ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
ตอนที่ ๙๙๕
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมบียอน รีสอร์ท จ.กระบี่
วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ นี่คือจากการไม่รู้อะไรเลย ไม่เข้าใจอะไรเลย ไปทำสมาธิแต่เริ่มรู้ตามลำดับ ต้องตามลำดับ ถ้าไม่รู้ตามลำดับ ใครเขาว่าสมาธิคืออย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ไม่ใช่ที่จะทำให้เข้าใจได้จริงๆ ว่านั่นเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ถ้ารู้ว่าธรรมมี ๒ อย่าง อย่าง ๑ ไม่รู้อะไรเลย เกิดขึ้นเป็นแข็ง เป็นเย็น เป็นกลิ่นต่างๆ แต่อีกสภาพธรรม ๑ เป็นธาตุรู้ที่ต้องรู้สิ่งใดสิ่งนั้นปรากฏ ไม่ใช่สิ่งอื่นปรากฏ เฉพาะรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเท่านั้นที่ปรากฏ ถ้ากลิ่นปรากฏหมายความว่า ธาตุรู้เกิดขึ้นได้กลิ่น ถ้าหวาน เค็มปรากฏก็หมายความว่ามีธาตุรู้เกิดขึ้นลิ้มรสเค็ม เฉพาะเค็มปรากฎ ลิ้มรสหวานเฉพาะรสหวานปรากฏ เพราะฉะนั้นต้องมีความเข้าใจ ละเอียดมั่นคง เปลี่ยนไม่ได้เลย ธรรมไม่มีใครสามารถจะไปเปลี่ยนแปลงได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้ ด้วยเหตุนี้สมาธิมีจริงไหม มี เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ สมาธิเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ สมาธิเป็นนามธรรมแค่นี้ยังไม่พอ นามธรรมหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นมีนามธรรมที่ต่างกัน อีกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ อีก นี่คือพระปัญญาคุณที่ทรงตรัสว่าเดี๋ยวนี้เอง ทุกขณะตั้งแต่เกิดจนตายเป็นธรรม เป็นธาตุทั้งหมด เพราะฉะนั้นนามธรรมก็มีสองอย่าง
ผู้ฟัง ใช่ครับ จิตกับเจตสิก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เช่นเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสเป็นธาตุซึ่งทำหน้าที่อย่างเดียว คือแค่รู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างเวลานี้ถ้ายังไม่เข้ามาในห้องนี้ จะรู้ไหมว่าห้องนี้เป็นยังไง ไม่รู้ แต่พอเข้ามาแล้วเห็นแจ้งว่าห้องนี้เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุว่าจิตเกิดขึ้นเห็น เพราะฉะนั้นมีธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ใช้คำว่าจิตต หรือ จิตตัง ก็แล้วแต่หลายคำ มโน วิญญาณ มนะ หทยหลายคำ แต่ก็มีความหมายเฉพาะแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีธาตุรู้แน่ๆ จึงมีสิ่งที่ปรากฏว่าห้องนี้เป็นอย่างนี้ ธาตุรู้มีแน่ๆ มีเสียงปรากฏ แสดงว่าธาตุรู้กำลังได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นสมาธิ เป็นนามธรรมใช่ไหม แต่นามธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานเป็นจิต แต่ว่าใครจะไปทำให้จิตเกิดไม่ได้ ต้องมีปัจจัยเฉพาะที่จะทำให้จิตนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ที่เป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้ มี ๒ อย่าง อย่าง ๑ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง เช่นเข้ามาในห้อง ก็เลยว่าห้องนี้เป็นอย่างนี้ ออกไปนอกห้องก็รู้แจ้งอีกว่าไม่ใช่อย่างที่มีในห้องนี้
เพราะฉะนั้นธาตุรู้ เป็นสภาพที่รู้แจ้ง แต่เกิดไม่ได้ต้องอาศัยนามธรรมอีกประเภท ๑ ใช้คำว่าเจตสิก เจตตะสิกกะหมายความถึงนามธรรมที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์ อารมณ์หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ เพราะว่าเมื่อมีธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ สภาพรู้คือจิตสภาพที่ถูกรู้ทั้งหมดไม่ว่าจิตรู้อะไร สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ภาษาบาลีออกเสียงว่า อารัมณะ โดยจะใช้คำว่าอารัมพนะก็ได้ แต่คนไทยจะชินหูกับคำว่าอารมณ์ ตัดสั้นเหลือแค่อารมณ์ แต่ความจริงเป็นอารมณะ เดี๋ยวนี้มีอารามณะ มีอารมณ์ไหม มี ไม่ใช่หมายความว่าวันนี้อารมณ์ดี พรุ่งนี้อารมณ์ไม่ดี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ เห็นอะไร สิ่งที่ถูกเห็นคืออารมณ์ของจิต ได้ยินเสียงอะไร เสียงที่ได้ยินเฉพาะที่ได้ยินเป็นอารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้นมีจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน เกิดพร้อมกับเจตสิก ๕๒ ประเภททั้งหมด แต่เกิดไม่พร้อมกันทั้ง ๕๒ จิตบางประเภทมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากน้อยต่างกัน ตามประเภทของจิตนั้นๆ เพราะฉะนั้นนี่ยังไม่รู้เลย ยังไม่มีคำว่าสมาธิเลย แต่มีคำว่าธรรม มีคำว่านามธรรมรูปธรรม มีคำว่ามีจิต มีเจตสิก ก่อนจะไปถึงคำว่าสมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิที่ได้ยินได้ฟังกัน มีปัญญาเข้าใจหรือเปล่า ว่าเป็นอะไร ถ้าไม่ฟังพระธรรมไม่มีทางเข้าใจ แต่พอฟังแล้วเนี่ย ก็ต้องคิดละ ได้ยินคำไหนก็ตาม เริ่มไตร่ตรองว่าอะไรเป็นอะไร เป็นรูปหรือเป็นนาม เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก
เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าสมาธิ เป็นธรรมแน่นอนใช่ไหม เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ นามธรรมมี ๒ อย่าง จิตกับเจตสิก เพราะฉะนั้นสมาธิเป็นอะไร ไม่บอกไม่รู้ คิดเองก็ผิด ต่างคนก็ต่างคิดใช่ไหม แต่ไม่ต้องเสียเวลาคิด ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียดใน ๔๕ พรรษา สมาธิได้แก่เจตสิกหนึ่งใน ๕๒ ประเภท แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เนี่ยไม่เหมือนกัน โลภะเป็นโลภะติดข้อง โทสะเป็นโทสะ ติดข้อง โลภะ โทสะก็ไม่ใช่สมาธิ เพราะสมาธิ สภาพของสมาธิคือลักษณะที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ทุกคนรู้สึกจะรู้จักสมาธิคร่าวๆ อย่างนี้ใช่ไหม อ่านหนังสือถ้าไม่มีสมาธิก็ไม่รู้เรื่อง แม้แต่ฟังเรื่องราวต่างๆ ในขณะนี้ ถ้าไม่มีสมาธิก็ไม่รู้อีก เดี๋ยวคิดโน่นคิดนี่ แต่ว่าธรรมละเอียดยิ่งกว่านั้น หมายความว่ามีเจตสิก ๑ ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ถ้าเจตสิกนี้ตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์เดียว บ่อยๆ นานๆ ลักษณะของความตั้งมั่นปรากฎจึงเรียกว่าสมาธิ เพราะฉะนั้นคือสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เกิดกับจิตทุกขณะ แต่ถ้าขณะใดตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์เดียวนานๆ ลักษณะของความตั้งมั่น ในอารมณ์นั้นก็ปรากฏว่าเป็นสมาธิ ทีนี้เริ่มรู้จักสมาธิ จากการที่ทำสมาธิแล้วไม่รู้จักสมาธิ นี่คือความต่างกันของปัญญากับสมาธิ
ผู้ฟัง เขาก็ตอบว่าทำสมาธิเนี่ยเพื่อให้จิตสงบ ก็จะได้ไปเรียนหนังสือ ก็มีความจำดีขึ้น ผมก็ถามว่านั่งสมาธิแล้ว จะรู้ไหมว่าขันธ์ ๕ คืออะไร เขาก็ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เขาตอบชื่อได้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นั่นชื่อนะคะ แต่ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ให้จำชื่อ แต่ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงคิดดู ต้องอาศัยเวลายาวนานไหม กว่าจะเข้าใจ แม้แต่เดี๋ยวนี้มีสมาธิหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จักว่าเป็นธรรมอะไร เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก และเป็นเจตสิกประเภทไหน เป็นเจตสิกประเภทที่เกิดกับจิตทุกประเภท หรือว่าเป็นเจตสิกที่เกิดเฉพาะกับอกุศล หรือว่าเป็นเจตสิกที่เกิดเฉพาะกับกุศล ซึ่งเป็นโสภณ ก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา แล้วก็ทั้งหมดที่ศึกษา ขอให้รู้ว่าเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมี ไม่ใช่ไปจำชื่อ
ผู้ฟัง อยากขอความกรุณาท่านอาจารย์ อธิบายเรื่องสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ
ท่านอาจารย์ สมาธิคือความตั้งมั่น ถ้าเป็นสัมมาก็ต้องถูกต้องในทางที่ดีใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นจิต และเจตสิกเป็นกุศล เพราะฉะนั้นขณะนั้นมีเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งถ้าตั้งมั่นในอารมณ์ใดนานๆ ก็เป็นสมาธิ แต่ว่าขณะนั้นที่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ตั้งมั่น ขณะนั้นเป็นลักษณะของเอกัคตตาเจตสิก จิตเป็นเพียงธาตุรู้ในสิ่งที่เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นในอารมณ์นั้น จิตก็รู้แจ้งอารมณ์นั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดแม้แต่ชื่อเอกัคคตาเจตสิก เรายังไม่ได้เอ่ยสักชื่อหนึ่ง มีแต่ชื่อสมาธิใช่ไหม แต่ว่าความจริงแล้ว เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท ใน ๕๒ ประเภทนั้นต่างกันตามลำดับ อ่อนแล้วก็แรงกล้า โลภะนิดเดียวกำลังมีรู้ไหม แต่ถ้ามีมากๆ รู้ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ซึ่งความรู้ถูก ความเห็นถูก เป็นปัญญาซึ่งค่อยๆ เกิดขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจากการฟัง ไม่รีบร้อนไปรู้ซึ่งๆ มากๆ แต่ให้รู้ว่าฟังทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจธรรมเดี๋ยวนี้ ซึ่งยากมาก เพราะว่าไม่เคยคิดถึงธรรมเดี๋ยวนี้เลย คิดถึงแต่ธรรม พอชื่อก็นำไปแล้ว โลกุตตระจิตอะไรอะไรก็พูดไป แต่ว่าธรรมเดี๋ยวนี้ซึ่งกำลังเกิดดับ เมื่อไหร่ที่สามารถจะกำลังถึง เฉพาะลักษณะที่ไม่ใช่เรา เพื่อพิสูจน์ว่าเดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับจริงๆ
อ.อรรณพ กราบท่านอาจารย์ครับ ถ้าไม่เข้าใจพระธรรมว่า เป็นธรรมอะไร เป็นจิตเจตสิกหรือเป็นรูป ก็ไม่สามารถไปให้เขาเข้าใจถูกได้เลย
ท่านอาจารย์ เพียงได้ฟังแค่นี้ ก็ยังรู้ความต่างกันของบุคคล ๒ ประเภท ประเภท ๑ เริ่มรู้ว่าปัญญาความเข้าใจถูก มีประโยชน์กว่าอย่างอื่น อีกประเภท ๑ ก็ไม่สนใจเลย เพราะยังคงพอใจที่จะทำสมาธิ ด้วยเหตุนี้สัตว์โลก มีอัธยาศัยอุปนิสัยต่างๆ กัน เพราะฉะนั้นพระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงแล้วๆ เล่าๆ เพื่อให้ไตร่ตรอง เพื่อให้พิจารณา ว่าลองคิดดูสิ ไปทำสมาธิ แต่ไม่รู้อะไรเลย มีแต่ความว่าเป็นเรา อยากสงบแน่ๆ จึงได้ทำสมาธิ กับเวลานี้ไม่ได้สนใจเลยว่าสมาธิเป็นอะไร แต่เริ่มรู้ว่าไม่ใช่เราแล้วก็สิ่งที่มีจริงทั้งหมดทุกอย่าง ไม่ใช่แต่เฉพาะสมาธิเท่านั้น อย่างอื่นก็มีแล้ว ทั้งหมดก็ไม่ใช่เราแล้วคนที่มีปัญญาสะสมมา ก็ย่อมเห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์กว่า แต่ถ้าไม่ได้สะสมมา ก็คิดว่าไม่ต้องรู้ก็ได้ เพราะว่าอยากสงบ แต่ความจริงขณะนั้นไม่สงบ ใครไปบอกก็ไม่เชื่อ จนกว่าจะพิจารณาคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า แค่คำว่าอยาก นิดเดียว อยากสงบไม่ได้ ไม่ใช่สภาพที่สงบเพราะอยาก
ผู้ฟัง กราบเท้าท่านอาจารย์ แค่อยากจะขอกราบเรียนถาม ท่านอาจารย์เกี่ยวกับความกระจ่างของคำว่าสงบ ค่ะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้จักธรรม เราคิดเองว่าสงบ แต่ความจริงไม่สงบ เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่าสงบคืออะไร เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ที่ใครจะเขียนตำราเรื่องต่างๆ มากมาย ทฤษฎีต่างๆ แต่ว่าไม่ได้อธิบายจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็ยังคงเป็นเขา และเขาก็คิดไปต่างๆ นานา เริ่มต้นจากเข้าใจผิดว่ามีเรา แล้วจะเข้าใจถูกได้หรือ เพราะฉะนั้นถ้าเริ่มต้นจากการเข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่า ไม่มีเราแล้วคืออะไร ปัญญาก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้นในความจริง ซึ่งวันหนึ่งก็สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วไตร่ตรอง ถูกต้องเป็นความจริงตั้งแต่คำแรกที่ได้ฟัง เพราะขณะนี้รวมแล้วเป็นเรา รวมแล้วเป็นดอกไม้ รวมแล้วเป็นโต๊ะ แต่ถ้าแยกออกไปเป็นอย่างละ ๑ ทีละ ๑ เราอยู่ไหน เห็นเป็นเราหรือ เห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ได้ยินเป็นเราหรือ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป คิดเป็นเราก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ต้องเป็นความเข้าใจอย่างมั่นคง ความลำดับขั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ขอให้พูดเรื่องสงบใช่ไหม แล้วจะเข้าใจได้ ตราบใดที่เป็นเราไม่มีทางจะสงบ และไม่มีทางที่จะเข้าใจว่าสงบคืออะไร เพราะสงบก็คือว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นสิ่งที่มีจริงเป็นนามธรรมสามารถรู้ แต่สภาพรู้มีหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นลักษณะของสงบไม่ใช่ลักษณะของจิต ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง แต่จิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ ค่อยๆ ขยายไปค่อยๆ เข้าใจไป จนกระทั่งละความเป็นเรา ขณะที่เข้าใจอย่างนี้สงบมั้ย เห็นไหม ไม่ต้องไปทำความสงบ หรือไม่ต้องไปคิดว่า สงบต้องไปนั่งคนเดียวหรือทำอะไร แต่เข้าใจเมื่อไหร่สงบเมื่อนั้นจากอกุศล แต่ถ้าไม่เข้าใจแล้วไปนั่งทำ ไม่เข้าใจสงบไหม ไม่มีทางที่จะสงบได้
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์คะก่อนศึกษาพระธรรม ดิฉันก็ไปในสถานที่ คนก็ชวนไปให้ไปทำสมาธิ เวลาที่ไปอยู่ที่ใดที่หนึ่งเนี่ย ก็ไม่มีเสียงที่มารบกวน แล้วก็ดูรู้สึกว่าก็ชอบสถานที่นั้นด้วย แล้วยังไม่รู้ว่าเป็นไปกับอกุศลธรรมขณะนั้นก็ไม่สงบ
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหนก็ตาม มีเห็นไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ และมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี และคิดถึงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไหม เวลานี้ทุกคนคิดถึงสิ่งที่เห็น ถูกต้องไหมสงบมั้ย ต่อให้จะเป็นในป่า ภูเขา ทะเลทราย หรือว่าทะเล ชายหาดอะไรก็ตามแต่ จนกว่าจะรู้แน่นอนจริงๆ ว่า เกิดคนเดียว ไม่ได้มีใครเกิดด้วย เกิดมาแล้ว ทุกคนก็เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง เห็นก็เห็นคนเดียว ไม่มีใครเลยทั้งสิ้นที่จะมาเห็นในขณะที่เห็นกำลังเกิดขึ้น ต้องทีละ ๑ เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความหมายของคนเดียว ถ้ารู้จริงๆ ว่าอยู่คนเดียว มีความเข้าใจอย่างมั่นคง ว่าแม้แต่เข้าใจว่าเป็นคนก็คือธาตุหรือธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ถ้ามีความเข้าใจอย่างมั่นคง สงบ
อ.กุลวิไล สงบแน่นอน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราไปที่หนึ่งที่ใด และเข้าใจว่าเขาชวนเราไปที่ๆ ไม่มีคน มีแต่ต้นไม้มีแต่ป่าด้วย เราเลยเข้าใจว่าสงบขณะนั้นเขาไม่รู้จักสงบ เพราะฉะนั้นไม่มีทางที่ใครจะสงบ ถ้าไม่รู้จักสงบ เพราะว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า สงบต้องไม่ใช่เรา
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่ศึกษาพระธรรม ก็ไม่รู้ว่าขณะที่สงบก็สงบจาก ความติดข้อง แล้วก็ความขุ่นเคืองใจ และไม่รู้ในธรรมที่มีในขณะนี้
ท่านอาจารย์ กุศลจิตทุกประเภทสงบ เริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย เพราะว่าต้องรู้ชัดเจนว่าขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนไม่ใช่อกุศล เพราะฉะนั้นขณะนั้นจึงสงบเพราะรู้ เมื่อคืนนี้ใครฝันบ้าง จริงๆ แล้วฝันคนเดียว แต่ในฝันมีคนเยอะมาก คนโน้นคนนี้คนนั้นใช่ไหม ซึ่งไม่มีเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมีเมื่อคิด เพราะฉะนั้นทุกอย่างละเอียดมาก แต่ละคำต้องไตร่ตรอง และรู้ว่าสามารถที่จะรู้ความจริงถึงที่สุด ขณะที่สภาพธรรมปรากฏ ๑ เราพูดถึงธรรมทีละ ๑ เพื่อให้รู้ว่าถ้าเมื่อไหร่เป็น ๑ เมื่อนั้นก็ไม่ใช่เรา แต่รวมกันเมื่อไหร่ก็เป็นเรา เพราะฉะนั้นถ้าสภาพธรรมขณะนั้นปรากฏเพียง ๑ และ ๑ นั้นยังไม่ใช่เราด้วย สงบจากการไม่รู้ และการยึดถือมาในแสนโกฏฏ์กัปป์ว่าเป็นเรา และมีเรา เพราะฉะนั้นเรื่องของความสงบ ก็ต้องทราบ แม้แต่กุศลทุกชนิดสงบ แน่ๆ แต่ขณะนั้นยังเป็นเรา เพราะฉะนั้นแต่ละขณะ เกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นดีเมื่อไหร่สงบจากความไม่ดีเมื่อนั้น แต่ก็ยังมีความไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา ก็ต้องมีความสงบจนถึงที่สุด คือธรรมที่ไม่เกิด นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งเพราะสงบ ไม่มีการเกิดไม่ใช่ว่าเป็นความรู้สึกสงบ หรือว่าไม่ใช่เป็นความรู้สึกเป็นสุข แต่ว่าเป็นความสงบ ซึ่งเพราะไม่เกิด
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ครับ รู้สึกว่ายากเหลือเกินครับท่านอาจารย์ เพราะว่าจากสมาธิซึ่งเป็นกันมาก แล้วกว่าจะสามารถที่จะเข้าใจถึงหนทางที่ถูกต้อง แล้วจะเข้าใจถึงความเป็นการทำด้วยความติดข้องความเป็นตัวตน จะอาศัยอะไร เพราะในความรู้สึก ว่ามันอดทนมากในการฟัง
ท่านอาจารย์ แค่คิดถึง ๕๖ ๖๐ปี ๙๐ปี แค่คิดถึงอีกหนึ่งอสงไขยแสนกัปป์ เทียบกันได้ไหม เวลาก็ไปเรื่อยๆ จากวัน เดือน ไปจนถึงร้อยปี พันปี จนถึงกัปป์ ๑, ๒ กัปป์ ความเข้าใจวันนี้ก็จะติดตามไป หมายความว่า ถ้าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ ก็จะมีโอกาสที่จะรู้ว่าสิ่งใดเป็นเหตุเป็นผลเป็นความถูกต้อง เพราะเหตุว่าแม้แต่การฟังธรรม รู้หรือเปล่า เพียงแค่จะฟังนี่ก็เป็นเรื่องละแล้ว ทำไมเราไม่ไปทำอย่างอื่น เห็นไหม แต่อย่างน้อยที่สุด ก็คือว่าได้ฟังสิ่งซึ่งต้องมีประโยชน์แน่นอน แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจได้มากน้อยเท่าไหร่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุด เริ่มเข้าใจความหมายของคำว่าละ ละความติดข้อง โดยเฉพาะถ้าถูกต้องก็คือว่า ละความติดข้องในความไม่รู้ เพราะว่าทั้งหมดไม่รู้ทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะชอบ หรือว่าจะโกรธ หรือว่าอะไรจะเกิดขึ้นในแต่ละวัน ในแต่ละภพ แต่ละชาติทั้งหมดนั่นเพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้นการฟังเริ่มต้นจากละความไม่รู้ และก็ฟังด้วยความละต่อๆ ไป จึงสามารถที่จะเจริญขึ้น ในการที่จะรู้ว่าความจริง แล้วก็คือว่าทุกอย่างว่างเปล่า แค่คำนี้คำเดียวว่าลองคิดหลายๆ ชั้นแล้วจะจริงไหม เห็นเกิดขึ้นเห็นดับไป นี่ทุกคนเข้าใจละ และพอฟังธรรมก็ไม่มีสักอย่างเดียวซึ่งยั่งยืน แม้แต่เห็นขณะนี้ก็กำลังเกิดดับ แต่ปัญญายังไม่ถึงการที่จะประจักษ์แจ้ง อีกนานเท่าไหร่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครจะไปพากเพียรพยายาม แต่จากความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยนี่แหละ ค่อยๆ ละค่อยๆ คลายความไม่รู้ ในแสนโกฏฏ์กัปป์ หรือว่ากี่หมื่นกี่พันกัปป์ก็ตามแต่ ยิ่งใหญ่มากมายกว่าจักรวาล น่าจะหมดไปได้ทันทีเนี่ยเป็นไปไม่ได้ แต่ไม่เริ่มด้วยการละความไม่รู้ ก็จะค่อยๆ ละไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย แม้แต่คำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เช่นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา นี่แหละประโยชน์หนึ่งละ เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เห็นดับ เพราะเกิดเห็นแล้วก็ดับ เดี๋ยวนี้ได้ยินก็เกิดดับ ทุกอย่างก็เกิดดับ แต่ลองคิดถึง ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น สิ่งที่ดับแล้วไม่กลับมาอีก ถูกต้องไหม เพิ่มความเห็นความไม่มีสาระของสิ่งที่เกิดไหม ว่าจากไม่มี ไม่มีเสียง แล้วก็มีเสียง แค่นั้นนิดเดียว แล้วก็หมดไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่เสียง คิดแค่นิดเดียวเกิดขึ้น และก็ดับไป เห็นก็เล็กน้อยสั้นมาก เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ถ้าไม่คิดถึงการต่ออยู่เรื่อยๆ เป็นภพของชาติ ก็หมายความว่า ได้เริ่มมีความเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่าง นี่ว่างเปล่า คำพูดนี้เป็นเพียงคำพูดที่ได้ฟัง จนกว่าปัญญาสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิด และดับ แล้วไม่กลับมาอีก ขณะนั้นจึงจะรู้ว่างเปล่า เพราะฉะนั้นสิ่งที่เคยมีมาแล้วทั้งหมดด้วยความไม่รู้ และด้วยความติดข้อง ปัญญาก็สามารถที่จะรู้ว่าเพราะไม่รู้ จึงติดข้องในสิ่งที่ไม่มี เพราะก่อนนั้นไม่มี ไม่เคยมีมาก่อน เกิดมาเป็นชาตินี้ คนนี้ไม่เคยมาเป็นชาตินี้คนนี้มาก่อน แต่ว่าไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินทั้งหมดเดี๋ยวนี้ ก็เมื่อกี้นี้ก็ไม่มีแล้ว ก็เกิดมีขึ้น แล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก ถ้าปัญญาถึงระดับที่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งจริงๆ เมื่อนั้นก็รู้จริงๆ ว่าทุกอย่างนี่ว่างเปล่าไม่สมควรเลยที่จะหลงเข้าใจผิด และยึดถือ แต่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นในบรรดาธรรมทั้งหมด ปัญญาประเสริฐสุด แต่ว่าจะมีปัญญาอย่างนั้นได้ยังไง ถ้าไม่มีทีละเล็กทีละน้อย เพราะความไม่รู้เนี่ยมหาศาลมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงการชำระจิต ที่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็ต้องเป็นชำระจิตนี้ ซึ่งแต่ละคนกำลังมี ไม่ใช่จิตอื่น จิตนี้คือจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อ สะสมทุกสิ่งทุกอย่างมานานแสนนาน และปัญญาค่อยๆ ชำระความไม่รู้ และความติดข้องจากจิตนี่แหละ ไม่ใช่ไปเพ่งไปจ้องสิ่งอื่น ให้สิ่งอื่นปรากฏการเกิดดับ เทียบได้เลยขณะนี้ แข็งปรากฏแน่ แล้วก็ฟังแล้ว สิ่งหนึ่งสิ่งใด มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา แข็งเป็นแข็ง เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไม่ได้เลย แต่ปัญญายังไม่ถึงขั้นเกิดขึ้น และดับไปของแข็งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ไม่ใช่เพื่อจะให้ไปรู้อย่างนั้นโดยเป็นตัวตน ที่พยายามจะไปจ้อง พยายามที่จะไปประจักษ์การเกิดดับ แต่ต้องเป็นการด้วยไม่รู้อย่างนี้หรือ จะไปสามารถประจักษ์อย่างนั้นได้ แต่สามารถจะประจักษ์อย่างนั้นได้ต่อเมื่อ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ในชีวิตที่เกิดเป็นปกติ เพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นธรรมเป็นปกติ บางคนก็บอกว่าทำไมธรรมของพวกเราเนี่ย มีความสุข มาที่นี่ก็มีความสุข ทุกคนก็เบิกบาน อาหารก็อร่อย เดินชายหาดสนทนากัน ร้องเพลงอะไรก็ได้ก็เป็นปกติ จะให้ผิดปกติหรือ ถ้าผิดปกตินั่นคือตัวตน ต้องการให้เป็นอย่างนั้น คือผิดปกติใช่ไหม แล้วเมื่อไหร่จะละความเป็นตัวตนได้ เพราะฉะนั้นธรรมก็คือปกติ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020