ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
ตอนที่ ๙๖๑
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ กว่าจะถึงการที่รู้ว่าไม่ใช่เราได้ ก็ฟังไปแล้วก็เมื่อไหร่ ตื่นขึ้นมาก็คิดถึงธรรมบ้างมีไหม เพราะว่าทั้งวันนี่ยังไม่ได้หลับ ไม่ได้คิดถึงธรรมเลย ใช่ไหม คิดเรื่องอื่นหมดเลย เดี๋ยวเราจะเข้าไปในห้อง จะทำอะไรบ้าง บางคนอาจจะไปพระเชตวันตอนเย็นๆ ค่ำ แล้วเข้าไม่ได้ หมายความพอพระอาทิตย์ตกดินก็ต้องปิดประตูพระเชตวัน เพราะฉะนั้นบางคนอาจจะ มีเวลาอยากจะไปเดินดู สักหน่อยได้คิดไปเรื่อย แต่ว่าคิดถึงธรรมที่ได้ฟังบ้างไหม จนกว่าไม่ใช่เราเลย แต่เกิดจากการคิดเกิดไตร่ตรอง แล้วก็จะรู้ได้ว่า ขณะนั้นแม้ไม่ได้ฟัง แต่ความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง เป็นปัจจัยให้มีการคิดในขณะนั้น ซึ่งไม่ใช่คิดอย่างอื่น หลังจากนั้นจึงมีปัญญาหลายระดับขั้น สุตมยญาณ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง แค่นี้ ฟังเท่าไหร่ ปัญญาเกิดจากการฟังเท่าไหร่ เท่ากันไหม ไม่เท่าใช่ไหม แต่มาจากการฟัง ฟังจนกระทั่งมีปัจจัย ที่เรามีโอกาส มีเวลาที่เกิดคิด เพราะว่า ความคิดของแต่ละคน ห้ามไม่ได้เลย ไม่มีใครสามารถที่จะห้ามคิด ไม่มีใครสามารถ ที่จะไม่ให้คิดชนิดนี้ ให้คิดชนิดนั้นเกิด ให้คิดอย่างโน้นอย่างนี้เกิด ให้คิดดีๆ เกิดก็ห้ามไม่ได้ เพราะว่าทั้งหมดนำไปสู่ความเข้าใจถูกต้อง ว่าธรรมเป็นอนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งหมดเป็นอนัตตา จากชาตินี้ที่เกิดมาสะสมฝังลงไปในใจ จนกระทั่งเมื่อไรก็ตามแต่ ความคุ้นเคยกับการได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ปัญญาทำหน้าที่ สังขารขันธ์ที่จะรู้ถูกต้องว่า ไม่ใช่เรา จะมีการสละได้มากขึ้น มีการทำความดีได้มากขึ้น เพราะว่าทำดีทำเถอะ เพราะว่าขณะนั้นเป็นหนทางที่จะทำให้ละความเป็นเรา ไม่ว่าด้วยวิธีใดทั้งสิ้น ทานบารมี ต้องมีสิ่งของมากมายหรือไม่ หรือว่าปลาสลิดสักชิ้นนึง ก็เป็นทานบารมีได้ ใช่ไหม เห็นไหมว่าชีวิตประจำวันแท้ๆ แต่อะไรบัง อวิชาความไม่รู้ และความเป็นเรา
ผู้ฟัง อยากรู้อยากฟัง แต่จริงๆ แล้วเป็นตัวกั้น ไม่ใช่ปัญญา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่เป็นสิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ อยาก ทุกอย่างเป็นธรรม หรือเป็นคุณสุกัญญา
ผู้ฟัง เป็นธรรม คือฟังธรรมเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เห็นไหมว่า ความละเอียดจะต้องถึงการเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่จำเท่านั้น มีใครอยากทำบุญมาก อยากทำบุญแล้วทำหรือเปล่า ขณะที่ทำเป็นอยากทำหรือเป็นธรรม ต่างกันไหม เพราะฉะนั้นมีคนมากที่อยากทำ แต่ไม่เห็นทำซักที แล้วก็มีคนที่ทำกุศลบ่อยๆ เป็นประจำ ทำแต่ไม่ใช่อยากทำ ทำก็ทำ แต่อยากทำ ทำหรือเปล่า ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ถ้าเราใช้ชื่อจะแสดงความต่างที่ยากที่จะคิดถึง เพราะเหตุว่าต้องเป็นตัวธรรมจริงๆ ที่ปรากฏลักษณะนั้น เราถึงสามารถที่จะรู้ได้ในความละเอียดอย่างยิ่ง แม้แต่จิต และเจตสิก เป็นธาตุรู้ จิตเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เจตสิกแต่ละ ๑ ก็ทำกิจตามลักษณะที่เกิดขึ้น เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้ แล้วใครรู้ความต่างของจิต และเจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกันด้วย ขณะที่เห็นไม่ได้มีแต่เฉพาะเห็นที่เกิดแต่ต้องมีเจตสิกสภาพนามธรรมซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ เจตสิกมีมากต่างกันไปเป็น ๕๒ ประเภท เจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทุกประเภทก็มี ถ้าเป็นเจตสิกที่เป็นอกุศล จะเกิดพร้อมกับเจตสิกที่เป็นกุศลไม่ได้ นี่ก็เป็นเรื่องความละเอียด แล้วใครที่จะรู้ว่าจิตหนึ่งขณะเกิด มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ และแต่ละหนึ่งเป็นปัจจัยอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น โดยฐานะใด ต่างปัจจัย กว่าเราจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ฟังอย่างนี้ก็ยังเป็นเรา ปริญัติ รอบรู้ เพราะว่าฟังก็ยิ่งเห็นความละเอียดว่า จะเป็นเราได้อย่างไร แม้สักอย่างเดียว ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย เราจะรู้ได้อย่างไรถ้าไม่ฟังพระธรรม ถ้ายังคงมีความเพียงอยาก และต้องการ ขณะนั้นก็ไม่ได้รู้เลยว่า พระธรรมทรงแสดงความจริง เพื่อละ คำนี้ลืมไม่ได้
เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่ละ ก็แสดงว่าความไม่รู้ยังมาก เราจะรีบลัดพูดธรรมมากมายเลยดีไหม หรือว่าค่อยๆ พูด ค่อยๆ คิด ค่อยๆ เข้าใจถึงความจริง แม้เพียงที่จะให้รู้วันนี้เพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้นว่าเป็นธรรมแน่นอน สิ่งที่มีจริง เพราะธรรมคือสิ่งที่มีจริง เกิดดับ ไม่ใช่เรา ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ แต่ก็ค่อยๆ รู้ว่า จริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้น เมื่อเช้านี้เรียกกลับมาไม่ได้เลย ได้ยินเกิดแล้วดับแล้วเมื่อเช้า หมดจริงๆ ในสังสารวัฎฏ์ด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะตอนเช้า เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้อะไรที่กำลังเป็นจริง มีปัจจัย ที่ทำให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้แล้วดับไป นี่คือคำสอนของผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ จนกว่าความเข้าใจจะค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ ทำหน้าที่ของความเข้าใจไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีตัวเราอีกต่างหากที่จะไปเร่งรัด ขวนขวาย ทำให้ปัญญาระดับนี้กลายเป็นปัญญาระดับนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ปริยัติก็เป็นปริยัติ ปฏิปัติก็เป็นปฏิปัติ ปฏิเวธก็เป็นปฏิเวธ ไม่ใช่ปฏิปัติ แสดงความลึกซึ้งแค่ไหน แม้แต่ขั้นฟัง แม้แต่การที่เริ่มรู้เฉพาะลักษณะหนึ่งที่กำลังปรากฏ โดยไม่ใช่เพียงแค่วิญญาณ ซึ่งเป็นปกติ เพราะวิญญาณหมายความถึงธาตุรู้ อีกชื่อหนึ่งของจิต จิตมีมากมายแล้ว จะเอาจิตไหน เห็นก็เป็นจิต ภาษาบาลี ไม่มีคำว่าเห็น แต่มีคำว่าจักขุวิญญาณ
เพราะฉะนั้น ก็คือสภาพรู้ สิ่งที่ปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง ใช้คำว่า จักขุวิญญาณ ในขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้ที่เห็น เวลาที่เสียงปรากฏเกิดแล้ว ดับแล้ว เร็วมาก แต่เพราะธาตุรู้เกิดขึ้นได้ยินพร้อมกับเจตสิก แต่ที่เป็นใหญ่เป็นประธาน คือสภาพที่รู้แจ้งลักษณะของเสียง โดยที่ลักษณะของเจตสิกแต่ละหนึ่ง ก็ไม่ได้ปรากฏในขณะนั้น อยู่ก้นมหาสมุทร ปัญญาจะส่องลงไปถึงสภาพของเจตสิกที่เกิด พร้อมจิตในขณะนั้นหรือไม่ เพราะฉะนั้น เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ด้วยกันยังหลากหลายต่างกัน แล้วจะไม่ใช่เราหรือเพราะไม่รู้ แต่ถ้าค่อยๆ รู้ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เห็น ค่อยๆ เข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อยก็นำไปสู่ปฏิปัตติ ซึ่งโดยศัพย์ ปฏิ แปลว่าเฉพาะ ปัตติ แปลว่าถึง ไม่ใช่เรา แต่มีปัจจัยที่สติสัมปชัญญะจะค่อยๆ เข้าใจ สิ่งที่กำลังมีเฉพาะหน้า แต่ละหนึ่ง เลือกไม่ได้ แล้วแต่ขณะนั้นมีปัจจัย ที่จะรู้สิ่งที่ปรากฏที่กาย เย็นร้อน อ่อนแข็ง หรือสภาพที่รู้สิ่งที่เย็นร้อนอ่อนแข็ง หรือที่ตากำลังเห็น แต่ละหนึ่งปะปนกันไม่ได้เลย เกิดแล้วก็ดับไป แค่ฟังไป จึงจะเข้าใจ แต่อยากจะรู้มากๆ เข้าใจได้มั้ย ตามลำดับ เวลานี้ยังไม่รู้อะไรเลย แต่พูดถึงสิ่งที่กำลังมี แล้วจะไปพูดถึง ปัจจัยปัฏฐานะเลยได้ไหม ไม่มีการที่จะสามารถไปเข้าใจได้เพราะเป็นเราที่เห็น เราที่ได้ยินตั้งแต่เกิดมา แค่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา ก็ยังแสนยากในขั้นการฟัง ต้องฟังจนกระทั่งละเอียด และการเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยนั่นแหละจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ค่อยๆ รู้เฉพาะที่ใช้คำว่าปฏิบัติ ขณะนั้นเป็นสติ และปัญญา ถ้าไม่มีความเข้าใจขั้นพื้นฐาน สติปัญญาขั้นนั้นเกิดไม่ได้แน่นอน ไม่มีใครสามารถ ที่จะไปทำให้เกิดได้ เพราะเป็นอนัตตา เดี๋ยวนี้ ผู้ที่ได้เคยฟังธรรมมาแล้วสมัยไหนก็ตามแต่ สมัยก่อนโน้นท่านเคยฟังมาก่อนๆ โน้น พอท่านได้ยินได้ฟัง สติสัมปชัญญะท่านเกิด โดยความเป็นอนัตตา รู้ความต่างระหว่างปริยัติกับปฏิบัติ และรู้ด้วยว่าไม่ใช่ท่านที่ทำให้เกิด ที่จะเข้าใจถึงขั้นนั้น แต่ความเข้าใจขั้นนั้นมาจากไหน มาจากที่เคยฟังแล้ว แล้วก็สะสม
ใครจะรู้ว่าท่านพระองคุลีมาลจะได้เป็นพระอรหันต์ สะสมมาแล้ว ไม่มีใครรู้เลยแม้แต่ตัวท่านเอง ก่อนที่จะได้เป็นท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ สองสหาย ท่านอุปติสสะกับท่านโกลิตะ ฟังแล้วก็กำลังดูละครที่บนเขา เกิดความเบื่อหน่ายว่า ทั้งคนที่แสดงกับเราก็ตาย ไม่มีใครที่จะรอดพ้นความตายไปได้ สนุกสนานรื่นเริงเป็นผู้แสดง สนุกสนานรื่นเริงเป็นผู้ดู ก็ต้องตาย โดยไม่รู้ด้วยวันตายเมื่อไหร่ ขณะตายเมื่อไหร่ จะตายอย่างไรก็ไม่รู้ ตายแล้วไปไหนก็ไม่รู้นี่ เพราะฉะนั้นยากที่จะได้ฟังคำซึ่งมีค่าที่เป็นรัตนะเหนือสิ่งใดทั้งสิ้น เงินทองซื้อได้ไหม เงินทองซื้ออะไรก็ได้ แต่ซื้อปัญญาไม่ได้ ซื้อความเข้าใจถูกในคำที่ได้ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นไม่ได้ มีหนทางเดียว คือฟังด้วยความเคารพ ในสัจจะในความจริง จากผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้แล้วไม่คิดเอง เพราะว่าส่วนใหญ่ ฟังน้อยคิดเองมาก ฟังแค่นี้คิดไปถึงโน่น แล้วเป็นอย่างไร และเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ และตรงที่ฟังเข้าใจพอหรือยัง เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียด ที่จะต้องรู้ว่าขณะนี้ปัญญาเราสามารถรู้ได้แค่ไหน ค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับ สับสน ก้าวก่ายกันไม่ได้ รู้ขั้นนี้ที่กำลังฟังจะไปถึงปฏิเวธได้ไหม จากขั้นที่ฟังเนี่ย แค่เริ่มต้นว่าไม่ใช่เรา จะถึงสติสัมปชัญญะ รู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ไหม เป็นสิ่งที่ต้องตรง ข้อความในพระไตรปิฎก มีว่าผู้ที่เป็นผู้ตรงเท่านั้น ที่จะได้สาระจากพระธรรม เพราะว่าไม่ใช่โลภะ โลภะตรงไหม ลวง ไม่ใช่คน ไม่ใช่อะไรเลย เพียงแค่เห็นก็จำคลาดเคลื่อน เพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก
เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่เหมือนกับคำของใครทั้งสิ้น แค่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถึงความเป็นพระอรหันต์ ไม่ว่าจะปิฏกไหน พระวินัยปิฏก ธรรมหรือเปล่า อนัตตาหรือไม่ พระสุตตันปิฏก เป็นธรรมหรือเปล่า อนัตตาหรือเปล่า พระอภิธรรมปิฏก เป็นธรรมหรือเปล่า อนัตตาหรือเปล่า ขอให้เข้าใจจริงๆ ในคำว่าธรรม เพราะมีธรรมเป็นที่พึ่ง อกุศลเป็นที่พึ่งได้ไหม ไม่ได้ นี่คือความละเอียด เพราะฉะนั้นแม้แต่ธรรมเป็นที่พึ่ง ก็ต้องธรรมที่เป็นโพธิปักขิยธรรม ที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจธรรม ฟังคำเดียวไม่พอ ความละเอียดความลึกซึ้งมากมายทุกคำ เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังต่อไป และก็จะสอดคล้องกันทั้ง ๓ ปิฏก
มีใครได้ประโยชน์ จากพระวินัยบ้างไหม คุณเบญจมาศเล่าให้ฟังว่ากำลังจะซื้อเสื้อผ้ามาอินเดียคราวนี้ ก็ระลึกได้ พระภิกษุท่านมีแค่จีวร ๓ ผืน คุณเบญจมาศ มีเท่าไหร่ ยังไม่พอ ยังซื้ออีก ความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีการฟัง แต่ก็ซื้อ เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่จะซื้อ ไม่ใช่ไปบังคับว่าซื้อไม่ได้ ไม่ซื้อ พระวินัยว่าอย่างนี้ก็ต้องทำอย่างนี้ ไม่ใช่ พระวินัยแสดงความจริงของแต่ละหนึ่งที่สะสมมาหลากหลายต่างกัน ใครเห็นประโยชน์คนนั้น ก็ขัดเกลานำออกอย่างยิ่ง ซึ่งความประพฤติ แม้ทางกายวาจาต้องมาจากใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่ากายอย่างไร ก็มาจากใจเป็นอกุศลแค่ไหน ฆ่าเขา คิดไหมว่าถ้าไม่มีจิตคิดจะฆ่า จะฆ่าได้ไหม ไม่ได้ เอาสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตน ถ้าไม่มีจิตคิดอย่างนั้นจะเอามาได้ไหม ไม่ได้ กว่าจะมาเป็นของตนได้ อกุศลเท่าไหร่ก็คิดดู นั่งเฉยๆ ก็ไม่มาเป็นของเราหรอก ใช่ไหม ต้องมีการกระทำทางกาย หรือทางวาจา จะเป็นขอ ซึ่งทรงแสดงไว้หลายแบบมาก เลียบเคียง ไม่พูดตรงๆ เห็นไหม ใครรู้บ้าง ตั้งแต่เด็กเคยอยากได้ของใครไหม สะสมมาที่จะตรงจริงๆ อยากได้ก็ขอ บอกไปเลยว่าอยากได้ แต่ว่าเลียบเคียง ถึงแม้เป็นภิกษุแล้วก็ไม่พูดตรงๆ เลียบเคียงก็เป็นอาบัติ แล้วเราได้ประโยชน์ไหมจากพระวินัย วาจาจริง สุจริตควรเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้เลย ว่า ใครที่ได้รับประโยชน์ จากพระวินัยก็แสดงอย่างเปิดเผย เมื่อไหร่กำลังจะซื้อเสื้อผ้า ก็ยังมีการคิดอย่างนั้นเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรา ก่อนคิดไม่รู้ว่าจะคิด ไม่มีใครรู้เลยว่าใครจะคิดอะไร แต่คิดทุกครั้งเกิดเพราะปัจจัย แต่ละหนึ่งที่สะสมมาหลากหลาย ไม่เหมือนกันเลย ในพระไตรปิฏกตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ถ้าได้สิ่งใดมาแล้วติดข้องในสิ่งนั้ ก็ขออย่าได้สิ่งนั้นเลย จิตใจของท่านเป็นอย่างไร มั่นคงระดับไหน ที่จะละกิเลส โดยที่ว่ายังละไม่ได้ก็จริงแต่มีแววไม่ มีหนทางสลัวๆ มั้ย รู้ไหมว่าหนทางอย่างไรถึงจะทำให้คลายความเป็นตัวตน เพราะว่าตัวตนเป็นที่ตั้งของความต้องการ ทุกอย่าง รักใครไม่เท่าตัวเอง หาไปเถอะ ไม่มีทาง รักหมดเลยตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผมเส้นหนึ่งก็ไม่อยากให้หลุด ใช่ไหม นี่ก็คือเป็นจริง เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นความจริงว่า หนทางนี้เป็นหนทางไกล ไม่ใกล้ อย่าคิดว่าจะรู้จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ตรงอย่างที่ได้ยินได้ฟัง ด้วยความเป็นตัวตน หรือว่าด้วยความเข้าใจไม่พอ เพราะว่าเป็นเราที่หวัง แต่ถ้าเป็นความรู้ว่า เป็นหน้าที่ของปัญญาคำนี้จะค่อยๆ ละคลายความต้องการ ไม่ไปทำหน้าที่อะไรทั้งสิ้น แต่ว่าฟังธรรมแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจธรรม และจิตใจจะมั่นคงเป็นอย่างท่านผู้นั้นไหม ถ้าจะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาแล้วติดข้องในสิ่งนั้น ก็ขอจงอย่าได้สิ่งนั้นเลย เพื่อจะได้ไม่เพิ่มกิเลส แต่ละหนึ่งเป็นหนึ่ง เราไม่คิดอย่างนั้น เราคิดอย่างอื่น ก็ดับกิเลสได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่มีห้ามเลยว่า จะต้องทำอย่าง บุคคลนั้นหรือบุคคลนี้ แต่ละคำได้เตือนให้รู้ว่ายากไหม และแต่ละคนคิดต่างกันไหม เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งก็แต่ละวาสนา ได้ยินคำนี้แล้วคิดยังไงคะ
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงความประพฤติที่ปกติ จนชินที่ยากแก่การแก้ไข ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี กายวาจาที่เป็นไป
ท่านอาจารย์ ทุกคำในพระไตรปิฏกสมควรแก่การที่จะเข้าใจ ไม่เผิน ถ้าเราเผิน โอ้คนวาสนาดี คิดถึงแต่ส่วนที่ดี แต่ความจริงนั้นเป็นอาสยานุสยะ คือการสะสมทั้งกุศล และอกุศล ถ้ากล่าวถึงรวม ก็อาสยานุสยะ
อ.คำปั่น อาสยานุสยะมาจากคำว่าอาสยะคำหนึ่ง และอนุสัยอีกคำหนึ่ง อาสยะนี้ก็คือการสะสม การสะสมนี้ก็มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดี ซึ่งทำให้แต่ละคน ก็มีความประพฤติ เป็นไปที่แตกต่างกันตามการสะสม ถ้ากล่าวถึงอนุสยะนี้ ก็กล่าวถึงเฉพาะในส่วนที่ไม่ดีเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ก็ชัดเจน แล้ววาสนาคืออย่างไร
อ.คำปั่น วาสนาคือความประพฤติที่สะสมมา ตามความเป็นไป ของแต่ละบุคคลแต่ละคนก็จะเห็นถึงความประพฤติ เป็นไปที่แตกต่างกัน บางท่านก็เดินเร็ว บางท่านก็ทำอะไรเร็วๆ บางท่านแม้เป็นพระอรหันต์แล้วแต่ว่าท่านสะสมมา ที่จะเรียกคนอื่นว่า คนถ่อยๆ เพราะว่าความประพฤติ เคยชินของท่าน นี้คือกล่าวถึงความหมาย ของวาสนา ซึ่งก็มีทั้ง ๒ ส่วน ก็คือส่วนที่ดีแล้วก็ส่วนที่ไม่ดี มีเพียงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ละวาสนาในส่วนที่ไม่ดีได้ เพราะฉะนั้น ความประพฤติเป็นไป จึงแตกต่างกันอย่างนี้
ท่านอาจารย์ แม้แต่แต่ละหนึ่ง ก็เป็นหนึ่งที่ไม่เหมือนกันหลากหลายมาก พระผู้มีพระภาคยังทรงแสดง แม้อาการกิริยาของกาย และวาจา ว่าเกิดจากการที่เคยประพฤติสะสมมา เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีจิต กายก็เคลื่อนไหวไม่ได้ วาจาก็พูดดีพูดร้ายไม่ได้ เป็นไปตามจิต ไม่ว่าจะเป็นสภาพจิตที่เลวร้ายอย่างไร กายวาจาก็เป็นไปตามนั้น เพราะฉะนั้นนี่ก็แสดงให้เห็นว่า ธรรมทั้งหมด ทรงแสดงด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเราฟังแล้ว เราก็ค่อยๆ เห็นว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม และความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็สามารถที่จะรู้ว่าธรรมใดดี ธรรมใดไม่ดี ปัญญานำไปในกิจทั้งปวง ที่จะรู้ว่าสิ่งที่ถูกเป็นสิ่งที่ควรเจริญอบรมให้มากขึ้น แต่ว่าสิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ควรที่จะสะสม
อ.จริยา คำว่าวาสนาที่ได้ อ.คำปั่นอธิบาย ว่าเป็นความประพฤติที่เคยชิน และสะสมมาตามความเป็นไปของแต่ละบุคคล และวาสนาทั้งดี และชั่ว มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ละวาสนาที่ไม่ดีได้ ถ้าอย่างนั้น คนที่เคยสะสมสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายมาเนี่ย ก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลาได้ใช่ไหม แต่ถ้าฟังพระธรรมแล้วก็แปลว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความเข้าใจ ในพระธรรมมากขึ้น สามารถที่จะขัดเกลาได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องรู้นะคะ ว่าวาสนาไม่ใช่อกุศล เพียงแต่เป็นอากัปกิริยาอาการอย่างการนั่ง นั่งอย่างไรสบาย คนอินเดียนั่งขัดสมาธิตลอด ไม่ว่าหญิงหรือชายกระดูกสันหลังก็ตรง เป็นอากัปกิริยาที่เหมาะมากสำหรับสุขภาพ แต่คนไทยนั่งพับเพียบ ใช่ไหม แล้วสำหรับแต่ละหนึ่งคน สะดวกอย่างไรสบายอย่างไร เพราะวาสนาใช่ไหมที่สะสมมาด้วย ที่จะพอใจที่จะเป็นอย่างนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ได้ คิดไม่ได้ไปทำอะไร แต่เป็นไปตามปกติที่เคยเป็น และเคยเป็นไม่ใช่ชาติเดียว บางคนที่ชอบคุ้ยเขี่ย ก็มีใช่ไหม ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชาติก่อนเป็นไส้เดือน ก็เคยคุ้ยเคยเขี่ยมาตั้งนานกว่าจะหมดชาติที่เป็นไส้เดือน เพราะฉะนั้นอากัปกริยาทั้งหลายก็ติดตามมาก็เป็นปกติ เขาเรียกว่าเป็นปกติของชีวิตของแต่ละคน ในแต่ละชาติ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020