ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
ตอนที่ ๙๕๘
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ แม้แต่คำที่ต้องละเอียด เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ละเอียดไม่มีทางเข้าใจพระธรรมได้ ละเอียดรอบคอบลึกซึ้งมั่นคงได้ในคำว่าไม่ใช่เรา เพราะเราพูดคำว่าไม่ใช่เราบ่อยมาก แต่ก็เป็นเรา แล้วจะถามเรื่องของเราต่อไป แต่ว่าถ้ารู้ว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง มั่นคงหรือยัง คือมั่นคงที่นี่ไม่ใช่ไปมั่นคงคำเยอะๆ มากๆ เพียงแค่คำเดียวมั่นคงไหมว่าจิตเกิดขึ้นหนึ่งดับแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย แต่ละหนึ่ง เจตสิกแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดพร้อมจิตใดดับไปพร้อมจิตนั้น ไม่กลับมาอีกสักเจตสิกเดียว เรียกได้ว่าแต่ละหนึ่งซึ่งมี มีชั่วขณะที่มีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แล้วดับเร็วปานใด พระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงแสดงโดยละเอียดยิ่งเพื่อใคร คนอื่นที่ไม่รู้จะได้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นต้องตรง
ผู้ฟัง ฟังธรรมเหมือนกัน อย่างเดียวกัน ความเข้าใจไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แต่ละหนึ่งเห็นไหม ถ้าแต่ละหนึ่งแล้วจะสงสัยไหม นี่คือรอบรู้หรือยัง มั่นคงหรือยังว่าแต่ละหนึ่งคือหนึ่ง ถ้ามั่นคงจริงๆ ไม่สงสัยเลย เพราะว่าแต่ละหนึ่งจะเหมือนกันได้อย่างไร แต่ละหนึ่งขณะจิตเกิดแล้วก็ดับ สืบต่อเร็วที่สุดเหมือนไม่ดับเลย
ผู้ฟัง แต่ความเข้าใจต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะเป็นแต่ละหนึ่ง
ผู้ฟัง แล้วจะเกื้อกูลกันได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เมตตามีไหม เป็นลักษณะอย่างไร เราใช้คำที่เราไม่รู้จักเลย แต่ว่าเมตตาก็คือความเป็นเพื่อน ความเป็นมิตร เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับ ทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่ใช่เมตตา แต่ละหนึ่ง ทุกคำรอบรู้จริงๆ มั่นคงจริงๆ ไม่เปลี่ยนจริงๆ แต่ละหนึ่งก็คือแต่ละหนึ่ง สติ ปัญญา เมตตา เป็นแต่ละหนึ่ง
ผู้ฟัง ตราบใดที่ความเข้าใจไม่มั่นคงเพียงพอ
ท่านอาจารย์ ก็ฟังให้ค่อยๆ มั่นคงในแต่ละหนึ่ง เดี๋ยวนี้มั่นคงหรือยังว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปัจจัยเกิดแล้วดับ ไม่กลับมาอีกเลย เป็นหนึ่ง ไม่ย้อนกลับมา ไม่สามารถที่จะมาอีกได้เลย เพราะแม้แต่จะเกิดก็เกิดอยากตามใจชอบ อยากจะให้เป็นอย่างนั้นไม่ได้ เกิดเมื่อมีปัจจัยที่จะให้เกิดจึงเกิดได้ เพราะแม้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่ใคร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็ต้องเป็นไปตามปัจจัย
ผู้ฟัง ธรรมจะต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย พระตถาคตรู้ทางที่จะดับเหตุได้
ท่านอาจารย์ ความไม่รู้เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มากมาย
ท่านอาจารย์ จะดับได้หรือเปล่า
ผู้ฟัง มีหนทางที่จะดับได้
ท่านอาจารย์ หนทางนั้นคืออะไร
ผู้ฟัง ก็คือมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ เห็นไหม เป็นชื่อมาอีกแล้ว ความไม่รู้มี มีปัจจัยที่จะเกิด เกิดแล้วก็ดับไป แต่จะดับไม่เกิดอีกเลยได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะปัญญา
ท่านอาจารย์ เพราะความเห็นถูกความเข้าใจถูก ตรงกันข้ามกับความไม่รู้ ขณะใดที่เข้าใจถูก ขณะนั้นก็ละความไม่รู้ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะดับหมดตามกำลังของปัญญา เพราะปัญญาขั้นนี้ดับกิเลสไม่ได้ แต่เริ่มที่จะเข้าใจถูก รอบรู้หรือยัง มั่นคงหรือยัง นี่คือการฟังธรรมเพื่อมั่นคง และรอบรู้ ไม่ใช่รู้อื่นเลย รู้สิ่งที่มีจริงๆ ธรรมดาธรรมดา
ผู้ฟัง นั่งฟังมา อย่างเช่นคำว่าแต่ละหนึ่ง แล้วก็ทุกอย่างเป็นธรรม เหมือนตรงกันข้ามกันเลยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม กับแต่ละหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ทุกคือหนึ่งใช่ไหม หนึ่ง หนึ่ง หนึ่งใช่ไหม
ผู้ฟัง ทุกคือหนึ่งหนึ่ง แล้วทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ หนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง ทั้งนั้น เห็นก็เป็นเห็น เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ หนึ่งเห็นใหม่ไม่ใช่เก่า
ผู้ฟัง ทุกคำของพระพุทธองค์ก็เป็นธรรมอยู่แล้ว และก็ไม่ใช่สัตว์ตัวตนอยู่แล้ว แต่เพียงแต่ว่าศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จุดประสงค์อย่างเดียว คือเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง ซึ่งต้องอาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ความเป็นหนึ่งต้องเข้าใจพื้นฐานของสิ่งนั้นก่อน คือความเป็นจิตเจตสิกรูปด้วยไหม
ท่านอาจารย์ ธรรมยากไหม
ผู้ฟัง ยาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำที่กล่าวถึงธรรมยากไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องยากด้วย
ท่านอาจารย์ ต้องยากด้วย ทุกอย่างยากใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดว่า ธรรมง่ายไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นฟังคำไหนเข้าใจคำนั้น ธรรมคือสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง หลากหลายมาก ไม่ปะปนกันเลย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย
ผู้ฟัง ก็ต้องพยายามเข้าใจพื้นฐานของแต่ละหนึ่งด้วย
ท่านอาจารย์ หมายความว่าฟังแล้วเข้าใจ พูดถึงอะไร พูดถึงสิ่งที่มีจริง อะไรมีจริง ก็เห็นก็มีจริง เห็นเกิดเป็นเห็น ไม่มีใครไปทำได้เลย แต่มีปัจจัยที่เห็นจะเกิด เห็นจึงเกิดเป็นอื่นไม่ได้ แค่เกิดเห็นแล้วดับ หนึ่ง เห็นอีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่ใช่เห็นก่อน นี่คือแต่ละหนึ่ง ได้ยินมีจริงๆ ฟังเรื่องได้ยิน ได้ยินไม่ใช่เราแน่นอนถ้าฟังเข้าใจ แม้ว่าเคยเป็นเรามานานแสนนาน แต่ประโยชน์ของการฟังคือเข้าใจให้ถูกต้องว่าแม้ได้ยินก็เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก ฟังทำไมบ่อยๆ เพื่อกว่าจะรู้ความจริงว่า เป็นอย่างนี้ ตามลำดับขั้นของปัญญาที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย สภาพธรรมแต่ละหนึ่งปะปนกันไม่ได้เลย มีปัจจัยเกิดแล้วดับ สะสมสืบต่อ เพราะฉะนั้นความเข้าใจวันนี้ก็จะสะสมไปถึงวันต่อๆ ไป ไม่มีใครทำอะไรได้เลย แต่ถ้าไม่ได้ฟังอีก หรือว่าฟังน้อยไม่พอ ก็ไม่คิดอีกถึงธรรมที่ได้ฟัง ก็ยังสงสัยต่อไปอีกในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นการฟังเพื่อเข้าใจ เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากเข้าใจไตร่ตรอง จนกระทั่งแต่ละคำมั่นคง สภาพธรรมก็จะปรากฏตามความเป็นจริงได้
อ.ธีระพันธ์ แล้วอยู่ในความมืด ก็มืดแล้วจะสว่างได้อย่างไร ที่จะรู้ความจริงก็ขณะนั้นมืด
ท่านอาจารย์ เข้าใจ
อ.ธีระพันธ์ เข้าใจ สิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่สว่างอย่างนี้ยังไม่เข้าใจเลย เพราะฉะนั้นอะไรที่สว่าง เพราะเราคิดว่า ใช่ไหม ขณะนี้สว่างแล้ว แต่เมื่อไม่เข้าใจก็ต้องมืด แต่แม้ในความมืดสามารถเข้าใจสิ่งที่อยู่ในความมืดได้ ลองคิดดู แสงสว่างแค่ไหนที่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่อยู่ในความมืดได้ ไปหาแสงไหนมา บอกให้นักวิทยาศาสตร์เขาไป พยายามหาแสงมาส่องให้เข้าใจสิ่งที่อยู่ในความมืดได้ไหม แต่ความเข้าใจสิ่งที่มี แม้ในความมืด แสงอื่นไม่สามารถที่จะเข้าใจ หรือทำให้เข้าใจได้ นอกจากปัญญา
อ.ธีระพันธ์ คือผมก็มาพิจารณาที่ท่านอาจารย์พูดถึงกับความมืด สว่างด้วยปัญญา ผมก็เลยคิดถึงว่า ขณะที่เสียงปรากฏ เสียงก็มืด เพราะว่าไม่ได้สว่าง ความเข้าใจก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าเป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคำจริง ที่ควรที่จะเข้าใจเนื้อความให้ถูกต้อง เดี๋ยวนี้ที่ไม่เคยรู้ลักษณะของสิ่งที่มีเลยทั้งสิ้น มืดไหม ตอนนี้ จะสว่างที่ไหน จะสว่างแล้วมืด กลางวันหรือกลางคืนอย่างไรก็ตามแต่ แต่ทั้งหมดเป็นธรรม ซึ่งไม่สามารถที่จะรู้สภาพนั้นๆ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นจะมืดยิ่งกว่าอะไร ทั้งๆ ที่ปรากฎก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นอวิชชาเป็นความมืด ความหลง ที่ไม่สามารถที่จะถึงการเข้าใจถูกต้องได้
อ.อรรณพ ถ้ายังยึดมั่นเหนียวแน่นว่าเป็นสัตว์บุคคลขณะนั้นก็มืด เพราะว่าจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอวิชชาความไม่รู้เกิดกับอกุศลทั้งหมด ไม่เว้นเลยว่าจะมืดหรือจะสว่างอย่างไร ขณะที่อกุศลธรรมเกิดก็ต้องมืด แต่ความจริงลองคิดดูว่า เราอยู่ในโลกมืดไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว อยู่ในความมืด เพราะว่าจริงๆ แล้วถ้าโดยสภาวธรรมมีสิ่งเดียวที่กำลังปรากฏให้เห็นเดี๋ยวนี้เท่านั้นที่สว่าง อย่างอื่นมืดหมด ธาตุรู้ จิตมืด เจตสิกทั้งหมดมืด เสียงมืด ได้ยินมืด กลิ่นมืด ทุกอย่างมืด สิ่งเดียวที่ปรากฏให้เห็นได้ ก็คือทางตานั่นเอง เพียงแค่ตาบอดสิ่งนี้จะปรากฏไม่ได้เลยทั้งสิ้น นี่เป็นความมืดที่เราเข้าใจกันว่ามีมืดกับสว่าง เพราะฉะนั้นที่มืดก็คือว่าทั้งหมด เว้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ค่อยๆ เข้าใจ ขณะที่กำลังเห็น แล้วเราสัมผัสสิ่งที่แข็ง เราไม่รู้ว่า ขณะที่สัมผัสสิ่งที่แข็งขณะนั้นไม่ได้สว่างอย่างนี้เลย สว่างก็สลับ จนกระทั่งไม่ปรากฏลักษณะของสิ่งอื่น จึงปรากฏว่ากำลังคิดก็คิดในความสว่าง กำลังชอบก็ชอบในสิ่งที่สว่าง ทั้งหมด เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้เลย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม เหลือเชื่อที่จะเป็นไปได้ ก็ลองคิดดู เหมือนกับสว่างหมด แต่ความจริงไม่ใช่ มืดหมด เว้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แค่นี้ก็คนละโลกแล้ว
อ.อรรณพ อันนี้เห็นประโยชน์ของปัญญาที่รู้ความจริงมากๆ เพราะว่าตอนนี้สวนทางว่าตอนนี้เรานึกว่าเราเห็นอยู่ตลอด สว่างอยู่ตลอด โรงแรมก็มีไฟเปิดสว่างตลอด แต่จริงๆ แล้วปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ว่า มืดมากกว่าสว่าง
ท่านอาจารย์ เพียงไม่มีเห็น ทุกอย่างมืดสนิท แต่ว่าเห็นแล้วไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นเพียงเห็น ก็มืดด้วยความไม่รู้
อ.อรรณพ แม้จะเห็น
ท่านอาจารย์ อยู่ในโลกของความมืดมาทุกชาติ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม เป็นแสงสว่างที่ค่อยๆ ส่องทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าสามารถที่จะสภาพธรรมปรากฏตามความเป็นจริง
อ.อรรณพ ด้วยเหตุนี้ท่านถึงอธิบายเจตสิก ๒ อย่าง คือปัญญาเจตสิกกับโมหเจตสิกว่าปัญญาเจตสิกเป็นวิชชา แล้วก็โมหเจตสิกเป็นอวิชชา ซึ่งเป็นสภาพที่สว่างแล้วก็มืด ตรงกันข้าม
ท่านอาจารย์ อยู่ในความหลงทุกชาติว่าสว่าง รู้นั่นรู้นี่ แต่ความจริงทั้งหมด ถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็คือมืด แม้กำลังนั่งอย่างนี้ ก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา
อ.นภัทร บางครั้งสภาพที่ระลึกได้เห็นถูกว่าเห็นเป็นเห็น ได้ยินเป็นได้ยิน ได้กลิ่นเป็นได้กลิ่น เกิดบ้างไม่ได้บ่อย
ท่านอาจารย์ เท่านี้ก่อน มาจากไหนที่เกิดได้
ผู้ฟัง มาจากการฟัง
ท่านอาจารย์ เข้าใจระดับไหน เพราะว่าความเข้าใจขั้นฟังเป็นอย่างหนึ่ง อย่างเราพูดถึงเวลานี้สว่างแต่มืดเพราะไม่รู้ ต่างกันแล้วใช่ไหม ไม่เคยคิดเลย แต่ว่าได้ยิน ได้ยินก็ยังไม่ได้ปรากฏอย่างนั้น เพราะฉะนั้นความเข้าใจระดับที่จะรู้อย่างนั้น ที่จะใช้คำว่าสติมาจากไหน เพราะเหตุว่าโดยนัยของพระธรรมที่ทรงแสดง ทุกขณะที่สภาพธรรมที่ดีงามเกิดขึ้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล นั่งๆ อยู่อย่างนี้เป็นอกุศล ระลึกเป็นไปในกุศลเกิด ขณะนั้นเป็นเราเพราะไม่รู้ว่าขณะนั้นคือเจตสิกอะไรบ้างที่เกิดพร้อมจิตในขณะนั้น และหนึ่งเจตสิกซึ่งต้องเกิดทุกครั้งที่จิตฝ่ายดีเกิดขึ้นคือสติเจตสิก เป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล ไม่ไปดูที่อื่น แต่ฟังธรรมเป็นเราจะฟัง แต่ความจริงสติเจตสิกเกิด ใครรู้เจตสิกนี้บ้าง ใครเห็นเจตสิกนี้บ้าง ใครรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เราบ้าง และจะรู้ได้อย่างไร เดี๋ยวนี้มีแข็งใช่ไหม กำลังรู้ที่ตรงแข็งเลยหรือเปล่า เห็นไหม ทุกคนรู้ว่ามีแข็งหมดเลย โต๊ะแข็ง ดอกไม้แข็ง อะไรแข็งหมด แต่กำลังรู้ลักษณะที่แข็งไหม ตรงแข็ง
อ.นภัทร ตรงแข็ง
ท่านอาจารย์ ตรงแข็งเป็นธรรมดา มีใครบ้างไม่รู้แข็ง กระทบสัมผัสเมื่อใด แข็งปรากฏ มีใครบ้างไม่รู้ แล้วสติปรากฏไหม
อ.นภัทร สติปรากฏตรงที่ระลึก ตรงที่สภาพแข็งปรากฏ
ท่านอาจารย์ สติขณะที่กำลังปรากฏเกิดพร้อมกับปัญญาหรือเปล่า
อ.นภัทร ปัญญาคือความเข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ในขณะที่สติเกิดต่างกับขณะที่กำลังรู้แข็งธรรมดา
อ.นภัทร ครับ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไหม เด็กก็รู้ว่าแข็ง แข็งมี และก็รู้แข็งเป็นประจำ จับช้อน ช้อนแข็ง แต่บอกว่าจับช้อน จับถ้วยแก้ว ความจริงแข็งปรากฏ แต่บอกว่าจับถ้วยแก้ว เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังรู้แข็ง ตรงแข็งนั้นเป็นธรรมดาหรือเปล่า
อ.นภัทร ทุกครั้งที่แข็งปรากฏไม่ได้ปรากฏกับสติทุกครั้ง ที่บอกว่าไม่ได้ปรากฏกับสติเพราะว่าผ่านเลยความแข็งตรงนั้นไป
ท่านอาจารย์ ไม่มีการที่จะคิดว่าผ่านหรือเลยเลย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมขณะนั้นอะไรปรากฏ ไม่มีการที่จะคิด คิดไม่ใช่รู้แข็ง
อ.นภัทร ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าเป็นธรรมดา
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดา แข็งปรากฏเสมอ เป็นธรรมดา กระทบสัมผัสเมื่อใด แข็งก็ปรากฏเป็นธรรมดา
อ.นภัทร แต่ในความธรรมดาที่รู้ในสภาพที่ปรากฏนั้น
ท่านอาจารย์ ความรู้นั้นเกิดขึ้นอย่างไร มาจากไหน ทุกอย่างที่จะเกิด ต้องมีเหตุปัจจัยที่สมควร
อ.นภัทร มาจากการฟัง
ท่านอาจารย์ ฟังเข้าใจ ระดับไหน
อ.นภัทร ก็เป็นการฟังเรื่อยๆ ฟังบ่อยๆ จนสามารถที่สติจะเกิดระลึกได้จากสิ่งที่ได้ฟัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความต่างขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด รู้อะไร
อ.นภัทร รู้ว่าแข็งกับสิ่งที่รู้แข็ง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ท่านอาจารย์ รู้สภาพรู้เดี๋ยวนี้ไหม
อ.นภัทร บางครั้งไม่ได้ปรากฏกับสติ แต่ถ้าบางครั้งที่สติเกิดระลึกได้ ก็ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เวลารู้ปรากฏ ปรากฏอย่างไร
อ.นภัทร ปรากฏโดยความเป็นธรรมดา
ท่านอาจารย์ เหมือนเดี๋ยวนี้ไหม
อ.นภัทร เหมือนเดี๋ยวนี้
ท่านอาจารย์ ต่างกับเดี๋ยวนี้ไหม
อ.นภัทร ในขณะที่สติเกิดระลึกรู้ในสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ที่สภาพรู้ใช่ไหม
อ.นภัทร ใช่ จะไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ปนกับสภาพที่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต่างอย่างไรกับเดี๋ยวนี้
อ.นภัทร ไม่ต่าง
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นจะไม่มีปริยัติ ไม่มีปฏิบัติ ไม่มีปฏิเวธ มีแค่อย่างเดียว ขณะนี้สภาพธรรมปรากฏสืบต่อกันเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่สภาพรู้ปรากฏต่างกับเดี๋ยวนี้ไหม
อ.นภัทร ไม่ต่าง
ท่านอาจารย์ ไม่ต่างก็คือคิด คิดว่าเป็นสภาพรู้ ไม่ต่างกับเดี๋ยวนี้เลย เดี๋ยวนี้ก็คิดได้แต่ไม่คิด แต่เวลาคิดก็คือคิดว่าสภาพรู้กำลังรู้ นี่คือปริยัติ หรืออาจจะไม่ใช่เลยก็ได้ เพราะเหตุว่าใครๆ ก็รู้ ไม่ต้องฟังเลยก็รู้
อ.นภัทร แต่ที่รู้ถึงลักษณะของสภาพรู้ว่ามีลักษณะอย่างนี้ที่เรียกว่าสภาพรู้
ท่านอาจารย์ เป็นปริยัติ หรือเป็นปฏิบัติ
อ.นภัทร ยังเป็นปริยัติ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่เหมือนกับขณะที่เป็นปฏิบัติ และไม่เหมือนกับขณะที่เป็นปฏิเวธ ทั้ง ๓ ขั้นนี้ต้องต่างกัน
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าถึงสภาพรู้จริงๆ
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครไปเข้าถึง เข้าใจขึ้น ละไป เข้าใจขึ้น ละไป เข้าใจขึ้น ละไป จึงเข้าใจความเป็นอนัตตามั่นคงขึ้น อันนี้สำคัญที่สุด สำคัญกว่าอย่างอื่น เพราะมีความเป็นตัวตน ซึ่งเรามองไม่เห็น แต่ความที่จะค่อยๆ ไม่ใช่เรา จะต้องมีสภาพธรรมที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นในแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง จึงรู้ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่เรา ขั้นปริยัติจนกว่าจะถึงขั้นปฏิปัตติ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นปฏิเวธ
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นการที่รู้แข็งก็ยังไม่ใช่ขั้นปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ และขั้นปริยัติ รู้แข็งที่ไม่ใช่ขั้นปริยัติมีไหม ทุกคนตอบได้ ถูกต้อง มีแน่นอน เพราะเหตุว่าถามใครก็แข็งทั้งนั้น เข้าไปในครัว ก็บอกนี่ก็แข็ง นั่นก็แข็ง นั่นไม่ใช่ขั้นปริยัติ แต่ก็รู้แข็ง เพราะฉะนั้นเราเรียนคำใช่ไหม กายวิญญาณ มีไหม เคยผ่านหูไหม พระอภิธรรม ใช่ไหม สภาพรู้ทางกายเท่านั้นเอง เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว โดยไม่ได้ฟังปริยัติเลย แต่ธาตุรู้นี้ก็เกิดขึ้น ทางตาก็ต้องเห็นอย่างนี้ ไม่รู้เลยไม่ได้เคยฟังสักคำ แต่ก็ต้องมีเห็น ไม่รู้เลยไม่ได้ฟังสักคำ ก็มีการรู้แข็งเป็นธรรมดา แต่พอฟังพระธรรมแล้วเริ่มเข้าใจถูกต้องว่าสิ่งที่มีทั้งหมดไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีใครสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ ค่อยๆ เข้าใจแต่ละคำขึ้น ด้วยความที่ว่าไม่ใช่แค่จำ ไม่ใช่แค่คิด อย่างแข็งไม่ใช่เรา เพราะอะไร แข็งกระทบเมื่อไหร่ก็แข็ง แต่ก่อนนั้นเป็นทุกสิ่งทุกอย่างหมดเลย เป็นแขนเรา เป็นรองเท้าเรา เป็นผมเรา เป็นเรา หรือของเรา นั่นคือไม่ใช่ปริยัติ แต่พอปริยัติแล้วก็คือว่า แข็งเป็นสิ่งที่มีจริง มีสภาพที่เกิดขึ้นรู้เมื่อไหร่ แข็งก็ปรากฏเมื่อนั้น แต่แข็งนั้นปรากฏเฉพาะกับสภาพรู้เท่านั้น ไม่ปรากฏกับสภาพขณะอื่น เช่นเห็น ขณะที่เห็นแข็งไม่ปรากฏ ขณะได้ยินแข็งไม่ปรากฏ แข็งจะปรากฏต่อสภาพที่กำลังรู้แข็ง นี่ปริยัติ แต่ลักษณะที่ไม่ใช่เราไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ยังไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะปรากฏเป็นปฏิเวธก็ต้องมีปฏิปัตติ สภาพที่เริ่มรู้ว่าขณะนั้นมีการเริ่มเข้าใจลักษณะแข็ง เห็นไหม ไม่พ้นความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นปริยัติก็เข้าใจ ปฏิปัตติก็เข้าใจ ปฏิเวธก็เข้าใจ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเริ่มรู้ลักษณะที่แข็ง เริ่มค่อยๆ รู้ในขณะที่ว่าขณะนี้ไม่มีอย่างอื่นเลย เฉพาะแข็งเท่านั้นที่ปรากฏ ขณะนั้นก็ยังเป็นเรา เพราะเร็วมากเลย สภาพธรรมเกิดดับสืบต่อกัน สติสัมปชัญญะจะเกิดไหม ถ้าไม่มีการศึกษาเลยที่จะรู้ว่าขณะนั้นก็เพียงรู้ แล้วก็แข็งคนละขณะ นี่คือขั้นปริยัติที่ฟัง แต่ขั้นปฏิปัตติเป็นขั้นที่ถ้าไม่มีการฟังที่เข้าใจในความไม่ใช่ตัวตน ไม่มีการรอคอย ไม่มีการหวังไม่มีอะไร เพราะต้องละโลภะ จะละโลภะได้ก็ไม่มีใครไปละเลย นอกจากปัญญาที่เกิดเมื่อใด ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเป็นหน้าที่ของปัญญาโดยตรง เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ได้ทำให้ติดข้อง ไม่ได้ทำให้แสวงหา ไม่ได้ทำให้รอคอย ไม่ได้ทำให้ต้องการ แต่ปัญญาเริ่มเข้าใจว่าเป็นอนัตตา เป็นธรรม เพราะฉะนั้นปัญญาไม่คิดถึงสติสัมปชัญญะ ถ้าขณะนั้นคิดถึงสติสัมปชัญญะ อยากไหม ต้องการไหม เราหรือเปล่า เพียงแค่นี้ก็ไม่เฉลียวใจ ไม่รอบรู้ว่าขณะนั้นธรรมเป็นธรรมคือทุกอย่างเป็นธรรม แม้แต่ขณะที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ก็ไม่ใช่สติปัฎฐาน แต่ขณะที่เป็นสติปัฏฐานต้องพร้อมกับปัญญา แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องมีความเข้าใจในปริยัติแล้วละด้วย ไม่ได้หวังเยื่อใยอะไรเลยทั้งสิ้น ในขณะนั้นสภาพธรรมก็ปรากฏ ความสงสัยหมดไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960