ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
ตอนที่ ๙๘๕
สนทนาธรรม ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นนะครับ อย่างเยาวชนเนี้ย ก็ได้รับการปลูกฝังมาอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ปลูกฝัง ให้เป็นคนมีเหตุผล หรือว่าต้องเชื่อ ถึงแม้ว่าจะได้รับการสั่งสอนให้เชื่อ แต่อุปนิสัยที่สะสมมาที่จะมีเหตุผล ก็สามารถที่จะไตร่ตรองได้ไม่อย่างงั้นนะคะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ท่ามกลางความเห็นผิด แต่คนที่เห็นผิดนี่ค่ะสะสมมาที่จะเข้าใจถูก และเป็นคนที่มีเหตุผล ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ซึ่งเป็นเหตุ และเป็นผล ให้คนรู้ความจริง ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า ถูกปลูกฝังมาอย่างไร แล้วก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้นะคะ สิ่งที่ถูกปลูกฝังมาเนี่ย ถูกต้องมั้ย ผิดหรือถูก แล้วถ้าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่เป็นประโยชน์ ควรจะกระทำต่อไปมั้ย ทุกคนเป็นหนึ่ง ไม่มีใครบังคับได้เลยค่ะ จะคิดยังไงจะทำยังไงจะเชื่ออย่างไร เป็นอิสระนะคะ ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ด้วยเหตุนี้แต่ละอัธยาศัย จึงเป็นผู้ที่รู้ว่าเป็นคนมีเหตุผลหรือเปล่า เป็นคนที่สะสมมาที่จะพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดหรือเปล่า หรือเป็นคนที่ใครบอกอะไรก็ทำตาม ถ้าเป็นคนที่บอกอะไรก็ทำตาม ไม่ใช่ชาวพุทธ เพราะพุทธะคือปัญญา ปัญญาต้องเป็นเหตุ และเป็นผล ต้องรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด จึงจะเป็นชาวพุทธ เพราะฉะนั้นไม่มีธรรมเนียมที่ว่า ให้ชาวพุทธบวช หรือที่จะปลูกฝังกันมานะคะ เดี๋ยวนี้เราไม่พูดถึงอดีตเลยค่ะ เสียเวลาที่จะกล่าวถึงอดีตผ่านพ้นไปแล้ว ไปแก้ไขอะไรได้ ณ วันนี้ตั้งต้นใหม่ ได้ยินคำที่ต้องพิจารณาแล้ว ว่าอะไรมีประโยชน์กว่ากัน ถ้าเป็นชาวพุทธจริงๆ ต้องมีเหตุผล และต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอที่จะรู้ และสามารถที่จะไตร่ตรองว่าเป็นความจริง ซึ่งคนนั้นไม่เปลี่ยนค่ะ ถ้าจะบอกว่าธรรมคืออะไร แต่ก่อนตอบไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็พูดเรื่องเป็นเด็กดี เป็นคนดี เป็นลูกที่ดีแต่คืออะไร ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมจริงๆ จะตอบไม่ได้เลยนะคะ ว่าคืออะไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ค่ะ ทรงตรัสรู้ความจริงว่าคืออะไร แล้วแสดงความจริง เพราะฉะนั้นการที่จะถือว่า เมื่อเกิดเป็นผู้ชายแล้วต้องบวช โดยไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเลย ผิด ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะไม่เป็นเหตุ และเป็นผล บวชทำไม ตอบได้มั้ยไม่รู้อะไร รู้ไหมว่าชีวิตของพระภิกษุต่างกับคฤหัสถ์โดยสิ้นเชิง จะทำทุกอย่างอย่างที่เคยทำ ที่เคยเป็นคฤหัสถ์ไม่ได้ รู้หรือเปล่า ถ้าไม่รู้บวชยังไงคะ ไม่ได้สละอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องเป็นคนที่ตรง และก็กล้าหาญที่จะรู้ว่า จะมีชีวิตอย่างเดิม ไม่มีเหตุผล ไม่กล้า หรือเป็นผู้ที่เห็นว่าสิ่งใดมีประโยชน์ ชีวิตก็แสนสั้น ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และตั้งแต่ ณ วันนี้เรายังมีอีกมากมายนะคะ ซึ่งได้เคยทำมาแล้วที่ไม่เป็นประโยชน์ ที่จะต้องแก้ไข เพราะฉะนั้น อยากจะถามผู้ชายทุกคนที่อยู่ที่นี่นะคะ นักศึกษาเนี่ย จะบวชไหม เริ่มเป็นคนที่มีเหตุผล เพื่อที่จะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เชื่อคำของคนอื่น
ผู้ฟัง จากคำถามว่าจะบวชไหม ผมคิดว่าไม่จำเป็นครับ ถ้าบวชแล้วไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ใช่ไหมครับ แต่ว่าถึงเราจะอยู่ในเพศของฆราวาส เราก็สามารถที่จะทำกิจของเราได้ ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่จะศึกษาธรรม เพื่อให้เข้าใจธรรมได้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปบวชด้วยความไม่รู้ครับ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าถ้าไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ไม่มีประโยชน์ครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่ต้องบวช
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ จะบวชทำไม ถ้าไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นประเพณี ที่ว่าชาวพุทธที่เป็นผู้ชายต้องบวชเนี่ย ไม่ใช่ประเพณีที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง ครับ ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นประเพณีใดๆ ก็ตามนะคะ ที่เคยมีมานานแล้วนี่ค่ะ ควรจะได้พิจารณาให้เข้าใจถูกต้องว่า อะไรถูกอะไรผิด ไม่ยังงั้น เราไม่มีการแก้ไขเลย เราก็ทำสิ่งที่ผิดต่อไปใช่ไหมคะ แต่ถึงเวลาหรือยัง ที่ชาวพุทธผู้ที่เข้าใจธรรมแล้ว รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ จะตื่นขึ้นอย่างคุณอภิวิชญ์ ที่จะได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าความถูกต้องถูก และความผิดต้องผิด ถ้าไม่เข้าใจธรรมแล้วบวชทำไม ไม่ใช่ว่าตามประเพณีว่าต้องบวช เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้นะค่ะ เมืองไทยซึ่งกล่าวว่าเป็นเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นผู้ที่เริ่มเห็นความจริง ที่ต้องเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นประเภทนีเก่าๆ เนี่ย ก็จะต้องพิจารณาแก้ไขให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วนะคะ ก็เป็นผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธแน่นอน
อ.คำปั่น และที่สำคัญนะครับ การที่จะทดแทนพระคุณของบิดามารดานี่ครับ ไม่ใช่การบวช แต่ว่าเป็นการตั้งใจประพฤติตนเป็นคนดีนะครับ ดูแลท่านให้ดีที่สุดทำกิจแทนท่าน ทำสิ่งที่เหมาะควร เวลาที่ท่านเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ดูแลรักษาปรนนิบัตินะครับ นี่คือ สิ่งที่สามารถที่จะกระทำได้นะครับ เป็นประโยชน์แก่ท่านอย่างยิ่ง แต่ถ้าไปบวชแล้วนะครับ กิจเหล่านี้ยังจำกัดด้วยพระวินัย เพราะฉะนั้นเป็นคฤหัสที่ดี ดูแลตอบแทนพระคุณบิดามารดานะครับ สามารถที่จะกระทำได้ แล้วก็ทำได้อย่างดีที่สุดด้วยนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเป็นคนดี แล้วก็เข้าใจธรรม ลูกคนใดนะครับ ที่เข้าใจธรรม แล้วก็สามารถที่จะเกื้อกูล ให้ผู้ที่เป็นบิดามารดาได้เข้าใจด้วย นี่คือสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เป็นการตอบแทนพระคุณที่ประเสริฐที่สุดครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ และการที่จะทดแทนคุณของผู้ที่มีคุณคือ มารดาบิดา หรือใครก็ได้นะคะ ทำได้ทุกวัน ทุกโอกาส ไม่ต้องคอย ไม่ต้องรอ จะไปบวชแทนคุณใครเลยนะคะ เพราะว่าไม่รู้ว่าบวชแล้วทำอะไร แล้วก็ทำไมต้องบวช ไม่ได้แทนคุณใครเลยทั้งสิ้น แต่การที่ชีวิตประจำวันนี่ค่ะ ประพฤติเป็นไปในทางที่ถูกต้อง ในทางที่สมควร ทำสิ่งที่ดีเมื่อไหร่ เป็นการแทนคุณบุคคลผู้ที่ต้องการให้เราดี พ่อแม่ทุกคนค่ะอยากให้ลูกดี ถึงยังไงยังไงก็ตามแต่นะคะ จะมีความรู้มีความสามารถมีอะไรก็ตาม แต่ก็พ่อแม่ก็ยังอยากให้ลูกเป็นคนดี ไม่ใช่เพียงแต่มีความรู้แล้วก็เป็นคนไม่ดี เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่าความดีนี่ค่ะจะแทนคุณของผู้ที่ได้ทำคุณต่อเราได้
อ.อรรณพ ทีนี้ก็จะให้อาจารย์คำปั่นได้กล่าวถึง หน้าที่ของผู้ที่เป็นบุตร ต่อมารดาบิดา ซึ่งเป็นมงคลข้อหนึ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงไว้เลยนะฮะ
อ.คำปั่น ถ้ากล่าวถึงหน้าที่ของผู้ที่เป็นบุตรธิดานะครับ ที่จะพึงกระทำต่อบิดามารดานะครับ ก็มีแสดงไว้นะครับ ในสิงคาลกสูตร ซึ่งก็มีแสดงไว้นะครับ ว่าผู้ที่เป็นบุตรธิดานะครับ เมื่อรู้ว่าผู้ที่เป็นบิดามารดา มีคุณอย่างไรนะครับ ก็ตอบแทนพระคุณของท่านดังนี้นะครับ ก็คือ ๑ ท่านเลี้ยงเรามา ก็ต้องเลี้ยงท่านตอบ ดูแลท่านอย่างดีนะครับ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ประการที่ ๒ ก็คือทำกิจแทนท่าน เมื่อท่านมีภาระหน้าที่อะไร ที่เราสามารถที่จะแบ่งเบา ช่วยเหลือท่านได้ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ประการที่ ๓ นะครับ ก็คือดำรงวงศ์ตระกูล อันนี้เป็นการกระทำที่เหมาะควร เป็นการทำความดีอย่างเช่น ถ้าครอบครัวพ่อแม่เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีการฟังธรรมศึกษาธรรม ก็คล้อยตามนั้นดำรงความถูกต้อง ดำรงในคุณความดี ถ้าผู้ที่เป็นบิดามารดามีความเห็นผิด มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ก็สามารถที่จะทำให้ท่านดำรงอยู่ในความถูกต้องได้ ด้วยพระธรรมคำสอนที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ประการที่ ๔ ก็คือทำตนให้เหมาะสม ที่จะได้รับทรัพย์มรดก ไม่ใช่ว่าหวังสิ่งตอบแทน แต่ว่าทำกิจที่ควรทำ และประการสุดท้ายนะครับ ก็คือเมื่อท่านลาจากโลกนี้ไปแล้วนะครับ ก็คือไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้วก็ ทำความดี และอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน นี่คือสิ่งที่ควรทำ และก็ทำได้ทุกโอกาสทุกเมื่อไม่ต้องรอด้วยครับ อาจารย์อรรณพครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่คิดเอง ใครก็คิดได้ ต่างคนต่างคิดไม่ใช่นะคะ แต่ผู้ที่จะเข้าใจความจริงทั้งหมด โดยตลอดถึงที่สุด คือพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงแสดงความจริงไว้ทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นก็ต้องพิจารณาว่า ไม่มีการที่จะกล่าวว่าให้บวชแทนคุณ เพราะอะไร เพราะว่าถ้าผู้นั้นไม่ได้สะสมอัธยาศัยที่จะสละอาคารบ้านเรือน สามารถที่จะมีชีวิตที่ละ สละความสะดวกสบาย ความสนุกสนานทั้งหมด ดำรงเพศอยู่ด้วยการที่ อุทิศชีวิตทั้งหมดเนี่ย ต่อการที่จะศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ และประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัย ถ้าไม่เป็นอย่างนี้นะค่ะ ไม่ใช่ผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ และการบวชนั้นไม่ใช่การบวช ตามธรรมวินัย เพราะเหตุว่าถ้าเป็นการบวชตามธรรมวินัย ต้องศึกษาพระธรรม และประพฤติตามพระวินัย เพราะฉะนั้นจะเห็นได้นะคะ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็คือว่า ไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย ซึ่งเป็นโทษ
สนทนาธรรมที่โรงแรมวินเทจ เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ก่อนอื่นเนี่ย จะขอให้ท่านอาจารย์กล่าวถึง พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญก็คือว่าเราต้องคิดถึงว่า ความจริงทุกคนปฏิเสธไม่ได้ ก็คือว่าทุกคนจะจากโลกนี้ไปเมื่อไร ไม่มีใครรู้ได้เลย เย็นนี้ก็ได้ พรุ่งนี้ก็ได้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นประโยชน์อย่างยิ่ง ในชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่เกิดมาอยู่ที่ไหน เราก็สนุกสนานรื่นเริงมีความสุขทุกข์มาแล้ว แล้วก็หมดแล้ว ไม่เห็นเหลือเลย แล้วก็จะจากโลกนี้ไป โดยไม่ได้เข้าใจความจริง แล้วก็ไม่ได้รู้จักเพราะสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการฟังคำของพระองค์นะคะ ซึ่งแต่ละคำเนี่ยลึกซึ้งมาก อย่าลืม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนี่ย จะต้องไม่เหมือนใคร คำพูดทุกคำของพระองค์เนี่ย ต้องต่างจากคนอื่น เพราะเหตุว่ามาจากการที่ทรงตรัสรู้ความจริง ของสภาพธรรม โดยอาศัยการบำเพ็ญพระบารมี คือคุณความดีซึ่งยากแสนยาก ที่ใครจะทำได้อย่างนั้นนะคะ นานถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ กว่าจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งดูเป็นธรรมดา แต่ไม่มีใครรู้เลยนะคะ แต่ว่าคำของพระองค์ทุกคำนี่ค่ะ เป็นปัญญาที่สามารถจะทำให้ เกิดความเข้าใจ แต่ผู้ฟังนี่ค่ะ ต้องรู้ว่าประโยชน์ของชีวิต อยู่ที่ความเข้าใจ สิ่งที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน แล้วก็มีจริงตั้งแต่เกิดจนตายคิดดูค่ะ ตั้งแต่เกิดจนตายเนี่ย อยู่มาด้วยความไม่รู้ความจริง ของสิ่งที่มีจริงนะคะเพราะฉะนั้นประโยชน์จริงๆ เนี่ย คือความเป็นคนตรง จริงใจต่อประโยชน์ต่อเหตุผล ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ไม่ตรง ไม่มีทางที่จะเข้าใจพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงนะคะ คือสิ่งที่มีจริงทุกขณะ แต่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นการฟังเนี่ยไม่ใช่หวังจะให้จิตสงบ ไม่ได้หวังให้ใจสบาย บางคนก็บอกฟังแล้วสบาย ผิดเลยใช่ไหมคะ ไม่ต้องฟังก็สบาย ไม่ใช่เหรอค่ะ แล้วทำไมจะฟังแล้วสบาย เพราะฉะนั้นจะมีความต่างอะไรกัน กับคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้เราแค่สบายใจ เพราะฉะนั้นคำของพระองค์นี่ค่ะ ต้องต่างกับคำของคนอื่นโดยสิ้นเชิง ถ้าใครคิดว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าง่าย ดูหมิ่นพระองค์หรือเปล่า ประมาทพระปัญญาคุณหรือเปล่า แม้แต่จะกล่าวว่าพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณนะคะ อยู่ที่ไหนคะ อยู่ที่ความเข้าใจของเราแต่ละคน ถ้าเราไม่เข้าใจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะบอกว่าเรารู้ว่าปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ รู้ได้ยังไง เมื่อไม่เข้าใจคำของพระองค์ เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ตรง ความตรงก็คือว่าเป็นเหตุเป็นผล และก็เป็นความถูกต้อง สิ่งใดผิดนะคะ รีบทิ้งไปเสีย อย่าเก็บไว้ เพราะจะสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นยากที่จะเอาออกได้ เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่ผิดนะคะ ตัดไปเลย อย่าเข้าใกล้แม้เพียงคิด ใช่ไหมคะ คิดผิดๆ ต่อไปเรื่อย คิดยาวๆ ก็ผิดๆ ต่อไป เพราะความคิดเนี่ยไม่เคยหยุดเลย มีใครคิดสั้นๆ แค่คำเดียวบ้าง คิดแล้วก็เป็นเรื่องยาวนะคะ ต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าคิดผิดตั้งแต่ต้น ก็ผิดไปตลอด จนถึงชาติต่อๆ ไป สะสมความเป็นผู้ไม่มีเหตุผลไม่ตรง และก็เชื่อบุคคลซึ่งพูดคำซึ่งไร้สาระ ไม่ได้ทำให้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีได้เลย เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนะคะ ไม่ใช่หวังเป็นพระโสดาบันไม่ใช่หวังไปปฏิบัติธรรม แต่เข้าใจคำด้วยความเคารพอย่างยิ่งว่า แต่ละคำเนี่ยเป็นคำจริงซึ่งกว่าจะรู้อย่างนั้นได้ ไม่ใช่ว่าฟังแล้วเข้าใจได้ทันที ถ้าใครเข้าใจได้ทันที ไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เพราะว่าความละเอียดของแต่ละคำนะคะ ๔๕ พรรษาประมวลไว้เป็น ๓ ปิฏก พระสุตตันปิฏก ได้ยินกันบ่อยๆ นะคะ น้อยคนจะได้ฟังพระอภิธรรม แล้วก็น้อยคนที่จะได้ฟังพระวินัย แต่ทั้งหมดเนี่ยทุกคำเป็นคำที่มีประโยชน์อย่างยิ่งนะคะเพราะฉะนั้นพระวินัย ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ จึงไม่สนใจแปลว่าผู้นั้นไม่เห็นประโยชน์ พระสูตรธรรมดา บางทีก็สั้นมาก แต่ว่าทุกคำเนี่ยเป็นความลึกซึ้งอย่างยิ่ง คิดว่าเข้าใจแล้วแค่นั้น ก็ไม่แสดงว่ามีความเคารพในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอภิธรรมนะคะ อภิ ลึกซึ้ง ละเอียดยิ่ง เพราะฉะนั้นก็ยาก เพราะฉะนั้นใครหวังจะเป็นพระโสดาบันบ้าง คะ ใครหวังจะให้จิตสงบเป็นสมาธิหรืออะไร แต่นั่นไม่ใช่การที่จะถึงความเข้าใจ พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่จะเข้าใจพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะคะ อยู่ที่ขณะใดที่เข้าใจ แต่ละคำของพระองค์แล้วนั่นคือปัญญา ไม่เรียกปัญญาก็ได้ แต่ว่าถ้าไม่เรียกแล้วจะรู้ได้ยังไงว่าหมายความถึง สภาพธรรมที่มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูกในสิ่งที่มี ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงเนี่ย แต่ละคำ แต่ละคำ ให้คนเนี่ย ได้ไตร่ตรองได้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นพระคุณนะคะ แล้วปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา คือค่อยๆ ปรุงแต่ง ที่จะเป็นความเข้าใจธรรมที่มีนะคะ โดยไม่มีใครไปทำ เพราะว่าเกิดแล้วทั้งหมด เสียงเกิดแล้วดับแล้ว ใครทำ เห็นขณะนี้ก็เกิดแล้ว ดับแล้วอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถที่จะรู้ความจริงได้นะคะ ทรงพระมหากรุณาแสดงความจริงให้คนอื่นเนี่ย ได้เริ่มเข้าใจถูกว่า ถ้าจะรู้ความจริงก็เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ขณะอื่นเลยเพราะว่าขณะนี้มีสิ่งซึ่งไม่เคยรู้มานานแสนนาน แล้วถ้าจะรู้ความจริงก็คือรู้ความจริงของสิ่งที่เดี๋ยวนี้มี จนกระทั่งค่อยๆ รู้ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นใครสามารถที่จะกล่าวถึงพระคุณ ย่อๆ ได้ไหมคะ ๓ ปิฏก ทุกคำมีความหมายที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะทำให้เข้าใจเพื่อละความไม่รู้ และละกิเลส ทุกคนได้ยินคำว่าละกิเลส รีบละ อยากละ เอาอะไรไปละ อะไรอะไรก็ละกิเลสไม่ได้นอกจากปัญญา เพราะว่ากิเลสเกิดจากความไม่รู้ อวิชชา ไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะละความไม่รู้ ก็ต่อเมื่อวิชชาความรู้เกิดขึ้นขณะไหน และความไม่รู้ขณะนั้นเท่านั้น และมีความไม่รู้เนี่ยมากมายมหาศาลแค่ไหนค่ะ ตั้งแต่เกิดมาจนถึงเดี๋ยวนี้ และยังชาติก่อนๆ อีกนับไม่ถ้วนเลย เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้เลยนะคะ ว่าจริงๆ แล้วนะคะ ทุกคนที่ฟังธรรมเนี่ย ฟังเพื่อเข้าใจ เข้าใจไม่ใช่เรา แต่เข้าใจเป็นสิ่งที่เกิด เพราะได้ยินได้ฟังแล้วไตร่ตรอง และเข้าใจอะไร เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำพูดถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำใดก็ตามที่ไม่ได้กล่าวถึง สิ่งที่มีจริงให้เข้าใจถูกต้อง คำนั้นไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะ ขั้นฟังเนี่ย ปัญญาเรายังไม่ถึงขั้นที่จะเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรมหรือว่า
ท่านอาจารย์ ปัญญาเรา เมื่อกี้นี้นะคะ ฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ต้องปัญญาเราละ แต่ละคำเนี่ย เข้าใจคำที่ได้ฟังแค่ไหน ไม่ใช่เราด้วย เพราะฉะนั้นไม่มีเราฟัง เพื่อไม่มีเรา แต่ฟังเพื่อปัญญาเราไปเรื่อยๆ นั่นคือผิด ไม่ใช่เราเห็นไหมคะดีกว่าเป็นเรามั้ย คิดดูค่ะแค่ไม่ใช่เราเนี่ยดีกว่าเป็นเรามั้ย นี่ก็ไม่ใช่เรา นั่นก็ไม่ใช่เรา ดีกว่าเราเราเราใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นนี่ก็ไม่ใช่เรา ดีกว่านี่เป็นเรามั้ย
ผู้ฟัง อาจารย์คะ อย่างจะไปบวชเนี่ยนะคะ เค้าก็จะถือพานดอกไม้ธูปเทียนมาขออโหสิกรรม ในสิ่งที่ได้ทำไม่ดี ไว้ทั้งกายวาจาใจ
ท่านอาจารย์ คำตอบก็คือว่าเข้าใจทีละคำ ถ้าไม่เข้าใจแต่ละคำแล้วไงคะ จะอธิบายกันยังไง ไม่เข้าใจสักคำ แต่ถ้าเข้าใจทีละคำ การที่เข้าใจคำนั้นแหละตอบทั้งหมด
ผู้ฟัง อย่างอโหสิกรรมมีในประเพณีของพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ เราได้ยินคำภาษาบาลี โดยที่ว่าเราไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่าคำนั้นคืออะไร หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นคนไทยใช้คำภาษาอื่น ผิดๆ ถูกๆ ไม่ตรงตามภาษานั้น อย่างอโหสิเนี่ย พูดบ่อยแปลว่าอะไร
ผู้ฟัง หนูไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
ท่านอาจารย์ แค่ไม่ทราบแล้วพูด แล้วจะให้ใครรู้นะคะ คนโน้นก็ไม่รู้ คนนี้ก็ไม่รู้ แต่ก็พูดกันไปหมด เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมทีละคำเนี่ยถูกมั้ย เพราะถ้าเข้าใจคำหนึ่งก็เข้าใจคำอื่นด้วย แต่ถ้าไม่เข้าใจคำหนึ่งๆ จะให้เข้าใจคำอื่นๆ ทั้งหมดได้ยังไงก็ไม่เข้าใจทุกคำ โดยเฉพาะคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา เอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำมาพูด มาใช้ ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นทุกคน ก็พูดคำว่าอโหสิกรรมแต่ถามว่าอโหสิคืออะไร กรรมคืออะไร ไม่ใช่พูดอโหสิกรรมโดยไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นชาวพุทธนะคะ ก็จะไม่พูดคำที่ไม่รู้จัก ถ้ารู้สึกตัวได้พูดคำที่ไม่เข้าใจ ก็ศึกษาสิเพื่อจะได้ไม่ทำลายคำสอนของพระศาสนา โดยความเข้าใจของตัวเองผิดๆ ใช้คำว่าอโหสิกรรมหมายความว่า ขอเชิญคุณธิดารัตน์ค่ะ
อ.ธิดารัตน์ คำว่าอโหสิกรรมนะคะ ก็หมายถึงกรรมที่ได้ทำแล้ว แต่วิบากเนี่ยจะให้ผลหรือไม่ให้ผลเนี่ยก็ได้
ท่านอาจารย์ ค่ะ อโหสิหมายความว่า ที่ได้ทำแล้ว อโหสิกรรม กรรมที่ได้ทำแล้ว ถ้าคนนั้นไม่เข้าใจคำนี้ อย่าใช้ แต่เขาอาจจะเพียงแค่ขอโทษ อะไรที่ทำไว้ที่ไม่ดีนะคะ ขอโทษด้วย แค่นี้เราก็เข้าใจ แต่มาพูดคำที่ไม่รู้จัก อโหสิกรรมกันได้ยังไงคะ ชอบใช้คำที่ไม่รู้จักแต่ผิด เพราะฉะนั้นต่อไปนี้นะคะ ถ้าเป็นชาวพุทธคือผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หมายความว่าเข้าใจ พุทธะแปลว่ารู้ ไม่ใช่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นคนไม่รู้ไม่ใช่ชาวพุทธ ชาวพุทธต้องเป็นผู้รู้ ผู้เข้าใจถูก ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น อะไรที่ได้ทำผิดไปแล้ว ขอโทษด้วย เราจะขอโทษแค่นี้ ก็สั้นๆ ง่ายๆ ไม่ต้องมานั่งคิดว่าอโหสิกรรมนี่มันคืออะไร ไม่รู้แล้วก็พูดกันต่อเลย พอไม่รู้ก็ตอบไปเลย ก็ไปขออโหสิกรรมกันไปหมดไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นแล้ว เรายังจะคงเป็นคนที่ใช้คำผิดผิดถูกถูก แล้วก็ต่อไปจะยิ่งผิดผิดผิดขึ้น ถ้าไม่ศึกษาให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นอโหสิกรรม กรรมที่ได้ทำแล้วมีผลไหมคะ เพราะอะไร เพราะกรรมเป็นเหตุ นี่ค่ะพระพุทธศาสนานะคะ เป็นเรื่องของเหตุ และผล ที่สามารถที่จะเข้าใจ ตามความเป็นจริงได้ว่า อะไรอะไรถ้าไม่มีเหตุเกิดได้ไหม ไม่ได้ แต่ที่เกิดแล้วเนี่ย ต้องเป็นไปตามเหตุใช่ไหม ต้องเป็นไปตามเหตุ ไม่ใช่เหตุอย่างหนึ่งให้ผลอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าเหตุที่ได้ทำแล้ว เป็นปัจจัย ปัจจัยคือธรรมที่เกื้อกูล สนับสนุนก่อตั้งทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกรรม การกระทำที่ได้ทำแล้วนี่ค่ะ ไม่ได้หมดสิ้นไปเลยนะคะ สะสมสืบต่ออยู่ในจิต จิตคือทุกคนเข้าใจคร่าวคร่าว ว่าทุกคนมีจิต แต่ถ้าถามจริงๆ ว่าจิตคืออะไร ก็ตอบไม่ได้ นี่คือการไม่ศึกษา เหมือนรู้ แต่ไม่รู้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020