ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๙๙๙

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมบียอน รีสอร์ท จ.กระบี่

    วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐


    ท่านอาจารย์ เห็นปรากฏตามความเป็นจริงหรือยัง

    ผู้ฟัง ยังเลย

    ท่านอาจารย์ ยัง แล้วก็ธาตุเห็นเนี่ยมีจริงๆ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นเฉพาะธาตุรู้ ตัวธาตุรู้นี่ มืดหรือสว่าง

    ผู้ฟัง มืด

    ท่านอาจารย์ ก็นี่คือความเข้าใจ จนกว่าสภาพนั้นจะปรากฏ

    ผู้ฟัง พูดถึงสมาธิกับปัญญา ทีนี้ผมเข้าใจว่าจริงๆ แล้วปัญญานั้นสำคัญกว่าสมาธิแน่นอน เพราะว่าปัญญาในขั้นฟัง เขาจะเข้าใจในสมาธินั่นเอง

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเข้าใจสมาธิหรือยัง เพราะเหตุว่าถ้าใช้คำว่าปัญญาหมายความถึงความเห็นถูกต้องในแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่เคยได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ก็พูดคำที่ไม่รู้จัก พูดคำว่าสมาธิ แต่ว่าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะไม่ใช้คำว่าปัญญาก็ได้ แต่ขณะใดที่มีความเข้าใจว่า สมาธิคืออะไร นั่นคือปัญญา ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าสมาธิคืออะไร

    อ.อรรณพ ผู้ที่เขาทำสมาธิ เพื่อเป็นการพักผ่อน ร่างกายจิตใจ โดยที่เขาไม่ได้เห็นผิดว่าเป็นพุทธศาสนานี่อย่างนี้นี่จะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็พูดคำที่ไม่รู้จัก ไม่รู้จักคำว่าสมาธิคืออะไรเหมือนเห็น พูดคำที่ไม่รู้จัก เห็นมีจริงๆ แต่รู้จักเห็นหรือเปล่า ก็พูดว่าเห็น เพราะฉะนั้นทำสมาธิ ก็ไม่รู้จักว่าสมาธิคืออะไร

    อ.อรรณพ ถ้าเขาเข้าใจว่าสมาธิก็คือความตั้งมั่น ใช่แต่ว่าเขาก็ไม่ได้เห็นผิด

    ท่านอาจารย์ ทุกคนก็รู้ เพราะฉะนั้นขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล

    อ.อรรณพ เขาอาจจะต้องการพักผ่อนก็เป็นโลภะ อาจจะ

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มีปัญญา ที่เป็นเครื่องส่อง เป็นแสงสว่าง ที่ส่องสิ่งที่ละเอียดให้ปรากฏลักษณะที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟังธรรม ไม่มีการที่จะเข้าใจคำว่าสมาธิเลย ได้แต่พูดคำว่าสมาธิ ถ้าไม่มีการได้ฟังพระธรรม หรือฟังเผินๆ มีแต่ชื่อ ชื่อเยอะมากเลย ฌานจิต ปฐมฌาณ ทุติยฌาน ตติยฌาน เป็นรูปฌาน อรูปฌาน มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ ก็ฟังไปเป็นคำทั้งหมด แต่ความเข้าใจสิ่งที่กำลังมี นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ต้องรีบร้อนแต่แต่ละคำ มี แต่ขอให้เข้าใจแต่ละคำ ไม่ใช่ว่าพูดตามกันไป แล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นสมาธิมีจริงๆ ถูกต้องไหม ก็ใช้คำเหมือนเห็นมีจริงๆ ก็กำลังเห็น เพราะฉะนั้นถ้าจิตของเขาตั้งมั่น เขาก็บอกว่ากำลังเป็นสมาธิ เขาเป็นสมาธิจริงๆ แต่เป็นเค้าหรือว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการที่จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อนั้นจะไม่มีการขัดเกลากิเลส เพราะปัญญาที่รู้ต่างหากที่ขัดเกลา ไม่ใช่ตัวตนที่ไปพยายามทำ แล้วก็ไม่รู้อะไรเลย แล้วตู่ว่านั่นเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอันตราย เพราะเหตุว่า กว่าจะได้ยินได้ฟังคำสอนที่ตรง ที่จะเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเป็นปกติ ทีละคำให้เข้าใจจริงๆ ว่าสมาธิไม่ใช่รูปธรรม ดอกไม้ โต๊ะ เก้าอี้ สี เสียง กลิ่นต่างๆ เหล่านี้ทำสมาธิไม่ได้ เพราะไม่เห็น ไม่รู้ แล้วจะเป็นสมาธิได้อย่างไร เพราะฉะนั้นสมาธิมีจริง ไม่ใช่เราแน่นอน ต้องมั่นคงที่ว่าไม่ใช่เรา มีปัจจัยก็เกิด ถ้าไม่มีปัจจัย ไม่มีใครไปสามารถทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ไม่มีใครสามารถทำให้อะไรเกิดขึ้นได้สักอย่าง นี่คือความมั่นคง ที่จะค่อยๆ ละความเป็นเรา เพราะฉะนั้นการที่จะละความเป็นเรานี่ ไม่ใช่ฟังแล้วไปละตอนนั้นตอนนี้ แต่ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ฟัง ด้วยความเข้าใจที่มั่นคงขึ้นว่า ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงหลงยึดถือว่าเป็นเรานานมาก ปล่อยไม่ได้ ทิ้งไม่ได้เลย เป็นเรา จนกว่าจะได้ฟังคำที่กล่าวถึงแต่ละ ๑ ที่มี ให้พิจารณาจริงๆ ว่าเห็นมีเพราะเห็นเกิดขึ้นแล้วเห็นก็ดับไป เพราะฉะนั้นเห็นจะเป็นเราได้ไหม ได้ยินมี จากไม่ได้ยิน ได้ยินก็เกิดขึ้นได้ยิน แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นได้ยินเป็นเราได้ไหม ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริง จนกระทั่งถึงลักษณะที่เกิดแล้วดับ เมื่อนั้นความเห็นถูกต้องว่าไม่ใช่เรา มีกำลังเพิ่มขึ้น กว่าจะสละละความเป็นตัวตน หรือความเป็นเราได้นี่นานมาก แต่ทั้งหมดต้องมาจากความรู้ ความเข้าใจถูกต้องอย่างเดียว ถ้าไม่ใช่ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในสิ่งที่มี ไม่สามารถที่จะถึงการที่จะละคลายกิเลส

    อุตส่าห์ฟังธรรมตั้งนาน อุตส่าห์ไปทำวิปัสสนา เพราะว่าคนที่ไปทำวิปัสสนามี ๒ พวก พวก ๑ ไม่เคยฟังธรรมเลย อีกพวก ๑ ฟังเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องปัจจัย ทุกอย่างหมด เป็นครูบาอาจารย์ที่สอนคนอื่นเรื่องนี้ด้วย แต่ก็มีสำนักปฏิบัติให้คนไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจสิ่งที่มีว่าไม่ใช่เรานี่ไม่ได้มั่นคงเลย เพราะว่าขณะนี้ต่างหากที่เข้าใจว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นการที่จะละความเป็นเราได้ ก็ต่อเมื่อ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ไม่ใช่ในขณะอื่น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ ว่าการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา ถ้าไม่มีการศึกษาให้เข้าใจพระธรรมเลย แม้จะมีคำพยากรณ์ว่า พระศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จะดำรงอยู่ได้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องดำรงอยู่ เพราะฉะนั้นจะดำรงอยู่ได้ถึง ๕๐๐๐ ปี เมื่อมีผู้ที่ศึกษา และเข้าใจธรรม ต้องมีข้อแม้ด้วย ไม่ใช่ไปเรียนมาแล้ว แล้วก็คิดว่าเข้าใจแล้ว แล้วก็ตั้งสำนักปฏิบัติ แล้วปฏิบัติ นั่นไม่ใช่การเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรา แล้วถ้าไม่มีความเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรา แล้วเมื่อไหร่ล่ะ ที่จะไม่ใช่เรา ไปสำนักปฏิบัติ ก็ไม่ได้รู้ความจริงในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ในขณะที่คิด ไม่มีสักขณะเดียวที่เดี๋ยวนี้เป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ก็ไปสำนักปฏิบัติ อีกพวก ๑ นะคะ ก็คือว่าไม่ได้ฟังธรรมเลย เขาบอกว่าทำวิปัสสนาชวนกันไปทำวิปัสสนา ไม่รู้ว่าวิปัสสนาคืออะไร ถ้าถามดูหรือตอบไม่ได้สัก แล้วไปทำอะไร คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ทำให้คนโง่ ไม่ได้เพิ่มอวิชชา แต่ทำให้สิ่งที่ไม่รู้ ค่อยๆ ละคลายด้วยความเข้าใจ จนกว่าสามารถที่จะรู้ความจริง และสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสแล้วทุกคำ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้รู้ได้ มิฉะนั้นไม่ทรงแสดง

    ผู้ฟัง ถ้าสนทนาธรรม มีทั้งพระสูตร พระธรรมวินัย พระสูตรบทหนึ่งอาจจะมีพระธรรมพระวินัย แล้วแต่สภาวะว่าอันไหนจะมากน้อยกว่ากัน ถ้าสนทนาธรรมแบบนี้จะมีประโยชน์น่าสนใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วก็คือพระธรรมวินัย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีพระอภิธรรม แม้ในครั้งที่ผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ก็มีพระภิกษุซึ่งท่านเป็นผู้ที่เป็นเอตทัคคะ หรือว่ามีความชำนาญในพระสูตร ในพระธรรม ในพระวินัย ท่านก็แยกกันสนทนา ท่านที่สนใจพระสูตร เข้าใจพระสูตร ท่านก็สนทนากันในเรื่องพระสูตร ท่านที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญในพระวินัย ซึ่งละเอียดมาก เพราะว่าจะไม่เป็นสูตร ไม่เป็นอภิธรรมได้ยังไง นั่นแหละคือธรรมซึ่งเป็นฝ่ายของวินัยนั่นเอง เพราะฉะนั้นท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญไหนทางนั้น ท่านก็สนทนาธรรมแยกกันเป็นกลุ่มกลุ่ม ทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม เพราะฉะนั้นที่เรากล่าวถึง พระไตรปิฎกทั้ง ๓ ก็ไม่ได้หมายความว่า จำกัดอยู่เฉพาะพระวินัย แล้วก็ไม่พูดถึงพระสูตรหรือพระอภิธรรมเลย เพราะเหตุว่าทั้งหมดเป็นพระธรรม และวินัยด้วย ธรรมก็เป็นวินัย วินัยก็เป็นธรรม ถ้าไม่มีพระวินัยจะมีธรรมได้ไหม เพื่ออะไร แต่เมื่อมีความเข้าใจแล้วจะไม่มีวินัยได้ไหม การขัดเกลาก็ต้องเป็นไป เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินได้ฟังพระวินัย เพราะฉะนั้นจึงมีการประพฤติปฏิบัติที่ขัดต่อพระวินัย เป็นโทษอย่างยิ่งโดยไม่รู้ตัว เช่นชาวบ้านทั่วไปทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เพิ่งจะเข้าใจว่าภิกษุนั้นต้องไม่รับ และยินดีเงิน และทอง เพิ่งจะรู้กันที่จะไม่ใส่เงิน และทองหรือธนบัตรหรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าพระภิกษุท่านละแล้ว ด้วยเหตุนี้การศึกษาทั้งหมดก็คือว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ก็คือพระธรรมวินัยทั้งหมด ก็จะเป็นประโยชน์

    ผู้ฟัง เรียนท่านอาจารย์สุจินต์ที่เคารพ ผมเจอในอรรถกถากล่าวว่าพระธรรม และพระวินัยคู่กัน พระธรรมไม่มี พระวินัยก็ไม่มี แล้วท่านก็ขยายความได้ว่า สมถะวิปัสสนาคู่กับพระปาติโมกข์ สมถะวิปัสสนาไม่มี พระปฏิโมกข์ก็ไม่มี จะรบกวนท่านอาจารย์อธิบายว่าคู่กันเนี่ยจริงๆ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ถูกต้องไหม เวลาเข้าใจ ตรงกันข้ามกับไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจนี่ไม่รู้ความจริงอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เวลาได้ฟังก็เริ่มที่จะเข้าใจขณะที่เข้าใจสงบจากความไม่เข้าใจไหม

    ผู้ฟัง สงบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสมถะคือสงบจากกิเลส กิเลสคือความไม่รู้ ขณะใดที่รู้ และเข้าใจ ขณะนั้นกำลังสงบจากความไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นพระธรรมที่ได้ฟัง ก็นำไปสู่ความสงบคือสงบกาย สงบวาจา เพราะเหตุว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ ถ้าผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้วเห็นกิเลส ปัญญาไม่ใช่เรา ปัญญาที่เห็นกิเลสมากน้อยแค่ไหน ก็ละคลายกิเลสตามกำลังของปัญญา ถ้าไม่คิดว่าการฟังพระธรรมมีประโยชน์ นั่นคืออกุศล แต่พอรู้ว่าประโยชน์ของพระธรรมมีมาก แล้วก็จะมีเพิ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ปัญญาอย่างนี้ก็จะทำให้ไม่ละเลย การที่จะได้ฟังให้เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นขณะนั้นพระธรรมก็ขัดเกลาอกุศลซึ่งจะเกิดเพราะไม่รู้ ทางกายทางวาจา อย่างพูดว่าทำวิปัสสนา สำนักปฏิบัติวิปัสสนา เพราะไม่รู้ แต่ถ้ารู้ จะละไหม ละความไม่รู้เมื่อไหร่ก็สงบจากความไม่รู้เมื่อนั้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวถึงความสงบทางกาย และวาจา ตรงนั้นก็คือส่วนหนึ่งที่ท่านยกขึ้นว่าเป็นพระวินัยเลย

    ท่านอาจารย์ ใจสงบเท่าไหร่ กายวาจาก็สงบเท่านั้น มีความเข้าใจธรรมเท่าไหร่ใจก็สงบเท่านั้น เมื่อใจสงบ กายวาจา ซึ่งเกิดจากใจที่สงบก็สงบ ด้วยเหตุนี้ภิกษุที่บวชแล้วไม่ศึกษาพระธรรมวินัย จึงไม่สามารถประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยได้ เพราะไม่มีปัญญา ที่จะเห็นโทษของอกุศล แล้วก็มีความเข้าใจประโยชน์ของกุศล

    ผู้ฟัง พระวินัยเป็นบัญญัติที่ต้องประพฤติปฏิบัติตาม

    ท่านอาจารย์ สำหรับใคร

    ผู้ฟัง สำหรับพระภิกษุ

    ท่านอาจารย์ ภิกษุคือใคร

    ผู้ฟัง ผู้ที่สละเพศคฤหัสถ์เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสอกุศล อย่างที่

    ท่านอาจารย์ เพื่อศึกษาเข้าใจพระธรรม และความที่รู้ที่เข้าใจที่ถูกต้องนั่นแหละ ทำให้ใจสงบ ซึ่งทำให้กายวาจาสงบได้ เพราะปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาไม่มีความเข้าใจธรรม การรักษาพระธรรมวินัยเป็นไปไม่ได้ และไม่รู้ด้วยว่ารักษาไปทำไม

    ผู้ฟัง ตอนนี้ทำให้ผมเข้าใจคำว่าภิกษุมากขึ้นทีเดียว เพราะว่าท่านสละเพศคฤหัสถ์แล้วเนี่ย คือไม่ใช่เข้ามาปฏิบัติประพฤติตามพระวินัยเท่านั้น คือพระธรรมนี้จะนำไปสู่ทุกอย่าง รวมทั้งพระวินัยที่ท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามด้วย

    ท่านอาจารย์ ทุกคนได้ฟังพระธรรมแล้วนี่ มีใครจะเป็นภิกษุไหม เพราะรู้ว่าการเป็นภิกษุนั้นเปลี่ยนเพศจากคฤหัสถ์ สู่อีกเพศหนึ่งซึ่งประกาศตน เป็นผู้ที่มั่นคงที่จะศึกษาพระธรรม เพื่อขัดเกลากิเลส และประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้นถ้าไม่เป็นอย่างนี้ จะบวชทำไม นี่คือใครก็ตามที่เป็นภิกษุก็คือว่าต้องเห็นโทษของอกุศล และก็รู้ว่าจะขัดเกลากิเลสไม่ได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรม ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีความเข้าใจรู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริง จึงประสงค์ที่จะดำเนินชีวิต จากเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต คิดถึงไหม วันแรกที่บวช ก่อนบวชเป็นคฤหัสถ์ เพียงแค่อุปสมบทแล้วเปลี่ยนจากคฤหัสถ์ ที่เคยเป็นไปทางกายวาจาตามสบาย ของกิเลสทั้งหมดเริ่มละ ทันทีที่จากวานนี้เมื่อคืนนี้ ที่เป็นคฤหัสถ์ก็สู่วันใหม่เป็นเพศบรรพชิต เริ่มต้นด้วยการที่ต้องประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสตั้งแต่ตื่น ที่จะสำนึกตนเองว่าจะทำอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นการที่จะครองจีวร ก็ต้องสำนึกในความเป็นภิกษุ บริโภคอาหาร การเดิน การครองจีวรทั้งหมด ต้องด้วยความสำนึกว่า ละเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิตแล้ว มุ่งหน้าที่จะฟังธรรมเพื่อเข้าใจ เพราะฉะนั้นถ้าภิกษุใดไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่ได้ฟังธรรมเป็นภิกษุได้หรือ ย่อมเป็นภิกษุไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้มีความเข้าใจ ว่าจะขัดเกลากิเลสด้วยปัญญาที่ได้เข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นด้วยปัญญาที่เข้าใจธรรม ก็สามารถที่จะเห็นประโยชน์ของพระวินัยทุกข้อ ในเรื่องของขั้นต้นที่สุด เพศที่ต่างกันจากคฤหัสถ์สู่บรรพชิต วาจาพูดอย่างเคยได้ไหม พูดคำที่ไม่มีประโยชน์ได้ไหม เพราะฉะนั้นวันหนึ่งวันหนึ่ง ลองคิดดู ชีวิตของคฤหัสถ์บางคนพูดคำ ที่ไม่มีประโยชน์เยอะมาก ถูกต้องไหม ทันทีที่รุ่งขึ้นจากเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต พูดคำที่ไม่มีประโยชน์ต่อไปอีกไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าพูดเพื่อประสงค์ที่จะหัวเราะกันเล่น หรือสนุกสนาน ไร้ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อการเข้าใจธรรม ก็เป็นเดรัจฉานคาถา เป็นคำพูดที่ไม่นำไปสู่การเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์บางคน ก็พูดน้อย แต่ว่าไม่ได้เข้าใจธรรม แต่ผู้ที่เป็นภิกษุพูดน้อย เพราะเข้าใจธรรมว่าธรรมที่พูด ต้องพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ลองสังเกตชีวิตของคนที่ฟังธรรม พูดมากเหมือนเดิมไหม จากวาจาที่ไม่เป็นสาระเลย พูดแล้วก็ทะเลาะกัน พูดแล้วก็ลุกลามใหญ่โต ถ้าเพียงแค่หยุด ยุติทุกอย่าง แล้วถ้าเป็นคฤหัสถ์อย่างนี้ เวลาที่ได้เห็นประโยชน์ ของการที่จะขัดเกลากิเลสยิ่งกว่านี้ คำพูดนั้นจะเป็นคำพูดที่เป็นประโยชน์ทั้งหมดหรือเปล่า ก็จะไม่พูดคำอื่นเลย เพราะคฤหัสถ์บางคนก็ไม่พูดคำที่ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าคำที่ไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาว่า จิตขณะนั้นเป็นอะไร ถ้าจิตขณะนั้นเพื่อประโยชน์ให้เขาเข้าใจ คำพูดที่คนอื่นคิดว่าไม่มีประโยชน์ แต่ความจริงเป็นประโยชน์ เพราะว่าถ้าพูดแล้วเขาเข้าใจถูกต้อง ถ้าไม่พูดเขาก็ไม่เข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับสภาพของจิต ซึ่งจะดีขึ้น ละคลายกิเลสขึ้น เพราะเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นพระธรรมก็เกื้อกูลต่อพระวินัย และพระวินัยก็เกื้อกูลด้วย เพราะเหตุว่ามีการสำนึกว่า ประพฤติอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ และกิจที่จะกระทำก็คือศึกษาธรรม บางคนได้ยินคำว่าคันถะธุระกับวิปัสสนาธุระ บอกว่าภิกษุมีกิจเพียง ๒ คันถะธุระได้แก่การศึกษาพระพุทธพจน์ พระธรรมวินัย วิปัสสนาธุระก็คือการอบรมปัญญา ถ้าไม่มีคันถธุระมีวิปัสสนาธุระได้ไหมก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความเพิกเฉย เพียงแค่ศึกษาตามตำราทั้งหมด แต่ว่าไม่มีการขัดเกลากิเลส ด้วยการที่เริ่มที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศล และอกุศล

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ที่มีการชวนกันให้บวช มีการประกาศให้บวช เพื่อประโยชน์อย่างนุ้นประโยชน์อย่างนี้ แต่เมื่อเราเข้าใจความสำคัญของการเป็นพระภิกษุ ผู้ที่บวชนี่ต้องมีความรู้มีความเข้าใจ ในเรื่องของความเป็นพระภิกษุที่ดี จึงไปบวช

    ท่านอาจารย์ ใครก็ตามที่เกณฑ์ใครไปบวช ถูกหรือผิด เพราะว่าต้องการอะไร เห็นไหม ต้องการอะไร จุดประสงค์เพื่ออะไร แต่ถ้ามีการให้เขาได้เข้าใจธรรมวินัย แทนที่จะไปบวช ชวนไปฟังธรรมวินัยให้รู้ว่า ถ้าเป็นภิกษุต้องประพฤติอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ และการศึกษาธรรมคือต้องเข้าใจให้ถูกต้อง อย่างนี้ อย่างนี้ ว่าเพื่อขัดเกลากิเลส และในบรรดาผู้ที่ไปฟังนั่นนะ มีใครสมัครใจที่จะบวชเพราะเขาได้ฟังแล้ว เพราะเขาได้รู้แล้ว เขาสามารถจะประพฤติตามพระธรรมวินัย ๒๒๗ ข้อได้ไหม ให้ฟังให้ละเอียดเลย ดูหนัง ดูละครไม่ได้ ไปเที่ยวเตร่ไม่ได้ ไปรับประทานหุงต้มอาหารเองไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง นี่ให้เข้าใจให้ชัดเจน ในความถูกต้องในประโยชน์ ของพระวินัยแต่ละข้อ แล้วก็ถามว่าใครสมัครใจจะบวชบ้าง สมัครใจ ไม่ใช่ไปเกณฑ์ตามจำนวน เพราะฉะนั้นถ้าเชิญชวนให้ใครได้ฟัง และได้เข้าใจธรรม ก็จะได้รู้ว่าใครเป็นภิกษุ ใครไม่ใช่ภิกษุ ไม่ใช่เกณฑ์กันไปทำอะไร ไปนั่งสมาธิ แล้วก็ไม่มีความเข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้น เท่ากับไปลบเลือนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้าเป็นชาวพุทธ พุทธคือผู้ที่รู้ถูก เห็นถูก มีปัญญา ผู้รู้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าการกระทำใดๆ ก็ตาม ไม่ได้ทำเพราะความเข้าใจถูก ไม่ใช่การกระทำของผู้รู้ เพราะฉะนั้นการกระทำนั้น ต้องเป็นของผู้เขลา ไร้ปัญญา คิดว่าใครๆ ก็บวชได้ แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ไม่ใช่ใครก็บวชได้ เฉพาะคนที่ได้เข้าใจพระวินัยแล้วอย่างดี และก็สมัครใจที่จะบวชไหม ก็ไม่ต้องไปเชิญชวนใคร เพียงแต่ว่าให้เขาได้ฟัง ก่อนจะบวชเพื่อทุกคนจะได้รู้ว่าภิกษุต้องเป็นอย่างนี้ แล้วดูสิจะถึงหมื่นคน จะถึงแสนคนไหม สักคนหนึ่งมีไหม เพราะเหตุว่าไม่ต้องบวชก็ให้เขาเข้าใจพระธรรมได้ โดยการที่ในขณะเดียวกัน ก็ชี้แจงให้รู้ว่าธรรมคืออะไร ไม่ต้องพูดถึงวิปัสสนาเลย ยังไม่มีความเข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีสำนักวิปัสสนา เป็นไปไม่ได้ วิปัสสนาจะเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ได้ทั้งสิ้น เดี๋ยวนี้ก็ได้ ถ้าได้อบรมมาแล้วถึงกาลที่ปัญญาจะเกิด ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่มีใครยับยั้งได้ แต่ไม่ใช่ไปเกณฑ์ให้กระทำ หรือทำสมาธิวิปัสสนา ซึ่งนั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้ามีสิ่งใดที่เข้าใจไม่ถูก ก็ขอเชิญกล่าวถึงสิ่งที่ตนเองเข้าใจว่าถูก เช่นการบังคับ หรือการเกณฑ์ให้คนบวช ไร้ประโยชน์ เพราะว่าคนเกณฑ์เข้าใจว่าอย่างไร บวชเพื่ออะไร ในเมื่อคนบวชยังไม่รู้เลย ว่าพระภิกษุทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ด้วยเหตุนี้แทนที่จะเกณฑ์มาบวช ให้เขาได้ฟังธรรมวินัย ให้ชัดเจน สอบถามความเข้าใจของคนที่ฟังด้วย ว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า อันนั้นก็เป็นประโยชน์ คือทำให้เกิดทั้งปัญญา และก็สามารถที่จะเข้าใจธรรม ไม่ใช่มีแต่พระวินัยต้องมีธรรมด้วย กิริยาอาการความเป็นไปความประพฤติ ตามพระวินัยเพื่ออะไร ต้องให้เขารู้เพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าไม่มีปัญญาไม่ฟังธรรม เพียงแค่ประพฤติตามอย่างนั้น ขัดเกลากิเลสได้ไหม ก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้พระวินัยก็เป็นธรรม เพราะธรรมต่างหากที่เป็นวินัย และธรรมก็เป็นวินัย เพราะเป็นการขัดเกลากิเลสด้วยปัญญา ที่เข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีปัญญาสะสมมาเลย จะถึงวันนั้นไหม ไม่ว่าชีวิตจะเป็นไปในรูปแบบของอุปกาชีวก จากการที่ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ถึงเวลา เพราะฉะนั้นก็ไม่สนใจเลย แต่ก็รู้ว่าจะพบท่านพรุ่งนี้ได้ที่ไหน ชื่ออะไร เพราะว่าพระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า เป็นอนันตะชินะ เวลาที่ท่านพบพระพุทธเจ้าไม่ศรัทธา เพราะยังไม่ถึงเวลา ในชีวิตของท่านก็ต้องเป็นไป ใครจะรู้วันไหน ใครจะมีภรรยาแล้วก็มีบุตรด้วย แล้วภรรยาก็กล่าวกระทบกระเทียบหลายอย่าง คิดดูใครหวังว่าจะเป็นอย่างนั้นบ้าง ไม่มีใครจะรู้ล่วงหน้าสักอย่างหนึ่ง แต่ชีวิตของท่านในที่สุดจากการที่ได้อบรมปัญญาฯ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 180
    26 ส.ค. 2567