ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๗๖

    สนทนาธรรม ที่ ร้านโป๊ด เรสเตอร์รอง

    วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ครับ กรรมฐานหมายถึงที่ตั้งของการกระทำ ของปัญญา ผมอยากจะรบกวนให้ขยายความนิดนึง ได้ไหมครับว่า กรรมฐานนี้หมายถึงปัญญา หรือว่าหมายถึงยังไง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้อะไรมีจริง บอกมาสักหนึ่ง

    ผู้ฟัง รูปธรรมครับ

    ท่านอาจารย์ หนึ่ง รูปธรรมมากมายค่ะ

    ท่านอาจารย์ หนึ่งคืออะไรคะ ค่ะเสียงนะคะ รู้มั้ยว่าเสียงเกิดแล้ว ดับ

    ผู้ฟัง รู้ครับ

    ท่านอาจารย์ รู้มั้ย ว่าเสียงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เข้าใจ ไม่ใช่คิดถึงเรื่องของเสียง เข้าใจไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเราที่กำลังได้ยิน เข้าใจนะคะ

    ผู้ฟัง เข้าใจครับ

    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏเป็นฐานะที่ตั้งของปัญญา ที่เริ่มเข้าใจถูกในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นความหมายของกรรมฐาน ฐานะคือที่ตั้งใช่ไหมคะ เสียงมีจริงดับแล้ว รู้ในขณะที่เสียงกำลังปรากฏมั้ย

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่เสียงยังไม่ได้ดับ รู้มั้ย เห็นไหมคะ เริ่มใกล้เข้ามาแล้ว แม้แต่เสียงเนี่ยเราได้ยินต่างกับอย่างอื่นที่ปรากฏ เหมือนไม่ได้ดับไปเลย แต่เสียงเนี่ยเหมือนกับ เกิดดับ เกิดดับใช่ไหมคะ แต่แม้กระนั้นที่เราเข้าใจ ก็ยังช้ามาก เพราะเสียงเกิดแล้ว ก่อนเสียงดับมีความไม่รู้ในเสียงนั้นละ หรือถ้าจะมีความรู้ ในเสียงนั้นนะคะ ก็สามารถที่จะเริ่มเข้าใจถูกในเสียง ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มเข้าใจถูกในสิ่งใด สิ่งนั้นแหละเป็นฐานะที่ตั้ง ของกิจของปัญญา ที่เริ่มจะเข้าใจถูกในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นกรรมฐาน

    ผู้ฟัง เห็นแบบค่อยๆ เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เข้าใจทีเดียวได้ยังไง

    ผู้ฟัง แล้วอย่างนี้หมายความว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้นะคะ ถ้าใครกำลังเริ่มเข้าใจสิ่งใด สิ่งนั้นแหละ เป็นกรรมฐานของปัญญา ไม่ต้องไปนั่งที่ไหน ไม่ต้องทำอะไร แต่ว่ามีสิ่งที่ปัญญากำลัง เริ่มทำกิจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ยากแค่ไหนคะ ใครไม่รู้บ้างว่า เห็น ไม่ใช่เรา ฟังมาแล้ว ก็รู้ว่าเห็นไม่ใช่เรา แต่จริงหรือเปล่า กำลังเกิดแล้วก็ดับรึเปล่า ที่จะรู้จริงๆ ว่าไม่ใช่เราจริงๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้นกรรมฐานคืออะไรคะ คือเห็น ก็เป็นกรรมฐาน เมื่อเริ่มเข้าใจเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาเดี่ยวนี้ เมื่อเริ่มเข้าใจ ก็เป็นกรรมฐานของปัญญาที่เริ่มเข้าใจ เพราะฉะนั้นฐานะก็คือ ธรรมทั้งหมด ซึ่งไม่เคยเข้าใจก่อนเลย แล้วก็สติสัมปชัญญะ จากการได้ฟังแล้วนี่นะคะ เริ่มเห็นถูกเฉพาะทีละ ๑ ทีละ ๑ ทีละ ๑ ที่ปรากฏ ๑นั้นแหละเป็นกรรมฐานของปัญญา ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง เพื่อนำไปสู่วิปัสสนาญาณ

    ท่านอาจารย์ เพื่อรู้แจ้งตรงตามที่ได้ฟัง ว่าคำจริงทั้งหมด สามารถที่จะเข้าถึงได้ด้วยปัญญาที่เจริญขึ้นตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นเห็นไหมคะ ถ้าไม่ศึกษาธรรมเนี่ย เราถูกบอกให้หลงไป ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจเลย แต่เดี๋ยวนี้พอถามคำว่ากรรมฐาน สามารถบอกได้ กัมมะคือการกระทำ สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ไม่ได้เกิดมาลอยๆ นะคะ เกิดขึ้นมาทำกิจ ๑ กิจใดแล้วก็ดับไป อย่างขณะนี้ค่ะ นามธรรมที่เห็นใช้คำว่าจิตก็ได้ จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ จิตเกิดขึ้นได้ยินแล้วดับ เพราะฉะนั้นจิตเห็นทำกิจเห็น จิตได้ยินทำกิจได้ยิน จิตได้ยินทำกิจเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นกิจหน้าที่ของนามธรรมทั้งหมดนะคะ มี ๑๔ กิจ เนี่ยค่ะทรงแสดงไว้โดยละเอียด โดยประการทั้งปวงไม่ให้เราต้องไปคิดอะไรเองเลยทั้งสิ้นนะคะ แต่ฟังแล้วไตร่ตรอง ไม่ใช่สงสัย ถ้าสงสัยนี่แปลว่าเราไม่ได้ไตร่ตรอง อย่างเมื่อเช้า วิจิกิจฉานั่นแหละ ใช่ไหมคะ เป็นของธรรมดาเพราะไม่รู้ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นขณะนั้นไม่รู้ แล้วก็สงสัยด้วย แต่เวลาที่ไม่สงสัยก็มี แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นความไม่รู้ ในขณะนั้น ซึ่งเมื่อมีความสงสัยเกิดร่วมด้วย ทุกขณะนี่ค่ะ เป็นธรรมซึ่งกระจ่างชัดขึ้น จากความมืดสนิมที่ไม่รู้อะไรเลย จากการฟังพระธรรมนะคะ เดี๋ยวนี้เป็นจิตเจตสิกทั้งหมด ถ้าไม่พูดคำนี้ ทุกคนก็ลืมจิตเจตสิก ไม่คิดถึงจิตเจตสิกเลย และจะเป็นกรรมฐานเมื่อไหร่คะ เมื่อปัญญากำลังค่อยๆ รู้เฉพาะลักษณะนั้นด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอีกระดับขั้นหนึ่ง ที่เกิดจากการฟังแล้วเข้าใจมั่นคง จากปริยัติเป็นปฏิปัติ จากปฏิปัติซึ่งคนไทยใช้คำว่าปฏิบัตินะคะ เป็นปฏิเวธ รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ทีนี้วิปัสสนาท่านเรียกว่า เป็นสติสัมปชัญญะได้ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ รู้จักสติมั้ยค่ะ เพราะฉะนั้นเพียงฟังนี่ค่ะ ยังไม่ถึงค่ะ โดยมากนะคะ พูดคำว่าวิปัสสนาแต่ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็ไปทำวิปัสสนา เมื่อไม่รู้แล้วทำ จะถูกได้มั้ย ก็ไม่มีทางที่จะถูกได้เลย เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป ตั้งต้นใหม่ให้ถูกต้อง จะได้เร็วดีค่ะ มัวแต่จะไปคิดถึงเรื่องเก่าเก่า ก็พอดีไม่มีเวลาที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ไม่คำนึง ไม่คร่ำครวญ ไม่เสียดาย สิ่งที่ล่วงไปแล้ว แต่ว่าสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็ยังไม่เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ค่ะ มีสิ่งที่กำลังฟังให้เข้าใจความจริง เพื่อที่จะถึงปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งใช้คำว่าปฏิบัติในภาษาไทย แต่ภาษาบาลีคือปฏิปัติ ปฏิแปลว่าเฉพาะทีละ ๑ ปัติแปลว่าถึง ถึงเฉพาะสิ่งนั้นเท่านั้น ด้วยความเข้าใจจากการฟัง จนกระทั่งค่อยๆ เห็นตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นปฏิบัติ เพราะฉะนั้นสำนักปฏิบัติผิดมั้ย

    ผู้ฟัง ผิดครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะไปทำ ไม่ใช่เข้าใจ

    ผู้ฟัง แล้วปฏิเวธคือการ

    ท่านอาจารย์ ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม เป็นวิปัสสนาญาณ ปัญญาอีกระดับหนึ่ง

    ผู้ฟัง ไม่สามารถที่จะเกิดพร้อมกับปฏิบัติได้ หรือเกิดพร้อมกับปริยัติได้

    ท่านอาจารย์ หมายความว่ายังไงคะ ปริยัติคืออะไร

    ผู้ฟัง การศึกษา

    ท่านอาจารย์ ฟังเข้าใจ

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ แล้วไงคะ เพราะฉะนั้นเราไม่ข้ามขั้นเลยค่ะ ฟังให้เข้าใจทีละคำ สติคำเดียว สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ถ้าไม่ต่างขั้นกัน จะต้องมีคำต่างมั้ย แต่ทั้งหมดก็คือสติ เพราะฉะนั้นการศึกษาต้องละเอียด ไม่ใช่ไปเก็บคำโน้นมาคำนี้มา แล้วอยากรู้ และอยากเข้าใจเฉพาะคำนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องมีพื้นฐานที่เข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ต้น ถ้าเข้าใจคำนี้นะคะ ก็เข้าใจคำนี้ ไม่ว่าจะปรากฏที่ไหนในพระไตรปิฏก ทีละคำ ทีละคำสอดคล้องกันทั้งหมด

    ผู้ฟัง แต่ขณะที่กำลังศึกษาปริยัติ ก็คือศึกษา

    ท่านอาจาร์ ฟังเดี๋ยวนี่เป็นปริยัติหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นครับ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจเมื่อไหร่ เป็นความรู้ที่เกิดจากการฟัง

    ผู้ฟัง แต่นั้นเป็นกุศลเพราะเกิดกุศลก็ต้องเกิดสติด้วยไม่ใช่เหรอครับ

    ท่านอาจารย์ รู้จักสติมั้ย

    ผู้ฟัง สติคือเกิดขณะที่เป็น

    ท่านอาจารย์ นั่นนะคะ ก่อนอื่นสติคืออะไร

    ผู้ฟัง การระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ ระลึกยังไง

    ผู้ฟัง ขณะที่เป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เช่น

    ผู้ฟัง ขณะที่กำลังสนทนาธรรมครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วสติยังไง

    ผู้ฟัง ก็เกิดขึ้นขณะที่สนทนาธรรม ก็เป็นสติ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจเมื่อไหร่

    ผู้ฟัง เข้าใจขณะที่สนทนาธรรมครับ

    ท่านอาจารย์ ต้องมีสติเกิดร่วมด้วย แต่ไม่เห็นสติเลย ใช่ไหมคะ ได้แต่รู้ว่าขณะหนึ่งที่เข้าใจเนี่ย มีสภาพธรรมอะไรเกิดร่วมกัน ศรัทธาก็มี หิริก็มี โอตตัปปะก็มี อโลภะก็มี อะโทสะก็มี มากมาย ไม่เห็นปรากฏ เพียงแต่ฟังรู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะเป็นสภาพธรรมที่ต้องมีสภาพธรรมอีกกี่ประเภทเกิดร่วมด้วย ศึกษาธรรมเพื่อละค่ะ ไม่ใช่เพื่อสงสัย สงสัยแปลว่าไม่ได้ไตร่ตรอง ถ้าไตร่ตรองแล้วก็เข้าใจ

    ผู้ฟัง มันดูใกล้เคียงกันมาก

    ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ ถ้าไม่ละเอียด ไม่สามารถที่จะถึงเฉพาะ ลักษณะของสภาพธรรมได้

    ผู้ฟัง อีกคำถามหนึ่งครับ คือวันก่อนที่สนทนาที่วังพญาไท ที่มีคนถามเรื่องของอินทรีย์กับพละ คือผมแค่เข้าใจว่า อินทรีย์เป็นใหญ่ พละคือมีกำลัง แต่ว่ายังไม่เข้าใจถึงตัวอรรถจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ อยู่ในน้ำอยากขึ้นบกมั้ย

    ผู้ฟัง คงอีกนานครับ

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าแต่ละคำเนี่ย ขอให้เป็นความเข้าใจ ไม่ใช่ความอยากรู้ ถ้าเป็นความอยากรู้ก็อยากไปหมดเลยทุกคำในไตรปิฏก อยากรู้ แต่ถ้าเป็นความเข้าใจ รู้ว่าไม่เข้าใจ และเข้าใจเนี่ยมั่นคงแค่ไหน อย่างแม้ว่าธรรมเนี่ยทุกอย่างเลย ระลึกขึ้นได้ โกรธเค้ามั้ย ถ้ามีใครทำให้โกรธ โกรธมั้ย ถ้าระลึกได้ สติเกิดรู้ว่าไม่มีใคร จะโกรธตา หรือจะโกรธคิ้ว หรือจะโกรธจมูก หรือจะโกรธอะไร เพราะฉะนั้นฟังเพื่อเข้าใจถูกต้องที่สุด เพราะความเข้าใจต่างหาก ที่จะละอกุศลไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะยังจับไม่ได้ ว่าตรงไหนมันคือบุญ ตรงไหนมันคือเราทำบุญ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ายังไม่รู้ว่าบุญคืออะไร

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นถึงจะฟังไปยังไงๆ ถ้าไม่ตั้งต้นด้วยคำว่าคืออะไร ไม่มีทางรู้ คุณธีรพันธ์คะ บุญคืออะไร

    อ.ธีระพันธ์ บุญคือสภาพจิตที่ดีงาม ขณะนั้นไม่มีความติดข้อง แล้วก็ขณะนั้นไม่มีความไม่รู้เกิดร่วมด้วย เพราะว่าบุญเนี่ยเป็นสภาพธรรม ที่ชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่ว่ายังไม่บริสุทธิ์ได้ทันทีนะครับ เพราะว่าบุญนี้มีหลายขั้น เป็นไปในการให้ทาน การรักษาศีล กายวาจาที่ดีงาม ไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น การอบรมเจริญปัญญา การฟังธรรม การสนทนาธรรม

    ท่านอาจารย์ คุณคำปั่นล่ะคะ

    อ.คำปั่น ครับก็ต้องอาศัยการได้ยินได้ฟังพระธรรมนะครับ ไม่ว่าจะเคยทำดีใช่ไหมครับ เคยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น แต่ว่าจะไม่เข้าใจความจริง ถ้าหากว่าไม่ได้ฟังพระธรรมที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่กล่าวให้เข้าใจถึงสิ่งที่มีจริงๆ นะครับ แม้แต่ที่กล่าวถึงบุญ ก็คือสภาพธรรมที่ดีงาม ที่ชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอกุศล ความดีเกิดขึ้นขณะใด บุญเกิดขึ้นเป็นไปในขณะนั้นนะครับ ซึ่งความจริงเป็นอย่างนี้นะครับ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นนะครับ ในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ทของความดี ก็จะไม่ว่างเว้นจากการที่ได้สะสมความดี เพราะรู้คุณของความดีว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ ซึ่งท่านก็ได้สนทนาในวันนี้นะครับ ว่าทุกครั้งที่ทำดี ขณะนั้นเป็นการสละ สละสิ่งที่ไม่ดี ที่เคยมี ทำในสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ และก็นอกจากจะเป็นประโยชน์ สำหรับตนเองแล้วนะครับ ความดีก็ยังเป็นประโยชน์เกื้อกูล สำหรับผู้อื่นด้วยนะครับเพราะฉะนั้นอรรถะของบุญ ก็คือสภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอกุศล ซึ่งก็คือขณะที่ความดีเกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่นั่นเองครับ

    ผู้ฟัง ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งสมาธิ ไปภาวนาอะไร เพื่อให้ได้บุญใช่มั้ยคะ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าไม่ได้ให้เข้าใจอะไรเลย

    ผู้ฟัง ค่ะ

    ท่านอาจารย์ นะคะเพราะฉะนั้นสำคัญที่สุดที่คิดว่าเข้าใจแล้วเนี่ย เข้าใจแค่ไหน แม้แต่ภาษาบาลีเช่นคำว่าปุนยะ และคนไทยใช้คำว่าบุญ เราเข้าใจแค่ไหน แต่ภาษาไทยเราธรรมดานะคะ ความดีความชั่วพูดอย่างงี้ เราก็รู้ใช่ไหมคะ แต่ก็ยังไม่พอค่ะ ก็ต้องมีตัวอย่าง ดีคืออะไร ความดีที่ว่าดี คืออะไร และความชั่วที่ว่าไม่ดีเนี่ยคืออะไร แล้วสิ่งนั้นมีจริงๆ ใช่ไหมคะ ไม่เคยรู้ความจริงว่า คืออะไร รู้แต่ว่าเขาดีเราดี คนโน้นดี คนนี้ชั่วใช่ไหมคะ เป็นคนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ไม่รู้ความจริงเลยว่า ความดีต้องเป็นสิ่งที่ดีเท่านั้นค่ะ จะเป็นใครไม่ได้เลย นี่คือเริ่มที่จะค่อยๆ เห็นถูกต้องตามความเป็นจริง โดยอาศัยการฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่านะคะ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม จะไม่มีความเข้าใจสิ่งที่มี ไม่ว่าจะโดยตำรา หลายวิชาการใดๆ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความจริง ว่าสิ่งที่มีจริงๆ นั้นน่ะคืออะไร เพราะฉะนั้นพูดแต่คำที่ไม่รู้จัก แม้แต่บุญก็ไม่รู้จักใช่ไหมคะ แต่ทีนี้พอฟังว่าความดีมีมั้ย มี ความชั่วมีมั้ย มี มองเห็นไหมคะ มองไม่เห็นเพราะอะไร มีแต่มองไม่เห็นเพราะอะไร เห็นไหมคะ ย้อนกลับไปหาคำเดิม เพราะเป็นสภาพรู้ ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่ดี กับสภาพรู้ซึ่งเป็นสภาพที่ดี เพราะฉะนั้นสภาพรู้นี่ค่ะ ก็มีทั้งดี และชั่ว แต่ต่างคนต่างเป็นนะคะ ไม่ใช่รวมกัน ความโกรธเนี่ยจะให้เป็นความกรุณาได้ไหม ไม่ได้ เป็นเราหรือเปล่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งค่อยๆ ละเอียดขึ้น และแม้แต่บุญนะคะ ก็หมายความถึงสภาพธรรม แต่ละ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งเป็นลักษณะที่ดี คนนั้นใจดี ลองบอกหน่อยซิ ว่าเค้าใจดียังไง เห็นไหมฮะก็ต้องค่อยๆ บอกมา เค้าให้ทาน ช่วยเหลือคนอื่น พูดคำที่เป็นประโยชน์พวกนี้ค่ะ นี่คือดี ส่วนคนนั้นใจร้าย เอ้าเค้าร้ายยังไง ก็ต้องพูดร้าย ปากร้าย ใจร้าย ว่าร้าย คิดร้ายต่างๆ นานา ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นล้วนเป็นธรรมทั้งนั้น จากการที่เป็นคนหรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ด้วยความไม่รู้นะคะ ก็เป็นธรรมแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมนี่ค่ะ ต้องย้อนกลับมาตามลำดับ เพื่อความเข้าใจที่มั่นคง ไม่ใช่เรา แล้วเป็นอะไรเมื่อกี้นี้นะคะ นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม ถูกต้องไหมคะ รูปธรรม วันดีคืนดีจะเกิดรู้อะไรขึ้นมาได้ไหมคะ ไม่ได้แน่นอนที่สุดค่ะ เพราะเหตุพระสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างนั้น จึงเป็นสภาวธรรม สิ่งที่มีมีลักษณะเฉพาะอย่างนั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ส่วนนามธรรมมองไม่เห็นเลยนะคะ แต่ปรากฏในชีวิตประจำวันได้ อย่างโกรธอย่างเงี้ย อร่อย มีจริงๆ ไหมคะ พูดแล้วนี่ เห็น ได้ยินออกเป็นนี่อาหารอร่อย โน้นก็อร่อย นี่ก็อร่อยนะคะเพราะฉะนั้นอร่อยมีจริงๆ ใช่มั้ยคะ

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่าก่อนอื่นค่ะ

    ผู้ฟัง เป็นค่ะ

    ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นธรรมแล้ว ต้องเป็นธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดใช่ไหมคะ คือนามธรรมหรือรูปธรรม เพราะฉะนั้นอร่อยเนี่ย เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

    ผู้ฟัง นามธรรมค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะ

    ผู้ฟัง รู้สึกได้

    ท่านอาจารย์ เพราะเป็นความรู้สึก เป็นความรู้ เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้นะคะ เราต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าสิ่งที่มีจริงๆ เนี่ย มีทั้งดี และชั่ว แต่สภาพของธาตุรู้นี่นะคะ ที่บอกว่ารูปธรรมกับนามธรรม จากธรรม ๑ทุกอย่างเป็นธรรม แยกออกเป็น ๒ ธรรมต่างกันเป็นสภาพรู้นามธรรม กับสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเป็นรูปธรรม และต่อไปนี้ก็แบ่งออกอีก ตามความเป็นจริงนะค่ะ เข้าใจให้ถูกว่าเป็น ๓ นามธรรม รูปธรรมนี่ค่ะ เป็นรูปธรรม ๑ เป็นนามธรรม ๒ คือเป็นจิต และเจตสิก เคยได้ยินคำนี้ก่อนไหมคะ

    ผู้ฟัง เคยค่ะ

    ท่านอาจารย์ เคย

    ผู้ฟัง แต่ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ก็ไม่สามารถที่จะแยกเจตสิกออกจากจิตได้เลย เป็นจิตไปหมดเลย ใช่ไหมคะ แต่ว่าตามความเป็นจริงนี่ค่ะ เฉพาะธาตุรู้ ธาตุรู้อย่างเดียวไม่ดีไม่ชั่ว เพราะอะไรคะ รู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏ รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฎเสียงมีหลายเสียง ทำไมว่าหลายเสียง เพราะจิตรู้แจ้งทีละ ๑ เสียง จึงรู้ว่าเสียงแต่ละ๑ แต่ละ ๑ นั้นไม่ใช่เสียงเดียวกัน และเป็นเสียงที่หลากหลายด้วย เห็นจริงนะคะ ดอกกุหลาบสีเหลือง กับดอกกุหลาบสีชมพู เป็นจิต เป็นสภาพที่รู้แจ้ง ในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ไปเปลี่ยนสีชมพูให้เป็นสีเหลือง และไม่ต้องเรียกว่าชมพู ไม่ต้องเรียกว่าเหลือง แต่สภาพที่กำลังรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏอย่างนั้น คือจิต ไม่ทำอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นอีกคำหนึ่งของจิตนะคะ ก็คือคำว่าปัณฑระ ผ่องแผ้ว จนกว่าจะมีเจตสิกสภาพนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้นะคะ เกิดกับจิตแล้วแต่ว่าเจตสิกนั้น จะเป็นเจตสิกที่ดี หรือเจตสิกที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นบุญก็คือเจตสิกที่ดี เกิดกับจิตใด จิตนั้นก็เป็นจิตที่ดี เพราะว่าจิตเจตสิกไม่ได้แยกกันเลย แต่ต้องเข้าใจให้ละเอียดค่ะ ว่าการที่จิตหลากหลายมาก เพราะเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตนั้นๆ ปรุงแต่งให้จิตนั้นหลากหลายมาก ดีชั่วก็ต่างกันใช่ไหมคะ ความโกรธมี ตั้งแต่ความขุ่นใจ นิดเดียวจนกระทั่งถึงมากมาย พยาบาท อาฆาตได้ ก็เป็นสภาพของความขุ่นใจ เพราะฉะนั้นจึงมีหลายๆ คำ ซึ่งแสดงความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ แต่นั่นเป็นเจตสิก ถ้าเป็นจิตนะคะ ก็คือธาตุรู้ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก คิดดีก็มีใช่ไหมคะ คิดชั่วก็มี จิตไม่ใช่ดีชั่ว แต่คิดด้วยโลภะ เพราะโลภะเกิดกับจิต ทำให้จิตเป็นอกุศลจิต ถ้าคิดที่จะให้ทาน ช่วยเหลือคนอื่นนะคะ ขัดเกลากิเลสก็เป็นฝ่ายกุศล สภาพนั้นเป็นเจตสิก เกิดกับจิตๆ นั้นก็เป็นกุศลเท่านี้เองค่ะทั้งวัน ก็คือจิตเจตสิกรูป จาก ๑ ธรรมเป็น ๒ คือนามธรรม รูปธรรม เป็น ๓ คือรูป ๑ นามธรรม ๒ คือจิต และเจตสิก พอจะแยกได้ใช่ไหมคะ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิกทั้งหมดที่มีในวันนึงวันนึง ที่เราพูดถึงนะคะ ถ้าไม่ใช่สภาพที่เฉพาะรู้เป็นใหญ่เป็นประธานเช่นเห็นได้ยิน และเป็นเจตสิกทั้งหมด ลองยกตัวอย่างเจตสิกได้ไหมคะ ขยันมีไหมคะ คนนั้นขี้เกียจ คนนี้ขยัน ก็พูดกันอยู่ทุกวัน แต่ไม่ใช่เราเป็นอะไรคะ เป็นจิต และเจตสิก แต่จิตเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นขยันต้องเป็นเจตสิก ขี้เกียจก็ต้องเป็นเจตสิก จิตเค้ารู้อย่างเดียวค่ะ เห็นเท่านั้น แล้วแต่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แต่ความจริงละเอียดกว่านี้มากค่ะ นี่เพียงเบื้องต้นที่พอจะแยกให้เห็น ความต่างกันของธรรม ที่แม้ว่าเป็นธรรมแต่ก็เป็นนามธรรมประเภท ๑ เป็นรูปธรรมอีกประเภท ๑ แม้ว่าเป็นนามธรรมก็ยังต่างเป็น ๒ คือจิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก เจตสิกมี ๕๒ ประเภทนะคะ ทำให้จิต ๑ นี่ค่ะ เป็น ๘๙ ประเภท ตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย หรือเป็น ๑๒๑ ประเภทโดยพิเศษ

    ผู้ฟัง แสดงว่าบุญไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครไปแสวงอะไรได้เลยค่ะ แต่มีธรรมที่เกิดแล้วเพราะปัจจัยตลอดเวลา ยับยั้งการเกิดดับของธรรมไม่ได้เลย มีปัจจัยที่จะเกิดดับไปเรื่อยๆ เกิดดับมาก่อนนี้แล้ว แสนโกฏฏ์ชาติก็ตามแต่นะคะ แล้วข้างหน้าก็จะต้องเป็นอย่างนี้ เพราะยังไม่ได้ดับเหตุที่จะให้เกิด เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นอย่างนี้อ่ะค่ะ เดี๋ยวชาติหนึ่งเป็นสุขเป็นทุกข์ ชาติโน้นเป็นเจ็บไข้ได้ป่วย ชาตินี้เป็นอะไรต่อมิอะไร เป็นขอทาน เป็นยาจกเป็นพระราชา เป็นโอรสของพระราชา เป็นอะไรแล้วก็แล้วแต่ แล้วไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาสได้เข้าใจธรรมนะคะ แล้วละเลยโอกาสนั้น ต่อไปก็เกิดดับไปเรื่อยๆ ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟัง หรือเมื่อได้ฟังแล้วถ้าไม่คิดว่ามีประโยชน์ใช่ไหมคะ ชาตินั้นก็ไม่ได้ภาวนา ไม่ได้อบรม ไม่ได้เจริญความเห็นถูก

    ผู้ฟัง ค่ะ อาจารย์คะทุกวันนี้ สื่อต่างๆ เนี่ยมันเข้าถึงได้ง่ายนะคะ ทางธรรมก็เหมือนกัน ทีนี้เราจะเลือกฟังอันไหน ที่ว่ามันเป็นธรรมสอนถูกหรือไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ พูดถึงสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้หรือเปล่า หรือไปพูดเรื่องอื่น ให้บริจาคมากๆ ให้สร้างวัด ให้สร้างอะไรต่างๆ เหล่านั้น นั่นไม่ได้เข้าใจอะไรเลย แต่พุทธะคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะรู้ความจริง ไม่หลับ ไม่หลง เพราะฉะนั้นก็รู้ได้เลยค่ะ ใครพูดเรื่องอื่นที่ไม่ทำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มี นั่นไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ครับ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายให้คุณติ๊ก ได้ฟังนิดนึงว่าวิถีจิตเนี่ยมันคืออะไรครับ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ จิตคืออะไรนะคะ เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งเฉพาะเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง จิตไม่ดีไม่ชั่ว แต่จิตจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีเจตสิกนามธรรม ซึ่งอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น จึงใช้คำว่าเจตสิตกะ มีทั้งหมด ๕๒ ประเภท ที่ใช้คำว่าเจตสิกเพราะเหตุว่า เกิดกับจิต เกิดในจิต แยกกันไม่ออกเลย แต่จิตก็ยังคงเป็นจิต ไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกแต่ละ ๑ ก็เป็นเจตสิก ซึ่งก้าวก่ายสับสนกันไม่ได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 180
    20 ก.ค. 2567