามารถที่จะรู้จริงๆ ตามที่ได้ฟังได้ เมื่ออบรมเจริญปัญญา ปัญญาต่างหากเป็นสภาพธรรมที่สามารถรู้ สามารถเข้าใจได้ ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นถ้าปัญญาคือความเข้าใจยังไม่มากพอ ไม่มีใครจะไปบันดาลให้สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ปรากฏว่าเกิดขึ้น และดับไปได้ แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ค่อยๆ ละคลาย ก็รู้ว่าไม่มีใครสามารถบันดาลได้ แต่ว่าปัญญาค่อยๆ อบรมเจริญได้ทีละเล็กทีละน้อย ถ้าศึกษาธรรมละเอียด ยิ่งเห็นความยาก ความลึกซึ้งของการที่ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นทีละน้อยจริงๆ
เพราะว่าถ้าได้ยินคำว่า "ปัญญาเกิดท่ามกลางอกุศล" แค่นี้ เพียงคำเล็กๆ น้อยๆ แต่จริง จะทำให้ละคลายความเพียรด้วยความเป็นเรา และความอยากเมื่อไหร่จะรู้ ทำอย่างไรจะรู้ จะไม่มีเลย เพราะว่าเริ่มเข้าใจจริงๆ ว่าต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมกล่าวว่า ปัญญาเกิดท่ามกลางอกุศล เห็นเกิดไม่รู้ความจริงว่าเห็นเกิดแล้วดับ ติดข้องในเห็นว่า เป็นเรา นั่นคือ ได้เข้าใจความจริงว่า สิ่งที่เราผ่าน เห็นคน แต่ก่อนที่จะเห็นเป็นคน ความไม่รู้ในเห็นเกิดแล้ว และแม้จะมีความคิดว่า เราเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ไม่ใช่ขณะที่เห็นแล้ว ยิ่งฟังยิ่งเห็นพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าไม่ทรงพระมหากรุณาแสดง ไม่มีใครจะคิดออกหรือคิดได้เลย เพราะฉะนั้นท่ามกลางอกุศลที่กำลังเห็น และไม่รู้ความจริงของเห็น กำลังได้ยินก็ไม่รู้ความจริงของได้ยินทั้งหมด แต่ละวาระแต่ละอย่างมีความไม่รู้แทรกคั่นอยู่มากมายมหาศาล
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ก็เป็นการอบรมปัญญาที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าธรรมแต่ละคำตรง ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องว่าธรรมมีจริง ไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชา หรือเป็นเจ้าของได้ เกิดเมื่อมีปัจจัยที่จะเกิดแล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ถ้ามีความเข้าใจมั่นคงอย่างนี้ นั่นคือกำลังเริ่มคลายความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ก่อนที่จะประจักษ์ ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งเป็นจริงขณะนี้ ต้องค่อยๆ คลายการที่เคยยึดมั่นว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ เพราะยึดมั่นมานานแสนนานมาก ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ว่า หนทางเดียวก็คือว่า ปัญญาไม่ใช่เรา ถ้าปัญญายังไม่เกิดพอที่จะรู้ความจริง ความจริงก็ไม่สามารถจะปรากฎได้ เพราะเหตุว่าปัญญาเท่านั้น ที่สามารถที่จะรู้ความจริง ก็ฟังไป ค่อยๆ เข้าใจไป แล้วก็ขณะที่ค่อยๆ เข้าใจ และฟังไปเรื่อยๆ กำลังค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ และความติดข้องในสิ่งที่กำลังมี เพราะฉะนั้นฟังน้อยกว่ากิเลสที่กำลังเกิดใช่ไหม
อ.วิชัย ถ้ากล่าวถึง การอบรมเจริญปัญญาก็เป็นไปเพื่อความรู้ความจริง โดยอาศัยพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อให้รู้ความจริง แต่การที่ปัญญาจะเริ่มเกิดขึ้นหรือแม้เจริญขึ้น ที่กล่าวว่า ปัญญาเกิดท่ามกลางอกุศลนั้นก็เป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็ต้องอาศัยกุศลขั้นอื่น ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็กล่าวถึง เรื่องของการแสดงเรื่องของกุศลที่เป็นไปในทานบ้าง หรือว่าศีลบ้าง หรือว่าภาวนาบ้าง เพราะฉะนั้นการที่ได้มีโอกาส ได้ฟังพระธรรม ได้รู้ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง จะอุปการะต่อการเจริญกุศลที่จะเป็นไปเพื่อการละคลายอกุศล จนถึงการดับอกุศลอย่างไร
ท่านอาจารย์ การฟังธรรมต้องฟังทีละคำ อดทน พูดถึงเรื่องทานที่เป็นทานบารมี แต่ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าทานคืออะไร ทานไม่ใช่การซื้อขาย ไม่ใช่การให้เพื่อที่จะหวังผลตอบแทน ทานะคือการให้ เป็นจาคะคือการสละ แต่คนที่ไม่มีความละเอียดก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะใดก็ตามที่กำลังให้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อประโยชน์สุขของบุคคลที่ได้รับโดยไม่ได้หวังสิ่งใดเลย ขณะนั้นเป็นการสละกิเลส ไม่รู้ตัวเลยใช่ไหม แต่ว่าถ้าไม่สามารถที่จะสละให้ใครได้ เป็นผู้ที่ติดข้องอย่างมากมาย ไม่ได้สละเลย
เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็พิจารณาตนเองได้ว่า วันนี้สละอะไรบ้างหรือเปล่า ไม่ใช่แต่เพียงวัตถุ แค่คำพูดที่เป็นกำลังใจ และคำพูดจริงที่ทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่คำเท็จ ไม่ว่าโดยสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นความดีหลากหลายต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้ตลอดไป เพราะแม้ขณะนั้น ก็เป็นกุศลท่ามกลางอกุศล ที่กล่าวอย่างนี้ ไม่ใช่ให้ท้อถอย แต่ให้รู้ว่าประมาทพระธรรมไม่ได้ ประมาทคำที่ได้ฟังไม่ได้เลย เพื่อที่จะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทำให้แต่ละคนค่อยๆ รู้ความจริงว่า ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดยิ่ง แต่สามารถเข้าใจได้ สามารถที่จะค่อยๆ ขจัดความไม่รู้ เพราะเหตุว่าอกุศลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคีอง หรือว่าความสำคัญตน ความมานะต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด ความริษยา ความโลภ ทั้งหมดมาจากความไม่รู้ นานไหมที่ไม่รู้
เพราะฉะนั้นกิเลสทั้งหลายเดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหน อยู่ที่จิต ทุกคนกำลังมีจิต ใครจะรู้จิตของใครว่าสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเห็นการกระทำ และคำพูด ทางกาย ทางวาจาก็ประมาณได้ เช่น การกระทำทุจริตต่างๆ รู้แล้วใช่ไหม จิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่ธรรมดา เกินกว่าสามัญที่เป็นไป เพราะเหตุว่าสะสมอกุศลจนสามารถที่จะกระทำทุจริตกรรมต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นน่ากลัวอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยที่สะสมมามาก ถ้าจะเป็นสิ่งที่มีกลิ่น กลิ่นอะไร กลิ่นอกุศล
อ.วิชัย กลิ่นที่เหม็น
ท่านอาจารย์ มากไหม
อ.วิชัย มาก
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่แสดงก็ไม่รู้ เก็บไว้สนิท พูดเมื่อใดรู้เมื่อนั้น ทำเมื่อใดก็รู้เมื่อนั้น แล้วก็พูดแล้วก็ทำ แต่ไม่เคยรู้สึกตัวเลยว่าจิตขณะที่เป็นอย่างนั้น เป็นจิตประเภทไหน เพราะฉะนั้นความไม่รู้ทั้งหมดมากมายมหาศาล จะขัดเกลาได้อย่างไร ถ้ายังเต็มไปด้วยอกุศล เพราะฉะนั้นกุศลความดีที่ตรงกันข้ามกับอกุศล ขณะใดก็ตามที่สภาพจิตที่ดีงามเกิดขึ้น ขณะนั้นจิตที่ไม่ดีเกิดพร้อมกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการสะสมคุณความดีแม้ทีละเล็กทีละน้อยก็เหมือนกับน้ำทีละหยด ที่ไปชำระล้างอกุศลที่มีอยู่ในจิต เพราะว่าส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงจิตของตัวเองเลย เห็นแต่คนอื่น จิตของคนอื่น คุณวิชัยสามารถที่จะเห็นจิตของคุณคำปั่นไหม
อ.วิชัย ไม่สามารถจะเห็นได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องจริงทุกคำ ด้วยเหตุนี้การที่จะดับกลิ่นของอกุศล หรือว่าต้องไม่มีอกุศล จึงจะไม่มีกลิ่นของอกุศลได้ ยากไหม ลำบากไหมเคยคิดหรือเปล่า หรือเคยแต่เพียงหวังว่า เมื่อใดเราจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรม ซึ่งได้ฟังว่าไม่ใช่เรา อย่างนั้นก็คือโลภะ ก็เป็นอกุศลอีกซึ่งกั้น ไม่สามารถที่จะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรมได้เลย
เพราะฉะนั้นความดีทุกประการตั้งแต่ทานการสละสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้คนอื่น ขณะนั้นน้ำหยดหนึ่งก็ไปชำระกลิ่น และอกุศล และความเศร้าหมอง คือไม่สะอาดทั้งหมด เน่า เหม็น เต็มไปด้วยเชื้อโรค มีกลิ่นมาก และก็เดี๋ยวนี้ก็ยังคงอยู่ แต่ว่าตราบใดที่ยังมีการฟังพระธรรม สะสมไปทางฝ่ายกุศล บารมีทุกด้าน ก็จะค่อยๆ ละคลายอกุศลไปทีละเล็กทีละน้อย แต่อีกนานไหม
อ.วิชัย นานมาก
ท่านอาจารย์ แล้ววันหนึ่งก็รู้ได้ใช่ไหม
อ.วิชัย ก็สามารถค่อยๆ รู้ขึ้นจากการฟังพระธรรมได้
ท่านอาจารย์ เมื่อใดที่จะค่อยๆ รู้ขึ้น
อ.วิชัย ก็เดี๋ยวนี้
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเริ่มเข้าใจแม้คำเดียว ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่หวั่นไหวไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสัจจะ เป็นอธิษฐานคือความมั่นคง ใครก็ตามที่กล่าวว่า ต้องไปทำอย่างอื่น จึงจะสามารถเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถูกหรือผิด เดี๋ยวนี้เป็นธรรม แล้วถ้าไม่มีการฟังพระธรรม ไปทำอะไร จะไปพากเพียรอย่างไร ในเมื่อไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ ซึ่งเข้าใจยาก เพราะฉะนั้นขณะนี้กำลังสละ หรือเปล่า เห็นไหม ไม่รู้ตัวเลยว่าการฟังให้เข้าใจธรรม เป็นการสละความติดข้อง และความไม่รู้ ความไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี เพราะว่าได้ฟังความจริงที่สามารถเห็นความต่างของความรู้กับความไม่รู้ เพราะความรู้ คือรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เพียงชื่อ มีจริงเกิดดับ นี่คือมั่นคง แล้วก็ไม่ทำอย่างอื่นเลย เพราะรู้ว่าถ้าทำก็คือเรา แต่ถ้ามีความเข้าใจ ความเข้าใจจะทำให้ค่อยๆ ละความเป็นเรา จนถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคล ดับการที่เคยยึดถือสภาพธรรมอย่างนี้เดี๋ยวนี้ เหมือนเดิมที่เคยเข้าใจว่าเป็นเรา ก็ไม่สามารถจะเกิดอีกได้เลย เพราะว่าเข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง มากมาย ปัญญาต้องอบรมจนถึงเมื่อปัญญาพร้อม จึงสามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมตามลำดับ
อ.วิชัย การที่ไม่สามารถที่จะสละหรือให้ได้ก็ด้วยความยึดถือ ความติดข้อง ดังนั้นการที่จะค่อยๆ รู้ลักษณะของความติดข้อง แม้แต่ในวัตถุ แม้แต่ในลึกที่สุดก็คือ ความยึดถือความเป็นตัวตน ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า การไปสำนักปฏิบัติโดยความไม่รู้ไม่เข้าใจ เพราะว่าไปโดยที่ไม่เข้าใจว่า ขณะนั้นก็มีสภาพธรรมที่ปัญญาสามารถจะรู้ได้ ก็แสดงถึงยังมีความพอใจที่รักตัวอยู่ ในการที่จะต้องทำ เพื่อจะได้ในสิ่งที่ยังไม่รู้จักว่าได้อะไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ตรง สัจจบารมี ถ้าไม่มีการตรงต่อสิ่งที่มี ต่อความจริงของสิ่งที่มี โดยการฟังจนกระทั่งรู้ว่าไม่ใช่เรา ถ้าไม่ตรงอย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา แม้แต่การฟังก็ต้องตรง ฟังอย่างนี้แล้วก็รู้ว่า ไม่ใช่เราที่จะขวนขวาย ยังคงเป็นเราก็ยังคงเป็นอกุศล แต่ปัญญาที่ค่อยๆ ฟังว่า เห็นเกิดแล้วดับไป ได้ยินเกิด แล้วดับไป คิดเกิดแล้วดับไป คนอยู่ที่ไหน ไม่มีเลยสักอย่างเดียว ค่อยๆ ฟัง สิ่งที่ได้ฟัง จะสะสมอยู่ในจิตไม่ได้ไปไหนเลย ไม่ได้สูญหายเลย แต่จะเจริญขึ้นมากน้อยเท่าใด ก็แล้วแต่ว่ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการฟังแล้วก็ไตร่ตรอง และก็รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา ทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ ในชาติหนึ่งชาติหนึ่ง
อ.วิชัย กว่าความพอใจที่จะค่อยปรากฏแก่ปัญญาก็เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏโดยที่ไม่เคยที่จะรู้ในสิ่งนั้นมาก่อน
ท่านอาจารย์ เริ่มรู้ว่าละเอียดแค่ไหน
ผู้ฟัง พระภิกษุคือใคร
อ.คำปั่น ความหมายของพระภิกษุ ก็คือผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฏ เห็นภัยของกิเลสเป็นผู้ที่เห็นโทษของการอยู่ครองเรือนว่าเป็นที่หลั่งไหลมาแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เห็นโทษของความติดข้อง เห็นโทษของความเป็นคฤหัสถ์ จึงสละอาคารบ้านเรือน สละทรัพย์สมบัติ สละวงศาคณาญาติ สละความเป็นคฤหัสถ์ทุกอย่าง เพื่อมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่งคือเพศบรรพชิต เพื่อศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง เป็นผู้ที่ประพฤติคล้อยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ศึกษาพระธรรม และน้อมประพฤติตามพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ นี่คือความหมายของภิกษุ
แต่ในพระวินัยแล้วก็ในอรรถกถาทั้งหลายก็มีความหมายที่หลากหลายในความหมายของคำว่าภิกษุอีก อย่างเช่น ผู้ที่สามารถที่จะดับโลภะ โทสะ โมหะ ได้ เป็นภิกษุ ผู้ที่ทำความดีในเพราะการขอ เพราะเหตุว่า ชีวิตของพระภิกษุดำรงอยู่ได้ด้วยศรัทธาของชาวบ้าน ด้วยก้อนข้าวของชาวแว่นแค้วน ท่านได้รับอาหารที่ชาวบ้านถวาย ท่านก็รู้ในคุณของก้อนข้าวที่ชาวบ้านถวายว่าจะเป็นไปเพื่อให้ชีวิตเป็นไปได้ เพื่อที่จะศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง และก็อีกความหมายหนึ่งที่น่าพิจารณา ก็คือผู้ที่ใกล้ชิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสละความเป็นคฤหัสถ์ สละความเป็นใหญ่ในทางโลกทั้งหมด เพื่อมุ่งสู่ความเป็นบรรพชิต แล้วก็ได้รับประโยชน์สูงสุดของการบวช ผู้ที่เป็นภิกษุก็ต้องมีความประพฤติใกล้ชิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความประพฤติคล้อยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ใกล้ชิดต่อการที่จะได้รับฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นี่ก็เป็นความหมายคร่าวๆ คำว่า ภิกษุ
ท่านอาจารย์ ก็น่าคิด เราก็เห็นพระภิกษุ แต่ก็ยังมีคำถามว่า พระภิกษุคือใคร เพราะแค่เห็นจะเข้าใจไหมในความเป็นพระภิกษุ เพราะฉะนั้นพระภิกษุไม่ได้อยู่ที่เครื่องหมายของเครื่องนุ่งห่มที่ต่างกับคฤหัสถ์ แต่พระภิกษุต้องเป็นผู้ที่เคยฟังพระธรรมก่อนเป็นพระภิกษุหรือเปล่า น่าคิด เพราะธรรมทุกอย่างเป็นเรื่องที่ต้องไตร่ตรอง ไม่อย่างนั้นเราก็เผินหมด แล้วเราก็ไม่ได้เข้าใจจริงๆ ได้ยินคำไหน แม้แต่คำที่คุ้นหู อย่างพระภิกษุ เห็นก็เห็น แต่ก็ยังไม่รู้ว่าภิกษุคือใคร ถ้าเราไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองจริงๆ ต้องเป็นผู้ที่เคยได้ฟังพระธรรมถูกต้องไหม ถ้าไม่เคยฟังพระธรรมจะบวชหรือ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960