ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
ตอนที่ ๙๙๐
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมวินเทจ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงต้องใช้คำ ให้เป็นที่รู้ร่วมกัน ว่าคำนี้ทุกคนที่ได้ฟัง รู้ร่วมกันว่าหมายความถึงสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นก่อนอื่นนะคะ ต้องเข้าใจว่าธรรมไม่มีชื่อนี่แน่นอน แต่ธรรมถ้าเกิด และดับไป ไม่มีอะไรสืบต่อเลยก็ไม่ปรากฏเพราะเร็วมาก ที่ปรากฏเนี่ยนับไม่ถ้วนหลายขณะแล้ว จนกระทั่งการเกิดดับสืบต่อนะคะ ทำให้เกิดปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐานที่เห็นด้วยตา เห็นอะไรคะ คิ้ว จมูก หู เห็นไหมคะเป็นรูปร่างเป็นสัณฐานต่างๆ ไม่เรียกเลยก็ได้ แต่ก็ยังเห็นความต่าง เพราะการเกิดดับสืบต่อของธรรม ด้วยเหตุนี้นะคะ ปัญญัติในภาษาบาลี ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่าบัญญัติหมายความว่ารู้ได้โดยอาการนั้นๆ ไม่ต้องเรียกชื่อก็รู้ได้ ใช่ไหมคะ งูเห็นสัตว์ที่กินได้ ไม่รู้เลยว่าชื่ออะไร คนไทยตั้งชื่อสารพัด ทางวิชาการต่างๆ ตามชื่อชาวบ้านชาวเมืองแต่ละท้องถิ่น แต่งูไม่ต้องรู้เลยค่ะ กินได้ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นเขาสามารถที่จะรู้ปัญญัตติคือรู้ได้โดยอาการนั้นๆ เป็นสิ่งนั้นแม้ไม่มีชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงมีปรมัตถสัจจะกับบัญญัตติ หมายความว่าบัญยัติหรือสมมตินี่นะคะ ก่อนที่จะถึงสมมติเนี่ย ก็ต้องเข้าใจปัญญัตติก่อนว่ายังไม่มีคำแน่ๆ เด็กเกิดมาเนี่ยเห็น เห็นเหมือนเราเห็นไหมคะ เหมือนเลยไม่ได้ต่างกันเลย แต่เรารู้ใช่ไหมว่าอะไร แต่เด็กรู้มั้ยไม่รู้ แต่รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏกับเด็ก ก็ต้องเหมือนกับสิ่งที่ปรากฏกับทุกคน เปลี่ยนไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นรูปร่างสัณฐานที่ปรากฏให้รู้ได้ โดยอาการนั้นนั้นนะคะ ใช้คำว่าปัญญัติ หมายความว่ารู้ได้โดยอาการนั้นๆ แต่ว่ารู้ได้โดยอาการนั้นๆ แล้วจะบอกใครเรื่องอะไร ก็ต้องมีคำสมมติ ใช่ไหมคะ โดยเสียงเป็นสัททบัญญัติ บัญญัติโดยเสียงว่าเสียงนี้หมายความถึงสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นแต่ละเสียงในแต่ละภาษา ก็หมายความถึง สิ่งที่ทุกคนรู้ใช่มั้ยคะ เพราะว่าใช้ภาษานั้น ด้วยเหตุนี้ถ้าคุณสุพรรณริท อยากจะเปลี่ยนคำว่าโทสะเป็นโลภะ ก็ต้องบอกคนนั้นก่อน พวกเรานะต่อไปนี้ เราไม่เรียกโลภะนะ เราจะเรียกโลภะว่าโทสะ เพราะฉะนั้นเฉพาะพวกที่รู้กัน สัมมุติคือรู้ร่วมกัน รู้อย่างเดียวกัน เหมือนกันว่าคำนี้หมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นในระหว่างพวกที่สมมติ ไม่เรียกโลภะแต่เรียกว่าโทสะ พอพูดโทสะเขาก็คิดถึงโลภะ เพราะเค้ารู้ร่วมกันว่า ต่อไปนี้เราจะเปลี่ยนคำนี้เป็นอย่างนี้ แต่สำหรับคนอื่นเค้ารู้ร่วมกันว่าโทสะ เขาก็ยังคงเป็นโทสะ แต่ใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนลักษณะของโทสะได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีปรมัตถสัจจะจริง และก็โดยการที่ว่าสภาพธรรมนั้นเกิดดับสืบต่อ ไม่ว่าจะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนะคะ ก็ทำให้ปัญญัติรู้ได้โดยอาการนั้นๆ และก็มีการสมมติ มีเสียงเป็นสัททบัญญัติ ถ้าใช้คำว่าเอ๊ะ ทุกคนเข้าใจเลยใช่ไหมคะ ใช่คำว่าดี ทุกคนก็เข้าใจกัน เป็นสัททบัญญัติให้เข้าใจว่าหมายความว่าอะไร นี่ค่ะก็คือเข้าใจธรรมแล้วก็รู้เลยว่า แต่ละคำเนี่ย หมายความว่ายังไง
ผู้ฟัง กราบสวัสดีท่านอาจารย์ และท่านวิทยากรทุกท่านนะคะ อาจารย์คะสงบจากความไม่รู้ ขอรบกวนอาจารย์ขยายความด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์ เห็นดอกไม้สวยๆ ชอบมั้ย
ผู้ฟัง ชอบค่ะ
ท่านอาจารย์ กำลังชอบสงบมั้ย
ผู้ฟัง กำลังชอบสงบมั้ย
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ไปทำความเดือดร้อนให้ใครเลยค่ะ สงบมั้ย
ผู้ฟัง สงบคะ
ท่านอาจารย์ นั่นคือผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรม คิดเองหมดเลย ไม่รู้จักความสงบ คิดว่าไม่ได้ไปทำใครให้เดือดร้อน คิดว่านั่งเฉยๆ ไม่ได้พูดไม่ดี ไม่ได้คิดไม่ดี แต่ห้ามความคิดได้มั้ย
ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะเข้าใจจริงๆ นะคะ เพียงแค่เห็นแล้วไม่รู้ความจริงว่าเห็นไม่ใช่เรา ก็ไม่สงบ เพราะมีความติดข้องในเห็นว่าเป็นเรา ตราบใดที่มีความติดข้องนะคะ นั่นคือความอยาก ความต้องการ ความไม่ละ เพราะฉะนั้นไม่มีวันสงบ ไม่ละคืออยากได้ เมื่ออยากได้แล้วสละไม่ได้เลยค่ะ ติดข้อง ต้องการไม่สิ้นสุด เมื่อวานต้องการอะไรบ้าง วันนี้ต้องการอะไรบ้าง เอาเดี๋ยวนี้เลยค่ะ ต้องการอะไร ต้องการรู้ ใช่ไหมคะ แต่ว่าต้องรู้เลยค่ะว่า เข้าใจกับความไม่เข้าใจต่างกันละ ความรู้กับความไม่รู้ก็ต้องต่างกัน ความติดข้องกับการละก็ต่างกัน ขณะนี้กำลังเป็นเราเห็นหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตอนนี้ก็เราเห็นอยู่
ท่านอาจารย์ และเห็นเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตอนนี้ก็ยังเป็นเรา
ท่านอาจารย์ ค่ะ แต่ความจริงเมื่อฟังแล้วนะคะ ถ้าไม่มีตาเห็นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ถึงแม้ว่ามีตานอนหลับ ไม่มีรูปมากระทบตาเห็นไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่เห็นค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเกิด เพราะเราอยากให้เห็นด้วยเปล่า
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ แน่ใจเหรอคะ เห็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ตกใจมาก อยากเห็นมั้ย
ผู้ฟัง ก็ไม่อยากเห็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเกิด เพราะเราอยากเห็นหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ แสดงว่าเห็นต้องเกิด เมื่อมีปัจจัย ที่จะให้เห็นเกิดใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่เข้าใจอย่างนี้ นั่นคือไม่สงบ เพียงเท่านี้ก็แสดงว่า อกุศลความไม่ดี ความไม่รู้ ความติดข้อง อะไรทั้งหมด ไม่สงบ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าความไม่ดีเนี่ยมีแค่ไหน เราเห็นโทสะชัดเจน ใช่ไหมคะ ประทุษร้ายจิตเดือดร้อนละ อยู่ดีๆ สบายๆ เกิดขุ่นใจขึ้นมา เดือดร้อนละใช่ไหมคะ เดือดร้อนเรา ยังเดือดร้อนคนอื่นอีก ถ้าไม่อยู่แค่เดือดร้อนใจตัวเอง ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความขุ่นข้องใจ ตามระดับขั้นนะคะ ตั้งแต่ขุ่นใจไม่เอ่ยสักคำ แล้วก็เผลอพูดออกไป ทำให้คนอื่นเค้าเดือดร้อน คนฟังได้ฟังสิ่งซึ่งไม่น่าฟังเลย ยังไม่พอนะคะ ยังว่าแรงๆ อีก เดือดร้อนมั้ย สงบหรือเปล่า ไม่รู้ตัวเลยค่ะ เพราะไม่รู้ ขณะที่ไม่รู้เนี่ยสงบหรือ กำลังมีความไม่รู้ ขณะนั้นสงบไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นบางคนคิดว่าไม่รู้อย่างนั้นแหละสงบ แต่ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะใดที่ไม่รู้บางทีไม่มีความติดข้อง ไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย และบางทีก็ไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วย แต่ไม่รู้ว่าคิดดูสิ เพราะเหตุว่า ขณะนั้นเป็นอกุศลแล้วจะสงบได้ยังไง แต่ถ้ามีปัญญาสงบความไม่รู้ ไม่มีเกิด เพราะรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ละเอียดยิ่ง จนกระทั่งทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีอย่างจิต ทุกคนมีจิตธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เช่นเห็นเป็นจิตเห็น ได้ยินเป็นจิตได้ยิน ไม่ใช่เราก็ต้องเป็นจิตเป็นเจตสิก ทรงแสดงว่าจิต ๑ ขณะ ประกอบด้วยเจตสิกกี่ประเภท โดยฐานะเป็นปัจจัยต่างกันอย่างไร เพื่อละความไม่รู้ค่ะ
ผู้ฟัง ขอกราบเรียนถามอาจารย์นะคะ เกี่ยวกับฌาน แล้วก็ญาณ การนั่งสมาธิสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ไหมคะ
อ.ธิดารัตน์ ถ้าพูดถึงฌานกับการบรรลุธรรมนี่นะคะ คนละเรื่องกัน สมัยก่อนเนี่ยนะคะ พระพุทธเจ้ายังไม่มาตรัสรู้เนี่ย ก็มีพวกดาบสเหล่าเนี้ยนะคะ ที่เห็นโทษของกิเลสเขาก็เจริญฌานได้ เหาะได้ด้วยอภิญญาด้วยซ้ำไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้นี่นะคะ ท่านแสดงหนทางที่ใช้คำว่า ทางสายกลาง หรือว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่นะคะ หนทางที่จะทำให้ดับกิเลส หรือเป็นแนวทางที่เป็นการอบรมเจริญวิปัสสนานั่นเองนะคะ เพราะว่าพวกได้ฌานเนี่ย แค่เพียงทำให้จิตสงบนะคะ ข่มได้ ใช้คำว่าเป็นสมถภาวนา เพียงข่มกิเลสได้เท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปทำอะไรกิเลสได้เลย แต่การอบรมเจริญวิปัสสนานี่นะคะ ถึงที่สุดก็คือการดับกิเลส แล้วก็เป็นพระอริยบุคคลแต่ละขั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจนะคะ ว่าธรรมที่เป็นสมาธิ เป็นได้ทั้งกุศล และอกุศล เพราะอะไรคะ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ๑ พอตั้งมั่นในอารมณ์นั้นนาน ลักษณะของสมาธิความตั้งมั่นก็ปรากฏ แล้วก็บอกว่าคนนั้นมีสมาธิ แต่ว่ามีปัญญาหรือเปล่า เพียงแต่จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์เดียวบ่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นน่ะคะมีปัญญา เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะไม่เข้าใจ เพราะมีความอยาก มีความต้องการที่จะทำให้สมาธิเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นแม้เป็นสมาธิก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ไม่ใช่กุศลด้วยเป็นอกุศล เพราะอะไรคะ เพราะอยากทำสมาธิ เริ่มต้นด้วยอกุศล แล้วก็จะให้ปัญญาเกิดได้มั้ย เพราะเริ่มต้นด้วยความอยาก แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยความเข้าใจถูกต้องว่าเป็นธรรม ซึ่งบังคับบัญชาไม่ได้ ก็สามารถที่จะรู้ได้นะคะ บางขณะก็เป็นอกุศล บางขณะก็เป็นกุศล ถ้าขณะใดก็ตามที่เป็นอกุศลขณะนั้นแม้สภาพที่ตั้งมั่น ซึ่งเป็นเจตสิกก็เป็นอกุศลด้วยเท่านั้นเองค่ะ เพราะฉะนั้นเห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหมคะ ว่าทุกคำชัดเจน เพราะกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ โดยละเอียดอย่างยิ่ง แม้ธรรม ๑ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ แล้วแต่สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งเท่านั้น แต่ขณะใดก็ตามที่จิตเกิดต้องมีสภาพนามธรรม ชื่อว่าเจตสิก ในภาษาไทยนะคะ ภาษาบาลีก็จะออกเสียงเป็นเจตสิกะ หมายความถึงนามธรรม ประเภทอื่นทั้งหลายที่ไม่ใช่สภาพที่เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งอารมณ์ เช่นโกรธ ติดข้อง สำคัญตนพวกนี้ค่ะ ก็เป็นลักษณะของเจตสิกประเภทต่างๆ เจตสิกมีจริงๆ แต่ไม่ใช่จิต เพราะว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งเท่านั้นเองค่ะ เช่นเห็นเนี่ยเป็นจิตกำลังเห็น ได้ยินเป็นจิตกำลังรู้เสียง แต่ว่าสภาพธรรมอื่นใดนอกจากนี้นะคะ ซึ่งไม่ใช่สภาพที่เห็น ได้ยิน ผู้ฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนั้นน่ะคะต้องเป็นเจตสิก แต่เกิดร่วมกัน จิตกับเจตสิกเกิดร่วมกัน ขณะเห็นมีเจตสิกเกิดกับจิตไหมคะ
ผู้ฟัง ต้องเกิดร่วมกัน
ท่านอาจารย์ มีค่ะ ขณะได้ยิน
ผู้ฟัง ก็มีค่ะ
ท่านอาจารย์ ขณะเกิด
ผู้ฟัง ก็มีค่ะ ทุกอย่างที่เกิดร่วมกัน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร จึงต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง เพราะจิตนี่มันเป็นใหญ่ แล้วก็ความรู้สึกมันตามกัน
ท่านอาจารย์ เพราะจิตต้องอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ถ้าไม่มีเจตสิกจิตก็เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีจิตเจตสิกก็เกิดไม่ได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะ ถ้าเราเรียนรู้พระธรรมวินัย คำสอนแล้วควรจะรู้เรื่องอภิธรรมด้วยไหมคะ
ท่านอาจารย์ ธรรมคืออะไรคะ สิ่งที่มีจริง
ผู้ฟัง ค่ะ
ท่านอาจารย์ บังคับบัญชาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ อีกคำหนึ่งใช้คำว่าปรมัตถธรรม ธรรมนั้นเป็นใหญ่ ใครก็เปลี่ยนแปลง ลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้เลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนแข็งให้เป็นหวานได้มั้ย
ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ นั่นคือปรมัตถธรรม ใครก็ไม่สามารถจะเปลี่ยน ปรมะ ใหญ่ยิ่งไม่มีใคร เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นได้เลย รู้ได้ง่ายไหมคะ อย่างเห็นนี่ เกิดดับแล้ว รู้ได้ง่ายมั้ย
ผู้ฟัง รู้ได้ไม่ง่ายค่ะ
ท่านอาจารย์ ยากใช่ไหมคะ แล้วก็ความรู้สึกเวลานี้ ก็มีรู้ง่ายมั้ย
ผู้ฟัง ไม่ง่ายค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมดลึกซึ้งมั้ย
ผู้ฟัง ลึกซึ้งมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมด เป็นปรมัตถธรรม ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเป็นอภิธรรม เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าธรรมไม่ใช่อภิธรรมไม่ได้ ธรรมทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรม และเป็นอภิธรรม เพราะฉะนั้นคำถามเมื่อกี้นี้ถามว่าไงคะ
ผู้ฟัง ถ้าเรียนรู้พระธรรมวินัย หรือคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ย แล้วเราควรจะต้องรู้อภิธรรมด้วยไหมคะ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าไงคะ
ผู้ฟัง ที่เค้าไปเรียนอภิธรรมกันค่ะ
ท่านอาจารย์ นั่นสิคะหมายความว่าไง แยกกันหรือเปล่า ธรรมกับอภิธรรม
ผู้ฟัง ไม่แยกกันค่ะ
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นอภิธรรม จะเรียนหรือไม่เรียน ธรรมก็เป็นอภิธรรม ไม่ใช่พอไปเรียนแล้ว ธรรมเป็นอภิธรรม
ผู้ฟัง ธรรมเป็นอภิธรรม
ท่านอาจารย์ ค่ะ ธรรมเป็นปรมัตถธรรมเป็นอภิธรรม จะเรียนหรือไม่เรียนธรรมก็เป็นธรรม ซึ่งเป็นปรมัตธรรมเป็นอภิธรรม แต่ถ้ากล่าวว่าเรียนอภิธรรมนะคะ หมายความว่า เรียนสภาพธรรมล้วนๆ ค่ะ ไม่ได้กล่าวถึง พระเจ้าปเสนทิโกศล วิสาขาวิคารมารดา หรือว่าท่านอนาถบิณฑิกะ หรือว่าเรื่องอื่นนะคะ แต่ตามความเป็นจริงนะคะ ธรรมเป็นธรรมตลอดทั้ง ๓ ปิฏก
ผู้ฟัง จะขอกราบเรียนถามอาจารย์อีกข้อหนึ่งค่ะ การนอนหลับเนี่ยเป็นความสุข เพราะฉะนั้นเวลานอนไม่หลับเนี่ย มันก็คือความทุกข์น่ะค่ะอาจารย์ การนอนไม่หลับเนี่ย มันดูเหมือนกับอกุศลกรรมกำลังให้ผล ค่ะ เรียนถามท่านอาจารย์ ค่ะ
ท่านอาจารย์ ก็เราไม่ได้เรียนอภิธรรม คือไม่ได้เรียนธรรมโดยละเอียด ไม่ใช่เป็นชื่ออภิธรรม แต่เพราะเหตุว่าเราไม่ได้เรียนหรือเข้าใจธรรมโดยละเอียด ว่าอะไรล่ะ
ผู้ฟัง ก็ทราบแต่ว่าขณะที่หลับก็เป็นวิบากจิตเนี่ย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะศึกษาอะไรนะคะ ไม่พ้นจากคำว่าธรรม สิ่งที่มีจริงเราพูดทั้งสิ่งที่มีจริง หลับมีจริงมั้ย ตื่นมีจริงมั้ย เป็นธรรมหรือเปล่า เป็น บังคับบัญชาได้มั้ย เป็นอภิธรรมหรือเปล่า เป็น เพราะไม่รู้เลยว่าไม่ใช่เรา แล้วเป็นอะไร เป็นจิตเป็นเจตสิกใช่มั้ย เพราะเหตุว่ารูปเนี่ยหลับมั้ย รูปมีตื่นมีหลับมั้ย
ผู้ฟัง ไม่มีฮ่ะ
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ ใช่ไหมคะ แต่ว่าธาตุรู้เกิดขึ้นแล้วต้องทำหน้าที่ของธาตุนั้นๆ เช่นธาตุเห็น ใช้คำว่าจักขุวิญญาณธาตุ ในภาษาบาลี ธาตุเห็นนะคะ ๑ เลย ธาตุชนิดนี้เกิดขึ้นแล้วต้องเห็น ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ธาตุเห็นหลับได้มั้ย
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แต่ธาตุเห็นทำอะไร เกิดขึ้นทำหน้าที่เห็นแล้วละ แล้วก็ดับไปนะคะเพราะฉะนั้นทรงแสดงธรรมโดยละเอียดยิ่ง ว่าจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปแต่ละ ๑ ทำกิจอะไร เพราะว่าเมื่อเกิดเป็นธาตุรู้ ต้องมีหน้าที่ค่ะ หน้าที่รู้นั่นแหละแต่รู้โดยอาการอย่างไร แต่ว่าจะเปลี่ยนเป็นสภาพไม่รู้ไม่ได้ ถึงหลับก็เป็นสภาพรู้ เห็นไหมคะ แม้หลับก็เป็นธาตุรู้ หลับเป็นธาตุรู้ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นทำกิจ ภวังกิจ ดำรงภพชาติ เพราะฉะนั้นเราใช้คำว่าหลับ หมายความว่ายังไม่ตาย แต่ยังมีจิต เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเกิดขึ้นแล้วนะคะ ก็ต้องทำกิจของจิตแต่ละประเภท หน้าที่ที่ธาตุรู้ซึ่งเป็นจิตเกิดขึ้นนะคะ ที่จะต้องทำกิจ มีทั้งหมด ๑๔ กิจ แต่จิต ๑ ทำได้กิจ ๑, กิจ ๑ ทำ ๑๔ กิจไม่ได้ เกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของตนของตน เช่นขณะนี้อ่ะค่ะ อภิธรรมคือธาตุรู้ เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ เป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมเป็นอภิธรรม จึงเริ่มเข้าใจว่าไม่มีเรา ถ้าเราไม่ได้ฟังความละเอียดนะคะ จะยังคงเป็นเราอยู่นั่นแหละ ยังไงยังไงก็เป็นเรา แต่พอมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น มากขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ความเข้าใจในขั้นการฟังนะคะ ก็ละความไม่รู้ขั้นฟัง ขั้นฟังเท่านั้นเลยค่ะ พอฟังสามารถที่จะบอกได้ รู้ได้ เข้าใจได้ ว่าจิตมีกี่กิจ จิตนี้ทำกิจอะไร ทำสับสนกันก็ไม่ได้ เพราะธาตุรู้ขณะนี้นะคะ เกิดขึ้นเห็นดับ ทำหน้าที่เห็น ๑ กิจ ใน ๑๔ กิจ กิจแรกมีมั้ยคะ กิจแรกของจิต กิจอะไร
ผู้ฟัง ปฏิสนธิกิจ
ท่านอาจารย์ ภาษาไทยก็เกิด เป็นชาติ ๑ ของทั้งหมด ในชีวิตนี้ คือชาติ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นโดยกรรมเป็นปัจจัย เลือกเกิดไม่ได้ จิตที่เกิดมีหลายประเภทนะคะ งูเกิดไหมคะ นกเกิดมั้ย คนตาบอดเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดฮ่ะ
ท่านอาจารย์ คนตาดีเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิด
ท่านอาจารย์ แต่หลากหลายใช่มั้ยค่ะ เพราะอะไรต้องมีเหตุ ทำให้เกิดเป็นคนตาบอดแต่กำเนิด หมายความทั้งชาตินั้นจะไม่มีกรรม ที่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้นแม้แต่รูปที่ร่างกายของเรา ที่ยึดถือว่าเป็นเราเนี่ยนะคะ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เนี่ย ก็ไม่สามารถที่จะเกิดตามใจชอบได้เลย เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีปัจจัยที่สมควร เพราะฉะนั้นแม้กรรมนี่ค่ะ ก็วิจิตรมาก ทำให้แต่ละคนเนี่ยนะคะ แล้วแต่กรรมที่จะให้ผลว่า เกิดแล้วมีตาหรือไม่มีตา แล้วมีตาสีอะไร เห็นไหมคะ วิจิตรมั้ย ตาสีฟ้าก็มี เขียวก็มี ดำก็มี น้ำตาลก็มี ทำได้ไหม ไม่ได้เลยเพราะเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นกรรมนี่ค่ะ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ความจงใจ ตั้งใจเนี่ยละเอียดมาก หนักเบาต่างกันมาก ถ้ามีคนร่วมกันนะคะ ฆ่าวัวตัวหนึ่ง เจตนาต่างกันละ บางคนไม่ค่อยอยากฆ่า บางคนอยากฆ่าใช่ไหมคะ แล้วก็มีความเพียรต่างกันด้วย สารพัดที่ ๑ ขณะจิตเนี่ยจะหลากหลายมาก ยากที่จะรู้ได้ ถ้าไม่ได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางจะเข้าใจได้เลย และพระองค์จะรู้มากกว่าเราสักแค่ไหน นับประมาณคำสอนที่แสดงแก่ชาวโลกเลยนะคะ เหมือนกับใบไม้ ๒ ๓ ใบในกำมือ แต่ว่าส่วนที่พระองค์ไม่ได้แสดงเท่ากับใบไม้ในป่า เพราะฉะนั้นไม่ต้องมีความสงสัยเลยค่ะว่า ปัญญาเนี่ยหลากหลาย และละเอียดมาก ต่างกันตามลำดับ จนกระทั่ง ทำให้แม้จะรู้สิ่งเดียวกันนะคะ ความเข้าใจยังต่างกัน อย่างท่านพระสารีบุตรกับท่านพระโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะ แต่คนละทาง เอตทัคคะหมายความว่า ไม่มีใครเสมอได้ เป็นเลิศในแต่ละทางนั้น ท่านพระสารีบุตรก็รู้แจ้งอริยสัจธรรม ดับกิเลสเป็นพระอรหันต์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็ดับกิเลสเป็นพระอรหันต์ แต่ปัญญาไม่เท่าพระสารีบุตร พระสารีบุตรปัญญาไม่เท่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่คือความหลากหลายของธรรมซึ่งละเอียดยิ่งนะคะ ล้วนแล้วแต่ต้องมีเหตุที่จะให้ผลนั้นๆ เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้แต่ละคนนี่ค่ะ ถ้าศึกษาธรรมแล้ว ก็เริ่มเข้าใจธรรมไม่ใช่เรา แต่ธรรมเป็นธรรม ละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้นนะคะ จนกว่าจะคลายการที่เคยติดข้อง ยึดว่าเป็นเรา รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเป็นจริง ที่จะค่อยๆ มั่นคงขึ้นว่าไม่ใช่เรา อย่างหลับเงี้ยต้องเป็นจิตชนิดนึง แต่ไม่ใช่จิตเห็น จิตเห็นหลับหรือเปล่า ไม่หลับน่ะ เห็นน่ะ จะหลับได้ยังไง จิตได้ยินหลับหรือเปล่า ก็ไม่หลับเพราะได้ยินใช่ไหมฮะ แต่จิตเห็นเมื่อไหร่ ขณะใดที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นจิตเกิดดับ ดำรงภพชาติ ยังไม่ทำให้จากความเป็นบุคคลนี้ ยังคงต้องเป็นบุคคลนี้ เพราะเหตุว่ากรรมทำให้ตื่นขึ้น จะหลับก็กรรมทำให้หลับ จะตื่นกรรมก็ทำให้ตื่น จะเดือดร้อนทำไมล่ะคะ ในเมื่อเราทำไม่ได้ ใช่ไหมคะ แต่เป็นเรื่องของกรรม ที่จะทำให้หลับหรือตื่น เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจอย่างละเอียด และทุกคำค่ะ เช่นคำว่าจิตเป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีจิต ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ ใช่ไหมคะ เช่นได้ยินเนี่ย ถูกจิตรู้ และจิตที่ได้ยิน เนี่ย เราเรียกว่าจิตได้ยินเกิดขึ้นทำกิจได้ยินเสียง ไม่ทำกิจอื่นเลยค่ะ ไม่หลับ ไม่คิด ไม่อะไรหมด แค่เกิดได้ยินแล้วดับ เราอยู่ที่ไหน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020