ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
ตอนที่ ๙๗๐
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ นี่คือเราเริ่มรู้จักสภาพรู้ว่าหลากหลายมาก และก็สภาพรู้ไหนสะสมสภาพรู้ไหนไม่สะสม สภาพที่เป็นโลภะ อกุศลทั้งหลายสะสม เกิดแล้วดับจริงนะคะ แต่สืบต่อไปถึงจิตขณะต่อไป ซึ่งเกิดเพราะจิตนั้น ก็รับทุกอย่าง มีทุกอย่างซึ่งจิตนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น ไม่หายหกตกหล่นไปไหนเลยนะคะ ทันที ทันทีที่จิตขณะก่อนดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ ทันทีเร็วมากหารอยต่อไม่เจอ ไม่มีระหว่างคั่น แม้เห็นกับได้ยินขณะนี้ ดับไปตั้งเท่าไหร่
อ.นภัทร ครับ เพราะฉะนั้นพูดถึงคำว่าการสะสมเนี่ย อย่างแม้กระทั่งตัวผมเองเนี่ย มาฟังท่านอาจารย์แรกๆ เนี่ย ผมก็มีความคิดที่ว่า ฟังแนวทางเจริญวิปัสสนา แล้วก็นั่งสมาธิไปด้วยก็น่าจะดี
ท่านอาจารย์ น่าจะดี นั่นอะไร
อ.นภัทร น่าจะดี เพราะว่ามีทั้งปัญญา แล้วก็มีทั้งสมาธิที่เป็นสมาธิ
ท่านอาจารย์ ปัญญารู้อะไร
อ.นภัทร รู้สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ต้องทำสมาธิ ขณะนั้นมีสมาธิเกิดร่วมด้วย เป็นสัมมาสมาธิ คุณณภัทรสะสมมา ที่จะฟังธรรมทีละคำหรือเปล่า
อ.นภัทร สะสมมาครับ
ท่านอาจารย์ สมาธิคืออะไร สมาธิคืออะไร
อ.นภัทร สมาธิก็คือความตั้งมั่นของจิต จนแนบแน่น
ท่านอาจารย์ สมาธิได้แก่สภาพธรรมที่มีจริงนะคะ นามธรรมหรือรูปธรรม ตอนนี้เราก็เพิ่ม ๒ คำนะคะ สภาพที่เกิดมีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เป็นรูปธรรม และสภาพรู้เรายังไม่แยกจำแนกเลยนะคะ แต่ธาตุรู้เป็นนามธรรม
อ.นภัทร สมาธิก็เป็นนามธรรมครับ
ท่านอาจารย์ สมาธิก็เป็นนามธรรมนะคะ นามธรรมก็แยกออกเป็น ๒ อย่าง อย่าง ๑ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ใช้คำว่าจิตต จิตตัง หรือมโน มนะ อะไรก็แล้วแต่นะคะ แต่ว่าเป็นธาตุที่กำลังรู้ สิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏให้รู้ เป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะว่าไม่ได้จำ ไม่ได้โกรธ จิตล้วนๆ นะคะ เฉพาะจิตเนี่ยเป็นปัณฑระ ยังไม่กล่าวถึงเจตสิก สภาพนามธรรมที่เป็นที่อาศัยเกิดกับจิต และเป็นปัจจัยให้จิตเกิดได้ เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามนะคะ ที่จะเกิดต้องอาศัยปัจจัย ปัจจัยที่ทำให้รูปแต่ละรูปเกิด ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้นามแต่ละนามเกิด คนละปัจจัย เพราะฉะนั้นปัจจัยของรูปใดก็เป็นปัจจัยของรูปนั้น เกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้นสำหรับจิตนี่ค่ะ ก็มีสภาพนามธรรมซึ่งเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตเกิดนะคะ ใช้คำว่าเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ สำหรับสภาพนามธรรมที่เป็นปัจจัย ให้จิตเกิดอาศัยกัน และกันเกิด เกิดพร้อมกัน ใช้คำว่าเจตสิกนี่นะคะ ต่างกันเป็น ๕๒ ประเภท แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ไม่ปะปนกันเลย ด้วยเหตุนี้บางครั้ง จะกล่าวถึงนามธรรม ๕๓ คือจิต ๑ เจตสิก ๕๒ เพราะจิตก็มีลักษณะที่รู้แจ้งอย่างเดียว เหมือนกับโลภะเจตสิก ก็ติดข้องอย่างเดียว โทสะก็ขุ่นเคือง หรือว่า ประทุษร้ายอย่างเดียว แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ด้วยเหตุนี้ก็คือ ถ้ากล่าวถึงจิตให้ทราบว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ถ้ากล่าวถึงเจตสิกต้องมีจิตเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเจตสิกจะเกิด นอกไปจากจิตไม่ได้เลย ต้องอาศัยการเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ถ้าจิตนี้รู้อารมณ์นี้ อีกจิตหนึ่งรู้อารมณ์อื่นเจตสิกที่เกิดกับจิตนั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยให้อีกจิตหนึ่งเกิดนี้ค่ะ แต่ละ ๑ จริงๆ นะคะ ด้วยเหตุนี้เจตสิกที่เกิดกับจิตเห็นดับ ไม่ใช่เจตสิกที่เกิดกับจิตได้ยิน เป็นเจตสิกประเภทเดียวกัน ๗ ประเภท แต่ไม่ใช่อันเก่า ที่เกิดกับจิตเห็น กลับมาเกิดกับจิตที่ได้ยิน นี่คือความรวดเร็วอย่างยิ่งนะคะ เพื่ออะไรคะ ไม่ใช่เรา ยังไงยังไงก็ตามค่ะ ถ้ามีความอยากรู้ อะไรคะ แต่ถ้ารู้ไม่ใช่เรา เริ่มค่อยๆ คลายกว่าจะถึงนะคะ ไม่ต้องห่วงว่าสภาพธรรม จะเป็นยังไง เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ปัญญารู้ อย่าเป็นเรา ที่พยายามจะไปรู้ ไปเรียก ไปแสวงหา แต่ว่าให้เข้าใจตัวจริงขณะนั้น แม้แต่ความติดข้องนี่ค่ะ ก็มี รู้มั้ย ยังไม่รู้ก็ไม่รู้จนกว่าจะรู้ เท่านั้นเองค่ะ หมายความว่าเราจะคุ้นหูกับชื่อต่างๆ เรื่องราวของสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ตัวจริงของธรรมเวลานี้ ไม่ได้ปรากฏชัดเจน เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่าสมาธินะคะ เป็นธรรมหรือเปล่าคะ
อ.นภัทร เป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมประเภทไหน
อ.นภัทร เป็นนามธรรมครับ
ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรมประเภทไหน
อ.นภัทร เป็นเจตสิกครับ
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิกประเภทไหนอีก เห็นไหมคะ เพราะมีตั้ง ๕๒ เนี่ย ต้องแบ่งเป็นประเภท ประเภทที่เกิดกับจิตได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเกิดกับกุศล อกุศล ได้หมดเลยนะคะ กับต้องเกิดกับอกุศลเท่านั้น หรือต้องเกิดกับจิตฝ่ายดีเท่านั้น นี่ก็แยกกันชัดเจนนะคะ ซึ่งเราจะค่อยๆ รู้ความต่างกัน เพราะฉะนั้นสำหรับสมาธิที่ว่านะคะ เป็นเจตสิกประเภทไหน ประเภทที่ต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เนี่ยค่ะการศึกษาธรรมเพื่อละคลายความเป็นเรา จะไปทำสมาธิ ทำ ทำไมล่ะ เกิดแล้ว ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็เกิดแล้วแต่ไม่รู้แล้วไปทำ ทำไม เพราะอะไรคะ
อ.นภัทร โลภะครับ
ท่านอาจารย์ นั่นสิคะ
อ.นภัทร แต่ว่าที่ผมเรียนถามท่าน คือว่าเค้าสะสมมา อยากจะนั่ง อยากจะอะไร
ท่านอาจารย์ จะรู้นะคะ ต่อเมื่อเกิด ไม่ใช่เมื่อเราไปทำ ต่างกันมั้ย จะรู้อัธยาศัยเมื่อเกิดบ่อยๆ ไม่ใช่เราไปทำ คนเนี้ยโลภมาก อัธยาศัยสะสมมาบ่อยๆ จึงรู้ คนนี้ขี้โกรธ เขาก็สะสมความโกรธมาบ่อยๆ พอโกรธเกิดสะสมมา รู้เมื่อเกิด แต่ไม่ใช่ไปทำให้เกิด นี่คือความต่างกันอย่างมาก แม้แต่แต่ละคำเนี่ย ต้องละเอียดค่ะ ได้ยินคำว่าสงบ อย่าเพิ่งเข้าใจว่าสงบ มิฉะนั้นจะเหมือนเถระสูตรนะคะ มีคำอธิบายมีอะไรทุกอย่าง แต่ก็เห็นผิด เข้าใจผิด ซึ่งอันตรายมาก มิฉะนั้นแล้วนะคะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงด้วยพระมหากรุณา เพราะรู้ว่าหนทางผิดมากมาย เพราะความไม่รู้ และความติดข้อง แต่หนทางละ เนี่ยละเอียด และก็เป็นปกติ ต้องอดทน เพราะเป็นเรื่องของไม่ใช่เรา ที่จะทำ เพราะมีแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนการตรัสรู้เนี่ย มีผู้ที่มีปัญญาระดับที่เห็นโทษของความติดข้องนะคะ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ที่เราใช้คำว่ากาม กามะ สภาพจิตน่าใคร่ แต่ผู้มีปัญญาเห็นว่า ขณะนั้นเพียงชอบเกิดขึ้นนิดเดียว เดือดร้อนแล้ว จึงเป็นผู้ที่มีปัญญา ที่สามารถจะรู้ได้นะคะ ว่าจิตขณะที่สงบนี่เป็นอย่างไร เพราะอารมณ์อะไร แล้วก็ต้องมีปัญญาด้วย ไม่ใช่เฉพาะอารมณ์ อารมณ์ไม่ได้ทำให้ปัญญาเกิด ถ้าอย่างงั้นก็ง่ายสิคะ ไปหาอารมณ์ของปัญญา ปัญญาจะได้เกิด นี่เปล่าเลยค่ะ แม้อารมณ์เป็นอารมณ์ของปัญญา แต่ไม่ใช่ว่าอารมณ์นั้นทำให้ปัญญาเกิด แต่เป็นเพราะมีความเห็นที่ถูกต้อง รู้สภาพจิตว่าขณะใดเดือดร้อนละ แม้นิดเดียวด้วยโลภะ อย่างเมื่อกี้เนี่ยนะคะ ถ้าถามว่ามีโลภะมั้ย ทุกคนตอบว่าโลภะ แต่ไม่รู้ว่าเดือดร้อน ไม่มีปัญญาเท่าผู้ที่ในครั้งพุทธกาล ยังไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย สามารถที่จะมีปัญญารู้ได้ ว่าขณะนั้นหน้าที่ติดข้อง เดือดร้อนแล้วค่ะ กระวนกระวายแล้ว ของเรา อ้อ ประตูมีของขาย เดินไปซื้อเลย ไม่เดือดร้อน แต่ถ้ารู้ว่าเพียงแค่รู้ ก็เดือดร้อน ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นที่จิตจะสงบจริงๆ ด้วยปัญญาเนี่ย ต้องเพราะอารมณ์อะไร และขณะนั้นปัญญารู้ด้วยว่าสงบเพราะอะไร มิฉะนั้นอย่าใช้คำว่าสมถะ เพราะไม่มีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาระดับนั้น ก็ถูกหลอก ไปนั่งนิ่งๆ บ้าง รึทำสงบบ้าง หรือไม่สนใจสิ่งนั้น สิ่งนี้บ้าง เพ่งจ้องสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ้าง ทั้งหมดไม่ใช่ปัญญา
อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับ และอะไรจะเป็นความต่างของการไปทำ กับการอบรมที่ชื่อว่าเป็นภาวนาครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ค่ะ เกิดแล้วยังคะ เดี๋ยวนี้ธรรม
อ.วิชัย เกิดแล้วครับ
ท่านอาจารย์ รู้แล้วยัง
อ.วิชัย ยังไม่รู้ครับ
ท่านอาจารย์ ก็ฟังจนกว่าจะเข้าใจว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ที่ปรากฏเกิดแล้วควรรู้ และสามารถจะรู้เฉพาะสิ่งที่เกิดด้วย สิ่งที่ยังไม่เกิดรู้ไม่ได้ สิ่งที่ผ่านไปแล้ว รู้ไม่ได้ จะรู้ความจริงได้ ในขณะนั้นสิ่งนั้นกำลังปรากฏ
อ.วิชัย ก็คือเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ
อ.วิชัย เข้าใจขึ้นอีกๆ
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ แต่ต้องเป็นปัญญาที่รู้หนทางด้วย อันตรายนะคะ น่ากลัวมาก ถ้าเป็นผู้ที่ประมาทคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพียงก้าวผิดก้าวแรก ไปแล้ว สู่ก้าวต่อไป
อ.นภัทร กราบท่านอาจารย์ครับ อย่างที่เรียนท่านให้ทราบว่า เมื่อฟังท่านอาจารย์เริ่มแรกเนี่ยก็มีความคิดแบบนี้ แต่พอฟังอาจารย์ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเนี่ยปัญญาเขาก็ทำหน้าที่ของเขา ที่จะละว่าไม่ใช่ที่จะต้องไปทำอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ปัญญา แล้วเป็นเรื่องละทั้งหมด ปัญญาไม่ติดข้อง แต่ที่ติดข้องนะคะ เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นไม่รู้จึงติดข้อง เพราะฉะนั้นจะละไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา ที่เห็นผิด เพราะติดข้อง แต่ต้องรู้ความจริงถึงจะละ เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นปัญญา ไม่ใช่เรา เห็นไหมคะ มิฉะนั้นก็ปัญญาของเราอีก แสนยากเพราะทั้งหมด ต้องไปอยู่ที่ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา เท่านั้น
อ.ธิดารัตน์ ถ้าหากว่าผู้ที่ศึกษาธรรมนี่นะคะ แล้วค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้นเนี่ย ก็จะทราบว่า ในขณะที่ตัวเองต้องการความสงบ เนี่ยเป็นอกุศล สมัยก่อนหนูก็เคยแบบทดลองนั่งหลับตาเงียบๆ อยู่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ การทดลองด้วยความไม่รู้
อ.ธิดารัตน์ ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สงบ เพราะทดลอง
อ.ธิดารัตน์ ตอนนั้น ยังไม่ได้ศึกษาธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจ ถูกต้องอย่างเดียว จะถูกไม่ได้
อ.ธิดารัตน์ แต่พอมาศึกษาธรรมนี่นะคะ ก็จะเข้าใจ แล้วยิ่งเวลาที่เราเข้าใจว่า การที่จะมีจิตสงบที่จะเป็นสมถะนี้ ก็ต้องอาศัยอารมณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ไปนั่งด้วยความไม่รู้
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจถูกต้องค่ะ เพราะว่าอารมณ์ไม่ได้ทำให้สงบ ต้องเป็นปัญญาค่ะ เห็นไหมคะ แล้วคำว่าปัญญาเนี่ย คิดดูก็แล้วกัน ทั่วไปหรือเปล่า หาง่ายๆ ตามถนนหนทาง ที่ป้ายนั้นป้ายนี้หรือเปล่า หรือว่ากว่าจะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง จากความเห็นซึ่งผิดมาตลอด ติดข้องมาตลอด กว่าจะค่อยๆ ถูกขึ้นเนี่ย จะต้องยากแน่
อ.ธิดารัตน์ ต้องอาศัยความเข้าใจจากการฟัง
ท่านอาจารย์ แล้วละ เป็นเรื่องละ โดยตลอดค่ะ ทีละเนี่ยนะคะ ทำให้หนทางที่ยาวเนี่ยสั้นเข้าไปอีก มิฉะนั้นแล้วที่ต้องการเนี่ย ยาวไป กั้นไป กั้นไป กั้นไป อีกนานในสังสารวัฎฏ์
อ.ธิดารัตน์ ค่ะ ถ้ามีความเข้าใจในหนทางที่ถูกต้องแล้วนะคะ ก็คงจะไม่ไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ผู้ที่เป็นพระอริยสาวกนะคะ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปสู่ที่อื่น ที่ไม่ใช่ที่ที่อยู่ของท่าน ท่านกราบทูลถามว่า ท่านจะระลึกถึงอะไร พระพุทธเจ้า ไม่ได้บอกให้ไปนั่งทำฌานเลย ท่านเป็นพระอริยสาวก สิ่งที่ควรก็คือว่าการระลึกถึง พระรัตนตรัย ทาน ศีล ทุกอย่างที่นำมาสู่ความสงบ ไม่ใช่ว่าจะนั่งเพื่อให้เราจะสงบ มาแล้ว ใช่มั้ยคะ ต่างกันเลย
อ.นภัทร ได้ยินท่านอาจารย์พูดบ่อยครั้งว่า เมื่อเห็นโทษของกิเลส จึงจะละ ถ้าคำว่า
ท่านอาจารย์ คุณณภัทรคะ กำลังฟัง นี่เราเห็นโทษของกิเลสหรือเปล่า
อ.นภัทร กำลังฟังนี่
ท่านอาจารย์ ที่ฟังกันเนี่ย เพราะรู้ว่ามีกิเลสใช่มั้ย
อ.นภัทร ครับ
ท่านอาจารย์ และถ้าไม่เห็นโทษป่านนี้ เราก็ออกไปข้างนอกแล้ว
อ.นภัทร ครับ แต่ไม่เห็นโทษครับ
ท่านอาจารย์ ตามลำดับขั้นค่ะ เราจะเอาโทษขั้นไหนล่ะคะ แค่ขั้นมาฟังนี่ก็ต้องเพราะเห็นโทษแล้วค่ะ คนที่เขาไม่ฟังน่ะ บอกยังไงว่าพระธรรมเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะได้ตรัสรู้ยังไง เขาก็ไม่ฟัง เพราะเขาไม่เห็นโทษ เพราะฉะนั้นที่แม้ฟังเดี๋ยวนี้ ก็เป็นการเห็นโทษระดับหนึ่ง
อ.นภัทร พอเข้าใจครับว่าโทษมีหลายระดับ เพราะฉะนั้น
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างมีหลายระดับ ปัญญาก็หลายระดับ โลภะก็หลายระดับ
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นบางอย่าง ที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ยัง เป็นอกุศลที่ไม่สมควรกระทำ แต่ก็ยังกระทำเพราะว่า ระดับปัญญา
ท่านอาจารย์ ทำไปเถ้อะ ความดีค่ะ ไปถึงอรูปพรหม ก็ออกจากสังสารวัฎฏ์ไม่ได้
อ.นภัทร ก็ต้องเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่มีโอกาสได้รู้จักพระสัมมาพุทธเจ้า ถ้าไม่ได้สะสมบุญไว้แต่ปางก่อน ที่จะเห็นความละเอียด ความลึกซึ้ง มิฉะนั้นก็คือมิจฉาทิษฐิทั้งนั้น
อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะ คือถ้าใช้คำว่าสมาธินี่นะคะ ก็จะมีทั้งมิจฉาสมาธิแล้วก็สัมมาสมาธิ
ท่านอาจารย์ สมาธิคืออะไรคะ
อ.นภัทร ก็เป็นความตั้งมั่นของจิตครับ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีมั้ย
อ.นภัทร เดี๋ยวนี้มีครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เกิดกับจิตอะไรบ้าง
อ.นภัทร เกิดกับจิตทุกดวง
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
อ.นภัทร เพราะเป็นปกติ ครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ สภาพของเจตสิก ๑ ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เพราะจิตเป็นสภาพรู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ จิตเกิดขึ้นเป็นธาตุรู้ ต้องมีอารมณ์ ก็ต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งจิตกำลังรู้ จะไม่มีอารมณ์ไม่ได้เลย เจตสิกที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมกันกับจิตเลย รู้อารมณ์เดียวกับจิต แล้วก็ดับพร้อมกับจิตด้วย เกิดในภูมิที่มีรูปด้วยขันธ์ ๕ อย่างมนุษย์เป็นต้นนะคะ ก็เกิดที่เดียวกันด้วย จิตเกิดที่รูปค่ะ ไม่ได้เกิดนอกรูปเลย เพราะฉะนั้นเอกัคคตาเจตสิก หรือว่าธรรม ๑ เนี่ย เอกัคคตา คุณคำปั่นจะให้คำอธิบาย คำนี้หน่อยดีมั้ยคะ
อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ครับคำว่าเอกัคคตา นะครับ ก็มาจากคำว่าเอกะ นะครับ ก็คือ ๑ แล้วก็ คตะ หมายถึงว่าไป ไปอะไรคือไปสู่อารมณ์หนึ่งนะครับเพราะฉะนั้นความหมายของเอกัคคตาก็คือ สภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่ง ที่ไปหรือว่าตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งครับ ก็เพราะว่าจิตเกิดขึ้น ก็ต้องรู้ทีละอารมณ์ เพราะฉะนั้นเจตสิกนี้ก็ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ คำนี้ ไม่ชินหูนะคะ จะจำก็ได้ ไม่จำก็ได้ แต่ให้ทราบว่าจิตต้องเกิดพร้อมกับเจตสิก แต่ว่าเจตสิกแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ก็ไม่ปะปนกันนะคะเพราะฉะนั้นเริ่มรู้ว่าจิต ๑ ขณะ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท เพราะฉะนั้นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ไม่ใช่จิต จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งค่ะ โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำกิจของเจตสิกแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ นะคะ ที่เราใช้คำว่าสมาธิก็ได้ หรือว่าเอกัคคตาเจตสิกก็ได้เพราะเหตุว่าเป็น เจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียวอารมณ์๑ เพราะจิต ๑ ก็รู้อารมณ์ ๑ เพราะฉะนั้นจิตจึงรู้ ๒ อารมณ์ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเอกัคคตา เป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ๑ เมื่อเกิดกับจิต ๑ จิตนั้นก็รู้แจ้งในอารมณ์ ที่เจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น จะไม่ไปรู้แจ้งในอารมณ์อื่นอีก ทุกอย่างนี่ค่ะ ก็คือไม่ใช่เรา ต้องไปสู่ความไม่ใช่เราทั้งนั้น ไม่ใช่พอได้ฟังแล้ว ก็จะทำสมาธิ อยากเป็นสมาธิ นั่นก็คือโลภะ ไม่ไกลเลยค่ะ อยู่ใกล้ที่สุด ดึงได้ไม่เห็นยาก ไม่มีแรง ดึงไปทางไหนก็ไป เพราะฉะนั้นดึงไปทางทำสมาธิก็ได้ เพราะไม่รู้
อ.ธีระพันธ์ ท่านอาจารย์ครับ คำว่าตั้งมั่นในอารมณ์ ชวนให้คิดว่าขณะนั้นสงบจากเรื่องอื่นๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่าตั้งมั่น ก็คือว่าจิตไม่ไปสู่อารมณ์อื่น จิตรู้ทีละ ๑ อารมณ์จิต ๑ รู้อารมณ์ ๑ เพราะมีเจตสิกนี่ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตรู้ ไม่ไปสู่อารมณ์อื่น จิต ๑ รู้ ๒ อารมณ์ไม่ได้ สองอย่างไม่ได้
อ.ธีระพันธ์ ก็พลอยให้คนอื่นที่ศึกษาไม่ดีคิดว่า ขณะนั้นสงบแล้ว ก็ใช้คำที่ในคำที่ผิด คิดว่าคำนี้เป็นสมาธิด้วยซ้ำไป
ท่านอาจารย์ เพราะความเผินนี้ค่ะ ปะปนกันหมดเลย พอบอกสงบก็ใช้คำว่าสมาธิ แต่ไม่ใช่ สมาธิเป็นสภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่สงบเป็นเจตสิกอื่น กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ เจตสิก ซึ่งต้องเกิดเฉพาะโสภณจิต เพราะเป็นความสงบจากอกุศล ศึกษาธรรมเพื่อละความเป็นเรา เพื่อเข้าใจในความไม่ใช่เรา ถูกต้องที่สุด
อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ครับ ถ้ารู้คำแปล และความหมาย จนถึงความเข้าใจของสมาธิ ก็จะดี
ท่านอาจารย์ คนที่ไม่ได้ฟังธรรมเลยเนี่ย คิดเองใช่ไหม
อ.อรรณพ ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ สมาธิคืออะไร สำหรับคนที่คิดเอง
อ.อรรณพ ก็คือสิ่งที่ดี สงบ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ก็ผิดแล้ว เพราะว่าเกิดกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้นเวลาที่เราใช้คำว่าสมาธิทั่วไๆ ไปเนี่ย ตัดเสื้อ ต้องมีสมาธิมั้ย
อ.อรรณพ มีครับ
ท่านอาจารย์ ทำอาหารต้องมีสมาธิมั้ย
อ.อรรณพ ต้องมี ในเรื่องนั้น
ท่านอาจารย์ ต้องมีสิคะ ใส่เกลือมาก เทลงไปแล้ว เค็มเลย เพราะฉะนั้นชาวโลกใช้คำว่าสมาธิ ใช้คำทุกคำที่เขาได้ยิน โดยเค้าไม่เข้าใจ และเข้าใจผิด จึงเป็นเหตุให้ทำผิดด้วย เพราะฉะนั้นจึงมีคำว่าทำสมาธิ
อ.อรรณพ พระอภิธรรมเนี่ยก็ละเอียดลงไปถึงตัวธรรม ซึ่งไม่ได้ใช้คำว่าสมาธิเจตสิก แต่ทรงใช้คำว่า เอกัคคตาเจตสิกนะครับ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เพราะเกิดกับจิตทุกประเภท จิตเกิดดับเร็วไหมคะ เพราะฉะนั้นตั้งมั่นนิดนึง เร็วไหม แค่นั้นเอง แค่ที่จะให้จิตรู้อารมณ์นั้น
อ.อรรณพ จิตเห็นก็ตั้งมั่นในสี เพราะเอกัคคตาเจตสิก เป็นสังขารขันธ์นะฮะ ที่จะปรุงแต่งให้ตั้งมั่นในสี
ท่านอาจารย์ ให้เห็น แค่สิ่งที่ปรากฏสิ่งนั้นสิ่งเดียว ทีละ ๑
อ.อรรณพ จิตได้ยินก็ตั้งมั่นในเสียง ชั่วขณะที่จิตได้ยินเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ เฉพาะเสียงนั้น
อ.อรรณพ เฉพาะเสียงนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นศึกษาพระอภิธรรมนะคะ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง อภิคือละเอียด ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา ไม่ใช่ศึกษาอภิธรรมเพื่อไปสอบ ฟังธรรม จำได้เยอะเลย ชื่อก็ได้ อายตนะ๑๒ได้หมด กับการที่รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นเพียงธรรม อย่างไหนถูกต้อง เพราะว่าออกไปจากห้องนี้แล้วนะคะ คิดถึงชื่อไหนบ้าง แต่ถ้ารู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่า เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา จะมีประโยชน์กว่านะคะ เพราะว่าชาตินี้พูดภาษาไทย ชาติก่อนพูดภาษามคธีกัน จำได้มั้ย พูดได้มั้ย คิดได้มั้ย เพราะฉะนั้นชื่อต่างๆ ที่เราได้ยิน ในภาษาที่เราใช้ พอถึงอีกชาติหนึ่ง เราไม่ได้พูดภาษานั้นแล้วเราจะมานึกออกไหม แต่การที่ค่อยๆ สะสมนะคะ ความเป็นธรรมไม่ใช่เรา จะค่อยๆ ติดตามต่อต่อไป พอได้ยินความเข้าใจค่ะเพิ่มขึ้น เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีชั่วคราว แล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความไม่ประมาทนี้ เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ คือผู้ที่เข้าใจถูกต้อง ถ้าเข้าใจผิด ประมาทแล้วค่ะ แต่เป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่า หนทางละ แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา แต่เป็นความเข้าใจธรรม ตัวความเข้าใจนั้นแหละค่อยๆ ละความไม่รู้ และความติดข้อง และความเข้าใจทำหน้าที่ของความเข้าใจ หรือจะใช้คำว่าปัญญาก็ได้ ปัญญาเท่านั้นนะคะ ในขณะที่เข้าใจ ทำหน้าที่ของความเข้าใจ ที่จะละความติดข้อง เพราะฉะนั้นเราทำอะไรหรือคะ คือว่ามีเรามั้ย มีเราเมื่อไร ก็ประมาท คิดว่าเราทำได้ แต่ว่าถ้าไม่ประมาท ก็คือว่าทำอะไรไม่ได้แน่นอน เพราะธรรมเกิดแล้ว เมื่อเกิดแล้วก็ดับด้วย ไม่รู้อะไรสักอย่าง แม้แต่ว่าเกิดเพราะเหตุปัจจัยก็ไม่รู้ แม้แต่ดับไปแล้วก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นที่ไม่ประมาท ก็คือว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคงเข้าใจขึ้น ถูกต้องขึ้นก็มั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020