ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
ตอนที่ ๙๕๙
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ ต้องมีความเข้าใจในปริยัติ และละด้วย ไม่ได้หวังเยื่อใยอะไรเลยทั้งสิ้น ในขณะนั้นสภาพธรรมก็ปรากฏ ความสงสัยหมดมั้ยคะ ไม่มีทางเลยความสงสัยหมดเมื่อไหร่ โสตาปัตติมรรคจิตเกิดเมื่อไหร่ ดับวิจิกิจฉานุสัย ใช้คำภาษาบาลีนี่ค่ะ แต่หมายความว่าความสงสัย จะต้องมีไปตามลำดับว่า ในขั้นต้นสงสัยอะไร ในขั้นต่อไปสงสัยอะไร แล้วต่อไปเนี่ยสงสัยอะไร และปัญญาจะค่อยๆ ละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น ที่จะรู้ว่าขณะนั้นน่ะ ไม่สงสัยเพราะเข้าใจขึ้น จากระดับนี้ไปอีกอันหนึ่ง ยังสงสัยอยู่ จนกระทั่งละเอียดขึ้น ไม่สงสัยในสิ่งนั้น เป็นหนทางรู้ และละโดยตลอด ขั้นต่อไปก็คือว่า รู้ความต่างของปริยัติ และปฏิปัติ เพราะอะไร เพราะสติสัมปชัญญะเกิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นรู้เลยว่านี่ไม่ใช่ขั้นปริยัติ แต่ต้องเป็นความรู้ในขณะนั้น
อ.นภัทร กราบท่านอาจารย์ครับ แล้วแข็งที่เป็นปฏิเวธเนี่ย คืออย่างไรครับอาจารย์
ท่านอาจารย์ ค่ะ เวลานี้สติเกิดรึเปล่า
อ.นภัทร ขณะนี้สติไม่ได้เกิดครับ
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่สติเกิด
อ.นภัทร ครับ
ท่านอาจารย์ เป็นขั้นไหน
อ.นภัทร เป็นขั้นปฏิปัติครับ
ท่านอาจารย์ แล้ว สติรู้ทั่ว หรือยัง
อ.นภัทร ก็ยังไม่รู้ทั่ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นขั้นปริยัติ ต้องต่างกับปฏิปัติ ต้องต่างกับปฏิเวธ
อ.นภัทร งั้นปฏิเวธคือการแทงตลอด ที่ว่ารู้ทั่ว
ท่านอาจารย์ สภาพที่เราเคย ได้ยินได้ฟังทั้งหมด ไม่สงสัยเลยเนี่ย ก็ปรากฏให้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่แค่สงสัยนะคะ แต่ว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจแล้วก็ค่อยละ ค่อยๆ ละไปเรื่อยๆ ส่วนสภาพธรรมประเภทไหน ระดับไหน ขั้นไหนจะเกิดขึ้นรู้อะไร ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้เลย แม้แต่สติจะเกิดเมื่อไหร่ก็รู้ไม่ได้ สติเกิดแล้วสติรู้อะไรก็รู้ไม่ได้ เพราะยังไม่เกิดทั้งนั้น แต่เป็นเรื่องละ ถ้าเรื่องติดเมื่อไหร่ก็คือ ปิดทันทีไม่เกิด
อ.อรรณพ กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ปัญญาขั้นปริยัติเนี่ย ส่องให้เห็นความสว่างได้แค่ไหน
ท่านอาจารย์ ไม่ได้สว่างอะไรเลย
อ.อรรณพ ยังไม่สว่างใช่มั้ยฮะ
ท่านอาจารย์ อยู่ในความมืดแล้ว ก็ได้ยินคำแว่วๆ พูดถึงสิ่งที่มี ก็ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้อยู่ไหนเกิดดับ เพียงแต่รู้เรื่องราว
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้น อรรถว่าปัญญาเป็นแสงสว่างนี่ เมื่อส่องให้รู้สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าวิชชาเมื่อไหร่ ใช้คำว่าญาณเมื่อไหร่
อ.อรรณพ จักษุแสงสว่าง
ท่านอาจารย์ เมื่อไหร่ อย่าไปคิดดีไหมคะ เรื่องสติปัฎฐาน เรื่องสติสัมปชัญญะ คิดถึงแค่เข้าใจวันนี้ ที่ได้ฟังเพิ่มขึ้นมั้ย ละเอียดขึ้นซักนิดนึงมั้ย เพราะว่าคำเก่าๆ แต่ว่าความเข้าใจซ้ำนิดทีละนิดทีละหน่อย จากการที่ฟังวันนี้ เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เห็นเหมือนเดิมมั้ย เห็นเหมือนเดิม แต่สะสมความเข้าใจต่างหาก ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย แต่เห็นอย่างเป็นเห็นอย่างนี้แหละ แต่ส่วนความเข้าใจก็รู้ได้ จะฟังต่อไปถึงพรุ่งนี้มะรืนนี้ ต่อไปก็เห็นก็คือสิ่งที่มีจริง ที่เป็นธาตุรู้ รู้แต่คำนี้ สิ่งที่มีจริงซึ่งเป็นธาตุรู้ ตราบใดที่ธาตุรู้ยังไม่ปรากฏ ก็มีความเข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย ว่าไม่ใช่แข็งไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส เพราะกำลังมีสิ่งที่ธาตุนั้นกำลังรู้ คือเห็น นานเท่าไหร่กว่าปัญญาที่เกิดจากขั้นการฟังเนี่ย จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น แล้วก็ละคลาย ไม่ต้องไปหวังอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เข้าใจเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นระดับไหน ก็รู้ด้วย ระดับขั้นที่เหมือนที่เคยได้ฟังครั้งแรกนั่นแหละ คือเห็นก็เป็นเห็นอย่างงี้ แต่หารู้ไม่ว่าจากการฟังแต่ละครั้ง และความเข้าใจเล็กน้อย น้อยมากแต่ละครั้งเนี่ย กำลังเป็นสังขารขันธ์ทำหน้าที่ของปัญญาอย่างเงียบที่สุด ไม่มีใครไปก้าวก่ายได้เลย มิฉะนั้นก็ตัวตน เข้าไปทำหน้าที่ของปัญญา
เพราะฉะนั้นปัญญา เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถไปจับ ไปสั่งไปบังคับได้ แต่รู้ว่าเข้าใจเมื่อไหร่ก็คือไม่ใช่ขณะที่ไม่เข้าใจ และจะมากน้อยเท่าไร ก็คือเดี๋ยวนี้ไง เป็นเครื่องพิสูจน์ ก็ยังเหมือนเดิม แต่ที่ไม่รู้ก็คือว่าปัญญา กำลังทำกิจของปัญญา ทุกขณะที่เข้าใจ จึงเข้าใจความหมายของคำว่า สังขารขันธ์ ใครก็ทำอะไรไม่ได้ โลภะก็ทำหน้าที่ของโลภะ ปัญญาก็ทำหน้าที่ของปัญญา สงสัยก็ทำหน้าที่ของสงสัย แต่ละหนึ่งนะคะ เกิดขึ้นก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องละโดยตลอดค่ะ แต่ถ้ามีความหวัง หรือมีความต้องการซึ่งแอบแฝง ซ่อนเร้นยากที่จะรู้ได้ กั้นอยู่ตลอด เครื่องกั้นอันนี้ยังไม่ออกไป ก็ออกยากนะคะ เพราะว่าสะสมมานานมาก ที่จะออกมาทุกรูปแบบ ให้เป็นผู้ที่สนใจที่จะรู้ชื่อรู้คำต่างๆ อันนี้เป็นปัจจัยเท่าไหร่ ทำให้เกิดปัจยุบบันเท่าไหร่ เป็นปัจจณิกเท่าไหร่แล้วเดี๋ยวนี้ล่ะ ฟังเรื่องเห็นไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นฟังทุกอย่าง เพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่จะไม่ใช่เราจริงๆ เมื่อไหร่ปัญญาระดับไหน ก็แล้วแต่ปัญญา ที่กำลังทำหน้าที่สะสมอยู่เรื่อยๆ เหมือนจับด้ามมีดค่ะ ไม่มีใครไปทำอะไรได้เลย ไม่เห็นปัญญาใช่ไหม เพราะปัญญาไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นสติปัฎฐานเกิดแล้ว ถามใครมั้ยว่านี่สติปัฎฐานหรือเปล่า
อ.อรรณพ ถ้ามาถามให้รับรองก็ไม่ใช่แน่ แต่บางคนเค้าไม่ถาม ไม่ให้ใครรับรองเพราะเค้าคิดผิดไปเองว่า เขาได้แล้วก็มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า หลากหลายจริงๆ ค่ะ เวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ทรงเปล่งอุทานว่าไง
อ.อรรณพ พบแล้ว คือนายช่างเรือนคือโลภะตัณหานี้เอง ซึ่งเห็นยากจริงๆ ครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ แม้แต่ทรงแสดงโดยนัย ของพระอภิธรรมนะคะ จักขุวิญญาณเกิดเห็นดับ จิตที่เกิดสืบต่อไม่ได้ทำทัสนกิจ อย่างจักขุวิญญาณ แต่ทำสัมปฏิฉันนกิจ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ต่างกัน แต่เวลานี้อะไรปรากฏ ไม่มีเลยสักอย่างเดียว ฟังทำไมคะ ฟังเพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เรา ค่อยๆ ละ ฟังเพื่อละ ไม่ใช่ฟังเพื่อที่จะไปพยายาม ให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นพบนายช่างผู้สร้างเรือน กับไม่พบ ไม่เห็น ทั้งๆ ที่กำลังมี เพราะเห็นแล้วนะคะ ยังไม่ทันที่รูปที่ปรากฏจะดับ ติดข้องละ ไม่รู้ล่ะ
อ.อรรณพ แม้ฟังธรรมอยู่ อยากฟังธรรม อยากเข้าใจ ก็เป็นโลภะที่ละเอียด ละเอียดเข้าไป
ท่านอาจารย์ ไม่เห็นนายช่างผู้สร้างเรือนเลย
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมแล้วก็ยังสร้างอยู่
ท่านอาจารย์ ก็เดี๋ยวนี้นั่งอยู่อย่างนี้ค่ะ โลภะตลอด เพราะเห็นตลอด และไม่รู้ความจริงของเห็น ปัญญาที่อบรมนะคะ เกิดท่ามกลางอกุศลคิดดู กว่าจะค่อยๆ เจริญขึ้นด้วยความมั่นคง เป็นเรื่องละ เป็นเรื่องไม่ได้หวัง เป็นเรื่องค่อยๆ เข้าใจ แล้วไม่ประมาทในความเข้าใจ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เพื่อให้รู้ว่าเราไม่รู้ดีมั้ย
อ.อรรณพ ดีครับ
ท่านอาจารย์ ไม่รู้แค่ไหน ต้องตรงด้วย
อ.อรรณพ ไม่รู้มากกว่าที่เราคิดว่าไม่รู้ โลภะมากกว่าที่เราคิดว่าเรามีโลภะ
ท่านอาจารย์ ไม่ประมาท มีความไม่รู้มากกว่าที่คิด
อ.อรรณพ เพราะว่าปัญญายังไม่ได้ส่องสว่างให้เห็นถึงอกุศล ที่มีมากมายเหล่านี้ได้ แต่เมื่อมีปัญญาเพิ่มขึ้น ก็จะรู้ว่ามาก
ท่านอาจารย์ และถ้ารู้นะคะ ว่าสภาพธรรมที่สามารถรู้จักโลภะ เห็นโลภะว่าเป็นโลภะ คือปัญญาเท่านั้น ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังเข้าใจน้อยอยู่ ไม่ต้องไปมุ่งหวัง หรอกที่จะไปเห็น สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่าต้องเป็นปัญญา ที่สามารถเห็นแม้โลภะ รู้เลยนี่ผิด ปัญญาจึงสามารถค่อยๆ ละความไม่รู้ และสิ่งที่ผิดได้ หนทางผิดมีตลอด
อ.อรรณพ ถ้าได้ประโยชน์ แม้แต่ข้อความเดียวว่า ปัญญาเป็นสังขารขันธ์เนี่ย ก็เตือนใจให้คลายโลภะ ที่จะหวังว่าจะได้ปัญญาเร็วๆ ปัญญาจะได้ไปถึงขั้นปฏิปัติ ปฏิเวธซะที
ท่านอาจารย์ แม้แต่จะผิดปกติทั้งๆ ที่เป็นปกติ ปัญญาก็ยังรู้ว่านั่นอะไร นี่คือประโยชน์นะคะ ของทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนอาจจะพอใจที่จะศึกษาอภิธรรม เป็นเรื่องที่ไม่เคยฟังมาก่อน ละเอียดลึกซึ้งมากนะคะ ก่อนจิตเห็น ก็ยังมีจิตที่ไม่เห็น แต่รู้ว่ามีสิ่งที่กระทบคิดดู แล้วเดี๋ยวนี้ล่ะคะ จิตนั้นอยู่ไหนก่อนเห็น แล้วเห็นหนึ่งขณะดับแล้ว ก็มีจิตที่เกิดต่อไม่เห็น แต่รู้สิ่งที่จิตเห็นแล้วเห็น โดยมีวิตักกะเจตสิกเกิด จึงสามารถที่จะมีอารมณ์นั้นได้
ทั้งหมดนี่ค่ะ เราเรียนทำไม ไม่ใช่ว่าเราจะเก่ง เรียนให้เป็นผู้ที่รอบรู้ แต่เรียนให้รู้ว่าธรรมไม่มีใครสามารถ ที่จะไปดลบันดาลอะไรได้เลยทั้งสิ้น เป็นเรื่องความละเอียดแล้วก็ความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งปัญญาเท่านั้นที่จะเห็น และปัญญาเนี่ยจะรู้เลยค่ะ นำไปในกิจทั้งปวง กิจทั้งปวงที่นี่ ก็คือกิจที่เป็นกุศลที่เป็นบารมี เพราะว่าจริงๆ แล้วนะคะ ยิ่งรู้ว่าอกุศลมากเท่าไหร่ เกิดมาเพื่อที่จะขัดเกลากิเลส โดยการที่ว่า ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลาได้ และปัญญาเพียงเล็กน้อย ก็ไม่สามารถที่จะละอกุศล ซึ่งมีกำลังที่จะเกิดบ่อยมากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจคำว่าบารมี แม้เพียงเล็กน้อยนิดหน่อยก็สามารถที่จะลด ปริมาณจำนวนของอกุศล ซึ่งถ้ากุศลไม่เกิดก็เป็นอกุศลละ เพราะฉะนั้นการศึกษาพระอภิธรรมนะคะ ให้ทราบว่าเพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่ไม่ใช่ขวนขวายอยากจะไปรู้เหมือนอย่างที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงกับใคร ท่านพระสารีบุตร แล้วเรานะคะ ได้ฟังบ้างเนี่ย เกิดอยากเข้าใจมากๆ อย่างนั้นเลย กับการที่เรารู้ว่า ทั้งหมดนะคะ ก็เป็นสิ่งซึ่งเดี๋ยวนี้ เราสามารถจะรู้ได้แค่ไหน ปัญญาของเราถึงระดับที่จะสนใจมากมาย จนกระทั่งลืมว่า สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง นี่คือศึกษาอภิธรรมผิด ทำให้ฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านที่นี้นะคะ หมายความถึง อกุศลแม้เพียงเล็กน้อยค่ะ ไม่ใช่ต้องไปเป็นเรื่องราวใหญ่โต ฟุ้งซ่านเรื่องนั้นเรื่องนี้นะคะ แต่ฟุ้งซ่านก็คือเจตสิกชนิดหนึ่ง อุธัจจเจตสิกเป็นสภาพที่ไม่สงบ
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ กว่าที่เราจะเข้าใจได้จริงๆ นะคะ ถึงลักษณะของเจตสิก ซึ่งไม่ใช่เราทั้งหมดที่ฟังเนี่ย ไม่ใช่ไปฟังจำนวน ไม่ใช่ไปฟังอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ฟังเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ที่จะเป็นผู้ที่รอบรู้ในปริยัติ ไม่ใช่เรา เพราะรอบรู้ไม่ใช่เรารอบรู้ ในปริยัติ เรื่องผิดเนี่ย จะตามเข้ามาง่ายมากค่ะ เพราะเหตุว่าเรามีความเห็นผิด และความไม่รู้เนี่ยสะสมมานานมาก เพราะฉะนั้นจะเห็นได้นะคะ ศึกษาอภิธรรมโดยไม่ถูกต้อง ก็คือทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน แล้วก็ศึกษาพระสูตร บางคนนะคะ ยังไม่ศึกษาอภิธรรม ยังไม่ศึกษาพระวินัย ชอบฟังพระสูตรเป็นเรื่องราว เหมือนกับนิยาย หรืออะไรๆ ที่สนุกสนานนะคะ เรื่องก็แปลกค่ะ เรื่องแปลกๆ เยอะในพระสูตร อ่านดูแล้ว โอ้เป็นอย่างนี้ได้นะคะ แต่ก็เป็นได้จริงๆ แล้วเป็นไปแล้วด้วย แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราไม่ได้ศึกษาเรื่องราวในอดีต เราจะไม่รู้อะไรที่เกิดขึ้นในอดีต และก็ไม่กลับมาอีกเลย แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ก็เป็นไปตามเหตุการณ์นั้นๆ นะคะ พอศึกษาบางคนก็ค่อยๆ เริ่มเห็นคุณเห็นโทษ เห็นบาปเห็นบุญ แต่ก็ยังเป็นเรา
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ค่ะ ว่าการศึกษาเนี่ย ต้องรู้ความประสงค์จริงๆ ว่าถ้ายังคงเป็นเราอยู่ก็คือ ไม่ได้รอบรู้ในธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แค่คำเดียว ธรรมยังไม่เป็นธรรมเลย ทีนี้ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม พอรู้ว่าพระสูตรมีพระอภิธรรมแน่ๆ ทุกอย่างต้องมีคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ใช่อภิธรรมนี่ไม่มี แต่แสดงหลากหลายนัยยะ ตามอัธยาศัยที่ควรที่จะเตือนเดี๋ยวนั้นทันที แม้แต่จะยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เห็นขอนไม้ลอยมา ก็ตรัส คิดดูสิคะ พบกันเหมือนขอนไม้ที่ลอยมา เจอกันแล้วก็แยกกันไปทุกชาติ ไม่มีอะไรเหลือเลยสักอย่างเดียว ฟังทำไมบ่อยๆ ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเที่ยง ยั่งยืน ที่จะเป็นเราได้ เพียงแค่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเจอกันชาติก่อน กี่ชาติมาแล้วก็ไม่รู้ หลายร้อยปี หรือหลายพันปีมาแล้วไม่เห็นรู้จัก แต่ชาตินี้ไม่เห็นรู้จักเลย ใครก็ไม่รู้ทั้งนั้นเลย ก็มารู้จักกัน ใหม่ พอจากชาตินี้ ชาติหน้าก็เอ๊ะ ไม่ใช่คนเก่าเลยสักนิดเดียว ก็ไม่รู้จักกันต่อไปอีก ใช่มั๊ยคะ ไม่มีเก่ามีแต่ใหม่ เพราะเหตุว่าดับไปแล้ว ก็ไม่กลับไปอีกเลย ฟังอย่างนี้นะคะ เกื้อกูลต่อการที่จะค่อยๆ คล้อยไปว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้นศึกษาพระอภิธรรม ศึกษาพระสูตร บางคนยังไม่เห็นคุณของ คำที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเป็นวินัย เกื้อกูลเดี๋ยวนี้เลย กาย วาจา ถ้าไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก จะมีการกระทำทางกาย และวาจามั้ย และการกระทำตั้งแต่เช้ามาเนี่ย ถ้าเป็นพระภิกษุจะรู้ได้ว่าอกุศลเท่าไหร่ แม้แต่จะขยับเขยื้อนไปด้วยความต้องการ ถ้าเป็นในทางผิดนะฮะ เป็นการประพฤติล่วงละเมิดพระวินัย ที่ทรงบัญญัติ สำหรับผู้ที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งในเพศบรรพชิต เพราะฉะนั้นก็แสดงเห็นถึง ความหยาบความละเอียดของธรรม อย่างแม้แต่จะพูดเล่น อดได้มั้ย สะสมมา ใช่ไหมคะ ภิกษุเป็นอาบัติเพราะต้องเป็นผู้สงบ เจตนาตั้งไว้แล้วว่าจะขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง ตามพระวินัย แต่สำหรับคนที่ไม่ใช่พระภิกษุนะคะ พูดเล่นได้ทุกคนก็หัวเราะ ก็สนุกสนานก็เป็นธรรมดา แต่สามารถที่ปัญญาจะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรม นี่ก็เป็นการอบรมเจริญปัญญา ในเพศที่ต่างกัน แต่ไม่ใช่ให้ตัวตนนี่นะคะ โลภะเนี่ยพาเราไปนั่งขัดสมาธิ มีชีวิตอีกอย่างนึง แบบที่ว่าไม่ใช่ชีวิตของคฤหัสถ์เลย แต่ก็จะไปทำเหมือนกับว่าเป็นผู้ที่เคร่งครัด รองเท้าไม่ใส่ ใครล่ะ ทำไมไม่ใส่ล่ะ โลภะหรือเปล่า หรือว่าขัดเกลา ไม่สามารถจะขัดเกลาอะไรได้ ถ้าไม่ใช่ปัญญา ปัญญาเท่านั้นที่สามารถ ที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
แม้แต่การสะสมนะคะ กิริยาอาการ ท่าทางเดิน นั่งทุกอย่างหมด วิธีการพูดโวหารต่างๆ แต่ละท่าน นี่ไม่เหมือนกันเลย แม้ในครั้งพุทธกาลก็เป็นแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจ ในความละเอียดอย่างยิ่ง ของความประพฤติ ทางกายทางวาจา ไม่ต้องเป็นพระภิกษุ ก็ขัดเกลาได้ ถ้าได้ศึกษา และเข้าใจ ประโยชน์อย่างยิ่งนะคะ ของการที่รู้ว่า มากมายเหลือเกินอกุศล ตั้งแต่เช้ามา จะค่อยๆ ลดน้อยไปได้อย่างไร ก็ต้องเพราะปัญญาอย่างเดียว ถึงเราไม่ใช่พระภิกษุนะคะ แต่จากการที่เราได้เข้าใจพระวินัยที่ทรงบัญญัติแล้วเนี่ย มีปัจจัยที่เราจะประพฤติตามไหม เราจะเป็นคนที่ละเอียดขึ้น และขณะที่ละเอียด เราก็ต้องรู้ว่าเพราะกุศล ที่มีความเข้าใจ มีความเห็นว่าสิ่งใดควร และไม่ควร และมีความเมตตาต่อคนอื่นด้วย ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปค่ะ เพราะฉะนั้นก็เป็นประโยชน์ทุกคำ แต่ว่าต่างเพศหมายความว่า ถ้าบรรพชิตไม่ประพฤติตาม ก็ต้องโทษที่ล่วงละเมิดพระวินัย แต่สำหรับคฤหัสถ์เนี่ยไม่เป็นอาบัติ เพราะเราไม่ได้เป็นบรรพชิต แต่ประโยชน์มหาศาล ต่อการที่เราจะทำเยี่ยงพระภิกษุ ขัดเกลากิเลสของเราเอง
อ.อรรณพ ซึ่งเรื่องของภิกษุไม่ถนอมบริขารเนี่ย ผมว่าเป็นประโยชน์สำหรับคฤหัสถ์ด้วยมากๆ เพราะบางทีเราใช้ของส่วนรวมนี่ครับ ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้งๆ ไว้งั้น และให้คนต่อไปเค้าก็ต้องมาเก็บ มาทำ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วทั้งหมดนี้ค่ะ ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิตนะคะ ทำแล้วดีงามหมด ลองสิคะ ใครก็ต้องรู้ว่างามต้องดี ทั้งกายทั้งวาจา
อ.อรรณพ แล้วก็สอดคล้องไปกับเมื่อสักครู่ด้วย ว่าแม้บุญเพียงเล็กน้อย ก็ไม่หมิ่นว่าเป็นกุศลเล็กๆ น้อยๆ นะครับเพราะฉะนั้น การดูแลสิ่งของส่วนรวม อะไรเนี่ยก็เป็นกุศล ดูเหมือนเล็กน้อยนะฮะ แต่ถ้าเป็นจิตที่เป็นกุศลแล้ว ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจ ก็ไม่ต้องใส่คำก็เป็นบารมีไปด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นท่องบารมี ๑๐ ไม่ได้ทำเลย ชีวิตประจำวันเหมือนเดิม ใช่ไหมคะ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็รู้ว่าบารมี ก็คือทุกขณะที่เป็นกุศล
อ.อรรณพ แล้วก็ลวงว่าเหมือนกับเข้าใจบารมีแล้ว เพราะว่าจำได้หมดเลย ๑๐ อย่าง ตั้งแต่ทานบารมีไปถึงอุเบกขาบารมี แต่จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันเนี่ย ไม่ได้มีกุศลจิต ที่จะเป็นไป ในการสะสมคุณความดี ที่จะนำไปสู่การดับกิเลสได้ จริงๆ
ท่านอาจารย์ แม้แต่ทานการให้เนี่ย ด้วยคำพูดก็ได้นะคะ ปิยวาจาเห็นไหมคะ ใครสอน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงเว้นเลย ที่จะให้กิเลสเกิด พอกพูนมากๆ แต่ทุกอย่างเป็นเครื่องขัดเกลาทั้งหมดค่ะ วาจาที่น่าฟัง ฟังแล้วก็สบายใจ เป็นประโยชน์ไหมล่ะคะ แล้วเราเองไม่ทำร้ายใครด้วย
อ.อรรณพ อกุศลเล็กน้อยนี่ก็ไม่ควรที่จะดูหมิ่น ว่าจะไม่มาถึง แล้วกุศลเล็กน้อยก็ไม่ควรจะดูหมิ่นว่า จะไม่มาถึง
ท่านอาจารย์ คิดว่ากายวาจาของเราเนี่ย เป็นยังไงก็ช่างหรือเปล่า หรือคิดว่าถ้ากายดี วาจาดีเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วใครล่ะคะที่จะสอนกาย วาจา ใจ ละเอียดมากเท่ากับพระวินัย ไม่มีเลยนะคะ แต่ถ้าเราศึกษาพระวินัย แล้วเห็นประโยชน์จริงๆ เนี่ยก็เป็นการที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งดีกว่าแน่นอนค่ะ ไม่มีข้อเสียใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่ทราบคุณดำรงค์ มีตัวอย่างพระวินัย อะไรหรือเปล่าคะ ที่คิดว่าประพฤติปฏิบัติตามในชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง โดยส่วนตัวผมนะครับ ผมไม่ได้ถืออุโบสถศีลนะครับ ในสมัยพุทธกาลนี่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกเนี่ยเหล่านั้น พระองค์ท่านทรงปฏิบัติถือข้อวัตรข้อนี้ ในการฉันอาหารมื้อเดียวได้อย่างไร ผมพออ่านแล้วศึกษาแล้วก็เลยลองปฏิบัติดู แม้กระทั่งนอนกระดาน ก็ลองนอนดู ฟูกก็ไม่ได้นอน ก็ทำมารวมทั้งหมด ๕ ปีแล้วครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะนี่ก็แสดงให้เห็นว่า แล้วแต่การเห็นประโยชน์ใช่ไหมคะ ไม่ได้มีการบังคับเลย เพราะเหตุว่าเราไม่ใช่ภิกษุ แต่จะเห็นได้ค่ะ ว่าจริงจริงแล้วเนี่ย เครื่องสอนใจก็คือว่า การรับประทานของเราเนี่ยนะ กินเพื่ออยู่หรือไม่ใช่ กิเลสมากมั้ยไม่รู้เลย แค่นี้ค่ะ แค่พระวินัยก็ส่องถึงกิเลสแล้ว ว่ามากแค่ไหน เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วเนี่ยนะคะ อาหารพอที่จะอยู่ได้วันนึงวันนึงเนี่ย แค่มื้อหนึ่งก็ได้
ผู้ฟัง ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ หรือว่าถ้าเราไม่ใช่พระภิกษุนะคะ รับประทานน้อยลงก็ได้ใช่ไหม เพราะเหตุว่าถ้ามากเหมือนเดิม รับประทานเพราะกิเลส หรือเปล่า แค่เนี้ย ทุกคำนะคะ สามารถที่จะไตร่ตรอง และก็เป็นประโยชน์ และก็รู้ว่าเป็นเรื่องขัดเกลาหรือไม่ขัดเกลา และขัดเกลากิเลส จะไปหวังขัดเมื่อไหร่คะ ทีเดียวเยอะๆ สติปัฐานมา รู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏดับกิเลส หารู้ไม่ว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างนั้นไม่ได้เลยค่ะ เพราะเหตุว่ากิเลสหนาแน่นมาก เหนียวแน่นมาก เมื่อไหร่ที่มีการเข้าใจถูกต้อง และก็การกระทำที่ถูกต้องเมื่อนั้น ก็คือการค่อยๆ เอาสิ่งที่ผิด และไม่รู้ออกไป เพราะฉะนั้นแค่การบริโภคอาหารของพระภิกษุนี่ ก็เตือนละ ท่านไม่ได้บริโภคอย่างคฤหัสถ์ คฤหัสถ์ตามใจชอบ ตั้งแต่เช้ามาอะไรก็ได้ น้ำปลาพริก น้ำตาลอะไรก็ขาดไม่ได้ ต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ ทุกอย่างเนี่ยไม่ได้ขัดเกลาเลย แล้วเมื่อไหร่กิเลสหมด คิดว่าไปให้สติปัฎฐานเกิด แล้วก็จะได้หมดกิเลสหรือ ในเมื่อเป็นไปไม่ได้เลยคะ
เพราะฉะนั้นพระวินัยมีคุณประโยชน์มาก สำหรับผู้ที่จะประพฤติ ปฏิบัติขัดเกลา กายวาจาด้วย พร้อมกับการศึกษาพระอภิธรรม และพระสูตรนะคะ เพราะทุกคำมีประโยชน์ และทำให้เห็นตัวเองตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใครบังคับ อนัตตามาแล้ว เราคิดว่าเราไม่บริโภคอาหาร ตอนหลังเที่ยง เป็นการบังคับเรา ด้วยอะไร ในเมื่อเราไม่ใช่พระภิกษุ ใครไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า ขณะนั้นนี่ค่ะ เป็นจิตอะไร แต่ถ้าเป็นพระภิกษุเนี่ย ฉันไม่ได้แน่นอน นอกจากน้ำปานะ แต่สำหรับเราไม่มีใครบังคับ เราก็ทำ มองเห็นมั้ย ว่าขณะนั้นอะไร เพราะฉะนั้นสติปัฎฐาน สติสัมปชัญญะ ไม่ใช่เราจะต้องไปมีที่หนึ่งที่ใด ไปนั่งประพฤติปฏิบัติ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 901
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 902
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 903
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 904
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 905
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 906
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 907
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 908
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 909
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 910
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 911
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 912
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 913
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 914
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 915
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 916
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 917
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 918
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 919
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 920
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 921
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 922
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 923
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 924
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 925
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 926
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 927
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 928
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 929
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 930
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 931
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 932
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 933
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 934
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 935
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 937
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 939
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 940
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 941
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 942
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 943
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 944
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 945
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 946
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 947
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 948
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 949
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 950
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 951
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 952
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 953
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 954
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 955
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 956
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 957
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 958
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 959
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 960